วานนี้ ( 27 มี.ค.) คณะกรรมการการเลือกตั้ง( กกต.) ได้มีการประชุมครบ 5 คน หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า การเลือกตั้ง 2 ก.พ.ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หลังจากที่ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ด้านบริหารงานเลือกตั้งเดินทางกลับจากการดูงานการเลือกตั้งส.ว.นอกราชอาณาจักร ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และอิตาลี อย่างไรก็ตาม ขณะที่ กกต.กำลังมีการประชุม กลุ่มเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) นำโดย นายนิติธร ล้ำเหลือ ที่ปรึกษา คปท. และ และนายอุทัย ยอดมณี ผู้ประสานงาน คปท. ได้เคลื่อนมวลชนมายังสำนักงาน กกต. เพื่อยื่นข้อเสนอแนวทางการปฏิรูปประเทศว่าด้วยเรื่องการปฏิรูประบบการเลือกตั้ง โดยทางแกนนำต้องการยื่นหนังสือต่อ กกต. แต่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยไม่อนุญาตให้ผู้ชุมนุมเข้ามาในตัวอาคาร ทำให้ผู้ชุมนุมไม่พอใจ
จากนั้น นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. ก็ลงมารับหนังสือด้วยตนเอง โดยนายนิติธร กล่าวว่า เนื่องจากเห็นว่าที่ผ่านมาการเลือกตั้งเป็นเพียงฉากหนึ่งที่ทำให้เสมือนว่าประเทศมีประชาธิปไตย แต่จริงๆ ไม่ใช่ ดังนั้นจึงเห็นว่าจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปฏิรูปเสียก่อน
การที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจว่า การเลือกตั้ง 2 เม.ย.ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ กกต.ต้องคิดว่า การจะจัดให้มีการเลือกตั้งโดยที่ยังไม่มีการปฏิรูปนั้น จะสามารถทำให้ได้การเลือกตั้งที่ สุจริต เที่ยงธรรม และเท่าเทียมหรือไม่ ถ้าคิดว่าไม่สามารถให้เกิด 3 หลักสำคัญนี้ได้ แล้วก็ควรต้องยุติความคิดจัดการเลือกตั้ง เพราะถ้ายังเดินหน้าต่อก็จะเท่ากับกกต. ทำลายการปกครองของประเทศนี้
“กกต.ต้องกล้าที่จะยืนยันว่า สถานการณ์ขณะนี้เป็นเผด็จการ เป็นทรราชย์ยิ่งลักษณ์ ไม่เอื้ออำนวยต่อการจัดการเลือกตั้ง จึงต้องยุติการจัดการเลือกตั้ง แล้วปฏิรูปบ้านเมืองให้เสร็จเสียก่อน แต่ถ้าปฏิรูปเสร็จสิ้นแล้ว กกต.ยังไม่สามารถจัดเลือกตั้งให้สุจริต เที่ยงธรรม เท่าเทียม กกต.ก็ต้องพิจารณาตัวเองลาออก” นายนิติธร กล่าว และว่า หาก กกต.จะเดินหน้าจัดการเลือกตั้งโดยไม่รอการปฏิรูปบ้านเมืองเสียก่อน ก็จะเดินทางมากดดัน กกต.อีกครั้ง ในวันที่กกต.เชิญ ประชุมพรรคการเมือง เพื่อกำหนดวันเลือกตั้งที่เหมาะสม
นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. แถลงภายหลังการประชุม กกต.ว่า เมื่อเวลา 15.00 น. สำนักงานกกต.ได้รับคำวินิจฉัยกลางอย่างเป็นทางการของศาลรัฐธรรมนูญ ที่วินิจฉัยให้ว่าการเลือกตั้ง 2 ก.พ.ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแล้ว มีจำนวน 22 หน้า โดยได้สำเนาให้กับกกต.ทั้ง 5 คน ได้นำไปศึกษา และฝ่ายกฎหมายของสำนักงานฯ ก็จะนำคำวินิจฉัยไปพิจารณาว่าผลของคำวินิจฉัยทำให้ส่วนใดเสียไปบ้าง และ กกต.จะต้องทำอย่างไรต่อไป คาดว่า ในสัปดาห์จะมีความชัดเจนในแนวทางการปฏิบัติ และจะนำเข้าที่ประชุม กกต.พิจารณา ต่อไป
ส่วนกรณีที่พรรคการเมืองนัดหารือในวันที่ 28 มี.ค. เพื่อเสนอวันเลือกตั้งที่เหมาะสมนั้น ก็ถือเป็นสิทธิของพรรคการเมืองที่ทำได้ แต่ในที่ประชุมยังไมได้มีการพูดคุยถึงเรื่องนี้ คงต้องรอดูรายละเอียดคำวินิจฉัยกลางให้เสร็จสิ้นก่อน
** เตือนโพสต์เฟซบุ๊กระวังทำผิดกม.เลือกตั้ง
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว กรณี นายสมคิด เชื้อคง อดีตผู้สมัคร ส.ส.อุบลราชธานี ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ที่ใช้ชื่อว่า “ส.ส.สมคิด อุบล”จะล่ารายชื่อถอนถอน นายสมชัย กรณีที่ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า “ทำงานใหญ่ต้องเอียง” เขาไม่สมควรเป็นกกต. ว่า ตอนนี้นายสมคิด เป็นส.ส.ด้วยหรือ ขณะนี้มีการยุบสภา ยังไม่มีเลือกตั้ง เป็นการโฆษณาเกินจริงให้เกิดประโยชน์ต่อการเลือกตั้ง หรือไม่ หากมีพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ให้รีบเอาคำว่า ส.ส. ออกจากหน้าเฟซบุ๊กด้วย หากมีคนร้อง จะโดนใบแดงไม่รู้ตัว
**ส.ส.หญิงพท. บี้"มาร์ค"ลงเลือกตั้ง
เมื่อเวลา 11.00 น. วานนี้ คณะนักการเมืองหญิงพรรคเพื่อไทย ประมาณ 10 คน นำโดย นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ ผู้สมัคร ส.ส.พะเยา พรรคเพื่อไทย เข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ นายจุติ ไกรกฤษ์ เลขาธิการพรรค โดยนางลดาวัลลิ์ ได้อ่านจดหมายเปิดผนึกตอนหนึ่งว่า จากการที่รัฐบาลคืนอำนาจให้ประชาชน จัดเลือกตั้งใหม่ แต่ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ เนื่องจากมีกลุ่มการเมืองที่มีอดีตผู้บริหารพรรคประชาธิปัตย์ เป็นแกนนำ นำมวลชนก่อกวนการเลือกตั้งจนการเลือกตั้งหลายจังหวัดมีปัญหา และมีการยื่นเรื่องศาลรัฐธรรมนูญ จนวินิจฉัยว่าการเลือกตั้งเป็นโมฆะ ขณะที่การเลือกตั้งดังกล่าวพรรคประชาธิปัตย์ ปฏิเสธส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง จากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญอาจนำไปสู่การเลือกตั้งใหม่ พรรคประชาธิปัตย์สามารถตัดสินใจใหม่ได้ในการร่วมรักษาประชาธิปไตย
ทั้งนี้มีคำถามถึงนายอภิสิทธิ์ ในฐานะที่พรรคประชาธิปัตย์ มีนโยบายสนับสนุนประชาธิปไตย ดังนี้
1. นายอภิสิทธิ์ ได้ทำประวัติศาสตร์ เป็นหัวหน้าพรรคที่นำพรรคบอยคอตเลือกตั้ง จำนวน 2 ครั้ง และครั้งต่อไปจะสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ที่เป็นพรรคการเมืองเดียวที่บอยคอต เลือกตั้ง 3 ครั้งหรือไม่
2. พรรคประชาธิปัตย์ จะยอมรับผลเลือกตั้งจากเสียงประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย ที่ท่านยึดหลักมากกว่า 70 ปีหรือไม่
3.หากพรรคประชาธิปัตย์ปฏิเสธเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคจะมีอุดมการณ์อย่างไรต่อไป ในระบอบประชาธิปไตย
4.หากพรรคประชาธิปัตย์ยืนยันว่า จะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งอีก จะอ้างความไม่เกี่ยวข้องกันและทำการขัดขวางก่อกวน ทำให้การเลือกตั้งมีปัญหาหรือไม่
อย่างไรก็ตาม นายจุฤทธิ์ ลักษณวิศิษฎ์ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้รับหนังสือแทน ซึ่งนายจุฤทธิ์ กล่าวว่า จะนำจดหมายดังกล่าวไปมอบให้นายอภิสิทธิ์ ต่อไป
**ปชป.ไม่ร่วมหารือ 53 พรรคการเมือง
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์จะไม่เข้าร่วมหารือระหว่างพรรคการเมือง 53 พรรค ที่สวนสามพราน เพราะสถานการณ์บ้านเมืองไม่ใช่เวลาที่พรรคการเมืองจะมีความสามารถในการเจรจาหาทางออกได้ เพราะพรรคการเมืองไม่ใช่เจ้าของที่จะกำหนดชี้
ทิศทางประเทศได้ เนื่องจากประชาชนที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยอย่างแท้จริงยังไม่พร้อมที่จะมอบอำนาจให้กับนักการเมือง หรือผู้สมัครส.ส. การหารือกันเองระหว่างพรรคการเมือง จึงไม่สามารถโน้มน้าวให้ประชาชนไว้ใจ และสร้างศรัทธาให้กลับมาสู่กระบวนการเลือกตั้งในขณะนี้ได้
ทั้งนี้ ขอย้ำว่าพรรคตั้งใจให้ประเทศมีทางออกโดยเร็ว ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือ ฝ่ายการเมืองควรจะถอยคนละก้าว สองก้าว เปิดโอกาสให้ประชาชนถึงธงนำในการหาทางออกให้ประเทศ โดยเริ่มต้นจากที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แสดงเจตนารมณ์รับฟังความเห็นประชาชนทุกภาคส่วน และสิ่งที่ทำได้ทันที คือเปิดโอกาสให้แกนนำประชาชนเข้าหารือ เพื่อให้เกิดจุดเริ่มต้นการเจรจา ชะลอกระบวนการเลือกตั้ง และการเข้าสู่อำนาจของนักการเมืองไว้ก่อน จึงจะทำให้การเจรจา ระหว่างประชาชนและรัฐบาลเกิดขึ้นได้
“ขอย้ำว่า ประชาธิปัตย์มีความตั้งใจดีให้ชาติกลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว แต่เราไม่ใช่เงื่อนไข เพราะไม่ว่าจะลงสมัครหรือไม่ หากน.ส.ยิ่งลักษณ์ยังมีทัศนคติเช่นเดิม ปัญหาก็แก้ไม่ได้ เนื่องจากประชาชนจะขัดขวางการเลือกตั้งอยู่ดี เว้นแต่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะปรับปรุงแก้ไข ดำเนินกระบวนทางกฎหมายอย่างเท่าเทียมให้ประชาชนศรัทธาต่อระบอบประชาธิปไตยแม้ประชาธิปัตย์ไม่ลงเลือกตั้ง การเลือกตั้งก็เรียบร้อย จึงต้องเลิกดูถูกประชาชนอย่าคิดว่าจะแก้ด้วยนักการเมือง แต่ต้องให้ประชาชน ถือธงนำในการแก้ปัญหาประเทศ นี่คือจุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ที่ฝากไปถึงการประชุมพรรคการเมืองในวันพรุ่งนี้”นายชวนนท์ กล่าว
จากนั้น นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. ก็ลงมารับหนังสือด้วยตนเอง โดยนายนิติธร กล่าวว่า เนื่องจากเห็นว่าที่ผ่านมาการเลือกตั้งเป็นเพียงฉากหนึ่งที่ทำให้เสมือนว่าประเทศมีประชาธิปไตย แต่จริงๆ ไม่ใช่ ดังนั้นจึงเห็นว่าจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปฏิรูปเสียก่อน
การที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจว่า การเลือกตั้ง 2 เม.ย.ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ กกต.ต้องคิดว่า การจะจัดให้มีการเลือกตั้งโดยที่ยังไม่มีการปฏิรูปนั้น จะสามารถทำให้ได้การเลือกตั้งที่ สุจริต เที่ยงธรรม และเท่าเทียมหรือไม่ ถ้าคิดว่าไม่สามารถให้เกิด 3 หลักสำคัญนี้ได้ แล้วก็ควรต้องยุติความคิดจัดการเลือกตั้ง เพราะถ้ายังเดินหน้าต่อก็จะเท่ากับกกต. ทำลายการปกครองของประเทศนี้
“กกต.ต้องกล้าที่จะยืนยันว่า สถานการณ์ขณะนี้เป็นเผด็จการ เป็นทรราชย์ยิ่งลักษณ์ ไม่เอื้ออำนวยต่อการจัดการเลือกตั้ง จึงต้องยุติการจัดการเลือกตั้ง แล้วปฏิรูปบ้านเมืองให้เสร็จเสียก่อน แต่ถ้าปฏิรูปเสร็จสิ้นแล้ว กกต.ยังไม่สามารถจัดเลือกตั้งให้สุจริต เที่ยงธรรม เท่าเทียม กกต.ก็ต้องพิจารณาตัวเองลาออก” นายนิติธร กล่าว และว่า หาก กกต.จะเดินหน้าจัดการเลือกตั้งโดยไม่รอการปฏิรูปบ้านเมืองเสียก่อน ก็จะเดินทางมากดดัน กกต.อีกครั้ง ในวันที่กกต.เชิญ ประชุมพรรคการเมือง เพื่อกำหนดวันเลือกตั้งที่เหมาะสม
นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. แถลงภายหลังการประชุม กกต.ว่า เมื่อเวลา 15.00 น. สำนักงานกกต.ได้รับคำวินิจฉัยกลางอย่างเป็นทางการของศาลรัฐธรรมนูญ ที่วินิจฉัยให้ว่าการเลือกตั้ง 2 ก.พ.ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแล้ว มีจำนวน 22 หน้า โดยได้สำเนาให้กับกกต.ทั้ง 5 คน ได้นำไปศึกษา และฝ่ายกฎหมายของสำนักงานฯ ก็จะนำคำวินิจฉัยไปพิจารณาว่าผลของคำวินิจฉัยทำให้ส่วนใดเสียไปบ้าง และ กกต.จะต้องทำอย่างไรต่อไป คาดว่า ในสัปดาห์จะมีความชัดเจนในแนวทางการปฏิบัติ และจะนำเข้าที่ประชุม กกต.พิจารณา ต่อไป
ส่วนกรณีที่พรรคการเมืองนัดหารือในวันที่ 28 มี.ค. เพื่อเสนอวันเลือกตั้งที่เหมาะสมนั้น ก็ถือเป็นสิทธิของพรรคการเมืองที่ทำได้ แต่ในที่ประชุมยังไมได้มีการพูดคุยถึงเรื่องนี้ คงต้องรอดูรายละเอียดคำวินิจฉัยกลางให้เสร็จสิ้นก่อน
** เตือนโพสต์เฟซบุ๊กระวังทำผิดกม.เลือกตั้ง
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว กรณี นายสมคิด เชื้อคง อดีตผู้สมัคร ส.ส.อุบลราชธานี ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ที่ใช้ชื่อว่า “ส.ส.สมคิด อุบล”จะล่ารายชื่อถอนถอน นายสมชัย กรณีที่ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า “ทำงานใหญ่ต้องเอียง” เขาไม่สมควรเป็นกกต. ว่า ตอนนี้นายสมคิด เป็นส.ส.ด้วยหรือ ขณะนี้มีการยุบสภา ยังไม่มีเลือกตั้ง เป็นการโฆษณาเกินจริงให้เกิดประโยชน์ต่อการเลือกตั้ง หรือไม่ หากมีพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ให้รีบเอาคำว่า ส.ส. ออกจากหน้าเฟซบุ๊กด้วย หากมีคนร้อง จะโดนใบแดงไม่รู้ตัว
**ส.ส.หญิงพท. บี้"มาร์ค"ลงเลือกตั้ง
เมื่อเวลา 11.00 น. วานนี้ คณะนักการเมืองหญิงพรรคเพื่อไทย ประมาณ 10 คน นำโดย นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ ผู้สมัคร ส.ส.พะเยา พรรคเพื่อไทย เข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ นายจุติ ไกรกฤษ์ เลขาธิการพรรค โดยนางลดาวัลลิ์ ได้อ่านจดหมายเปิดผนึกตอนหนึ่งว่า จากการที่รัฐบาลคืนอำนาจให้ประชาชน จัดเลือกตั้งใหม่ แต่ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ เนื่องจากมีกลุ่มการเมืองที่มีอดีตผู้บริหารพรรคประชาธิปัตย์ เป็นแกนนำ นำมวลชนก่อกวนการเลือกตั้งจนการเลือกตั้งหลายจังหวัดมีปัญหา และมีการยื่นเรื่องศาลรัฐธรรมนูญ จนวินิจฉัยว่าการเลือกตั้งเป็นโมฆะ ขณะที่การเลือกตั้งดังกล่าวพรรคประชาธิปัตย์ ปฏิเสธส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง จากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญอาจนำไปสู่การเลือกตั้งใหม่ พรรคประชาธิปัตย์สามารถตัดสินใจใหม่ได้ในการร่วมรักษาประชาธิปไตย
ทั้งนี้มีคำถามถึงนายอภิสิทธิ์ ในฐานะที่พรรคประชาธิปัตย์ มีนโยบายสนับสนุนประชาธิปไตย ดังนี้
1. นายอภิสิทธิ์ ได้ทำประวัติศาสตร์ เป็นหัวหน้าพรรคที่นำพรรคบอยคอตเลือกตั้ง จำนวน 2 ครั้ง และครั้งต่อไปจะสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ที่เป็นพรรคการเมืองเดียวที่บอยคอต เลือกตั้ง 3 ครั้งหรือไม่
2. พรรคประชาธิปัตย์ จะยอมรับผลเลือกตั้งจากเสียงประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย ที่ท่านยึดหลักมากกว่า 70 ปีหรือไม่
3.หากพรรคประชาธิปัตย์ปฏิเสธเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคจะมีอุดมการณ์อย่างไรต่อไป ในระบอบประชาธิปไตย
4.หากพรรคประชาธิปัตย์ยืนยันว่า จะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งอีก จะอ้างความไม่เกี่ยวข้องกันและทำการขัดขวางก่อกวน ทำให้การเลือกตั้งมีปัญหาหรือไม่
อย่างไรก็ตาม นายจุฤทธิ์ ลักษณวิศิษฎ์ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้รับหนังสือแทน ซึ่งนายจุฤทธิ์ กล่าวว่า จะนำจดหมายดังกล่าวไปมอบให้นายอภิสิทธิ์ ต่อไป
**ปชป.ไม่ร่วมหารือ 53 พรรคการเมือง
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์จะไม่เข้าร่วมหารือระหว่างพรรคการเมือง 53 พรรค ที่สวนสามพราน เพราะสถานการณ์บ้านเมืองไม่ใช่เวลาที่พรรคการเมืองจะมีความสามารถในการเจรจาหาทางออกได้ เพราะพรรคการเมืองไม่ใช่เจ้าของที่จะกำหนดชี้
ทิศทางประเทศได้ เนื่องจากประชาชนที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยอย่างแท้จริงยังไม่พร้อมที่จะมอบอำนาจให้กับนักการเมือง หรือผู้สมัครส.ส. การหารือกันเองระหว่างพรรคการเมือง จึงไม่สามารถโน้มน้าวให้ประชาชนไว้ใจ และสร้างศรัทธาให้กลับมาสู่กระบวนการเลือกตั้งในขณะนี้ได้
ทั้งนี้ ขอย้ำว่าพรรคตั้งใจให้ประเทศมีทางออกโดยเร็ว ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือ ฝ่ายการเมืองควรจะถอยคนละก้าว สองก้าว เปิดโอกาสให้ประชาชนถึงธงนำในการหาทางออกให้ประเทศ โดยเริ่มต้นจากที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แสดงเจตนารมณ์รับฟังความเห็นประชาชนทุกภาคส่วน และสิ่งที่ทำได้ทันที คือเปิดโอกาสให้แกนนำประชาชนเข้าหารือ เพื่อให้เกิดจุดเริ่มต้นการเจรจา ชะลอกระบวนการเลือกตั้ง และการเข้าสู่อำนาจของนักการเมืองไว้ก่อน จึงจะทำให้การเจรจา ระหว่างประชาชนและรัฐบาลเกิดขึ้นได้
“ขอย้ำว่า ประชาธิปัตย์มีความตั้งใจดีให้ชาติกลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว แต่เราไม่ใช่เงื่อนไข เพราะไม่ว่าจะลงสมัครหรือไม่ หากน.ส.ยิ่งลักษณ์ยังมีทัศนคติเช่นเดิม ปัญหาก็แก้ไม่ได้ เนื่องจากประชาชนจะขัดขวางการเลือกตั้งอยู่ดี เว้นแต่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะปรับปรุงแก้ไข ดำเนินกระบวนทางกฎหมายอย่างเท่าเทียมให้ประชาชนศรัทธาต่อระบอบประชาธิปไตยแม้ประชาธิปัตย์ไม่ลงเลือกตั้ง การเลือกตั้งก็เรียบร้อย จึงต้องเลิกดูถูกประชาชนอย่าคิดว่าจะแก้ด้วยนักการเมือง แต่ต้องให้ประชาชน ถือธงนำในการแก้ปัญหาประเทศ นี่คือจุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ที่ฝากไปถึงการประชุมพรรคการเมืองในวันพรุ่งนี้”นายชวนนท์ กล่าว