วัด-บ้านเรือนพังเสียหายเพิ่มหลังเจออาฟเตอร์ช็อค 5 ริกเตอร์ ชาวบ้านผวาไม่กล้านอนในบ้าน พระสิงห์ 1 พุทธมณฑล 750 ปี ถึงขั้นพระศอแตกร้าวแนวขวาง โบสถ์วัดดงมะเฟือง อ.แม่ลาว ต้องทุบทิ้งสร้างใหม่ กรมทรัพยากรธรณีวิทยาใช้จีพีเอสตรวจสอบถึงกับผงะ พบรอยดินแยกลากยาวจากอ.แม่ลาว ถึงอ.แม่สรวย บันทึกสำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหวระบุชัด จนถึงวันนี้ยังเขย่าไม่หยุด สถิติถึงเวลา 19.00 น. วันที่ 13 พ.ค. รวม 777 ครั้ง
วานนี้ (13 พ.ค.) สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานเหตุแผ่นดินไหวตามมาหรืออาฟเตอร์ช็อกที่จ.เชียงราย ว่า หลังจากเวลา 18.40 น. วันที่ 12 พฤษภาคม เกิดอาฟเตอร์ช็อกวัดแรงสั่นสะเทือนตามมาตราริกเตอร์ได้ 5.0 ลึกจากผิวดิน 8 กิโลเมตร ศูนย์กลางที่อ.แม่ลาว ยังเกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีก 35 ครั้งโดยมีขนาด 3.8 ถึง 4 ครั้ง คือ เมื่อเวลา 21.23 น. ศูนย์กลางที่อ.แม่ลาว เวลา 21.42 น. และเวลา 00.14 น. วันที่ 13 พฤษภาคม ศูนย์กลางที่อ.แม่สรวย เวลา 10.29 น. ศูนย์กลางที่ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย
ทั้งนี้นับจากเหตุแผ่นดินไหวขนาด 6.3 ริกเตอร์ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม เวลา 18.08 น. ศูนย์กลางที่ต.ทรายขาว อ.พาน ที่ความลึก 7 กิโลเมตร ปรากฏว่าเกิดอาฟเตอร์ช็อกจนถึงเวลา 19.00 น. วันที่ 13 พฤษภาคม ขนาด 5.0-5.9 จำนวน 8 ครั้ง ขนาด 4.0-4.9 จำนวน 29 ครั้ง ขนาด 3.0-3.9 จำนวน 126 ครั้ง ขนาดน้อยกว่า 3.0 จำนวน 614 ครั้ง รวม 777 ครั้ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บ้านเลขที่ 122 บ้านดงมะเฟือง หมู่ 9 ต.จอมหมอกแก้ว อ.แม่ลาว ของนางศรีคำ สมบุญ ตัวบ้านที่เป็นคอนกรีตด้านหลังพังทลายลงทั้งแถบ หลังคายุบเสียหาย โครงสร้างบ้านเสียหายอย่างหนัก ตะปูถูกถอนออกจนเกือบสุด ไม่สามารถอยู่อาศัยได้ ขณะที่บ่อน้ำภายในบ้านเอียงลงประมาณ 45 องศา
จ.ส.อ.ภูมินันท์ ปงแก้ว หัวหน้าชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤติ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.)เขต 15 เชียงราย นำเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบความเสียหายพร้อมแจ้งนางศรีคำไม่ให้ขึ้นไปบนบ้านหรืออยู่บริเวณใต้ถุนบ้านหากไม่จำเป็น เนื่องจากโครงสร้างเสียหายอย่างหนัก เสี่ยงต่อการล้มครืนลงมา โดยให้รอจนกว่าคณะวิศวกรที่ทางจังหวัดจัดตั้งขึ้นจะเข้าตรวจสอบ ขณะเดียวกันบ่อน้ำที่เอียงลงไป คาดว่าเกิดจากหลุมที่เกิดจากการสั่นไหวครั้งล่าสุด จึงให้ทำแนวกันไว้โดยรอบ เพราะอาจจะยุบตัวลงอีกจนเกิดอันตรายได้
นางศรีคำ กล่าวว่า เดิมตัวบ้านก็ร้าวอยู่แล้วจากเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม แต่ยังไม่เสียหายมาก บ่อน้ำก็ยังอยู่ในระดับปกติ ใช้อุปโภคบริโภคได้ แต่เมื่อเกิดอาฟเตอร์ช็อคขนาด 5.0 ทำให้บ่อน้ำเอียงลง ตัวบ้านด้านหลังพังทลายลงทั้งแถบ หลังคายุบลงเสียดังสนั่นหวั่นไหว โครงสร้างเสียหายหมด ต้องนำเต๊นท์ำปกางและนอนอยู่หน้าบ้านเหมือนกับชาวบ้านอีกหลายคน
รายงานข่าวแจ้งว่า หลังเกิดอาฟเตอร์ช็อครุนแรงผิดปกติ ทำให้ชาวบ้านที่เคยกลับเข้าไปหลับนอนในบ้าน ต่างกลับออกมานอนในรถและกางเต๊นท์นอนอีกครั้ง เนื่องจากกลัวว่าตัวบ้านจะพังลง ขณะที่หลายหลังได้รับการช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ปภ. จังหวัดทหารบกเชียงราย หน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารพรานที่ 31 หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 35 กองบัญชาการกองทัพไทย กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 17 ในพระองค์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี รื้อถอนบ้านก่อนจะพังลงมาทั้งหลัง โดยบ้านของนางอารี ปรีชา ชาวบ้านห้วยหวาย หมู่2 ต.ดงมะดะ อ.แม่ลาว ได้รื้อถอนออกหมด เหลือเพียงโครงสร้างหน้าบ้านเอาไว้
ด้านศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาแผ่นดินไหวจังหวัดเชียงราย ยังคงสรุปตัวเลขบ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 116 หลัง เสียหายบางส่วน 8,935 หลัง
ขณะที่นายกร มหาวงส์นันท์ หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักงานปภ.เขต 15 เชียงราย พร้อมเจ้าหน้าที่มูลนิธิที่อยู่อาศัย สำรวจบ้านเรีอนในหมู่บ้านหนองเก้าห้อง หมู่ 12 ต.ดงมะดะ อ.แม่ลาว หลังรับแจ้งจากนายพงศกร จักรนิล ผู้ใหญ่บ้านว่าพบบ้านเรือนเสียหายเพิ่มเติมจากอาฟเตอร์ช็อคขนาด 5.0 จากการตรวจสอบพบว่ามีบ้านเรือน 3 หลังไม่สามารถอยู่อาศัยได้
นายสมบูรณ์ จันโย อายุ 46 ปี ซึ่งบ้านเสียหายทั้งหลัง กล่าวว่า แผ่นดินไหวครั้งแรกบ้านมีรอยร้าวเล็กน้อย แต่พอเกิดอาฟเตอร์ช็อกกว่า 600 ครั้ง โดยเฉพาะขนาด 5.0 ทำให้แตกร้าวรอบตัวบ้าน ต้องไปอาศัยอยู่ในห้องครัวเดิมที่ทำเป็นบ่อเลี้ยงกบ อยากให้ทางภาครัฐช่วยซ่อมแซมเพื่อให้เข้าอยู่อาศัยได้โดยเร็ว
ด้านนายกิตติพิชญ์ มูสิกะ ผู้จัดการโครงการภัยพิบัติ มูลนิธิเพื่อที่อยู่อาศัย กล่าวว่า ได้นำ ถุงมือและไฟฉายมาสนับสนุนงานกู้ภัย พร้อมสรุปความเสียหายเพื่อวางมาตรการช่วยเหลือระยะยาว โดยอาจจะซ่อมหรือสร้างบ้านให้รายที่ฐานะยากจน
ที่พุทธมณฑล 750 ปีเมืองเชียงราย สถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาของจังหวัด ตั้งอยู่บ้านต้นง้าว ต.บัวสลี อ.แม่ลาว ได้รับความเสียหายอย่างหนัก โดยพระสิงห์ 1 ซึ่งเป็นพระประธานองค์ใหญ่ สร้างจากคอนกรีตแข็งแรง ประดิษฐานเด่นเป็นสง่าเหนืออาคารพุทธมณฑล มีรอยร้าวในหลายจุดตั้งแต่ฐานบัว ขณะที่บริเวณพระศอองค์พระมีรอยแตกร้าวทางขวางอย่างเห็นได้ชัด
ส่วนอาคารของสำนักงานพุทธมณฑล มีรอยร้าวหลายจุด อย่างไรก็ตามเสาและฐานของพระสิงห์ 1 ยังมั่นคงแข็งแรง แม้จะยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ แต่ก็ทำให้ทางจังหวัดและคณะสงฆ์ ซึ่งกำหนดจะจัดพิธีปฏิบัติธรรมในวันวิสาขบูชา รวมทั้งพิธีเบิกเนตรพระสิงห์ 1 ต้องเลื่อนไปอย่างไม่มีกำหนด
ที่วัดดงมะเฟือง หมู่ 9 ต.จอมหมอกแก้ว อ.แม่ลาว โครงสร้างหลักพระอุโบสถแตกร้าว กระเบื้องหล่นลงมากองกับพื้นจำนวนมาก ภายในประดิษฐานพระประธานปางมารวิชัย อายุกว่าร้อยปี ที่แตกร้าวบริเวณพระศอ ส่วนกุฏิ หอฉัน อาคารเก็บภาพของเจ้าอาวาสรูปก่อนแตกร้าวเสียหาย
พระปลัดฐิติรัชกฤตอุทโย เจ้าอาวาส กล่าวว่า แผ่นดินไหวไหวครั้งแรกก็เสียหายอยู่แล้ว เมื่อเกิดอาฟเตอร์ช็อคตามมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้แตกร้าวมากขึ้น ซึ่งคณะวิศวกรที่จังหวัดจัดให้มาสำรวจ แจ้งว่าคงต้องทุบพระอุโบสถทิ้ง เนื่องจากโครงสร้างหลักเสียหายหนักจนซ่อมไม่ได้แล้ว แต่กุฏิ หอฉัน และอาคารอื่นยังพอซ่อมได้อยู่ ดังนั้นในวันวันวิสาขบูชานี้ จะยังคงทำพิธีเวียนเทียนและทำวัตรเย็นเป็นครั้งสุดท้าย จากนั้นจะเคลื่อนย้ายพระประธานไปเก็บรักษา และทุบพระอุโบสถทิ้งเพื่อสร้างใหม่ต่อไป
ข่าวแจ้งว่า นายสมใจ เย็นสบาย ผู้อำนวยการส่วนธรณีพิบัติ กรมทรัพยากรธรณีวิทยา ได้นำเจ้าหน้าที่พร้อมเครื่องระบุตำแหน่งบนผิวโลกหรือจีพีเอส ตรวจสอบรอยดินแยกไปถึงบ้านทุ่งฟ้าผ่า หมู่ 7 ต.แม่พริก อ.แม่สรวย ซึ่งพบว่ามีรอยแยกยาวไปกลางทุ่งนาต่อเนื่องมาจากอ.แม่ลาว ทำให้บ่อน้ำผิวดินของชาวบ้านแห้งและมีทรายเข้าไปแทรกตัวอยู่แทน
นายสมใจ กล่าวว่า รอยแยกน่าจะมาจากรอยเลื่อนแม่ลาวที่ต่อเนื่องกันมา แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่า ศูนย์กลางของการเกิดแผ่นดินไหวเกิดขึ้นที่ใด เพราะต้องรอวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลที่ได้จากจีพีเอส จากนั้นนำมาประกอบกันเป็นแผนที่
วานนี้ (13 พ.ค.) สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานเหตุแผ่นดินไหวตามมาหรืออาฟเตอร์ช็อกที่จ.เชียงราย ว่า หลังจากเวลา 18.40 น. วันที่ 12 พฤษภาคม เกิดอาฟเตอร์ช็อกวัดแรงสั่นสะเทือนตามมาตราริกเตอร์ได้ 5.0 ลึกจากผิวดิน 8 กิโลเมตร ศูนย์กลางที่อ.แม่ลาว ยังเกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีก 35 ครั้งโดยมีขนาด 3.8 ถึง 4 ครั้ง คือ เมื่อเวลา 21.23 น. ศูนย์กลางที่อ.แม่ลาว เวลา 21.42 น. และเวลา 00.14 น. วันที่ 13 พฤษภาคม ศูนย์กลางที่อ.แม่สรวย เวลา 10.29 น. ศูนย์กลางที่ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย
ทั้งนี้นับจากเหตุแผ่นดินไหวขนาด 6.3 ริกเตอร์ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม เวลา 18.08 น. ศูนย์กลางที่ต.ทรายขาว อ.พาน ที่ความลึก 7 กิโลเมตร ปรากฏว่าเกิดอาฟเตอร์ช็อกจนถึงเวลา 19.00 น. วันที่ 13 พฤษภาคม ขนาด 5.0-5.9 จำนวน 8 ครั้ง ขนาด 4.0-4.9 จำนวน 29 ครั้ง ขนาด 3.0-3.9 จำนวน 126 ครั้ง ขนาดน้อยกว่า 3.0 จำนวน 614 ครั้ง รวม 777 ครั้ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บ้านเลขที่ 122 บ้านดงมะเฟือง หมู่ 9 ต.จอมหมอกแก้ว อ.แม่ลาว ของนางศรีคำ สมบุญ ตัวบ้านที่เป็นคอนกรีตด้านหลังพังทลายลงทั้งแถบ หลังคายุบเสียหาย โครงสร้างบ้านเสียหายอย่างหนัก ตะปูถูกถอนออกจนเกือบสุด ไม่สามารถอยู่อาศัยได้ ขณะที่บ่อน้ำภายในบ้านเอียงลงประมาณ 45 องศา
จ.ส.อ.ภูมินันท์ ปงแก้ว หัวหน้าชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤติ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.)เขต 15 เชียงราย นำเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบความเสียหายพร้อมแจ้งนางศรีคำไม่ให้ขึ้นไปบนบ้านหรืออยู่บริเวณใต้ถุนบ้านหากไม่จำเป็น เนื่องจากโครงสร้างเสียหายอย่างหนัก เสี่ยงต่อการล้มครืนลงมา โดยให้รอจนกว่าคณะวิศวกรที่ทางจังหวัดจัดตั้งขึ้นจะเข้าตรวจสอบ ขณะเดียวกันบ่อน้ำที่เอียงลงไป คาดว่าเกิดจากหลุมที่เกิดจากการสั่นไหวครั้งล่าสุด จึงให้ทำแนวกันไว้โดยรอบ เพราะอาจจะยุบตัวลงอีกจนเกิดอันตรายได้
นางศรีคำ กล่าวว่า เดิมตัวบ้านก็ร้าวอยู่แล้วจากเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม แต่ยังไม่เสียหายมาก บ่อน้ำก็ยังอยู่ในระดับปกติ ใช้อุปโภคบริโภคได้ แต่เมื่อเกิดอาฟเตอร์ช็อคขนาด 5.0 ทำให้บ่อน้ำเอียงลง ตัวบ้านด้านหลังพังทลายลงทั้งแถบ หลังคายุบลงเสียดังสนั่นหวั่นไหว โครงสร้างเสียหายหมด ต้องนำเต๊นท์ำปกางและนอนอยู่หน้าบ้านเหมือนกับชาวบ้านอีกหลายคน
รายงานข่าวแจ้งว่า หลังเกิดอาฟเตอร์ช็อครุนแรงผิดปกติ ทำให้ชาวบ้านที่เคยกลับเข้าไปหลับนอนในบ้าน ต่างกลับออกมานอนในรถและกางเต๊นท์นอนอีกครั้ง เนื่องจากกลัวว่าตัวบ้านจะพังลง ขณะที่หลายหลังได้รับการช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ปภ. จังหวัดทหารบกเชียงราย หน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารพรานที่ 31 หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 35 กองบัญชาการกองทัพไทย กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 17 ในพระองค์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี รื้อถอนบ้านก่อนจะพังลงมาทั้งหลัง โดยบ้านของนางอารี ปรีชา ชาวบ้านห้วยหวาย หมู่2 ต.ดงมะดะ อ.แม่ลาว ได้รื้อถอนออกหมด เหลือเพียงโครงสร้างหน้าบ้านเอาไว้
ด้านศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาแผ่นดินไหวจังหวัดเชียงราย ยังคงสรุปตัวเลขบ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 116 หลัง เสียหายบางส่วน 8,935 หลัง
ขณะที่นายกร มหาวงส์นันท์ หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักงานปภ.เขต 15 เชียงราย พร้อมเจ้าหน้าที่มูลนิธิที่อยู่อาศัย สำรวจบ้านเรีอนในหมู่บ้านหนองเก้าห้อง หมู่ 12 ต.ดงมะดะ อ.แม่ลาว หลังรับแจ้งจากนายพงศกร จักรนิล ผู้ใหญ่บ้านว่าพบบ้านเรือนเสียหายเพิ่มเติมจากอาฟเตอร์ช็อคขนาด 5.0 จากการตรวจสอบพบว่ามีบ้านเรือน 3 หลังไม่สามารถอยู่อาศัยได้
นายสมบูรณ์ จันโย อายุ 46 ปี ซึ่งบ้านเสียหายทั้งหลัง กล่าวว่า แผ่นดินไหวครั้งแรกบ้านมีรอยร้าวเล็กน้อย แต่พอเกิดอาฟเตอร์ช็อกกว่า 600 ครั้ง โดยเฉพาะขนาด 5.0 ทำให้แตกร้าวรอบตัวบ้าน ต้องไปอาศัยอยู่ในห้องครัวเดิมที่ทำเป็นบ่อเลี้ยงกบ อยากให้ทางภาครัฐช่วยซ่อมแซมเพื่อให้เข้าอยู่อาศัยได้โดยเร็ว
ด้านนายกิตติพิชญ์ มูสิกะ ผู้จัดการโครงการภัยพิบัติ มูลนิธิเพื่อที่อยู่อาศัย กล่าวว่า ได้นำ ถุงมือและไฟฉายมาสนับสนุนงานกู้ภัย พร้อมสรุปความเสียหายเพื่อวางมาตรการช่วยเหลือระยะยาว โดยอาจจะซ่อมหรือสร้างบ้านให้รายที่ฐานะยากจน
ที่พุทธมณฑล 750 ปีเมืองเชียงราย สถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาของจังหวัด ตั้งอยู่บ้านต้นง้าว ต.บัวสลี อ.แม่ลาว ได้รับความเสียหายอย่างหนัก โดยพระสิงห์ 1 ซึ่งเป็นพระประธานองค์ใหญ่ สร้างจากคอนกรีตแข็งแรง ประดิษฐานเด่นเป็นสง่าเหนืออาคารพุทธมณฑล มีรอยร้าวในหลายจุดตั้งแต่ฐานบัว ขณะที่บริเวณพระศอองค์พระมีรอยแตกร้าวทางขวางอย่างเห็นได้ชัด
ส่วนอาคารของสำนักงานพุทธมณฑล มีรอยร้าวหลายจุด อย่างไรก็ตามเสาและฐานของพระสิงห์ 1 ยังมั่นคงแข็งแรง แม้จะยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ แต่ก็ทำให้ทางจังหวัดและคณะสงฆ์ ซึ่งกำหนดจะจัดพิธีปฏิบัติธรรมในวันวิสาขบูชา รวมทั้งพิธีเบิกเนตรพระสิงห์ 1 ต้องเลื่อนไปอย่างไม่มีกำหนด
ที่วัดดงมะเฟือง หมู่ 9 ต.จอมหมอกแก้ว อ.แม่ลาว โครงสร้างหลักพระอุโบสถแตกร้าว กระเบื้องหล่นลงมากองกับพื้นจำนวนมาก ภายในประดิษฐานพระประธานปางมารวิชัย อายุกว่าร้อยปี ที่แตกร้าวบริเวณพระศอ ส่วนกุฏิ หอฉัน อาคารเก็บภาพของเจ้าอาวาสรูปก่อนแตกร้าวเสียหาย
พระปลัดฐิติรัชกฤตอุทโย เจ้าอาวาส กล่าวว่า แผ่นดินไหวไหวครั้งแรกก็เสียหายอยู่แล้ว เมื่อเกิดอาฟเตอร์ช็อคตามมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้แตกร้าวมากขึ้น ซึ่งคณะวิศวกรที่จังหวัดจัดให้มาสำรวจ แจ้งว่าคงต้องทุบพระอุโบสถทิ้ง เนื่องจากโครงสร้างหลักเสียหายหนักจนซ่อมไม่ได้แล้ว แต่กุฏิ หอฉัน และอาคารอื่นยังพอซ่อมได้อยู่ ดังนั้นในวันวันวิสาขบูชานี้ จะยังคงทำพิธีเวียนเทียนและทำวัตรเย็นเป็นครั้งสุดท้าย จากนั้นจะเคลื่อนย้ายพระประธานไปเก็บรักษา และทุบพระอุโบสถทิ้งเพื่อสร้างใหม่ต่อไป
ข่าวแจ้งว่า นายสมใจ เย็นสบาย ผู้อำนวยการส่วนธรณีพิบัติ กรมทรัพยากรธรณีวิทยา ได้นำเจ้าหน้าที่พร้อมเครื่องระบุตำแหน่งบนผิวโลกหรือจีพีเอส ตรวจสอบรอยดินแยกไปถึงบ้านทุ่งฟ้าผ่า หมู่ 7 ต.แม่พริก อ.แม่สรวย ซึ่งพบว่ามีรอยแยกยาวไปกลางทุ่งนาต่อเนื่องมาจากอ.แม่ลาว ทำให้บ่อน้ำผิวดินของชาวบ้านแห้งและมีทรายเข้าไปแทรกตัวอยู่แทน
นายสมใจ กล่าวว่า รอยแยกน่าจะมาจากรอยเลื่อนแม่ลาวที่ต่อเนื่องกันมา แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่า ศูนย์กลางของการเกิดแผ่นดินไหวเกิดขึ้นที่ใด เพราะต้องรอวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลที่ได้จากจีพีเอส จากนั้นนำมาประกอบกันเป็นแผนที่