ตามคาด “TEQTV” คว้างานเครื่องส่งทีวีดิจิตอล “อสมท” ซุ่มเงียบเปิดซองไปเมื่อ 8 เม.ย. แฉล็อกเป้าตามใบสั่งการเมืองเข้าวินรายเดียว เขี่ยรายอื่นร่วงแบบไม่ให้คะแนน 3 บ.เอกชนฉุนยื่นอุทธรณ์ผลทันควัน เล็งหาช่องร้องศาลปกครองระงับโครงการ ชี้ตั้งหน้าตั้งตาโกงแบบน่าเกลียด ทั้งที่สื่อ-สตง.ท้วงติงตลอด แต่กลับเดินหน้าสุดซอยไม่สนใจ คาดกินมูมมามเสนอราคาเต็มงบ 440 ล้าน
รายงานข่าวแจ้งว่าวานนี้ (8 เม.ย.) ที่สำนักงานใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ได้มีการประกาศผลการประกวดในโครงการจัดหาเครื่องส่งสัญญาณทีวีดิจิตอลของ อสมท ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ของผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้บริการโครงข่ายทีวีดิจิตอลไปเป็นที่เรียบร้อย โดยมี 5 บริษัทเอกชนสนใจเข้ายื่นซองเทคนิคและเสนอราคา ได้แก่ 1. บริษัท กิจการค้าร่วม เทคทีวี จำกัด (TEQTV and Rohde&Schwarz) 2. บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) (Loxley) 3. บริษัท ยูซีไอ จำกัด (UCI) 4. บริษัท สามารถเทเลคอม จำกัด (มหาชน) (Samart) และ 5. บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล รีเสิร์ช คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (IRPC) หลังจากที่ทั้ง 5 รายได้ยื่นซองเทคนิคและเสนอราคาไปเมื่อช่วงต้นเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา
โดยในการประกาศผลเมื่อวันที่ 8 เม.ย. นั้นปรากฏว่า มีเพียง TEQTV เพียงรายเดียวเท่านั้นที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการของ อสมท และได้รับการพิจารณาในส่วนของราคา สำหรับบริษัทที่เหลือทั้ง 4 รายไม่ผ่านการพิจารณาในขั้นแรก 3 ราย คือ Loxley, Samart และ IRPC นั้นไม่ผ่านในส่วนของเทคนิค เกี่ยวกับอุปกรณ์ส่วนประกอบต่างๆ ขณะที่ UCI ไม่ผ่านในส่วนคุณสมบัติของผู้ยื่นประกวดราคา จึงไม่ได้รับการพิจารณาซองราคาแต่อย่างใด
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า แม้การพิจารณาจะเป็นไปตามข้อกำหนดของ อสมท ที่ระบุว่าจะเปิดซองราคาของผู้เสนอราคาที่ได้รับคะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 และจะพิจารณาผู้ที่มีคะแนนสูงที่สุดก่อน หากไม่ผ่านการพิจารณาด้านเทคนิคก็จะไม่ได้รับการพิจารณาในเรื่องของซองราคา แต่ก็ถือเป็นข้อกำหนดที่ถูกวิพากษวิจารณ์ก่อนหน้านี้ว่ามีความพยายามเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ประกอบการบางราย รวมทั้งยังเคยมีหนังสือท้วงติงจาก สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่ชี้ให้เห็นว่าข้อกำหนดบางประการของ อสมท เป็นการปิดกั้นการประกวดราคาอย่างไม่เป็นธรรม
แหล่งข่าวจากบริษัทที่เข้าร่วมยื่นซองเปิดเผยกับ ASTVผู้จัดการ ว่าในขั้นตอนการประกาศผลนั้น คณะกรรมการของ อสมท ได้เชิญผู้แทนบริษัทต่างๆ เข้ารับทราบผลการพิจารณาทีละบริษัท ก็ปรากฏว่ามีเพียง TEQTV เป็นเพียงรายเดียวที่ได้รับการพิจารณาราคา ขณะที่รายอื่นถูกตีตกด้วยเรื่องของเทคนิคไม่ถูกต้อง ซึ่งก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวในวงการทีวีดิจิตอลมาตลอดว่า TEQTV จะได้งานนี้ ผลที่ออกมาจึงเป็นไปตามที่คาดหมายกัน
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ทั้งนี้ผู้แทนของทั้ง Loxley, Samart และ IRPC ซึ่งไม่ผ่านการพิจารณาเทคนิค ก็ได้โต้แย้งกับคณะกรรมการภายในห้องประกาศผล อีกทั้งยังได้ทำการอุทธรณ์ด้วยปากเปล่าไป เพราะทุกรายเห็นว่าเกณฑ์การพิจารณาซองเทคนิคของคณะกรรมการนั้นมีความไม่ถูกต้อง เนื่องจากบางรายถูกตีตกด้วยอุปกรณ์ปลีกย่อยที่ไม่ได้มีผลต่อการส่งสัญญาณ หรือการแจ้งว่าอุปกรณ์ที่ระบุในซองเทคนิคไม่เข้าคุณสมบัติ ทั้งที่อุปกรณ์เหล่านั้นได้เคยผ่านการพิจารณาของบอร์ด อสมท และทุกรายได้นำเครื่องที่จะเสนอเข้าร่วมประมูลให้ อสมท ได้ใช้ในการทดสอบสัญญาณมาแล้วอย่างไม่มีปัญหา นอกจากนี้ยังมีบางรายที่ตั้งสเปคอุปกรณ์ไว้สูงกว่าที่ อสมท กำหนด โดยหวังว่าในอนาคตหากมีการขยายโครงข่าย ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ กลับถูกพิจารณาว่าไม่ตรงตามสเปกที่กำหนด
“ไม่เข้าใจว่าคณะกรรมการใช้เกณฑ์ใดในการพิจาณา เพราะบริษัทที่ไม่ผ่านเกณฑ์นั้นล้วนแล้วแต่มีชื่อเสียงในงานด้านนี้ ทั้ง Samart ที่คว่ำหวอดในวงการมาอย่างยาวนาน หรือ Loxley ที่มีผลงานจากการชนะประกวดราคาเครื่องส่งสัญญาณของ ททบ.5 ซึ่งเป็นแม่ข่ายที่รับผิดชอบถึง 2 MUX และจำนวนเครื่องมากกว่าของ อสมท ถึง 4 เท่าตัว หรือแม้แต่ IRPC ก็มีผลงานเป็นที่ยอมรับ และกลับเลือกบริษัทซึ่งมีข่าวว่าฝ่ายการเมืองส่งเข้ามารับงานเพียงบริษัทเดียว โดยหลังจาการโต้แย้งในห้องประชุมแล้ว ทั้ง Loxley, Samart และ IRPC ก็ได้ยื่นอุทธรณ์ผลการพิจารณาของคณะกรรมการเป็นลายลักษณ์อักษรต่อ อสมท ไปแล้ว จากนี้คาดว่าจะมีการปรึกษาทีมงานทางกฎหมาย ในการหาช่องทางยื่นเรื่องร้องต่อศาลปกครอง เพื่อให้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโครงการดังกล่าว เนื่องจากมีความไม่ชอบมาพากลอย่างสูง” แหล่งข่าวระบุ
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า จากผลการดำเนินโครงการของ อสมท นั้น ทำให้ในวงการทีวีดิจิตอลมีการวิพากษ์วิจารณ์กันในวงกว้างว่า มีการล็อกตัวผู้ชนะโครงการไว้ล่วงหน้าตามใบสั่งการเมือง อีกขั้นตอนการดำเนินการไม่โปร่งใส ทั้งการตั้งกรรมการที่เป็นพรรคพวกกับสายการเมือง เพื่อให้สามารถควบคุมการจัดซื้อได้อย่างเบ็ดเสร็จ นอกจากเอื้อประโยชน์ในเรื่องการล็อกสเปกให้ได้เปรียบคู่แข่งขันแล้ว ในส่วนของบทลงโทษค่าปรับการส่งงานล่าช้าที่จะต้องจ่ายให้ กสทช และบรรดาเอกชนที่จะมาใช้แม่ข่าย ก็ไม่ได้มีการระบุชัดเจนว่า มีอัตราเท่าใด
“ช่วงหลังๆ มีสื่อมวลชนติดตามนำเสนอข่าวอย่างต่อเนื่อง และ สตง.เองก็ทักท้วงมาทั้งเรื่องราคาที่สูงเกินจริง และขั้นตอนที่ปิดกั้นการแข่งขันที่เป็นธรรม ก็ไม่นึกเลยว่าทาง อสมท จะกล้าเดินหน้าโครงการแบบสุดซอยขนาดนี้ โดยไม่สนเสียงท้วงติงใด หรือปรับรายละเอียดโครงการให้มีความเหมาะสมขึ้นแม้แต่น้อย ทั้งยังลุกลี้ลุกลนสรุปการจัดซื้อ ทั้งๆ ที่ไม่มีการเปรียบเทียบราคา โดยรวบรัดอนุมัติอย่างเร่งรีบ ไม่ผ่านความเห็นชอบของบอร์ดด้วยซ้ำ ที่สำคัญราคาที่ อสมท จัดซื้อในงบประมาณ 440 ล้านบาท ถือว่าแพงกว่าความเป็นจริงมาก เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนเครื่องและราคาที่ที่ ททบ.5 และ TPBS จัดซื้อมาได้ ถือว่าเป็นการเสียผลประโยชน์ขององค์กรและภาษีของประชาชนอย่างชัดเจน เรื่องนี้ใครจะรับผิดชอบ” แหล่งข่าว กล่าว
รายงานข่าวแจ้งว่าวานนี้ (8 เม.ย.) ที่สำนักงานใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ได้มีการประกาศผลการประกวดในโครงการจัดหาเครื่องส่งสัญญาณทีวีดิจิตอลของ อสมท ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ของผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้บริการโครงข่ายทีวีดิจิตอลไปเป็นที่เรียบร้อย โดยมี 5 บริษัทเอกชนสนใจเข้ายื่นซองเทคนิคและเสนอราคา ได้แก่ 1. บริษัท กิจการค้าร่วม เทคทีวี จำกัด (TEQTV and Rohde&Schwarz) 2. บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) (Loxley) 3. บริษัท ยูซีไอ จำกัด (UCI) 4. บริษัท สามารถเทเลคอม จำกัด (มหาชน) (Samart) และ 5. บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล รีเสิร์ช คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (IRPC) หลังจากที่ทั้ง 5 รายได้ยื่นซองเทคนิคและเสนอราคาไปเมื่อช่วงต้นเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา
โดยในการประกาศผลเมื่อวันที่ 8 เม.ย. นั้นปรากฏว่า มีเพียง TEQTV เพียงรายเดียวเท่านั้นที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการของ อสมท และได้รับการพิจารณาในส่วนของราคา สำหรับบริษัทที่เหลือทั้ง 4 รายไม่ผ่านการพิจารณาในขั้นแรก 3 ราย คือ Loxley, Samart และ IRPC นั้นไม่ผ่านในส่วนของเทคนิค เกี่ยวกับอุปกรณ์ส่วนประกอบต่างๆ ขณะที่ UCI ไม่ผ่านในส่วนคุณสมบัติของผู้ยื่นประกวดราคา จึงไม่ได้รับการพิจารณาซองราคาแต่อย่างใด
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า แม้การพิจารณาจะเป็นไปตามข้อกำหนดของ อสมท ที่ระบุว่าจะเปิดซองราคาของผู้เสนอราคาที่ได้รับคะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 และจะพิจารณาผู้ที่มีคะแนนสูงที่สุดก่อน หากไม่ผ่านการพิจารณาด้านเทคนิคก็จะไม่ได้รับการพิจารณาในเรื่องของซองราคา แต่ก็ถือเป็นข้อกำหนดที่ถูกวิพากษวิจารณ์ก่อนหน้านี้ว่ามีความพยายามเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ประกอบการบางราย รวมทั้งยังเคยมีหนังสือท้วงติงจาก สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่ชี้ให้เห็นว่าข้อกำหนดบางประการของ อสมท เป็นการปิดกั้นการประกวดราคาอย่างไม่เป็นธรรม
แหล่งข่าวจากบริษัทที่เข้าร่วมยื่นซองเปิดเผยกับ ASTVผู้จัดการ ว่าในขั้นตอนการประกาศผลนั้น คณะกรรมการของ อสมท ได้เชิญผู้แทนบริษัทต่างๆ เข้ารับทราบผลการพิจารณาทีละบริษัท ก็ปรากฏว่ามีเพียง TEQTV เป็นเพียงรายเดียวที่ได้รับการพิจารณาราคา ขณะที่รายอื่นถูกตีตกด้วยเรื่องของเทคนิคไม่ถูกต้อง ซึ่งก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวในวงการทีวีดิจิตอลมาตลอดว่า TEQTV จะได้งานนี้ ผลที่ออกมาจึงเป็นไปตามที่คาดหมายกัน
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ทั้งนี้ผู้แทนของทั้ง Loxley, Samart และ IRPC ซึ่งไม่ผ่านการพิจารณาเทคนิค ก็ได้โต้แย้งกับคณะกรรมการภายในห้องประกาศผล อีกทั้งยังได้ทำการอุทธรณ์ด้วยปากเปล่าไป เพราะทุกรายเห็นว่าเกณฑ์การพิจารณาซองเทคนิคของคณะกรรมการนั้นมีความไม่ถูกต้อง เนื่องจากบางรายถูกตีตกด้วยอุปกรณ์ปลีกย่อยที่ไม่ได้มีผลต่อการส่งสัญญาณ หรือการแจ้งว่าอุปกรณ์ที่ระบุในซองเทคนิคไม่เข้าคุณสมบัติ ทั้งที่อุปกรณ์เหล่านั้นได้เคยผ่านการพิจารณาของบอร์ด อสมท และทุกรายได้นำเครื่องที่จะเสนอเข้าร่วมประมูลให้ อสมท ได้ใช้ในการทดสอบสัญญาณมาแล้วอย่างไม่มีปัญหา นอกจากนี้ยังมีบางรายที่ตั้งสเปคอุปกรณ์ไว้สูงกว่าที่ อสมท กำหนด โดยหวังว่าในอนาคตหากมีการขยายโครงข่าย ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ กลับถูกพิจารณาว่าไม่ตรงตามสเปกที่กำหนด
“ไม่เข้าใจว่าคณะกรรมการใช้เกณฑ์ใดในการพิจาณา เพราะบริษัทที่ไม่ผ่านเกณฑ์นั้นล้วนแล้วแต่มีชื่อเสียงในงานด้านนี้ ทั้ง Samart ที่คว่ำหวอดในวงการมาอย่างยาวนาน หรือ Loxley ที่มีผลงานจากการชนะประกวดราคาเครื่องส่งสัญญาณของ ททบ.5 ซึ่งเป็นแม่ข่ายที่รับผิดชอบถึง 2 MUX และจำนวนเครื่องมากกว่าของ อสมท ถึง 4 เท่าตัว หรือแม้แต่ IRPC ก็มีผลงานเป็นที่ยอมรับ และกลับเลือกบริษัทซึ่งมีข่าวว่าฝ่ายการเมืองส่งเข้ามารับงานเพียงบริษัทเดียว โดยหลังจาการโต้แย้งในห้องประชุมแล้ว ทั้ง Loxley, Samart และ IRPC ก็ได้ยื่นอุทธรณ์ผลการพิจารณาของคณะกรรมการเป็นลายลักษณ์อักษรต่อ อสมท ไปแล้ว จากนี้คาดว่าจะมีการปรึกษาทีมงานทางกฎหมาย ในการหาช่องทางยื่นเรื่องร้องต่อศาลปกครอง เพื่อให้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโครงการดังกล่าว เนื่องจากมีความไม่ชอบมาพากลอย่างสูง” แหล่งข่าวระบุ
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า จากผลการดำเนินโครงการของ อสมท นั้น ทำให้ในวงการทีวีดิจิตอลมีการวิพากษ์วิจารณ์กันในวงกว้างว่า มีการล็อกตัวผู้ชนะโครงการไว้ล่วงหน้าตามใบสั่งการเมือง อีกขั้นตอนการดำเนินการไม่โปร่งใส ทั้งการตั้งกรรมการที่เป็นพรรคพวกกับสายการเมือง เพื่อให้สามารถควบคุมการจัดซื้อได้อย่างเบ็ดเสร็จ นอกจากเอื้อประโยชน์ในเรื่องการล็อกสเปกให้ได้เปรียบคู่แข่งขันแล้ว ในส่วนของบทลงโทษค่าปรับการส่งงานล่าช้าที่จะต้องจ่ายให้ กสทช และบรรดาเอกชนที่จะมาใช้แม่ข่าย ก็ไม่ได้มีการระบุชัดเจนว่า มีอัตราเท่าใด
“ช่วงหลังๆ มีสื่อมวลชนติดตามนำเสนอข่าวอย่างต่อเนื่อง และ สตง.เองก็ทักท้วงมาทั้งเรื่องราคาที่สูงเกินจริง และขั้นตอนที่ปิดกั้นการแข่งขันที่เป็นธรรม ก็ไม่นึกเลยว่าทาง อสมท จะกล้าเดินหน้าโครงการแบบสุดซอยขนาดนี้ โดยไม่สนเสียงท้วงติงใด หรือปรับรายละเอียดโครงการให้มีความเหมาะสมขึ้นแม้แต่น้อย ทั้งยังลุกลี้ลุกลนสรุปการจัดซื้อ ทั้งๆ ที่ไม่มีการเปรียบเทียบราคา โดยรวบรัดอนุมัติอย่างเร่งรีบ ไม่ผ่านความเห็นชอบของบอร์ดด้วยซ้ำ ที่สำคัญราคาที่ อสมท จัดซื้อในงบประมาณ 440 ล้านบาท ถือว่าแพงกว่าความเป็นจริงมาก เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนเครื่องและราคาที่ที่ ททบ.5 และ TPBS จัดซื้อมาได้ ถือว่าเป็นการเสียผลประโยชน์ขององค์กรและภาษีของประชาชนอย่างชัดเจน เรื่องนี้ใครจะรับผิดชอบ” แหล่งข่าว กล่าว