ASTVผู้จัดดการรายวัน- ปธ.กกต.มั่นใจ หลังคุยพรรคการเมือง 22 เม.ย. หาทางออกเลือกตั้งได้ เผยมวลชนเห็นต่างไม่เป็นอุปสรรค เชื่อเหตุการณ์ไม่รุนแรง ด้าน
"สมชัย"ลั่นเลือกตั้งคราวหน้าไม่ขัดรธน.แน่ มีมาตรการรับสมัครให้ครบทุกเขต ยอมรับหากเกิดเหตุขวางเลือกตั้ง เกินอำนาจกกต.จัดการ ฝ่ายการเมืองต้องเจราจากันเอง คาดอย่างเร็วสุด เลือกตั้ง 20 ก.ค. "เพื่อไทย"ส่ง"จารุพงศ์-โภคิน" หารือ ขีดเส้นจัดเลือกตั้ง15 มิ.ย. ไล่"สมชัย"ทำหน้าที่อื่น ด้านปชป. แนะกกต.หาทางเจรจากปปส.ให้ยอมรับเลือกตั้ง ก่อนดำเนินการ หวั่นโมฆะซ้ำสอง
นายศุภชัย สมเจริญ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงการหารือกับพรรคการเมือง ในวันที่ 22เม.ย.นี้ เพื่อกำหนดวันเลือกตั้งส.ส. ที่เหมาะสม ว่า ได้ทราบมาว่า พรรคเพื่อไทยมีข้อเสนอให้ กกต.จัดการเลือกตั้งใน วันที่ 15 มิ.ย. นี้ โดยทางกกต.เอง ก็ต้องรับฟังว่าสามารถดำเนินการตามข้อเสนอดังกล่าวได้หรือไม่ อีกทั้งต้องฟังความเห็นจากพรรคการเมืองทุกพรรค ที่จะเข้าหารือกับกกต.ในวันที่ 22 เม.ย.นี้ ว่าเห็นด้วยหรือไม่
ส่วนกรณีท่าทีของมวลชนทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเสื้อแดง ที่เร่งให้กกต.ดำเนินการจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จ หรือกลุ่มกปปส. ที่ประกาศจุดยืนว่า ต้องปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง โดยส่วนตัวไม่คิดว่าจะเป็นอุปสรรคของกกต. เพราะเชื่อว่า คงไม่มีเหตุการณ์รุนแรงที่มวลชนทั้ง 2 ฝ่ายจะถึงขั้นเผชิญหน้า ปะทะกัน บ้านเมืองยังไม่เลวร้ายขนาดนั้น
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าการพูดคุยกับพรรคการเมืองในวันที่ 22 เม.ย.นี้ น่าจะมีทางออก และมีข้อสรุปที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องร่วมกันได้ในระดับหนึ่งและข้อสรุปนี้ คงจะไม่ทำให้สถานการณ์การเมืองไปสู่ความรุนแรงมากขึ้น
ด้านนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวว่า การจัดเลือกตั้งในคราวหน้า กกต.ได้หาวิธีการทุกรูปแบบเพื่อป้องกันไม่ให้การเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญเหมือนการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 ก.พ. ที่ผ่านมา เพราะสาเหตุหลักที่การเลือกตั้ง 2 ก.พ. ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญนั้น เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า การที่บางเขตไม่มีผู้สมัคร ทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นวันเดียวทั่วราชอาณาจักร ซึ่งขณะนี้กกต.ได้แก้ไขกฎ ระเบียบ ที่จะทำให้ผู้สมัครสามารถลงรับสมัครเลือกตั้งได้ครบทุกเขต หากเกิดกรณีที่มีมวลชนไปขัดขวางการรับสมัครเลือกตั้ง โจทย์ปัญหานี้กกต.แก้ได้แล้ว แต่ถ้ายังมีความขัดแย้งยังมีมวลชนไปขัดขวางการเลือกตั้ง มันก็เป็นปัจจัยนอกเหนืออำนาจที่ กกต.จะเข้าไปจัดการได้ เพราะถ้ามีหน่วยเลือกตั้งแม้เพียงหน่วยเดียวจัดการเลือกตั้งไม่ได้ การรวมคะแนนเพื่อประกาศ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ก็ไม่สามารถทำได้ เป็นเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ หากเกิดกรณีดังกล่าวจริง ก็คงบอกไม่ได้ว่า เลือกตั้งแล้วจะเปิดประชุมสภาได้เมื่อไร ถ้าหน่วยใดจัดเลือกตั้งไม่ได้ กกต.ก็ต้องจัดเลือกตั้งซ้ำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ แต่อย่างน้อยการเลือกตั้งก็ไม่เป็นการขัดรัฐธรรมนูญ
ดังนั้น การที่จะป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ขัดขวางเลือกตั้ง เป็นหน้าที่ที่ฝ่ายการเมืองต้องไปจัดการ รัฐบาลกับกลุ่มกปปส. ต้องไปเจรจาหาทางออก แต่คราวนี้ กกต. จะไม่เสนอตัวเป็นคนกลางเจรจายุติความขัดแย้งอีกแล้ว
ส่วนการหารือกับพรรคการเมือง 70 พรรค ในวันที่ 22 เม.ย. นี้ กกต.จะนำข้อสรุปที่ได้คุยกับหน่วยงานด้านความมั่นคง ไปนำเสนอต่อพรรคการเมือง และจะรับฟังความเห็นว่า แต่ละพรรคมีข้อเสนออย่างไร จากนั้นกกต.ก็จะนำข้อมูลที่ได้จากการหารือนั้นมาประมวลว่า วันเลือกตั้งที่เหมาะสมน่าจะเป็นวันใด
อย่างไรก็ตาม คาดว่าในวันที่ 30 เม.ย. นี้ กกต.จะมีการคุยกับรัฐบาล เพื่อกำหนดวันเลือกตั้ง หากเห็นตรงกัน รัฐบาลก็ต้องนำ พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้ง ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อให้ทรงลงพระปรมาภิไธย โดยกระบวนการน่าจะใช้เวลา 20 วัน จากนั้นเมื่อพ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งประกาศเป็นราชกิจจานุเบกษา ก็ให้นับไปอีก 60 วัน ซึ่งเป็นกรอบระยะเวลาการเลือกตั้ง จึงคาดว่าอย่างเร็วที่สุด วันเลือกตั้งน่าจะเป็นวันที่ 20 ก.ค. ตามที่เคยเสนอไปแล้ว
เมื่อถามถึงกรณีที่มีกลุ่มคนเสื้อแดงไปชุมนุมกดดัน กกต.ให้เร่งจัดการเลือกตั้งนั้น นายสมชัย กล่าวว่า ถ้าอยากให้การเลือกตั้งสำเร็จ ทุกฝ่ายต้องช่วยกันสร้างบรรยากาศที่ดี แสดงให้รู้ว่า พร้อมที่จะให้มีการเลือกตั้ง ทุกคนสามารถไปได้ในทุกพื้นที่ เช่น พรรคประชาธิปัตย์สามารถไปหาเสียงที่ภาคเหนือ หรืออีสาน พรรคเพื่อไทย สามารถไปหาเสียงที่ภาคใต้ได้ รวมทั้งกกต. สามารถเดินทางไปตรวจการเลือกตั้งได้ทุกพื้นที่ จึงจะถือว่าพร้อมที่จะมีการเลือกตั้ง แต่ถ้าบรรยากาศยังมีแต่การข่มขู่ คุกคาม แล้วจะจัดการเลือกตั้งได้อย่างไร ส่วนกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ ตกลงเข้าร่วมการหารือ และอาจจะลงเลือกตั้งในครั้งนี้ จะทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งลดลงหรือไม่นั้น ก็ไม่สามารถบอกได้ เพราะพรรคประชาธิปัตย์ ก็เป็นพรรคการเมืองหนึ่งที่ กกต.ให้น้ำหนักเท่ากับ พรรคการเมืองอื่นๆ
** พท.ขีดเส้นเลือกตั้ง 15 มิ.ย.
ด้านนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่ กกต. เชิญพรรคการเมืองหารือเรื่องการเลือกตั้ง ในวันที่ 22 เม.ย.นี้ ว่า พรรคเพื่อไทย ได้ทำหนังสือตอบรับ ส่งให้กกต.แล้วว่า จะส่งนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และนายโภคิน พลกุล คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย ไปร่วมประชุมในครั้งนี้ โดยกำหนดข้อเสนอ 5 ข้อ เพื่อให้กกต. พิจารณาเร่งดำเนินการจัดการเลือกตั้ง และจะนำมติของการประชุมพรรคการเมืองที่ลงเลือกตั้งส.ส. เมื่อวันที่ 2 ก.พ. 57 จำนวน 53 พรรคการเมือง ที่ได้ประชุมเมื่อ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา ที่มีมติให้ กกต.เร่งจัดการเลือกตั้ง ภายใน 45-60 วัน เนื่องจากก่อนหน้านั้น นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง ระบุว่า จะมีการจัดการเลือกตั้งประมาณวันที่ 20-27 ก.ค. และจะได้รัฐบาลชุดใหม่ประมาณวันที่ 1 ต.ค.นั้น ทางเพื่อไทย มองว่าไม่สอดคล้องกับสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน เพราฉะนั้นในวันที่ 22 เม.ย. นี้จะเป็นโอกาสที่ดีที่พรรคเพื่อไทย และพรรคการเมืองต่างๆ ที่มีข้อสรุปเห็นตรงกันว่า จะต้องเร่งดำเนินการจัดการเลือกตั้งภายใน 60 วัน และกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งรายละเอียดจะนำไปเสนอในที่ประชุมวันที่ 22 เม.ย.
ทั้งนี้ พรรคเพื่อไทยมองว่าถ้าวันที่ 22 เม.ย.นี้ กกต.ได้หารือกับพรรคการเมืองทั้งหมด และได้ข้อสรุปจนสามารถกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ เพื่อหารือรัฐบาลออกพ.ร.ฎ. เลือกตั้งใหม่ จะเป็นเรื่องที่ดี ที่จะหาทางออกในขณะนี้เพื่อแก้วิกฤตทางการเมืองที่ต้องฟังเสียงประชาชน และจะต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วม หากกกต. กำหนดวันเลือกตั้งได้เร็ว ก็จะได้รับการชื่นชมจากประชาชน แต่ถ้ายังยื้อเวลา ตนเชื่อว่ากกต. อาจจะได้ก้อนอิฐจากประชาชนแทนดอกไม้ ทางออกเดียวขณะนี้คือการเลือกตั้ง ดังนั้นวันที่ 22 เม.ย. ทางกกต.ต้องมีความชัดเจน หากยังอ้างเหตุผลอื่น ต้องตอบคำถามสังคมได้ให้ และกกต. ต้องรับผิดชอบ นี่เป็นโอกาสที่กกต. จะได้แสดงบทพระเอก
"พรรคเพื่อไทยเห็นด้วยกับข้อเสนอของพรรคเล็ก 53 พรรคที่อยากให้มีการเลือกตั้งใน วันที่ 15 มิ.ย. ถ้าเสียงส่วนใหญ่ต้องการให้จัดการเลือกตั้งโดยเร็ว กกต.ก็ต้องปฏิบัติตาม หากยังยื้อจัดการเลือกตั้งระหว่างวันที่ 20-27 ก.ค.แล้วเกิดวิกฤตการเมืองขึ้น กกต.ต้องรับผิดชอบ"นายพร้อมพงศ์ กล่าว
** ไล่"สมชัย"ทำหน้าที่อื่น
โฆษกพรรคเพื่อไทย ยังกล่าวถึงกรณีที่มีกลุ่มคนเสื้อแดง ออกมาแสดงการคัดค้าน นายสมชัย ขณะลงพื้นที่ จ.ลำพูน จ.ลำปาง และจ.เชียงใหม่ ว่า เป็นกระจกเงาสะท้อนในการทำหน้าที่ของ นายสมชัย เพราะคนที่เป็นผู้ใหญ่ หากทำหน้าที่ขาดสติ และเอนเอียงทางการเมือง จะทำให้เกิดปัญหากับองค์กร หากขาดความยอมรับจากประชาชน ก็จะนำไปสู่การแสดงความไม่เห็นด้วยและการต่อต้าน
"อยากให้ กกต.ทบทวนบทบาทของตนเอง หลังจากปล่อยให้ นายสมชัย ที่ทำหน้าที่จัดการเลือกตั้งล้มเหลวขอเรียกร้องให้กกต. เปลี่ยนหน้าที่ของนายสมชัย ไม่เช่นนั้นจะทำให้เกิดปัญหา และกกต.คนอื่นจะทำงานลำบาก เพราะคนที่ทำหน้าที่เป็นองค์กรอิสระไปวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการเมือง จะเป็นการไปซ้ำเติมความขัดแย้งมากขึ้น ดังนั้นขอให้นายสมชัย ลาออกจากหน้าที่บริหารจัดการเลือกตั้ง หรือไม่ก็ไปทำหน้าที่อื่น เพราะนายสมชัย เป็นตัวหลักที่ทำให้ กกต. ทำงานลำบาก ไม่ต้องรอมติ แต่ควรทบทวนบทบาทตนเอง ไปทำหน้าที่ด้านวิชาการที่ถัดมากกว่าทำหน้าที่ในการจัดการเลือกตั้ง"
**ขู่ปชป.หากยังบอยคอตควรยุบพรรค
นายพร้อมพงศ์ ยังกล่าวถึงกรณี ที่พรรคประชาธิปัตย์ จะส่ง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ รองหัวหน้าพรรค เข้าร่วมการประชุมกับกกต.ด้วยนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะพรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคการเมืองใหญ่ และเก่าแก่ น่าจะเป็นตัวหลักในการเข้าร่วมประชุม แต่ตนแปลกใจว่า แทนที่จะแสดงความบริสุทธิ์ใจ และจุดยืนในการปกป้องระบอบประชาธิปไตย กลับเสนอเงื่อนไข 4 ประการ ที่หากไม่ได้รับการแก้ไข จะไม่ลงเลือกตั้ง โดยอ้างว่ายังมีการใช้ความรุนแรงนั้น เป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้น พรรคประชาธิปัตย์ควรสำนึกในหน้าที่ หากครั้งนี้ไม่ลงเลือกตั้ง ควรถูกร้องให้มีการยุบพรรค เพราะพรรคการเมืองเป็นของประชาชน ที่ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์ไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งหลายครั้งแล้ว ตนถามว่า ถ้าจะลงสมัครเลือกตั้งต้องไปขอ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการกปปส. ก่อนหรือไม่
" เรื่องปฏิรูปนั้นต้องใช้เวลา การอ้างว่าให้มีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งนั้น ความหมายของนายสุเทพ คือ การปฏิวัติก่อนการเลือกตั้ง เรื่องการปฏิรูปพรรคเพื่อไทย และรัฐบาลเห็นด้วย แต่จะต้องมีการเลือกตั้ง ดังนั้นใครจะยอมนายสุเทพ"
นายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า นายอภิสิทธิ์ ไม่ควรมีข้ออ้างในการหารือ ในวันที่ 22 เม.ย. เพราะเงื่อนไข 4 ประการนั้น เป็นเพียงข้ออ้างที่จะไม่ลงการเลือกตั้ง ประเทศไทยรอพรรคประชาธิปัตย์พรรคเดียวไม่ได้ หากไม่ลงเลือกตั้งก็จะได้เห็นธาตุแท้ว่า อ้างแต่ประชาธิปไตย และการปฏิรูป โดยไม่ฟังเสียงประชาชน และกลัวแพ้การเลือกตั้ง เป็นฝ่ายค้าน ผมท้านายอภิสิทธิ์ ประกาศในวันที่ 22 เม.ย. ว่า พร้อมลงเลือกตั้งและสนับสนุน กกต.จัดการเลือกตั้งภายใน 60 วัน หาก นายอภิสิทธิ์ ไม่กล้าประกาศก็สมควรลาออก ทั้งนี้ตนได้ข้อมูลจากคนในพรรคประชาธิปัตย์ว่า ทุกวันนี้ที่ยื้อไม่ลงเลือกตั้ง ล้มเลือกตั้ง และอ้างเรื่องการปฏิรูป เพราะต้องการล้มคดีเหตุการณ์สลายการชุมนุม เมื่อปี 53 นั้นจริงหรือไม่
**แนะกกต.หาทางให้ทุกฝ่ายยอมรับเลือกตั้ง
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวเรียกร้องให้ กกต. หาแนวทางให้ทุกฝ่ายยอมรับการจัดการเลือกตั้งรอบใหม่ ก่อนที่จะกำหนดวันลงคะแนนเลือกตั้ง เนื่องจากมองว่า หากยังไม่สร้างการยอมรับการเลือกตั้งแล้ว อาจจะทำให้การเลือกตั้งรอบใหม่นั้นมีการคัดค้านและส่งผลให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ เหมือนอย่างการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 2 ก.พ. ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีเค้าลางของการทำให้การเลือกตั้งไม่เรียบร้อยแล้ว คือ การประกาศคัดค้านการเลือกตั้งก่อนการปฏิรูปการเมืองของ กปปส. ที่นำโดย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ดังนั้น กกต. ควรจะเร่งหารือและใช้ดุลยพินิจเพื่อทำให้การคัดค้านดังกล่าวไม่เกิดขึ้น เบื้องต้นอาจจะเข้าไปหารือกับแกนนำ กปปส. ก็ได้ ส่วนการหารือร่วมกับพรรคการเมือง ในวันที่ 22 เม.ย. นั้น เชื่อว่าจะไม่ได้ข้อสรุปเพื่อนำไปปฏิบัติได้ ภายในการหารือครั้งเดียว แต่ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ทั้งนี้ตนขอฝากไปยังกกต. และพรรคการเมืองให้พิจารณาหลักการสำคัญก่อนการเดินหน้าสู่การเลือกตั้ง คือ ทุกฝ่ายต้องร่วมหาทางออกของการเลือกตั้ง ที่ไม่ใช่เป็นแค่ใช้การเลือกตั้งเพื่อเข้าสู่อำนาจ และนำอำนาจที่ได้มาไปแสวงหาผลประโยชน์ที่มิชอบ รวมถึงนำบทเรียนของการเลือกตั้ง วันที่ 2 ก.พ. ที่ศาลสั่งให้เป็นโมฆะนั้น มาพิจารณาเพื่อทบทวนและหาทางป้องกันให้การเลือกตั้งไม่เดินไปซ้ำรอยเดิม
"ผมมองว่า หากกกต.ยังหาทางที่ทำให้ทุกฝ่ายของสังคมยอมรับการเลือกตั้งไม่ได้ อาจจะทำให้การเลือกตั้งรอบใหม่เกิดเป็นการเลือกตั้งที่โมฆะได้อีก แม้ว่าพรรคประชาธิปัตย์จะลง หรือไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งก็ตาม" นายองอาจ กล่าว
"สมชัย"ลั่นเลือกตั้งคราวหน้าไม่ขัดรธน.แน่ มีมาตรการรับสมัครให้ครบทุกเขต ยอมรับหากเกิดเหตุขวางเลือกตั้ง เกินอำนาจกกต.จัดการ ฝ่ายการเมืองต้องเจราจากันเอง คาดอย่างเร็วสุด เลือกตั้ง 20 ก.ค. "เพื่อไทย"ส่ง"จารุพงศ์-โภคิน" หารือ ขีดเส้นจัดเลือกตั้ง15 มิ.ย. ไล่"สมชัย"ทำหน้าที่อื่น ด้านปชป. แนะกกต.หาทางเจรจากปปส.ให้ยอมรับเลือกตั้ง ก่อนดำเนินการ หวั่นโมฆะซ้ำสอง
นายศุภชัย สมเจริญ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงการหารือกับพรรคการเมือง ในวันที่ 22เม.ย.นี้ เพื่อกำหนดวันเลือกตั้งส.ส. ที่เหมาะสม ว่า ได้ทราบมาว่า พรรคเพื่อไทยมีข้อเสนอให้ กกต.จัดการเลือกตั้งใน วันที่ 15 มิ.ย. นี้ โดยทางกกต.เอง ก็ต้องรับฟังว่าสามารถดำเนินการตามข้อเสนอดังกล่าวได้หรือไม่ อีกทั้งต้องฟังความเห็นจากพรรคการเมืองทุกพรรค ที่จะเข้าหารือกับกกต.ในวันที่ 22 เม.ย.นี้ ว่าเห็นด้วยหรือไม่
ส่วนกรณีท่าทีของมวลชนทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเสื้อแดง ที่เร่งให้กกต.ดำเนินการจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จ หรือกลุ่มกปปส. ที่ประกาศจุดยืนว่า ต้องปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง โดยส่วนตัวไม่คิดว่าจะเป็นอุปสรรคของกกต. เพราะเชื่อว่า คงไม่มีเหตุการณ์รุนแรงที่มวลชนทั้ง 2 ฝ่ายจะถึงขั้นเผชิญหน้า ปะทะกัน บ้านเมืองยังไม่เลวร้ายขนาดนั้น
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าการพูดคุยกับพรรคการเมืองในวันที่ 22 เม.ย.นี้ น่าจะมีทางออก และมีข้อสรุปที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องร่วมกันได้ในระดับหนึ่งและข้อสรุปนี้ คงจะไม่ทำให้สถานการณ์การเมืองไปสู่ความรุนแรงมากขึ้น
ด้านนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวว่า การจัดเลือกตั้งในคราวหน้า กกต.ได้หาวิธีการทุกรูปแบบเพื่อป้องกันไม่ให้การเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญเหมือนการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 ก.พ. ที่ผ่านมา เพราะสาเหตุหลักที่การเลือกตั้ง 2 ก.พ. ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญนั้น เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า การที่บางเขตไม่มีผู้สมัคร ทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นวันเดียวทั่วราชอาณาจักร ซึ่งขณะนี้กกต.ได้แก้ไขกฎ ระเบียบ ที่จะทำให้ผู้สมัครสามารถลงรับสมัครเลือกตั้งได้ครบทุกเขต หากเกิดกรณีที่มีมวลชนไปขัดขวางการรับสมัครเลือกตั้ง โจทย์ปัญหานี้กกต.แก้ได้แล้ว แต่ถ้ายังมีความขัดแย้งยังมีมวลชนไปขัดขวางการเลือกตั้ง มันก็เป็นปัจจัยนอกเหนืออำนาจที่ กกต.จะเข้าไปจัดการได้ เพราะถ้ามีหน่วยเลือกตั้งแม้เพียงหน่วยเดียวจัดการเลือกตั้งไม่ได้ การรวมคะแนนเพื่อประกาศ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ก็ไม่สามารถทำได้ เป็นเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ หากเกิดกรณีดังกล่าวจริง ก็คงบอกไม่ได้ว่า เลือกตั้งแล้วจะเปิดประชุมสภาได้เมื่อไร ถ้าหน่วยใดจัดเลือกตั้งไม่ได้ กกต.ก็ต้องจัดเลือกตั้งซ้ำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ แต่อย่างน้อยการเลือกตั้งก็ไม่เป็นการขัดรัฐธรรมนูญ
ดังนั้น การที่จะป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ขัดขวางเลือกตั้ง เป็นหน้าที่ที่ฝ่ายการเมืองต้องไปจัดการ รัฐบาลกับกลุ่มกปปส. ต้องไปเจรจาหาทางออก แต่คราวนี้ กกต. จะไม่เสนอตัวเป็นคนกลางเจรจายุติความขัดแย้งอีกแล้ว
ส่วนการหารือกับพรรคการเมือง 70 พรรค ในวันที่ 22 เม.ย. นี้ กกต.จะนำข้อสรุปที่ได้คุยกับหน่วยงานด้านความมั่นคง ไปนำเสนอต่อพรรคการเมือง และจะรับฟังความเห็นว่า แต่ละพรรคมีข้อเสนออย่างไร จากนั้นกกต.ก็จะนำข้อมูลที่ได้จากการหารือนั้นมาประมวลว่า วันเลือกตั้งที่เหมาะสมน่าจะเป็นวันใด
อย่างไรก็ตาม คาดว่าในวันที่ 30 เม.ย. นี้ กกต.จะมีการคุยกับรัฐบาล เพื่อกำหนดวันเลือกตั้ง หากเห็นตรงกัน รัฐบาลก็ต้องนำ พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้ง ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อให้ทรงลงพระปรมาภิไธย โดยกระบวนการน่าจะใช้เวลา 20 วัน จากนั้นเมื่อพ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งประกาศเป็นราชกิจจานุเบกษา ก็ให้นับไปอีก 60 วัน ซึ่งเป็นกรอบระยะเวลาการเลือกตั้ง จึงคาดว่าอย่างเร็วที่สุด วันเลือกตั้งน่าจะเป็นวันที่ 20 ก.ค. ตามที่เคยเสนอไปแล้ว
เมื่อถามถึงกรณีที่มีกลุ่มคนเสื้อแดงไปชุมนุมกดดัน กกต.ให้เร่งจัดการเลือกตั้งนั้น นายสมชัย กล่าวว่า ถ้าอยากให้การเลือกตั้งสำเร็จ ทุกฝ่ายต้องช่วยกันสร้างบรรยากาศที่ดี แสดงให้รู้ว่า พร้อมที่จะให้มีการเลือกตั้ง ทุกคนสามารถไปได้ในทุกพื้นที่ เช่น พรรคประชาธิปัตย์สามารถไปหาเสียงที่ภาคเหนือ หรืออีสาน พรรคเพื่อไทย สามารถไปหาเสียงที่ภาคใต้ได้ รวมทั้งกกต. สามารถเดินทางไปตรวจการเลือกตั้งได้ทุกพื้นที่ จึงจะถือว่าพร้อมที่จะมีการเลือกตั้ง แต่ถ้าบรรยากาศยังมีแต่การข่มขู่ คุกคาม แล้วจะจัดการเลือกตั้งได้อย่างไร ส่วนกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ ตกลงเข้าร่วมการหารือ และอาจจะลงเลือกตั้งในครั้งนี้ จะทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งลดลงหรือไม่นั้น ก็ไม่สามารถบอกได้ เพราะพรรคประชาธิปัตย์ ก็เป็นพรรคการเมืองหนึ่งที่ กกต.ให้น้ำหนักเท่ากับ พรรคการเมืองอื่นๆ
** พท.ขีดเส้นเลือกตั้ง 15 มิ.ย.
ด้านนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่ กกต. เชิญพรรคการเมืองหารือเรื่องการเลือกตั้ง ในวันที่ 22 เม.ย.นี้ ว่า พรรคเพื่อไทย ได้ทำหนังสือตอบรับ ส่งให้กกต.แล้วว่า จะส่งนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และนายโภคิน พลกุล คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย ไปร่วมประชุมในครั้งนี้ โดยกำหนดข้อเสนอ 5 ข้อ เพื่อให้กกต. พิจารณาเร่งดำเนินการจัดการเลือกตั้ง และจะนำมติของการประชุมพรรคการเมืองที่ลงเลือกตั้งส.ส. เมื่อวันที่ 2 ก.พ. 57 จำนวน 53 พรรคการเมือง ที่ได้ประชุมเมื่อ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา ที่มีมติให้ กกต.เร่งจัดการเลือกตั้ง ภายใน 45-60 วัน เนื่องจากก่อนหน้านั้น นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง ระบุว่า จะมีการจัดการเลือกตั้งประมาณวันที่ 20-27 ก.ค. และจะได้รัฐบาลชุดใหม่ประมาณวันที่ 1 ต.ค.นั้น ทางเพื่อไทย มองว่าไม่สอดคล้องกับสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน เพราฉะนั้นในวันที่ 22 เม.ย. นี้จะเป็นโอกาสที่ดีที่พรรคเพื่อไทย และพรรคการเมืองต่างๆ ที่มีข้อสรุปเห็นตรงกันว่า จะต้องเร่งดำเนินการจัดการเลือกตั้งภายใน 60 วัน และกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งรายละเอียดจะนำไปเสนอในที่ประชุมวันที่ 22 เม.ย.
ทั้งนี้ พรรคเพื่อไทยมองว่าถ้าวันที่ 22 เม.ย.นี้ กกต.ได้หารือกับพรรคการเมืองทั้งหมด และได้ข้อสรุปจนสามารถกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ เพื่อหารือรัฐบาลออกพ.ร.ฎ. เลือกตั้งใหม่ จะเป็นเรื่องที่ดี ที่จะหาทางออกในขณะนี้เพื่อแก้วิกฤตทางการเมืองที่ต้องฟังเสียงประชาชน และจะต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วม หากกกต. กำหนดวันเลือกตั้งได้เร็ว ก็จะได้รับการชื่นชมจากประชาชน แต่ถ้ายังยื้อเวลา ตนเชื่อว่ากกต. อาจจะได้ก้อนอิฐจากประชาชนแทนดอกไม้ ทางออกเดียวขณะนี้คือการเลือกตั้ง ดังนั้นวันที่ 22 เม.ย. ทางกกต.ต้องมีความชัดเจน หากยังอ้างเหตุผลอื่น ต้องตอบคำถามสังคมได้ให้ และกกต. ต้องรับผิดชอบ นี่เป็นโอกาสที่กกต. จะได้แสดงบทพระเอก
"พรรคเพื่อไทยเห็นด้วยกับข้อเสนอของพรรคเล็ก 53 พรรคที่อยากให้มีการเลือกตั้งใน วันที่ 15 มิ.ย. ถ้าเสียงส่วนใหญ่ต้องการให้จัดการเลือกตั้งโดยเร็ว กกต.ก็ต้องปฏิบัติตาม หากยังยื้อจัดการเลือกตั้งระหว่างวันที่ 20-27 ก.ค.แล้วเกิดวิกฤตการเมืองขึ้น กกต.ต้องรับผิดชอบ"นายพร้อมพงศ์ กล่าว
** ไล่"สมชัย"ทำหน้าที่อื่น
โฆษกพรรคเพื่อไทย ยังกล่าวถึงกรณีที่มีกลุ่มคนเสื้อแดง ออกมาแสดงการคัดค้าน นายสมชัย ขณะลงพื้นที่ จ.ลำพูน จ.ลำปาง และจ.เชียงใหม่ ว่า เป็นกระจกเงาสะท้อนในการทำหน้าที่ของ นายสมชัย เพราะคนที่เป็นผู้ใหญ่ หากทำหน้าที่ขาดสติ และเอนเอียงทางการเมือง จะทำให้เกิดปัญหากับองค์กร หากขาดความยอมรับจากประชาชน ก็จะนำไปสู่การแสดงความไม่เห็นด้วยและการต่อต้าน
"อยากให้ กกต.ทบทวนบทบาทของตนเอง หลังจากปล่อยให้ นายสมชัย ที่ทำหน้าที่จัดการเลือกตั้งล้มเหลวขอเรียกร้องให้กกต. เปลี่ยนหน้าที่ของนายสมชัย ไม่เช่นนั้นจะทำให้เกิดปัญหา และกกต.คนอื่นจะทำงานลำบาก เพราะคนที่ทำหน้าที่เป็นองค์กรอิสระไปวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการเมือง จะเป็นการไปซ้ำเติมความขัดแย้งมากขึ้น ดังนั้นขอให้นายสมชัย ลาออกจากหน้าที่บริหารจัดการเลือกตั้ง หรือไม่ก็ไปทำหน้าที่อื่น เพราะนายสมชัย เป็นตัวหลักที่ทำให้ กกต. ทำงานลำบาก ไม่ต้องรอมติ แต่ควรทบทวนบทบาทตนเอง ไปทำหน้าที่ด้านวิชาการที่ถัดมากกว่าทำหน้าที่ในการจัดการเลือกตั้ง"
**ขู่ปชป.หากยังบอยคอตควรยุบพรรค
นายพร้อมพงศ์ ยังกล่าวถึงกรณี ที่พรรคประชาธิปัตย์ จะส่ง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ รองหัวหน้าพรรค เข้าร่วมการประชุมกับกกต.ด้วยนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะพรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคการเมืองใหญ่ และเก่าแก่ น่าจะเป็นตัวหลักในการเข้าร่วมประชุม แต่ตนแปลกใจว่า แทนที่จะแสดงความบริสุทธิ์ใจ และจุดยืนในการปกป้องระบอบประชาธิปไตย กลับเสนอเงื่อนไข 4 ประการ ที่หากไม่ได้รับการแก้ไข จะไม่ลงเลือกตั้ง โดยอ้างว่ายังมีการใช้ความรุนแรงนั้น เป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้น พรรคประชาธิปัตย์ควรสำนึกในหน้าที่ หากครั้งนี้ไม่ลงเลือกตั้ง ควรถูกร้องให้มีการยุบพรรค เพราะพรรคการเมืองเป็นของประชาชน ที่ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์ไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งหลายครั้งแล้ว ตนถามว่า ถ้าจะลงสมัครเลือกตั้งต้องไปขอ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการกปปส. ก่อนหรือไม่
" เรื่องปฏิรูปนั้นต้องใช้เวลา การอ้างว่าให้มีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งนั้น ความหมายของนายสุเทพ คือ การปฏิวัติก่อนการเลือกตั้ง เรื่องการปฏิรูปพรรคเพื่อไทย และรัฐบาลเห็นด้วย แต่จะต้องมีการเลือกตั้ง ดังนั้นใครจะยอมนายสุเทพ"
นายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า นายอภิสิทธิ์ ไม่ควรมีข้ออ้างในการหารือ ในวันที่ 22 เม.ย. เพราะเงื่อนไข 4 ประการนั้น เป็นเพียงข้ออ้างที่จะไม่ลงการเลือกตั้ง ประเทศไทยรอพรรคประชาธิปัตย์พรรคเดียวไม่ได้ หากไม่ลงเลือกตั้งก็จะได้เห็นธาตุแท้ว่า อ้างแต่ประชาธิปไตย และการปฏิรูป โดยไม่ฟังเสียงประชาชน และกลัวแพ้การเลือกตั้ง เป็นฝ่ายค้าน ผมท้านายอภิสิทธิ์ ประกาศในวันที่ 22 เม.ย. ว่า พร้อมลงเลือกตั้งและสนับสนุน กกต.จัดการเลือกตั้งภายใน 60 วัน หาก นายอภิสิทธิ์ ไม่กล้าประกาศก็สมควรลาออก ทั้งนี้ตนได้ข้อมูลจากคนในพรรคประชาธิปัตย์ว่า ทุกวันนี้ที่ยื้อไม่ลงเลือกตั้ง ล้มเลือกตั้ง และอ้างเรื่องการปฏิรูป เพราะต้องการล้มคดีเหตุการณ์สลายการชุมนุม เมื่อปี 53 นั้นจริงหรือไม่
**แนะกกต.หาทางให้ทุกฝ่ายยอมรับเลือกตั้ง
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวเรียกร้องให้ กกต. หาแนวทางให้ทุกฝ่ายยอมรับการจัดการเลือกตั้งรอบใหม่ ก่อนที่จะกำหนดวันลงคะแนนเลือกตั้ง เนื่องจากมองว่า หากยังไม่สร้างการยอมรับการเลือกตั้งแล้ว อาจจะทำให้การเลือกตั้งรอบใหม่นั้นมีการคัดค้านและส่งผลให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ เหมือนอย่างการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 2 ก.พ. ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีเค้าลางของการทำให้การเลือกตั้งไม่เรียบร้อยแล้ว คือ การประกาศคัดค้านการเลือกตั้งก่อนการปฏิรูปการเมืองของ กปปส. ที่นำโดย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ดังนั้น กกต. ควรจะเร่งหารือและใช้ดุลยพินิจเพื่อทำให้การคัดค้านดังกล่าวไม่เกิดขึ้น เบื้องต้นอาจจะเข้าไปหารือกับแกนนำ กปปส. ก็ได้ ส่วนการหารือร่วมกับพรรคการเมือง ในวันที่ 22 เม.ย. นั้น เชื่อว่าจะไม่ได้ข้อสรุปเพื่อนำไปปฏิบัติได้ ภายในการหารือครั้งเดียว แต่ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ทั้งนี้ตนขอฝากไปยังกกต. และพรรคการเมืองให้พิจารณาหลักการสำคัญก่อนการเดินหน้าสู่การเลือกตั้ง คือ ทุกฝ่ายต้องร่วมหาทางออกของการเลือกตั้ง ที่ไม่ใช่เป็นแค่ใช้การเลือกตั้งเพื่อเข้าสู่อำนาจ และนำอำนาจที่ได้มาไปแสวงหาผลประโยชน์ที่มิชอบ รวมถึงนำบทเรียนของการเลือกตั้ง วันที่ 2 ก.พ. ที่ศาลสั่งให้เป็นโมฆะนั้น มาพิจารณาเพื่อทบทวนและหาทางป้องกันให้การเลือกตั้งไม่เดินไปซ้ำรอยเดิม
"ผมมองว่า หากกกต.ยังหาทางที่ทำให้ทุกฝ่ายของสังคมยอมรับการเลือกตั้งไม่ได้ อาจจะทำให้การเลือกตั้งรอบใหม่เกิดเป็นการเลือกตั้งที่โมฆะได้อีก แม้ว่าพรรคประชาธิปัตย์จะลง หรือไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งก็ตาม" นายองอาจ กล่าว