xs
xsm
sm
md
lg

“ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง” หรือ “เลือกตั้งก่อนปฏิรูป” (?) (เราจะปฏิรูปประเทศกันอย่างไร)

เผยแพร่:   โดย: ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์

(ต่อจากตอนที่ 1 ; กุมภาพันธ์ 2557)

หัวข้อที่ 2 ทำอย่างไรการปกครองใน “ระบอบประชาธิปไตย (ระบบรัฐสภา)” ของเรา จึงจะมีประสิทธิภาพ [“การปฏิรูป (ประเทศ)”]

“การปฏิรูป (ประเทศ)” คงไม่ง่าย อย่างที่พูดๆ กันในเวทีสาธารณะ

ความจริง ผู้เขียนเองไม่อยากจะให้สัมภาษณ์ FM TV ในครั้งที่สอง ว่าด้วยเรื่อง “การปฏิรูปประเทศ” นี้ ในกลางเดือนมกราคม พ.ศ. 2557) ที่ผ่านมา แต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะเกรงว่า เมื่อท่านผู้อ่านได้ฟังการให้สัมภาษณ์ FM TV ในครั้งที่สองนี้แล้ว ท่านผู้อ่านจะสับสนและหลงประเด็นกับการให้สัมภาษณ์ FM TV ในครั้งแรกของผู้เขียน (ในต้นเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556) ว่าด้วย เรื่อง “ระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา” ตามที่บัญญัติอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2550) ของประเทศไทย

ผู้เขียนเห็นว่า ปัญหาแรกที่เป็นปัญหาเร่งด่วนที่คนไทยควรจะต้องทำความเข้าใจ (ก่อนที่จะพูดถึงปัญหา “การปฏิรูป(ประเทศ)”) ก็คือ ปัญหาการล้มล้าง “ระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา - parliamentary system” (อันเป็นต้นหตุของ “ระบอบทักษิณ” และเป็นรัฐธรรมนูญฉบับ เดียวในโลก) ออกไปจากรัฐธรรมนูญของเรา ; และดังนั้น จึงยังไม่ควรจะนำประเด็นปัญหาเรื่อง “การปฏิรูป(ประเทศ) และวิธีการในการปฏิรูปฯ” มา “ปะปน” กัน” เพราะการทำความเข้าใจกับ “ปัญหาการปฏิรูป (ประเทศ) และและวิธีการในการปฏิรูปฯ” ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างที่พูดกันในเวทีสาธารณะ แต่เป็นเรื่องที่จะต้องพูดและต้องทำความเข้าใจกันทางวิชาการ ที่ค่อนข้างยาว

การที่ “กปปส. และมวลมหาประชาชน” นำเรื่อง (วิธีการ)การปฏิรูป(ประเทศ) มาปะปนกับประเด็นเรื่อง “ความเลวร้ายและการล้มล้างระบอบทักษิณ” ได้ทำให้พรรคการเมืองของนายทุนนักการเมือง (ระบอบทักษิณ) ถือ “โอกาส” นำเอา “จุดอ่อน” ของข้อเสนอของมวลมหาประชาชนและ กปปส. ในประเด็นเรื่อง(วิธีการ) การปฏิรูป(ประเทศ) มาถกเถียงกัน เพื่อให้เรา (คนไทย) หลงประเด็น และเพื่อกลบเกลื่อน ความสำคัญของประเด็นเรื่องความจำเป็นที่จะต้องล้มล้าง “ระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา” (ประเทศเดียวในโลก) ที่บัญญัติอยู่ในรัฐธรรมนูญของไทยในปัจจุบัน

ดังเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏให้ท่านผู้อ่านเห็นกันอยู่ในขณะนี้

และตามที่ท่านผู้อ่านได้ทราบมาจากตอนต้นของบทความนี้แล้วว่า ตามสภาพมาตรฐานความรู้ทาง “กฎหมายมหาชน” ของเราเท่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ การที่จะทำความเข้าใจกับ “ปัญหาวิกฤตชาติ” แม้แต่ใน ประเด็นเบื้องต้น คือ ประเด็นว่าด้วย “สาเหตุ” ของระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน (ที่เกิดจากบทบัญญํติ เพียง 3 มาตราในรัฐธรรมนูญของเรา ประเทศเดียวในโลก) ก็ไม่ใช่ เรื่องที่จะทำความเข้าใจกันได้ง่ายๆ นัก ; ดังนั้น การที่จะข้ามไปพูดถึงเรื่อง “วิธีการ” ที่จะทำการปฏิรูปประเทศ ก็จะยากยิ่งกว่าหลายเท่า

แต่โดยที่ในขณะนี้ “กปปส. และมวลมหาประชาชน” ก็ได้นำเรื่องปัญหาเรื่อง “การปฏิรูป (ประเทศ) และวิธีการในการปฏิรูปฯ” ขึ้นมาเสนอแล้ว (ไม่ว่าจะเป็นข้อเสนอในประเด็นเรื่องการจัดตั้ง “สภาประชาชน” ที่มาจากนานาอาชีพ โดยไม่มี “ที่มา” จากการเลือกตั้ง หรือประเด็นเรื่องการมีนายกรัฐมนตรีคนกลาง ตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ หรือเรื่องการจะใช้อำนาจอธิปไตยของ (กลุ่ม) “มวลมหาประชาชน” เพื่อรับสนองพระบรมราชโองการในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ขึ้นแทน นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันที่หมดอำนาจไป ฯลฯ) ; ซึ่งเป็นเหตุให้พรรคการเมืองนายทุนที่ผูกขาดอำนาจรัฐอยู่ในปัจจุบันและนักวิชาการฝ่ายรัฐบาลถือ “โอกาส” นำประเด็นเหล่านี้ขึ้นมาโต้แย้งจนเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันและทำให้เรา (คนไทย) ไม่แน่ใจ ว่า เราจะปฏิรูป (ประเทศ) กันได้ด้วย “วิธีการ” ใด

ยิ่งกว่านั้น ในระยะหลังนี้ (แทนที่จะ “คิด” หาวิธีล้มล้าง “ระบอบทักษิณ” ให้ได้เสียก่อน แล้วจึงค่อยหาวิธีปฏิรูป (ประเทศ) ยังได้มีองค์กรอิสระจำนวน 70 องค์กร/นักวิชาการ/ปลัดกระทรวงยุติธรรม (นายกิตติพงษ์ กิตติยารักษ์) ร่วมกันเป็น “เครือข่ายเดินหน้าปฏิรูป” อุตสาหะช่วยกัน “คิด” หาทางปฏิรูป (ประเทศ) กันอย่างตั้งอกตั้งใจ มีการประชุมกันหลายครั้ง ซึ่งก็ยังไม่สามารถหาข้อเสนอที่สมมารถหวังผลได้

ด้วยเหตุนี้ ทำให้ผู้เขียนคิดว่า ผู้เขียนคงมีความจำเป็น ที่จะต้องให้ “ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ “การปฏิรูป (ประเทศ)” ว่า ตามความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ผู้เขียนคิดว่า ทำอย่างไรประเทศไทยจึงจะปฏิรูป) ประเทศได้สำเร็จ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบไว้ และนำไปพิจารณาดูเอาเอง

เพราะผู้เขียนเองไม่อยากจะเห็น “การปฏิรูป (ประเทศ)” ของเราครั้งนี้ ไม่สำเร็จ และต้องล้มเหลวไปเพราะความไม่เข้าใจว่า “การปฏิรูป(ประเทศ)” คือ อะไร เนื่องจากประเทศไทยอาจมี “โอกาส” เช่นนี้ ไม่มากนัก หรือบางที เรา (คนไทย) อาจจะไม่มีโอกาสเช่นนี้อีกเลยในอนาคตก็ได้

●● ถ้าเราจะปฏิรูป (ประเทศ) ให้สำเร็จ สิ่งแรกที่เราต้อง “รู้” และสิ่งแรกที่เราต้อง “ทำ” ในการปฏิรูป (ประเทศ) คืออะไร (?)

เราทราบอยู่แล้วว่า ในการทำการปฏิรูป (ประเทศ) เรามี “กฎหมาย” ที่เราจะต้องแก้ไขหรือยกเลิกอยู่เป็นจำนวนมาก และแม้แต่ “มวลมหาประชาชนและกปปส.” เอง ก็ได้ระบุกฎหมายที่จะต้องแก้ไขอยู่หลายฉบับ แต่เราทราบหรือไม่ว่า ในบรรดากฎหมายจำนวนมากที่เราต้องแก้ไขนั้น มีความสำคัญไม่เท่ากัน ; ดังนั้น ถ้าเราจะปฏิรูป (ประเทศ) ให้สำเร็จ เราต้องทราบว่า “กฎหมายที่มีความสำคัญที่สุด” ที่เราจะต้องแก้ไขหรือยกเลิกก่อนกฎหมายฉบับอื่น คือ กฎหมายฉบับใด

“กฎหมายที่มีความสำคัญที่สุด” ที่เราจะต้องแก้ไขหรือยกเลิกก่อน หมายถึง กฎหมายฉบับที่ ถ้าหากเราไม่แก้ไขหรือยกเลิกแล้ว เราจะไม่สามารถแก้ “ปัญหาวิกฤตชาติ” ได้ โดยปัญหาจะกลับมาอีก และการปฏิรูป (ประเทศ) ของเราก็จะล้มเหลว ; กฎหมายที่มีความสำคัญที่สุด คือ กฎหมายที่เป็น “ต้นเหตุ” โดยตรงของ “วิกฤตชาติ”

“ปัญหาวิกฤตชาติ ”ของเรา คือ ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั้นอย่างมโหฬาร (ทั้งโดยตรงและทางนโยบาย) ของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งที่เข้ามาผูกขาดอำนาจรัฐ โดยอาศัย “ระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา” ที่เราเรียกว่า “ระบบนายทุนสามานย์”

เรารู้หรือไม่ว่า “ระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา” เกิดมาจากบทมาตราเพียง 3 มาตรา (ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น) ที่บัญญัติอยู่ในรัฐธรรมนูญของเราเองนั่นเอง โดย “นายทุนพรรคการเมือง” ได้อาศัยบทมาตรา 3 มาตรานี้ เป็น “เครื่องมือ” ในการผูกขาดอำนาจรัฐ ด้วยการ “ซื้อขาย” เสียงในการเลือกตั้งเพื่อให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งของเขาชนะการเลือกตั้ง และ “ซื้อ ส.ส.” ในสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ ส.ส.อยู่ในสังกัดพรรคการเมืองของเขาและยกมือออกเสียงตาม “มติสั่งการ” ของพรรคการเมืองเพื่อประโยชน์ในกิจการของตนเองและพรรคพวก

รัฐธรรมนูญของเรา เป็นรัฐธรรมนูญเพียงฉบับเดียวในโลก ที่มีบทบัญญัติ 3 มาตราตามนี้ ; การที่ประเทศอื่นทั่วโลก เขาไม่เขียนรัฐธรรมนูญเหมือนของเรา ก็เพราะว่า วงการวิชาการของเขารู้ดีว่า ถ้าเขียนเช่นนี้แล้วอะไรจะเกิดอะไรขึ้น แต่เรา (คนไทย) ไม่รู้

เมื่อเรา “รู้” แล้วว่า “สาเหตุ” วิกฤตชาติของเราเกิดจาก “กฎหมาย” ฉบับใด ดังนั้น สิ่งแรกที่เราจะต้อง “ทำ” ในการปฏิรูป (ประเทศ)” ก็คือ การขจัดสาเหตุของวิกฤตชาติ ซึ่งได้แก่ การยกเลิกบทมาตรา 3 มาตรา (ดังกล่าว) ออกจากรัฐธรรมนูญของเรา และเราจะต้อง “ทำ” โดยเร็วคือ ยกเลิกบทมาตรา 3 มาตรา “ก่อนการเลื่อกตั้งทั่วไปครั้งใหม่”

ด้วยเหตุผลอย่างง่ายๆ ที่ทุกคนเข้าใจได้โดยไม่ต้องการคำอธิบายใดๆ คือ ถ้าเราไม่ยกเลิกบทมาตรา 3 มาตรา อันเป็น “ต้นเหตุ” และเป็น “เครื่องมือ” ของการผูกขาดอำนาจของนายทุนพรรคการเมืองและการคอร์รัปชันอย่างโหฬารแล้ว ; ไม่ว่าเราจะไปแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายอื่นๆ เป็นจำนวนมากเพียงใด การผูกขาดอำนาจของนายทุนพรรคการเมืองและการคอร์รัปชันอย่างโหฬาร ก็จะกลับมาอีก เพราะเรายังไม่ได้กำจัด “ต้นเหตุ” ของปัญหาฯ

และเหตุการณ์เช่นนี้ได้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ในปี พ.ศ. 2550 คือ ภายหลังที่เรามีการปฏิวัติในปี พ.ศ. 2549 และนำรัฐธรรมนูญทที่เรายกร่างขึ้นใหม่ คือ รัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ. 2550 มาใช้แทนที่รัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ. 2540 ซึ่งจะเห็นได้ว่า ไม่ว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 จะเพิ่มเติมบทบัญญัติ ว่าด้วยระบบศาล / คณะกรรมการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ/องค์กรอิสระ ให้เข้มแข้งมากเพียงใด แต่ถ้าเราไม่ยกเลิกบทมาตรา 3 มาตรา (ที่สร้าง “ระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา”) นี้ออกไปแล้ว พรรคการเมืองนายทุน ก็จะใช้ “การเลือกตั้งและการซื้อเสียง” กลับเข้ามาผูกขาดอำนาจรัฐได้อืก ดังเช่นที่เป็นอยู่ในขณะนี้

และในปัจจุบันนี้ ผู้เขียนคงไม่จำเป็นที่จะต้องอธิบายเพิ่มเติมว่า เพราะเหตุใด “รัฐบาล” และ “พรรคการเมืองที่ผูกขาดอำนาจรัฐ” อยู่ในขณะนี้ (พฤษภาคม 2557) จึงต้องการที่จะให้มี “การเลือกตั้งครั้งใหม่” โดยเร็ว โดยยังไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน และยกเลิก 3 มาตรานี้เสียก่อน (โดยอ้างว่า จะขอเลือกตั้งก่อน “การปฏิรูปฯ”)

● การมองเห็นหรือมองไม่เห็น “กฎหมายที่สำคญที่สุดที่จะต้องแก้ไขหรือยกเลิกเป็นฉบับแรก (ในการปฏิรูป (ประเทศ)” มีความสำคัญอย่างไร (?)

ท่านผู้อ่านหลายท่าน อาจจะเห็นว่า การที่จะมองเห็นหรือมองไม่เห็น “กฎหมายฉบับที่สำคญที่สุด” ที่จะต้องแก้ไขหรือยกเลิกเป็นฉบับแรกในการปฏิรูปประเทศ ไม่มีความสำคัญอย่างไร เพราะในการทำการปฏิรูปประเทศนั้น มีกฎหมายที่จะต้องแก้ไขหรือยกเลิกเป็นจำนวนมาก ; ดังนั้น การแก้ไขกฎหมายฉบับใดที่มี “ปัญหา” ไม่ว่าปัญหานั้นจะมีมากหรือมีน้อย ก็ย่อมจะเป็นประโยชน์ทั้งสิ้น ; การที่จะแก้ไข “ก่อนหรือหลัง” ก็ไม่น่าจะมีความสำคัญแตกต่างกันมากนัก

แต่สำหรับผู้เขียน การมองเห็นหรือมองไม่เห็น “ความสำคัญของกฎหมายฉบับที่สำคัญที่สุดที่จะต้องแก้ไขหรือยกเลิกในการปฏิรูป (ประเทศ) เพราะเป็นต้นเหตุของความเลวร้าย - vice นั้น มีความสำคัญมาก ; เพราะการมองเห็นหรือมองไม่เห็น “กฎหมายฉบับแรก”นี้ มิใช่เป็นเรื่องของการแก้ไขกฎหมาย ว่า การแก้ไขกฎหมายฉบับใด จะมีประโยชน์มากน้อยเพียงใด

แต่ การมองเห็นหรือมองไม่เห็นนี้ มีความสำคัญ เพราะ เป็น “ข้อเท็จจริง” ที่ทำให้ผู้เขียนสามารถทราบได้ล่วงหน้าว่า ผู้ที่จะทำการปฏิรูป (ประเทศ) มี “ความสามารถ” และมี “ความรู้” พอที่จะทำการปฏิรูปประเทศได้ (สำเร็จ) หรือไม่

ผู้ใดก็ตาม ที่มองไม่เห็นแม้แต่ “กฎหมายฉบับที่สำคัญที่สุดที่จะต้องแก้ไขหรือยกเลิกในการปฏิรูป (ประเทศ)” ย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่า ผู้นั้นไม่มี “ความสามารถ” และไม่มี “ความรู้” พอที่จะทำการปฏิรูป (ประเทศ) ได้ เพราะแม้แต่เรื่องที่ง่ายที่สุดในการปฏิรูป (ประเทศ) คือ การวิเคราะห์ให้เห็น “กฎหมาย” ที่เป็นต้นเหตุของ “ระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา” (และทำการยกเลิก) ยังไม่สามารถกระทำได้แล้ว ก็น่าจะเป็นที่แน่นอนว่า ผู้นั้นไม่มี “ความสามารถ” และไม่มี “ความรู้” พอที่จะเสนอ “วิธีการ” แก้ปัญหาวิกฤตชาติ และทำการปฏิรูป (ประเทศ) ให้สำเร็จได้อย่างแน่นอน เพราะการปฏิรูป (ประเทศ) ประกอบด้วยการแก้ไข “กฎหมาย” จำนวนมาก

ในการปฏิรูปประเทศให้สำเร็จ ผู้ที่ทำการปฏิรูป นอกจากจะต้องมองเห็นความสำคัญของกฎหมายแต่ละฉบับแล้ว และในส่วนที่ยากที่สุด ก็คือ กฎหมายแต่ละฉบับนั้น ต้องการการวิจัยและการเขียน (ออกแบบ) กฎหมายที่มีกลไกบริหารที่ “ดี” เพื่อแก้ปัญหาในแต่ละเรื่อง ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เรา “พูดๆ” กันอยู่บนเวทีสาธารณะทุกวันนี้

การที่จะแก้ไข “ระบบรัฐสภา” ให้เป็นระบบ rationalized system ที่ทำให้การบริหารประเทศมีประสิทธิภาพ (ตามที่ประเทศที่พัฒนาแล้ว เขาทำมานานกว่ากึ่งศตวรรษแล้ว) ยากมากกว่า การวิเคราะห์ให้เห็นและการยกเลิกบทมาตราเพียง 3 มาตราของรัฐธรรมนูญ (อันเป็นต้นเหตุของ “ระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา”) หลายเท่า

ต่อไปนี้ เราลองมาศึกษาดูว่า ในขณะที่เราพูดกันถึง “การปฏิรูป (ประเทศ)” กันอยู่นี้ กลุ่ม “ชนชั้นนำ” ของเรามีความเข้าใจ “การปฏิรูป (ประเทศ)” กัน มากน้อยเพียงใด

●● ความเข้าใจ “การปฏิรูป (ประเทศ)” ของชนชั้นนำบางกลุ่ม ที่มีบทบาทสำคัญในการทำให้การเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ (โมฆะ)
กลุ่มบุคคลที่ผู้เขียนจะนำมาพิจารณา ก็คือ (1) มวลมหาประชาชน และ “กปปส.” (2) พรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำของพรรคประชาธิปัตย์ โดยจะพิจารณาดูจาก “ข้อเท็จจริง” ที่เกิดขึ้นจริง ;

● มวลมหาประชาชน และ “กปปส.” (ความคิด “การปฏิรูปการเมือง)

มวลมหาประชาชน และ “กปปส.” ได้พูดถึงการเผด็จการและการผูกขาดอำนาจ ของ “ระบอบทักษิณ” อย่างมากมาย โดยมวลมหาประชาชน และ “กปปส.” ได้อภิปรายบนเวทีสาธารณะเปิดเผยให้เรา (คนไทย) ได้ยินและได้เห็นถึงความเลวร้ายของ “ระบอบทักษิณ อยู่ทุกคืนทางทีวีช่อง blue sky ซึ่งจนถึงขณะนี้ ก็เป็นเวลาติดต่อกันมานานกว่า 6 เดือนแล้ว ก็ยังไม่หมด

“กปปส.” พูดถึง “การปฏิรูป (ก่อนการเลือกตั้ง)” โดยได้เสนอให้จัดตั้ง “สภาประชาชน” (ที่มาจากกลุ่มนานาอาชีพ) และพูดถึงการต้องแก้กฎหมายในเรื่องต่างๆ มากมายสารพัดเรื่อง เช่น ารแก้ไขระบบตำรวจ /การเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด / การแก้ไขไม่ให้คดีทุจริตคอร์รัปชันมีกำหนดอายุความ ฯลฯ

และในที่สุด (ต้นเดือนเมษายน) กปปส.” ได้พูดถึง การจะใช้“อำนาจรัฏฐาธิปัตย์” ของมวลมหาประชาชน ในการแต่งตั้ง “นายกรัฐมนตรี” คนใหม่ หลังจากที่ได้ขับไล่นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันให้ออกไปแล้ว

แต่สิ่งที่ท่านผู้อ่านอาจไม่ได้สังเกต ก็คือ มวลมหาประชาชน และ “กปปส.” ไม่ได้พูดถึงและไม่เคยพูดถึง “ความจำเป็น” ในการยกเลิกบทมาตรา 3 มาตราในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของเรา ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ที่เป็น “ต้นเหตุ” ที่ทำให้เกิด ระบบการผูกชาดอำนาจโดยพรรคการเมืองนายทุน (ในระบบรัฐสภา) แม้แต่ครั้งเดียว (?) (?) (?)

พูดง่ายๆ ก็คือ “กปปส.” (และมวลมหาประชาชน) มองไม่เห็น “ความสำคัญ” ของกฎหมาย(บทมาตรา 3 มาตราของรัฐธรรมนูญ) อันเป็น “ต้นเหตุ” ของการผูกขาดอำนาจของนายทุนพรรคการเมือง และเป็นบทมาตราที่นายทุนเจ้าของพรรคการเมือง ใช้เป็น “เครื่องมือ”ในการ “ซื้อ” ส.ส. ทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้เข้ามาสังกัดพรรคการเมือง และกำหนดให้ ส.ส.ในสังกัดพรรคการเมืองของตนออกเสียงในสภาผู้แทนราษฎร เพื่อผลประโยชน์ของนายทุนเจ้าของพรรคและพรรคพวก อันเป็น “สาเหตุ” ของการทุจริตคอร์รัปชันอย่างมโหฬารของ “ระบอบทักษิณ” ตามที่มวลมหาประชาชน และ กปปส.เองได้บรรยายความเลวร้าย - vice กันอย่างมากมาย บนเวทีสาธารณะนั่นเอง

[หมายเหตุ นอกจากนั้น ท่านผู้อ่านอาจไม่ได้สังเกตมวลมหาประชาชน และ “กปปส.” ของเรา ไม่เคยกล่าวบนเวทีสาธารณะ ว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของเรา ไม่ใช่ “ระบอบประชาธิปไตย” แม้ว่า จะมีบางคนกล่าวว่า ระบอบทักษิณ เป็น “ระบอบนายทุนสามานย์” และปล่อยให้ “พรรคการเมืองนายทุนที่ผูกขาดอำนาจรัฐอยู่ในปัจจุบัน” กล่าวอยู่ฝ่ายเดียวว่า เราเป็น “ประชาธิปไตย” ; ท่านผู้อ่านทราบหรือไม่ว่า เพราะเหตุใด]

แน่นอนการที่มวลมหาประชาชน และ “กปปส.” ได้ทำให้เรา (คนไทย) มองเห็นความสำคัญของ “การปฏิรูป (ประเทศ)” และมองเห็น “ความจำเป็น” ที่ประเทศไทย จะต้องมีการ “ปฏิรูปประเทศ” เพื่อการดำรงอยู่ของประเทศ ก่อนที่ประเทศจะต้องล้มละลายไปเพราะ “ระบอบทักษิณ” (ในอนาคตอันไม่ไกลนัก) นั้น เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามหาศาลสำหรับคนไทยทั้งประเทศ และ(เรา) คนไทย คงจะต้องร่วมกันปฏิรูป (ประเทศ) ให้สำเร็จให้ได้ในครั้งนี้ (พ.ศ. 2557)

แต่อย่างไรก็ตาม การที่ “กปปส.” มองไม่เห็นความสำคัญของกฎหมายที่สำคัญที่สุด (บทบัญญัติ 3 มาตราในรัฐธรรมนูญ) ที่ต้องทำการยกเลิกก่อน “การเลือกตั้งทั่วไป” และก่อนการแก้ไขกฎหมายอื่นๆ ได้ทำให้การเสนอ “วิธีการ” ในการปฏิรูป(ประเทศ” ของ “กปปส.” เกิดความผิดพลาด เช่น การเสนอให้มีการตั้ง “สภาประชาชน” จากนานาอาชีพ โดยไม่มี “การเลือกตั้ง” หรือการแต่งตั้ง “นายกรัฐมนตรีคนกลาง” ตามมาตรา 7 ของรํฐธรรมนูญ หรือการคิดที่จะที่ใช้ “อำนาจรัฏฐาธิปัตย์” ของมวลมหาประชาชน ในการรับสนองพระบรมราชโองการในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ฯลฯ”)

ซึ่งเป็นเหตุให้พรรคการเมืองนายทุนและนักการเมืองนายทุน (ที่ต้องการจะผูกขาดอำนาจรัฐต่อไปภายไต้ “ระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุนฯ” ตามรัฐธรรมนูญปัจจุบัน) ฉวยโอกาสนำเอา “จุดอ่อน” และ “ข้อบกพร่อง” ใน “วิธีการ การปฏิรูป (ประเทศ” ตามข้อเสนอของ “กปปส.” มาโต้แย้งและโจมตี “กปปส.” เอง

ข้อคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน (เกี่ยวกับการดำเนินการของ “มวลมหาประชาชน” และ “กปปส.”)

ผู้เขียนเชื่อว่า ขณะนี้ เรา (คนไทย) ทั้งประเทศ ได้รับทราบข้อเท็จจริงที่เป็นความเลวร้ายของ “ระบอบทักษิณ” และเรา (คนไทย) ทั้งประเทศ ได้มองเห็น “ความจำเป็น” ที่จะต้องมีการปฏิรูป (ประเทศ) แล้ว หากแต่ว่า เรา (คนไทย) ยังไม่ได้รับข้อเสนอใน “วิธีการ” ปฏิรูป (ประเทศ)” หรือวิธีการแก้ปัญหาวิฤตชาติ” ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จได้ โดยปราศจากข้อสงสัย

ผู้เขียนคิดว่า มวลมหาประชาชน และ “กปปส.” มีความจำเป็นจะต้องทบทวน “ข้อเสนอ” เกี่ยวกับ “วิธีการ” การปฏิรูป (ประเทศ) เสียใหม่ โดยเร็วที่สุด เพื่อที่จะทำให้ “วิธีการ การปฏิรูป(ประเทศ” ของมวลมหาประชาชน และ “กปปส.” มีความเป็นไปได้ และสามารถมองเห็นความสำเร็จได้

และถ้า “มวลมหาประชาชน และ “กปปส.” ทำได้สำเร็จ (หา “วิธีการ การปฏิรูป(ประเทศ” ที่มีความเป็นไปได้) เรา (ประชาชนทุกกลุ่ม) จะได้ร่วมมือพร้อมใจกัน “เริ่มต้น” ทำการปฏิรูป (ประเทศ) เพื่อประโยชน์ของประชาชนส่วนรวมกันเสียที โดยไม่ต้องมีผู้ใด หรือ “สี” อะไรมาคิดว่า ตนเป็นลูกจ้างของบริษัทไหน ใครเป็นเจ้าของบริษัท และ “ลูกจ้าง” จะไล่เจ้าของบริษัท ได้หรือไม่

ผู้เขียนคิดว่า คนไทยทุกคน ต่างก็มี “หน้าที่” ในฐานะที่เป็นคนไทย และ “หน้าที่” ของคนไทยนั้น มีภาระมากกว่า หน้าที่ในตำแหน่งใด ๆ ไม่ว่า “ตำแหน่ง”นั้นๆ จะเรียกชื่อว่า ตำแหน่งอะไร และ มีความสูงส่งระดับไหน

ผู้เขียนไม่คิดว่า “มวลมหาประชาชน และ “กปปส.” จะปฏิรูปประเทศได้ทำได้สำเร็จ ด้วยการจัดตั้ง “สภาประชาชน” จากนานาอาชีพ (โดยไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง) หรือด้วยการมี “นายกรัฐมนตรี” คนใหม่ที่เป็นกลาง (ไม่ว่าจะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ หรือคำชี้ขาดของ ป.ป.ช. หรือไม่ ก็ตาม)

แต่ผู้เขียนเห็นว่า “มวลมหาประชาชน และ “กปปส.” จะปฏิรูปประเทศได้ทำได้สำเร็จ ด้วยการแก้รัฐธรรมนูญยกเลิก “ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา” ประเทศเดียวในโลก และ long march เดินจากกรุงเทพฯ ไปหัวหิน ขอพระราชทาน “รัฐธรรมนูญ ฉบับปฏิรูป (ประเทศ)” ในฐานะที่พระองค์ท่าน (ไม่ใช่แต่เฉพาะในฐานะที่พระองค์ท่านทรงเป็น “พ่อ” ของคนไทย ที่อยู่ในใจของทุกคน) แต่ในฐานะที่ทรงเป็น “ประมุขของประเทศ” และทรงเป็น “จอมทัพไทย ” [หมายเหตุ “รัฐธรรมนูญ ฉบับปฏิรูป (ประเทศ)” คือ อะไร จะได้กล่าวต่อไปในหัวข้อที่ 2 นี้]

● พรรคประชาธิปัตย์ (ความคิดใน “การปฏิรูปประเทศ”)
จากการที่ติดตาม “นโยบาย” ของพรรคประชาธิปัตย์ และ “การบริหารประเทศ(ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล)” มาโดยตลอด ผู้เขียนไม่คิดว่า “การปฏิรูป(ประเทศ)” จะอยู่หรือเคยอยู่ใน “ความคิด” หรือนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ และของผู้นำของพรรคประชาธิปัตย์ โปรดดู “ข้อเท็จจริง” ดังต่อไปนี้

ความคิด (เรื่อง “การปฏิรูป(ประเทศ”) ใน “การเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557”

ใน “การเลือกตั้งทั่วไป” ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ผ่านมา พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ส่งสมาชิกพรรคเข้าสมัครรับเลือกตั้ง และเท่าที่ปรากฏ “เหตุผล” ที่พรรคประชาธิปัตย์ได้อ้างในการไม่เข้าร่วมในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งนั้น ก็คือ ไม่เชื่อว่า กลไกและการดำเนินการเลือกตั้งจะเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ฯลฯ ; พรรคประชาธิปัตย์และผู้นำของพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ได้แสดงให้ปรากฏว่า พรรคประชาธิปัตย์มีนโยบายที่จะทำ “การปฏิรูป (ประเทศ)”

ผู้เขียนคิดว่า การที่พรรคประชาธิปัตย์ ไม่ส่งสมาชิกพรรคเข้าสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไป” ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 น่าจะเป็นเพราะว่า พรรคประชาธิปัตย์ทราบดีว่า แม้พรรคจะส่งสมาชิกพรรคเข้าสมัครรับเลือกตั้ง พรรคก็คงจะไม่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้ง เพราะคะแนนเสียงส่วนใหญ่ของพรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้ง ก็คือ กลุ่มประชาชนของ “มวลมหาประชาชน” และ “กปปส.”นั่นเอง

และดังนั้น ถ้าประชาชนที่เป็นกลุ่ม “มวลมหาประชาชน” ต้องการ “การปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง” และไม่ไปออกเสียงเลือกตั้ง หรือไปเลือกตั้ง แต่ (ออกเสียง) งดออกเสียงแล้ว ก็เป็นที่คาดหมายได้ว่า จำนวนผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคประชาธิปัตย์ ที่จะได้รับการเลือกตั้งเข้ามา คงจะเหลือน้อยมาก (มาก)

และ ถ้าจะย้อนหลังไปดู ความคิดเรื่อง “การปฏิรูป (ประเทศ)” ของพรรคประชาธิปัตย์ ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 คือ ดูย้อนไปถึงการบริหารประเทศของพรรคประชาธิปัตย์ ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ เป็นรัฐบาลอยู่ ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2552 จนถึงกลางปี พ.ศ. 2554 เป็นระยะเวลาประมาณ 2 ปีครึ่ง (ตั้งแต่ เดือนธันวาคม 2551 จนถึงการยุบสภาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2554) ก็ไม่ปรากฏว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้คิดจะทำการปฏิรูปประเทศ แต่ประการใด

“คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี” ของพรรคประชาธิปัตย์ ในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งมีความยาวประมาณ 40 หน้า ในหัวข้อที่ 8 ว่าด้วย “นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี” ในหัวข้อย่อย 8.1 และ 8.2 ว่าด้วยประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน และว่าด้วยกฎหมายและการยุติธรรม ก็เป็นเพียงการบรรยายไปตามสำนวนความตามปกติ ไม่มีการกล่าวถึงการปฏิรูปประเทศ ; และต่อมา เมื่อมีกระแสเรียกร้องให้มีการปฏิรูปประเทศหลังจากมีเหตุการณ์ชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง ในปี พ.ศ. 2553 คณะรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ ก็ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเกี่ยวกับการปฏิรูปขึ้น 2 คณะในกลางปี พ.ศ. 2553 (กรกฎาคม) คือ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ หรือ คปร. (โดยมีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน และมีกรรมการอีก จำนวน 19 คน ไม่รวมประธาน) และคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศ (โดยมี นพ. ประเวศ วะสี เป็นประธาน และมีกรรมการอีกจำนวน 27 คน) และดูเหมือนว่า (เท่าที่จำได้) รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณให้ประมาณ 300 ล้านบาท ; ผลงานของคณะกรรมการทั้งสอง ก็มีเท่าที่ปรากฏให้เห็น และขณะนี้ คณะกรรมการทั้งสองคณะก็สิ้นสุดวาระไปแล้ว

และ ในปี พ.ศ. 2553 นี้ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น) ก็ได้ออกมากล่าวในการให้สัมภาษณ์ทางทีวีต่อสาธารณะครั้งหนึ่ง ยืนยันว่า “ระบบรัฐสภา” ของไทย เหมือนกับ “ระบบรัฐสภา” ของประเทศอังกฤษ [หมายเหตุ ทั้งที่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งจบการศึกษาจากประเทศอังกฤษ น่าจะต้องทราบดีว่า “ระบบรัฐสภา” ของไทย ไม่เหมือนกับ “ระบบรัฐสภา”ของประเทศอังกฤษ เพราะประเทศอังกฤษ (ที่ไม่มีรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร) นั้น ส.ส.ของเขา ไม่ถูกบังคับให้สมัครรับเลือกตั้งโดยต้องสังกัดพรรคการเมือง และพรรคการเมืองของเขาไม่มี “อำนาจ” ที่จะปลด ส.ส.ออกจากตำแหน่ง ส.ส. ได้ในกรณีที่ ส.ส.ของเขาไม่ออกเสียงในสภาตามมติสั่งการของพรรคการเมือง ฯลฯ ]

ข้อเท็จจริงเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า พรรคประชาธิปัตย์ และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ประสงค์ที่จะบริหารประเทศ ภายใต้ “ระบบรัฐสภา” ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญของไทยฉบับปัจจุบัน และไม่ประสงค์จะมีการเปลี่ยนแปลง (หรือปฏิรูป) “ระบบรัฐสภา” ดังกล่าว แต่อย่างใด

ความคิดใน “การปฏิรูป (ประเทศ)” ของพรรคประชาธิปัตย์ สำหรับ “การเลือกตั้งทั่วไป” ครั้งใหม่ (หลังวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557)

เราได้ทราบแล้วว่า ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัย เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2557 (โดยเสียงข้างมาก) ว่า การเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ตามพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ (ซึ่งเราเรียกทั่วๆ ไป ว่า “โมฆะ”) เพราะไม่สามารถจัดการเลือกตั้งทั่วไปภายในวันเดียวกันได้ทั่วราชอาณาจักร ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 108 วรรคสอง

ปัญหาจึงมีว่า พรรคประชาธิปัตย์ (และพรรคการเมืองอื่นๆ) มีท่าทีและมีความคิดใน “การปฏิรูป (ประเทศ)” อย่างไร ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่

ในการเตรียมการและหาแนวทางในการจัดการ “การเลือกตั้งทั่วไป ครั้งใหม่” คณะกรรมการการเลือกตั่ง ( กกต.) ได้กำหนดให้มีการประชุมเพื่อปรึกษาหารือกับ “พรรคการเมืองต่างๆ” ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2577 (ณ โรงแรมมิราเคิล) ซึ่งในการประชุมครั้งนั้น ปรากฏว่า มีผู้แทนและตัวแทนของพรรคการเมืองมาประชุมจำนวน 64 พรรค (ในจำนวนพรรคการเมืองที่จดทะเบียนทั้งหมด 73 พรรค) แต่พรรคประชาธิปัตย์ ไม่ได้มีผู้แทนหรือตัวแทนเข้าร่วมประชุมด้วย [หมายเหตุ ปรากฏในสื่อมวลชนภายหลังว่า พรรคประชาธิปัตย์อ้างว่า มีข่าวเกี่ยวกับการลอบทำร้ายหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์หรือผู้แทนของพรรคที่จะไปร่วมประชุม ดังนั้น ผู้แทนหรือตัวแทนขอพรรคประชาธิปัตย์ จึงไม่ได้ไปร่วมประชุม]

ผลของการประชุมเท่าที่ตามข่าวในสื่อมวลชน ปรากฏว่า ทุกพรรคการเมืองมีความเห็นว่า ควรมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่โดยเร็วที่สุด และคณะกรรมการการเลือกตั่ง (กกต.) มีหน้าที่ที่จะต้องแก้ไขกฎและระเบียบต่างๆ เพื่อมิให้การเลือกตั้งมีอุปสรรคต่างๆ ขัดขว่างการเลือกตั้ง ตามที่ได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วอีก [หมายเหตุ ตามข่าวปรากฏด้วยว่า ได้มีพรรคการเมืองพรรคใหญ่พรรคหนึ่ง ได้ให้เงินใต้โต๊ะแก่พรรคการเมืองพรรคเล็กพรรคหนึ่ง ให้มารวบรวมพรรคการเมืองพรรคเล็กๆ ให้เป็นกลุ่ม “สหพรรคการเมือง” เพื่อให้กลุ่มนี้ยื่นหนังสือให้แก่ กกต.เพื่อเร่งรัด ให้จัดการให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว]

ในการประชุมดังกล่าว ไม่ปรากฏว่า มีพรรคการเมืองใดกล่าวถึง “การปฏิรูป(ประเทศ) ก่อนการเลือกตั้ง” และทุกๆ พรรคการเมืองมิได้มีความเห็นเกี่ยวกับ “ระบบการเลือกตั้ง” ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของเรา ที่มีบทบัญญัติบังคับให้ ส.ส.ต้องสังกัดพรรคการเมือง ฯลฯ แต่อย่างใด

สำหรับพรรคประชาธิปัตย์ เนื่องจากพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้มีผู้แทนหรือตัวแทนเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวด้วย ดังนั้น จึงไม่อาจทราบได้ว่า พรรคประชาธิปัตย์มีนโยบายเกี่ยวกับ “การปฏิรูป (ประเทศ)” อย่างไร ใน “การเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่”

● หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ - นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ความคิดในเรื่อง “การปฏิรูป (ประเทศ)”)

เราได้ทราบกันแล้วว่า ในเดือนเมษายน 2557 หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เสนอแผนเกี่ยวกับ “การปฏิรูป (ประเทศ)” ซึ่งปรากฏ เป็นข่าว ในหน้าหนึ่งของสื่อมวลชนหลายฉบับ และที่เป็นที่สนใจของคนทั่วไป

แต่โดยที่แผนเกี่ยวกับ “การปฏิรูป (ประเทศ)” ของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นแผนที่มีเงื่อนไขกำหนดไว้ว่า จะต้องดำเนินการตามแผน ก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยให้นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันพ้นจากตำแหน่ง ; และในขณะนี้(พฤษภาคม) ปรากฏว่า ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัย เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ไปแล้วว่า ให้นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันพ้นจากตำแหน่ง ; ดังนั้น แผนเกี่ยวกับ “การปฏิรูป(ประเทศ)” ของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์นี้ จึงสิ้นผล และไม่สามารถนำมาดำเนินการได้

แต่อย่างไรก็ตาม คงเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ผู้เขียนได้สนใจติดตามวิเคราะห์เหตุการณ์ที่สำคัญในทางกฎหมายมาแล้วหลายกรณี (เช่น การวิเคราะห์ การยกร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา 2-3 ฉบับ รวมทั้งการยกร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ. 2550 และคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยที่สำคัญของศาลหลายศาล ในหลายคดี) โดยมีความมุ่งหมายเพียงเพื่ออยากจะทราบ “มาตรฐานความรู้ทางกฎหมายมหาชน” ของวงการวิชาการไทย

ในครั้งนี้ ก็เช่นเดียวกัน ผู้เขียนคงต้องขอนำแผนของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ดังกล่าว มาทำการวิเคราะห์ต่อไป แม้ว่า แผนของ” ของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จะไม่สามารถนำมาดำเนินการได้ เพราะไม่สามารถเป็นไปได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้แล้วก็ตาม ; ผู้เขียนวิเคราะห์แผนนี้ เพื่อประเมิน “คุณภาพ” ของแผน (โดยสมมติว่า ถ้าหากมีการนำแผนนี้มาใช้จริง แผนนี้จะทำให้การปฏิรูป (ประเทศ) มีผลสำเร็จ ได้หรือไม่ ) และเพื่อประเมินระดับ “ความคิด” ของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะที่เป้นชนชั้นนำคนสำคัญคนหนึ่งในทางการเมือง ของประเทศไทย

“แผนเดินหน้าประเทศไทย - ปฏิรูปภายใต้รัฐธรรมนูญ” ของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (3 พฤษภาคม 2557)

หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ได้เริ่มเปิด “ความคิดเห็น” ของตน (ในลักษณะเป็นกึ่งความเห็นส่วนตัว) ต่อสาธารณะ ด้วย “วิธีการ” ที่เห็นได้ชัดว่า หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ได้กำหนด “วิธีการเสนอแผน” นี้ โดยประสงค์จะให้เป็นโอกาสสำคัญที่ตนเอง จะได้แสดงวิสัยทัศน์ - vision ในฐานะที่เป็น “ผู้นำ ”คนสำคัญคนหนึ่งของประเทศ กล่าวคือ

หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ให้ข่าวในสื่อมวลชน 2 ครั้ง ก่อนที่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จะมีการแถลง “สาระ” ของแผนคือ ครั้งแรก ในวันที่ 21 เมษายน (ก่อนการประชุมของ กกต.วันที่ 22 เมษายน) หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ได้แถลง ณ ที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ ว่า หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ หวังว่า เวทีนี้ (การประชุมของ กกต. ในวันที่ 22 เมษายน) จะหาคำตอบให้แก่ประเทศมากกว่าหาคำตอบให้พรรคการเมือง พรรคเชื่อว่า “การเลือกตั้ง” ต้องเป็นส่วนหนึ่งของคำตอบให้กับประเทศ และต้องเกิดขึ้นโดยเร็ว แต่ต้องเป็นการเลือกตั้งโดยสงบเรียบร้อย สุจริตเที่ยงธรรม ดังนั้น สิ่งที่ต้องหารือกัน คือ (1) ต้องช่วยกันทำให้กระบวนการเลือกตั้งเป็นคำตอบของประเทศ เพื่อไม่ให้เกิดวิถีนอกรัฐธรรมนูญ และความรุนแรง และ (2) ต้องทำให้ประชาชนยอมรับและศรัทธาในการเลือกตั้ง และการเลือกตั้งต้องเป็นไปอย่างเสรี
ต่อมาครั้งที่สอง ในวันที่ 25 เมษายน 2557 ปรากฏเป็นข่าวว่า หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ได้ออกแถลงการณ์ เป็นคลิปวิดีโอ และเฟซบุ๊กส่วนตัว “อภิสิทธิ์เดินหน้าและหาคำตอบให้ประเทศ” ว่า หนทางเดียวที่จะผลักดันให้ประเทศเดินหน้าไปได้ คือ การปฏิรูปที่จะต้องดำเนินการภายใต้รัฐธรรมนูญและความเป็นประชาธิปไตย และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เอง ประสงค์จะเป็นส่วนหนึ่งในการเป็นผู้ริเริ่มแก้ไข โดยตนจะเริ่ม กระบวนการพบปะบุคคลต่างๆ เพื่อหาคำตอบให้แก่ประเทศ

และหลังจากนั้น ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2557 (10 วันเศษนับแต่การแถลงข่าวครั้งแรก) หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) จึงได้แถลง “แผนเดินหน้าประเทศไทย - ปฏิรูปภายใต้รัฐธรรมนูญ” ต่อสาธารณะที่โรงแรมสุโกศล ถนนศรีอยุธยา

● ปัญหามีว่า “แผนเดินหน้าประเทศไทย - ปฏิรูปภายใต้รัฐธรรมนูญ” ของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (หากนำมาใช้) จะแก้ “ปัญหาวิกฤตชาติ” และทำ “การปฏิรูป (ประเทศ)” ให้สำเร็จ ได้หรือไม่

ผู้เขียนเชื่อว่า “ปัญหาของประเทศ” ที่เรา (คนไทย) ทุกคนคิดว่า ควรจะเป็น เป้าหมาย ของแผนเดินหน้าประเทศไทย - ปฏิรูปภายใต้รัฐธรรมนูญของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้แก่ การแก้ไขปัญหาของชาติ 2 ประการ คือ ปัญหาแรก ปัญหาวิกฤตชาติ” ได้แก่ ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันอย่างมโหฬารของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง และปัญหาที่สอง “ปัญหาการปฏิรูป (ประเทศ)” ได้แก่ การทำให้การบริหารประเทศภายใต้ “ระบบรัฐสภา” ของเรามีประสิทธิภาพ

ในการประเมินแผนดังกล่าว ผู้เขียนจะเริ่มต้นด้วยการตรวจดู “สาระ” ของแผนก่อน และต่อจากนั้น จึงจะทำการวิเคราะห์

(1) สาระของ “แผนเดินหน้าประเทศไทย - ปฏิรูปภายใต้รัฐธรรมนูญ”

สาระของ “แผนเดินหน้าประเทศไทย ของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ตาม “รูปแบบ” ที่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้นำเสนอต่อสาธารณะ มีหัวข้อที่สำคัญ ดังนี้

(ก) จุดหมายของแผน (ซึ่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เรียกว่า “ความเสี่ยงที่ต้องหลีกเลี่ยง”) หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กำหนดให้ แผน (มีจุดหมาย) เพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ 3 ประการ คือ (1) การสูญเสียชีวิตจากการขัดแย้งทางการเมือง ; (2) การสูญเสีย “ประชาธิปไตย” คือ การเปลี่ยนแปลงนอกรัฐธรรมนูญ (คงหมายถึง การรัฐประหาร) ; (3) การนำเอา “สถาบัน” / ศาล / และองค์กรอิสระเข้าสู่ความขัดแย้ง

(ข) หลักการของแผน แผนมี “หลักการ” 4 ประการ คือ (1) ทำการปฏิรูปทันที สร้างความชอบธรรมเพื่อรองรับ ให้มีการปฏิรูปต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ;(2) ในระหว่างกระบวนการปฏิรูป ให้มี “รัฐบาล” และ“สภา” ที่เป็นไปตามกฎหมายและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ; (3) “การเลือกตั้ง” เป็นไปโดยเสรี สุจริต และเที่ยงธรรม เป็นที่ยอมรับของประชาชนและทุกพรรคการเมือง ; (4) คดีความที่มีอยู่ ต้องดำเนินไปตามกระบวนการทางกฎหมาย ตามหลักนิติรัฐนิติธรรม

(ค) ขั้นตอนการดำเนินการของแผน มี 10 ขั้นตอน ดังนี้

(1) ชลอการตราพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้ง

(2) ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แก้ไขระเบียบ เพื่อให้การบริหารการเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตเที่ยงธรรม รวมทั้งการใช้ “นโยบายประชานิยม” ที่เสียหายต่อประเทศ

(3) ให้ “เครือข่ายเดินหน้าปฏิรูป” ร่วมกัน “กปปส.” จัดตั้ง “สภาปฏิรูป” และ ให้”สภาปฏิรูป” กำหนดประเด็นในการปฏิรูปโดยเรียงลำดับความสำคัญ และกำหนดกรอบเวลาในการปฏิรูปแต่ละด้าน โดยให้ใช้เวลาประมาณ 15 - 30 วัน

(4) จัดทำ “ประชามติ” เพื่อให้ความเห็นชอบใน “สภาปฏิรูป” และ “ประเด็นของการปฏิรูป” ภายใน 90 วัน ด้วยการสนับสนุนของพรรคการเมืองทุกพรรค ให้ “งาน ของสภาปฏิรูป” (ทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้ง) ผูกมัด “รัฐบาล” และ สภา” หลังการเลือกตั้ง

(5) ในการจัดทำประชามติ ให้ทุกฝ่ายอำนวยความสะดวกให้ทุกพรรคการเมืองสามารถรณรงค์เกี่ยวกับการปฏิรูปได้อย่างเสรี และสร้างบรรยากาศของการเลือกตั้ง

(6) เปิดทางให้มี “รัฐบาลเฉพาะกาล” โดยความเห็นพ้องของทุกฝ่าย เพื่อมาบริหารจัดการการทำประชามติและการเลือกตั้ง โดยให้นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันนำคณะรัฐมนตรีลาออก ก่อนศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ประธานวุฒิสภา เป็นผู้สรรหา “นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีใหม่” ที่จะเป็น “รัฐบาลเฉพาะกาล” จากบุคคลที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย โดยไม่มีนักการเมืองและพรรคการเมือง

(7) “คณะรัฐมนตรีใหม่” ไม่มี “อำนาจทางนิติบัญญัติ” (ไม่มีอำนาจตรากฎหมาย)

(8) ให้มี “การเลื่อกตั้งครั่งใหม่” ภายใน 45 -60 วันหลังประชามติ โดยทุกพรรคการเมืองต้องยืนยันว่า จะสนับสนุนการทำงานของ “สภาปฏิรูป” ; หากไม่ทำตาม ถือว่าผิดกฎหมายเลือกตั้ง มีความผิดถึงยุบพรรค และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

(9) “รัฐบาล และสภาผู้แทนราษฎรใหม่” หลังการเลือกตั้ง ต้องนำ “ข้อเสนอการปฏิรูปด้านการเมือง” ของสภาปฏิรูป ดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายใน 1 ปี ; แล้วจัดให้มี “การเลือกตั้งใหม่”

(10) ประเด็นการปฏิรูปอื่น ให้ดำเนินต่อไปหลัง “การเลือกตั้ง” ในข้อ 9 ตามวิธีการตามปกติ

ในการเสนอแผน (วันที่ 3 พฤษภาคม 2557) หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) กล่าวสรุปเพิ่มเติม ว่า ข้อเสนอของตนไม่มีฝ่ายไหนจะได้ 100 เปอร์เซ็นต์ นักการเมืองในพรรครัฐบาลจะถอยออกไปในระยะเวลาสั้น ๆ และจะมีสิทธิลงสมัตรรับเลือกตั้งในปัจจุบัน ภายในเวลา 5 - 6 เดือน และ “กปปส.”จะได้รัฐบาลที่เป็นกลาง และได้ “สภาปฏิรูป” โดยในการเสนอแผนครั้งนี้ตนเองไม่ได้รับประโยชน์ใดๆ และจะไม่รับตำแหน่งหรือมีสถานะการเมืองใดๆ

หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) จะส่งข้อเสนอนี้ไปยัง 2 ฝ่าย (นายกรัฐมนตรีรักษาการ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) และ กปปส.) โดบจะส่งข้อเสนอนี้เป็นลายลักษณ์อักษรไปให้นายกรัฐมนตรีรักษาการ (ในวันที่ 6 พฤษภาคม) ให้คำตอบก่อน (ยอมรับการถอยออกไปจากการเมืองเป็นเวลา 5 - 6 เดือน) และจะสื่อสารไปยัง กปปส.ว่า ถ้านายกรัฐมนตรีรับหลักการนี้ กปปส.จะเดินหน้าประเทศไทยไปด้วยกันอย่างนี้ด้วยหรือไม่

ข้อวิเคราะห์ “แผนเดินหน้าประเทศไทยฯ” ของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ตามความเห็นของผู้เขียน)

ได้กล่าวแล้วว่า ดูเหมือนว่า หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ได้กำหนด “วิธีการเสนอเผน” นี้ โดยประสงค์จะให้เป็นโอกาสสำคัญที่จะได้แสดงวิสัยทัศน์ - vision ในฐานะที่เป็น “ผู้นำ ”คนสำคัญคนหนึ่งของประเทศ ; ซึ่งทำให้ “สาระ” ของ “แผนเดินหน้าประเทศไทย - ปฏิรูปภายใต้รัฐธรรมนูญ” ของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มีความสำคัญเป็นพิเศษ สำหรับการวิเคราะห์

หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้กำหนดและไปพบนักการเมือง นักวิชาการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับสูงหลายท่าน เพื่อนำความคิดเห็นที่ได้รับฟังมาประมวลเข้าเป็น “แผนปฏิบัติการ” คือ แผนเดินหน้าประเทศไทย - ปฏิรูปภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ” นี้

ปัญหามีว่า หากดำเนินการตาม “แผนเดินหน้าประเทศไทยฯ” ตามขั้นตอน ที่กำหนดไว้แล้ว ประเทศจะแก้ปัญหา “วิกฤตชาติ” หรือ “ปฏิรูป (ประเทศ)” ให้สำเร็จได้ หรือไม่

เมื่อผู้เขียนได้อ่าน “แผนเดินหน้าประเทศไทย - ปฏิรูปภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ” ของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) แล้ว ผู้เขียนคิดว่า (แม้ว่า จะสมมติว่า แผนของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ดังกล่าว ได้นำมาใช้ได้ครบทุก “ขั้นตอน” ด้วยความเห็นชอบของทุกฝ่าย” ตามเงื่อนไขที่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้กำหนดไว้) แผนเดินหน้าประเทศไทยฯ คงจะไม่ประสบความสำเร็จ คือ ประเทศไทยคงจะไม่สามารถแก้ปัญหา “วิกฤตชาติ” ได้ ”ระบอบทักษิณ” จะกลับมาอีกหลังจาก “การเลือกตั่งทั่วไปครั้งใหม่” และการ “ปฏิรูป (ประเทศ)” ของประเทศไทย ก็คงจะไม่เกิดขึ้น

การเสนอ “แผนเดินหน้าประเทศไทยฯ “ครั้งนี้ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) อาจกระทำการในสิ่งที่ภาษาฝรั่งเขาเรียกว่า add comfusion to confusions โดยไม่จำเป็น เพราะเท่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ เราคนไทยก็มี comfusions ที่มาจากนักกฎหมายและนักวิชาการของเรามากเกินพออยู่แล้ว

อนึ่ง ขอเรียนว่า ความเห็นของผู้เขียนคงจะพิจารณาเพียงว่า ข้อเสนอของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) จะทำการ “ปฏิรูป (ประเทศ)” และแก้ไขปัญหาวิกฤตชาติเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งได้หรือไม่ได้เท่านั้น

โดยในการวิเคราะห์ของผู้เขียน ผู้เขียนจะไม่มีความเห็นเหมือนกับนักวิชาการบางท่าน หรือนายทุนนักการเมือง (ตามที่ปรากฏเป็นข่าวอยู่ในหน้าสื่อมาลชนในขณะนี้ พฤษภาคม 2557) ว่า ข้อเสนอของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) เป็น “ประชาธิปไตย” หรือ ไม่ เป็น “ประชาธิปไตย”

เพราะตามความเห็นของผู้เขียน การเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญของไทยในปัจจุบัน (ที่บังคับให้ ส.ส.ต้องสังกัดพรรคการเมือง และ ให้พรรคการเมืองมี “อำนาจ” ให้ ส.ส.ที่ไม่ออกเสียงในสภา ตาม “มติสั่งการ” ของพรรคการเมือง พ้นจากตำแหน่งได้) นั้น ไม่ใช่ democratic process และรัฐธรรมนูญของประเทศไทยฉบับปัจจุบัน ไม่ใช่ “ระบอบประชาธิปไตย” อยู่แล้ว และเพราะเหตุนี้เอง จึงทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการ “ปฏิรูป (ประเทศ”

การที่ผู้เขียนมีความเห็นว่า “แผนเดินหน้าประเทศไทย - ปฏิรูปภายใต้รัฐธรรมนูญ” ของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จะประสบความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เพราะเหตุผลสำคัญ 2 ประการ คือ

ประการแรก (ว่าด้วย ความมุ่งหมายของแผน) “แผนเดินหน้าประเทศไทย - ปฏิรูปภายใต้รัฐธรรมนูญ” ของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ไม่มีการกำหนด “ความมุ่งหมาย” หรือพูดง่ายๆ ก็คือ เป็นแผนที่ไม่มี “เป้าหมาย” แตกต่างกับการกระทำของ “มวลมหาประชาชน” และ “กปปส.” ที่ประกาศอย่างชัดแจ้งว่า การกระทำของมวลมหาประชาชนและกปปส. ได้กระทำไปโดยมี “เป้าหมาย” คือ เพื่อการ “ล้มล้างระบอบทักษิณ” และเพื่อการ “ปฏิรูป (ประเทศ” ; หากแต่ว่า “มวลมหาประชาชน” และ “กปปส.” ไม่สามารถกำหนด “วิธีการ” ที่เป็นรูปธรรม ที่ทำให้สามารถคาดหมายได้ว่า เมื่อทำตาม “วิธีการ” ที่กำหนดไว้แล้ว “การปฏิรูป (ประเทศ)” จะสำสำเร็จได้

แต่ “แผนเดินหน้าประเทศไทยฯ” ของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ดูเหมือนว่า ตั้งใจจะกำหนด “ความเสี่ยงที่ต้องหลีกเลี่ยง” ไว้ให้เป็น “เป้าหมายของแผน” คือ กำหนด ความเสี่ยงที่ “ต้อง” หลีกเลี่ยงในการดำเนินการตามแผน ไว้ 3 ประการ คือ (1) การสูญเสียชีวิตจากการขัดแย้งทางการเมือง ; (2) การสูญเสีย “ประชาธิปไตย” คือ การเปลี่ยนแปลงนอกรัฐธรรมนูญ (คงหมายถึง การรัฐประหาร) ; (3) การนำเอา “สถาบัน” ศาล และองค์กรอิสระเข้าสู่ความขัดแย้ง ; และการที่ต้องหลีกเลี่ยง ความเสี่ยงที่กำหนดใว้ให้ “ต้อง” หลีกเลี่ยงไว้ทั้งหมด ก็หมายความว่า แผนของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ย่อมไม่สามารถกำหนด “เป้าหมาย” ได้

ผู้เขียนคิดว่า ใน “การวางแผน”นั้น ก่อนอื่น ผู้วางแผนจะต้องกำหนด “เป้าหมาย” ของแผนให้ชัดเจน และต่อจากนั้น ก็จะกำหนด “วิธีการ”ในการดำเนินการต่างๆ เพื่อให้บรรลุ “เป้าหมาย” ที่แผนกำหนดไว้ โดยจะต้องพยายามลด “ความเสี่ยง” ให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งนี้ โดยจะระบุ “ความเสี่ยง”ทึ่พึงระวังหรือควรหลีกเลี่ยงไว้ด้วยก็ได้

แต่ในการวาง “แผนเดินหน้าประเทศไทยฯ” ของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ดูเหมือนว่า หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้วางแผนโดยมีแนวความคิดที่กลับทางกัน คือ เอา “ความเสี่ยง” มาเป็น “เป้าหมาย” ของการวางแผน โดยกำหนด “ความเสี่ยงที่ต้องหลีกเลี่ยง” ไว้ โดยไม่มีการกำหนด “เป้าหมาย” ของแผน และกำหนด “วิธีการ” สำหรับให้ฝ่ายต่างๆ ( ที่ขัดแย้งกัน) ตกลงกันดำเนินการในเรื่องต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ในแผน ; ซึ่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้ชี้แจงไว้ว่า การดำเนินการตามแผนนี้ ไม่มีฝ่ายไหนจะได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งหมายความว่า ทำ “ได้” เท่าใด ก็ “เอา” เท่านั้น

ผู้เขียนคิดว่า การกำหนด “แผน” โดยไม่มีเป้าหมาย” เช่นนี้ ในที่สุด ก็จะไม่ได้อะไรเลย ; การวางแผน คงไม่ได้ทำไป เพื่อให้ใครหรือผู้ใด “ได้” อะไร เท่าใด แต่การวางแผน คงต้องกระทำเพื่อแก้ “ปัญหาประเทศ” ; หากเป็นเช่นนี้ การดำเนินการตามแผนดังกล่าวของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ก็จะไม่สามารถแก้ “ปัญหาวิกฤตชาติ” (การทุจริตคอร์รัปชันของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง) ได้ และ ไม่สามารถทำให้ “การปฏิรูป (ประเทศ)” (การทำให้การบริหารประเทศ ใน “ระบบรัฐสภา” มีประสิทธิภาพ) สำเร็จได้

ผลสรุป ก็คือ การดำเนินการตาม “แผนเดินหน้าประเทศไทย - ปฏิรูปภายใต้รัฐธรรมนูญ” ของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ( แม้ทำได้จริง) ก็จะเสียเวลา โดยไม่เกิดประโยขน์อย่างใด และประเทศไทยคงจะยังอยู่ในสถานการณ์เดิม

ประการที่สอง (“วิธีการดำเนินการ” ตามแผน) “วิธีการดำเนินการ” ตามที่กำหนดใน “แผนเดินหน้าประเทศไทยฯ”ของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ สามารถนำไปปฏิบัติได้เพียงใด

นอกเหนือไปจาก การไม่ได้กำหนด “เป้าหมาย” ของแผนไว้ ซึ่งทำให้ “วิธีดำเนินการ” ที่กำหนดไว้ในแผน ดำเนินไปโดยไม่มีทิศทางแล้ว ข้อที่สมควรจะพิจารณาอีกประเด็นหนึ่ง ก็คือ “วิธีดำเนินการ” ที่กำหนดไว้ในแผน จะสามารถนำไปปฏิบัติได้เพียงใด

ผู้เขียนคิดว่า “วิธีการดำเนินการ” ตามที่กำหนดไว้ใน “แผนเดินหน้าประเทศไทยฯ” ของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในหลายๆ ข้อ ไม่สามารถปฏิบัติได้

ก่อนอื่น เพื่อที่ท่านผู้อ่านจะได้เข้าใจได้ง่ายขึ้นว่า เพราะเหตุใด ผู้เขียนจึงมีความเห็นเช่นนี้ ; ผู้เขียนขอสรุป “วิธีดำนินการตามแผน” ที่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เสนอไว้ 10 ขั้นตอนนั้นเสียใหม่ เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆ ดังนี้

แผนเดินหน้าประเทศไทย “ปฏิรูปภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ” ของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จะใช้ระยะเวลา ประมาณ 1 ปี 6 เดือน โดยหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้แยกออกเป็น 2 ช่วงระยะเวลา ดังนี้

(1) ช่วงระยะเวลาแรก มีเวลารวมกันประมาณ 6 เดือน

(1.1) ให้เลื่อน “การเลือกตั้งทั่วไป” ออกไปประมาณ 6 เดือน ด้วยความเห็นชอบจากพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ( แผน ข้อ 1)

(1.2) ให้นายกรัฐมนตรี (และคณะรัฐมนตรี) ลาออกทั้งคณะ ด้วยความสมัครใจ(ก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยในคดีความต่างๆ) เพื่อเปิดโอกาสให้มี “รัฐบาลเฉพาะกาล” (แผน ข้อ 6 ตอนแรก)

(1.3) ให้มี “รัฐบาลเฉพาะกาล” หลังจากที่นายกรัฐมนตรี (และคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ) ลาออกด้วยความสมัตรใจ (แผนข้อ 6 ตอนต้น)

ให้ “ประธานวุฒิสภา” เป็นผู้สรรหา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีใหม่ โดยให้เป็นบุคคลที่ยอมรับของทุกฝ่าย และต้องไม่มีนักการเมืองและพรรคการเมือง (ข้อ 6 ตอนที่สอง)

“รัฐบาลใหม่” ไม่มีอำนาจทางนิติบัญญัติ คือ ไม่มีอำนาจตรากฎหมาย เพราะไม่มีองค์กรนิติบัญญัติ (ข้อ 7)

(1.4) ให้ “กปปส.” และ“เครือข่ายเดินหน้าปฏิรูป” จัดตั้ง “สภาปฏิรูป” ขึ้น ให้ “สภาปฏิรูป” กำหนดประเด็นในการปฏิรูป (ประเทศ) โดยเรียงลำดับความสำคัญของเรื่องที่จะต้องปฏิรูป และกำหนดกรอบเวลาในการปฏิรูปแต่ละด้าน ให้เสร็จสิ้น ภายในเวลาประมาณ 15 ถึง 30 วัน (แผนข้อ 3)

ให้นำข้อเสนอของสภาปฏิรูป ไปให้ประชาชนออกเสียง “ประชามติ “ ภายใน 90 วัน และให้ “ข้อเสนอของสภาปฏิรูป” มีผลผูกพัน “รัฐบาลและสภาที่จะมาหลังการเลือกตั้งทั่วไป” ครั้งต่อไป (แผนข้อ 4)

(2) ช่วงระยะเวลาที่สอง มีระยะเวลา 1 ปี (โดยเริ่มต้น ตั้งแต่ การทำประชามติแล้ว ตาม ( 1.4)

(2.1) ให้มี “การเลือกตั้งทั่วไป” ภายใน 45 วัน (นับแต่การลงประชามติเสร็จ) โดยให้พรรคการเมืองทุกพรรค ยืนยันว่า จะสนับสนุนการทำงานของ “สภาปฏิรูป”และถ้าไม่ทำตาม ให้ถือว่า ทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง มีโทษถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหรือยุบพรรคการเมือง ( แผนข้อ 8)

(2.2) “รัฐบาลและสภาใหม่” หลังการเลือกตั้ง ต้องนำข้อเสนอการปฏิรูปของสภาปฏิรูป ในส่วนที่เป็น “การปฏิรูปการเมือง” ดำเนินการให้แล้วเสร็ฐ ภายในหนึ่งปี และสิ้นอายุ ; และให้จัดให้มีการ เลือกตั้งใหม่ (แผนข้อ 9 )

(2.3) ข้อเสนอการปฏิรูปในส่วนที่เหลือ ของ “สภาปฏิรูป” ให้ดำเนินการต่อไปตามปกติ (แผนข้อ 10)

จากข้อเท็จจริงที่จะเกิดขึ้นตาม “แผนเดินหน้าประเทศไทยฯ ”ของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ดังกล่าวข้างต้นนี้ ผู้เขียนขอเรียนอย่างสั้นๆ ว่า ผู้เขียนคิดว่า แผนดังกล่าว คาดหมายได้ว่า จะไม่สามารถบนำไปปฏิบัติได้จริง ด้วยเหตุผลสั้นๆ 3 ประการดังต่อไปนี้

(1) ข้อเสนอหลายๆ หัวข้อของแผนได้กำหนดให้มี “การกระทำ” ด้วยความตกลงหรือความเห็นชอบจากทุกฝ่าย (ที่ขัดแย้งกัน) ซึ่งในทางปฏิบัติยากที่จะเกิดขึ้นได้จริง จนถือได้ว่าเป็นไปไมได้

(2) ข้อเสนอหลายๆ หัวข้อของแผนที่กำหนดให้ “การกระทำการ” มีผลบังคับหรือมีผลผูกมัดไปในอนาคต โดยไม่มีการกำหนดหรือแก้ไขไว้ในรัฐธรรมนูญหรือตัวบทกฎหมาย (เช่น การกำหนดให้ “รัฐบาล และสภาผู้แทนราษฎรใหม่ หลังการเลือกตั้ง” ต้องนำข้อเสนอการปฏิรูปด้านการเมือง ของ “สภาปฏิรูป” ไปดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายใน 1 ปี แล้วจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ หรือการกำหนดให้ “ประธานวุฒิสภา” เป็นผู้สรรหา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีใหม่ โดยต้องเป็น “บุคคล” ที่ยอมรับของทุกฝ่าย และต้องไม่มีนักการเมืองและพรรคการเมือง) ข้อเสนอเหล่านี้ ดูจะเป็นสิ่งที่เกินความคาดหมาย หรือเป็นความฝัน

(3) ข้อเสนอของแผนที่ให้มีการปฏิรูป (ประเทศ) ด้วยการกำหนดให้ “สภาปฏิรูป” (ที่แต่งตั้งโดย“กปปส.” และ“เครือข่ายเดินหน้าปฏิรูป”) เป็นผู้กำหนด “ประเด็นกฎหมาย” ที่จะทำการปฏิรูปและกำหนดกรอบเวลาของการแก้ไขกฎหมาย และให้ “รัฐบาลและสภาที่มาจากเลือกตั้ง” เป็นผู้ดำเนินการแก้ไขกฎหมาย ; ผู้เขียนคิดว่า วิธีการเช่นนี้ เป็นสิ่งที่คาดหมายได้ว่า “การปฏิรูป (ประเทศ)” จะล้มเหลว

ทั้งนี้ โดยผู้เขียนจะยังไม่คำนีงถึงข้อเท็จจริงว่า “ประเด็นกฎหมาย” เพื่อการปฏิรูป (ประเทศ) ที่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กำหนดให้ “สภาปฏิรูป” เป็นผู้เสนอนั้น จะมีความสมบูรณ์พอที่จะทำให้การปฏิรูป (ประเทศ) สำเร็จได้หรือไม่ เพราะเป็นเรื่องทางวิชาการ แต่ผู้เขียนจะคำนึงถึงเฉพาะ “ข้อ” ที่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กำหนดให้ “รัฐบาลและสภาที่มาจากเลือกตั้งครั้งต่อไป” เป็นผู้ดำเนินการแก้ไขกฎหมายเพื่อการปฏิรูปฯ ตามประเด็นที่ “สภาปฏิรูป” เป็นผู้กำหนด เพียงเท่านี้ ก็เป็นเหตุผลเพียงพอแล้ว ที่ผู้เขียนจะมีความเห็นว่า เป็นสิ่งที่คาดหมายได้ว่า “การปฏิรูป (ประเทศ)” จะล้มเหลวอย่างแน่นอน

ท่านผู้อ่านโปรดดูข้อเท็จจริง ดังต่อไปนี้ “รัฐบาลและสภาที่จะมาจากเลือกตั้งครั้งต่อไป” ซึ่งก็คือ การเลือกตั้งครั้งต่อไป จะยังคงเป็น “การเลือกตั้ง” ภายใต้ระบบเดิมของรัฐธรรมนูญปัจจุบัน (เพราะยังไม่ได้ยกเลิกบทมาตรา 3 มาตราดังกล่าวของรัฐธรรมนูญ) และดังนั้น รัฐบาลและสภาที่มาจากเลือกตั้งครั้งต่อไป” จึงจะยังคงเป็น “ระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา” ที่มีการผูกขาดอำนาจรัฐโดยพรรคการเมืองนายทุนอยู่ เช่นในปัจจุบันนี้นั่นเอง ; ท่านผู้อ่านลอง “คิด”ด้วยตัวเองว่า รัฐบาลและสภาที่ได้มานี้ จะเข้ามาแก้ไขกฎหมายเพื่อการปฏิรูป (ประเทศ) ตามหลักการที่ “สภาปฏิรูป” (ที่มาจาก “กปปส.” และ“เครือข่ายเดินหน้าปฏิรูป”) กำหนดไว้หรือไม่

เท่าที่กล่าวมานี้ ดูเหมือนว่า “แผนเดินหน้าประเทศไทยฯ” ของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จะไม่มีทั้งการกำหนด “เป้าหมาย” ของแผน และทั้ง “วิธีการ” เพื่อการปฏิบัติการตามที่กำหนดไว้แผน ก็ไม่สามารถทำได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้ง 2 ประการ

สรุปได้ว่า ผู้เขียนคิดว่า ตามที่ปรากฏใน แผนเดินหน้าประเทศไทย “ปฏิรูปภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ” หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) น่าจะยังคงมองไม่เห็น ระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา ที่บัญญัติอยู่ในรัฐธรรมนูญของไทย (ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญประเทศเดียวในโลก) อันเป็น “ต้นเหตุ” ของการผูกขาดอำนาจ(รัฐ)ของพรรคการเมืองนายทุน และเป็น “ต้นเหตุ” ของการทุจริตคอร์รัปชันอย่างมโหฬารของนักการเมืองที่มาจากเลือกตั้ง

หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ยังคงเป็นหัวหน้าพรรคคนเดิมสมัยเมื่อเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อ 4 -5 ปีก่อน คือ ยังคงเชื่อว่า ระบอบการปกครองของประเทศไทย เป็น “ระบอบประชาธิปไตย” และยังคงคิดว่า “ระบบรัฐสภา”ของไทย เหมือนกับ “ระบบรัฐสภา”ของอังกฤษ ตามที่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เคยกล่าวไว้เมื่อปี พ.ศ. 2553

หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เชื่อว่า การปฏิรูปประเทศไทย สามารถทำได้ โดยไม่ต้องแก้ “รัฐธรรมนูญ” ซึ่งผู้เขียนไม่คิดเช่นนั้น

ข้อคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน (เกี่ยวกับการดำเนินการของ “พรรคประชาธิปัตย์” และ “หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์”)

สิ่งที่ผู้เขียนอยากจะเห็นอยู่ในขณะนี้ (พ.ศ. 2557) ก็คือ อยากให้ พรรคประชาธิปัตย์ออกมาประกาศ “จุดยืน” ว่า พรรคประชาธิปัตย์ จะยังไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งต่อไป และจะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งก็ต่อเมื่อ การเลือกตั้งครั้งต่อไปของประเทศไทย เป็นการเลือกตั้งในกระบวนการประชาธิปไตย democratic process คือ จะต้องยกเลิกบทมาตราทั้ง 3 มาตรา (ดังกล่าว) ที่ทำให้ระบอบการปกครองของประเทศไทย เป็น “ระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา” (ประเทศเดียวในโลก) ออกไปจากรัฐธรรมฉบับปัจจุบันของเราก่อน เพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของเรา มีความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ส. ได้ตามมโนธรรม - conscience ของตน

ผู้เขียนคิดว่า พรรคประชาธิปัตย์ ควรเลิก “ความคิด” หรือ “ความหวัง” ที่จะเข้ามาผูกขาด “อำนาจรัฐ” และหาประโยชน์ (แทนที่ “รัฐบาลของนายทุนนักการเมือง”เดิม) ภายใต้ “ระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา” และพรรคประชาธิปัตย์ ควรเรียนรู้ว่า ประเทศที่พัฒนาแล้ว เขาสร้าง “เสถียรภาพ” ให้แก่รัฐบาลของเขา ได้อย่างไร (โดยไม่ต้องมีบทบังคับให้ ส.ส. ต้องสังกัดพรรคการเมือง และไม่ต้องให้อำนาจแก่พรรคการเมือง ให้ไล่ ส.ส.ออกจากตำแหน่ง ส.ส.ได้)

ผู้เขียนเห็นว่า ถ้าหากพรรคประชาธิปัตย์ประกาศ “จุดยืน” ดังกล่าวข้างต้น นอกจากจะเป็นประโยชน์ในยกระดับความรู้กฎหมายมหาชน ว่าด้วย หลักการของระบอบประชาธิปไตย - principle of democracy ให้แก่ “วงการกฎหมายและวงการวิชาการของไทย” แล้ว ยังจะเป็น “ก้าวสำคัญ” ที่จะช่วยผลักดัน ให้ “การปฏิรูป(ประเทศ)” ของมวลมหาประชาชน และ กปปส. สามารถเริ่มต้นดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม และทำให้คนไทยทั้งประเทศได้เข้าใจความหมายของ “ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง” ที่ “รัฐบาลและพรรคการเมืองนายทุนที่ผูกขาดอำนาจรัฐ” อยู่ในขณะนี้ ได้พยายามปกปิดความจริงไม่ให้คนไทยรู้ ด้วย “วิธีการนานาประการ”

และ “วิธีการ”หนึ่ง ที่รัฐบาลไทยนำมาใช้เพื่อปกปิด “ความจริง ” เกี่ยวกับหลักการของระบอบประชาธิปไตย - principle of democracy ก็คือ การขอและการนำเอาเอกสารหรือหนังสือของ “รัฐบาลต่างประเทศ (ที่กล่าวสนับสนุนการกระทำของรัฐบาล) มาอ้างอิง” เพื่อให้ประชาชนเชื่อถือ โดยที่รัฐบาลไทยไม่บอก “ความจริงทั้งหมด” เกี่ยวการระบบเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญของไทย ให้รัฐบาลต่างประเทศรู้ ดังที่ปรากฏเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์บางฉบับเมื่อเร็วๆ นี้ (เมษายน 2557) ว่า รัฐบาลวางแผนดึงต่างชาติให้เข้ามาวุ่นวายกับปัญหาภายใน ด้วยการจัดให้ นาย Kristie Kenney เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และ Daniel Russel ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ ฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกของสหรัฐอเมริกา ได้เข้าพบนายกรัฐมนตรีไทย พร้อมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยเต็มอัตรา เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2557 เพื่อสร้างภาพ และได้ยื่นหนังสือของนาย John Kerry รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ ให้แก่รัฐบาลไทย ; ซึ่งนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แจ้งว่า หนังสือดังกล่าวมีข้อความว่า สหรัฐอเมริกามีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย และหวังว่าจะไม่มีรัฐประหารในประเทศไทย และสหรัฐฯ ยังสนับสนุนให้ไทยเดินไปในแนวทางประชาธิปไตย (?) ใช้การเจรจาแก้ปัญหาไม่ให้เกิดความรุนแรงและวุ่นวาย [หมายเหตุ ผู้เขียนไม่อาจทราบได้ว่า ต้นฉบับหนังสือฯ มีข้อความเต็มว่าอย่างไร เพราะไม่ปรากฏในสื่อมวลชนที่ผู้เขียนอ่าน]

[หมายเหตุ เมื่อผู้เขียน เขียนบทความนี้มาถึงตอนนี้ (หนังสือของรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ที่มีมาถึงรัฐบาลไทย ) ทำให้ผู้เขียนนึกถึงไปถึง “ประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา” ที่เคยมีกรณีที่คล้ายคลึงกับปัญหาวิกฤตของประเทศไทยในขณะนี้ คือ วิกฤตที่เกิดจากการทุจริตคอร์รัปชันอย่างมโหฬารของ นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง โดยอ้าง “ระบอบประชาธิปไตย” ; ผู้เขียนก็เลยคิดว่า ก็โดยที่รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาและเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย มีความห่วงใยคนไทย และเป็นชาวอเมริกันที่เคยเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาในเรื่องการคอร์รัปชันและวิธีการแก้ไขการคอร์รัปชันของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง มาแล้ว เรา(คนไทย) ก็น่าจะขอ “ความช่วยเหลือ” จากท่านทั้งสองนี้ได้

“ข้อ” ที่ผู้เขียนคิดว่า เรา(คนไทย) น่าจะขอ “ความรู้” จาก รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาและเอกอัตรราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ได้ น่าจะมีอยู่ 2 ประการ คือ

ประการแรก คือ การขอความรู้และความเข้าใจใน “ระบอบประชาธิปไตย” และหลักเกณฑ์ในระบอบประชาธิปไตย - principle of democracy ที่ใช้อยู่ในสหรัฐอเมริกา

ผู้เขียนไม่แน่ใจว่า ในการเขียนหนังสือฉบับนี้ส่งมาให้รัฐบาลไทย ที่มี “ข้อความ” แสดงความห่วงใย expressed concern ในสถานการณ์ของประเทศไทย และสนับสนุนให้ไทยเดินไปในแนวทางประชาธิปไตย นั้น ฯพณฯ John Kerry รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ ได้ expressed concern โดยทราบหรือยังว่า แนวทางประชาธิปไตยของประเทศไทย (ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของไทย) นั้น เป็น อย่างไร ; และผู้เขียนก็ไม่แน่ใจว่า ฯพณฯ Kristie Kenney เอกอัตรราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย (ซึ่งผู้เขียนขอสันนิษฐานว่า ท่านคงจะเป็นผู้ที่รู้เรื่องสถานการณ์ในประเทศไทยเป็นอย่างดี ในฐานะที่ท่านเป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย) ได้บอกเรื่องนี้ กับ ฯพณฯ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของท่าน ไปแล้วหรือไม่
การเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญของประเทศไทยนั้น ผู้สมัครรับเลือกตั้งของเราทุกคนถูกบังคับตามรัฐธรรมนูญ ให้ต้องสังกัดพรรคการเมือง โดยผู้สมัครรับเลือกตั้งของเราไม่มี “เสรี” ในการสมัครรับเลือกตั้งโดยไม่สังกัดพรรคการเมือง (มาตรา 101 (3)) และเมื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งของเราได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.แล้ว ส.ส.ของเราไม่มีความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ส.ได้ตามมโนธรรม - conscience ของตน โดยถ้าหาก ส.ส.ลงมติออกเสียงในสภาผู้แทนราษฎร ขัดต่อ “มติสั่งการ” ของพรรคการเมืองแล้ว พรรคการเมืองมีอำนาจมีมติให้ ส.ส.พ้นจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองได้ และ รัฐธรรมนูญของเรามีบทบัญญติให้ สมาชิกภาพความเป็นของ ส.ส. ของบุคคลนั้น ต้องสิ้นสุดลงพร้อมกับการสิ้นสุดการเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง (รธน. มาตรา 106 (7))

สำหรับการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา ผู้เขียนเชื่อว่า ฯพณฯ ทั้งสอง (รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ และเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย คงทราบเป็นอย่างดีแล้วว่า การเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกานั้น รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ. 1787 พร้อมทั้ง Amenments อีก 27 ฉบับนั้น ไม่มีบทบัญญัติเช่นนี้เหมือนกับรัฐธรรมนูญของประเทศไทย และก็ไม่มีกฎหมายใดๆ ของสหรัฐอเมริกามีบทบัญญัติเช่นนี้อีกด้วย

เรา(คนไทย) น่าจะขอความกรุณา จาก ฯพณฯ John Kerry รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา หรือจาก ฯพณฯ Kristie Kenney เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยก็ได้ ช่วยให้ความกระจ่างแก่คนไทย หรือช่วยเขียนให้ข้อเท็จจริงเพิ่มเติม เป็น “PS” แก่คนไทย ว่า ในการแสดงความกังวลในสถานการณ์ของประเทศไทยตามหนังสือที่ ฯพณฯ ได้ส่งมาให้รัฐบาลไทย นั้น ฯพณฯ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ได้ทราบถึงบทบัญญัติรัฐธรรมนูญของประเทศไทยนี้ แล้ว และฯพณฯ เห็นว่า “การเลือกตั้ง” ของประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญไทย” นั้น เป็นไปในแนวทางประชาธิปไตย หรือตาม democratic process แล้ว

เพียงเท่านี้ ฯพณฯ ทั้งสอง ก็จะทำประโยชน์ให้แก่คนไทยทั้งประเทศอย่างมหาศาล ด้วยการให้ “ความรู้”ของคนอเมริกันแก่คนไทย

แต่ถ้า ฯพณฯ ทั้งสองได้ออก “หนังสือดังกล่าว” มายังรัฐบาลไทย โดยยังไม่รู้เรื่อง “การเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญของไทย” มาก่อน ก็ขอความกรุณาแจ้งให้คนไทยได้ทราบด้วย ว่า ฯพณฯ ทั้งสอง ได้ออก “หนังสือดังกล่าว” มายังรัฐบาลไทย โดยยังไม่ทราบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว

ประการที่สอง การขอให้ท่าน (รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา และเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย) ให้ความเห็น ใน “วิธีการ” แก้ไขการคอร์รัปชันของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง

โดยที่หนังสือฉบับที่ส่งมาให้รัฐบาลไทย ได้มี “ข้อความ” ที่รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ได้แสดงความห่วงใย expressed concern เกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย และหวังว่า จะไม่มีรัฐประหารในประเทศไทย ; ดังนั้น เรา (คนไทย) ก็น่าจะขอความกรุณาจาก ฯพณฯ John Kerry ให้ช่วยให้ความคิดเห็นใน “วิธีการ” การแก้ปัญหาคอร์รัปอย่างมโหฬารของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ว่า ตามสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบัน จะมีวิธีการใดบ้าง ที่ เรา (คนไทย) สามารถแก้ปัญหานี้ได้ โดยไม่มีการรัฐประหาร

ฯพณฯ ทั้งสอง ในฐานะที่เป็นคนอเมริกัน ได้มีประสบการณ์ในเรื่องนี้มาแล้วในอดีต เป็นเวลาเกือบ 100 ปี ท่านคงจะให้ความคิดเห็น ที่เป็นประโยชน์แก่คนไทยได้บ้าง

ก่อนอื่น ผู้เขียนขอทบทวนประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชันของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกา (เท่าที่ผู้เขียนทราบ) ให้ท่านผู้อ่านทราบอย่างสั้นๆ พอเป็นสังเขป : ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่า ฯพณฯ John Kerry รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา และ ฯพณฯ Kristie Kenney เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ย่อมทราบประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ดีกว่าผู้เขียนเป็นอันมาก เนื่องจาก ฯพณฯ ทั้งสอง ได้เรียนวิชาประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกานี้มาตั้งแต่สมัยที่ท่านเรียน High School

ผู้เขียนเชื่อว่า ฯพณฯ ทั้งสอง คงรู้จักคำและความหมายของคำว่า “spoils system” แล้วเป็นอย่างดี (หมายเหตุ ผู้เขียนขอเรียนท่านผู้อ่านอย่างสั้นๆ ว่า ระบบ spoils system ก็คือ “ระบอบทักษิณ” ของสหรัฐอเมริกานั่นเอง)

และเป็นที่แน่นอน ฯพณฯ ทั้งสอง คงรู้จักนายพล Goerge Washington ที่ตามความเห็นของผู้เขียน เป็นรัฐบุรุษที่ดีที่สุดของสหรัฐอเมริกา ; Goerge Washington เป็นผู้บัญชาการทัพที่ทำการปฏิวัติและทำให้สหรัฐอเมริกาเป็นเอกราช พ้นจากการปกครองของอังกฤษ ; Goerge Washington ได้ปฏิเสธที่จะนำระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาใช้ในสหรัฐอเมริกา และตนเองได้เป็นกษัตริย์ ตามที่มี่ผู้เสนอให้แก่ท่าน ; Goerge Washington เป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกา (ค.ศ. 1788 - ค.ศ. 1796) และบริหารประเทศด้วยระบบ merit system อย่างเคร่งครัด ซึ่งในขณะนั้นเมื่อ 200 ปีก่อน สหรัฐอเมริกาเรียก “ระบบ merit system” ว่า “หลัก fitness for office”) ; และหลังจากนั้น ความเคร่งครัดในระบบ merit system ของสหรัฐอเมริกาก็ค่อยๆ ลดลง เมื่อมีการเปลี่ยนประธานาธิบดี

ฯ พณฯ ทั้งสองคงรู้จัก Andrew Jackson ประธานาธิบดี คนที่ 7 ของสหรัฐอเมริกา ( ค.ศ. 1829 - ค.ศ.1837) ในต้นศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของ “ระบบ spoils system” และเป็นระบบที่ทำให้เกิดการคอร์รัปชันโดยนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง อย่างมโหฬารทั่วทั้งประเทศสหรัฐอเมริกา ตลอดมาเป็นเวลายาวนาน ; และเช่นเดียวกัน ฯพณฯ ทั้งสอง คงรู้จัก William L. Marcy นักกฎหมายและนักการเมืองที่มีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกาในระยะนั้น ที่อภิปรายในวุฒิสภา ในปี ค.ศ. 1832 ด้วยถ้อยคำที่ชาวอเมริกันยังจำกันได้จนถึงทุกวันนี้ คือ “ผู้ชนะ(การเลือกตั้ง) ย่อมได้ไปซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างของศัตรู- nothing wrong in the maxim that to the victors belong the spoils of the enemy

“ระบบ spoils system” และการทุจริตคอร์รัปชันของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง เป็นสิ่งที่เป็นปกติในสหรัฐอเมริกา ติดต่อกันมาตลอดในศตวรรษที่ 19 ; โดยในบางสมัย ประธานาธิบดีสหรัฐฯ บางคนถูกลอบสังหาร เพราะสาเหตุการคอร์รัปชันของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง และในตำราประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ยังบันทึกคดีการคอร์รัปชันใหญ่ๆ ของนักการเมือง ไว้ให้นักเรียนของเขาได้ศึกษากันอยู่จนถึงทุกวันนี้ ; จนในปลายศตวรรษที่ 19 คนอเมริกัน (หรือ “มวลมหาประชาชน” ของสหรัฐอเมริกา) สุดที่จะอดทนกับระบบ spoils system และ “ระบอบประชาธิปไตย” ตามความหมายของนาย William L. Marcy (“ทักษิณ” ของสหรัฐฯ) จึงได้เกิดการประท้วงกันอย่างมากมายในหลายมลรัฐ และทำให้สหรัฐอเมริกาต้องออกกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการประจำ (civil service) ฯลฯ

แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศสหรัฐอเมริกาต้องรอจนถึง Woodrow Wilson ซึ่งเป็นอาจารย์สอนกฎหมายเปรียบเทียบ - comparative law ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของสหรัฐอเมริกาในยุคนั้น ได้รับเลือกตั้งเข้ามา เป็น ประธานาธิบดี คนที่ 28 (ค.ศ. 1913 - ค.ศ. 1921) สหรัฐอเมริกาจึงได้มีโอกาสปฏิรูประบบ “กฎหมายมหาชน” อย่างแท้จริง โดยประธานาธิบดี Woodrow Wilson ได้ออกกฎหมายหลายเรื่องที่ตัดอำนาจของตนเอง (ในฐานะ “ประธานาธิบดี”) และได้สร้างระบบบริหารงานราชการประจำของสหรัฐอเมริกาที่อยู่บนพื้นฐานของ merit system และ professionalism in public service ขึ้น

(หมายเหตุ และประธานาธิบดี Woodrow Wilson คนนี้ คือ บุคคลที่ริเริ่มก่อตั้ง the League of Nations (หรือองค์กร “สันนิบาตชาติ” ) ในปี ค.ศ. 1920 หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 1914 ถึง ค.ศ. 1918) โดยมุ่งหมายจะให้เป็น “องค์กร”ของโลก ในการแก้ปัญหาการขัดแย้งระหว่างประเทศต่างๆ ( ด้วยความหวังว่า จะเป็นองค์กร ที่จะป้องกันมิให้เกิดสงครามโลกขึ้นอีก) ; และแม้ว่า the League of Nations จะประสบความล้มเหลว ในเวลาต่อมา อันเนื่องจาก “รูปแบบการจัดองค์กร” ของ the League of Nations ยังไม่ “ดี” พอที่จะแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างประเทศ ; แต่ the League of Nations ก็ได้เป็น “ประสบการณ์” ที่ทำให้วงการวิชาการมองเห็นความสำคัญของกฎหมายมหาชน ในเรื่อง ““รูปแบบการจัดองค์กร ในการจัดตั้งสถาบัน” ต่างๆ ; the League of Nations เป็น “ต้นกำเนิด” ของ องค์กรสหประชาชาติ หรือ UN ของเราในปัจจุบัน ที่ได้จัดตั้งขึ้นใน ปี ค.ศ. 1945 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง (ค.ศ.1939 ถีง ค.ศ. 1945) ; และโดยอาศัยประสบการณ์จากความล้มเหลวของ the League -of Nations , องค์กรสหประชาชาติ หรือ UN ของเราในปัจจุบัน จึงได้มีการปรับเปลี่ยน “รูปแบบการจัดองค์กร” เสียใหม่ ; UN ของเราในปัจจุบัน มีทั้ง “องค์กรและมาตรการ” เพื่อการพัฒนาสังคม “องค์กรและมาตรการ” เพื่อระงับการขัดแย้งระหว่างประเทศ และ “องค์กรบริหาร” ที่ลดความกดดันจากประเทศมหาอำนาจ (the Security Council ที่ประเทศมหาอำนาจ 5 ประเทศ มี permanent seats ) ฯลฯ ; และขณะนี้ ปี ค.ศ. 2007 องค์กรสหประชาชาติ หรือ UN ก็ได้เป็น “องค์กร” ที่เข้ามาแก้ปัญหาให้โลกของเรามาจนถึงปัจจุบันนี้ เป็นเวลาเกือบ 70 ปี แล้ว ]

ข้อความที่กล่าวมานี้ เป็นประวัติศาสตร์ของ “ระบบ spoils system” ( หรือ “ระบอบทักษิณ”) ของประเทศสหรัฐอเมริกา โดบสังเขป ซึ่ง ฯพณฯ John Kerry รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา และ ฯพณฯ Kristie Kenney เอกอัตรราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย คงทราบดีอยู่แล้ว เพราะท่านเป็นคนอเมริกัน

จากประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา จะเห็นได้ว่า ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แก้ “ปัญหาการคอร์รัปชันของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง” โดยอาศัยอำนาจของ “ประธานาธิบดี” ทั้งนี้เพราะรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาใช้ระบบประธานาธิบดี - presidential system ; ดังนั้น เมื่อสหรัฐอเมริกามี “คนดี ได้เข้ามาปกครองบ้านเมือง” คือ เมื่อ “คนดี” ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นประธานาธิบดี สหรัฐอเมริกาก็สามารถแก้ปัญหาได้ด้วย “คนดี” นั้น แม้ว่า สหรัฐอเมริกาจะต้องรอคอยการแก้ปัญหามานานกว่า 100 ปี คือ จากต้นศตวรรษที่ 19 จนถึงต้นศตวรรษที่ 20 สหรัฐอเมริกาจึงจะได้มี “คนดี” ที่มีความสามารถและมีความเสียสละ ได้รับเลือกตั้งเข้าแก้ปัญหาให้คนอเมริกัน

แต่สำหรับประเทศไทย รัฐธรรมนูญของประเทศไทย แตกต่างกับรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา เพราะประเทศไทย ใช้ระบบรัฐสภา - parliamentary system ซึ่ง “ฝ่ายบริหาร” มาจากเสียงส่วนใหญ่ ของ ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎร (มิได้มาจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีเหมือนประเทศสหรัฐอเมริกา ) และตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น รัฐธรรมนูญของประเทศไทยเป็นรัฐธรรมนูญฉบับเดียวในโลก ที่มีบทบัญญัติ 3 มาตรา ที่ทำให้เกิด “ระบบการผูกขาดอำนาจรัฐ โดยพรรคการเมืองของนายทุนสามานย์”

และ ดังนั้น ในเมื่อ “พรรคการเมืองนายทุนสามานย์” ที่ผูกขาดอำนาจรัฐ และนายทุนเจ้าของพรรคการเมือง) ไม่ยอมแก้ไขรัฐธรรมนูญ (ยกเลิกบทมาตราที่สร้างระบบเผด็จการของพรรคการเมืองนายทุนฯ) และไม่ยอมออกจากตำแหน่ง ไม่ว่าด้วยประการใด ๆ ; และการที่นายทุนเจ้าของพรรคการเมือง) ที่ยึดครอง “อำนาจรัฐ อยู่ตามรัฐธรรมนูญปัจจุบัน ไม่ยอมแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็เป็นไปตามปกติวิสัยของพฤติกรรมนุษย์ ตามหลักสังคมวิทยา - sociology เพราะคงไม่มีนายทุนเจ้าของพรรคการเมือง คนใด ที่อยากจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่จะทำให้ตนเองต้องสูญเสียอำนาจรัฐ ที่ตนเองกำลังยึดครองอยู่ และตนก็ได้ลงทุน “ซื้อเสียง” ให้ผู้ที่สมัคร ส.ส.ไปแล้ว และ “ซื้อ ส.ส.” (ด้วยการแจกซองรายเดือนให้แก่ ส.ส.) ไปแล้ว

ปัญหาของประเทศไทยในขณะนี้ จึงมีว่า แล้ว “นักการเมืองนายทุนคนใด” เล่า ที่จะมาแก้ไขรัฐธรรมนูญ (ยกเลิก 3 มาตรา) ให้คนไทย โดยไม่มีการรัฐประหาร

โดยที่รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ได้แสดงความห่วงใยเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย และหวังว่า จะไม่มีรัฐประหารในประเทศไทย ; ดังนั้น เรา(คนไทย) จึงน่าจะขอความกรุณาจาก ฯพณฯ John Kerry รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา และจาก ฯพณฯ Kristie Kenney เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ให้ช่วยให้ความคิดเห็นใน “วิธีการ” การแก้ปัญหาคอร์รัปชันอย่างมโหฬารของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งของประเทศ ไทย โดยไม่ต้องมีการรัฐประหาร ว่า จะสามารถทำได้อย่างไร

ผู้เขียนเชื่อว่า ฯพณฯ ทั้งสอง ชาวอเมริกันที่มีประสบการณ์มาแล้ว คงจะให้ความคิดเห็นในการแก้ “ปัญหา” นี้ ได้ ดีกว่าคนไทย และดีกว่าผู้เขียน

ในปี พ.ศ. 2553 ผู้เขียนได้เคยเขียนบทความบทหนึ่งไว้ว่า การที่ประเทศไทยต้องตกอยู่ในสภาพที่เต็มไปด้วย “ปัญหา” อยู่ในขณะนี้ เพราะประเทศไทยเราเต็มไปด้วยนักวิชาการและชนชั้นนำที่ชอบเสนอความคิดเห็นในการแก้ปัญหาประเทศ แต่ไม่มีความสามารถ (หรือไม่มี “ปัญญา”) พอที่จะเสนอ “วิธีการ” ที่ทำให้วิธีแก้ปัญหา ที่ตนเองเสนอนั้น เกิดขึ้นได้ตามความเป็นจริง ; เปรียบเสมือนหนูในนิทานอิสป “เรื่องหนูกับแมว” ที่หนูตัวหนึ่งเสนอให้แก้ “ปัญหาเรื่องแมวแอบมาจับหนู โดยหนูไม่รู้ตัว” ด้วยการเสนอให้เอา “กระดิ่ง” ไปผูกคอแมว แต่จนแล้วจนรอด ก็ไม่อาจหา “วิธีการ” ที่จะเอากระดิ่งไปผูกคอแมวได้ เพราะหนูทุกคนกลัวตาย ; และนิทานเรื่องหนูกับแมว - the mice in council นี้ ตามตำราฝรั่งเขาบอกว่า นิทานเรื่องนี้ สอนให้รู้ว่า it is one thing to suggest and another thing to do หรือ it is easy to propose impossible remedies

ผู้เขียน เชื่อว่า ฯพณฯ ทั้งสองได้รู้อยู่แล้วว่า ระบบการปกครองของประเทศไทย (ซึ่งใช้ระบบรัฐสภา) แตกต่างกับ ระบบการปกครองของประเทศของท่านคือสหรัฐอเมริกา (ซึ่งใช้ระบบประธานาธิบดี) และ ฯพณฯ ทั้งสองก็คงรู้เรื่อง “นิทานอิสป - Aesop’s Fables” เรื่องหนูกับแมว ดีอยู่แล้วเช่นกัน (เพราะนิทานอีสป ที่มีต้นกำเนิดมาจาก Aesop นักเล่านิทานชาวกรีก ที่ตายมานานกว่าสองพันห้าร้อยปีแล้ว ได้มีการแปลเป็นภาษาต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งภาษาไทย)

ผู้เขียนหวังว่า ด้วยความรอบรู้ของ ฯพณฯ ทั้งสอง ที่เป็นผู้ที่หวังดีและกังวลในปัญหาการเมืองของประเทศไทย คำตอบของ ฯพณฯ ที่ให้แก่คนไทย คงไม่ใช่คำตอบประเภทที่เป็น it is easy to propose impossible remedies คือ ให้คนไทยไปบอกกับ “แมว” ว่า ขอให้เลิกมากิน “หนู” และให้คนไทยมีความสุขด้วยการรอ “ความหวัง” ว่า แมวจะกรุณาเลิกกินหนู ; การรอคอยให้แมว (กรุณา) เลิกกินหนู ในกรณีของประเทศไทยใช้ “ระบบรัฐสภา” อาจยาวนานกว่า 100 ปี เช่นในกรณีของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ใช้ “ระบบประธานาธิบดี”

หวังว่า คำตอบของ ฯพณฯ ทั้งสอง คงไม่เพิ่ม “จำนวน” หนู (ตัวที่เสนอให้เอากระบวนไปผูกคอแมว โดยที่ไม่ได้คิดถึง “วิธีการ” ไว้ก่อน ว่า จะเอากระพรวนไปผูกคอแมวได้อย่างไร) ขึ้นมาอีก (สองตัว) เพราะในขณะนี้ ประเทศไทย มีจำนวนนักวิชาการและชนชั้นนำที่เป็นหนูจำพวกนี้ อยู่มากเกินพอแล้ว]

●● สิ่งที่เรา (คนไทย) จะต้อง “ทำ” ต่อไป หลังจากการทำ “สิ่งแรก” แล้ว (ถ้าเราต้องการ ปฏิรูป (ประเทศ) ให้สำเร็จ ) คือ อะไร

เมื่อเราได้พูด ถึง “สิ่งแรก ที่เราจะต้อง “รู้” และสิ่งแรก ที่เราจะต้อง “ทำ” ในการปฏิรูป (ประเทศ) ว่า คือ อะไร” แล้ว และผู้เขียนได้เรียนไว้แล้ว สิ่งแรกที่จะต้อง “ทำ” ในการปฏิรูป (ประเทศ) นั้น เป็นสิ่งที่ง่ายที่สุด ของการปฏิรูปประเทศ แต่สิ่งที่จะต้อง “ทำ” เพื่อทำให้มีการปฏิรูปประเทศมีผลสำเร็จนั้น จะยากมากกว่าหลายเท่า

เราทราบแล้วว่า สิ่งแรก ที่เราจะต้อง“รู้” ในการปฏิรูป (ประเทศ) คือ ต้องหา”สาเหตุ” ของการทุจริตคอร์รัปชันและการผูกขาดอำนาจของพรรคการเมืองนายทุน (หรือระบอบทักษิน) ให้พบ และขจัด “สาเหตุ” ให้หมดไป ; ซึ่งในบทความนี้ ได้อธิบายให้ท่านผู้อ่านทราบแล้วว่า “สาเหตุ” ของการผูกขาดอำนาจรัฐของพรรคการเมืองนายทุนนั้น อยู่ที่บทมาตรา 3 มาตราของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน พ.ศ. 2550 ที่สร้าง “ระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา” (ประเทศเดียวในโลก) ; และ “สิ่งแรก” ที่เราจะต้อง “ทำ” ในการปฎิรูป (ประเทศ) ก็คือ ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ และยกเลิกบทมาตราทั้ง 3 ดังกล่าวออกไปจากรัฐธรรมนูญ และสิ่งแรกนี้ เราต้องทำ “ก่อนการเลือกตั้งครั้งใหม่”

ต่อไปนี้ เราก็จะมาพูดว่า สิ่งที่เราจะต้อง “ทำ” ต่อไป (หากเราต้องการทำการ “ปฏิรูป (ประเทศ)” ให้สำเร็จ)

สิ่งที่ต้อง “ทำ”ในการปฏิรูปประเทศ (ให้สำเร็จ) ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ

ตามที่กล่าวมาแล้วว่า “การปฏิรูป (ประเทศ)” ประกอบด้วยการแก้ไข “กฎหมาย” จำนวนมาก และดังนั้น สิ่งที่ต้อง “ทำ” ในการปฏิรูปประเทศ (ให้สำเร็จ) คงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ตามที่พูดๆ กันอยู่บนเวทีสาธารณะทุกวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “การปฏิรูปประเทศ” สำหรับประเทศที่ไม่มี (ไร้) statesman ดังเช่น “ประเทศไทย” ในขณะนี้

คำว่า “statesman” ในที่นี้ ผู้เขียนไม่ได้หมายความ ถึง “รัฐบุรุษ” ที่เป็นตำแหน่งที่มีการแต่งตั้ง และไม่ได้หมายถึง “รัฐบุคคล” ตามที่จะมีการเรียกขานกันเอง

แต่ผู้เขียน หมายถึงบุคคล(ตามสภาพความจริง) ที่มีความรอบรู้ มีความเสียสละ และมีบารมี คือ ได้รับความเชื่อถือศรัทธาจากประชาชนส่วนใหญ่ ให้เป็น “ผู้ชึ้นำ” ในการปฏิรูป (ประเทศ) ให้แก่คนทั้งประเทศ ในยาม “วิกฤตชาติ”

ตัวอย่าง ดังเช่น นายพล De Gaulle ของประเทศฝรั่งเศส ที่เข้ามาแก้ “วิกฤตชาติ” ให้คนฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1958 โดยนายพล De Gaulle ได้มาปรับเปลี่ยน “รูปแบบ” ของสถาบันการเมืองในรัฐธรรมนูญ ใน “ระบบรัฐสภา - parliamentary system” แบบเดิมๆ ให้เป็นระบบ rationalized system ใหม่ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1945)

หรือเช่น ประธานาธิบดี “Woodrow Wilson” ของสหรัฐอเมริกา (ค.ศ. 1913 - 1924) ซึ่งเป็นนักกฎหมายมหาชนที่มีชื่อเสียงที่สุดของสหรัฐอเมริกาในระยะนั้น ที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็น “ประธานาธิบดี” ; และประธานาธิบดี Woodrow Wilson ได้ใช้เวลา 8 ปีเต็มของการเป็นประธานาธินาธิบดี 2 สมัย วางพื้นฐานการปฏิรูปประเทศ ด้วย “การปฏิรูประบบกฎหมายมหาชน” ให้แก่สหรัฐอเมริกา

[หมายเหตุ โปรดดู บทความของผู้เขียน ในหนังสื่อ เรื่อง “ผลไม้มีพิษ มาจากต้นไม้ที่มีพิษ จริงหรือ (?)” , สำนักพิมพ์วิญญูชน. พ.ศ.2556]

● สถานการณ์ของประเทศในปัจจุบัน (เดือนพฤษภาคม) “ทางออก” ในการปฏิรูป (ประเทศ) ของประเทศไทย อยู่ที่ไหน

ก่อนที่ผู้เขียนจะให้ความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ว่า “เรา (คนไทย) จะทำอย่างไร การปฏิรูป (ประเทศ) จึงจะสำเร็จ” ; เราลองมาประมวลดู “สถานการณ์ของประเทศในขณะนี้ (เดือนพฤษภาคม)” และลองดู “ความเข้าใจการปฏิรูป (ประเทศ)” ของมวลชนและชนชั้นนำของเรา (คนไทย) อย่างสั้นๆ ดูอีกสักครั้ง

เหตุการณ์สำคัญ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557

ในเดือนพฤษภาคม ตั้งแต่ต้นเดือนเป็นต้นมา ได้มี
“เหตุการณ์”สำคัญ (ที่ผู้สนใจการเมืองสมควรบันทึกเอาไว้ เพื่อดูความเปลี่ยนแปลงของกระแสการเมือง) อยู่ 3 เหตุการณ์ ซึ่งท่านผู้อ่านบางท่าน อาจคิดว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เป็นวิวัฒนาการไปสู่การแก้ “ปัญหาวิกฤตชาติ” ก็ได้ หรือบางท่าน (รวมทั้งผู้เขียน) อาจคิดว่า เป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นซ้ำๆ กัน และเป็นการวนเวียนอยู่ใน “ความคิด” เดิมๆ และ “ปัญหา” เดิมๆ โดยไม่มีวิวัฒนาการก็ได้ เหตุการณ์เหล่านี้ก็คือ

(1) คำวินิจฉัยของศาลรัฐูธรรมนูญ (กรณีการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ - สมช.)

ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2557 ศาลรัฐูธรรมนูญ ได้มีคำวินิจฉัย กรณีที่ประธานวุฒิสภาส่งความเห็นของนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา กับคณะ ขอให้วินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) ประกอบกับมาตรา 268 กรณีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ศาลรัฐธรรมนูญ (โดยมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0) วินิจฉัย ว่า นายกรัฐมนตรีได้ใช้สถานะหรือตำแหน่งการเป็นนายกรัฐมนตรี เข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงในเรื่องการบรรจุแต่งตั้งโยกย้ายฯ ตำแหน่งของข้าราชการ เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่น เป็นการกระทำอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญตามมาตรา 268 ประกอบกับมาตรา 266 วรรคหนึ่ง (2)(3) เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรี ต้องสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) และไม่อาจจะอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 181 ได้อีกต่อไป รวมทั้งวินิจฉัยให้คณะรัฐมนตรี ที่ร่วมประชุมและลงมติกรณีการโยกย้ายข้าราชการฯ ดังกล่าว ในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554 ต้องสิ้นสุดลงเป็นการเฉพาะตัวตามมาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) ด้วย [ หมายเหตุ รัฐมนตรีที่อยู่ในคณะรัฐมนตรีในขณะนั้นที่ดำรงตำแหน่งอยู่จนถึงปัจจุบัน และความเป็นรัฐมนตรีต้องสิ้นสุดลงตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ มีจำนวน 9 คน และยังมีรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีปัจจุบัน ที่ยังอยู่ในตำแหน่งเหลืออยู่อีก 25 คน]

(2) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ - ป.ป.ช. (ชี้มูลความผิด กรณี นายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ทุจริตในโครงการรับจำจำข้าว)

ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2557 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีคำแถลง ว่า “ป.ป.ช.” ได้มีมติ 7 ต่อ 0 ชี้มูลความผิด ให้ส่งสำนวนการถอดถอน “น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี” ไปยังวุฒิสภา กรณี “ประธานวุฒิสภา” ส่งคำร้องขอให้วุติสภา ถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากมีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 178 หรือข้อกฎหมาย ปล่อยให้มีการทุจริตในโครงการรับจำจำข้าวและระบายข้าว และมีเหตุอันควรสงสัยว่า นายกรัฐมนตรีเพิกเฉยไม่ระงับยับยั้งความเสียหายที่เกิดขึ้น ตามอำนาจหน้าที่ อันเป็นเหตุแห่งการถอดถอนผู้ถูกกล่าวหาออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 [หมายเหตุ ป.ป.ช. ให้ส่งสำนวนการถอดถอน “น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี” ไปยังวุฒิสภา แม้ว่านางสาวยิ่งลักษณ์ จะได้ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นสภาพการเป็นนายกรัฐมนตรีไปแล้ว เนื่องจากยังมี “โทษเพิกถอนการดำรงตำแหน่งทางการเมือง 5 ปี” ที่วุฒิสภาที่จะดำเนินการต่อไปอยู่ด้วย]

ส่วนคดีอาญาที่ประชุม ป.ป.ช.มีมติให้ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติมต่อไปจนกว่าจะสิ้นกระแสความ โดยไม่ตัดพยานที่นายกรัฐมนตรี (ผู้ถูกกล่าวหา) ได้อ้างมาในคำร้องขอนำสืบ และจะนำไปพิจารณาใน “สำนวนคดีอาญา” ต่อไป

(3) วุฒิสภามีมติเลือก “ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภา”

ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2557 ได้มีการประชุมวุฒิสภา (ในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ) ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกาเรียกสมัยประชุมวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. 2557 เพื่อให้มีการประชุมวุฒิสภา ตามมาตรา 132 (2) ( เพื่อพิจารณาผู้ดำรงตำแหน่ง “กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ”ในคณะกรรมการศาลปกครอง และ “กรรมการ” ในคณะ“กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ)

ในการประชุมวุฒิสภา วุฒิสภาได้มี “มติ” (ด้วยคะแนนเสียง 96 ต่อ 17 คะแนน) ให้มีวาระการเลือกประธานและรองประธานวุฒิสภา เป็นการเพิ่มเติมจากวาระที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาฯ

วุฒิสภาได้มีมติเลือกให้ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย (รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง) เป็น “ประธานวุฒิสภา” ด้วยคะแนนเสียง 96 คะแนน (โดย พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ - ส.ว.สรรหา ได้ 51 คะแนน) ; และมีมติเลือกให้ นายพีระศักดิ์ พอจิต ส.ว.อุตรดิตถ์ เป็น “รองประธานวุฒิสภา คนที่สอง” ด้วยคะแนนเสียง 86 คะแนน (โดย นายจองชัย เที่ยงธรรม ส.ว.สุพรรณบุรี ได้ 51 คะแนน) [หมายเหตุ ซึ่งเลขาธิการวุฒิสภา จะได้ส่งชื่อผู้ที่ได้รับเลือกฯ ไปให้นายกรัฐมนตรี เพื่อนำความกราบบังคมทูลฯ ต่อไป]

“ความเข้าใจ - การปฏิรูป(ประเทศ)” ภายหลังเหตุการณ์สำคัญ

“เหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์” ในต้นเดือนพฤษภาคม ดังกล่าวข้างต้น ได้ทำให้ “ประเด็น” การขัดแย้งระหว่าง “กระแสการเรียกร้องการปฎิรูป (ประเทศ)” และ “กระแสการโต้แย้ง” มีความชัดเจนยิ่งขึ้น และทำให้ผู้เขียนมี “โอกาส” มองเห็น สภาพความจริงของ “มาตรฐานความรู้ทางกฏหมายมหาชน” ของสังคมของเรา ได้มากที่สุด อย่างที่ไม่เคยมีโอกาสมาก่อน
แต่ก่อนที่ผู้เขียนจะให้ความเห็นของผู้เขียน ขอให้ท่านผู้อ่าน โปรดดู “ข้อเท็จจริง” ดังต่อไปนี้

(1) “มวลมหาประชาชน และ กปปส.”

หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีคำวินิจฉัย ในวันที่ 7 พฤษภาคม มวลชนของ “มวลมหาประชาชน” และ “กปปส.” ได้เข้าปิดล้อมสถานีโทรทัศน์หลายแห่ง และ ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2557 กปปส.ได้ออกแถลงการณ์ผ่านสถานีโทรทัศน์ เรียกร้องไปยัง (ว่าที่)ประธานวุฒิสภา / ประธานศาลฎีกา / ประธานศาลปกครองสูงสุด / ประธานศาลรัฐธรรมนูญ / และประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ให้ร่วมกันคัดเลือกและทูลเกล้าฯ แต่งตั้ง “นายกรัฐมนตรีตามมาตรา 7 แห่งรัฐธรรมนูญ”

และหลังจากนั้น “กปปส.” ก็ได้แถลงอีกหลายครั้ง และในหลายที่ รวมทั้งที่ “ตึกสันติไมตรี” (ทำเนียบรัฐบาล) ยืนยันว่า ประเทศไทยในขณะนี้ไม่มีนายกรัฐมนตรี จึงจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องหานายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีที่มีอำนาจเต็มมาทำหน้าที่บริหาร และขณะนี้มี “วุฒิสภา” เพียงองค์กรเดียวที่เป็นองค์กรที่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นอำนาจโดยชอบธรรมที่วุฒิสภาจะเร่งหารัฐบาลใหม่มาแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ฯลฯ

(2) พระพุทธอิสระ (หลวงปู่) ได้กล่าว ณ เวที กปปส.ศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ ในเวลาใกล้เคียงกัน ว่า ถ้า กปปส.ยังไม่สามารถทำให้เรื่องจบลงได้ ก็คงต้อง “ถวายคืนพระราชอำนาจ”

(3) (ว่าที่) ประธานวุฒิสภา (นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย) และสมาชิกวุฒิสภา หลังจากที่ได้มีการประชุมวิสามัญของวุฒิสภา เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2557 และได้มีการเลือกผู้ที่จะดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาแล้ว ปรากฏว่า (ว่าที่) ประธานวุฒิสภา (นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย) และสมาชิกวุฒิสภาจำนวนหนึ่ง ก็ได้มีการนัดพบกับบุคคลหลายกลุ่ม ตามวัน เวลา และสถานที่ต่างๆ กัน ต่อเนื่องกันมาโดยลำดับ เพื่อหา “ทางออกให้แก่ประเทศไทย”

ในบรรดาบุคคลและกลุ่มบุคคลที่ได้พบกับ (ว่าที่) ประธานวุฒิสภา (นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย) และสมาชิกวุฒิสภา ก็มี เป็นต้นว่า หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ / หัวหน้าหน่วยราชการและตัวแทนเหล่าทัพ จำนวน 17 หน่วยงาน จากจำนวน 25 หน่วยงาน เช่น ปลัดกระทรางสาธารณสุข ปลัดกระทรวงการคลัง รอง ผบ.ทหารสูงสุด ฯลฯ / องค์กรภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน เช่น สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ฯลฯ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย จากสถาบันการศึกษาและมหาวิทยาลัยของรัฐ 21 แห่ง (ในจำนวน 27 แห่ง) เช่น อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล อธิการบดีสถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ อธิการบดีม.ธรรมศาสตร์ ฯลฯ

ตามข่าวที่ปรากฏในสื่อมวลชน “ประเด็น” ที่หารือในการประชุมระหว่าง (ว่าที่)ประธานวุฒิสภาและสมาชิกวุฒิสภา กับผู้ที่เกี่ยวข้อง ก็คือ “ความเป็นไปได้” ในการเสนอให้มีการแต่งตั้ง “นายกรัฐมนตรีคนกลาง” ที่มีอำนาจเต็ม ในการบริหารประเทศ

ในวันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม ได้มีการประชุมวุฒิสภาสภานอกรอบ) เพื่อสรุปผล “แนวทางแก้ไขปัญหาทางออกประเทศ” หลังจากที่ได้มีการพบปะหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องมาแล้ว ; ในการประชุม มี ส.ว.เข้าร่วมประชุม 65 คน

หลังการประชุม (ว่าที่) ประธานวุฒิสภา แถลงผลการประชุมว่า ที่ประชุมเห็นพ้องกันว่า ส.ว.ต้องมีส่วนร่วมแก้ไขวิกฤต จากการประสานรับฟังความเห็นจากเวทีสาธารณะทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และ ส.ว.ขอเรียกร้องไปยังรัฐบาล 3 ข้อ โดยสรุป ได้ดังนี้ (1) เพื่อให้การแก้ไขปัญหาบรรลุเจตนารมณ์ในการคืนความสงบสุขต้องเริ่มดำเนินการให้มี “การปฏิรูปประเทศ”ในทุกด้านให้เสร็จโดยเร็ว โดยจะต้องมี “นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีที่มีอำนาจเต็ม” เพื่อดำเนินการ ; (2) ขอเรียกร้องให้รัฐมนตรี ที่รักษาการอยู่ขณะนี้และพรรคการเมือง ให้ความร่วมมือกับวุฒิสภา ในการหาทางออกให้ประเทศ เพื่อแก้ปัญหาอย่างมีรูปธรรม ; (3) วุฒิสภาพร้อมทุ่มเทการทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยจะนำความเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนมาพิจารณาในการประชุมเป็นกรณีพิเศษ เพื่อให้ได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีภายใต้กรอบของของรัฐธรรมนูญและประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทางเป็นประมุขของไทยและในระดับสากล โดยเร็ว

จากข้อเท็จจริงดังกล่าว จะเห็นได้ว่า “ชนชั้นนำ” ของคนไทย(เกือบ)ทั้งหมด ที่ต้องการ “ปฏิรูป(ประเทศ)” มีความ เห็นไปในแนวทางเดียวกัน คือ ต้องการ “นายกรัฐมนตรีคนกลาง” (และคณะรัฐมนตรี) ที่มีอำนาจเต็ม เพื่อมาแก้ปัญหา “วิกฤตชาติ” และ “ปฏิรูป (ประเทศ)”

ปัญหามีว่า จริงๆ แล้ว การมี “นายกรัฐมนตรีคนกลาง” ที่มีอำนาจเต็ม จะสามารถแก้ปัญหา “วิกฤตชาติ” และ “ปฏิรูป (ประเทศ)” ได้หรือไม่ (?)

ข้อคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน (ปัญหาว่า การมี “นายกรัฐมนตรีคนกลาง” ตามมาตรา 7 หรือมาตราใดๆ ของรัฐธรรมนูญ จะปฏิรูป (ประเทศ) ได้หรือไม่)

ตามที่ผู้เขียนได้กล่าวมาในตอนต้นของหัวข้อที่ 2 นี้แล้ว ว่า การที่ “มวลมหาประชาชน และ “กปปส.” มองไม่เห็น “สาเหตุ” ของวิกฤตชาติ ( ซึ่งได้แก่ ระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน อันเนื่องมาจากบทมาตรา 3 มาตราของรัฐธรรมนูญของเรา) ได้ทำให้มวลมหาประชาชน”และ “กปปส. เสนอ “วิธีการในการปฏิรูป(ประเทศ)” ให้แก่คนไทยผิดพลาด ไม่ว่าจะเป็นการเรียกร้องให้มี “สภาประชาชน” ที่มาจากผู้แทนนานาอาชีพ โดยไม่มีการเลือกตั้ง / หรือการให้มีนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ / หรือการจะใช้ “อำนาจอธิปไตย” หรือ “อำนาจรัฏฐาธิปัตย์” ของมวลมหาประชาชน

และเพราะ “ความผิดพลาด” นี้เอง ที่ทำให้ “นายทุนพรรคการเมือง” และ “พรรคการเมืองที่ผูกขาดอำนาจรัฐอยู่ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน” ฉวยโอกาสนำเอา “จุดอ่อน” และ “ข้อบกพร่อง” ใน“วิธีการการปฏิรูป (ประเทศ” ตามข้อเสนอของ “กปปส.” มาโต้แย้งและโจมตี “กปปส.”เอง

ผู้เขียนคิดว่า “มวลมหาประชาชน” และ “กปปส.” อาจหลง “ประเด็น” ไปตาม “การชักนำ” ของพรรคการเมืองของนักการเมืองนายทุน ที่กำลังยึดครองอำนาจรัฐ

“คำถาม” ที่มวลมหาประชาชน และ กปปส.จะต้องถามและตอบให้กับตัวเอง ก็คือ การที่ “กปปส.” ตั้งข้อเรียกร้องให้มี “นายกรัฐมนตรีคนกลาง” ตามมาตรา 7 หรือตามมาตราใดๆ ของรัฐธรรมนูญ นั้น “กปปส.” ได้คิดให้รอบคอบ หรือยังว่า นายกรัฐมนตรีคนกลางที่เรียกร้องให้มีการแต่งตั้งนั้น มีอำนาจ แก้ไขรัฐธรรมนูญยกเลิก บทมาตราทั้ง 3 ( เพื่อไม่ให้ “ระบอบทักษิณ” กลับเข้ามาอีก) ได้หรือไม่ (?) ผู้เขียนไม่สามารถเข้าใจได้ ว่า เพราะเหตุใด “กปปส.” จึงได้กำหนด “ข้อเรียกร้อง” ให้มีนายกรัฐมนตรีคนกลางตามมาตรา 7 ขึ้นมา ทั้งๆ ที่เห็นได้ชัดว่า “นายกรัฐมนตรีคนกลาง” นั้น ไม่มีอำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยกเลิกบทมาตราทั้ง 3 (เพื่อป้องกันมิให้ “ระบอบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน” หรือ “ระบอบทักษิณ” กลับเข้ามาอีก) ได้

ยิ่งกว่านั้น ในเดือนพฤษภาคมนี้ กปปส. ยังได้ไปตั้งข้อเรียกร้อง ให้วุฒิสภาและประธานศาลอีก 3 ศาลร่วมกันคัดเลือกและทูลเกล้าฯ แต่งตัง “นายกรัฐมนตรี” ตามมาตรา 7 ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า “กปปส” ได้ทำให้ “สมาชิกวุฒิสภา” และ “ประชาชนทั้งประเทศ” หลง “ประเด็น” ตาม กปปส. ไปด้วย และคิดว่า “การมีนายกรัฐมนตรีคนกลางจะนำไปสู่ “การปฏิรูปประเทศ” ได้ ซึ่งตามความเห็นของผู้เขียน ไม่สามารถเป็นจริงได้

ผู้เขียนเห็นว่า ถ้า “กปปส.” ไม่ทบทวนข้อเรียกร้องของ กปปส. แล้ว การหลงประเด็นของ กปปส. นี่ อาจนำไปสู่ความล้มเหลวของการแก้ “ปัญหาวิกฤตชาติ” และ “การปฏิรูป (ประเทศ)” ได้ และเป็นการทำลายพลังของ “มวลมหาประชาชน” นับเป็นล้านๆ คน ของ “กปปส.”เอง

ผู้เขียนคิดว่า สิ่งที่ “กปปส.” ควรจะต้องทำและต้องทำโดยเร็ว ก็คือ การทำให้คนไทยทั่วไป ได้รู้ถึง “สาเหตุ” ของปัญหาวิกฤตชาติ ว่าเกิดจากอะไร และทำให้คนไทยรู้ว่า “การแก้ปัญหาวิกฤตชาติ” ต้องแก้ที่ ”สาเหตุ” ของปัญหา ; และนั่นก็คือ การแก้รัฐธรรมนูญ โดยการยกเลิกบทมาตรา ทั้ง 3 มาตราของรัฐธรรมนูญ ก่อนการเลือกตั้งทั่วไป

ไม่ใช่การตั้ง “ข้อเรียกร้อง” เพื่อขอให้มีนายกรัฐมนตรีคนกลาง ที่มีอำนาจเต็ม แต่ไม่มีอำนาจในการ “แก้รัฐธรรมนูญ” ที่เป็น “สาเหตุ” ของปัญหาวิกฤตชาต และ “หลงประเด็น” มาถกเถียงตีความใน “ปัญหากฎหมายรัฐธรรมนูญ” ว่า จะตั้งนายกรัฐมนตรีคนกลางกันได้หรือไม่ และจะตั้งกันตามมาตรา 7 หรือ มาตรา 132 (2) หรือ มาตราใด (?)]

ผู้เขียนคิดว่า เมื่อเรา (คนไทย) ได้รู้ถึงความเลวร้าย - vice ของ “ระบอบทักษิณ” แล้ว (ซึ่งขณะนี้ คนไทยทุกคนรู้อยู่แล้ว เพราะได้ฟังความจริงจากมวลมหาประชาชน ทาง blue sky TV มานานกว่า 6 เดือน) และไม่ต้องการ “ระบอบทักษิณ” เรา(คนไทย) ย่อมรู้ได้เองว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะยกเลิกบทมาตราทั้ง 3 มาตรา (เพื่อไม่ให้ “ระบอบทักษิณ” กลับเข้ามาอีก) จะกระทำได้อย่างไร ด้วยวิธีการใด

และถ้านักการเมืองนายทุนที่ผูกขาดอำนาจรัฐอยู่ ไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญให้เราแล้ว ; เรา (คนไทย) ย่อมจะ “เข้าใจ” ได้เองว่า ถ้าจำเป็นจะต้องทำ “การปฏิวัติ” หรือ “รัฐประหาร“ เพื่อทำให้ระบอบการปกครองของเรา เป็นประชาธิปไตย เรา (คนไทย) จะทำหรือไม่

ผู้เขียนไม่เชื่อว่า จะมี “ประเทศมหาอำนาจ” ประเทศใดที่จะเข้ามาแทรกแซงการบริหารของประเทศไทยในกรณีที่มีการปฏิวัติหรือรัฐประหาร ตามที่ได้มีการพูด ให้กลัวกันอยู่ทุกวันนี้ ; ถ้า “การปฏิวัติหรือรัฐประหาร” ของเรานั้น ประกาศอย่างเปิดเผยว่า เราจำเป็นต้องทำการปฏิวัติ เพราะ“การเลือกตั้ง” ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของเรา ไม่ใช่ democratic process และการปกครองของเรา ไม่ใช่ “ระบอบประชาธิปไตย” เราจำต้องปฏิวัติเพื่อแก้รัฐธรรมนูญของเราให้มีการเลือกตั้งตามหลักการของ “ระบอบประชาธิปไตย” และเมื่อเราแก้ไขรัฐธรรมนูญ (ยกเลิกบทมาตรา 3 มาตรา ประเทศเดียวในโลก) แล้ว เราก็จะจัดให้มี “การเลือกตั้งทั่วไป” โดยเร็ว

หรือ ถ้าเรา (คนไทย) โชคร้าย คือ เราบังเอิญมีแต่ “ผู้ที่ชอบแต่งเครื่องแบบเพื่อความสวยงาม” และขอรับเงินเดือนไปวันๆ แต่ไม่มี “ผู้ใด” ที่จะเข้ามาแก้ปัญหาวิกฤตชาติให้เรา (คนไทย) ผู้เขียนก็คิดว่า เรา(คนไทย)ก็ยังมี “ที่พึ่งสุดท้าย” คือ ถ้าจำเป็น เรา(คนไทย) ก็ต้อง “long march” คือ เดินจาก “กรุงเทพฯ ไปถึงหัวหิน” ไปหา “ที่พึ่งสุดท้าย” คือ พ่อของเราที่เป็น “ประมุขของรัฐ” และทรงเป็น “จอมทัพไทย”

แต่ไม่ใช่เพื่อไปขอ “พระราชทานนายกรัฐมนตรี” (เพราะนายกรัฐมนตรี ไม่มีอำนาจที่จะแก้รัฐธรรมนูญ ยกเลิกบทมาตรา 3 มาตรา ที่สร้างระบอบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน) และไม่ใช่ไป “ถวายคืนพระราชอำนาจ” (โดยไม่ทราบว่า ถวายคืน เพื่อขอพระราชทานอะไรจากพระองค์ท่านเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตชาติ) แต่เรา (คนไทย) จะไปขอ “รัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูป (ประเทศ)” เพื่อทำให้การปกครองของประเทศไทยเป็น “ระบอบประชาธิปไตย”

ข้อที่ “มวลมหาประชาชน” และ “กปปส.”จะต้องพีงระวัง ก็คือ “การเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่” โดยยังไม่ได้แก้รัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน พ.ศ. 2550 (ยกเลิกบทมาตรา 3 มาตรา ที่ “ระบอบทักษิณ” ใช้เป็นเครื่องมือ ให้พรรคการเมืองของตน เข้ามาผูกขาดอำนาจรัฐ )

ผู้เขียนไม่เข้าใจว่า เพราะเหตุใด “กปปส.” จึงมองไม่ออกว่า ทำไม “พรรคการเมืองที่ผูกขาดอำนาจรัฐอยู่ในปัจจุบัน” จึงต้องการให้มี “การเลือกตั้งทั่วไป” โดยเร็ว ; ซึ่งปัญหานี้ตอบได้ง่าย ๆ ว่า เขาต้องการการเลือกตั้งทั่วไป ก็เพราะการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ยังคงมีบทมาตรา 3 มาตรานั้นอยู่ ซึ่งจะทำให้พรรคการเมืองของเขาสามารถกลับเข้ามา “ผูกขาดอำนาจรัฐ ได้อีก ด้วยการ “ซื้อเสียง” ในการเลือกตั้ง และ “ซื้อ” ส.ส. (ด้วยการแจกซองเป็นประจำเดือน ซึ่งเป็นความจริงที่ทราบกันอยู่ทั่วไป แม้ไม่มีหลักฐาน ) เพื่อให้ ส.ส.ออกเสียงตามมติสั่งการของพรรคการเมือง เพื่อแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเองและพรรคพวกได้

การที่พรรคการเมืองนายทุนที่ผูกขาดอำนาจรัฐ ต้องการการเลือกตั้งทั่วไปตามรัฐธรรมนูญ (โดยไม่มีการยกเลิกบทมาตราทั้ง 3 มาตรา) โดยเร็ว เป็นสิ่งที่ปรากฏชัดเจน ตัวอย่างเช่น ในวันที่ กกต.เรียกพรรคการเมืองให้มาพบ เพื่อปรึกษาหารือสำหรับการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่ในวันที่ 22 เมษายน 2557) ก็ปรากฏเป็นข่าวว่า ได้มีจ่ายเงิน (“แจกถุงขนม”) ให้มีการรวบรวมพรรคการเมืองเล็กๆ เข้าด้วยเป็น “สหพรรค” เพื่อเรียกร้องให้ กกต.จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปโดยเร็ว หรือ ตัวอย่างเช่น ในวันเสาร์ที่ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมานี้ นักวิชาการกลุ่ม “สมัชชาป้องกันประชาธิไตย - สปป.” และ “กลุ่มนิติราษฎร์” ได้จัดให้มีการอภิปรายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต ในหัวข้อ “เลือกตั้ง คือ ทางออก - นายกฯ เถื่อน คือ ทาวตัน” โดยมีการถ่ายทอดทางทีวีของรัฐบาล ฯลฯ

“ระบอบทักษิณ” เป็นระบอบที่ฉลาด และใช้วิธีการโฆษณาชวนเชื่อ ให้คนไทยทั้งประเทศ เชื่อว่า “รัฐธรรมนูญ” และ “การเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ” ของเรา เป็น “ระบอบประชาธิปไตย” ทั้งๆ ที่ ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่ “ระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา” เกิดขึ้นด้วยบทบัญญัติของ “รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร” ฉบับแรกของโลก

“ระบอบทักษิณ” ได้จัดตั้ง นปช. - แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ขึ้นมา เพื่อป้องกันมิให้มีการ “การปฏิวัติ” หรือ “รัฐประหาร” เพื่อมาล้มล้าง “ระบบเผด็จ โดยพรรคการเมืองนายทุน” ของตน ; เพราะ “ระบอบทักษิณ” ทราบดีว่า หลังจากที่ “พรรคการเมือง” ของตน ได้ผูกขาดอำนาจรัฐ แล้ว ก็จะมีแต่ “การปฏิวัติ” หรือ “รัฐประหาร” เท่านั้น ที่จะแก้รัฐธรรมนูญได้ ; เพราะ ส.ส. ในพรรคการเมือง ที่รับ “ซองประจำเดือน” จากนายทุนพรรคการเมือง ก็คงเปรียบเสมือนกับที่มีบางคนพูดว่า เป็น “ลูกจ้างของบริษัท” และลูกจ้างของบริษัท ไม่มีสิทธิปลดนายจ้าง

[หมายเหตุ นปช. - แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (หรือ “เสื้อแดง”) นี้ เข้าใจว่า ได้จัดตั้งขึ้นโดยเลียนแบบ แนวความคิด มาจากการจัดตั้ง “กองกำลัง ของพรรคนาซี - Nazi party “ ของฮิตเลอร์ ในสมัยก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ( ระหว่างปี ค.ศ. 1933 ถึงปี ค.ศ. 1945) ที่เรียกกันว่า “brown shirt” หรือเสื้อสีน้ำตาล นั่นเอง ; ข้อเท็จจริงเหล่านี้ แสดงว่า “ระบอบทักษิณ” ได้มีการเตรียมการ และมีการวางแผนใน “การเข้ามาผูกขาดอำนาจรัฐ” เป็นอย่างดีมาตั้งแต่ต้น และในขณะนี้ ก็ปรากฏเป็นข่าวในหน้าสื่อมวลชนว่า ได้มีการเสริมกำลังของ นปช. ในลักษณะที่เป็น “ทหารรับจ้าง” คือ เป็นกองกำลังที่มีการจ่ายเงินเดือนประจำ (?) ]

เป็นที่สังเกตว่า “กลุ่มบุคคล”หลายกลุ่ม ที่รู้กันอยู่ว่า ถูกจัดตั้งขึ้นโดยหรือมีความสัมพันธ์กับ “พรรคการเมืองที่เป็นเผด็จการและผูกขาดอำนาจรัฐอยู่ในปัจจุบัน จะใช้ “ชื่อ” ที่มีคำว่า “ ประชาธิปไตย” ประกอบอยู่ด้วยเสมอ เช่น แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือแม้แต่ “สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย” ปัญหามีว่า “กลุ่มบุคคล” เหล่านี้ปกป้อง ”ประชาธิปไตย” จริงหรือไม่

ถ้าเราจะติดตามและสังเกตพฤติกรรมจากการดำเนิน “กิจกรรม” ของกลุ่มบุคคลเหล่านี้ ก็จะพบว่า “กิจกรรม” ของกลุ่มบุคคลเหล่านี้ ล้วนแต่มีความมุ่งหมายที่ทำให้คนทั่วไปเห็นว่า “การปฏิวัติ” หรือ “รัฐประหาร” เป็นเผด็จการ และไม่เป็น “ประชาธิปไตย” และชักชวนให้มีการต่อต้าน “การปฏิวัติ” หรือ “รัฐประหาร”; แต่ “กลุ่มบุคคล” เหล่านี้ จะไม่กล่าวถึงหรือทำให้คนทั่วไปได้รู้ถึง “ระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา” ตามที่บัญญัติอยู่ในรัฐธรรมนูญของประเทศไทย ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับเดียวในโลก แม้แต่ครั้งเดียว

จึงเป็นที่เข้าใจได้ว่า “กลุ่มบุคคล” เหล่านี้ ได้ถูกจัดตั้งขึ้นมา มิใช่เพื่อปกป้อง “ประชาธิปไตย” แต่ได้ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อพิทักษ์ “ระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน” ให้พ้นจากการถูกล้มล้างโดย “การรัฐประหาร” หรือ “การปฏิวัติ” นั่นเอง ; การตั้ง “ชื่อ” กลุ่มบุคคลเหล่านี้ให้มีคำว่า “ประชาธิปไตย” อยู่ด้วย ก็เพื่อทำให้เกิดความสับสน ตามหลักการของการโฆษณาชวนเชื่อ นั่นเอง

สรุป ก็คือ ผู้เขียนเห็นว่า เมื่อใดก็ตาม ที่เรามี “การเลือกตั้งทั่วไป” ครั้งใหม่ โดยยังไม่มีการยกเลิกบทมาตรา 3 มาตราดังกล่าวออกไปจากรัฐธรรมนูญ ผู้เขียนก็คิดว่า เรากำลังเริ่มต้น “ความผิดพลาดครั้งใหม่” ใน “ปัญหาเก่า” เป็นครั้งที่ 2 ; ความผิดพลาดครั้งแรกของเรา คือ ความผิดพลาด ในปี พ.ศ. 2550 หลังการปฏิวัติในปี พ.ศ. 2549 ที่เราได้มี “การเลือกตั้งทั่วไป” ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 (ที่นำมาใช้แทนรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540) โดยที่รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 ไม่ได้ยกเลิก บทมาตรา 3 มาตราดังกล่าว ในรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 ; ซึ่งในที่สุด “ระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน” ก็กลับเข้ามาอีก

● “วิธีการปฏิรูป (ประเทศ)” ให้สำเร็จ (ตามความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน) ผู้เขียนได้กล่าวไว้ในตอนต้นของหัวข้อนี้แล้วว่า ผู้เขียนไม่อยากเห็น “การปฏิรูป (ประเทศ)” ของเราในครั้งนี้ ไม่สำเร็จ ; เนื่องจากประเทศไทยอาจมี “โอกาส”เช่นนี้ ไม่มากนัก หรือบางทีเรา (คนไทย) อาจจะไม่มีโอกาสเช่นนี้อีกเลยในอนาคต ก็ได้

ผู้เขียนทราบดี “การปฏิรูป (ประเทศ) ของประเทศไทย” มีความหมายมากกว่า การ rationalization “ระบบรัฐสภา” ให้มีประสิทธิภาพ ตามที่ประเทศที่พัฒนาแล้วในยุโรปเคยทำมาเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (ค.ศ. 1945) คือ กว่ากึ่งศตวรรษมาแล้ว (เพราะเราทิ้งปัญหาหมักหมมกันมานาน)
ผู้เขียนทราบดีว่า สาระที่ผู้เขียนจะเขียนต่อไปในหัวข้อนี้ จะมี “สาระ” ที่ยาว และยากที่จะเขียนให้ครบถ้วนในทุก ๆ ด้าน ; แต่ผู้เขียนจะพยายามอธิบายให้สั้นที่สุดและให้ดีที่สุด แม้ว่าผู้เขียนเองจะไม่แน่ใจว่า ความพยายามของผู้เขียน ที่จะให้ท่านผู้อ่าน(พอ)เข้าใจว่า “การปฏิรูปประเทศ” คือ อะไร และเราต้องทำอย่างไร “เราจึงจะปฏิรูปประเทศได้สำเร็จ” จะประสบความสำเร็จ หรือไม่

แต่อย่างไรก็ตาม เอาเป็นว่า ผู้เขียนขอเรียนว่า ท่านผู้อ่านอย่าเพิ่งไปกังวลและคิดถึง “ปัญหาเรื่องการปฏิรูป (ประเทศ)” ตามที่ผู้เขียนจะกล่าวต่อไปในหัวข้อที่ 2 นี้ ให้มากนัก ; ถ้าท่านผู้อ่านมีเวลาว่างพอที่จะอ่าน ก็อ่าน แต่ถ้าท่านผู้อ่านไม่มีเวลาอ่าน ก็ไม่ต้องอ่าน ; และท่านผู้อ่านอ่านแล้ว จะเข้าใจหรือไม่เข้าใจ ก็ไม่สำคัญ

ต่อเมื่อเรา (คนไทย) มี “อำนาจ (รัฏฐาธิปัตย์)” มาแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (ยกเลิกบทมาตรา 3 มาตราดังกล่าว) และล้มล้าง “ระบอบทักษิณ” ออกไปจากรัฐธรรมนูญของเราให้ได้ก่อน หลังจากนั้น เราจึงค่อยมาคิดถึง “ปัญหาเรื่องการปฏิรูป (ประเทศ)” และมาทำความเข้าใจกันอีกที (ก็ได้นะครับ)

ในหัวข้อที่ 2 นี้ ต่อไปนี้ ผู้เขียนจะพูดถึงเรื่องการปฏิรูป (ประเทศ) ว่า เราจะทำให้การปกครองใน “ระบอบประชาธิปไตย” ที่ใช้ระบบรัฐสภา - parliamentary system ของเรานี้ มีประสิทธิภาพขึ้นมาได้อย่างไร และเราจะมี “มาตรการ” อะไร ที่จะมากำกับ “นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง” และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้ใช้ “อำนาจรัฐ” ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย คือ เพื่อ “ประโยชน์ส่วนรวม” และแน่นอน เราคงไม่ต้องหวังว่า เมื่อมีการปฏิรูปประเทศแล้ว เราจะไม่มีการทุจริตคอร์รัปชันกันเสียเลย แต่ขอเพียงให้เรามีการทุจริตคอร์รัปชันให้เหลือน้อยที่สุดก็แล้วกัน

หัวข้อที่ 2 นี้ ผู้เขียนขอแยกกล่าวออกเป็น 5 ตอน ตามลำดับ ดังต่อไปนี้

● การปฏิรูปประเทศ คือ อะไร

● ทำไม “กฎหมายมหาชน (รัฐธรรมนูญ และกฎหมายพื้นฐานในการบริหารประเทศ)” ของประเทศไทย จึงล้าหลัง (ถึงเพียงนี้)

● “รัฐธรรมนูญ ฉบับปฏิรูป (ประเทศ)” คือ อะไร

● ความจำเป็นที่จะต้องยกระดับ “มาตรฐานความรู้กฎหมายมหาชนของประเทศไทย” ก่อนทำการปฏิรูป (ประเทศ) และ “วิธีการ” ยกระดับมาตรฐานความรู้ ภายในเวลาอันจำกัด

● “รัฐธรรมนูณฉบับอนาคต” (และ “กฎหมายพื้นฐานในการบริหารประเทศ”) หลังการปฏิรูปแล้ว จะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร

ผู้เขียนคิดว่า ในการทำการปฏิรูปประเทศนั้น ใครก็ตามหรือองค์กรใดก็ตาม ที่ “คิด” จะทำการปฏิรูป(ประเทศ) ใครคนนั้นหรือองค์กรนั้น จะต้องทำความเข้าใจ ในประเด็นสำคัญเบื้องต้น 2 ประการก่อน คือ ประการแรก ต้องรู้ว่า “การปฏิรูปประเทศ” คือ อะไร และต่อจากนั้น ต้องรู้ว่า เพราะเหตุใด “กฎหมายมหาชน (รัฐธรรมนูญ และกฎหมายพื้นฐานในการบริหารประเทศ)” ของประเทศไทย จึงล้าหลัง (อย่างมาก) อยู่ในขณะนี้

และหลังจากนั้น เราจึงค่อยกำหนด “วิธีการ” ในการปฏิรูป (ประเทศ) ; โดยจะต้องเป็น “วิธีการ” ที่คาดหมายได้ว่า เมื่อดำเนินการแล้ว “การปฏิรูป (ประเทศ)” จะต้องสำเร็จ คือ ไม่ใช่ขอเพียงแต่ ให้มี “การปฏิรูป (ประเทศ)” ตามวิธีการที่ตนเองเสนอ แต่จะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ ก็ได้

และในการกำหนด “วิธีการ” ในการปฏิรูป (ประเทศ) ให้สำเร็จได้นั้น ผู้ที่จะทำการปฏิรูป (ประเทศ) จะต้องรู้ว่า เราจะหาสิ่งใดมาทดแทน “statesman” (ที่มีความรอบรู้ และมา “ชี้นำ” การปฏิรูป) ที่ประเทศไทยไม่มี ได้อย่างไร (?) เพราะการที่จะอธิบายกลไกในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หลังการปฏิรูป (ประเทศ) เพื่อให้ประชาชนเข้าใจ ก่อนที่จะมีการ “ออกเสียงประชามติ” (เพื่อให้ความเห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่) โดยที่ไม่มี statesman ที่ประชาชนมีความศรัทธามา “ชี้นำ” นั้น มิใช่เรื่องที่ง่าย

และแน่นอน ในการกำหนด “วิธีการ” ในการปฏิรูป (ประเทศ) ให้สำเร็จ ผู้ที่จะทำการปฏิรูป (ประเทศ) จะต้องแสวงหา วิธีการที่จะยกระดับ “มาตรฐานความรู้กฎหมายมหาชนของประเทศไทย” ที่ล้าหลัง เพื่อทำให้ผู้ที่จะเข้ามารับผิดชอบในการยกร่างรัฐธรรมนูญและกฎหมายต่างๆ มีระดับมาตรฐานสูงขึ้น พอที่จะ “เขียน(ออกแบบ)” กฎหมายที่ดีได้ ; ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่ายอีกเช่นเดียวกัน (?)

“รัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูป (ประเทศ)” คือ อะไร ; การเขียน(ออกแบบ)“รัฐธรรมนูญ ฉบับปฏิรูป(ประเทศ)” ทำอย่างไร

ในระหว่างที่ทำการปฏิรูปประเทศ ผู้ที่จะทำการปฏิรูป (ประเทศ) จะออกแบบ “การบริหารประเทศ ในระบบรัฐสภา” อย่างไร จึงจะทำให้ “การบริหารประเทศ (ในระหว่างที่ทำการปฏิรูปประเทศ)” มีประสิทธิภาพพอสมควร และในขณะเดียวกัน ต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อ “กระบวนการแก้ไขกฎหมาย เพื่อการปฏิรูป (ประเทศ)” ที่จะต้องเป็นไปตาม “หลักวิชาการ” เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการในการเขียน (ออกแบบ) “รัฐธรรมนูญฉบับอนาคต” หรือกระบวนการในการเขียน (ออกแบบ) “กฎหมายธรรมดา” ที่เป็นพื้นฐานของระบบการบริหารประเทศ

“วิธีการ” ในการปฏิรูป (ประเทศ) ให้สำเร็จ ตามที่กล่าวมานี้ คงไม่ยาก ถ้าบังเอิญ “ประธานาธิดี De Gaulle” หรือ “ประธานาธิบดี Woodrow Wilson” มาเกิดในประเทศไทย

ท่านผู้อ่านรู้สึกแปลกใจบ้างหรือไม่ว่า ตลอดระยะที่ผ่านมา เราไม่มี และไม่เคยมี “นักกฎหมาย” “นักวิชาการ” และ “ชนชั้นนำ” ของไทย ที่เสนอ “วิธีการ ในการปฏิรูป(ประเทศ) หรือการปฏิรูปการเมือง” โดยได้แสดงตนเองว่า ตนเองได้ศึกษา “วิธีการ ปฏิรูประบบรัฐสภา” ของประเทศที่พัฒนาแล้วมาแล้ว ว่า เขาทำกันอย่างไร และบอกกับเรา(คนไทย)ว่า เราควรจะทำอย่างไร เพราะเหตุใด

เราอาจจะยังไม่มี อาจารย์กฎหมายในคณะนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐของเรา ที่เคยศึกษา“วิธีการปฏิรูประบบรัฐสภา” ของประเทศที่พัฒนาแล้ว มาก่อนเลย ก็ได้

และโปรดสังเกตว่า ในกรณีนี้ ผู้เขียนได้ยกประเด็นขึ้นพูด เฉพาะในเรื่อง “วิธีการในการปฏิรูประบบรัฐสภา” เท่านั้น ผู้เขียนยังมิได้พูดเลยไปถึงว่า นอกเหนือไปจาก “วิธีการ” ในการปฏิรูปแล้ว ในการปฏิรูป “ระบบรัฐสภา” กันจริงๆ แล้ว ประเทศที่พัฒนาแล้ว เขาแก้ไข “สาระ” ของระบบรัฐสภากัน อย่างไรบ้าง (how) ; เพราะถ้าพูดไปถึง “สาระ” ของระบบรัฐสภา ที่ประเทศที่พัฒนาแล้ว เขา rationalized กันไปนานแล้วกว่ากึ่งศตวรรษ เรื่องนี้ ก็อาจจะเป็น “จุดบอด” ของวงการวิชาการไทยทั้งประเทศไทย ที่ไม่มีผู้ใดรู้ ทั้งนี้ ก็เนื่องมาจากความล้าหลังใน “มาตรฐานการเรียนการสอนวิชากฎหมาย ในคณะนิติศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยของรัฐของเรามานานกว่า 80 ปีนั่นเอง

ตามความเห็นของผู้เขียน ผู้เขียนเห็นว่า ใน “การปฏิรูป(ประเทศ ให้สำเร็จ” เราไม่สามารถทำได้ โดยอาศัย “common sense” ของนักกฎหมาย นักวิชาการ และชนชั้นนำของไทย แต่ต้องทำด้วย “ความรู้”

● การปฏิรูปประเทศ คือ อะไร

คำว่า “การปฏิรูปประเทศ” มีความหมายกว้างและมีสิ่งที่ต้อง “ทำ” เพื่อการปฏิรูปมากมาย ; “การปฏิรูปประเทศ” หมายถึง การปฏิรูป (การปรับเปลี่ยน) “โครงสร้าง และขอบเขตอำนาจหน้าที่ของสถาบันการเมือง และขององค์กรหรือหน่วยงานของรัฐที่สำคัญๆ ในการบริหารประเทศ” โดยมีความมุ่งหมาย ที่จะทำให้การทำงานของสถาบันการเมืองและองค์กรฯ ที่สำคัญของรัฐ มีประสิทธิภาพ และทำให้การใช้อำนาจ ของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งและเจ้าหน้าที่ของรัฐในสถาบัน องค์กร และหน่วยงานของรัฐ เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย คือ เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม และ ในขณะเดียวกัน ต้องป้องกันการบิดเบือนอำนาจ - abuse of power ของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อประโยขน์ส่วนตัว

“การปฏิรูปประเทศ” ไม่มีความหมายรวมถึง “นโยบายของรัฐบาล” ; นโยบายของรัฐบาล แตกต่างกับ “นโยบายของรัฐ” เพราะนโยบายของรัฐบาล เป็นนโยบายของ “ฝ่ายบริหาร” ที่จะเข้ามาบริหารประเทศ ในแต่ละช่วงเวลา และอยู่ภายในกรอบตามแนวทางของ “นโยบายของรัฐ” ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

นโยบายเกี่ยวกับวิธีการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจหรือวิธีการในการแก้ปัญหาทางสังคม เช่น การแก้ปัญหาความยากจน เป็น “นโยบายของรัฐบาล” มิใช่ “การปฏิรูปประเทศ” ; เรามักจะพบอยู่บ่อยๆ ว่า ในหลายๆ ครั้งที่เราพูดถึง “การปฏิรูป (ประเทศ” ก็จะมีบุคคลบางคนหรือหรือหลายคน พูดถึงเรื่องการแก้ปํญหาทางเศรษฐกิจหรือการแก้ปัญหาความยากจน ซึ่งเรื่องเหล่านี้ เป็นปัญหา “นโยบายของรัฐบาล” และไม่ใช่เรือง “การปฏิรูป (ประเทศ)”

ผู้เขียนคิดว่า การพูดปะปนกันระหว่าง “นโยบายของรัฐบาล” กับ “การปฏิรูป(ประเทศ)” จะทำให้เกิดความสับสน และทำให้เรา(คนไทย)มองไม่เห็นความสำคัญของ “การปฏิรูปประเทศ” และในที่สุด ก็จะนำไปสู่ความล้มเหลวของ “การปฏิรูปประเทศ” ได้ ; ดังนั้น ถ้าหากผู้ใดประสงค์จะพูดถึงหรือประสงค์จะปรับเปลี่ยน “นโยบายของรัฐบาล (ของฝ่ายบริหาร)” ก็ควรจะต้องแยก “ประเด็น” ที่พูดออกไปให้ชัดเจน เพราะเป็นคนละเรื่องกัน และทั้งสองเรื่องนี้ มี “วิธีการแก้ปัญหา” ที่แตกต่างกัน

การปฏิรูปประเทศ ได้แก่ การปรับเปลี่ยน - rationalization “โครงสร้างการบริหารประเทศ ของสถาบันการเมือง ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ฯลฯ ซึ่งเป็นที่มาของ “รัฐบาลที่ดี” และเมื่อได้ “รัฐบาลที่ดี” มาปกครองบ้านเมืองแล้ว เราจึงค่อยมาพูดถึง “นโยบายของรัฐบาล” ในเรื่องการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจหรือในเรื่องการแก้ปัญหาความยากจน

การปฏิรูปประเทศ สำคัญกว่า “นโยบายของรัฐบาล” ; และเราต้องทำการ “ปฏิรูปประเทศ” ให้สำเร็จก่อน ที่จะพิจารณาแก้ปัญหา “นโยบายของรัฐบาล” เพื่อการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจหรือการพัฒนาสังคม

“กฎหมาย” ที่จะต้องปฏิรูป มีระดับแตกต่างกัน

เราทุกคนทราบดีอยู่แล้ว ว่า “กฎหมาย” ที่เป็นกฎเกณฑ์การบริหารประเทศที่จะต้องปรับเปลี่ยนแก้ไขในการปฏิรูปนั้น มีอยู่ 2 ระดับ คือ มีทั้งกฎเกณฑ์ที่บัญญัติใน “รัฐธรรมนูญ” ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศว่าด้วยการจัดระบบสถาบันการเมืองและการจัดตั้งศาลและองค์กรอิสระต่างๆ ฯลฯ และมีทั้งกฎเกณฑ์ที่เป็น “กฎหมายธรรมดา” ซึ่งเป็นกฎหมายพื้นฐานในระบบการบริหารประเทศ

กฎหมายพื้นฐานในระบบการบริหารประเทศ” ประกอบด้วย กฎหมายสำคัญๆมากมาย หลายเรื่องหลายสาขา เช่น กฎหมายว่าด้วยกระบวนการยุติธรรม (ได้แก่ ระบบการบริหารตำรวจ / ระบบการสอบสวนของตำรวจ กรมสอบสวนพิเศษหรือ DSI และระบบอัยการ รวมทั้งระบบศาลต่างๆ และระบบการบริหารผู้พิพากษา) กฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการประจำ / กฎหมายว่าด้วยการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่น - หลายรูปแบบ / กฎหมายการบริหารรัฐวิสาหกิจ / กฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง และกฎหมายที่สำคัญอื่นๆ

และเราทุกคนก็ทราบดีอยู่แล้วเช่นเดียวกัน ว่า กฎหมายทั้ง 2 ระดับ คือ “รัฐธรรมนูญ” และ “กฎหมายธรรมดา” (กฎหมายพื้นฐานของระบบบริหารประเทศ) นั้น มี “กระบวนการตราและแก้ไข(กฎหมาย)” ที่แตกต่างกัน

กระบวนการแก้ไข “รัฐธรรมนูญ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับหรือการแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นสำคัญนั้น จะมีหลักสากลของประเทศในระบอบประชาธิปไตย (ที่เราจำเป็นต้องปฏิบัติตามวิธีปฏิบัติที่นานาประเทศยอมรับ) คือ ต้องนำร่างรัฐธรรมนูญที่จะตราขึ้นใช้บังคับนั้น มาให้ประชาชนทั้งประเทศให้ความเห็นชอบโดยตรง ด้วยการออกเสียงเป็นประชามติ - referendum [เนื่องจากแนวความคิดทางนิติปรัชญาในยุคปัจจุบัน มีความไม่แน่ใจ ว่า ในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยทางผู้แทน (ซึ่งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง) นั้น สมาชิกสภาฯ จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อประโยชน์ของประชาชนส่วนรวม (คือ การจัดให้มีระบบถ่วงดุลและการตรวจสอบ “การใช้อำนาจรัฐ” ระหว่างกัน) หรือกระทำ เพื่อประโยชน์ใน “การรักษาอำนาจของคนเอง” ไว้ ]

สำหรับกระบวนการแก้ไข “กฎหมายธรรมดา” (กฎหมายพื้นฐานของระบบบริหารประเทศ) นั้น แม้ว่ากฎหมายธรรมดาเหล่านี้ จะมีกระบวนการตรากฎหมายที่เหมือนๆ กัน คือ ตราขึ้นโดยผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรหรือสภานิติบัญญัติ (โดยไม่จำเป็นต้องมีการออกเสียงประชามติ - referendum) ก็จริง แต่ โดยที่ กฎหมาย(ธรรมดา)เหล่านี้ เป็น “กฎหมายหลากหลายสาขา” และมีกลไกแตกต่างกัน ดังนั้น การที่จะกล่าวว่า การออกแบบและยกร่างกฎหมายเหล่านี้เหมือนกัน ก็ยังไม่ถูกต้อง เพราะการออกแบบและยกร่างกฎหมายเหล่านี้ ต้องการ “นักกฎหมาย” ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขากฎหมายที่แตกต่างกัน และต้องการ “วิธีการยกร่างกฎหมาย” แตกต่างกันไปแต่ละฉบับไม่มากก็น้อย

ถ้าเราต้องการ “ปฏิรูปประเทศ” ที่จะต้องมีการแก้ไขกฎหมายทั้ง 2 ระดับ คือ ต้องแก้ “รัฐธรรมนูญ” ด้วย และต้องแก้กฎหมายธรรมดา (“กฎหมายพื้นฐานในระบบบริหารประเทศ”) ด้วย

ปัญหาของเรา ก็คือ เราจะทำการแก้ไขกฎหมายเหล่านี้ ให้ได้พร้อมๆ กัน และสอดคล้องกันได้อย่างไร

การเขียน(ออกแบบ)กฎหมาย เพื่อการบริหารประเทศของ “รัฐสมัยใหม่ - modern state” ในยุคศตวรรษที่ 20 - 21 นี้ ไม่เหมือนกับการตรากฎหมาย ในศตวรรษที่ 19

นอกเหนือจากการทราบถึง “ประเภทกฎหมาย” ที่จะต้องแก้ไขในการปฏิรูปประเทศแล้ว สิ่งที่ “ผู้ที่จะทำการปฏิรูปประเทศ” จะต้องทราบ ก็คือ การเขียน (ออกแบบ) กฎหมาย เพื่อการบริหารประเทศของ “รัฐสมัยใหม่ - modern state” ในยุคศตวรรษที่ 20 - 21 นี้ ไม่เหมือนกับการตรากฎหมายฯ ในสมัย Montesquieu ในศตวรรษที่ 18- 19

การตรากฎหมายตาม “หลักการแบ่งแยกอำนาจ - separation of power” ของ Montesquieu (ที่ได้ตายไปแล้วตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ปี ค.ศ. 1755 ) เป็นการตรากฎหมาย “เพื่อความเป็นประชาธิปไตย” โดยมีความมุ่งหมาย เพื่อลดอำนาจของกษัติรย์ในการบริหารประเทศ และให้มีสภานิติบัญญัติที่มีสมาชิกมาจากการเลือกตั้ง เพื่อถ่วงดุล “อำนาจบริหาร” ของกษัตริย์ และเพื่อให้ประชาชนมีความเสมอภาค และมีศาลที่เป็นอิสระเพื่อเป็นหลักประกันในสิทธิเสรีภาพของบุคคล (ปัจเจกชน) อันเป็น “ปัญหา” ที่มาจากการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสมัยศตวรรษ ที่ 18

แต่การตรากฎหมาย (มหาชน) ในการบริหารประเทศในยุคปัจจุบัน ที่เป็น รัฐสมัยใหม่ - modern state เป็นการตรากฎหมายที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อทำให้การบริหาร “ประเทศในระบอบประชาธิปไตย” มีประสิทธิภาพ และเพื่อกำกับให้การใช้อำนาจรัฐของนักการเมือง (ที่มาจากการเลือกตั้ง) และของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อ “ประโยชน์ส่วนรวม” ; และ คำว่า “ประโยชน์ส่วนรวม” ในที่นี้ มิได้หมายถึงประโยชน์ของ “ประชาชนแต่ละกลุ่ม” ตามที่นักการเมืองจะยกขึ้นมาอ้าง แต่หมายถึงประโยชน์ของ “ประชาชนโดยรวม” ที่เป็นนามธรรม

ปัญหาของเราในการปฏิรูป (ประเทศ) ก็คือ มาตรฐานความรู้ (กฏหมายมหาชน) ของ “นักกฎหมาย” และ “นักวิชาการ” ของเราที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่สูงพอ ที่จะเขียน(ออกแบบ)กฎหมายเหล่านี้ (ซึ่งแตกต่างกับประเทศที่พัฒนาแล้ว) ; การเขียน(ออกแบบ) กฎหมายในปัจจุบัน ต้องการการวิจัยและการศึกษากฎหมายเปรียบเทียบ - comparative law ที่นักกฎหมายและนักวิชาการไทยยังขาดประสบการณ์

นอกจากนั้น ผู้ที่จะทำการ “ปฏิรูปประเทศ” จะต้องทราบด้วยว่า ในปัจจุบันนี้ ประเทศที่พัฒนาแล้ว เขาได้พัฒนา “วิธีการตรากฎหมาย” ที่ทำให้ “กระบวนการตรากฎหมาย” ของเขามีความโปร่งใส - transparency เพื่อให้ประชาชนทั่วไปและ บุคคลภายนอกสามารถตรวจสอบได้ว่า กลไกใน(ร่าง)กฎหมาย ที่จะตราขึ้นนั้น จะเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพหรือไม่เพียงใด และสามารถตรวจสอบได้ว่า นักการเมืองในสภาของเขา มิได้ซ่อน “บทมาตรา” ต่างๆ ที่ให้อำนาจดุลพินิจแก่ตนเองในการแสวงหาประโยชน์ส่วนตนไว้ในร่างกฎหมาย

“วิธีการ” เหล่านี้ ประเทศที่พัฒนาแล้วเขาไม่ได้กำหนดโดยการตราเป็น “กฎหมาย” แต่เป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดเป็นระเบียบปฏิบัติในทางราชการ

สรุป เมื่อเรารู้ว่า “การปฏิรูป(ประเทศ) คือ อะไรแล้ว” เราก็จะเห็นได้ว่า การปฏิรูป (ประเทศ) เพื่อให้การบริหารประเทศของเรามีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับประเทศที่พัฒนาแล้วนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ตามที่พูดๆ กันอยู่ในเวทีสาธารณะทุกวันนี้

ในการปฏิรูป (ประเทศ) เราต้องการ “ช่วงเวลา” สำหรับศึกษาวิเคราะห์กฎหมายจำนวนมาก (ทั้งรัฐธรรมนูญ และทั้งกฎหมายธรรมดาที่เป็นพระราชบัญญัติ ฯ ) ก่อนที่จะเขียน (ออกแบบ) กฎหมายแต่ละฉบับ ; ดังนั้น บางส่วนของการปฏิรูปฯ ที่จำเป็น ก็จะต้องทำก่อน “การเลือกตั้งทั่วไป” เพื่อทำให้การปกครองประเทศของเรา เป็น “ระบอบประชาธิปไตย” และหลุดพ้นจากการผูกขาดอำนาจของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ; และบางส่วนของการปฏิรูปฯ ก็จะกระทำหลัง “การเลือกตั้งทั่วไป” หลังจากที่ได้มีการศึกษาวิจัยแล้ว และมี “สภาผู้แทนราษฎร” (ที่ไม่มีการผูกขาดอำนาจโดยนายทุนเจ้าของพรรคการเมือง) แล้ว ; และแน่นอน เรา (คนไทย) ควรจะต้องทราบแล้วว่า ขณะนี้ การปกครองประเทศของเราตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ไม่ใช่ “ระบอบประชาธิปไตย” แต่เป็น “ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา” ประเทศเดียวในโลก

ตามความเห็นของผู้เขียน การปฏิรูป (ประเทศ) จึงไม่ใช่ “ปัญหาของการเลือกเอา ระหว่าง “ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง” หรือ “เลือกตั้งก่อนปฏิรูป” (?) ตามที่เราพูดๆ กัน และตามความเห็นของผู้เขียน การปฏิรูป (ประเทศ) คงไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ ด้วยการตั้ง “สภาประชาชน” โดยไม่มีการเลือกตั้งตามข้อเสนอของ กปปส.

(จบตอนที่ 2 - ยังมีต่อ)
กำลังโหลดความคิดเห็น