"มาร์ค" ดราม่าประกาศยอมเว้นวรรคทางการเมือง ไม่ลงเลือกตั้ง หากทุกฝ่ายยอมรับ"พิมพ์เขียว"ที่จะนำเสนอในวันเสาร์นี้ "ปู"บอกสบายใจ หลังได้ข้อยุติเลือกตั้ง 20 ก.ค. ดักคอ"มาร์ค" ถ้ามีความจริงใจ ก็อย่ามาตั้งเงื่อนไข กกต.คาดส่งร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้ง 8 พ.ค. วางปฏิทินรับสมัครปาร์ตี้ลิสต์ 25-29 พ.ค. เลือกตั้งล่วงหน้า 6 ก.ค.
วานนี้ (1 พ.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า หลังจากได้พบปะกับฝ่ายต่างๆ เพื่อทำข้อเสนอเป็นทางออกให้ประเทศออกจากวิกฤติแล้ว ตนจะเสนอทางเลือกในการแก้ปัญหาประเทศ โดยจะลงรายละเอียดทั้งหมดอย่างเป็นรูปธรรมไม่เกินวันเสาร์ที่ 3 พ.ค.นี้ บนหลักการที่ว่า ทุกฝ่ายมีความห่วงใยต่อสภาพบ้านเมือง ทั้งความขัดแย้ง ปัญหาเศรษฐกิจ ความกังวลว่า อนาคตข้างหน้าจะดีกว่าปัจจุบันได้อย่างไร ในขณะที่ทางเดินจากฝ่ายต่างๆ ยังไม่เปลี่ยนแปลง รัฐบาลเดินหน้าเลือกตั้งไม่สนใจความขัดแย้งในบ้านเมือง มีเป้าหมายรักษาอำนาจให้นานที่สุด และมีการระบุว่า หากมีการตัดสินที่เป็นผลลบต่อรัฐบาล จะขอพระบรมราชวินิจฉัยเป็นทางเลือกที่รัฐบาลเสนอให้ประชาชน และประเทศในขณะนี้ ในส่วนของ กปปส. จะเคลื่อนไหวใหญ่ 13-14 พ.ค. มีเป้าหมาย ยึดคืนอำนาจให้ประชาชน ในขณะที่กลุ่ม นปช. ก็ประกาศเคลื่อนไหวใหญ่ มีการคาดการณ์ และกังวลว่าการเคลื่อนไหวของมวลชน อาจนำไปสู่ความรุนแรง ความสูญเสีย ย้อนรอยปี 2549 เกิดการรัฐประหาร เพื่อยับยั้งความรุนแรง และความสูญเสีย
นอกจากนี้ มีบางฝ่ายตั้งความหวังว่า คดีความจะเป็นคำตอบให้ประเทศได้ แต่มีแนวโน้มในขณะนี้ ฝ่ายไม่พอใจในคำตัดสินอาจมีการปลุกระดมให้เกิดความขัดแย้งจากผลคำวินิจฉัย หรือในกรณีที่คำวินิจฉัยไม่สามารถให้คำตอบว่า จะเดินหน้าประเทศได้อย่างไร ก็นำไปสู่ความขัดแย้งเช่นเดียวกัน ดังนั้นจากปัญหาที่อาจเกิดการปะทะมวลชน คดีความ หรือที่เสนอโดยคณะบุคคล ล้วนมีความเสี่ยง และอาจไม่สามารถให้คำตอบกับประเทศไทยได้
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าข้อเสนอของตน ต้องการหยุดยั้งไม่ให้เกิดความเสียหาย ดังนี้
1. ไม่ต้องการเห็นความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตเลือดเนื้อประชาชนอีกต่อไป
2. ไม่ต้องการเห็นการสูญเสียประชาธิปไตย หรือการเดินออกนอกรัฐธรรมนูญ เพราะไม่สามารถสะสางปัญหาได้จริง แต่จะเป็นการผูกปมขัดแย้งในอนาคต
3. ไม่ต้องการให้มีการดึงสถาบันที่อยู่นอกเหนือความขัดแย้งทางการเมืองทั้งศาล และสถาบันสูงสุด มาสู่ความขัดแย้ง
ทั้งนี้ ข้อเสนอของตน จะประกอบด้วย
1 . ตอบโจทย์ประเทศให้มีการปฏิรูปตามขั้นตอนรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย ประชาชนมั่นใจว่านักการเมืองจะคัดค้านไม่ได้ ต้องมีหลักประกันคุ้มครองว่า คนสูญเสียประโยชน์ไม่สามารถคัดค้านได้
2. การปฏิรูปอาจไม่สามารถจบก่อนการเลือกตั้ง จึงมีข้อเสนอช่วงเปลี่ยนผ่านก่อนการเลือกตั้งทั้งรัฐบาล และสภา
3. มีการเลือกตั้งโดยเร็ว เมื่อมีการเลือกตั้งที่เสรี สุจริต เที่ยงธรรม ประชาชนและพรรคการเมืองทุกฝ่ายยอมรับ ประสบความสำเร็จในการมีสภา และรัฐบาล
4. ข้อเสนอของตนไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัว ส่วนกลุ่มของใครทั้งสิ้น คดีความต้องดำเนินการตามกฎหมายเท่านั้น
"ข้อเสนอมีหลักการและเป้าหมายชัดเจน แต่จะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อทุกฝ่ายยอมรับข้อเสนอนี้ ผมพูดตั้งแต่วันแรกว่า ข้อเสนอในลักษณะนี้เป็นไปไม่ได้เลยที่จะถูกใจฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใด แต่มั่นใจว่าเป็นข้อเสนอที่ยึดประโยชน์ส่วนรวม มีเหตุผล หลักการรองรับ ที่ทำให้คนที่จะปฏิเสธต้องให้เหตุผลที่ดีกับสังคมว่าทำไมไม่ยอมรับข้อเสนอดังกล่าว และเมื่อข้อเสนอไม่ถูกใจทุกคน ผมจึงต้องขอให้ทุกฝ่ายพิจารณาข้อเสนอของผมโดยยึดเอาประโยชน์สูงสุดของส่วนรวมเป็นหลัก ขณะเดียวกัน ผมก็ต้องตอบคำถามกับประชาชน และสังคม เพราะผมไม่เป็นกลาง ไม่ใช่คนกลาง และยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา จึงต้องตอบว่า ในแผนของผมนั้น ผมอยู่ตรงไหน ได้ประโยชน์หรือไม่ ดังนั้น เพื่อพิสูจน์ความจริงใจว่า ผมไม่ได้ทำเรื่องนี้เพื่อประโยชน์ส่วนตน หากทุกฝ่ายยอมรับข้อเสนอ ผมจะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ซึ่งจะเป็นเครื่องยืนยันว่า ผมจะไม่มีสถานะทางการเมืองที่จะได้ประโยชน์ แต่เป็นประชาชน ที่จะสนับสนุนให้การปฏิรูปประสบความสำเร็จ ผมขอขอบคุณหลายฝ่ายที่สนใจให้โอกาสผมช่วยหาทางออกให้ประเทศ จึงขอโอกาสให้กับประเทศ ด้วยการวางทางเลือกให้ทุกฝ่ายพิจารณา และให้สังคมมั่นใจว่า ผมไม่มีประโยชน์ที่จะได้จากแผนนี้ นอกจากหวังว่าประเทศจะมีทางออก และเกิดการปฏิรูปได้เท่านั้น" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
** "มาร์ค"เว้นวรรคแต่ยังนั่งหน.ปชป.
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การที่นายอภิสิทธิ์ ประกาศจะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง หากทุกฝ่ายรับข้อเสอนแนวทางออกประเทศไทยนั้น ถือเป็นการแสดงความตั้งใจที่มีเจตนาบริสุทธิ์ให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างเรียบร้อย และมีหลักประกันในการปฏิรูปประเทศ จึงเอาตำแหน่งเป็นเดิมพัน ซึ่งการที่นายอภิสิทธิ์ ไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยไม่รับตำแหน่งใดๆ นั้น ไม่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนายอภิสิทธิ์ ก็ไม่ได้ลาออกจากตำหน่งนี้ แต่เป็นตำแหน่งอื่น เช่น หากพรรคประชาธิปัตย์ชนะเลือกตั้ง นายอภิสิทธิ์ ก็ไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะไม่ได้เป็นส.ส. หรือหากแพ้เลือกตั้งก็ไม่ได้เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ ทั้งนี้เรื่องดังกล่าว ไม่ใช่การทิ้งไพ่ใบสุดท้าย แต่เป็นการเสียสละ และถอยให้ประเทศเดินหน้าไปได้
**ถ้า"มาร์ค"จริงใจก็อย่ามาตั้งเงื่อนไข
ด้านน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณี นายอภิสิทธิ์ ขอโอกาสทำงานหาทางออกให้กับประเทศ ถ้าทุกฝ่ายยอมรับได้ ก็จะไม่ขอลงเลือกตั้งเพื่อแสดงความจริงใจ ว่า นายอภิสิทธิ์ และพรรคประชาธิปัตย์ อย่าตั้งเงื่อนไขเลย เพราะทุกคนตั้งตารอว่าให้ทุกอย่างผ่านไปด้วยดี และตนพร้อมที่จะรับฟังข้อเสนอของนายอภิสิทธิ์ ในอีก 2 วันข้างหน้า แต่เราไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะมาตั้งเงื่อนไข หรือตั้งแง่ใส่กัน แต่อะไรที่เป็นข้อเสนอ และเป็นไปได้ สามารถปฏิบัติได้ และภาพรวมของคนส่วนใหญ่เห็นด้วย ก็พร้อมที่จะทำตาม และหวังว่าการตัดสินใจในอีก 2 วันข้างหน้า เราจะไม่ใช้เงื่อนไขซึ่งกันและกัน แต่จะพยายามหาจุดร่วม เหมือนที่นายอภสิทธิ์พูดในครั้งแรกว่า เราจะร่วมกันแสวงหาจุดร่วมและพยายามใช้จุดร่วมเป็นจุดยืดเหนี่ยว และเดินทางไปด้วยกัน
เมื่อถามว่า นายอภิสิทธิ์ ควรคุยกับนายกฯ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. เพื่อยุติปัญหาหรือไม่ นายกฯ ตอบว่า รัฐบาลเปิดกว้าง และไม่ใช่ว่าจะไม่จริงใจที่จะรับฟัง เพราะว่าบางอย่างมีการกำหนดเงื่อนไขของเวลาที่จะต้องทำงานต่อไป ในขณะเดียวกัน เปิดกว้างที่จะรับฟังข้อเสนอ ข้อแนะนำของฝ่ายค้านอยู่แล้ว แต่ก็ต้องขอความเห็นใจว่า การทำงานต้องแยกส่วนกัน แต่เชื่อว่าสุดท้ายแล้วต้องให้คนไทยทุกคนร่วมตัดสินใจ เพราะเป็นอนาคตของคนไทยทุกคน
ส่วนที่นายสุเทพ ประกาศยืนยันไม่รับเงื่อนไข ไม่มีเจรจา จะทำให้เกิดปัญหาจนไม่สามารถแก้ไขได้หรือไม่นั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า หวังว่าข้อเสนอของนายอภิสิทธิ์ จะเป็นข้อเสนอที่นายสุเทพ พอที่จะรับได้บ้าง หวังว่านายสุเทพ และประชาชนในฐานะที่เป็นคนไทยเหมือนกัน น่าจะพูดคุยกัน เราเป็นอย่างนี้มา 5-6 เดือนแล้ว ไม่มีอะไรที่ทำให้ประเทศดีขึ้นเลย คิดว่าอะไรที่เป็นจุดร่วม ทำให้ประเทศเดินได้ ค่อยๆ ปรับจุดร่วมหากัน ลดทิฐิ และใช้หลักของความจริง ในการพูดคุยกัน
** "ปู"สบายใจได้วันเลือกตั้งเสียที
เมื่อถามว่า การหารือกับกกต. ที่ได้กำหนดวันเลือกตั้ง 20 ก.ค. ถือว่าเบาใจขึ้นหรือไม่ นายกฯ ตอบว่า เป็นความสบายใจของทุกคน ถ้าเราได้เริ่มว่า เราอยากจะเห็นการเลือกตั้ง แต่ไม่ใช่ว่าอยากเห็นการเลือกตั้ง หรือให้การเลือกตั้งเดินไปโดยไม่ฟังเสียงประชาชน จึงต้องพยายามทำทุกอย่าง เพราะว่างเว้นการมีรัฐบาลมาถึง 6 เดือนแล้ว ต้องทำทุกอย่างกลับสู่ระบบ โดยทำให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ซึ่งในการประชุม ได้มีการรับฟัง และพยายามนำปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในการเลือกตั้งส .ส.วันที่ 2 ก.พ. มาปรับ เพื่อให้การเลือกตั้งมีความยืดหยุ่นขึ้น และเราเองก็สนับสนุน กกต. หากจะมีการปรับกฏระเบียบ ข้อแก้ไขต่างๆ เพื่อให้การเลือกตั้งมีความโปร่งใส และเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี จะได้สร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศไทย
**เมิน"มาร์ค"เว้นวรรคไม่ใช่ประเด็น
นายภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณี นายอภิสิทธิ์ ประกาศจะไม่ลงเลือกตั้ง หากข้อเสนอทางออกประเทศได้รับการตอบสนอง ว่า นายอภิสิทธิ์ จะลงเลือกตั้งหรือไม่ ไม่ใช่ปัญหาจะเอานายอภิสิทธิ์ มาเป็นข้อต่อรองการเลือกตั้งไม่ได้ อยู่ที่ข้อเสนอของนายอภิสิทธิ์ ว่าจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติหรือไม่ ถ้าสิ่งที่เสนอเป็นประโยชน์ และเป็นทางออกของประเทศจริง นายอภิสิทธิ์ จะลงเลือกตั้งหรือไม่ลง ก็ไม่ใช่ปัญหา
นายภูมิธรรม กล่าวด้วยว่า ความจริงนายอภิสิทธิ์ ไม่จำเป็นต้องคุยแล้ว เพราะพรรคต่างๆ มีจุดยืนชัดเจนหมดแล้ว พวกเราส่วนใหญ่เห็นว่า การเลือกตั้งและการปฏิรูปไม่มีความขัดแย้งกัน สามารถเดินหน้าไปด้วยกันได้
"นายอภิสิทธิ์ ต้องให้ความสำคัญกับเนื้อหาว่า ทุกฝ่ายยอมรับกันได้หรือไม่ เมื่อถึงตรงนั้นทุกฝ่ายก็จะมาคุยกัน ไม่ต้องเอาตัวนายอภิสิทธิ์มาเป็นข้อต่อรอง หรือมาเป็นเงื่อนไข เพราะตัวนายอภิสิทธิ์ ไม่ได้เป็นปัญหากับการเลือกตั้งอยู่แล้ว สถานการณ์วันนี้คนส่วนใหญ่อยากให้สงบ ไม่อยากให้ยืดเยื้อรุนแรง เชื่อว่าผู้นำของทุกฝ่ายย่อมรู้ดีว่า คนส่วนใหญ่ของประเทศต้องการอะไร อยากให้เอาความรู้สึกของคนส่วนใหญ่ไปคิด แล้วช่วยกันหาทางออก" นายภูมิธรรม กล่าว
**กกต.ดึง ร่าง พ.ร.ฎ.เลือกตั้ง 8 พ.ค.
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึงการหารือกับรัฐบาล เพื่อกำหนดวันเลือกตั้งว่า การหารือเป็นไปได้ด้วยดี รัฐบาลได้เสนอแนวทางที่สามารถจัดเลือกตั้งให้เรียบร้อย บางข้อเสนอทำได้ แต่บางข้อเสนอก็ไม่สามารถทำได้ อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญในที่ประชุมคือ เงื่อนไข 5 ข้อ ที่กกต.ต้องให้รัฐบาลเห็นชอบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ กกต.สามารถเลื่อนการเลือกตั้งได้ หากเห็นว่าสถานการณ์ยังไม่เรียบร้อย หรือการยอมรับสภาพว่า แม้การเลือกตั้งสำเร็จ แต่อาจไม่สามารถเปิดประชุมสภาได้ใน 30 วัน ซึ่งรัฐบาลก็รับปากว่า จะดำเนินการตามให้ได้มากที่สุด แต่ทาง กกต.เองก็ขอให้ที่ประชุมทำบันทึกการประชุมในครั้งนี้ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นหลักฐานที่แสดงว่ารัฐบาลรับทราบข้อเสนอของกกต.แล้ว
ส่วนเรื่องสถานการณ์ความขัดแย้งของบ้านเมือง รัฐบาลก็ระบุว่า จะเร่งแก้ไขปัญหา แต่ยังไม่ได้มีการเสนออะไรที่เป็นรูปธรรม เพียงแต่ขอให้กกต.เดินหน้าจัดการเลือกตั้งไป
ทั้งนี้ กกต.จะไปยกร่าง พ.ร.ฎ.แก้ไขเพิ่มเติมวันเลือกตั้งใหม่ โดยจะต้องทำงานร่วมกับคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งคาดว่าจะเข้าที่ประชุม กกต.ได้ในวันที่ 6 พ.ค.นี้ ก่อนส่งให้ ครม.หรือหากต้องมีการปรับแก้ถ้อยคำใน พ.ร.ฎ.ดังกล่าว ทางรัฐบาลก็ระบุว่า สามารถดำเนินการได้ ถึงวันที่ 7 หรือ 8 พ.ค. ก็ไม่มีปัญหา
** รับสมัครปาร์ตี้ลิสต์ 25-29 พ.ค.
นายสมชัย ยังกล่าวถึงขั้นตอนการดำเนินการเตรียมการจัดการเลือกตั้ง หากร่าง พ.ร.ฎ. แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ มีผลบังคับใช้ และกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 20 ก.ค. โดยกกต. จะเปิดรับสมัครส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งจะมีการจับสลากหมายเลขประจำในวันที่ 25-29 พ.ค. จากนั้นในวันที่ 30 พ.ค.- 4 มิ.ย จะเปิดรับสมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยทั้ง 2 ขั้นตอนอาจมีการขยับขยายวันได้ หากมีปัญหาการรับสมัครเกิดขึ้น
จากนั้นก่อนวันที่ 19 มิ.ย. กกต.จะเปิดโอกาสให้คนไทยในต่างประเทศ และในประเทศที่ต้องการจะใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขต แจ้งความจำนง หรือแจ้งเปลี่ยนแปลงสถานที่ลงคะแนน ส่วนคนไทยในประเทศที่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตเลือกตั้ง ให้แจ้งความจำนงระหว่าง วันที่ 30 มิ.ย. - 4 ก.ค. 57 และในวันที่ 28 มิ.ย. - 11 ก.ค. จะเป็นวันลงคะแนนเลือกตั้งนอกอาณาจักร วันที่ 6 ก.ค. จะเป็นวันลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าในประเทศ และวันที่ 20 ก.ค. จะเป็นวันเลือกตั้งทั่วไป
** เย้ย"เทือก"นัดชุมนุมใหญ่ไร้สาระ
ร.ต.อ.เฉลิม อยุ่บำรุง รมว.แรงงาน ในฐานะ ผอ.ศอ.รส. กล่าวถึงกรณีที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ประกาศเคลื่อนไหวใหญ่ในวันที่ 5 พ.ค. วันที่ 14 และ15 พ.ค.ว่า ตนฟังอย่างตั้งใจ ไม่มีอะไรใหม่ หากนำเรื่องเก่าๆ มาสรุปคนเรียนกฎหมายจะรู้ว่า ไร้สาระ ไม่มีประเด็น การสรุปของนายสุเทพ กำลังสร้างศัตรูทั้งในประเทศ และนอกประเทศ โดยในประเทศนายสุเทพ เป็นศัตรูระบอบประชาธิปไตย ขณะที่กกต. จะเสนอ ร่าง พ.ร.ฎ. เลือกตั้งต่อรัฐบาล ในวันที่ 6 พ.ค. และรัฐบาลมีแนวคิดแนวทางเหมือนกับกกต. คือ จะจัดการเลือกตั้งใน วันที่ 20 ก.ค. แสดงว่า ทุกโหมดรวมสู่ระบอบประชาธิปไตยด้วยการเลือกตั้ง โดยกลุ่มประเทศอาเซียนรอฟังอยู่
"ผมไม่ให้น้ำหนัก และไม่เห็นความสำเร็จต่อสิ่งที่ นายสุเทพ จะทำ ขอให้เลิกซะเถอะ ผมขอเตือนด้วยความหวังดี และห่วงใย ไม่ได้ขู่ เพราะผมกับนายสุเทพ โดยส่วนตัวไม่มีอะไรกัน การที่มาประกาศตัวกลางแจ้ง ต่อต้านระบอบประชาธิปไตย สุดท้ายภัยจะถึงตัว โดยที่นายสุเทพไม่รู้ตัว และเจ้าหน้าที่จะช่วยดูแลไม่ได้ วันนี้นายสุเทพ ไม่มีมงคลในตัว จะทำงานใหญ่ต้องมีมงคลในตัว ถึงจะสำเร็จ" ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว
** "เหลิม"ขออำนาจคุมเลือกตั้งเอง
ผู้สื่อข่าวถามว่า คิดว่าการเลือกตั้ง วันที่ 20 ก.ค. จะสามารถดำเนินการได้สำเร็จหรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า หากกอง ทัพ ให้การสนับสนุน การเลือกตั้งจะสำเร็จด้วยดี เพราะขณะนี้คนที่ขัดขวางการเลือกตั้ง ทาง ดีเอสไอ ได้ดำเนินคดีหมดแล้ว จะส่งอัยการประมาณวันที่ 10 พ.ค.นี้ บางคนโดนข้อหากบฏ จะไม่มีการลดราวาศอก นายสุเทพ ไม่มีอิทธิพลเหนือการทำคดีความ
"ผมในฐานะ ผอ.รส. ห่วงการจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ หากไม่สำเร็จ จะเกิดปัญหา เกิดขัดข้อง ศาลรัฐธรรมนูญจะมาวินิจฉัยแบบครั้งที่แล้วอีก แต่หากรัฐบาลใช้ผมอย่างเป็นทางการ ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลการเลือกตั้ง จะทำให้ผมมีอำนาจหน้าที่เต็มรูปแบบ จะสรุปข้อบกพร่องที่ผ่านมา และเตรียมวางแผนการดูแลอย่างเต็มที่" ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว
ขณะที่ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ ในฐานะ ประธานที่ปรึกษา ศอ.รส. กล่าวถึงกรณีนายสุเทพ ประกาศวันเผด็จศึกเป็น 3 ขั้นตอนว่า สิ่งที่นายสุเทพ ทำตนยังหวังว่าจะไม่ก่อให้เกิดความวุ่นวาย อยากให้ชุมนุมประท้วงโดยยึดมั่นรัฐธรรมนูญ สงบ สันติ ปราศจากอาวุธ และขอขอบคุณนายสุเทพ ที่จะทำพิธีไล่เสนียดจัญไรออกนอกประเทศ หวังว่าจะประสบความสำเร็จในการไล่เสนียดจัญไร ที่ทำให้บ้านเมืองวุ่นวายมา 6 เดือน ขออนุโมทนาด้วย
** ศอ.รส.ตั้งคณะทำงานดูแลเลือกตั้ง
นายสุรพงษ์ กล่าวด้วยว่า ในการประชุมศอ.รส. (1 พ.ค.) จะมีการหารือเพื่อให้ตั้งคณะทำงานขึ้นมา เพื่อดูแลการเลือกตั้งในวันที่ 20 ก.ค. ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยจะดูว่า จะต้องมีการเตรียมการอย่างไรบ้าง ในกรณีที่มีการขัดขวางการเลือกตั้งเพื่อที่จะจับกุมได้ทันที จะไม่ปล่อยให้เหตุการณ์เกิดขึ้น แล้วค่อยมาจับกุม ต้องจับต่อหน้า และซึ่งหน้าเลย ซึ่งคิดว่าคงไม่ทำให้เกิดการเผชิญหน้า เหมือนกรณีที่มีการฉีกบัตรเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้ง ทางตำรวจสามารถดำเนินการจับกุมได้ ฉะนั้น คราวที่แล้วเราปล่อยพอสมควร คราวนี้ต้องเตรียมกำลังทั้งตำรวจ และทหารในฐานะเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ เข้าดำเนินการจับกุม
อย่างไรก็ตาม พื้นที่ในกทม. ไม่น่าเป็นห่วงเท่าไร แต่ใน 28 เขตเลือกตั้งทางภาคใต้น่าเป็นห่วง จึงต้องมีการวางแผนให้รัดกุม เพราะอยู่นอกเขต พ.ร.บ.ความมั่นคง จึงจะนำเสนอแนวคิดการตั้งคณะทำงานดังกล่าวให้ กอ.รมน. พิจารณา เพื่อวางโครงสร้างป้องกันปัญหาการขัดขวางการเลือกตั้ง ในต่างจังหวัด
สำหรับคณะทำงานดังกล่าว จะต้องเป็นข้าราชการประจำ ไม่อยากให้การเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยจะมีตัวแทนจากกระทรวงมหาดไทย ทหาร และตำรวจ อยู่ในโครงสร้าง
ประธานที่ปรึกษา ศอ.รส. กล่าวด้วยว่า แม้พรรคประชาธิปัตย์ จะไม่ค่อยพอใจนัก ต่อการที่กกต. เสนอให้รัฐบาลจัดการเลือกตั้ง วันที่ 20 ก.ค. แต่ควรรีบสรุปอะไรที่เป็นประโยชน์กับบ้านเมืองให้ทัน ตนคิดว่าถ้านายอภิสิทธิ์ ออกมาเรียกร้องหาทางออกประเทศ พรรคประชาธิปัตย์ ควรจะเลือกตั้ง แล้วจะปฏิรูปอย่างไร สามารถพูดคุยกันได้ ทุกคนพร้อมจะทำสัตยาบันว่า หลังเลือกตั้งเสร็จ จะรีบปฏิรูป
** ห่วงมือที่สามป่วนช่วงมีม็อบ
พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงการทำหน้าที่รักษาความความสงบเรียบร้อยของกองทัพ ภายหลังจากที่มีการขยายการประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคงออกไป ว่า การกำหนดภารกิจที่ชัดเจนของกำลังทหาร และตำรวจ เป็นการมอบภารกิจโดยตรง จากศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ซึ่งจะมีการพูดถึงข่าว และความเคลื่อนไหว เพื่อนำมากำหนดเป็นภารกิจ ซึ่งจะได้มาเป็นจำนวนกำลังที่เราต้องการในการปฏิบัติภารกิจ โดยทุกอย่างมีขั้นตอน และหลักในการคิดว่า จะต้องสนธิกำลังทหารและตำรวจ จำนวนเท่าไร
ส่วนกรณีที่กลุ่ม นปช. และ กปปส. ต่างมีการนัดชุมนุมใหญ่นั้น จากที่ได้ฟังจากแกนนำของกลุ่มต่างๆ ทราบว่า ไม่มีความประสงค์จะให้เกิดความรุนแรง หรือการเผชิญหน้ากัน ถือเป็นเรื่องที่ดี คิดว่าไม่น่ามีความรุนแรงใดๆ ส่วนกำลังในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย ทางศอ.รส. จะเป็นคนประเมินว่า ควรจะใช้เจ้าหน้าที่จำนวนเท่าไร ส่วนความเป็นห่วงเรื่องการใช้อาวุธสงครามนั้น ที่ผ่านมาจุดตรวจของทหาร และตำรวจ มีการตรวจจับอาวุธได้อยู่ตลอด ซึ่งคงจะต้องกวดขันเจ้าหน้าที่ในเรื่องเหล่านี้ต่อไป
"สิ่งที่น่ากังวลที่สุดคือ มือที่สาม ทราบว่าพี่น้องทั้งสองกลุ่มไม่ประสงค์ที่จะให้เกิดความรุนแรงใดๆ ตามที่แกนนำได้ประกาศ แต่มือที่สามซึ่งเป็นใครก็ไม่รู้ ที่จะสร้างสถานการณ์ขึ้น เพื่อให้พี่น้องทั้งสองกลุ่ม เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อกัน เสี้ยม ยุยง ปลุกปั่น และสร้างสถานกาณ์ เพื่อให้พี่น้องจำนวนมาก เกิดความไม่พอใจซึ่งกันและกัน ซึ่งคงมีปะปนอยู่ ถือเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ต้องแก้ไข ซึ่งตลอดระยะเวลา 5-6 เดือนที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่เข้าใจการทำงานเป็นอย่างดี และไม่เคยปรากาฏว่า มีพี่น้องประชาชนทั้งสองกลุ่มมาเผชิญหน้ากัน แต่สิ่งที่กระจัดกระจายแตกตัวเป็นรายบุคคล ถือเป็นสิ่งยากที่จะป้องกันกว่า ทั้งนี้ทางทหารไม่มีความประสงค์ที่จะใช้อาวุธ ต่อภารกิจต่างๆ" ปลัดกระทรวงกลาโหม กล่าว
**หวังเลือกตั้งแก้ปมขัดแย้ง
เมื่อถามถึงกรณี นายอภิสิทธิ์ เดินสายไปพูดคุยกับกลุ่มต่างๆ เพื่อหาทางออกให้กับประเทศ พล.อ.นิพัทธ์ กล่าวว่า ตนไม่ทราบ เพราะไม่ได้ติดตามเรื่องนี้ แต่สิ่งที่ตนรู้สึกสบายใจ คือ เรื่องที่รัฐบาล หารือกับกกต. แล้วมีการกำหนดการเลือกตั้ง ในวันที่ 20 ก.ค.นี้ คิดว่า ประชาชน และภาคเอกชน คงเห็นแสงสว่างเกิดขึ้นท่ามกลางความมืด หลังจากวันที่ 2 ก.พ. ที่ผ่านมา มีปัญหาเรื่องการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ จนในที่สุดนายกฯ พูดคุยกับ กกต.และได้คำตอบว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ ในวันที่ 20 ก.ค. ตนคิดว่า การเลือกตั้งถือเป็นเป้าประสงค์ที่ประชาชนทุกคนคงจะมองเห็นว่า สังคมไทยจะต้องไปที่จุดนั้นกัน ส่วนเรื่องอื่นๆ ก็จะต้องช่วยกันคิดและแก้ไขปัญหาไป
พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง ผบ.ทอ. กล่าวว่า หลังจาก นายอภิสิทธิ์ เข้าหารือกับ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผบ.สส. เพื่อหาทางออกให้กับประเทศ เมื่อวันที่ 28 เม.ย.ที่ผ่านมา แต่ขณะนี้ทาง ผบ.สส. ยังไม่ได้สื่อสารอะไรมายัง ผบ.เหล่าทัพ ในส่วนของกองทัพอากาศ ก็ไม่ได้รับการติดต่อจาก นายอภิสิทธิ์ และคิดว่านายอภิสิทธิ์ หารือกับ ผบ.สส. ก็เพียงพอแล้ว และทางผบ.เหล่าทัพ จะปรึกษากับ ผบ.สส. ถ้า ผบ.สส.มีการเรียกเชิญ
ทั้งนี้ ใครก็ตามที่พยายามทำให้เกิดความเรียบร้อยในบ้านเมือง ก็เป็นเรื่องดี ถ้าทำแล้วผลออกมาดี ก็น่าสนับสนุน
ส่วนการเลือกตั้งวันที่ 20ก.ค.นั้น ทางกองทัพอากาศ ได้เตรียมความพร้อมให้การสนับสนุนเรื่องนี้ไว้แล้ว เมื่อถามว่าคิดว่าพรรคประชาธิปัตย์ จะลงเลือกตั้งหรือไม่ พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า การเป็นนักการเมือง เรื่องการเลือกตั้งเป็นส่วนสำคัญ ถ้าทุกคนเข้าสู่ระบบการเลือกตั้ง และทำตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ก็น่าจะเป็นไปในแนวทางที่ดี
**ผบ.ตร.สั่งเข้มดูแลการชุมนุม
พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เปิดเผยว่า พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.)ได้สั่งการให้ทุกหน่วยจัดเตรียมกำลัง เพื่อสนับสนุนการทำงานของ ศอ.รส. หลังมีการขยายเวลาประกาศใช้พ.ร.บ.ความมั่นคง โดยผู้บัญชาการกองกำลังยังคงเป็น พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เช่นเดิม
นอกจากนี้ ฝ่ายข่าวรายงานว่าในสัปดาห์หน้า จะมีการชุมนุมของกลุ่มต่างๆ อาทิ กลุ่ม กปปส. และ กลุ่ม นปช. ที่จะนัดชุมนุมใหญ่วันที่ 5 พ.ค.เหมือนกัน รวมถึงการเคลื่อนขบวนใหญ่ของกลุ่มกปปส. ในวันที่ 14 พ.ค. จึงให้ฝ่ายสืบสวน ติดตามด้านการข่าวอย่างใกล้ชิด พร้อมจัดกำลังให้พร้อมสนับสนุนการปฏิบัติของ ศอ.รส. เน้นลดการเผชิญหน้ามวลชนทั้ง 2 กลุ่ม ที่มีความเห็นต่าง ลดความรุนแรง ลดความสูญเสีย รวมทั้งเน้นความชอบธรรม ในการปฏิบัติให้มากที่สุด
พร้อมกันนี้ ยังสั่งเตรียมพร้อมสนับสนุนภารกิจ ของกกต. หากจะมีการจัดเลือกตั้งขึ้นใหม่ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เคยมีปัญหา ทั้งการรับสมัครและการลงคะแนนเลือกตั้ง
**เย้ย"เทือก"นัดเผด็จศึกจนเฝือ
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า กรณีนายสุเทพ นัดชุมนุมใหญ่วันที่ 5 พ.ค. โดยประกาศที่จะเผด็จศึกรัฐบาลนั้น เมื่อติดตามข้อมูลการนัดชุมนุมครั้งสุดท้าย พบว่านายสุเทพ ประกาศมาแล้ว 11 ครั้ง เป็นการแสดงจุดยืนที่จะล้มอำนาจของประชาชน ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ประกาศแบบลุแก่อำนาจ และเตรียมจะยึดอำนาจ เป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์ เท่ากับนายสุเทพ กำลังจะเป็นกบฏ ประชาชนส่วนใหญ่คงไม่ยอมให้นายสุเทพ ดำเนินการเช่นนั้น และขอให้ฝ่ายความมั่นคงช่วยติดตามดูแลด้วย
"ข้อเสนอที่จะนำรายชื่อคณะรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรี ขึ้นทูลเกล้าฯ ของนายสุเทพ ถือเป็นการไม่บังควร เป็นการดึงเอาสถาบันฯ มายุ่งเกี่ยวกับการเมือง ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ประกาศจะเสนอทางออกของประเทศ กับนายสุเทพประกาศมาแบบนี้ ดูเหมือนจะสอดคล้องกัน ไปรู้ธงอะไรมาหรือเปล่า " นายพร้อมพงศ์ กล่าว
**ชี้เลือกตั้ง 20 ก.ค.เผชิญหน้ารอบใหม่
นายพูลเดช กรรณิการ์ หัวหน้าพรรคเพื่ออนาคต พร้อมด้วย นายสยามสิน วลิตวรางค์กูร เลขาธิการพรรค เข้ายื่นหนังสือต่อ กกต.ผ่าน นายอำนวย น้อยโสภา รองผอ.สำนักเลขานุการคณะกรรมการการเลือกตั้ง แสดงความไม่เห็นด้วยกับผลการหารือร่วมกันระหว่าง กกต. กับรัฐบาล ที่มีการกำหนดให้มีการจัดการเลือกตั้งในวันที่ 20 ก.ค. โดยนายพูลเดช กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 22 เม.ย. พรรคเพื่ออนาคต ก็ได้ยื่นหนังสือแสดงจุดยืนของพรรค ต่อประธานกกต.แล้วว่า การเลือกตั้งไม่ควรเกิดขึ้นก่อนมีการหารือปฏิรูปประเทศ และการปฏิรูปการเลือกตั้ง แต่รัฐบาล กับกกต. กลับมีการตกลงกันเมื่อวันที่ 30 เม.ย. ที่ผ่านมา เห็นควรให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 20 ก.ค. ทำให้เห็นว่า ข้อสรุปดังกล่าว จะเป็นหัวเชื้อของไฟความขัดแย้งทางการเมืองครั้งใหม่ อุณหภูมิความขัดแย้งทางการเมืองมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น จะมีการปะทะกันระหว่างมวลชน มีที่คัดค้านการเลือกตั้ง กับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดูแลการเลือกตั้ง เกิดการเผชิญหน้าระหว่างมวลชนสองฝ่าย คือฝ่ายที่สนับสนุนการเลือกตั้ง และฝ่ายที่คัดคด้านการเลือกตั้ง
นอกจากนี้ การที่ทั้ง กกต.และรัฐบาล ต่างรู้ดีถึงต้นเหตุของปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการเลือกตั้งว่า คือความขัดแย้งในประเด็นปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง หรือเลือกตั้งก่อนปฏิรูป แต่ก็กลับไปแก้ปัญหาที่ปลายน้ำ ด้วยการเตรียมมาตรการรับมือกับการต่อต้านขัดขวางการเลือกตั้ง ซึ่งอาจทำให้การเลือกตั้งครั้งใหม่ซ้ำรอยเดิม รวมทั้งยังเห็นว่า เมื่อ กกต.และรัฐบาลได้ข้อสรุปจากการหารือร่วมกันแล้วมากำหนดวันเลือกตั้งทันที เท่ากับไม่รับฟังความเห็นต่างของฝ่ายอื่นๆ รวมทั้งข้อเสนอของหลายฝ่ายที่กำลังพยายามช่วยกันหาทางออกในกับประเทศ
วานนี้ (1 พ.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า หลังจากได้พบปะกับฝ่ายต่างๆ เพื่อทำข้อเสนอเป็นทางออกให้ประเทศออกจากวิกฤติแล้ว ตนจะเสนอทางเลือกในการแก้ปัญหาประเทศ โดยจะลงรายละเอียดทั้งหมดอย่างเป็นรูปธรรมไม่เกินวันเสาร์ที่ 3 พ.ค.นี้ บนหลักการที่ว่า ทุกฝ่ายมีความห่วงใยต่อสภาพบ้านเมือง ทั้งความขัดแย้ง ปัญหาเศรษฐกิจ ความกังวลว่า อนาคตข้างหน้าจะดีกว่าปัจจุบันได้อย่างไร ในขณะที่ทางเดินจากฝ่ายต่างๆ ยังไม่เปลี่ยนแปลง รัฐบาลเดินหน้าเลือกตั้งไม่สนใจความขัดแย้งในบ้านเมือง มีเป้าหมายรักษาอำนาจให้นานที่สุด และมีการระบุว่า หากมีการตัดสินที่เป็นผลลบต่อรัฐบาล จะขอพระบรมราชวินิจฉัยเป็นทางเลือกที่รัฐบาลเสนอให้ประชาชน และประเทศในขณะนี้ ในส่วนของ กปปส. จะเคลื่อนไหวใหญ่ 13-14 พ.ค. มีเป้าหมาย ยึดคืนอำนาจให้ประชาชน ในขณะที่กลุ่ม นปช. ก็ประกาศเคลื่อนไหวใหญ่ มีการคาดการณ์ และกังวลว่าการเคลื่อนไหวของมวลชน อาจนำไปสู่ความรุนแรง ความสูญเสีย ย้อนรอยปี 2549 เกิดการรัฐประหาร เพื่อยับยั้งความรุนแรง และความสูญเสีย
นอกจากนี้ มีบางฝ่ายตั้งความหวังว่า คดีความจะเป็นคำตอบให้ประเทศได้ แต่มีแนวโน้มในขณะนี้ ฝ่ายไม่พอใจในคำตัดสินอาจมีการปลุกระดมให้เกิดความขัดแย้งจากผลคำวินิจฉัย หรือในกรณีที่คำวินิจฉัยไม่สามารถให้คำตอบว่า จะเดินหน้าประเทศได้อย่างไร ก็นำไปสู่ความขัดแย้งเช่นเดียวกัน ดังนั้นจากปัญหาที่อาจเกิดการปะทะมวลชน คดีความ หรือที่เสนอโดยคณะบุคคล ล้วนมีความเสี่ยง และอาจไม่สามารถให้คำตอบกับประเทศไทยได้
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าข้อเสนอของตน ต้องการหยุดยั้งไม่ให้เกิดความเสียหาย ดังนี้
1. ไม่ต้องการเห็นความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตเลือดเนื้อประชาชนอีกต่อไป
2. ไม่ต้องการเห็นการสูญเสียประชาธิปไตย หรือการเดินออกนอกรัฐธรรมนูญ เพราะไม่สามารถสะสางปัญหาได้จริง แต่จะเป็นการผูกปมขัดแย้งในอนาคต
3. ไม่ต้องการให้มีการดึงสถาบันที่อยู่นอกเหนือความขัดแย้งทางการเมืองทั้งศาล และสถาบันสูงสุด มาสู่ความขัดแย้ง
ทั้งนี้ ข้อเสนอของตน จะประกอบด้วย
1 . ตอบโจทย์ประเทศให้มีการปฏิรูปตามขั้นตอนรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย ประชาชนมั่นใจว่านักการเมืองจะคัดค้านไม่ได้ ต้องมีหลักประกันคุ้มครองว่า คนสูญเสียประโยชน์ไม่สามารถคัดค้านได้
2. การปฏิรูปอาจไม่สามารถจบก่อนการเลือกตั้ง จึงมีข้อเสนอช่วงเปลี่ยนผ่านก่อนการเลือกตั้งทั้งรัฐบาล และสภา
3. มีการเลือกตั้งโดยเร็ว เมื่อมีการเลือกตั้งที่เสรี สุจริต เที่ยงธรรม ประชาชนและพรรคการเมืองทุกฝ่ายยอมรับ ประสบความสำเร็จในการมีสภา และรัฐบาล
4. ข้อเสนอของตนไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัว ส่วนกลุ่มของใครทั้งสิ้น คดีความต้องดำเนินการตามกฎหมายเท่านั้น
"ข้อเสนอมีหลักการและเป้าหมายชัดเจน แต่จะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อทุกฝ่ายยอมรับข้อเสนอนี้ ผมพูดตั้งแต่วันแรกว่า ข้อเสนอในลักษณะนี้เป็นไปไม่ได้เลยที่จะถูกใจฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใด แต่มั่นใจว่าเป็นข้อเสนอที่ยึดประโยชน์ส่วนรวม มีเหตุผล หลักการรองรับ ที่ทำให้คนที่จะปฏิเสธต้องให้เหตุผลที่ดีกับสังคมว่าทำไมไม่ยอมรับข้อเสนอดังกล่าว และเมื่อข้อเสนอไม่ถูกใจทุกคน ผมจึงต้องขอให้ทุกฝ่ายพิจารณาข้อเสนอของผมโดยยึดเอาประโยชน์สูงสุดของส่วนรวมเป็นหลัก ขณะเดียวกัน ผมก็ต้องตอบคำถามกับประชาชน และสังคม เพราะผมไม่เป็นกลาง ไม่ใช่คนกลาง และยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา จึงต้องตอบว่า ในแผนของผมนั้น ผมอยู่ตรงไหน ได้ประโยชน์หรือไม่ ดังนั้น เพื่อพิสูจน์ความจริงใจว่า ผมไม่ได้ทำเรื่องนี้เพื่อประโยชน์ส่วนตน หากทุกฝ่ายยอมรับข้อเสนอ ผมจะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ซึ่งจะเป็นเครื่องยืนยันว่า ผมจะไม่มีสถานะทางการเมืองที่จะได้ประโยชน์ แต่เป็นประชาชน ที่จะสนับสนุนให้การปฏิรูปประสบความสำเร็จ ผมขอขอบคุณหลายฝ่ายที่สนใจให้โอกาสผมช่วยหาทางออกให้ประเทศ จึงขอโอกาสให้กับประเทศ ด้วยการวางทางเลือกให้ทุกฝ่ายพิจารณา และให้สังคมมั่นใจว่า ผมไม่มีประโยชน์ที่จะได้จากแผนนี้ นอกจากหวังว่าประเทศจะมีทางออก และเกิดการปฏิรูปได้เท่านั้น" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
** "มาร์ค"เว้นวรรคแต่ยังนั่งหน.ปชป.
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การที่นายอภิสิทธิ์ ประกาศจะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง หากทุกฝ่ายรับข้อเสอนแนวทางออกประเทศไทยนั้น ถือเป็นการแสดงความตั้งใจที่มีเจตนาบริสุทธิ์ให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างเรียบร้อย และมีหลักประกันในการปฏิรูปประเทศ จึงเอาตำแหน่งเป็นเดิมพัน ซึ่งการที่นายอภิสิทธิ์ ไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยไม่รับตำแหน่งใดๆ นั้น ไม่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนายอภิสิทธิ์ ก็ไม่ได้ลาออกจากตำหน่งนี้ แต่เป็นตำแหน่งอื่น เช่น หากพรรคประชาธิปัตย์ชนะเลือกตั้ง นายอภิสิทธิ์ ก็ไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะไม่ได้เป็นส.ส. หรือหากแพ้เลือกตั้งก็ไม่ได้เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ ทั้งนี้เรื่องดังกล่าว ไม่ใช่การทิ้งไพ่ใบสุดท้าย แต่เป็นการเสียสละ และถอยให้ประเทศเดินหน้าไปได้
**ถ้า"มาร์ค"จริงใจก็อย่ามาตั้งเงื่อนไข
ด้านน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณี นายอภิสิทธิ์ ขอโอกาสทำงานหาทางออกให้กับประเทศ ถ้าทุกฝ่ายยอมรับได้ ก็จะไม่ขอลงเลือกตั้งเพื่อแสดงความจริงใจ ว่า นายอภิสิทธิ์ และพรรคประชาธิปัตย์ อย่าตั้งเงื่อนไขเลย เพราะทุกคนตั้งตารอว่าให้ทุกอย่างผ่านไปด้วยดี และตนพร้อมที่จะรับฟังข้อเสนอของนายอภิสิทธิ์ ในอีก 2 วันข้างหน้า แต่เราไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะมาตั้งเงื่อนไข หรือตั้งแง่ใส่กัน แต่อะไรที่เป็นข้อเสนอ และเป็นไปได้ สามารถปฏิบัติได้ และภาพรวมของคนส่วนใหญ่เห็นด้วย ก็พร้อมที่จะทำตาม และหวังว่าการตัดสินใจในอีก 2 วันข้างหน้า เราจะไม่ใช้เงื่อนไขซึ่งกันและกัน แต่จะพยายามหาจุดร่วม เหมือนที่นายอภสิทธิ์พูดในครั้งแรกว่า เราจะร่วมกันแสวงหาจุดร่วมและพยายามใช้จุดร่วมเป็นจุดยืดเหนี่ยว และเดินทางไปด้วยกัน
เมื่อถามว่า นายอภิสิทธิ์ ควรคุยกับนายกฯ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. เพื่อยุติปัญหาหรือไม่ นายกฯ ตอบว่า รัฐบาลเปิดกว้าง และไม่ใช่ว่าจะไม่จริงใจที่จะรับฟัง เพราะว่าบางอย่างมีการกำหนดเงื่อนไขของเวลาที่จะต้องทำงานต่อไป ในขณะเดียวกัน เปิดกว้างที่จะรับฟังข้อเสนอ ข้อแนะนำของฝ่ายค้านอยู่แล้ว แต่ก็ต้องขอความเห็นใจว่า การทำงานต้องแยกส่วนกัน แต่เชื่อว่าสุดท้ายแล้วต้องให้คนไทยทุกคนร่วมตัดสินใจ เพราะเป็นอนาคตของคนไทยทุกคน
ส่วนที่นายสุเทพ ประกาศยืนยันไม่รับเงื่อนไข ไม่มีเจรจา จะทำให้เกิดปัญหาจนไม่สามารถแก้ไขได้หรือไม่นั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า หวังว่าข้อเสนอของนายอภิสิทธิ์ จะเป็นข้อเสนอที่นายสุเทพ พอที่จะรับได้บ้าง หวังว่านายสุเทพ และประชาชนในฐานะที่เป็นคนไทยเหมือนกัน น่าจะพูดคุยกัน เราเป็นอย่างนี้มา 5-6 เดือนแล้ว ไม่มีอะไรที่ทำให้ประเทศดีขึ้นเลย คิดว่าอะไรที่เป็นจุดร่วม ทำให้ประเทศเดินได้ ค่อยๆ ปรับจุดร่วมหากัน ลดทิฐิ และใช้หลักของความจริง ในการพูดคุยกัน
** "ปู"สบายใจได้วันเลือกตั้งเสียที
เมื่อถามว่า การหารือกับกกต. ที่ได้กำหนดวันเลือกตั้ง 20 ก.ค. ถือว่าเบาใจขึ้นหรือไม่ นายกฯ ตอบว่า เป็นความสบายใจของทุกคน ถ้าเราได้เริ่มว่า เราอยากจะเห็นการเลือกตั้ง แต่ไม่ใช่ว่าอยากเห็นการเลือกตั้ง หรือให้การเลือกตั้งเดินไปโดยไม่ฟังเสียงประชาชน จึงต้องพยายามทำทุกอย่าง เพราะว่างเว้นการมีรัฐบาลมาถึง 6 เดือนแล้ว ต้องทำทุกอย่างกลับสู่ระบบ โดยทำให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ซึ่งในการประชุม ได้มีการรับฟัง และพยายามนำปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในการเลือกตั้งส .ส.วันที่ 2 ก.พ. มาปรับ เพื่อให้การเลือกตั้งมีความยืดหยุ่นขึ้น และเราเองก็สนับสนุน กกต. หากจะมีการปรับกฏระเบียบ ข้อแก้ไขต่างๆ เพื่อให้การเลือกตั้งมีความโปร่งใส และเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี จะได้สร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศไทย
**เมิน"มาร์ค"เว้นวรรคไม่ใช่ประเด็น
นายภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณี นายอภิสิทธิ์ ประกาศจะไม่ลงเลือกตั้ง หากข้อเสนอทางออกประเทศได้รับการตอบสนอง ว่า นายอภิสิทธิ์ จะลงเลือกตั้งหรือไม่ ไม่ใช่ปัญหาจะเอานายอภิสิทธิ์ มาเป็นข้อต่อรองการเลือกตั้งไม่ได้ อยู่ที่ข้อเสนอของนายอภิสิทธิ์ ว่าจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติหรือไม่ ถ้าสิ่งที่เสนอเป็นประโยชน์ และเป็นทางออกของประเทศจริง นายอภิสิทธิ์ จะลงเลือกตั้งหรือไม่ลง ก็ไม่ใช่ปัญหา
นายภูมิธรรม กล่าวด้วยว่า ความจริงนายอภิสิทธิ์ ไม่จำเป็นต้องคุยแล้ว เพราะพรรคต่างๆ มีจุดยืนชัดเจนหมดแล้ว พวกเราส่วนใหญ่เห็นว่า การเลือกตั้งและการปฏิรูปไม่มีความขัดแย้งกัน สามารถเดินหน้าไปด้วยกันได้
"นายอภิสิทธิ์ ต้องให้ความสำคัญกับเนื้อหาว่า ทุกฝ่ายยอมรับกันได้หรือไม่ เมื่อถึงตรงนั้นทุกฝ่ายก็จะมาคุยกัน ไม่ต้องเอาตัวนายอภิสิทธิ์มาเป็นข้อต่อรอง หรือมาเป็นเงื่อนไข เพราะตัวนายอภิสิทธิ์ ไม่ได้เป็นปัญหากับการเลือกตั้งอยู่แล้ว สถานการณ์วันนี้คนส่วนใหญ่อยากให้สงบ ไม่อยากให้ยืดเยื้อรุนแรง เชื่อว่าผู้นำของทุกฝ่ายย่อมรู้ดีว่า คนส่วนใหญ่ของประเทศต้องการอะไร อยากให้เอาความรู้สึกของคนส่วนใหญ่ไปคิด แล้วช่วยกันหาทางออก" นายภูมิธรรม กล่าว
**กกต.ดึง ร่าง พ.ร.ฎ.เลือกตั้ง 8 พ.ค.
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึงการหารือกับรัฐบาล เพื่อกำหนดวันเลือกตั้งว่า การหารือเป็นไปได้ด้วยดี รัฐบาลได้เสนอแนวทางที่สามารถจัดเลือกตั้งให้เรียบร้อย บางข้อเสนอทำได้ แต่บางข้อเสนอก็ไม่สามารถทำได้ อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญในที่ประชุมคือ เงื่อนไข 5 ข้อ ที่กกต.ต้องให้รัฐบาลเห็นชอบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ กกต.สามารถเลื่อนการเลือกตั้งได้ หากเห็นว่าสถานการณ์ยังไม่เรียบร้อย หรือการยอมรับสภาพว่า แม้การเลือกตั้งสำเร็จ แต่อาจไม่สามารถเปิดประชุมสภาได้ใน 30 วัน ซึ่งรัฐบาลก็รับปากว่า จะดำเนินการตามให้ได้มากที่สุด แต่ทาง กกต.เองก็ขอให้ที่ประชุมทำบันทึกการประชุมในครั้งนี้ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นหลักฐานที่แสดงว่ารัฐบาลรับทราบข้อเสนอของกกต.แล้ว
ส่วนเรื่องสถานการณ์ความขัดแย้งของบ้านเมือง รัฐบาลก็ระบุว่า จะเร่งแก้ไขปัญหา แต่ยังไม่ได้มีการเสนออะไรที่เป็นรูปธรรม เพียงแต่ขอให้กกต.เดินหน้าจัดการเลือกตั้งไป
ทั้งนี้ กกต.จะไปยกร่าง พ.ร.ฎ.แก้ไขเพิ่มเติมวันเลือกตั้งใหม่ โดยจะต้องทำงานร่วมกับคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งคาดว่าจะเข้าที่ประชุม กกต.ได้ในวันที่ 6 พ.ค.นี้ ก่อนส่งให้ ครม.หรือหากต้องมีการปรับแก้ถ้อยคำใน พ.ร.ฎ.ดังกล่าว ทางรัฐบาลก็ระบุว่า สามารถดำเนินการได้ ถึงวันที่ 7 หรือ 8 พ.ค. ก็ไม่มีปัญหา
** รับสมัครปาร์ตี้ลิสต์ 25-29 พ.ค.
นายสมชัย ยังกล่าวถึงขั้นตอนการดำเนินการเตรียมการจัดการเลือกตั้ง หากร่าง พ.ร.ฎ. แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ มีผลบังคับใช้ และกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 20 ก.ค. โดยกกต. จะเปิดรับสมัครส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งจะมีการจับสลากหมายเลขประจำในวันที่ 25-29 พ.ค. จากนั้นในวันที่ 30 พ.ค.- 4 มิ.ย จะเปิดรับสมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยทั้ง 2 ขั้นตอนอาจมีการขยับขยายวันได้ หากมีปัญหาการรับสมัครเกิดขึ้น
จากนั้นก่อนวันที่ 19 มิ.ย. กกต.จะเปิดโอกาสให้คนไทยในต่างประเทศ และในประเทศที่ต้องการจะใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขต แจ้งความจำนง หรือแจ้งเปลี่ยนแปลงสถานที่ลงคะแนน ส่วนคนไทยในประเทศที่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตเลือกตั้ง ให้แจ้งความจำนงระหว่าง วันที่ 30 มิ.ย. - 4 ก.ค. 57 และในวันที่ 28 มิ.ย. - 11 ก.ค. จะเป็นวันลงคะแนนเลือกตั้งนอกอาณาจักร วันที่ 6 ก.ค. จะเป็นวันลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าในประเทศ และวันที่ 20 ก.ค. จะเป็นวันเลือกตั้งทั่วไป
** เย้ย"เทือก"นัดชุมนุมใหญ่ไร้สาระ
ร.ต.อ.เฉลิม อยุ่บำรุง รมว.แรงงาน ในฐานะ ผอ.ศอ.รส. กล่าวถึงกรณีที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ประกาศเคลื่อนไหวใหญ่ในวันที่ 5 พ.ค. วันที่ 14 และ15 พ.ค.ว่า ตนฟังอย่างตั้งใจ ไม่มีอะไรใหม่ หากนำเรื่องเก่าๆ มาสรุปคนเรียนกฎหมายจะรู้ว่า ไร้สาระ ไม่มีประเด็น การสรุปของนายสุเทพ กำลังสร้างศัตรูทั้งในประเทศ และนอกประเทศ โดยในประเทศนายสุเทพ เป็นศัตรูระบอบประชาธิปไตย ขณะที่กกต. จะเสนอ ร่าง พ.ร.ฎ. เลือกตั้งต่อรัฐบาล ในวันที่ 6 พ.ค. และรัฐบาลมีแนวคิดแนวทางเหมือนกับกกต. คือ จะจัดการเลือกตั้งใน วันที่ 20 ก.ค. แสดงว่า ทุกโหมดรวมสู่ระบอบประชาธิปไตยด้วยการเลือกตั้ง โดยกลุ่มประเทศอาเซียนรอฟังอยู่
"ผมไม่ให้น้ำหนัก และไม่เห็นความสำเร็จต่อสิ่งที่ นายสุเทพ จะทำ ขอให้เลิกซะเถอะ ผมขอเตือนด้วยความหวังดี และห่วงใย ไม่ได้ขู่ เพราะผมกับนายสุเทพ โดยส่วนตัวไม่มีอะไรกัน การที่มาประกาศตัวกลางแจ้ง ต่อต้านระบอบประชาธิปไตย สุดท้ายภัยจะถึงตัว โดยที่นายสุเทพไม่รู้ตัว และเจ้าหน้าที่จะช่วยดูแลไม่ได้ วันนี้นายสุเทพ ไม่มีมงคลในตัว จะทำงานใหญ่ต้องมีมงคลในตัว ถึงจะสำเร็จ" ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว
** "เหลิม"ขออำนาจคุมเลือกตั้งเอง
ผู้สื่อข่าวถามว่า คิดว่าการเลือกตั้ง วันที่ 20 ก.ค. จะสามารถดำเนินการได้สำเร็จหรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า หากกอง ทัพ ให้การสนับสนุน การเลือกตั้งจะสำเร็จด้วยดี เพราะขณะนี้คนที่ขัดขวางการเลือกตั้ง ทาง ดีเอสไอ ได้ดำเนินคดีหมดแล้ว จะส่งอัยการประมาณวันที่ 10 พ.ค.นี้ บางคนโดนข้อหากบฏ จะไม่มีการลดราวาศอก นายสุเทพ ไม่มีอิทธิพลเหนือการทำคดีความ
"ผมในฐานะ ผอ.รส. ห่วงการจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ หากไม่สำเร็จ จะเกิดปัญหา เกิดขัดข้อง ศาลรัฐธรรมนูญจะมาวินิจฉัยแบบครั้งที่แล้วอีก แต่หากรัฐบาลใช้ผมอย่างเป็นทางการ ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลการเลือกตั้ง จะทำให้ผมมีอำนาจหน้าที่เต็มรูปแบบ จะสรุปข้อบกพร่องที่ผ่านมา และเตรียมวางแผนการดูแลอย่างเต็มที่" ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว
ขณะที่ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ ในฐานะ ประธานที่ปรึกษา ศอ.รส. กล่าวถึงกรณีนายสุเทพ ประกาศวันเผด็จศึกเป็น 3 ขั้นตอนว่า สิ่งที่นายสุเทพ ทำตนยังหวังว่าจะไม่ก่อให้เกิดความวุ่นวาย อยากให้ชุมนุมประท้วงโดยยึดมั่นรัฐธรรมนูญ สงบ สันติ ปราศจากอาวุธ และขอขอบคุณนายสุเทพ ที่จะทำพิธีไล่เสนียดจัญไรออกนอกประเทศ หวังว่าจะประสบความสำเร็จในการไล่เสนียดจัญไร ที่ทำให้บ้านเมืองวุ่นวายมา 6 เดือน ขออนุโมทนาด้วย
** ศอ.รส.ตั้งคณะทำงานดูแลเลือกตั้ง
นายสุรพงษ์ กล่าวด้วยว่า ในการประชุมศอ.รส. (1 พ.ค.) จะมีการหารือเพื่อให้ตั้งคณะทำงานขึ้นมา เพื่อดูแลการเลือกตั้งในวันที่ 20 ก.ค. ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยจะดูว่า จะต้องมีการเตรียมการอย่างไรบ้าง ในกรณีที่มีการขัดขวางการเลือกตั้งเพื่อที่จะจับกุมได้ทันที จะไม่ปล่อยให้เหตุการณ์เกิดขึ้น แล้วค่อยมาจับกุม ต้องจับต่อหน้า และซึ่งหน้าเลย ซึ่งคิดว่าคงไม่ทำให้เกิดการเผชิญหน้า เหมือนกรณีที่มีการฉีกบัตรเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้ง ทางตำรวจสามารถดำเนินการจับกุมได้ ฉะนั้น คราวที่แล้วเราปล่อยพอสมควร คราวนี้ต้องเตรียมกำลังทั้งตำรวจ และทหารในฐานะเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ เข้าดำเนินการจับกุม
อย่างไรก็ตาม พื้นที่ในกทม. ไม่น่าเป็นห่วงเท่าไร แต่ใน 28 เขตเลือกตั้งทางภาคใต้น่าเป็นห่วง จึงต้องมีการวางแผนให้รัดกุม เพราะอยู่นอกเขต พ.ร.บ.ความมั่นคง จึงจะนำเสนอแนวคิดการตั้งคณะทำงานดังกล่าวให้ กอ.รมน. พิจารณา เพื่อวางโครงสร้างป้องกันปัญหาการขัดขวางการเลือกตั้ง ในต่างจังหวัด
สำหรับคณะทำงานดังกล่าว จะต้องเป็นข้าราชการประจำ ไม่อยากให้การเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยจะมีตัวแทนจากกระทรวงมหาดไทย ทหาร และตำรวจ อยู่ในโครงสร้าง
ประธานที่ปรึกษา ศอ.รส. กล่าวด้วยว่า แม้พรรคประชาธิปัตย์ จะไม่ค่อยพอใจนัก ต่อการที่กกต. เสนอให้รัฐบาลจัดการเลือกตั้ง วันที่ 20 ก.ค. แต่ควรรีบสรุปอะไรที่เป็นประโยชน์กับบ้านเมืองให้ทัน ตนคิดว่าถ้านายอภิสิทธิ์ ออกมาเรียกร้องหาทางออกประเทศ พรรคประชาธิปัตย์ ควรจะเลือกตั้ง แล้วจะปฏิรูปอย่างไร สามารถพูดคุยกันได้ ทุกคนพร้อมจะทำสัตยาบันว่า หลังเลือกตั้งเสร็จ จะรีบปฏิรูป
** ห่วงมือที่สามป่วนช่วงมีม็อบ
พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงการทำหน้าที่รักษาความความสงบเรียบร้อยของกองทัพ ภายหลังจากที่มีการขยายการประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคงออกไป ว่า การกำหนดภารกิจที่ชัดเจนของกำลังทหาร และตำรวจ เป็นการมอบภารกิจโดยตรง จากศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ซึ่งจะมีการพูดถึงข่าว และความเคลื่อนไหว เพื่อนำมากำหนดเป็นภารกิจ ซึ่งจะได้มาเป็นจำนวนกำลังที่เราต้องการในการปฏิบัติภารกิจ โดยทุกอย่างมีขั้นตอน และหลักในการคิดว่า จะต้องสนธิกำลังทหารและตำรวจ จำนวนเท่าไร
ส่วนกรณีที่กลุ่ม นปช. และ กปปส. ต่างมีการนัดชุมนุมใหญ่นั้น จากที่ได้ฟังจากแกนนำของกลุ่มต่างๆ ทราบว่า ไม่มีความประสงค์จะให้เกิดความรุนแรง หรือการเผชิญหน้ากัน ถือเป็นเรื่องที่ดี คิดว่าไม่น่ามีความรุนแรงใดๆ ส่วนกำลังในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย ทางศอ.รส. จะเป็นคนประเมินว่า ควรจะใช้เจ้าหน้าที่จำนวนเท่าไร ส่วนความเป็นห่วงเรื่องการใช้อาวุธสงครามนั้น ที่ผ่านมาจุดตรวจของทหาร และตำรวจ มีการตรวจจับอาวุธได้อยู่ตลอด ซึ่งคงจะต้องกวดขันเจ้าหน้าที่ในเรื่องเหล่านี้ต่อไป
"สิ่งที่น่ากังวลที่สุดคือ มือที่สาม ทราบว่าพี่น้องทั้งสองกลุ่มไม่ประสงค์ที่จะให้เกิดความรุนแรงใดๆ ตามที่แกนนำได้ประกาศ แต่มือที่สามซึ่งเป็นใครก็ไม่รู้ ที่จะสร้างสถานการณ์ขึ้น เพื่อให้พี่น้องทั้งสองกลุ่ม เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อกัน เสี้ยม ยุยง ปลุกปั่น และสร้างสถานกาณ์ เพื่อให้พี่น้องจำนวนมาก เกิดความไม่พอใจซึ่งกันและกัน ซึ่งคงมีปะปนอยู่ ถือเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ต้องแก้ไข ซึ่งตลอดระยะเวลา 5-6 เดือนที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่เข้าใจการทำงานเป็นอย่างดี และไม่เคยปรากาฏว่า มีพี่น้องประชาชนทั้งสองกลุ่มมาเผชิญหน้ากัน แต่สิ่งที่กระจัดกระจายแตกตัวเป็นรายบุคคล ถือเป็นสิ่งยากที่จะป้องกันกว่า ทั้งนี้ทางทหารไม่มีความประสงค์ที่จะใช้อาวุธ ต่อภารกิจต่างๆ" ปลัดกระทรวงกลาโหม กล่าว
**หวังเลือกตั้งแก้ปมขัดแย้ง
เมื่อถามถึงกรณี นายอภิสิทธิ์ เดินสายไปพูดคุยกับกลุ่มต่างๆ เพื่อหาทางออกให้กับประเทศ พล.อ.นิพัทธ์ กล่าวว่า ตนไม่ทราบ เพราะไม่ได้ติดตามเรื่องนี้ แต่สิ่งที่ตนรู้สึกสบายใจ คือ เรื่องที่รัฐบาล หารือกับกกต. แล้วมีการกำหนดการเลือกตั้ง ในวันที่ 20 ก.ค.นี้ คิดว่า ประชาชน และภาคเอกชน คงเห็นแสงสว่างเกิดขึ้นท่ามกลางความมืด หลังจากวันที่ 2 ก.พ. ที่ผ่านมา มีปัญหาเรื่องการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ จนในที่สุดนายกฯ พูดคุยกับ กกต.และได้คำตอบว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ ในวันที่ 20 ก.ค. ตนคิดว่า การเลือกตั้งถือเป็นเป้าประสงค์ที่ประชาชนทุกคนคงจะมองเห็นว่า สังคมไทยจะต้องไปที่จุดนั้นกัน ส่วนเรื่องอื่นๆ ก็จะต้องช่วยกันคิดและแก้ไขปัญหาไป
พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง ผบ.ทอ. กล่าวว่า หลังจาก นายอภิสิทธิ์ เข้าหารือกับ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผบ.สส. เพื่อหาทางออกให้กับประเทศ เมื่อวันที่ 28 เม.ย.ที่ผ่านมา แต่ขณะนี้ทาง ผบ.สส. ยังไม่ได้สื่อสารอะไรมายัง ผบ.เหล่าทัพ ในส่วนของกองทัพอากาศ ก็ไม่ได้รับการติดต่อจาก นายอภิสิทธิ์ และคิดว่านายอภิสิทธิ์ หารือกับ ผบ.สส. ก็เพียงพอแล้ว และทางผบ.เหล่าทัพ จะปรึกษากับ ผบ.สส. ถ้า ผบ.สส.มีการเรียกเชิญ
ทั้งนี้ ใครก็ตามที่พยายามทำให้เกิดความเรียบร้อยในบ้านเมือง ก็เป็นเรื่องดี ถ้าทำแล้วผลออกมาดี ก็น่าสนับสนุน
ส่วนการเลือกตั้งวันที่ 20ก.ค.นั้น ทางกองทัพอากาศ ได้เตรียมความพร้อมให้การสนับสนุนเรื่องนี้ไว้แล้ว เมื่อถามว่าคิดว่าพรรคประชาธิปัตย์ จะลงเลือกตั้งหรือไม่ พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า การเป็นนักการเมือง เรื่องการเลือกตั้งเป็นส่วนสำคัญ ถ้าทุกคนเข้าสู่ระบบการเลือกตั้ง และทำตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ก็น่าจะเป็นไปในแนวทางที่ดี
**ผบ.ตร.สั่งเข้มดูแลการชุมนุม
พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เปิดเผยว่า พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.)ได้สั่งการให้ทุกหน่วยจัดเตรียมกำลัง เพื่อสนับสนุนการทำงานของ ศอ.รส. หลังมีการขยายเวลาประกาศใช้พ.ร.บ.ความมั่นคง โดยผู้บัญชาการกองกำลังยังคงเป็น พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เช่นเดิม
นอกจากนี้ ฝ่ายข่าวรายงานว่าในสัปดาห์หน้า จะมีการชุมนุมของกลุ่มต่างๆ อาทิ กลุ่ม กปปส. และ กลุ่ม นปช. ที่จะนัดชุมนุมใหญ่วันที่ 5 พ.ค.เหมือนกัน รวมถึงการเคลื่อนขบวนใหญ่ของกลุ่มกปปส. ในวันที่ 14 พ.ค. จึงให้ฝ่ายสืบสวน ติดตามด้านการข่าวอย่างใกล้ชิด พร้อมจัดกำลังให้พร้อมสนับสนุนการปฏิบัติของ ศอ.รส. เน้นลดการเผชิญหน้ามวลชนทั้ง 2 กลุ่ม ที่มีความเห็นต่าง ลดความรุนแรง ลดความสูญเสีย รวมทั้งเน้นความชอบธรรม ในการปฏิบัติให้มากที่สุด
พร้อมกันนี้ ยังสั่งเตรียมพร้อมสนับสนุนภารกิจ ของกกต. หากจะมีการจัดเลือกตั้งขึ้นใหม่ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เคยมีปัญหา ทั้งการรับสมัครและการลงคะแนนเลือกตั้ง
**เย้ย"เทือก"นัดเผด็จศึกจนเฝือ
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า กรณีนายสุเทพ นัดชุมนุมใหญ่วันที่ 5 พ.ค. โดยประกาศที่จะเผด็จศึกรัฐบาลนั้น เมื่อติดตามข้อมูลการนัดชุมนุมครั้งสุดท้าย พบว่านายสุเทพ ประกาศมาแล้ว 11 ครั้ง เป็นการแสดงจุดยืนที่จะล้มอำนาจของประชาชน ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ประกาศแบบลุแก่อำนาจ และเตรียมจะยึดอำนาจ เป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์ เท่ากับนายสุเทพ กำลังจะเป็นกบฏ ประชาชนส่วนใหญ่คงไม่ยอมให้นายสุเทพ ดำเนินการเช่นนั้น และขอให้ฝ่ายความมั่นคงช่วยติดตามดูแลด้วย
"ข้อเสนอที่จะนำรายชื่อคณะรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรี ขึ้นทูลเกล้าฯ ของนายสุเทพ ถือเป็นการไม่บังควร เป็นการดึงเอาสถาบันฯ มายุ่งเกี่ยวกับการเมือง ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ประกาศจะเสนอทางออกของประเทศ กับนายสุเทพประกาศมาแบบนี้ ดูเหมือนจะสอดคล้องกัน ไปรู้ธงอะไรมาหรือเปล่า " นายพร้อมพงศ์ กล่าว
**ชี้เลือกตั้ง 20 ก.ค.เผชิญหน้ารอบใหม่
นายพูลเดช กรรณิการ์ หัวหน้าพรรคเพื่ออนาคต พร้อมด้วย นายสยามสิน วลิตวรางค์กูร เลขาธิการพรรค เข้ายื่นหนังสือต่อ กกต.ผ่าน นายอำนวย น้อยโสภา รองผอ.สำนักเลขานุการคณะกรรมการการเลือกตั้ง แสดงความไม่เห็นด้วยกับผลการหารือร่วมกันระหว่าง กกต. กับรัฐบาล ที่มีการกำหนดให้มีการจัดการเลือกตั้งในวันที่ 20 ก.ค. โดยนายพูลเดช กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 22 เม.ย. พรรคเพื่ออนาคต ก็ได้ยื่นหนังสือแสดงจุดยืนของพรรค ต่อประธานกกต.แล้วว่า การเลือกตั้งไม่ควรเกิดขึ้นก่อนมีการหารือปฏิรูปประเทศ และการปฏิรูปการเลือกตั้ง แต่รัฐบาล กับกกต. กลับมีการตกลงกันเมื่อวันที่ 30 เม.ย. ที่ผ่านมา เห็นควรให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 20 ก.ค. ทำให้เห็นว่า ข้อสรุปดังกล่าว จะเป็นหัวเชื้อของไฟความขัดแย้งทางการเมืองครั้งใหม่ อุณหภูมิความขัดแย้งทางการเมืองมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น จะมีการปะทะกันระหว่างมวลชน มีที่คัดค้านการเลือกตั้ง กับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดูแลการเลือกตั้ง เกิดการเผชิญหน้าระหว่างมวลชนสองฝ่าย คือฝ่ายที่สนับสนุนการเลือกตั้ง และฝ่ายที่คัดคด้านการเลือกตั้ง
นอกจากนี้ การที่ทั้ง กกต.และรัฐบาล ต่างรู้ดีถึงต้นเหตุของปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการเลือกตั้งว่า คือความขัดแย้งในประเด็นปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง หรือเลือกตั้งก่อนปฏิรูป แต่ก็กลับไปแก้ปัญหาที่ปลายน้ำ ด้วยการเตรียมมาตรการรับมือกับการต่อต้านขัดขวางการเลือกตั้ง ซึ่งอาจทำให้การเลือกตั้งครั้งใหม่ซ้ำรอยเดิม รวมทั้งยังเห็นว่า เมื่อ กกต.และรัฐบาลได้ข้อสรุปจากการหารือร่วมกันแล้วมากำหนดวันเลือกตั้งทันที เท่ากับไม่รับฟังความเห็นต่างของฝ่ายอื่นๆ รวมทั้งข้อเสนอของหลายฝ่ายที่กำลังพยายามช่วยกันหาทางออกในกับประเทศ