วานนี้ (23เม.ย.) เวลา 10.00 น. ที่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เมืองทองธานี นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา นายสุวิจักษณ์ นาควัชระชัย เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย เลขาธิการวุฒิสภา หารือร่วมกัน เพื่อข้อยุติในการเปิดประชุมวุฒิสภา สมัยวิสามัญ หลังเกิดข้อขัดแย้งในเรื่องของอำนาจ หน้าที่ โดยใช้เวลาหารือประมาณ 1 ชั่วโมง โดยนายสุวิจักษณ์ นาควัชระชัย เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ตอนนี้ยังเป็นเรื่องเลขาธิการวุฒิสภาว่า จะดำเนินการอย่างไร ในการทำเรื่องขอพระบรมราชวินิจฉัยประกาศ พ.ร.ฎ.การประชุมวุฒิสภา สมัยวิสามัญ ว่าใครจะเป็นเจ้าของเรื่อง ซึ่งตนก็ได้ให้ความเห็นไปว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องของสภา คนที่จะขอเปิดประชุมสภาได้ก็คือ ประธานรัฐสภา ซึ่งเขาก็ยังยืนยันว่า เป็นอำนาจของประธานรัฐสภา แต่เมื่อ ประธานรัฐสภาไม่มี ประธานวุฒิสภาก็ปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้
นายสุวิจักขณ์ ยังกล่าวถึงปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการถอดถอน นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภาว่า ขณะนี้ยังไม่ได้มีการหารือกับนางนรรัตน์ พิเสน เลขาธิการวุฒิสภา ถึงปัญหาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ได้ทำความเห็นไปยังสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี โดยระบุว่า การเปิดประชุมรัฐสภา เพื่อดำเนินการถอดถอนในขณะนี้ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากยังไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา รัฐธรรมนูญ มาตรา 273 บัญญัติ ว่า ในกรณีการถอด ถอนบุคคลนอกสมัยประชุมสภา จะเป็นหน้าที่ของประธานวุฒิสภา ที่ต้องทำเรื่องถึงประธานรัฐสภา เพื่อดำเนินการตราพระราชกฤษฎีกาเปิดสมัยประชุมวิสามัญ แต่เนื่องจากปัจจุบันไม่มีสภาผู้แทนราษฎร จึงทำให้ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา ประกอบกับ ประธานวุฒิสภา ในฐานะรองประธานรัฐสภา กำลังอยู่ในระหว่างยุติการปฏิบัติหน้าที่ ทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่แทนประธานรัฐสภาได้ ซึ่งตำแหน่งรองประธานวุฒิสภา ก็ไม่สามารถทำหน้าที่ประธานวุฒิสภาเพื่อปฏิบัติหน้าที่ รองประธานรัฐสภาได้ เช่นกัน
ดังนั้น กรณีนี้การถอดถอนจึงไม่สามารถดำเนินการได้ จนกว่าจะมีผู้ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา หรือรองประธานรัฐสภา
เมื่อถามว่า สำหรับกรณีการแต่งตั้งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) คนใหม่ และ ผู้ทรงคุณวุฒิในศาลปกครองจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ นายสุวิจักขณ์ กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่า เรื่องดังกล่าวอาจมีปัญหาในข้อกฎหมาย เพราะเป็นการดำเนินการที่ต้องมีการเปิดประชุมสมัยวิสามัญเช่นกัน ทั้งนี้สำหรับปัญหาในข้อกฎหมายทั้งหมด คงจะต้องมีการหารือให้ได้ข้อสรุปอีกครั้งต่อไป
ด้านนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ประธานวุฒิสภา กล่าวถึง กรณีปัญหาการเปิดประชุมวุฒิสภาสมัยวิสามัญ ที่รัฐบาลระบุให้ทางเลขาธิการวุฒิสภา ไปหารือกับ เลขาธิการสภาฯ หลังจากที่เลขาธิการสภา ทำความเห็นขัดแย้งกับสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ในประเด็นเรื่องอำนาจหน้าที่ ว่า ก็ต้องว่ากันไปตามกฎหมาย ซึ่งตนไม่เข้าใจว่า ทำไมต้องเลือกที่จะฟังเอกสารบางฉบับ แต่ไม่ฟังเอากสารบางฉบับ เมื่อบอกว่าเป็นปัญหาทางธุรการ ก็จะต้องให้ฝ่ายธุรการเป็นผู้แก้ ซึ่งเรื่องนี้ตนไม่ขอออกความเห็น แต่ในช่วงปี 49 ที่มีการขอเปิดประชุมสมัยวิสามัญ เพื่อแต่งตั้งกกต. ระหว่างที่ไม่มีสภาผู้แทนราษฎร ระบบการธุรการ เริ่มต้นด้วยเลขาธิการวุฒิสภาในสมัยนั้น ด้วยความเห็นชอบของเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สมัยนั้น คือ นายพิฑูรย์ พุ่มหิรัญ ซึ่งมีตำแหน่งเป็นเลขาธิการรัฐสภาด้วย ได้เห็นชอบตรงกันหมดว่า การเปิดประชุมวุฒิสภา ตามมาตรา 168 ของรัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งก็คือมาตรา 132 ในรัฐ ธรรมนูญปัจจุบัน ดังนั้นไม่ใช่ว่าไม่เคยเกิดขึ้น แต่ได้เกิดขึ้นมาแล้ว เมื่อปี 49 ถึง 3 ครั้ง โดย 2 สภา เห็นตรงกันหมดว่า ให้ดูจากเนื้องาน และกรอบภารกิจ ว่าเป็นไปของสภาใด งานธุรการนั้นก็จะให้เลขาธิการสภานั้นเป็นผู้ดำเนินการ
" แต่มาถึงตอนนี้ทำไมถึงบอกว่า สิ่งที่ทำในยุคนั้น ไม่ถูก ผมก็ไม่เข้าใจ ชี้แจงไม่ได้ และก็ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ต้องถามกลับไปว่า ต้องเกิดอะไรขึ้น หากดูตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 132 ที่ระบุว่า ในระหว่างที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง หรือสภาผู้แทนราษฎรนั้น ถูกยุบ จะมีการประชุมวุฒิสภามิได้ เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ 1. การแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ 2. แต่งตั้งบุคคลที่เข้ามาดำรงตำแหน่งตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด และ 3. การถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง ได้ระบุชัดเจนว่าเป็นภารกิจของใคร จะให้ผมไปอธิบายในความเห็นของคนที่ผมเห็นว่าเป็นของคนที่มีความคิดเห็นไม่ถูกต้อง ผมก็ไม่สามารถอธิบายได้ ส่วนสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) จะโยนให้เป็นประเด็นที่เลขาฯ 2 สภา ต้องไปทำความเข้าใจกัน ผมไม่เข้าใจว่าทำไมเขาถึงคิดเช่นนั้น" นายสุรชัย กล่าว
เมื่อถามว่า จะฝากประเด็นอะไรให้ทางเลขาธิการวุฒิสภา เป็นแนวทางปฏิบัติในเรื่องนี้หรือไม่ นายสุรชัย กล่าวว่า ก็ไม่ฝาก ก็ขึ้นอยู่กับทาง นางนรัตน์ พิมเสน เลขาธิการวุฒิสภา จะไปดำเนินการ ไม่ใช้หน้าที่ตน ซึ่งตนมองว่า เราเถียงกันในประเด็นข้อกฎหมายจนจบแล้ว แต่ท้ายสุดก็มาหยิบประเด็นในขั้นตอนทางธุรการมาอีก ซึ่งตนก็ไม่มีประเด็นที่จะฝากให้ฝ่ายธุรการไปปฏิบัติ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ นายสุรชัย ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนแล้ว ก็ได้เข้าไปหารือกับนางนรรัตน์ ที่ห้องทำงาน โดยใช้เวลาในการหารือประมาณ 20 นาที จากนั้นนายสุรชัย ก็ได้กลับไปยังห้องทำงาน โดยไม่ได้ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมแต่อย่างใด ขณะที่นางนรรัตน์ ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์ถึงรายละเอียดของการหารือเช่นเดียวกัน แต่ได้กล่าวย้ำว่า กรณีดังกล่าวก็ต้องยึดตามกรอบกฎมาย และรัฐธรรมนูญ
นายสุวิจักขณ์ ยังกล่าวถึงปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการถอดถอน นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภาว่า ขณะนี้ยังไม่ได้มีการหารือกับนางนรรัตน์ พิเสน เลขาธิการวุฒิสภา ถึงปัญหาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ได้ทำความเห็นไปยังสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี โดยระบุว่า การเปิดประชุมรัฐสภา เพื่อดำเนินการถอดถอนในขณะนี้ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากยังไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา รัฐธรรมนูญ มาตรา 273 บัญญัติ ว่า ในกรณีการถอด ถอนบุคคลนอกสมัยประชุมสภา จะเป็นหน้าที่ของประธานวุฒิสภา ที่ต้องทำเรื่องถึงประธานรัฐสภา เพื่อดำเนินการตราพระราชกฤษฎีกาเปิดสมัยประชุมวิสามัญ แต่เนื่องจากปัจจุบันไม่มีสภาผู้แทนราษฎร จึงทำให้ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา ประกอบกับ ประธานวุฒิสภา ในฐานะรองประธานรัฐสภา กำลังอยู่ในระหว่างยุติการปฏิบัติหน้าที่ ทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่แทนประธานรัฐสภาได้ ซึ่งตำแหน่งรองประธานวุฒิสภา ก็ไม่สามารถทำหน้าที่ประธานวุฒิสภาเพื่อปฏิบัติหน้าที่ รองประธานรัฐสภาได้ เช่นกัน
ดังนั้น กรณีนี้การถอดถอนจึงไม่สามารถดำเนินการได้ จนกว่าจะมีผู้ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา หรือรองประธานรัฐสภา
เมื่อถามว่า สำหรับกรณีการแต่งตั้งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) คนใหม่ และ ผู้ทรงคุณวุฒิในศาลปกครองจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ นายสุวิจักขณ์ กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่า เรื่องดังกล่าวอาจมีปัญหาในข้อกฎหมาย เพราะเป็นการดำเนินการที่ต้องมีการเปิดประชุมสมัยวิสามัญเช่นกัน ทั้งนี้สำหรับปัญหาในข้อกฎหมายทั้งหมด คงจะต้องมีการหารือให้ได้ข้อสรุปอีกครั้งต่อไป
ด้านนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ประธานวุฒิสภา กล่าวถึง กรณีปัญหาการเปิดประชุมวุฒิสภาสมัยวิสามัญ ที่รัฐบาลระบุให้ทางเลขาธิการวุฒิสภา ไปหารือกับ เลขาธิการสภาฯ หลังจากที่เลขาธิการสภา ทำความเห็นขัดแย้งกับสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ในประเด็นเรื่องอำนาจหน้าที่ ว่า ก็ต้องว่ากันไปตามกฎหมาย ซึ่งตนไม่เข้าใจว่า ทำไมต้องเลือกที่จะฟังเอกสารบางฉบับ แต่ไม่ฟังเอากสารบางฉบับ เมื่อบอกว่าเป็นปัญหาทางธุรการ ก็จะต้องให้ฝ่ายธุรการเป็นผู้แก้ ซึ่งเรื่องนี้ตนไม่ขอออกความเห็น แต่ในช่วงปี 49 ที่มีการขอเปิดประชุมสมัยวิสามัญ เพื่อแต่งตั้งกกต. ระหว่างที่ไม่มีสภาผู้แทนราษฎร ระบบการธุรการ เริ่มต้นด้วยเลขาธิการวุฒิสภาในสมัยนั้น ด้วยความเห็นชอบของเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สมัยนั้น คือ นายพิฑูรย์ พุ่มหิรัญ ซึ่งมีตำแหน่งเป็นเลขาธิการรัฐสภาด้วย ได้เห็นชอบตรงกันหมดว่า การเปิดประชุมวุฒิสภา ตามมาตรา 168 ของรัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งก็คือมาตรา 132 ในรัฐ ธรรมนูญปัจจุบัน ดังนั้นไม่ใช่ว่าไม่เคยเกิดขึ้น แต่ได้เกิดขึ้นมาแล้ว เมื่อปี 49 ถึง 3 ครั้ง โดย 2 สภา เห็นตรงกันหมดว่า ให้ดูจากเนื้องาน และกรอบภารกิจ ว่าเป็นไปของสภาใด งานธุรการนั้นก็จะให้เลขาธิการสภานั้นเป็นผู้ดำเนินการ
" แต่มาถึงตอนนี้ทำไมถึงบอกว่า สิ่งที่ทำในยุคนั้น ไม่ถูก ผมก็ไม่เข้าใจ ชี้แจงไม่ได้ และก็ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ต้องถามกลับไปว่า ต้องเกิดอะไรขึ้น หากดูตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 132 ที่ระบุว่า ในระหว่างที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง หรือสภาผู้แทนราษฎรนั้น ถูกยุบ จะมีการประชุมวุฒิสภามิได้ เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ 1. การแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ 2. แต่งตั้งบุคคลที่เข้ามาดำรงตำแหน่งตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด และ 3. การถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง ได้ระบุชัดเจนว่าเป็นภารกิจของใคร จะให้ผมไปอธิบายในความเห็นของคนที่ผมเห็นว่าเป็นของคนที่มีความคิดเห็นไม่ถูกต้อง ผมก็ไม่สามารถอธิบายได้ ส่วนสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) จะโยนให้เป็นประเด็นที่เลขาฯ 2 สภา ต้องไปทำความเข้าใจกัน ผมไม่เข้าใจว่าทำไมเขาถึงคิดเช่นนั้น" นายสุรชัย กล่าว
เมื่อถามว่า จะฝากประเด็นอะไรให้ทางเลขาธิการวุฒิสภา เป็นแนวทางปฏิบัติในเรื่องนี้หรือไม่ นายสุรชัย กล่าวว่า ก็ไม่ฝาก ก็ขึ้นอยู่กับทาง นางนรัตน์ พิมเสน เลขาธิการวุฒิสภา จะไปดำเนินการ ไม่ใช้หน้าที่ตน ซึ่งตนมองว่า เราเถียงกันในประเด็นข้อกฎหมายจนจบแล้ว แต่ท้ายสุดก็มาหยิบประเด็นในขั้นตอนทางธุรการมาอีก ซึ่งตนก็ไม่มีประเด็นที่จะฝากให้ฝ่ายธุรการไปปฏิบัติ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ นายสุรชัย ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนแล้ว ก็ได้เข้าไปหารือกับนางนรรัตน์ ที่ห้องทำงาน โดยใช้เวลาในการหารือประมาณ 20 นาที จากนั้นนายสุรชัย ก็ได้กลับไปยังห้องทำงาน โดยไม่ได้ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมแต่อย่างใด ขณะที่นางนรรัตน์ ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์ถึงรายละเอียดของการหารือเช่นเดียวกัน แต่ได้กล่าวย้ำว่า กรณีดังกล่าวก็ต้องยึดตามกรอบกฎมาย และรัฐธรรมนูญ