ASTVผู้จัดการรายวัน-กทพ.แจงรถม๊อบฝ่าด่านขึ้นทางด่วนแล้วไม่จ่ายเงินช่วงม.ค.-มี.ค. รวมทุกประเภทมีกว่า 2หมื่นคัน สูญรายได้เกือบ 5 แสนบาท ระบุรถจักรยานยนต์ขึ้นทาวด่วนผิดกฎหมาย ยันต้องฟ้องดำเนินคดี เพราะมีประชาชนน้องเรียน ที่สำคัญ เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุสูง พร้อมแจงข้อมูลคลาดเคลื่อนเหตุแจ้งไว้ที่ ศรส.ซึ่งรับไว้เป็นคดีกรณีพิเศษไม่ใช้ใช่ดีเอสไอ
นายอัยยณัฐ ถินอภัย ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยถึงกรณีที่ กทพ.ดำเนินคดีกับขบวนรถของผู้ชุมนุมที่ขึ้นใช้ทางพิเศษโดยไม่ชำระค่าผ่านทางรวมถึงนำรถที่กฎหมายไม่อนุญาตให้ใช้ทางพิเศษขึ้นทางพิเศษหลายครั้ง ตั้งแต่ช่วง Shut Down Bangkokเดือนมกราคมจนถึงเดือนมีนาคม 2557
ว่า เมื่อมีขบวนรถผู้ชุมนุมขึ้นใช้ทางพิเศษโดยไม่ชำระค่าผ่านทางรวมถึงนำรถที่กฎหมายไม่อนุญาตให้ใช้ทางพิเศษ อาทิ รถจักรยานยนต์ขึ้นใช้ทางพิเศษนั้น กทพ.ต้องดำเนินการตามกฎหมาย และขั้นตอนระเบียบวิธีปฏิบัติ โดยได้มีการบันทึกภาพการฝ่าฝืนและกระทำผิดด้วยกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) และภาพนิ่งในมุมต่างๆ แล้วจึงรวบรวมหลักฐานทั้งหมดเพื่อแจ้งความดำเนินคดีแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่เกิดเหตุเพื่อให้ดำเนินการตามกฎหมายแก่ผู้กระทำความผิด
ทั้งนี้ กทพ.ได้รวบรวมจำนวนรถที่ขึ้นใช้ทางพิเศษโดยไม่จ่ายค่าผ่านทาง เริ่มตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม-31มีนาคม รวม 3 เดือน มีจักรยานยนต์ฝ่าด่านจำนวน 10,657 คัน รถยนต์ 4 ล้อจำนวน 11,343 คัน และมากกว่า 4 ล้อ จำนวน 1,046 คัน คิดเป็นค่าเสียหายรวมทั้งสิ้น 4.9 แสนบาท โดยในเดือนมกราคมมีรถฝ่าด่านเป็นจักรยานยนต์จำนวน 3,388 คัน รถยนต์ 4 ล้อจำนวน 672 คัน รถมากกว่า 4 ล้อจำนวน 77 คันคิดเป็นค่าเสียหาย 20,000 บาท
เดือน กุมภาพันธ์มีรถจักรยานยนต์ฝ่าด่านจำนวน 4,605 คัน รถยนต์ 4 ล้อ จำนวน 6,980 คัน รถมากกว่า 4 ล้อ จำนวน 437 คัน คิดเป็นค่าเสียหาย 280,000 บาท เดือนมีนาคม มีรถจักรยานยนต์ฝ่าด่านจำนวน 2,664 คัน รถยนต์ 4 ล้อจำนวน 3,691 คัน รถมากกว่า 4 ล้อจำนวน 532 คัน 170,000 บาท
โดยการกระทำดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนไม่ชำระค่าผ่านทางพิเศษและการนำรถจักรยานยนต์รวมถึงรถประเภทต้องห้ามมิให้ใช้ในทางพิเศษมาใช้บนทางพิเศษ เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการจราจรในทางพิเศษ พ.ศ.2555 ข้อ 4 และมีบทลงโทษตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 154 ซึ่งกำหนดโทษปรับไว้ไม่เกิน 1,000 บาท พระราชบัญญัติ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย มาตรา 31, 40, 62 และ 63 ที่กำหนดโทษจำคุกไว้ไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 139 ซึ่งกำหนดโทษจำคุก ไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 8,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ การกระทำดังกล่าวนอกจากเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับและกฎหมายแล้วยังอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้บริการทางพิเศษ
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมา กทพ. ได้ไปแจ้งความดำเนินคดีกับทางศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) ซึ่งทาง ศรส.ได้รับเรื่องดังกล่าวไว้เป็นคดีกรณีพิเศษเป็นที่เรียบร้อยแล้วเช่นกัน โดยได้ขอชี้แจงข้อมูลก่อนหน้านี้ที่ระบุว่า กทพ.ได้ยื่นฟ้องต่อดีเอสไอไปเป็นความคลาดเคลื่อนในการสื่อสาร จึงขออภัยมา ณ ที่นี้ อย่างไรก็ตามในเรื่องนี้กทพ.จำเป็นต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย เพราะมีประชาชนผู้ใช้ทางด่วนร้องเรียนกรณีที่มีขบวนรถขึ้นใช้ทางด่วน ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตราย อีกทั้งยังเป็นการฝ่าด่านไม่จ่ายค่าผ่านทาง แต่ประชาชนทั่วไปที่ขึ้นใช้ทางด่วนและจ่ายค่าผ่านทางได้รับผลกระทบ หากไม่ดำเนินการใดๆ กทพ.อาจถูกฟ้องร้องว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ อีกทั้งเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาจจะต้องรับผิดชอบจ่ายค่าผ่านทางดังกล่าวแทน ซึ่งเป็นเงินจำนวนมากและไม่ควรปล่อยให้เจ้าหน้าที่ต้องมารับผิดชอบ ทั้งนี้ไม่ได้ห้ามกลุ่มผู้ชุมนุมใช้ทางด่วน แต่ถ้าขึ้นใช้ก็ต้องจ่ายค่าผ่านทางตามปกติ
นายอัยยณัฐ ถินอภัย ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยถึงกรณีที่ กทพ.ดำเนินคดีกับขบวนรถของผู้ชุมนุมที่ขึ้นใช้ทางพิเศษโดยไม่ชำระค่าผ่านทางรวมถึงนำรถที่กฎหมายไม่อนุญาตให้ใช้ทางพิเศษขึ้นทางพิเศษหลายครั้ง ตั้งแต่ช่วง Shut Down Bangkokเดือนมกราคมจนถึงเดือนมีนาคม 2557
ว่า เมื่อมีขบวนรถผู้ชุมนุมขึ้นใช้ทางพิเศษโดยไม่ชำระค่าผ่านทางรวมถึงนำรถที่กฎหมายไม่อนุญาตให้ใช้ทางพิเศษ อาทิ รถจักรยานยนต์ขึ้นใช้ทางพิเศษนั้น กทพ.ต้องดำเนินการตามกฎหมาย และขั้นตอนระเบียบวิธีปฏิบัติ โดยได้มีการบันทึกภาพการฝ่าฝืนและกระทำผิดด้วยกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) และภาพนิ่งในมุมต่างๆ แล้วจึงรวบรวมหลักฐานทั้งหมดเพื่อแจ้งความดำเนินคดีแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่เกิดเหตุเพื่อให้ดำเนินการตามกฎหมายแก่ผู้กระทำความผิด
ทั้งนี้ กทพ.ได้รวบรวมจำนวนรถที่ขึ้นใช้ทางพิเศษโดยไม่จ่ายค่าผ่านทาง เริ่มตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม-31มีนาคม รวม 3 เดือน มีจักรยานยนต์ฝ่าด่านจำนวน 10,657 คัน รถยนต์ 4 ล้อจำนวน 11,343 คัน และมากกว่า 4 ล้อ จำนวน 1,046 คัน คิดเป็นค่าเสียหายรวมทั้งสิ้น 4.9 แสนบาท โดยในเดือนมกราคมมีรถฝ่าด่านเป็นจักรยานยนต์จำนวน 3,388 คัน รถยนต์ 4 ล้อจำนวน 672 คัน รถมากกว่า 4 ล้อจำนวน 77 คันคิดเป็นค่าเสียหาย 20,000 บาท
เดือน กุมภาพันธ์มีรถจักรยานยนต์ฝ่าด่านจำนวน 4,605 คัน รถยนต์ 4 ล้อ จำนวน 6,980 คัน รถมากกว่า 4 ล้อ จำนวน 437 คัน คิดเป็นค่าเสียหาย 280,000 บาท เดือนมีนาคม มีรถจักรยานยนต์ฝ่าด่านจำนวน 2,664 คัน รถยนต์ 4 ล้อจำนวน 3,691 คัน รถมากกว่า 4 ล้อจำนวน 532 คัน 170,000 บาท
โดยการกระทำดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนไม่ชำระค่าผ่านทางพิเศษและการนำรถจักรยานยนต์รวมถึงรถประเภทต้องห้ามมิให้ใช้ในทางพิเศษมาใช้บนทางพิเศษ เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการจราจรในทางพิเศษ พ.ศ.2555 ข้อ 4 และมีบทลงโทษตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 154 ซึ่งกำหนดโทษปรับไว้ไม่เกิน 1,000 บาท พระราชบัญญัติ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย มาตรา 31, 40, 62 และ 63 ที่กำหนดโทษจำคุกไว้ไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 139 ซึ่งกำหนดโทษจำคุก ไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 8,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ การกระทำดังกล่าวนอกจากเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับและกฎหมายแล้วยังอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้บริการทางพิเศษ
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมา กทพ. ได้ไปแจ้งความดำเนินคดีกับทางศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) ซึ่งทาง ศรส.ได้รับเรื่องดังกล่าวไว้เป็นคดีกรณีพิเศษเป็นที่เรียบร้อยแล้วเช่นกัน โดยได้ขอชี้แจงข้อมูลก่อนหน้านี้ที่ระบุว่า กทพ.ได้ยื่นฟ้องต่อดีเอสไอไปเป็นความคลาดเคลื่อนในการสื่อสาร จึงขออภัยมา ณ ที่นี้ อย่างไรก็ตามในเรื่องนี้กทพ.จำเป็นต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย เพราะมีประชาชนผู้ใช้ทางด่วนร้องเรียนกรณีที่มีขบวนรถขึ้นใช้ทางด่วน ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตราย อีกทั้งยังเป็นการฝ่าด่านไม่จ่ายค่าผ่านทาง แต่ประชาชนทั่วไปที่ขึ้นใช้ทางด่วนและจ่ายค่าผ่านทางได้รับผลกระทบ หากไม่ดำเนินการใดๆ กทพ.อาจถูกฟ้องร้องว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ อีกทั้งเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาจจะต้องรับผิดชอบจ่ายค่าผ่านทางดังกล่าวแทน ซึ่งเป็นเงินจำนวนมากและไม่ควรปล่อยให้เจ้าหน้าที่ต้องมารับผิดชอบ ทั้งนี้ไม่ได้ห้ามกลุ่มผู้ชุมนุมใช้ทางด่วน แต่ถ้าขึ้นใช้ก็ต้องจ่ายค่าผ่านทางตามปกติ