วานนี้ (20 พ.ค.) นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวว่า แม้ขณะนี้มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก แต่รัฐธรรมนูญ ยังคงใช้บังคับอยู่ องค์กรต่างๆก็ต้องทำหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งกกต.ที่มีหน้าที่จัดการเลือกตั้ง ก็ต้องทำงานตามปกติ และขณะนี้ทราบว่า รัฐบาลโดยนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกฯ ได้มีหนังสือ ลงวันที่19 พ.ค. ถึงประธานกกต. มีเนื้อหารวม 3 ประเด็น คือ
1. ยอมให้มีข้อความว่า หากเกิดเหตุสุดวิสัยให้รัฐบาลออก พ.ร.ฎ.เลื่อนวันเลือกตั้งได้ หากกกต.ร้องขอ ไว้ในมาตรา 4 ของร่าง พ.ร.ฎ. แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้ง
2. รัฐบาลเสนอว่า วันเลือกตั้งที่เหมาะสมคือ วันที่ 3 ส.ค.
3. ยืนยันว่า นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี มีอำนาจในการทูลเกล้าฯ และรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้อ้างเหตุผลต่างๆ และข้อกฎหมายประกอบ และยังมีข้อความในท้ายหนังสือ ได้ขอให้กกต.พิจารณาข้อเสนอดังกล่าว และแจ้งให้กับรัฐบาลทราบ ในวันศุกร์ที่ 23 พ.ค. นี้ ซึ่งกกต.ก็จะได้มีการพิจารณาหนังสือดังกล่าวนี้ ในการประชุม กกต.วันนี้ (21พ.ค.) อย่างไรก็ตาม คิดว่าภายใต้สถานการณ์ปจจุบัน การจะกำหนดวันเลือกตั้ง กกต. คงต้องหารือกับฝ่ายความมั่นคงก่อน เพราะน่าจะเป็นผู้ที่รู้ดีถึงสถานการณ์ และสิ่งที่ฝ่ายความมั่นคงดำเนินการอยู่ และจะดำเนินการต่อไป ว่าจะเกิดผลสำเร็จในช่วงเวลาใด ลำพังกกต.กับรัฐบาล หารือและกำหนดวันเลือกตั้งเอง น่าจะไม่เพียงพอ ทั้งนี้เชื่อว่าหลังการประชุมกกต.วันนี้ กกต.จะมีความชัดเจน หากที่ประชุมเห็นด้วยกับแนวทางนี้ การตอบหนังสือกลับไปยังรัฐบาล ก็น่าจะเป็นแนวทางนี้
เมื่อถามว่า อำนาจของกฎอัยการศึก สามารถ ที่จะระงับ หรือเลื่อนการเลือกตั้งได้หรือไม่ นายสมชัย กล่าวว่า ภายใต้กฎอัยการศึกสามารถทำได้ทุกอย่าง แต่ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยกองทัพสามารถสั่งให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย
ดังนั้นในเรื่องของการจัดการเลือกตั้ง เข้าใจว่า ทหารอาจจะมีกระบวนการในการปรึกษาหารือกับกกต. ถึงความเหมาะสมว่า ควรจะจัดขึ้นเมื่อใด โดยกกต. พร้อมที่จะไปให้ข้อมูลถึงสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น และแนวทางที่จะทำให้การเลือกตั้งเกิดความสำเร็จ
"การเลือกตั้งภายใต้กฎอัยการศึก มีทั้งผลบวก ผลลบ โดยแง่บวกจะเป็นหลักประกันว่า จะไม่มีการขัดขวางการเลือกตั้ง การหาเสียงก็จะไม่มีปัญหาเกิดขึ้น แต่ในทางลบ การจัดการเลือกตั้งที่อยู่ในการควบคุมของทหาร ในสายตาประชาคมโลก อาจไม่ดี จำเป็นต้องสื่อสารทำความเข้าใจกับนานาชาติ แต่เราอาจมองไกลเกินไป เพราะเมื่อถึงวันเลือกตั้ง อาจไม่มีกฎอัยการศึกแล้วก็ได้" นายสมชัย กล่าว
**เลือกตั้งไม่ได้ ก็ยังไม่ควรจัด
นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) ได้กล่าวในที่ประชุมร่วมกับหัวหน้าหน่วยงาน ส่วนราชการ องค์กรอิสระ และภาคเอกชน เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ภายใต้การประกาศใช้กฎอัยการศึก ว่า ขอฝากให้ทุกฝ่ายร่วมกันหาทางออก ในส่วนของการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ส่วนเรื่องการเลือกตั้งนั้น หากเลือกตั้งไม่ได้ ก็ยังไม่ควรจัด เพราะหากมีการเลือกตั้งในตอนนี้ ก็จะมีการเผชิญหน้ากัน จะมีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บ รวมไปถึงการบังคับใช้กฎหมาย ก็อาจจะไม่จำเป็นต้องบังคับใช้อย่างเข้มงวด 100 เปอร์เซ็นต์ โดยขอให้ทุกฝ่ายร่วมกันหาทางออก และหาทางแก้วิกฤติด้วย
**ยังไม่สรุปเรื่องย้าย"คำรณวิทย์"
นายภุชงค์ ยังกล่าวถึงการประชุม กกต.เมื่อวานนี้ (20พ.ค.) ว่า พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. ได้เข้าชี้แจงต่อ กกต. ถึงความจำเป็น และประโยชน์ของทางราชการ ในเรื่องการโยกย้ายพล.ต.ท. คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล(ผบช.น.) ไปเป็นผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 และให้ พล.ต.ท.สุเทพ เดชรักษา ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 มาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาตำรวจนครบาลแทน หลังจากที่ ทาง กกต. มีประเด็นข้อสังเกตว่า เป็นการโยกย้ายนอกฤดูกาล อีกทั้งเป็นการย้ายไปในพื้นที่ฐานเสียงของพรรคการเมืองบางพรรค อาจทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบในการเลือกตั้ง
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมกกต. ยังไม่มีมติใดๆ ในเรื่องนี้ เนื่องจากเห็นว่า เป็นเรื่องมีความสำคัญ จึงควรรอนายธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์ กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง ที่ติดภารกิจไปประชุมที่ จ.ชลบุรี กลับมาร่วมพิจารณาวินิจฉัยด้วย จึงยังไม่มีมติในการประชุมครั้งนี้
ส่วนกรณีสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 มีการถ่ายทอดสดการอภิปรายของกลุ่มนักวิชาการสมัชชาประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 17 พ.ค.ที่ผ่านมา และถูกร้องว่า เข้าข่ายเอื้อประโยชน์พรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลนั้น ที่ประชุมยังไม่มีการพิจารณา
นายภุชงค์ กล่าวด้วยว่า กกต.ได้รับทราบกรณีมีประกาศกฎอัยการศึก ซึ่งประธานกกต.ให้ทางเลขาธิการ กกต. แจ้งไปยังพนักงาน สำนักงานกกต.ส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคให้ปฏิบัติหน้าที่ตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด และให้รอฟังประกาศของกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย หรือ กอ.รส. อย่างใกล้ชิดด้วย
1. ยอมให้มีข้อความว่า หากเกิดเหตุสุดวิสัยให้รัฐบาลออก พ.ร.ฎ.เลื่อนวันเลือกตั้งได้ หากกกต.ร้องขอ ไว้ในมาตรา 4 ของร่าง พ.ร.ฎ. แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้ง
2. รัฐบาลเสนอว่า วันเลือกตั้งที่เหมาะสมคือ วันที่ 3 ส.ค.
3. ยืนยันว่า นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี มีอำนาจในการทูลเกล้าฯ และรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้อ้างเหตุผลต่างๆ และข้อกฎหมายประกอบ และยังมีข้อความในท้ายหนังสือ ได้ขอให้กกต.พิจารณาข้อเสนอดังกล่าว และแจ้งให้กับรัฐบาลทราบ ในวันศุกร์ที่ 23 พ.ค. นี้ ซึ่งกกต.ก็จะได้มีการพิจารณาหนังสือดังกล่าวนี้ ในการประชุม กกต.วันนี้ (21พ.ค.) อย่างไรก็ตาม คิดว่าภายใต้สถานการณ์ปจจุบัน การจะกำหนดวันเลือกตั้ง กกต. คงต้องหารือกับฝ่ายความมั่นคงก่อน เพราะน่าจะเป็นผู้ที่รู้ดีถึงสถานการณ์ และสิ่งที่ฝ่ายความมั่นคงดำเนินการอยู่ และจะดำเนินการต่อไป ว่าจะเกิดผลสำเร็จในช่วงเวลาใด ลำพังกกต.กับรัฐบาล หารือและกำหนดวันเลือกตั้งเอง น่าจะไม่เพียงพอ ทั้งนี้เชื่อว่าหลังการประชุมกกต.วันนี้ กกต.จะมีความชัดเจน หากที่ประชุมเห็นด้วยกับแนวทางนี้ การตอบหนังสือกลับไปยังรัฐบาล ก็น่าจะเป็นแนวทางนี้
เมื่อถามว่า อำนาจของกฎอัยการศึก สามารถ ที่จะระงับ หรือเลื่อนการเลือกตั้งได้หรือไม่ นายสมชัย กล่าวว่า ภายใต้กฎอัยการศึกสามารถทำได้ทุกอย่าง แต่ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยกองทัพสามารถสั่งให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย
ดังนั้นในเรื่องของการจัดการเลือกตั้ง เข้าใจว่า ทหารอาจจะมีกระบวนการในการปรึกษาหารือกับกกต. ถึงความเหมาะสมว่า ควรจะจัดขึ้นเมื่อใด โดยกกต. พร้อมที่จะไปให้ข้อมูลถึงสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น และแนวทางที่จะทำให้การเลือกตั้งเกิดความสำเร็จ
"การเลือกตั้งภายใต้กฎอัยการศึก มีทั้งผลบวก ผลลบ โดยแง่บวกจะเป็นหลักประกันว่า จะไม่มีการขัดขวางการเลือกตั้ง การหาเสียงก็จะไม่มีปัญหาเกิดขึ้น แต่ในทางลบ การจัดการเลือกตั้งที่อยู่ในการควบคุมของทหาร ในสายตาประชาคมโลก อาจไม่ดี จำเป็นต้องสื่อสารทำความเข้าใจกับนานาชาติ แต่เราอาจมองไกลเกินไป เพราะเมื่อถึงวันเลือกตั้ง อาจไม่มีกฎอัยการศึกแล้วก็ได้" นายสมชัย กล่าว
**เลือกตั้งไม่ได้ ก็ยังไม่ควรจัด
นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) ได้กล่าวในที่ประชุมร่วมกับหัวหน้าหน่วยงาน ส่วนราชการ องค์กรอิสระ และภาคเอกชน เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ภายใต้การประกาศใช้กฎอัยการศึก ว่า ขอฝากให้ทุกฝ่ายร่วมกันหาทางออก ในส่วนของการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ส่วนเรื่องการเลือกตั้งนั้น หากเลือกตั้งไม่ได้ ก็ยังไม่ควรจัด เพราะหากมีการเลือกตั้งในตอนนี้ ก็จะมีการเผชิญหน้ากัน จะมีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บ รวมไปถึงการบังคับใช้กฎหมาย ก็อาจจะไม่จำเป็นต้องบังคับใช้อย่างเข้มงวด 100 เปอร์เซ็นต์ โดยขอให้ทุกฝ่ายร่วมกันหาทางออก และหาทางแก้วิกฤติด้วย
**ยังไม่สรุปเรื่องย้าย"คำรณวิทย์"
นายภุชงค์ ยังกล่าวถึงการประชุม กกต.เมื่อวานนี้ (20พ.ค.) ว่า พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. ได้เข้าชี้แจงต่อ กกต. ถึงความจำเป็น และประโยชน์ของทางราชการ ในเรื่องการโยกย้ายพล.ต.ท. คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล(ผบช.น.) ไปเป็นผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 และให้ พล.ต.ท.สุเทพ เดชรักษา ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 มาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาตำรวจนครบาลแทน หลังจากที่ ทาง กกต. มีประเด็นข้อสังเกตว่า เป็นการโยกย้ายนอกฤดูกาล อีกทั้งเป็นการย้ายไปในพื้นที่ฐานเสียงของพรรคการเมืองบางพรรค อาจทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบในการเลือกตั้ง
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมกกต. ยังไม่มีมติใดๆ ในเรื่องนี้ เนื่องจากเห็นว่า เป็นเรื่องมีความสำคัญ จึงควรรอนายธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์ กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง ที่ติดภารกิจไปประชุมที่ จ.ชลบุรี กลับมาร่วมพิจารณาวินิจฉัยด้วย จึงยังไม่มีมติในการประชุมครั้งนี้
ส่วนกรณีสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 มีการถ่ายทอดสดการอภิปรายของกลุ่มนักวิชาการสมัชชาประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 17 พ.ค.ที่ผ่านมา และถูกร้องว่า เข้าข่ายเอื้อประโยชน์พรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลนั้น ที่ประชุมยังไม่มีการพิจารณา
นายภุชงค์ กล่าวด้วยว่า กกต.ได้รับทราบกรณีมีประกาศกฎอัยการศึก ซึ่งประธานกกต.ให้ทางเลขาธิการ กกต. แจ้งไปยังพนักงาน สำนักงานกกต.ส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคให้ปฏิบัติหน้าที่ตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด และให้รอฟังประกาศของกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย หรือ กอ.รส. อย่างใกล้ชิดด้วย