**ความพยายามที่จะดันทุรังรักษาอำนาจไว้ให้ยาวนานที่สุดของระบอบทักษิณ โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายของบ้านเมือง เข้ากับคำกล่าวของ“ขงเบ้ง”ที่ว่า อำนาจที่ปราศจากเหตุผล คืออำนาจของคนพาล อำนาจที่ปราศจากความเมตตา คืออำนาจที่นำมาซึ่งความปราชัย
ครม.รักษาการที่คิดว่าตัวเองมีอำนาจกำลังใช้อำนาจที่ปราศจากเหตุผล ด้วยการหยิบยกข้อกฎหมายเฉพาะที่เป็นประโยชน์กับตนเองมาอ้าง กล้าแม้กระทั่งอ้างถึงคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญแบบยอมรับครึ่งหนึ่ง ปฏิเสธอีกครึ่งหนึ่ง อย่างไม่ละอาย
เพราะในขณะที่ นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ซึ่งคิดว่าตัวเองมีอำนาจเทียบเท่านายกรัฐมนตรี หยิบยกคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ให้ครม.ที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะมีครม.ชุดใหม่ แต่บรรดารัฐมนตรีตกสวรรค์ไม่ว่าจะเป็น สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล หรือ เฉลิม อยู่บำรุง ต่างออกมาต่อต้าน ไม่ยอมรับคำวินิจฉัยให้พ้นตำแหน่งรัฐมนตรีไปพร้อมกับ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
**ส่วนยิ่งลักษณ์ ก็ไม่ยอมรับว่าตัวเองทำผิดตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
ตลกร้ายไปกว่านั้นคือ ชัยเกษม นิติสิริ ปฏิบัติหน้าที่ รมว.ยุติธรรม และศอ.รส.ขู่ว่า จะใช้มาตรา 7 ทูลเกล้าฯ ขอพระบรมราชวินิจฉัยเพื่อให้พวกตัวเองอยู่ในอำนาจต่อไป แต่ขี้ข้าด้วยกันกลับออกมาตีกันไม่ให้คนอื่นใช้ มาตรา7 เพื่อแก้ปัญหาประเทศ โดยอ้างว่าไม่เป็นประชาธิปไตยขัดรัฐธรรมนูญ
ทั้งที่ มาตรา 7 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และรัฐบาลก็คิดที่จะใช้เพียงแต่ต้องการใช้เพื่อประโยชน์ทางการเมืองของตัวเอง ห้ามไม่ให้ผู้อื่นใช้ เพราะเกรงว่าจะต้องสูญเสียอำนาจ
นี่คือบทพิสูจน์การใช้อำนาจที่ปราศจากเหตุผล จนทำให้ประเทศชาติถึงทางตัน อันอาจนำไปสู่โศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ในชาติ
ในขณะที่หลายภาคส่วนพยายามทักท้วงไม่ให้มีการออกกฎหมายนิรโทษกรรม แก้รัฐธรรมนูญ ออกกฎหมายกู้เงินสองล้านล้าน เลิกโครงการจำนำข้าว แต่รัฐบาลไม่ฟังเหตุผลเดินหน้าทุกอย่างที่สังคมไม่เห็นด้วย จนสร้างความเสียหายทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง นำมาสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงมากขึ้น จนประชาชนไม่ยอมรับกระบวนการเลือกตั้ง
แทนที่รัฐบาลจะทบทวนความผิดพลาด กลับดึงดันที่จะทำผิดซ้ำ บีบบังคับให้สังคมต้องเดินตามแนวทางที่ตัวเองกำหนดกลับไปสู่การเลือกตั้งที่รัฐบาลคิดว่าได้เปรียบ แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถเดินหน้าได้ และไม่เห็นอนาคตว่าการเลือกตั้ง จะเกิดขึ้นได้จริง
**แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงแท้แน่นอนคือ ประเทศชาติเสียหายทุกวันกับการรักษาอำนาจโดยใช้ประชาธิปไตย และความชอบธรรมจากชัยชนะในการเลือกตั้งที่เคยได้รับมาเป็นข้ออ้าง ทั้งที่ไม่สามารถอ้างได้อีกแล้ว เนื่องจากมีการประกาศยุบสภาไปแล้ว ผลการเลือกตั้งในปี 54 จึงไม่สามารถนำมาใช้ได้อีก
แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ ผลจากการเลือกตั้ง 2 ก.พ.57 ซึ่งประชาชนแสดงออกชัดเจนว่า พรรคเพื่อไทย มิได้เป็นเสียงข้างมากอีกต่อไป แต่เป็นเสียงข้างน้อยในสังคมนี้ เพราะจำนวนผู้ที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งบวกกับผู้ที่ไปใช้สิทธิ แต่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนให้ใคร และบัตรเสีย มีจำนวนสูงกว่าผู้ที่เลือกพรรคเพื่อไทยมาก
คิดง่ายๆว่า พรรคเพื่อไทยเคยได้คะแนนกว่า 15 ล้าน ในการเลือกตั้งปี 2554 แต่ในการเลือกตั้ง 2 ก.พ.57 มีบัตรดีจากการเลือกตั้งทั้งหมดกว่า 14 ล้าน น้อยกว่าคะแนนที่พรรคเพื่อไทยเคยได้ราว 1 ล้าน ยังไม่หักผู้ที่เลือกพรรคการเมืองอื่น แสดงให้เห็นว่า พรรคเพื่อไทยได้คะแนนน้อยลงอย่างมีนัยยะสำคัญ
ยิ่งรัฐบาลไม่ฟังเสียงสังคม ตะแบงกฎหมาย กอดอำนาจไว้กับตัวเอง ในขณะที่ทุกภาคส่วนต่างเห็นตรงกันว่า บ้านเมืองเสียหาย รัฐบาลต้องสละอำนาจเพื่อเปิดทางให้มีรัฐบาลคนกลางเข้ามาเปลี่ยนผ่านบ้านเมืองก่อนจะกลับไปสู่กระบวนการเลือกตั้ง
มีแต่รัฐบาลเพื่อไทยและคนเสื้อแดงที่ออกมาขัดขวาง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสถานการณ์ที่ตอกย้ำว่า รัฐบาลเพื่อไทย คือเสียงข้างน้อยในสังคมนี้
ยิ่งเมื่อหอการค้าไทยออกโรงวิเคราะห์เศรษฐกิจไทยในปีนี้ว่า ไตรมาสแรก มีโอกาสจะติดลบ 1 % ส่วนไตรมาส 2 จะขยายตัวได้ไม่เกิน 1 % ทำให้จีดีพีทั้งปี 57 ขยายตัวได้ไม่เกิน 2.5 % โดยฟันธงว่า หากไม่มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ภายในครึ่งปีหลัง จีดีพีทั้งปีก็มีโอกาสติดลบ
ที่สำคัญคือ การส่งสัญญาณที่แรงและชัดเจนยิ่งของภาคเอกชนที่ระบุว่า “ภาคเอกชนจะไม่เสนอแนวทางขั้นตอนการกำหนดวันเลือกตั้ง แต่ต้องการเห็นการจัดตั้งรัฐบาลใหม่โดยเร็วที่สุด เพื่อให้งบประมาณรายจ่ายประจำปี 58 สามารถออกมาใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการลงทุนได้ในปีต่อไป
**ท่าทีของหอการค้าไทย จึงถือเป็นการ“ตบหน้า”รัฐบาลเพื่อไทยอย่างแรง ที่อ้างว่าทุกอย่างจะดีขึ้นโดยมีการเลือกตั้งเป็นคำตอบเพราะแม้แต่ภาคเอกชนที่ระมัดระวังอย่างยิ่งที่จะไม่ให้ความเห็นทางการเมืองที่กระทบรัฐบาล ยังอดรนทนไม่ได้ต้องออกมาตะโกนบอกสังคมว่า
“การเลือกตั้งไม่ใช่ทางออก แต่ความแน่นอนทางการเมืองต่างหากที่จะเป็นคำตอบได้โดยไม่สำคัญว่า รัฐบาลนั้นจะมาจากการเลือกตั้งหรือไม่”
นอกจากนี้ วงหาทางออกประเทศไทยที่ สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ว่าที่ประธานส.ว.เป็นโต้โผใหญ่ หารือร่วมกับ 12 องค์กรอิสระ เอกชน และองค์กรตามรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมา เห็นพ้องต้องกันว่าจำเป็นต้องมี “รัฐบาลเฉพาะกิจ”เข้ามาบริหารประเทศแทนรัฐบาลเพื่อไทย ที่เป็นอัมพาตอยู่ในขณะนี้
คำถามที่สังคมไทยต้องช่วยกันเค้นหาคำตอบจากรัฐบาลคือ รักษาการเพื่อยื้ออำนาจไว้กับตัวเองนั้น มีปัญญาใช้อำนาจเพื่อแก้ปัญหาประเทศชาติและประชาชนหรือไม่
หากอำนาจที่ถืออยู่แก้ปัญหาบ้านเมืองไม่ได้ มีแต่ซ้ำเติมให้สถานการณ์เลวร้ายลงแล้วจะเก็บอำนาจไว้กับตัวทำไม ถ้าไม่ใช่เพราะเห็นแก่ตัวจนไม่คำนึงถึงความเสียหายของชาติบ้านเมือง ซึ่งไม่ได้เป็นความเสียหายเฉพาะด้านเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังรุนแรงถึงความสูญเสียต่อชีวิตเลือดเนื้อของประชาชนด้วย
ภายในระยะเวลาที่รัฐบาลนี้รักษาการอยู่ มียอดผู้เสียชีวิตนับจากวันที่ 30 พ.ย.56-15 พ.ค.57 มีผู้เสียชีวิตแล้ว 25 คน บาดเจ็บ 781 คน และยังมีแนวโน้มที่จะเกิดความสูญเสียเพิ่มเติมอีก โดยที่รัฐบาลไม่นำพาต่อความสูญเสียดังกล่าว อันเป็นการสะท้อนถึง“อำนาจที่ปราศจากความเมตตา”ที่ประชาชนสัมผัสได้
** แต่รัฐบาลยังหน้ามืด มัวเมาในอำนาจจนไม่ตระหนักว่า“อำนาจที่ปราศจากความเมตตา คือ อำนาจที่นำมาซึ่งความปราชัย”
ครม.รักษาการที่คิดว่าตัวเองมีอำนาจกำลังใช้อำนาจที่ปราศจากเหตุผล ด้วยการหยิบยกข้อกฎหมายเฉพาะที่เป็นประโยชน์กับตนเองมาอ้าง กล้าแม้กระทั่งอ้างถึงคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญแบบยอมรับครึ่งหนึ่ง ปฏิเสธอีกครึ่งหนึ่ง อย่างไม่ละอาย
เพราะในขณะที่ นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ซึ่งคิดว่าตัวเองมีอำนาจเทียบเท่านายกรัฐมนตรี หยิบยกคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ให้ครม.ที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะมีครม.ชุดใหม่ แต่บรรดารัฐมนตรีตกสวรรค์ไม่ว่าจะเป็น สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล หรือ เฉลิม อยู่บำรุง ต่างออกมาต่อต้าน ไม่ยอมรับคำวินิจฉัยให้พ้นตำแหน่งรัฐมนตรีไปพร้อมกับ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
**ส่วนยิ่งลักษณ์ ก็ไม่ยอมรับว่าตัวเองทำผิดตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
ตลกร้ายไปกว่านั้นคือ ชัยเกษม นิติสิริ ปฏิบัติหน้าที่ รมว.ยุติธรรม และศอ.รส.ขู่ว่า จะใช้มาตรา 7 ทูลเกล้าฯ ขอพระบรมราชวินิจฉัยเพื่อให้พวกตัวเองอยู่ในอำนาจต่อไป แต่ขี้ข้าด้วยกันกลับออกมาตีกันไม่ให้คนอื่นใช้ มาตรา7 เพื่อแก้ปัญหาประเทศ โดยอ้างว่าไม่เป็นประชาธิปไตยขัดรัฐธรรมนูญ
ทั้งที่ มาตรา 7 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และรัฐบาลก็คิดที่จะใช้เพียงแต่ต้องการใช้เพื่อประโยชน์ทางการเมืองของตัวเอง ห้ามไม่ให้ผู้อื่นใช้ เพราะเกรงว่าจะต้องสูญเสียอำนาจ
นี่คือบทพิสูจน์การใช้อำนาจที่ปราศจากเหตุผล จนทำให้ประเทศชาติถึงทางตัน อันอาจนำไปสู่โศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ในชาติ
ในขณะที่หลายภาคส่วนพยายามทักท้วงไม่ให้มีการออกกฎหมายนิรโทษกรรม แก้รัฐธรรมนูญ ออกกฎหมายกู้เงินสองล้านล้าน เลิกโครงการจำนำข้าว แต่รัฐบาลไม่ฟังเหตุผลเดินหน้าทุกอย่างที่สังคมไม่เห็นด้วย จนสร้างความเสียหายทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง นำมาสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงมากขึ้น จนประชาชนไม่ยอมรับกระบวนการเลือกตั้ง
แทนที่รัฐบาลจะทบทวนความผิดพลาด กลับดึงดันที่จะทำผิดซ้ำ บีบบังคับให้สังคมต้องเดินตามแนวทางที่ตัวเองกำหนดกลับไปสู่การเลือกตั้งที่รัฐบาลคิดว่าได้เปรียบ แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถเดินหน้าได้ และไม่เห็นอนาคตว่าการเลือกตั้ง จะเกิดขึ้นได้จริง
**แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงแท้แน่นอนคือ ประเทศชาติเสียหายทุกวันกับการรักษาอำนาจโดยใช้ประชาธิปไตย และความชอบธรรมจากชัยชนะในการเลือกตั้งที่เคยได้รับมาเป็นข้ออ้าง ทั้งที่ไม่สามารถอ้างได้อีกแล้ว เนื่องจากมีการประกาศยุบสภาไปแล้ว ผลการเลือกตั้งในปี 54 จึงไม่สามารถนำมาใช้ได้อีก
แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ ผลจากการเลือกตั้ง 2 ก.พ.57 ซึ่งประชาชนแสดงออกชัดเจนว่า พรรคเพื่อไทย มิได้เป็นเสียงข้างมากอีกต่อไป แต่เป็นเสียงข้างน้อยในสังคมนี้ เพราะจำนวนผู้ที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งบวกกับผู้ที่ไปใช้สิทธิ แต่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนให้ใคร และบัตรเสีย มีจำนวนสูงกว่าผู้ที่เลือกพรรคเพื่อไทยมาก
คิดง่ายๆว่า พรรคเพื่อไทยเคยได้คะแนนกว่า 15 ล้าน ในการเลือกตั้งปี 2554 แต่ในการเลือกตั้ง 2 ก.พ.57 มีบัตรดีจากการเลือกตั้งทั้งหมดกว่า 14 ล้าน น้อยกว่าคะแนนที่พรรคเพื่อไทยเคยได้ราว 1 ล้าน ยังไม่หักผู้ที่เลือกพรรคการเมืองอื่น แสดงให้เห็นว่า พรรคเพื่อไทยได้คะแนนน้อยลงอย่างมีนัยยะสำคัญ
ยิ่งรัฐบาลไม่ฟังเสียงสังคม ตะแบงกฎหมาย กอดอำนาจไว้กับตัวเอง ในขณะที่ทุกภาคส่วนต่างเห็นตรงกันว่า บ้านเมืองเสียหาย รัฐบาลต้องสละอำนาจเพื่อเปิดทางให้มีรัฐบาลคนกลางเข้ามาเปลี่ยนผ่านบ้านเมืองก่อนจะกลับไปสู่กระบวนการเลือกตั้ง
มีแต่รัฐบาลเพื่อไทยและคนเสื้อแดงที่ออกมาขัดขวาง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสถานการณ์ที่ตอกย้ำว่า รัฐบาลเพื่อไทย คือเสียงข้างน้อยในสังคมนี้
ยิ่งเมื่อหอการค้าไทยออกโรงวิเคราะห์เศรษฐกิจไทยในปีนี้ว่า ไตรมาสแรก มีโอกาสจะติดลบ 1 % ส่วนไตรมาส 2 จะขยายตัวได้ไม่เกิน 1 % ทำให้จีดีพีทั้งปี 57 ขยายตัวได้ไม่เกิน 2.5 % โดยฟันธงว่า หากไม่มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ภายในครึ่งปีหลัง จีดีพีทั้งปีก็มีโอกาสติดลบ
ที่สำคัญคือ การส่งสัญญาณที่แรงและชัดเจนยิ่งของภาคเอกชนที่ระบุว่า “ภาคเอกชนจะไม่เสนอแนวทางขั้นตอนการกำหนดวันเลือกตั้ง แต่ต้องการเห็นการจัดตั้งรัฐบาลใหม่โดยเร็วที่สุด เพื่อให้งบประมาณรายจ่ายประจำปี 58 สามารถออกมาใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการลงทุนได้ในปีต่อไป
**ท่าทีของหอการค้าไทย จึงถือเป็นการ“ตบหน้า”รัฐบาลเพื่อไทยอย่างแรง ที่อ้างว่าทุกอย่างจะดีขึ้นโดยมีการเลือกตั้งเป็นคำตอบเพราะแม้แต่ภาคเอกชนที่ระมัดระวังอย่างยิ่งที่จะไม่ให้ความเห็นทางการเมืองที่กระทบรัฐบาล ยังอดรนทนไม่ได้ต้องออกมาตะโกนบอกสังคมว่า
“การเลือกตั้งไม่ใช่ทางออก แต่ความแน่นอนทางการเมืองต่างหากที่จะเป็นคำตอบได้โดยไม่สำคัญว่า รัฐบาลนั้นจะมาจากการเลือกตั้งหรือไม่”
นอกจากนี้ วงหาทางออกประเทศไทยที่ สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ว่าที่ประธานส.ว.เป็นโต้โผใหญ่ หารือร่วมกับ 12 องค์กรอิสระ เอกชน และองค์กรตามรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมา เห็นพ้องต้องกันว่าจำเป็นต้องมี “รัฐบาลเฉพาะกิจ”เข้ามาบริหารประเทศแทนรัฐบาลเพื่อไทย ที่เป็นอัมพาตอยู่ในขณะนี้
คำถามที่สังคมไทยต้องช่วยกันเค้นหาคำตอบจากรัฐบาลคือ รักษาการเพื่อยื้ออำนาจไว้กับตัวเองนั้น มีปัญญาใช้อำนาจเพื่อแก้ปัญหาประเทศชาติและประชาชนหรือไม่
หากอำนาจที่ถืออยู่แก้ปัญหาบ้านเมืองไม่ได้ มีแต่ซ้ำเติมให้สถานการณ์เลวร้ายลงแล้วจะเก็บอำนาจไว้กับตัวทำไม ถ้าไม่ใช่เพราะเห็นแก่ตัวจนไม่คำนึงถึงความเสียหายของชาติบ้านเมือง ซึ่งไม่ได้เป็นความเสียหายเฉพาะด้านเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังรุนแรงถึงความสูญเสียต่อชีวิตเลือดเนื้อของประชาชนด้วย
ภายในระยะเวลาที่รัฐบาลนี้รักษาการอยู่ มียอดผู้เสียชีวิตนับจากวันที่ 30 พ.ย.56-15 พ.ค.57 มีผู้เสียชีวิตแล้ว 25 คน บาดเจ็บ 781 คน และยังมีแนวโน้มที่จะเกิดความสูญเสียเพิ่มเติมอีก โดยที่รัฐบาลไม่นำพาต่อความสูญเสียดังกล่าว อันเป็นการสะท้อนถึง“อำนาจที่ปราศจากความเมตตา”ที่ประชาชนสัมผัสได้
** แต่รัฐบาลยังหน้ามืด มัวเมาในอำนาจจนไม่ตระหนักว่า“อำนาจที่ปราศจากความเมตตา คือ อำนาจที่นำมาซึ่งความปราชัย”