วานนี้ (26มี.ค.) นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงศ์ หัวหน้าคณะโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ศาลรัฐธรรมนูญ ยังไม่มีการพิจารณาว่า จะรับหรือไม่คำร้อง ที่ประธานวุฒิสภา ส่งความเห็นของสมาชิกวุฒิสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 (7) หรือไม่ จากกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ กระทำการอันต้องห้าม ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 268 หลังศาลปกครองสูงสุดมีคำวินิจฉัยให้คืนตำแหน่ง เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) แก่ นายถวิล เปลี่ยนศรี เนื่องจากคณะตุลาการงดการประชุมในสัปดาห์นี้
อย่างไรก็ตาม คำร้องดังกล่าวประธานวุฒิสภาได้ส่งมาถึงสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 19 มี.ค.ที่ผ่านมา ดังนั้น คาดว่าในการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญสัปดาห์หน้า ( 2 เม.ย.) คงจะได้มีการพิจารณา รวมถึงอาจมีการพิจารณาว่า จะรับหรือไม่รับคำร้องที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 สั่งให้ กลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศ ไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ยุติการชุมชุม เนื่องจากเห็นว่า ไม่ได้เป็นการใช้สิทธิชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 แต่เป็นการกระทำเพื่อล้มล้างการปกครอง และกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งไม่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ด้วย
ทั้งนี้ นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา กล่าวถึงกรณี ที่ส.ว.เข้าชื่อกันยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาสถานภาพ ครม.ยิ่งลักษณ์ จากกรณ๊โยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี จากตำแหน่งเลขาฯสมช.โดยมิชอบว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 266 ระบุว่า " สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร .. ต้องไม่ใช้สถานะหรือตำแหน่งการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร .. เข้าไปก้าวก่ายหรือ แทรกแซงเพื่อผลประโยชน์ของตนเองของผู้อื่น .. ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ในเรื่องต่อไปนี้
..(2) การบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย โอน เลื่อนตำแหน่ง และเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ...."
และ มาตรา 268 ระบุว่า "นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีจะกระทำการใดที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 266 มิได้ เว้นแต่เป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการตามนโยบายที่ได้แถลงต่อรัฐสภา หรือตามที่กฎหมายบัญญัติ "
ซึ่งกรณีการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี จาก เลขาฯสมช.ไปเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมืองนั้น ศาลปกครองได้ตัดสินแล้ว ว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ เพราะเป็นการดำเนินการเพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์ ในการเลื่อนตำแหน่งให้แก่ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ซึ่งเป็นญาติของนายกฯยิ่งลักษณ์
หากศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณษแล้วเห็นพ้องกับศาลปกครอง ก็จะถือว่าเข้าข่าย มาตรา 268
นอกจากนี้ มาตรา 182 ที่ระบุถึง ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว เมื่อ ... (7) กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา 267 มาตรา 268 หรือมาตรา 269 "
ดังนั้นหากศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดว่า การโยกย้ายนายถวิล เข้าข่ายเป็นการกระทำอันต้องห้าม ตามมาตรา 268 นายกฯยิ่งลักษณ์จะพ้นตำแหน่งไปตาม มาตรา 182 (7) ทันที โดยไม่ต้องมีกระบวนการถอดถอนแต่อย่างใดอีกแล้ว และเมื่อความเป็นนายกรัฐมนตรีของน.ส.ยิ่งลักษณ์ สิ้นสุดลง คณะรัฐมนตรี ก็จะพ้นตำแหน่งไปทั้งหมด ตามมาตรา 180 ที่ระบุว่า "รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (1) ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลง ตามมาตรา 182 ซึ่งก็จะต้องมีการแต่ตั้งนายกฯ และคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ทันที แต่การแต่งตั้งดังกล่าวจะมีปัญหาตามมา เพราะ มาตรา 171 กำหนดไว้ว่า " .. นายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร.." ซึ่งขณะนี้ ไม่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แม้แต่คนเดียว จึงคิดว่าจะไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากการตั้งนายกรัฐมนตรี โดยอาศัย มาตรา 7
อย่างไรก็ตาม คำร้องดังกล่าวประธานวุฒิสภาได้ส่งมาถึงสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 19 มี.ค.ที่ผ่านมา ดังนั้น คาดว่าในการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญสัปดาห์หน้า ( 2 เม.ย.) คงจะได้มีการพิจารณา รวมถึงอาจมีการพิจารณาว่า จะรับหรือไม่รับคำร้องที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 สั่งให้ กลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศ ไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ยุติการชุมชุม เนื่องจากเห็นว่า ไม่ได้เป็นการใช้สิทธิชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 แต่เป็นการกระทำเพื่อล้มล้างการปกครอง และกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งไม่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ด้วย
ทั้งนี้ นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา กล่าวถึงกรณี ที่ส.ว.เข้าชื่อกันยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาสถานภาพ ครม.ยิ่งลักษณ์ จากกรณ๊โยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี จากตำแหน่งเลขาฯสมช.โดยมิชอบว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 266 ระบุว่า " สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร .. ต้องไม่ใช้สถานะหรือตำแหน่งการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร .. เข้าไปก้าวก่ายหรือ แทรกแซงเพื่อผลประโยชน์ของตนเองของผู้อื่น .. ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ในเรื่องต่อไปนี้
..(2) การบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย โอน เลื่อนตำแหน่ง และเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ...."
และ มาตรา 268 ระบุว่า "นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีจะกระทำการใดที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 266 มิได้ เว้นแต่เป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการตามนโยบายที่ได้แถลงต่อรัฐสภา หรือตามที่กฎหมายบัญญัติ "
ซึ่งกรณีการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี จาก เลขาฯสมช.ไปเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมืองนั้น ศาลปกครองได้ตัดสินแล้ว ว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ เพราะเป็นการดำเนินการเพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์ ในการเลื่อนตำแหน่งให้แก่ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ซึ่งเป็นญาติของนายกฯยิ่งลักษณ์
หากศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณษแล้วเห็นพ้องกับศาลปกครอง ก็จะถือว่าเข้าข่าย มาตรา 268
นอกจากนี้ มาตรา 182 ที่ระบุถึง ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว เมื่อ ... (7) กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา 267 มาตรา 268 หรือมาตรา 269 "
ดังนั้นหากศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดว่า การโยกย้ายนายถวิล เข้าข่ายเป็นการกระทำอันต้องห้าม ตามมาตรา 268 นายกฯยิ่งลักษณ์จะพ้นตำแหน่งไปตาม มาตรา 182 (7) ทันที โดยไม่ต้องมีกระบวนการถอดถอนแต่อย่างใดอีกแล้ว และเมื่อความเป็นนายกรัฐมนตรีของน.ส.ยิ่งลักษณ์ สิ้นสุดลง คณะรัฐมนตรี ก็จะพ้นตำแหน่งไปทั้งหมด ตามมาตรา 180 ที่ระบุว่า "รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (1) ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลง ตามมาตรา 182 ซึ่งก็จะต้องมีการแต่ตั้งนายกฯ และคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ทันที แต่การแต่งตั้งดังกล่าวจะมีปัญหาตามมา เพราะ มาตรา 171 กำหนดไว้ว่า " .. นายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร.." ซึ่งขณะนี้ ไม่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แม้แต่คนเดียว จึงคิดว่าจะไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากการตั้งนายกรัฐมนตรี โดยอาศัย มาตรา 7