นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 ฐานะรักษาการประธานวุฒิสภา กล่าวภายหลังการประชุมเพื่อมอบนโยบายและกรอบการทำงานให้กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ว่า เบื้องต้นตนได้ให้กรอบการทำงานไปว่า การทำความเห็นต่อเรื่องใดๆ ต้องแยกเรื่องงานออกจากเรื่องส่วนตัว ทั้งนี้ที่ผ่านมาพบว่า การให้ความเห็นต่อเรื่องต่างๆ ในเรื่องที่เกี่ยวกับ ส.ว. มีส.ว.ได้เกิดการโต้แย้งความเห็นของเจ้าหน้าที่
สำหรับการวางกรอบเพื่อพิจารณาถอดถอน นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ออกจากตำแหน่ง เพราะป.ป.ช. ได้ชี้มูลความผิดแล้วนั้น จะมีการหารือในช่วง 14.00 น. วันนี้ เบื้องต้นหลังจากรับรายงานของ ป.ป.ช. ต่อเรื่องดังกล่าวแล้ว จะมีเวลาให้วุฒิสภาเรียกประชุม เพื่อพิจารณาภายใน 20 วัน แต่จนถึงขณะนี้ ตนยังไม่ได้รับรายงานจากป.ป.ช. แม้ทางป.ป.ช. จะแถลงข่าวว่าได้ส่งมาให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาแล้วก็ตาม ทั้งนี้ ตนยังรอรับรายงาน และจะ ไม่มีการทวงแต่อย่างใด
ต่อจากนั้น เมื่อเวลา 14.00 น. นายสุรชัย ได้เป็นประธานการประชุมทีมกฎหมายอีกครั้ง เพื่อพิจารณาถึงกรอบการพิจารณาการเปิดสมัยประชุมวุฒิสภา วิสามัญ โดยใช้เวลาประชุมนานกว่า 2 ชั่วโมง จากนั้น นายสุรชัย ให้สัมภาษณ์ว่า คาดว่ารายงานการตรวจสอบของป.ป.ช. ที่ชี้มูลความผิด นายนิคม จะมาถึงสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ในวันที่ 28 มี.ค. และในทันทีที่รายงานดังกล่าวมาถึง ก็จะประสานไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เพื่อขอให้ตราพระราชกฤษฎีกา เปิดประชุมวุฒิสภา สมัยวิสามัญแล้ว โดยจะมี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นผู้เสนอ และสนองพระบรมราชโองการ ทั้งนี้ จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับที่ประชุมครม. หากนำเข้าที่ประชุมครม.ในวันอังคาร ที่ 1 เม.ย. จะทำให้กระบวนการเร็วขึ้น เบื้องต้นจะมีการเสนอเรื่องที่จะพิจารณาในสมัยวิสามัญ 2 เรื่อง คือ การถอดถอนนายนิคม และการแต่งตั้งกรรมการป.ป.ช. แทนนาย ใจเด็ด พรไชยา กรรมการ ป.ป.ช. ที่หมดวาระดำรงตำแหน่ง เพราะอายุครบ 70 ปี
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีวาระให้ ส.ว.ชุดใหม่ ได้ปฏิญาณตนก่อนปฏิบัติหน้ที่หรือไม่ ในสมัยประชุมวิสามัญนี้ นายสุรชัย กล่าวว่า สามารถทำได้ หากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รับรองผลการเลือกตั้ง ส.ว. ได้ทัน และเป็นไปตามจำนวนที่รัฐธรรมนูญกำหนด คือ 95 % เพราะถือว่าเป็นกิจการภายในของวุฒิสภา
ส่วนเรื่องการลงมติเพื่อถอดถอน นายนิคม จะนับองค์ประชุมอย่างไรนั้น ยังไม่มีข้อยุติ ซึ่งเราจะนัดประชุม เพื่อหารืออีกครั้งเป็นครั้งสุดท้าย ในวันที่ 28 มี.ค. ช่วงบ่าย หากไม่มีข้อยุติ จะเสนอเรื่องให้ที่ประชุมวุฒิสภา เป็นผู้ตัดสิน อย่างไรก็ตาม เรื่องที่จะให้ส.ว.ที่ถูกชี้มูลความผิด โดยป.ป.ช.ถือเป็นองค์ประชุมหรือไม่ ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จึงไม่มีวิธีปฏิบัติในครั้งนี้ ดังนั้นมติของที่ประชุมเป็นอย่างไร ก็จะถือเป็นบรรทัดฐานต่อไป สำหรับผู้ที่ลงมติถอดถอนเป็นผู้ที่ถูกชี้มูล ความผิด
เมื่อถามถึง กรณีที่นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช. ถามว่า มีอำนาจเสนอนายกฯ คนกลางหรือไม่ นายสุรชัย ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็น กล่าวเพียงสั้นๆ ว่า ยิ่งพูด ก็จะยิ่งเป็นการสร้างประเด็นให้สังคมไม่จบ
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า เมื่อเวลา 12.00 น. นายกุลเดช พัวพัฒนกุล อดีต ส.ส.อุทัยธานี ฐานะผู้สนับสนุน กปปส. ได้เดินทางเข้ามาที่รัฐสภา และนั่งพูดคุยอยู่กับ นายประสงค์ นุรักษ์ ส.ว.สรรหา ที่บริเวณหน้าสโมสรรัฐสภา ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวเข้าไปสอบถาม พบว่า นายกุลเดช มาติดต่อราชการ โดยมารับใบรับรองเงินเดือน ส.ส. เพื่อนำไปเสียภาษีอากรประจำปี 56 ซึ่งไม่ได้มาสำรวจสถานที่ หรือเป็นหน่วยล่วงหน้าของกลุ่ม กปปส. ที่เตรียมทำกิจกรรมทางการเมือง ที่ รัฐสภาในวันที่ 29 มี.ค. นี้
ส่วนหนังสือขอใช้สถานที่ ทราบว่า นายนิติธร ล้ำเหลือ แกนนำ คปท.จะเป็นผู้ดำเนินการตามที่เลขาธิการสภาฯ ระบุ
ผู้สื่อข่าวรายงานถึงการเตรียมความพร้อมดูแลพื้นที่ในวันที่ 29 มี.ค. ที่ กปปส. จะมาทำกิจกรรมทางการเมืองที่ลานพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 7 ผู้บังคับบัญชาของตำรวจรัฐสภา ได้สั่งให้ตำรวจทุกนายประจำในพื้นที่เวลา 07.00 น. เป็นต้นไป โดยเน้นในเรื่องของความปลอดภัย และการอำนวยความสะดวก นอกจากนั้นได้ขอกำลังเสริมส่วนหนึ่งที่ประจำการในรัฐสภา และประสานกับตำรวจในพื้นที่ให้มาช่วยดูแลความเรียบร้อย
สำหรับการวางกรอบเพื่อพิจารณาถอดถอน นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ออกจากตำแหน่ง เพราะป.ป.ช. ได้ชี้มูลความผิดแล้วนั้น จะมีการหารือในช่วง 14.00 น. วันนี้ เบื้องต้นหลังจากรับรายงานของ ป.ป.ช. ต่อเรื่องดังกล่าวแล้ว จะมีเวลาให้วุฒิสภาเรียกประชุม เพื่อพิจารณาภายใน 20 วัน แต่จนถึงขณะนี้ ตนยังไม่ได้รับรายงานจากป.ป.ช. แม้ทางป.ป.ช. จะแถลงข่าวว่าได้ส่งมาให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาแล้วก็ตาม ทั้งนี้ ตนยังรอรับรายงาน และจะ ไม่มีการทวงแต่อย่างใด
ต่อจากนั้น เมื่อเวลา 14.00 น. นายสุรชัย ได้เป็นประธานการประชุมทีมกฎหมายอีกครั้ง เพื่อพิจารณาถึงกรอบการพิจารณาการเปิดสมัยประชุมวุฒิสภา วิสามัญ โดยใช้เวลาประชุมนานกว่า 2 ชั่วโมง จากนั้น นายสุรชัย ให้สัมภาษณ์ว่า คาดว่ารายงานการตรวจสอบของป.ป.ช. ที่ชี้มูลความผิด นายนิคม จะมาถึงสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ในวันที่ 28 มี.ค. และในทันทีที่รายงานดังกล่าวมาถึง ก็จะประสานไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เพื่อขอให้ตราพระราชกฤษฎีกา เปิดประชุมวุฒิสภา สมัยวิสามัญแล้ว โดยจะมี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นผู้เสนอ และสนองพระบรมราชโองการ ทั้งนี้ จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับที่ประชุมครม. หากนำเข้าที่ประชุมครม.ในวันอังคาร ที่ 1 เม.ย. จะทำให้กระบวนการเร็วขึ้น เบื้องต้นจะมีการเสนอเรื่องที่จะพิจารณาในสมัยวิสามัญ 2 เรื่อง คือ การถอดถอนนายนิคม และการแต่งตั้งกรรมการป.ป.ช. แทนนาย ใจเด็ด พรไชยา กรรมการ ป.ป.ช. ที่หมดวาระดำรงตำแหน่ง เพราะอายุครบ 70 ปี
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีวาระให้ ส.ว.ชุดใหม่ ได้ปฏิญาณตนก่อนปฏิบัติหน้ที่หรือไม่ ในสมัยประชุมวิสามัญนี้ นายสุรชัย กล่าวว่า สามารถทำได้ หากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รับรองผลการเลือกตั้ง ส.ว. ได้ทัน และเป็นไปตามจำนวนที่รัฐธรรมนูญกำหนด คือ 95 % เพราะถือว่าเป็นกิจการภายในของวุฒิสภา
ส่วนเรื่องการลงมติเพื่อถอดถอน นายนิคม จะนับองค์ประชุมอย่างไรนั้น ยังไม่มีข้อยุติ ซึ่งเราจะนัดประชุม เพื่อหารืออีกครั้งเป็นครั้งสุดท้าย ในวันที่ 28 มี.ค. ช่วงบ่าย หากไม่มีข้อยุติ จะเสนอเรื่องให้ที่ประชุมวุฒิสภา เป็นผู้ตัดสิน อย่างไรก็ตาม เรื่องที่จะให้ส.ว.ที่ถูกชี้มูลความผิด โดยป.ป.ช.ถือเป็นองค์ประชุมหรือไม่ ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จึงไม่มีวิธีปฏิบัติในครั้งนี้ ดังนั้นมติของที่ประชุมเป็นอย่างไร ก็จะถือเป็นบรรทัดฐานต่อไป สำหรับผู้ที่ลงมติถอดถอนเป็นผู้ที่ถูกชี้มูล ความผิด
เมื่อถามถึง กรณีที่นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช. ถามว่า มีอำนาจเสนอนายกฯ คนกลางหรือไม่ นายสุรชัย ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็น กล่าวเพียงสั้นๆ ว่า ยิ่งพูด ก็จะยิ่งเป็นการสร้างประเด็นให้สังคมไม่จบ
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า เมื่อเวลา 12.00 น. นายกุลเดช พัวพัฒนกุล อดีต ส.ส.อุทัยธานี ฐานะผู้สนับสนุน กปปส. ได้เดินทางเข้ามาที่รัฐสภา และนั่งพูดคุยอยู่กับ นายประสงค์ นุรักษ์ ส.ว.สรรหา ที่บริเวณหน้าสโมสรรัฐสภา ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวเข้าไปสอบถาม พบว่า นายกุลเดช มาติดต่อราชการ โดยมารับใบรับรองเงินเดือน ส.ส. เพื่อนำไปเสียภาษีอากรประจำปี 56 ซึ่งไม่ได้มาสำรวจสถานที่ หรือเป็นหน่วยล่วงหน้าของกลุ่ม กปปส. ที่เตรียมทำกิจกรรมทางการเมือง ที่ รัฐสภาในวันที่ 29 มี.ค. นี้
ส่วนหนังสือขอใช้สถานที่ ทราบว่า นายนิติธร ล้ำเหลือ แกนนำ คปท.จะเป็นผู้ดำเนินการตามที่เลขาธิการสภาฯ ระบุ
ผู้สื่อข่าวรายงานถึงการเตรียมความพร้อมดูแลพื้นที่ในวันที่ 29 มี.ค. ที่ กปปส. จะมาทำกิจกรรมทางการเมืองที่ลานพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 7 ผู้บังคับบัญชาของตำรวจรัฐสภา ได้สั่งให้ตำรวจทุกนายประจำในพื้นที่เวลา 07.00 น. เป็นต้นไป โดยเน้นในเรื่องของความปลอดภัย และการอำนวยความสะดวก นอกจากนั้นได้ขอกำลังเสริมส่วนหนึ่งที่ประจำการในรัฐสภา และประสานกับตำรวจในพื้นที่ให้มาช่วยดูแลความเรียบร้อย