นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวันนี้ (2ก.พ.) ที่ประชุมจะมีการพิจารณา ว่า จะรับหรือไม่รับ คำร้องที่ประธานวุฒิสภา ส่งความเห็นของสมาชิกวุฒิสภา ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 ว่า สถานภาพของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม จะสิ้นสุดลงตาม มาตรา 180 ,182 (7) ,268 และ 266 (2) (3) หรือไม่ เนื่องจากเข้าไปก้าวก่าย แทรกแซง เพื่อประโยชน์ตัวเองและผู้อื่นในการแต่งตั้งโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ภายหลังที่ศาลปกครองมีคำพิพากษาให้คืนตำแหน่งแก่นายถวิล
ส่วนกรณีมีกระแสข่าวว่า หากศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้อง ก็จะมีการพิจารณา และมีคำวินิจฉัยในวันเดียวกันนั้น ตามปกติแล้วศาลจะไม่เคยรับคำร้องใดๆ มาแล้วมีคำวินิจฉัยในทันที อย่างเร็วที่สุดก็ต้องประมาณ 4-5 วัน นับแต่วันที่รับคำร้อง และการจะรับหรือไม่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของตุลาการ อีกทั้งศาลรัฐธรรมนูญ ยังมีวาระประชุมว่า จะรับหรือไม่รับคำร้องที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) ส่งเรื่องให้ศาล รัฐธรรมนูญพิจารณา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 เพื่อขอให้มีคำสั่งให้กลุ่ม กปปส. ยุติการชุมนุม เนื่องจากเห็นว่า ไม่ได้เป็นการใช้สิทธิชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 แต่เป็นการกระทำเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย และกระทำการ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งไม่บัญญิติไว้ในรัฐธรรมนูญเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 68 โดยคำร้องไม่ได้มีการขอให้มีการยุบพรรคการเมืองใด
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ร่วมกับส.ว.อีก 28 คน เข้าชื่อต่อประธานวุฒิสภา ส่งคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อขอให้วินิจฉัยให้ความเป็นนายกรัฐมนตรีของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สิ้นสุดลง จากกรณีการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี ว่า ต้องถามว่า เขาไปร้องเรื่องอะไร แต่ปกติเรื่องไปถึงศาลรัฐธรรมนูญ ต้องเป็นเรื่องที่ห้ามนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี เข้าไปแทรกแซง แต่ทั้งนี้ต้องดูด้วยว่า การแต่งตั้ง
โยกย้ายเป็นอำนาจของใคร ยกตัวอย่างการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับปลัดกระทรวงการคลัง เป็นอำนาจของ รมว.คลัง จะไปบอกว่าแทรกแซงไม่ได้ ทั้งนี้การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับสูง เรื่องต้องเข้ามาที่ครม. ดังนั้น ครม.จึงไม่ได้แทรกแซงอะไร ถือเป็นเรื่องปกติ เป็นหน้าที่ตามกฎหมายในการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้าย ส่วนการโยกย้ายจะชอบ หรือไม่ชอบ เป็นเหตุผลอีกเรื่องหนึ่ง หากแต่งตั้งโยกย้ายโดยไม่มีเหตุผล ก็เป็นเรื่องของศาลปกครองที่จะเพิกถอนคำสั่ง แต่จะ บอกว่าไปแทรกแซงนั้น ไม่เกี่ยวกัน
"เรื่องของนายถวิล ถือว่าจบแล้ว เมื่อศาลปกครองมีคำสั่งมา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็เสนอวิธีการดำเนินการต่อไปมายังครม. และครม.ก็มีมติตามนั้น" นายพงศ์เทพ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่าหากศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่อง จะส่งผลอะไรหรือไม่ นายพงศ์เทพ กล่าวว่า ตนไม่ทราบว่าจะรับเรื่องในประเด็นไหน เพราะการแต่งตั้ง โยกย้ายเกิดขึ้นในปี 2554 ส่วนที่เราพิจารณา ในปี 2557 เป็นเพราะศาลปกครองมีคำสั่งมา
เมื่อถามว่า จริงๆ แล้วเรื่องนี้ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับวินิจฉัย ใช่หรือไม่ นายพงศ์เทพ กล่าวว่า ตนไม่ทราบว่าผู้ร้องร้องประเด็นอะไร แต่ในส่วนที่พิจารณาไปล่าสุดนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับการแทรกแซงแน่นอน
ส่วนกรณีมีกระแสข่าวว่า หากศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้อง ก็จะมีการพิจารณา และมีคำวินิจฉัยในวันเดียวกันนั้น ตามปกติแล้วศาลจะไม่เคยรับคำร้องใดๆ มาแล้วมีคำวินิจฉัยในทันที อย่างเร็วที่สุดก็ต้องประมาณ 4-5 วัน นับแต่วันที่รับคำร้อง และการจะรับหรือไม่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของตุลาการ อีกทั้งศาลรัฐธรรมนูญ ยังมีวาระประชุมว่า จะรับหรือไม่รับคำร้องที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) ส่งเรื่องให้ศาล รัฐธรรมนูญพิจารณา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 เพื่อขอให้มีคำสั่งให้กลุ่ม กปปส. ยุติการชุมนุม เนื่องจากเห็นว่า ไม่ได้เป็นการใช้สิทธิชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 แต่เป็นการกระทำเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย และกระทำการ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งไม่บัญญิติไว้ในรัฐธรรมนูญเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 68 โดยคำร้องไม่ได้มีการขอให้มีการยุบพรรคการเมืองใด
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ร่วมกับส.ว.อีก 28 คน เข้าชื่อต่อประธานวุฒิสภา ส่งคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อขอให้วินิจฉัยให้ความเป็นนายกรัฐมนตรีของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สิ้นสุดลง จากกรณีการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี ว่า ต้องถามว่า เขาไปร้องเรื่องอะไร แต่ปกติเรื่องไปถึงศาลรัฐธรรมนูญ ต้องเป็นเรื่องที่ห้ามนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี เข้าไปแทรกแซง แต่ทั้งนี้ต้องดูด้วยว่า การแต่งตั้ง
โยกย้ายเป็นอำนาจของใคร ยกตัวอย่างการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับปลัดกระทรวงการคลัง เป็นอำนาจของ รมว.คลัง จะไปบอกว่าแทรกแซงไม่ได้ ทั้งนี้การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับสูง เรื่องต้องเข้ามาที่ครม. ดังนั้น ครม.จึงไม่ได้แทรกแซงอะไร ถือเป็นเรื่องปกติ เป็นหน้าที่ตามกฎหมายในการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้าย ส่วนการโยกย้ายจะชอบ หรือไม่ชอบ เป็นเหตุผลอีกเรื่องหนึ่ง หากแต่งตั้งโยกย้ายโดยไม่มีเหตุผล ก็เป็นเรื่องของศาลปกครองที่จะเพิกถอนคำสั่ง แต่จะ บอกว่าไปแทรกแซงนั้น ไม่เกี่ยวกัน
"เรื่องของนายถวิล ถือว่าจบแล้ว เมื่อศาลปกครองมีคำสั่งมา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็เสนอวิธีการดำเนินการต่อไปมายังครม. และครม.ก็มีมติตามนั้น" นายพงศ์เทพ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่าหากศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่อง จะส่งผลอะไรหรือไม่ นายพงศ์เทพ กล่าวว่า ตนไม่ทราบว่าจะรับเรื่องในประเด็นไหน เพราะการแต่งตั้ง โยกย้ายเกิดขึ้นในปี 2554 ส่วนที่เราพิจารณา ในปี 2557 เป็นเพราะศาลปกครองมีคำสั่งมา
เมื่อถามว่า จริงๆ แล้วเรื่องนี้ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับวินิจฉัย ใช่หรือไม่ นายพงศ์เทพ กล่าวว่า ตนไม่ทราบว่าผู้ร้องร้องประเด็นอะไร แต่ในส่วนที่พิจารณาไปล่าสุดนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับการแทรกแซงแน่นอน