ASTVผู้จัดการรายวัน – กรมธนารักษ์ตั้งคณะกรรมการฟื้นโปรเจกต์พัฒนาที่ราชพัสดุหมอชิต เล็งลดมูลค่าโครงการเหลือ 1.5 หมื่นล้านบาท พร้อมชงครม.ชุดใหม่เดินหน้าได้ทันที ขณะที่ราคาประเมินที่ดินใหม่ในปี 59 จะนำปัจจัยก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงและรถไฟรางคู่มาประกอบการพิจารณาด้วย
นายชาญณัฏฐ์ แก้วมณี รองอธิบดีกรมธนารักษ์ด้านที่ราชพัสดุ เปิดเผยว่า กรมธนารักษ์ได้ตั้งคณะกรรมการตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การให้เอกชนร่วมลงทุนในโรงการของรัฐ พ.ศ.2556 ที่กำหนดให้การร่วมลงทุนระหว่าภาครัฐและเอกชนต้องตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลชุดใหม่ขึ้นมาดำเนินการโรงการลงทุนต่างๆ โดยในขณะนี้ได้ตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นมาเมื่อวันที่ 3 เมษายนที่ผ่านมาเพื่อบริหารที่ราชพัสดุแปลงหมอชิตให้เดินหน้าต่อไปได้
โดยคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการชุดนี้จะมีอำนาจหน้าที่ในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสาระสำคัญของโรงการ ยกเลิกสัญญาและสามารถเปิดประมูลโครงการใหม่ได้ ซึ่งโครงการพัฒนาที่ราชพัสดุแปลงหมอชิตนั้นในเบื้องต้นอาจมีการลดมูลค่าของโครงการลงจากเดิม 1.8 หมื่นล้านบาทเหลือ 1.5 หมื่นล้านบาท เนื่องจากถูกจำกัดการใช้ประโยชน์ลงตามข้อบังคับของกฎหมายทำให้ขนาดของโครงการลดลงตามไปด้วย
“รูปแบบของโครงการจะยังมีรูปแบบคล้ายๆ แผนเดิมที่เป็นศูนย์การค้า ที่อยู่อาศัยและอาคารสำนักงาน โดยทางคณะกรรมการได้ตรวจสอบความเรียบร้อยของโครงการเสร็จสิ้นแล้ว เตรียมเสนอให้ปลัดกระทรวงการคลังเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบก่อนขอมติจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติโครงการให้สามารถเดินหน้าได้ต่อไป ซึ่งทางคณะกรรมการจะพิจารณาว่าสามารถให้เอกชนคู่สัญญารายเดินดำเนินโครงการต่อไปหรือเปิดประมูลให้รายใหม่เข้ามาดำเนินโครงการขึ้นอยู่กับความเหมาะสม” นายชาญณัฏฐ์กล่าว
นายชาญณัฏฐ์กล่าวว่า สำหรับการประเมินราคาที่ดินที่จะประกาศในปี 2559 ซึ่งเป็นการประกาศใช้ทุกๆ 5 ปีนั้น กรมธนารักษ์อยู่ระหว่างรวมรวมข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาราคาประเมินใหม่ให้สอดคล้องกับราคาตลาด โดยแนวการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงนั้นกรมธนารักษ์จะยังคงนำมาพิจารณาประกอบการประเมินราคาด้วย ซึ่งหากยังไม่มีการก่อสร้างก็จะพิจารณาตามแนวทางรถไฟรางคู่ ซึ่งขึ้นอยู่กับการจัดลำดับความสำคัญของโครงการตามแผนของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ประกอบการประเมินราคาด้วย
“ราคาประเมินที่ดินที่จะประกาศในปี 2559 นั้นต้องสะท้อนราคาที่แท้จริงของตลาด ซึ่งราคาที่เหมาะสมนั้นควรจะบวก ลบ ไม่เกิน 10% ของราคาที่ดิน และเป็นไปตามสภาวะเศรษฐกิจของประเทศในขณะนั้นด้วย โดยราคาที่ดินที่มีราคาแพงจะยังคงอยู่ในบริเวณเมืองที่มีระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เป็นศูนย์กลางการค้าและการคมนาคม รวมทั้งในบริเวณที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญด้วย” นายชาญณัฏฐ์กล่าว.
นายชาญณัฏฐ์ แก้วมณี รองอธิบดีกรมธนารักษ์ด้านที่ราชพัสดุ เปิดเผยว่า กรมธนารักษ์ได้ตั้งคณะกรรมการตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การให้เอกชนร่วมลงทุนในโรงการของรัฐ พ.ศ.2556 ที่กำหนดให้การร่วมลงทุนระหว่าภาครัฐและเอกชนต้องตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลชุดใหม่ขึ้นมาดำเนินการโรงการลงทุนต่างๆ โดยในขณะนี้ได้ตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นมาเมื่อวันที่ 3 เมษายนที่ผ่านมาเพื่อบริหารที่ราชพัสดุแปลงหมอชิตให้เดินหน้าต่อไปได้
โดยคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการชุดนี้จะมีอำนาจหน้าที่ในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสาระสำคัญของโรงการ ยกเลิกสัญญาและสามารถเปิดประมูลโครงการใหม่ได้ ซึ่งโครงการพัฒนาที่ราชพัสดุแปลงหมอชิตนั้นในเบื้องต้นอาจมีการลดมูลค่าของโครงการลงจากเดิม 1.8 หมื่นล้านบาทเหลือ 1.5 หมื่นล้านบาท เนื่องจากถูกจำกัดการใช้ประโยชน์ลงตามข้อบังคับของกฎหมายทำให้ขนาดของโครงการลดลงตามไปด้วย
“รูปแบบของโครงการจะยังมีรูปแบบคล้ายๆ แผนเดิมที่เป็นศูนย์การค้า ที่อยู่อาศัยและอาคารสำนักงาน โดยทางคณะกรรมการได้ตรวจสอบความเรียบร้อยของโครงการเสร็จสิ้นแล้ว เตรียมเสนอให้ปลัดกระทรวงการคลังเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบก่อนขอมติจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติโครงการให้สามารถเดินหน้าได้ต่อไป ซึ่งทางคณะกรรมการจะพิจารณาว่าสามารถให้เอกชนคู่สัญญารายเดินดำเนินโครงการต่อไปหรือเปิดประมูลให้รายใหม่เข้ามาดำเนินโครงการขึ้นอยู่กับความเหมาะสม” นายชาญณัฏฐ์กล่าว
นายชาญณัฏฐ์กล่าวว่า สำหรับการประเมินราคาที่ดินที่จะประกาศในปี 2559 ซึ่งเป็นการประกาศใช้ทุกๆ 5 ปีนั้น กรมธนารักษ์อยู่ระหว่างรวมรวมข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาราคาประเมินใหม่ให้สอดคล้องกับราคาตลาด โดยแนวการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงนั้นกรมธนารักษ์จะยังคงนำมาพิจารณาประกอบการประเมินราคาด้วย ซึ่งหากยังไม่มีการก่อสร้างก็จะพิจารณาตามแนวทางรถไฟรางคู่ ซึ่งขึ้นอยู่กับการจัดลำดับความสำคัญของโครงการตามแผนของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ประกอบการประเมินราคาด้วย
“ราคาประเมินที่ดินที่จะประกาศในปี 2559 นั้นต้องสะท้อนราคาที่แท้จริงของตลาด ซึ่งราคาที่เหมาะสมนั้นควรจะบวก ลบ ไม่เกิน 10% ของราคาที่ดิน และเป็นไปตามสภาวะเศรษฐกิจของประเทศในขณะนั้นด้วย โดยราคาที่ดินที่มีราคาแพงจะยังคงอยู่ในบริเวณเมืองที่มีระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เป็นศูนย์กลางการค้าและการคมนาคม รวมทั้งในบริเวณที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญด้วย” นายชาญณัฏฐ์กล่าว.