ASTVผู้จัดการรายวัน - "ทนุศักดิ์" เรียกผู้บริหารกระทรวงการคลัง - แบงก์รัฐถก 19 พ.ค.นี้ เร่งหาทางออกจ่ายเงินรับจำนำข้าวที่ค้างอยู่อีกกว่า 7 หมื่นล้านบาท ด้านศูนย์วิจัยธ.ก.ส.สำรวจพบชาวนารูดบัตรใช้ลงทุน พร้อมหาอาชีพเสริมทำช่วงรอเงินจำนำข้าว
นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รักษาการรมช.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังยังดินหน้าหาแนวทางการหาเงินมาจ่ายค่าจำนำข้าวให้ชาวนา ซึ่งกำลังพิจารณาความเป็นไปได้ทั้งจากการใช้เงินกู้ การใช้งบกลางและการใช้เงินจากกองทุนช่วยเหลือชาวนาขณะนี้มียอดว่า 11,000 ล้านบาทแล้วคาดว่าจะมีเงินฝากจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาภายในเดือนนี้อีก 9 พันล้านบาทรวมเป็น 2 หมื่นล้านบาท และปิดกองทุนได้ในสิ้นเดือนพ.ค.นี้
"ศาลรัฐธรรมนูญและปปช.ได้ยืนยันอำนาจในการทำงาน ของ ครม. 26 คนที่เหลือและมีอำนาจเต็มในการบริหารงาน ดังนั้นวันที่ 19 พ.ค.นี้จะเรียกประชุมผู้บริหารของกระทรวงการคลัง และสถาบันการเงินของรัฐเพื่อเริ่มเดินหน้าทำงานอย่างจริงจัง โดยภาระกิจเร่งด่วน คือการหาแนวทางหาเงินมาจ่ายค่าจำนำข้าวให้เกษตรกรที่เหลือ 7-8 หมื่นล้านบาท โดยแนวทางการขอใช้งบกลางเพิ่มเติมนั้นยังไม่ได้หารือกับกระทรวงพาณิชย์ การขยายวงเงินของกองทุนช่วยเหลือชาวนาแม้ไม่ได้มีแนวคิดแต่ก็ยังไม่ได้ปิดทางคงต้องใช้หลายแนวทางผสมผสานกัน"นายทนุศักดิ์ กล่าว
นายลักษณ์ วจนานวัจน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า ธ.ก.ส.เตรียมแจ้งสถานะกองทุนช่วยเหลือชาวนาต่อคณะกรรมการวันที่ 19 พ.ค.นี้ และคงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคณะกรรมการว่าจะขยายระยะเวลาและวงเงินของกองทุนฯ ต่อไปหรือไม่ แต่ส่วนของดอกเบี้ยคงจะไม่มีการปรับเพิ่มเพราะจะมีภาระเพิ่มขึ้นและขัดกับเจตนารมณ์ของกองทุน
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาจ่ายเงินจำนำข้าวให้ชาวนาไปแล้ว 8 แสนราย เป็นเงิน 1.1 แสนล้านบาท ยังเหลืออีก 7.2 แสนราย เป็นเงินค้างจ่าย 8.2 หมื่น ล้านบาท หากกองทุนช่วยเหลือชาวนาระดมเงินได้อีก 1 หมื่นล้านบาท จะทำให้กระทรวงการคลังต้องหาเงินอีก 7 หมื่นล้านบาท ซึ่งกว่าจะเคลียร์หนี้ดังกล่าวได้หมดคงเป็นปลายปีนี้หรืออย่างช้าต้นปีหน้า ส่วนแนวทางการออกพันธบัตร ธ.ก.ส. ไม่มีข้อจำกัดด้านการกู้เงินจากตลาด แต่อาจมีข้อกังวลด้านภาระต้นทุนดอกเบี้ยที่สูงกว่าปกติ และการชำระคืนต้องรอเงินจากการระบายข้าว ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับอายุพันธบัตรเมื่อครบกำหนด จึงเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาตัดสินใจเรื่องดังกล่าวต่อไป
นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รักษาการรมช.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังยังดินหน้าหาแนวทางการหาเงินมาจ่ายค่าจำนำข้าวให้ชาวนา ซึ่งกำลังพิจารณาความเป็นไปได้ทั้งจากการใช้เงินกู้ การใช้งบกลางและการใช้เงินจากกองทุนช่วยเหลือชาวนาขณะนี้มียอดว่า 11,000 ล้านบาทแล้วคาดว่าจะมีเงินฝากจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาภายในเดือนนี้อีก 9 พันล้านบาทรวมเป็น 2 หมื่นล้านบาท และปิดกองทุนได้ในสิ้นเดือนพ.ค.นี้
"ศาลรัฐธรรมนูญและปปช.ได้ยืนยันอำนาจในการทำงาน ของ ครม. 26 คนที่เหลือและมีอำนาจเต็มในการบริหารงาน ดังนั้นวันที่ 19 พ.ค.นี้จะเรียกประชุมผู้บริหารของกระทรวงการคลัง และสถาบันการเงินของรัฐเพื่อเริ่มเดินหน้าทำงานอย่างจริงจัง โดยภาระกิจเร่งด่วน คือการหาแนวทางหาเงินมาจ่ายค่าจำนำข้าวให้เกษตรกรที่เหลือ 7-8 หมื่นล้านบาท โดยแนวทางการขอใช้งบกลางเพิ่มเติมนั้นยังไม่ได้หารือกับกระทรวงพาณิชย์ การขยายวงเงินของกองทุนช่วยเหลือชาวนาแม้ไม่ได้มีแนวคิดแต่ก็ยังไม่ได้ปิดทางคงต้องใช้หลายแนวทางผสมผสานกัน"นายทนุศักดิ์ กล่าว
นายลักษณ์ วจนานวัจน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า ธ.ก.ส.เตรียมแจ้งสถานะกองทุนช่วยเหลือชาวนาต่อคณะกรรมการวันที่ 19 พ.ค.นี้ และคงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคณะกรรมการว่าจะขยายระยะเวลาและวงเงินของกองทุนฯ ต่อไปหรือไม่ แต่ส่วนของดอกเบี้ยคงจะไม่มีการปรับเพิ่มเพราะจะมีภาระเพิ่มขึ้นและขัดกับเจตนารมณ์ของกองทุน
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาจ่ายเงินจำนำข้าวให้ชาวนาไปแล้ว 8 แสนราย เป็นเงิน 1.1 แสนล้านบาท ยังเหลืออีก 7.2 แสนราย เป็นเงินค้างจ่าย 8.2 หมื่น ล้านบาท หากกองทุนช่วยเหลือชาวนาระดมเงินได้อีก 1 หมื่นล้านบาท จะทำให้กระทรวงการคลังต้องหาเงินอีก 7 หมื่นล้านบาท ซึ่งกว่าจะเคลียร์หนี้ดังกล่าวได้หมดคงเป็นปลายปีนี้หรืออย่างช้าต้นปีหน้า ส่วนแนวทางการออกพันธบัตร ธ.ก.ส. ไม่มีข้อจำกัดด้านการกู้เงินจากตลาด แต่อาจมีข้อกังวลด้านภาระต้นทุนดอกเบี้ยที่สูงกว่าปกติ และการชำระคืนต้องรอเงินจากการระบายข้าว ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับอายุพันธบัตรเมื่อครบกำหนด จึงเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาตัดสินใจเรื่องดังกล่าวต่อไป