--ถึงเวลาขบวนการประชาชนต้องบรรลุความเป็นเอกภาพทางความคิด การเมือง และการปฏิบัติ
ภายหลังการประกาศคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ(วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม 2557) ให้การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เป็น “โมฆะ” สังคมไทยก็ได้มายืนอยู่บนทางสองแพร่ง ว่าจะเอาหรือไม่เอาการเลือกตั้ง ?
พวกพรรคเพื่อไทย ตีปี๊บเร่งให้มีการเลือกตั้งใหม่โดยเร็ว พรรคประชาธิปัตย์แสดงความพร้อมที่จะลงเลือกตั้ง โดยให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรกับคุณสุเทพ เทือกสุบรรณตกลงกัน ส่วนคุณสุเทพ ในฐานเลขาฯ กปปส. ก็ประกาศชัดว่าจะคัดค้านการเลือกตั้งหนักกว่าครั้งที่แล้ว
ดูแล้วประเทศไทยยังไม่พบทางออก เพราะถ้าเลือกตั้งสำเร็จ ก็คงจะได้นายกนกแก้วคนเดิม ประเทศไทยยังคงตกอยู่ในพันธนาการของระบอบทักษิณเหมือนเดิม แต่ถ้าเลือกตั้งไม่สำเร็จเฉกเช่นคราวที่แล้ว ก็จะวนเวียนอยู่ในวังวนวิกฤติทางการเมืองเหมือนเดิม และลุกลามเป็นวิกฤติทั่วด้าน
และแม้ว่ายิ่งลักษณ์อาจหลุดจากตำแหน่งนายกฯ ด้วยความผิดสารพัด แต่พรรคเพื่อไทยก็จะยังคงครองความเป็นพรรครักษาการฯอยู่เช่นเดิม เพราะหัวเด็ดตีนขาด พวกเขาจะไม่ยอมปล่อยอำนาจในมือเด็ดขาด
ในเงื่อนไขที่กองทัพจะยังคงรักษาจุดยืน “ไม่เข้าข้างฝ่ายใด” เหมือนเดิม
หรือจะให้กองทัพกระทำการรัฐประหาร ? ถึงที่สุดก็ไม่ใช่ทางออกที่แท้จริง ตรงกันข้าม อาจเป็นการนำประเทศไทยถลำลงสู่วิกฤติร้ายแรงเกินกว่าที่จะคาดคิดได้
ในสถานการณ์เช่นนี้ ผู้เขียนเห็นว่า ทางออกของประเทศไทย ก็คือทางออกของประชาชน ถึงเวลาที่ประชาชนคนไทย “ทุกฝ่าย” ต้องออกมาร่วมกันพาประเทศชาติออกจากวังวนวิกฤติ พลิกวิกฤติเป็นโอกาส จึงขอเสนอให้ขบวนการประชาชน ทั้งกลุ่ม “กปปส.” “คปท.” กลุ่มหลวงปู่พุทธะอิสระ กลุ่มกองทัพธรรม และ “กปท.” ตั้งโต๊ะพูดคุยกัน หาข้อสรุปร่วมกัน จนเกิดความเป็นเอกภาพทางความคิด และความเป็นเอกภาพกันทางการเมือง กำหนดมาตรการ “เปิดทางออก”ให้แก่ประเทศไทย
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผู้เขียนเห็นว่า บัดนี้ สถานการณ์โดยรวม มีความ “สุกงอม” เกิด “ความพร้อม” แล้วเป็นพื้นฐาน จึงขอเสนอ ให้ขบวนการประชาชน “ทุกฝ่าย” บรรลุเอกภาพทางความคิด การเมืองและการปฏิบัติ พร้อมใจกันพลิกวิกฤติเป็นโอกาส นัดรวมพลกันครั้งใหญ่ แล้วประกาศเปิดประชุมสภาประชาชน จัดตั้งรัฐบาลประชาชนขึ้นมาในทันที
นี่คือเส้นทางที่จำเป็นจะต้องเดินของประเทศไทย ไม่มีเส้นทางอื่นใดที่ดีกว่าอีกแล้ว !
ทั้งนี้ เพื่อให้การเคลื่อนไหวต่อสู้ขจัดระบอบทักษิณ เปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทย สามารถดำเนินไปในทิศทาง และบรรลุเป้าหมาย ตามที่ควรจะเป็นและเป็นไปได้ ตามเหตุปัจจัยที่ “ถักทอ” กันขึ้นมา ตั้งแต่เริ่มต้นที่นำโดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ในที่นี้ ผู้เขียนขอใช้มุมมองทางประวัติศาสตร์ อธิบายขยายความ สนับสนุนข้อเสนอข้างต้น ดังนี้
ขบวนการประชาชน ที่กำลังแสดงบทบาทเป็น “เจ้าภาพ” กำหนดการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ในการที่จะขจัดการเมืองชั่วให้หมดสิ้นไปจากแผ่นดินไทย แล้วสร้างการเมืองแบบใหม่ที่ดีจริงๆขึ้นแทนที่ ก่อกำเนิดขึ้นตามเหตุปัจจัยทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งด้วยการกระทำของกลุ่มนักการเมืองชั่ว และด้วยการต่อสู้อย่างไม่ลดละของภาคประชาชน
การแสดงบทบาทเป็น “เจ้าภาพ” เป็น “ตัวหลัก” และเป็น “ผู้กำหนด” เช่นนี้ นับเป็นจุดเด่นเป็นเฉพาะทางประวัติศาสตร์ ที่สะท้อนถึงแก่นแท้ของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ว่าแตกต่างจากที่เคยเป็นมาในอดีตอย่างสิ้นเชิง ซึ่งหมายถึงว่า ผลพวงที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ จะต้องตกสู่ประชาชนชาวไทยเป็นสำคัญ
ก่อนหน้านี้ ขบวนการประชาชนแสดงบทบาทเป็นเพียง “ตัวประกอบ”ของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยอย่างจำกัด ไม่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในระดับภาพรวมแต่ประการใด เนื่องเพราะมีอำนาจเดิมๆแสดงบทบาทเป็น “เจ้าภาพ” เป็น “ตัวหลัก”คอย “กำหนด” การเปลี่ยนแปลง ให้อยู่ในกรอบกติกาที่พวกเขาเป็นผู้เลือกทำ
แม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ก็ยังเป็นการเปลี่ยนแปลงอยู่ในกรอบกติกาเช่นว่านี้ โดยประชาชนทำอะไรไม่ได้มากไปกว่า “เล่นตามบท” ที่เขาเขียน หรือ “เต้นตามเพลง” ที่เขาบรรเลง
เพลงที่เล่นกันมากที่สุดก็คือการ “เลือกตั้ง” โดยมีกลุ่มทุนเป็นผู้บรรเลง
ในที่สุดเราก็ได้คนประเภท “โคตรโกง - โกงทั้งโคตร” มานั่งกินเมือง และทำท่าจะบรรเลงเพลงนี้ให้ประชาชนเต้นตามไปอีกชั่วนาตาปี
มาวันนี้ ขบวนการประชาชนชูธง “เปลี่ยนแปลง-ปฏิรูป” ประกาศตัวเป็น “เจ้าภาพ” กำหนดการเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามแนวคิดของประชาชน เพื่อปฏิรูปประเทศไทยให้เกิดประโยชน์ยิ่งแก่ประชาชนชาวไทยเป็นสำคัญ
และเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างแท้จริง จึงมีการนำเสนอแนวคิดสำคัญว่า จะต้องโละทิ้งระบบการเลือกตั้งแบบเดิมๆ ที่เป็น “เครื่องมือ” การเข้าสู่อำนาจของกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ที่มุ่งแสวงประโยชน์เฉพาะตน มาเป็นแบบ “เลือกสรร” เพื่อให้คนดีที่เก่ง หรือคนเก่งที่ดี ที่พิสูจน์ตนเองแล้วในสายตาสาธารณชน เข้าไปทำหน้าที่ในสภาฯ ที่เราเรียกว่า “สภาประชาชน”
สภาประชาชนมีฐานะเป็นองค์กรอำนาจสูงสุดของประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศ ทำหน้าที่นิติบัญญัติและจัดตั้งรัฐบาลของประชาชน ไปใช้อำนาจบริหารประเทศโดยถือเอาผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นตัวตั้ง
ดังที่ผู้เขียนเคยนำเสนอมาตั้งแต่เริ่มแรก สภาประชาชนที่สามารถสะท้อนถึงอำนาจสูงสุดของประชาชน จะต้องประกอบไปด้วย 1.สภาการเมืองประชาชน 2.สภาภูมิปัญญาประชาชน และ 3.สภาผู้แทนประชาชน
1.สภาการเมืองประชาชน ประกอบด้วยสมาชิกตัวแทนกลุ่มองค์กรการเมืองภาคประชาชน “ทุกฝ่าย” โดยการ “เลือกสรร” จากที่ประชุมขององค์กรนั้นๆ ควบคู่ไปกับกระบวนการประชาพิจารณ์หรือลงประชามติ
2.สภาภูมิปัญญาประชาชน ประกอบด้วยสมาชิกตัวแทนสถาบันวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะระดับชาติ ตลอดจนปราชญ์ชาวบ้านที่สร้างผลงานโดดเด่นในชุมชนต่างๆของประเทศไทยหรือคนไทยในต่างประเทศ ผู้มีผลงานโดดเด่นเป็นที่ยอมรับระดับโลก โดยการ “เลือกสรร” ของหน่วยงานสถาบันและชุมชนที่เกี่ยวข้องโดยตรง ควบคู่ไปกับกระบวนการประชาพิจารณ์
3.สภาผู้แทนประชาชน ประกอบด้วยสมาชิกตัวแทนกลุ่มองค์กรสาขาอาชีพต่างๆ โดยการ “เลือกสรร” ของกลุ่มองค์กรที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่นองค์กรผู้ใช้แรงงานทั้งในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม องค์กรวิสาหกิจทั้งของรัฐและเอกชน เป็นต้น ควบคู่ไปกับกระบวนการประชาพิจารณ์
“หัวใจ” ของระบบการ “เลือกสรร”นี้ คือ การได้บุคคล “ผู้ที่พิสูจน์ตนเองแล้วว่าเก่งและดี เป็นที่ยอมรับของสาธารณชน” เข้าไปทำหน้าที่ในสภาประชาชน
การได้คนเก่งและดีเข้าไปทำหน้าที่ในสภาประชาชน ก็จะทำให้ได้มาซึ่งรัฐบาลประชาชนที่ดี ทำหน้าที่บริหารประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด และยังประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและประชาชน !
ภายหลังการประกาศคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ(วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม 2557) ให้การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เป็น “โมฆะ” สังคมไทยก็ได้มายืนอยู่บนทางสองแพร่ง ว่าจะเอาหรือไม่เอาการเลือกตั้ง ?
พวกพรรคเพื่อไทย ตีปี๊บเร่งให้มีการเลือกตั้งใหม่โดยเร็ว พรรคประชาธิปัตย์แสดงความพร้อมที่จะลงเลือกตั้ง โดยให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรกับคุณสุเทพ เทือกสุบรรณตกลงกัน ส่วนคุณสุเทพ ในฐานเลขาฯ กปปส. ก็ประกาศชัดว่าจะคัดค้านการเลือกตั้งหนักกว่าครั้งที่แล้ว
ดูแล้วประเทศไทยยังไม่พบทางออก เพราะถ้าเลือกตั้งสำเร็จ ก็คงจะได้นายกนกแก้วคนเดิม ประเทศไทยยังคงตกอยู่ในพันธนาการของระบอบทักษิณเหมือนเดิม แต่ถ้าเลือกตั้งไม่สำเร็จเฉกเช่นคราวที่แล้ว ก็จะวนเวียนอยู่ในวังวนวิกฤติทางการเมืองเหมือนเดิม และลุกลามเป็นวิกฤติทั่วด้าน
และแม้ว่ายิ่งลักษณ์อาจหลุดจากตำแหน่งนายกฯ ด้วยความผิดสารพัด แต่พรรคเพื่อไทยก็จะยังคงครองความเป็นพรรครักษาการฯอยู่เช่นเดิม เพราะหัวเด็ดตีนขาด พวกเขาจะไม่ยอมปล่อยอำนาจในมือเด็ดขาด
ในเงื่อนไขที่กองทัพจะยังคงรักษาจุดยืน “ไม่เข้าข้างฝ่ายใด” เหมือนเดิม
หรือจะให้กองทัพกระทำการรัฐประหาร ? ถึงที่สุดก็ไม่ใช่ทางออกที่แท้จริง ตรงกันข้าม อาจเป็นการนำประเทศไทยถลำลงสู่วิกฤติร้ายแรงเกินกว่าที่จะคาดคิดได้
ในสถานการณ์เช่นนี้ ผู้เขียนเห็นว่า ทางออกของประเทศไทย ก็คือทางออกของประชาชน ถึงเวลาที่ประชาชนคนไทย “ทุกฝ่าย” ต้องออกมาร่วมกันพาประเทศชาติออกจากวังวนวิกฤติ พลิกวิกฤติเป็นโอกาส จึงขอเสนอให้ขบวนการประชาชน ทั้งกลุ่ม “กปปส.” “คปท.” กลุ่มหลวงปู่พุทธะอิสระ กลุ่มกองทัพธรรม และ “กปท.” ตั้งโต๊ะพูดคุยกัน หาข้อสรุปร่วมกัน จนเกิดความเป็นเอกภาพทางความคิด และความเป็นเอกภาพกันทางการเมือง กำหนดมาตรการ “เปิดทางออก”ให้แก่ประเทศไทย
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผู้เขียนเห็นว่า บัดนี้ สถานการณ์โดยรวม มีความ “สุกงอม” เกิด “ความพร้อม” แล้วเป็นพื้นฐาน จึงขอเสนอ ให้ขบวนการประชาชน “ทุกฝ่าย” บรรลุเอกภาพทางความคิด การเมืองและการปฏิบัติ พร้อมใจกันพลิกวิกฤติเป็นโอกาส นัดรวมพลกันครั้งใหญ่ แล้วประกาศเปิดประชุมสภาประชาชน จัดตั้งรัฐบาลประชาชนขึ้นมาในทันที
นี่คือเส้นทางที่จำเป็นจะต้องเดินของประเทศไทย ไม่มีเส้นทางอื่นใดที่ดีกว่าอีกแล้ว !
ทั้งนี้ เพื่อให้การเคลื่อนไหวต่อสู้ขจัดระบอบทักษิณ เปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทย สามารถดำเนินไปในทิศทาง และบรรลุเป้าหมาย ตามที่ควรจะเป็นและเป็นไปได้ ตามเหตุปัจจัยที่ “ถักทอ” กันขึ้นมา ตั้งแต่เริ่มต้นที่นำโดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ในที่นี้ ผู้เขียนขอใช้มุมมองทางประวัติศาสตร์ อธิบายขยายความ สนับสนุนข้อเสนอข้างต้น ดังนี้
ขบวนการประชาชน ที่กำลังแสดงบทบาทเป็น “เจ้าภาพ” กำหนดการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ในการที่จะขจัดการเมืองชั่วให้หมดสิ้นไปจากแผ่นดินไทย แล้วสร้างการเมืองแบบใหม่ที่ดีจริงๆขึ้นแทนที่ ก่อกำเนิดขึ้นตามเหตุปัจจัยทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งด้วยการกระทำของกลุ่มนักการเมืองชั่ว และด้วยการต่อสู้อย่างไม่ลดละของภาคประชาชน
การแสดงบทบาทเป็น “เจ้าภาพ” เป็น “ตัวหลัก” และเป็น “ผู้กำหนด” เช่นนี้ นับเป็นจุดเด่นเป็นเฉพาะทางประวัติศาสตร์ ที่สะท้อนถึงแก่นแท้ของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ว่าแตกต่างจากที่เคยเป็นมาในอดีตอย่างสิ้นเชิง ซึ่งหมายถึงว่า ผลพวงที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ จะต้องตกสู่ประชาชนชาวไทยเป็นสำคัญ
ก่อนหน้านี้ ขบวนการประชาชนแสดงบทบาทเป็นเพียง “ตัวประกอบ”ของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยอย่างจำกัด ไม่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในระดับภาพรวมแต่ประการใด เนื่องเพราะมีอำนาจเดิมๆแสดงบทบาทเป็น “เจ้าภาพ” เป็น “ตัวหลัก”คอย “กำหนด” การเปลี่ยนแปลง ให้อยู่ในกรอบกติกาที่พวกเขาเป็นผู้เลือกทำ
แม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ก็ยังเป็นการเปลี่ยนแปลงอยู่ในกรอบกติกาเช่นว่านี้ โดยประชาชนทำอะไรไม่ได้มากไปกว่า “เล่นตามบท” ที่เขาเขียน หรือ “เต้นตามเพลง” ที่เขาบรรเลง
เพลงที่เล่นกันมากที่สุดก็คือการ “เลือกตั้ง” โดยมีกลุ่มทุนเป็นผู้บรรเลง
ในที่สุดเราก็ได้คนประเภท “โคตรโกง - โกงทั้งโคตร” มานั่งกินเมือง และทำท่าจะบรรเลงเพลงนี้ให้ประชาชนเต้นตามไปอีกชั่วนาตาปี
มาวันนี้ ขบวนการประชาชนชูธง “เปลี่ยนแปลง-ปฏิรูป” ประกาศตัวเป็น “เจ้าภาพ” กำหนดการเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามแนวคิดของประชาชน เพื่อปฏิรูปประเทศไทยให้เกิดประโยชน์ยิ่งแก่ประชาชนชาวไทยเป็นสำคัญ
และเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างแท้จริง จึงมีการนำเสนอแนวคิดสำคัญว่า จะต้องโละทิ้งระบบการเลือกตั้งแบบเดิมๆ ที่เป็น “เครื่องมือ” การเข้าสู่อำนาจของกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ที่มุ่งแสวงประโยชน์เฉพาะตน มาเป็นแบบ “เลือกสรร” เพื่อให้คนดีที่เก่ง หรือคนเก่งที่ดี ที่พิสูจน์ตนเองแล้วในสายตาสาธารณชน เข้าไปทำหน้าที่ในสภาฯ ที่เราเรียกว่า “สภาประชาชน”
สภาประชาชนมีฐานะเป็นองค์กรอำนาจสูงสุดของประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศ ทำหน้าที่นิติบัญญัติและจัดตั้งรัฐบาลของประชาชน ไปใช้อำนาจบริหารประเทศโดยถือเอาผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นตัวตั้ง
ดังที่ผู้เขียนเคยนำเสนอมาตั้งแต่เริ่มแรก สภาประชาชนที่สามารถสะท้อนถึงอำนาจสูงสุดของประชาชน จะต้องประกอบไปด้วย 1.สภาการเมืองประชาชน 2.สภาภูมิปัญญาประชาชน และ 3.สภาผู้แทนประชาชน
1.สภาการเมืองประชาชน ประกอบด้วยสมาชิกตัวแทนกลุ่มองค์กรการเมืองภาคประชาชน “ทุกฝ่าย” โดยการ “เลือกสรร” จากที่ประชุมขององค์กรนั้นๆ ควบคู่ไปกับกระบวนการประชาพิจารณ์หรือลงประชามติ
2.สภาภูมิปัญญาประชาชน ประกอบด้วยสมาชิกตัวแทนสถาบันวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะระดับชาติ ตลอดจนปราชญ์ชาวบ้านที่สร้างผลงานโดดเด่นในชุมชนต่างๆของประเทศไทยหรือคนไทยในต่างประเทศ ผู้มีผลงานโดดเด่นเป็นที่ยอมรับระดับโลก โดยการ “เลือกสรร” ของหน่วยงานสถาบันและชุมชนที่เกี่ยวข้องโดยตรง ควบคู่ไปกับกระบวนการประชาพิจารณ์
3.สภาผู้แทนประชาชน ประกอบด้วยสมาชิกตัวแทนกลุ่มองค์กรสาขาอาชีพต่างๆ โดยการ “เลือกสรร” ของกลุ่มองค์กรที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่นองค์กรผู้ใช้แรงงานทั้งในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม องค์กรวิสาหกิจทั้งของรัฐและเอกชน เป็นต้น ควบคู่ไปกับกระบวนการประชาพิจารณ์
“หัวใจ” ของระบบการ “เลือกสรร”นี้ คือ การได้บุคคล “ผู้ที่พิสูจน์ตนเองแล้วว่าเก่งและดี เป็นที่ยอมรับของสาธารณชน” เข้าไปทำหน้าที่ในสภาประชาชน
การได้คนเก่งและดีเข้าไปทำหน้าที่ในสภาประชาชน ก็จะทำให้ได้มาซึ่งรัฐบาลประชาชนที่ดี ทำหน้าที่บริหารประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด และยังประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและประชาชน !