**ย่อมมีผลต่อการตัดสินใจของสมาชิกวุฒิสภาไม่มากก็น้อย กับสถานการณ์การเมืองเวลานี้
แม้ว่า รัฐบาลรักษาการยังคงสภาพอยู่โดยมี นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกฯ และรมว.พาณิชย์ ทำหน้าที่รักษาการนายกฯ แทน ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร การประชุมวุฒิสภาวันศุกร์ที่ 9 พ.ค.นี้ อาจมีส.ว.อภิปรายถกเถียงกันว่า วุฒิสภาจะเดินหน้าโหวตเลือก ประธานวุฒิสภา-รองประธานวุฒิสภา หรือว่าจะเลื่อนออกไปก่อน
ด้วยที่หวั่นว่า หากเลือกกันไปแล้ว เกิดปัญหาแทรกซ้อนขึ้นกลางทาง จะมีผลทำให้ การเลือกประธานวุฒิสภามีปัญหาขึ้นได้
ผสมกับความเห็นของส.ว.ที่ยังเห็นแตกต่างกันเป็นสองขั้วอย่างชัดเจน คือฝ่ายที่เห็นด้วยให้ควรต้องมีการเลือกประธานวุฒิสภา กับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยให้มีการเลือก ก็ยังเถียงกันไม่เลิก จึงน่าเชื่อว่า กว่าวุฒิสภา จะได้ข้อยุติว่า จะเลือกหรือจะเลื่อน คงใช้เวลาหารือกันนานพอสมควร แม้ที่ประชุมวุฒิสภาเมื่อ 2 พ.ค.จะมีมติไปแล้วให้พิจารณาเรื่องนี้ไปแล้ว แต่หากเสียงส่วนใหญ่สั่งให้ถอย ก็อาจเลื่อนไปก่อนได้
เพราะตอนนี้มีเสียงทักท้วงดังขึ้นเรื่อยๆ ให้ส.ว.คิดให้ดีก่อนลงมติ อาจจะเป็นการทำเกินพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. 2557 ที่รัฐบาลทำเรื่องทูลเกล้าฯ ขึ้นไปเพื่อขอให้เปิดประชุมดังกล่าวตามรธน. มาตรา 132 ที่มีการระบุว่าการเปิดประชุมครั้งนี้ให้ทำใน 2 เรื่อง คือ การเห็นชอบการคัดเลือกบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)คือ น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง กับการเปิดรับสมัครและคัดเลือกบุคคลมาเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในศาลปกครองเท่านั้น
ไม่ได้เปิดประชุมมาเพื่อการอื่นใดนอกจากนี้ หากวุฒิสภาไปดันเลือกประธานวุฒิสภา-ตั้งกมธ.ขึ้นมา อาจสุ่มเสี่ยงจะโดนยื่นเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่า วุฒิสภาได้ดำเนินการนอกเหนือไปจากที่ พ.ร.ฎ. กำหนด ซึ่งจะสร้างปัญหาให้กับวุฒิสภาในอนาคตได้ หากไม่คิดให้รอบคอบ
จึงต้องดูกันว่า สุดท้าย ที่ประชุมส.ว.ในวันที่ 9 พ.ค.นี้ จะยืนยันตามมติเดิม เมื่อ 2 พ.ค. หรือจะยอมถอย เพื่อจะได้ไม่เกิดปมปัญหาจนเรื่องไปถึงศาลรธน. ซึ่งหากวินิจฉัยออกมาว่า ให้การเลือกประธานวุฒิสภา-รองปธ.วุฒิสภาดังกล่าวเป็นโมฆะ เนื่องจากทำนอกเหนือพ.ร.ฎ.เปิดประชุมวุฒิสภา ก็อาจทำให้เกิดผลต่อเนื่องตามมา เช่น การไปยื่นเรื่องต่อป.ป.ช. เพื่อเอาผิดกับผู้เกี่ยวข้อง เช่น พวกที่เสนอและร่วมคะแนนเสียงในญัตติให้มีการเลือกประธานวุฒิสภา-กมธ.วุฒิสภา รวมถึง ตัว สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ที่ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ส่วนการเอาผิดกับส.ว.ที่ร่วมลงคะแนนเสียงเลือกประธาน-รองประธานวุฒิสภา คงทำได้ยาก เพราะเป็นการลงคะแนนลับ ไม่สามารถล่วงรู้ได้ว่า ใครเข้าประชุม หรือโหวตบ้าง
คนในตึกวุฒิสภา กระซิบบอกมาว่า แม้ สุรชัย รองประธานวุฒิสภา ในฐานะรักษาการประธานวุฒิสภา จะเป็นนักกฎหมายมือฉมังของสภาสูง ซึ่งที่ผ่านมาแสดงความเชื่อมั่นว่า วุฒิสภาสามารถดำเนินการเลือกประธาน-รองประธานวุฒิสภาได้ เพราะเป็นเรื่องภายในของวุฒิสภา ไม่น่าจะขัดรธน. แต่ของแบบนี้มันก็ไม่แน่นอน ศาลรธน. อาจไม่เห็นแบบเดียวกันกับ สุรชัย ก็ได้
**เนื่องจากมีข่าวว่า แม้แต่ ส.ว.ในกลุ่มเดียวกันกับ สุรชัย ที่เป็นส.ว.สายกฎหมาย ก็ไม่เห็นด้วยให้มีการเลือกประธานวุฒิสภา ด้วยที่หวั่นจะเกิดปัญหาข้อกฎหมาย
รวมถึงเตือนว่าหากสุรชัย ลาออกจากรองประธานวุฒิสภา เพื่อไปสมัครเป็นประธานวุฒิสภาขึ้นมา แล้วเกิดได้รับเลือกขึ้นมา แต่ระหว่างรอการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง ปรากฏว่า เกิดปัญหาขึ้นมา การเลือกประธาน-รองประธานวุฒิสภา เกิดเป็นโมฆะ ฝ่ายนิติบัญญัติ ที่ไม่มีสภาฯ ในเวลานี้ เหลือแต่วุฒิสภา หากไม่มีทั้งประธาน-รองประธานวุฒิสภา จะยิ่งทำให้ประเทศเกิดสุญญากาศหนักขึ้นไปอีก
**จึงมีเสียงเตือน สุรชัย และพวกกลุ่ม 40 ส.ว. ว่า ต้องคิดให้ดี หากไม่ชัวร์ ก็อย่าเพิ่งรีบเลือกประธานวุฒิสภา ไม่อย่างนั้น จะพังกันหมด
อย่างไรก็ตาม หากการประชุมวันที่ 9 พ.ค. เสียงส่วนใหญ่ของวุฒิสภาเดินหน้า ให้มีการเลือกประธานวุฒิสภา-ตั้งกรรมาธิการ ส.ว.ที่ไม่เห็นด้วย รวมถึงแม้แต่ตัว สุรชัย เองก็คงทำอะไรไม่ได้ ก็ต้องไปวัดดวงกันข้างหน้าต่อไป หากเรื่องไปถึงศาลรธน. ขึ้นมาจริงๆ
ท่ามกลางข่าวว่า ฝ่ายเพื่อไทย ก็จับตาเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด และคงไม่อยู่เฉยๆ แน่นอน หากสุดท้าย สุรชัย ได้เป็นประธานวุฒิสภา เพราะเพื่อไทยมองว่า สุรชัย คือพวกกลุ่ม 40 ส.ว. ที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล หากได้เป็นประธานวุฒิสภา อาจทำให้เข้ามาคุมเกมในฝ่ายนิติบัญญัติดำเนินการบางอย่างที่ทำให้เพื่อไทยเพลี่ยงพล้ำการเมืองได้
คาดว่าถ้า สุรชัย ได้เป็นประธานวุฒิสภา เพื่อไทยอาจใช้วิธีเตะถ่วงชะลอเรื่อง เช่น การส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่า การเลือกประธานวุฒิสภาดังกล่าวขัดต่อรธน.หรือไม่ หรืออาจเป็นไปได้ที่รัฐบาลอาจเล่นกันถึงขั้นส่งเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญ ให้วินิจฉัยเรื่องนี้ เรียกได้ว่า ฝ่ายกลุ่ม 40 สว.ที่หนุน สุรชัย กับฝ่ายรัฐบาลเพื่อไทย คงอาจได้งัดข้อกันอีกครั้ง หากว่าสุรชัย ได้เป็นประธานวุฒิสภา
**ส่วนความเคลื่อนไหวชิงเก้าอี้ประธานวุฒิสภา สายข่าวรายงานจากตึกวุฒิสภาว่า แคนดิเดตชิงประธานวุฒิสภา และทีมงานสนับสนุน ต่างเดินสายหาคะแนนเสียงให้กับฝ่ายตัวเองกับจนวุฒิสภาฝุ่นตลบ แม้ ศรีเมือง เจริญศิริ ส.ว.มหาสารคาม จากค่าย ทักษิณ ชินวัตร จะถอนตัว ไม่ลงชิงแล้ว
แต่ จองชัย เที่ยงธรรม ส.ว.สุพรรณบุรี ยังสู้ต่อและลุยหาเสียงไม่มีถอย จนทำให้คะแนนที่จะเลือก จองชัย ที่มีไม่มากจนแทบไม่มีให้ลุ้น แต่คะแนนของจองชัย ก็อาจไปตัดกับ พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ ส.ว.สรรหา ที่อ้างว่าเพื่อไทยและ ทักษิณ ชินวัตร ผลักดันให้ชิงประธานวุฒิสภาสู้กับสุรชัย
ตามข่าวว่า จงรัก กระสันต์อยากเป็นประธานวุฒิสภาถึงขั้นมีการบินไปพบ ทักษิณ ที่ต่างประเทศ เพื่อขอให้ช่วยสนับสนุน ข่าวบอกว่า ทักษิณ เองก็ไม่ได้ตอบรับมากนัก เพียงแต่บอกให้ สมชาย และเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ช่วยดูให้ จงรัก ว่ามีโอกาสสู้สุรชัยได้ไหม หากสู้ได้ ก็ให้ดันเต็มที่โดยให้ไปบอกส.ว.ในเครือข่ายให้ช่วยเทคะแนนให้ จงรัก
จนทำให้ ช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา จงรัก ดูจะมั่นใจมากหลังทราบข่าวส.ว.สายพรรคเพื่อไทย และพรรคร่วมรัฐบาลร่วม 40 คน จะดันให้เป็นประธานวุฒิสภา ส่วนคะแนนที่เหลือ ตัว จงรัก ก็กำลังพยายามดิ้นรนไปขอคะแนนเสียงกับพวก ส.ว.สรรหา ที่ไม่เอา สุรชัย ที่น่าจะมีประมาณ 10-15 คน เพื่อหวังเบียดเอาชนะ สุรชัย ให้ได้
**หากมีการเลือกประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภา ในวันนี้ 9 พ.ค. ขึ้นมาจริงๆ ก็น่าติดตามว่า ใครจะเข้าวิน และให้จับตาดูการชิงรองประธานวุฒิสภาอีก 2 ตำแหน่งให้ดีด้วย เพราะอาจมี ส.ว.บางคน เสนอตัวลงชิงเก้าอี้ แบบคนคาดไม่ถึง ?
แม้ว่า รัฐบาลรักษาการยังคงสภาพอยู่โดยมี นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกฯ และรมว.พาณิชย์ ทำหน้าที่รักษาการนายกฯ แทน ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร การประชุมวุฒิสภาวันศุกร์ที่ 9 พ.ค.นี้ อาจมีส.ว.อภิปรายถกเถียงกันว่า วุฒิสภาจะเดินหน้าโหวตเลือก ประธานวุฒิสภา-รองประธานวุฒิสภา หรือว่าจะเลื่อนออกไปก่อน
ด้วยที่หวั่นว่า หากเลือกกันไปแล้ว เกิดปัญหาแทรกซ้อนขึ้นกลางทาง จะมีผลทำให้ การเลือกประธานวุฒิสภามีปัญหาขึ้นได้
ผสมกับความเห็นของส.ว.ที่ยังเห็นแตกต่างกันเป็นสองขั้วอย่างชัดเจน คือฝ่ายที่เห็นด้วยให้ควรต้องมีการเลือกประธานวุฒิสภา กับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยให้มีการเลือก ก็ยังเถียงกันไม่เลิก จึงน่าเชื่อว่า กว่าวุฒิสภา จะได้ข้อยุติว่า จะเลือกหรือจะเลื่อน คงใช้เวลาหารือกันนานพอสมควร แม้ที่ประชุมวุฒิสภาเมื่อ 2 พ.ค.จะมีมติไปแล้วให้พิจารณาเรื่องนี้ไปแล้ว แต่หากเสียงส่วนใหญ่สั่งให้ถอย ก็อาจเลื่อนไปก่อนได้
เพราะตอนนี้มีเสียงทักท้วงดังขึ้นเรื่อยๆ ให้ส.ว.คิดให้ดีก่อนลงมติ อาจจะเป็นการทำเกินพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. 2557 ที่รัฐบาลทำเรื่องทูลเกล้าฯ ขึ้นไปเพื่อขอให้เปิดประชุมดังกล่าวตามรธน. มาตรา 132 ที่มีการระบุว่าการเปิดประชุมครั้งนี้ให้ทำใน 2 เรื่อง คือ การเห็นชอบการคัดเลือกบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)คือ น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง กับการเปิดรับสมัครและคัดเลือกบุคคลมาเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในศาลปกครองเท่านั้น
ไม่ได้เปิดประชุมมาเพื่อการอื่นใดนอกจากนี้ หากวุฒิสภาไปดันเลือกประธานวุฒิสภา-ตั้งกมธ.ขึ้นมา อาจสุ่มเสี่ยงจะโดนยื่นเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่า วุฒิสภาได้ดำเนินการนอกเหนือไปจากที่ พ.ร.ฎ. กำหนด ซึ่งจะสร้างปัญหาให้กับวุฒิสภาในอนาคตได้ หากไม่คิดให้รอบคอบ
จึงต้องดูกันว่า สุดท้าย ที่ประชุมส.ว.ในวันที่ 9 พ.ค.นี้ จะยืนยันตามมติเดิม เมื่อ 2 พ.ค. หรือจะยอมถอย เพื่อจะได้ไม่เกิดปมปัญหาจนเรื่องไปถึงศาลรธน. ซึ่งหากวินิจฉัยออกมาว่า ให้การเลือกประธานวุฒิสภา-รองปธ.วุฒิสภาดังกล่าวเป็นโมฆะ เนื่องจากทำนอกเหนือพ.ร.ฎ.เปิดประชุมวุฒิสภา ก็อาจทำให้เกิดผลต่อเนื่องตามมา เช่น การไปยื่นเรื่องต่อป.ป.ช. เพื่อเอาผิดกับผู้เกี่ยวข้อง เช่น พวกที่เสนอและร่วมคะแนนเสียงในญัตติให้มีการเลือกประธานวุฒิสภา-กมธ.วุฒิสภา รวมถึง ตัว สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ที่ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ส่วนการเอาผิดกับส.ว.ที่ร่วมลงคะแนนเสียงเลือกประธาน-รองประธานวุฒิสภา คงทำได้ยาก เพราะเป็นการลงคะแนนลับ ไม่สามารถล่วงรู้ได้ว่า ใครเข้าประชุม หรือโหวตบ้าง
คนในตึกวุฒิสภา กระซิบบอกมาว่า แม้ สุรชัย รองประธานวุฒิสภา ในฐานะรักษาการประธานวุฒิสภา จะเป็นนักกฎหมายมือฉมังของสภาสูง ซึ่งที่ผ่านมาแสดงความเชื่อมั่นว่า วุฒิสภาสามารถดำเนินการเลือกประธาน-รองประธานวุฒิสภาได้ เพราะเป็นเรื่องภายในของวุฒิสภา ไม่น่าจะขัดรธน. แต่ของแบบนี้มันก็ไม่แน่นอน ศาลรธน. อาจไม่เห็นแบบเดียวกันกับ สุรชัย ก็ได้
**เนื่องจากมีข่าวว่า แม้แต่ ส.ว.ในกลุ่มเดียวกันกับ สุรชัย ที่เป็นส.ว.สายกฎหมาย ก็ไม่เห็นด้วยให้มีการเลือกประธานวุฒิสภา ด้วยที่หวั่นจะเกิดปัญหาข้อกฎหมาย
รวมถึงเตือนว่าหากสุรชัย ลาออกจากรองประธานวุฒิสภา เพื่อไปสมัครเป็นประธานวุฒิสภาขึ้นมา แล้วเกิดได้รับเลือกขึ้นมา แต่ระหว่างรอการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง ปรากฏว่า เกิดปัญหาขึ้นมา การเลือกประธาน-รองประธานวุฒิสภา เกิดเป็นโมฆะ ฝ่ายนิติบัญญัติ ที่ไม่มีสภาฯ ในเวลานี้ เหลือแต่วุฒิสภา หากไม่มีทั้งประธาน-รองประธานวุฒิสภา จะยิ่งทำให้ประเทศเกิดสุญญากาศหนักขึ้นไปอีก
**จึงมีเสียงเตือน สุรชัย และพวกกลุ่ม 40 ส.ว. ว่า ต้องคิดให้ดี หากไม่ชัวร์ ก็อย่าเพิ่งรีบเลือกประธานวุฒิสภา ไม่อย่างนั้น จะพังกันหมด
อย่างไรก็ตาม หากการประชุมวันที่ 9 พ.ค. เสียงส่วนใหญ่ของวุฒิสภาเดินหน้า ให้มีการเลือกประธานวุฒิสภา-ตั้งกรรมาธิการ ส.ว.ที่ไม่เห็นด้วย รวมถึงแม้แต่ตัว สุรชัย เองก็คงทำอะไรไม่ได้ ก็ต้องไปวัดดวงกันข้างหน้าต่อไป หากเรื่องไปถึงศาลรธน. ขึ้นมาจริงๆ
ท่ามกลางข่าวว่า ฝ่ายเพื่อไทย ก็จับตาเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด และคงไม่อยู่เฉยๆ แน่นอน หากสุดท้าย สุรชัย ได้เป็นประธานวุฒิสภา เพราะเพื่อไทยมองว่า สุรชัย คือพวกกลุ่ม 40 ส.ว. ที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล หากได้เป็นประธานวุฒิสภา อาจทำให้เข้ามาคุมเกมในฝ่ายนิติบัญญัติดำเนินการบางอย่างที่ทำให้เพื่อไทยเพลี่ยงพล้ำการเมืองได้
คาดว่าถ้า สุรชัย ได้เป็นประธานวุฒิสภา เพื่อไทยอาจใช้วิธีเตะถ่วงชะลอเรื่อง เช่น การส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่า การเลือกประธานวุฒิสภาดังกล่าวขัดต่อรธน.หรือไม่ หรืออาจเป็นไปได้ที่รัฐบาลอาจเล่นกันถึงขั้นส่งเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญ ให้วินิจฉัยเรื่องนี้ เรียกได้ว่า ฝ่ายกลุ่ม 40 สว.ที่หนุน สุรชัย กับฝ่ายรัฐบาลเพื่อไทย คงอาจได้งัดข้อกันอีกครั้ง หากว่าสุรชัย ได้เป็นประธานวุฒิสภา
**ส่วนความเคลื่อนไหวชิงเก้าอี้ประธานวุฒิสภา สายข่าวรายงานจากตึกวุฒิสภาว่า แคนดิเดตชิงประธานวุฒิสภา และทีมงานสนับสนุน ต่างเดินสายหาคะแนนเสียงให้กับฝ่ายตัวเองกับจนวุฒิสภาฝุ่นตลบ แม้ ศรีเมือง เจริญศิริ ส.ว.มหาสารคาม จากค่าย ทักษิณ ชินวัตร จะถอนตัว ไม่ลงชิงแล้ว
แต่ จองชัย เที่ยงธรรม ส.ว.สุพรรณบุรี ยังสู้ต่อและลุยหาเสียงไม่มีถอย จนทำให้คะแนนที่จะเลือก จองชัย ที่มีไม่มากจนแทบไม่มีให้ลุ้น แต่คะแนนของจองชัย ก็อาจไปตัดกับ พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ ส.ว.สรรหา ที่อ้างว่าเพื่อไทยและ ทักษิณ ชินวัตร ผลักดันให้ชิงประธานวุฒิสภาสู้กับสุรชัย
ตามข่าวว่า จงรัก กระสันต์อยากเป็นประธานวุฒิสภาถึงขั้นมีการบินไปพบ ทักษิณ ที่ต่างประเทศ เพื่อขอให้ช่วยสนับสนุน ข่าวบอกว่า ทักษิณ เองก็ไม่ได้ตอบรับมากนัก เพียงแต่บอกให้ สมชาย และเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ช่วยดูให้ จงรัก ว่ามีโอกาสสู้สุรชัยได้ไหม หากสู้ได้ ก็ให้ดันเต็มที่โดยให้ไปบอกส.ว.ในเครือข่ายให้ช่วยเทคะแนนให้ จงรัก
จนทำให้ ช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา จงรัก ดูจะมั่นใจมากหลังทราบข่าวส.ว.สายพรรคเพื่อไทย และพรรคร่วมรัฐบาลร่วม 40 คน จะดันให้เป็นประธานวุฒิสภา ส่วนคะแนนที่เหลือ ตัว จงรัก ก็กำลังพยายามดิ้นรนไปขอคะแนนเสียงกับพวก ส.ว.สรรหา ที่ไม่เอา สุรชัย ที่น่าจะมีประมาณ 10-15 คน เพื่อหวังเบียดเอาชนะ สุรชัย ให้ได้
**หากมีการเลือกประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภา ในวันนี้ 9 พ.ค. ขึ้นมาจริงๆ ก็น่าติดตามว่า ใครจะเข้าวิน และให้จับตาดูการชิงรองประธานวุฒิสภาอีก 2 ตำแหน่งให้ดีด้วย เพราะอาจมี ส.ว.บางคน เสนอตัวลงชิงเก้าอี้ แบบคนคาดไม่ถึง ?