“...จากการตรวจสอบเบื้องต้นโครงการเปลี่ยนผ่านรับบการส่งโทรทัศน์จากระบบอนาล็อคสู่ระบบดิจิทัล ปรากฎข้อมูลว่า กรมประชาสัมพันธ์จะดำเนินการจัดซื้ออุปกรณ์ในการส่งสัญญาณและเพื่อติดตั้งในสถานีเครือข่ายวิทยุโทรทัศน์ทั่วประเทศ ในเฟสแรก 18 สถานีหลัก จำนวน 33 เครื่อง ด้วยวิธีพิเศษ ตามงบประมาณประจำปี 2557 จำนวนเงิน 980,950,000 บาท ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเป็นการไม่เปิดโอกาสให้ผู้ประสงค์จะเสนอราคาได้มีโอกาสทราบถึงข้อมูลแบะรายละเอียดขอบเขตงาน รวมทั้งการกำหนดรายละเอียดคุณสมบัติเฉพาะของพัสดุ และไม่เปิดโอกาสให้มีการเข้าแข่งขันราคาอย่างเปิดเผย โปร่งใส และเป็นธรรม...” บางช่วงของเนื้อหาในหนังสือจาก สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ลงวันที่ 24 มกราคม 2557 ที่ส่งตรงถึง “นายกรัฐมนตรี” เพื่อให้ตรวจสอบโครงการของกรมประชาสัมพันธ์
ในบรรทัดถัดมา สตง.ยังชี้ให้เห็นด้วยว่า เป็นการกระทำที่เข้าข่ายตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542และในหนังสือฉบับเดียวกัน สตง.ยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า “...เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลการจัดหาของ ททบ.5 จำนวน 2 โครงข่าย 38 สถานี 114 เครื่องส่งโทรทัศน์ และ THAI PBS จำนวน 1 โครงข่าย 44 สถานี 88 เครื่องส่งโทรทัศน์ ซึ่งดำเนินการประมูลในวงเงินต่ำกว่าที่กรมประชาสัมพันธ์ดำเนินการ...”
นี่คือสาเหตุหลักที่การดำเนินการจัดหาเครื่องส่งสัญญาณดิจิตอลของ กรมประชาสัมพันธ์ ยังชะงักงันไม่คืบหน้าไปไหน
จากข้อมูลของแหล่งข่าวในวงการทีวีดิจิตอลระบุว่า ก่อนหน้านี้ภายหลังจากที่ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ได้รับสัมปทานจาก กสทช.ให้ร่วมเป็น “แม่ข่าย” ส่งสัญญาณทีวีดิจิตอล ตั้งช่วงปลายเดือน ก.ค.56 ที่ผ่านมา ก็ได้มีความพยายามผลักดันตั้งเรื่องจัดหาเครื่องส่งฯ แต่ก็มีการดึงเรื่องไปมาเพื่อให้ใกล้ถึงเวลาออกอากาศและใช้เป็น “ข้ออ้าง” ในการเข้าเงื่อนไขจัดซื้อวิธีพิเศษ
ซึ่งไม่ได้ผิดแผกไปจากกรณีของ อสมท ที่ร่ำลือว่ามี “ฝ่ายการเมือง” เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องหวังกอบโกยผลประโยชน์มหาศาล รวมไปถึงในส่วนของการร่างทีโออาร์ก็ยังล็อกสเปกทั้งคุณสมบัติผู้เข้าร่วมเสนอราคา และคุณสมบัติของอุปกรณ์เครื่องส่งฯ ที่แก้ไขจนพรุนกลายเป็นอุปกรณ์ที่ไม่มีคุณภาพไปในที่สุด
ที่พิสดารไปกว่าของ อสมท ก็คือในวงเงินงบประมาณ 980 ล้านบาทของกรมประชาสัมพันธ์นั้น นอกเหนือจากระบุว่า เพื่อการจัดหาอุปกรณ์เครื่องส่งฯเพื่อติดตั้งใน 18 สถานีหลัก จำนวน 33 เครื่อง ยังมีในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานต่างๆไว้ด้วย ทั้งเสา ระบบสาย ท่อ และอื่นๆ ที่สำคัญมีการบรรจุโครงการสร้าง “อาคารใหม่” เข้าในวงเงินดังกล่าวด้วย ซึ่งในส่วนของการก่อสร้างอาคารก็ยังมีการล็อคสเปกในรายละเอียดเล็กน้อยไว้อีกเช่นกัน
“ก่อนหน้านี้มีความพยายามของฝ่ายการเมืองอยากให้จบเรื่องนี้ก่อนวันเลือกตั้ง 2 ก.พ.ที่ผ่านมา แต่ก็ไม่สำเร็จ ยิ่งพอโดน สตง.เข้ามาตรวจ ตอนนี้เงียบไปเลย ปกติตอนนี้ต้องส่งทำประชาพิจารณ์แล้ว แต่ก็ยังไม่ขยับ ถึงกับมีข่าวอธิบดีไม่ยอมเซ็นต์ตัวประกาศทีโออาร์ ยิ่งมีเรื่องสร้างตึกใหม่เข้าไป ทำให้รายละเอียดสับสนไปหมด ไปๆมาๆคนได้งานอาจจะเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง แทนที่จะเป็นผู้ประกอบการในวงการไอทีหรือโทรคมนาคมด้วยซ้ำ” แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งบอกว่า สำหรับการจัดหาเครื่องส่งสัญญาณทีวีดิจิตอลของ อสมท และกรมประชาสัมพันธ์นั้นไม่แน่ชัดว่าจะเสร็จสิ้นเมื่ใด โดยทาง อสมท นั้นมีความพยายามในการประกาศทีโออาร์ให้ผู้สนใจเข้าเสนอราคา แต่ก็มีความไม่ชอบมาพากลอยู่ ทำให้ไม่รู้ว่าจะประกาศเมื่อใด ส่วนของกรมประชาสัมพันธ์ตอนนี้นิ่งไปเลย หลังจากที่ทาง สตง.ทำหนังสือถึงนายกฯ คากดว่าของกรมประชาสัมพันธ์น่าจะรอดูทิศทางลมทางการเมืองก่อนจึงจะมีข้อสรุปออกมา
“ในความเป็นจริงหากเริ่มกระบวนการ ก็ใช้เวลาไม่นาน เพราะตอนนี้ผู้ประการก็เตรียมความพร้อมอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าทั้งสองน่วยงานจะกล้าหรือไม่ เพราะมีคนทักท้วงถึงความผิดปกติค่อนข้างมาก ยิ่งพอสถานการณ์การเมืองไม่ปกติแบบนี้ ก็มีพวกมาแอบอ้างว่าได้ใบสั่งจากดูไบมารับงานนนี้ แต่ถามว่าใครเช็คได้บ้างว่าใบสั่งจริงหรือเปล่า” แหล่งข่าวระบุ
ตามที่กล่าวไปแล้วว่ามีข้อสงสัยว่า “ฝ่ายการเมือง” อาจเข้ามาแทรกแซง เพราะเห็นว่ามูลค่าของโครงการค่อนข้างสูง หากนับรวมโครงการที่ต้องขยายในอนาคตอีก มีการประเมินว่าอยู่ในระดับแสนล้านเลยทีเดียว ซึ่งก็ตรงกับรายงานข่าวที่มีการวิพากษ์วิจารณ์อยู่ในวงการไอทีและทีวีดิจิตอลระดับประเทศว่า ความล่าช้าของโครงการจัดหาเครื่องส่ง ทั้ง อสมท และกรมประชาสัมพันธ์นั้น มีนักการเมืองใหญ่คนหนึ่งเข้ามาคอยสั่งการอยู่
โดยที่ร่ำลือหนาหูที่สุดตอนนี้ก็เป็นนักการเมืองชื่อย่อ “ย.ย.” ซึ่งกว้างขวางในพื้นที่ภาคเหนือ และเคยมีข่าวว่าเป็นคนที่ “นายใหญ่” ไว้วางใจอย่างสูง
ทั้งหลายทั้งปวงก็สะท้อนให้เห็นถึงอนาคตวงการทีวีดิจิตอล ที่แม้จะมั่นใจว่าวันที่ 1 เมษายน 2557 นี้ จะมีการออกอากาศจริงและสามารถรับชมได้ในพื้นที่นำร่อง 4 จังหวัด แต่ประชาชนคนไทยก็เพลิดเพลินกับการเสพสาระบันเทิงผ่านทีวีดิจิตอลอย่างเดียวไม่ได้ ยังต้องคอยชำเลืองมองดูสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นต่างๆด้วย
“ดิจิตอลทีวี” เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่จะมาพลิกโฉมวงการสื่อสารมวลชนของประเทศ แต่ไม่ว่าจะใหม่แค่ไหน สุดท้ายก็อยู่ในวังวนเก่าๆ เป็นช่องทางแสวงหาผลประโยชน์ของ “ฝ่ายการเมือง” เหมือนเดิม
ในบรรทัดถัดมา สตง.ยังชี้ให้เห็นด้วยว่า เป็นการกระทำที่เข้าข่ายตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542และในหนังสือฉบับเดียวกัน สตง.ยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า “...เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลการจัดหาของ ททบ.5 จำนวน 2 โครงข่าย 38 สถานี 114 เครื่องส่งโทรทัศน์ และ THAI PBS จำนวน 1 โครงข่าย 44 สถานี 88 เครื่องส่งโทรทัศน์ ซึ่งดำเนินการประมูลในวงเงินต่ำกว่าที่กรมประชาสัมพันธ์ดำเนินการ...”
นี่คือสาเหตุหลักที่การดำเนินการจัดหาเครื่องส่งสัญญาณดิจิตอลของ กรมประชาสัมพันธ์ ยังชะงักงันไม่คืบหน้าไปไหน
จากข้อมูลของแหล่งข่าวในวงการทีวีดิจิตอลระบุว่า ก่อนหน้านี้ภายหลังจากที่ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ได้รับสัมปทานจาก กสทช.ให้ร่วมเป็น “แม่ข่าย” ส่งสัญญาณทีวีดิจิตอล ตั้งช่วงปลายเดือน ก.ค.56 ที่ผ่านมา ก็ได้มีความพยายามผลักดันตั้งเรื่องจัดหาเครื่องส่งฯ แต่ก็มีการดึงเรื่องไปมาเพื่อให้ใกล้ถึงเวลาออกอากาศและใช้เป็น “ข้ออ้าง” ในการเข้าเงื่อนไขจัดซื้อวิธีพิเศษ
ซึ่งไม่ได้ผิดแผกไปจากกรณีของ อสมท ที่ร่ำลือว่ามี “ฝ่ายการเมือง” เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องหวังกอบโกยผลประโยชน์มหาศาล รวมไปถึงในส่วนของการร่างทีโออาร์ก็ยังล็อกสเปกทั้งคุณสมบัติผู้เข้าร่วมเสนอราคา และคุณสมบัติของอุปกรณ์เครื่องส่งฯ ที่แก้ไขจนพรุนกลายเป็นอุปกรณ์ที่ไม่มีคุณภาพไปในที่สุด
ที่พิสดารไปกว่าของ อสมท ก็คือในวงเงินงบประมาณ 980 ล้านบาทของกรมประชาสัมพันธ์นั้น นอกเหนือจากระบุว่า เพื่อการจัดหาอุปกรณ์เครื่องส่งฯเพื่อติดตั้งใน 18 สถานีหลัก จำนวน 33 เครื่อง ยังมีในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานต่างๆไว้ด้วย ทั้งเสา ระบบสาย ท่อ และอื่นๆ ที่สำคัญมีการบรรจุโครงการสร้าง “อาคารใหม่” เข้าในวงเงินดังกล่าวด้วย ซึ่งในส่วนของการก่อสร้างอาคารก็ยังมีการล็อคสเปกในรายละเอียดเล็กน้อยไว้อีกเช่นกัน
“ก่อนหน้านี้มีความพยายามของฝ่ายการเมืองอยากให้จบเรื่องนี้ก่อนวันเลือกตั้ง 2 ก.พ.ที่ผ่านมา แต่ก็ไม่สำเร็จ ยิ่งพอโดน สตง.เข้ามาตรวจ ตอนนี้เงียบไปเลย ปกติตอนนี้ต้องส่งทำประชาพิจารณ์แล้ว แต่ก็ยังไม่ขยับ ถึงกับมีข่าวอธิบดีไม่ยอมเซ็นต์ตัวประกาศทีโออาร์ ยิ่งมีเรื่องสร้างตึกใหม่เข้าไป ทำให้รายละเอียดสับสนไปหมด ไปๆมาๆคนได้งานอาจจะเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง แทนที่จะเป็นผู้ประกอบการในวงการไอทีหรือโทรคมนาคมด้วยซ้ำ” แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งบอกว่า สำหรับการจัดหาเครื่องส่งสัญญาณทีวีดิจิตอลของ อสมท และกรมประชาสัมพันธ์นั้นไม่แน่ชัดว่าจะเสร็จสิ้นเมื่ใด โดยทาง อสมท นั้นมีความพยายามในการประกาศทีโออาร์ให้ผู้สนใจเข้าเสนอราคา แต่ก็มีความไม่ชอบมาพากลอยู่ ทำให้ไม่รู้ว่าจะประกาศเมื่อใด ส่วนของกรมประชาสัมพันธ์ตอนนี้นิ่งไปเลย หลังจากที่ทาง สตง.ทำหนังสือถึงนายกฯ คากดว่าของกรมประชาสัมพันธ์น่าจะรอดูทิศทางลมทางการเมืองก่อนจึงจะมีข้อสรุปออกมา
“ในความเป็นจริงหากเริ่มกระบวนการ ก็ใช้เวลาไม่นาน เพราะตอนนี้ผู้ประการก็เตรียมความพร้อมอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าทั้งสองน่วยงานจะกล้าหรือไม่ เพราะมีคนทักท้วงถึงความผิดปกติค่อนข้างมาก ยิ่งพอสถานการณ์การเมืองไม่ปกติแบบนี้ ก็มีพวกมาแอบอ้างว่าได้ใบสั่งจากดูไบมารับงานนนี้ แต่ถามว่าใครเช็คได้บ้างว่าใบสั่งจริงหรือเปล่า” แหล่งข่าวระบุ
ตามที่กล่าวไปแล้วว่ามีข้อสงสัยว่า “ฝ่ายการเมือง” อาจเข้ามาแทรกแซง เพราะเห็นว่ามูลค่าของโครงการค่อนข้างสูง หากนับรวมโครงการที่ต้องขยายในอนาคตอีก มีการประเมินว่าอยู่ในระดับแสนล้านเลยทีเดียว ซึ่งก็ตรงกับรายงานข่าวที่มีการวิพากษ์วิจารณ์อยู่ในวงการไอทีและทีวีดิจิตอลระดับประเทศว่า ความล่าช้าของโครงการจัดหาเครื่องส่ง ทั้ง อสมท และกรมประชาสัมพันธ์นั้น มีนักการเมืองใหญ่คนหนึ่งเข้ามาคอยสั่งการอยู่
โดยที่ร่ำลือหนาหูที่สุดตอนนี้ก็เป็นนักการเมืองชื่อย่อ “ย.ย.” ซึ่งกว้างขวางในพื้นที่ภาคเหนือ และเคยมีข่าวว่าเป็นคนที่ “นายใหญ่” ไว้วางใจอย่างสูง
ทั้งหลายทั้งปวงก็สะท้อนให้เห็นถึงอนาคตวงการทีวีดิจิตอล ที่แม้จะมั่นใจว่าวันที่ 1 เมษายน 2557 นี้ จะมีการออกอากาศจริงและสามารถรับชมได้ในพื้นที่นำร่อง 4 จังหวัด แต่ประชาชนคนไทยก็เพลิดเพลินกับการเสพสาระบันเทิงผ่านทีวีดิจิตอลอย่างเดียวไม่ได้ ยังต้องคอยชำเลืองมองดูสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นต่างๆด้วย
“ดิจิตอลทีวี” เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่จะมาพลิกโฉมวงการสื่อสารมวลชนของประเทศ แต่ไม่ว่าจะใหม่แค่ไหน สุดท้ายก็อยู่ในวังวนเก่าๆ เป็นช่องทางแสวงหาผลประโยชน์ของ “ฝ่ายการเมือง” เหมือนเดิม