เมื่อเวลา 13.30 น. วานนี้ (22พ.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ถนนพระอาทิตย์ มีการประชุมคณะกรรมการกฤษฎีกาชุดใหญ่ครบ 12 คณะ เพื่อพิจารณากรณี นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ขอความเห็นประเด็นข้อกฎหมายการลงมติเลือกประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภา คนที่ 2 ชอบด้วยพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ.2557 หรือไม่ หลังจากสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้ส่งรายชื่อ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 และ นายพีระศักดิ์ พอจิต ส.ว.อุตรดิตถ์ ให้สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ โดยมีกรรมการกฤษฎีกาเข้าร่วมประชุม 84 คน จากจำนวนทั้งหมด 106 คน อาทิ นายมีชัย ฤชุพันธ์ อดีตประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นายวิษณุ เครืองาม อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี นายปัญญา ถนอมรอด อดีตประธานศาลฎีกา นายสวัสดิ์ โชติพานิช อดีตประธานศาลฎีกา นายสรรเสริญ ไกรจิตติ อดีตรองประธานศาลฎีกา นายอมร จันทร์สมบูรณ์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา นายนรนิติ เศรษฐบุตร อดีตประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ อดีตรมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายปรีชา วัชราภัย อดีตเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) นายอัชพร จารุจินดา อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี นายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี นายนายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และนายนิพนธ์ ฮะกีมี รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง โดยมีนายปลั่ง มีจุล อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ในฐานะอาวุโสสูงสุด ทำหน้าที่ประธานการประชุม
นอกจากนี้ ยังได้เชิญผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมชี้แจงข้อเท็จจริงรวม 3 หน่วยงาน คือ สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ซึ่งน.ส.นรรัตน์ พิมเสน เลขาธิการวุฒิสภา เดินทางมาด้วยตัวเอง ทั้งนี้ ใช้เวลาประชุมนานกว่า 2 ชั่วโมง
ต่อมาเวลา 16.00 น. นายดิสทัต โหตระกิตย์ รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา แถลงผลการประชุมว่า จากข้อเท็จจริงที่ได้ประกอบกับข้อคิดเห็น ข้อกฎหมายระหว่างกรรมการกฤษฎีกา ผลปรากฏว่า ที่ประชุมใหญ่ มีมติเสียงข้างมาก 68 ต่อ 9 เสียง ว่า การดำเนินการเรื่องประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภา คนที่ 2 เป็นการดำเนินการโดยชอบแล้ว หลังจากนี้ทางเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา จะได้จัดทำบันทึกความเห็นอย่างเป็นทางการเสนอเรื่องกลับไปยังสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรีต่อไป ให้เร็วที่สุดไม่เกินสัปดาห์หน้า
ส่วนรัฐบาลจำเป็นต้องปฏิบัติตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา หรือไม่นั้น ที่ผ่านมามีแนวปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีว่า โดยหลักทั่วไป คณะรัฐมนตรีจะถือตามความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา ทั้งนี้ ที่ประชุมไม่ได้มีการพิจารณาประเด็นเรื่องอำนาจหน้าที่ของ นายนิวัฒน์ธำรง ในการนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ และรับสนองพระบรมราชโองการ
นายดิสทัต กล่าวอีกว่า ในที่ประชุมมีการอภิปรายกันว่า การดำเนินการเลือกประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภา ลำดับที่ 2 เป็นการปฏิบัติงาน หรือภารกิจภายในของวุฒิสภา เพราะฉะนั้นเป็นอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา ที่สามารถดำเนินการได้ ขณะเดียวกัน ยังได้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงปรากฏว่า เป็นการพิจารณาตามที่มีการเสนอญัตติตามข้อบังคับของการประชุมวุฒิสภา มีการพิจารณาตามขั้นตอนดังกล่าว ส่วนมาตรา 132 (2) เป็นข้อกฎหมายที่นำมาพิจารณาประกอบด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า แสดงว่าหลังจากนี้การทูลเกล้าฯ อยู่ที่นายนิวัฒน์ธำรง อย่างเดียวใช่หรือไม่ นายดิสทัต ตอบว่า เป็นหน้าที่ในการดำเนินการต่อไป มีกฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนอยู่แล้ว
รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวด้วยว่า สำหรับเรื่องที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอความเห็นว่า นายนิวัฒน์ธำรง เป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้ง ร่วมกับประธานกกต.หรือไม่ เรื่องดังกล่าวยังไม่ถึง
นอกจากนี้ ยังได้เชิญผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมชี้แจงข้อเท็จจริงรวม 3 หน่วยงาน คือ สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ซึ่งน.ส.นรรัตน์ พิมเสน เลขาธิการวุฒิสภา เดินทางมาด้วยตัวเอง ทั้งนี้ ใช้เวลาประชุมนานกว่า 2 ชั่วโมง
ต่อมาเวลา 16.00 น. นายดิสทัต โหตระกิตย์ รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา แถลงผลการประชุมว่า จากข้อเท็จจริงที่ได้ประกอบกับข้อคิดเห็น ข้อกฎหมายระหว่างกรรมการกฤษฎีกา ผลปรากฏว่า ที่ประชุมใหญ่ มีมติเสียงข้างมาก 68 ต่อ 9 เสียง ว่า การดำเนินการเรื่องประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภา คนที่ 2 เป็นการดำเนินการโดยชอบแล้ว หลังจากนี้ทางเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา จะได้จัดทำบันทึกความเห็นอย่างเป็นทางการเสนอเรื่องกลับไปยังสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรีต่อไป ให้เร็วที่สุดไม่เกินสัปดาห์หน้า
ส่วนรัฐบาลจำเป็นต้องปฏิบัติตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา หรือไม่นั้น ที่ผ่านมามีแนวปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีว่า โดยหลักทั่วไป คณะรัฐมนตรีจะถือตามความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา ทั้งนี้ ที่ประชุมไม่ได้มีการพิจารณาประเด็นเรื่องอำนาจหน้าที่ของ นายนิวัฒน์ธำรง ในการนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ และรับสนองพระบรมราชโองการ
นายดิสทัต กล่าวอีกว่า ในที่ประชุมมีการอภิปรายกันว่า การดำเนินการเลือกประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภา ลำดับที่ 2 เป็นการปฏิบัติงาน หรือภารกิจภายในของวุฒิสภา เพราะฉะนั้นเป็นอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา ที่สามารถดำเนินการได้ ขณะเดียวกัน ยังได้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงปรากฏว่า เป็นการพิจารณาตามที่มีการเสนอญัตติตามข้อบังคับของการประชุมวุฒิสภา มีการพิจารณาตามขั้นตอนดังกล่าว ส่วนมาตรา 132 (2) เป็นข้อกฎหมายที่นำมาพิจารณาประกอบด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า แสดงว่าหลังจากนี้การทูลเกล้าฯ อยู่ที่นายนิวัฒน์ธำรง อย่างเดียวใช่หรือไม่ นายดิสทัต ตอบว่า เป็นหน้าที่ในการดำเนินการต่อไป มีกฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนอยู่แล้ว
รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวด้วยว่า สำหรับเรื่องที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอความเห็นว่า นายนิวัฒน์ธำรง เป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้ง ร่วมกับประธานกกต.หรือไม่ เรื่องดังกล่าวยังไม่ถึง