ชื่อของเรื่องนี้แปลโดยตรงมาจาก The Cheap Fuel Trap อันเป็นชื่อของบทความในนิตยสาร Bloombergbusinessweek ประจำวันที่ 17-23 มีนาคม 2557 บทความนั้นมีคำขยายต่อไปว่า Emerging economies worldwide struggle to end budget-busting subsidies ตามด้วย “It’s a failed policy, but we see that many countries continue to follow it” พร้อมภาพประกอบดังนี้
เมื่ออ่านมาถึงตอนนี้อาจมีผู้คิดในใจว่านี่คือบทความจำพวกหมาเดินตามก้นฝรั่ง จะคิดอย่างนั้นก็ได้เนื่องจากทุกคนมีอิสระที่จะคิด แต่ขอเรียนนิดหนึ่งว่า ผมพูดถึงเรื่องเชื้อเพลิงราคาถูกมาก่อนฝรั่ง ครั้งหนึ่งในคอลัมน์นี้เมื่อวันที่ 26 มกราคมที่ผ่านมาด้วยชื่อเรื่องว่า “เรื่องของเมืองมีน้ำมัน” ซึ่งมีผู้อ่านเพียงสองพันกว่าคน บทความนั้นยังค้นหาอ่านได้ในเว็บไซต์ของผู้จัดการออนโลน์ นอกจากนั้น ผมยังอ้างถึงประเด็นเดียวกันเป็นภาษาอังกฤษสำหรับผู้ที่อาจไม่ค่อยสนใจอ่านภาษาไทยอีกด้วย ผู้สนใจอาจไปอ่านเรื่อง “Pursuit of self-interest will doom the reform effort” ในหนังสือพิมพ์ Bangkok Post ประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา บางประเด็นผมเขียนลงในหลายแห่งเพื่อจะกระจายเรื่องราวออกไปให้กว้างที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งนี้มิใช่ด้วยความโอหังว่าตนเองเก่งกว่าคนอื่น หากเพียงต้องการให้เป็นอาหารสมองของผู้ที่อาจไม่มีโอกาสมองจากบางมุมเท่านั้น
บทความ “เรื่องของเมืองน้ำมัน” ใช้ข้อมูลเดียวกันกับที่ปรากฏในภาพข้างบน นั่นคือ น้ำมันชั้นดีในเวเนซุเอลาราคาเพียง 4 เซ็นต์อเมริกันต่อแกลลอน หรือราวลิตรละ 35 สตางค์อันเป็นราคาที่ถูกที่สุดในโลก บทความนั้นพูดถึงนอร์เวย์ซึ่งผลิตน้ำมันได้ปริมาณมากจากทะเลเหนือจนเหลือใช้จึงส่งขายให้ต่างประเทศ ทั้งที่ประเทศผลิตน้ำมันได้มากจนเหลือใช้ แต่ชาวนอร์เวย์ซื้อน้ำมันกันลิตรละประมาณ 85 บาทเนื่องจากรัฐบาลไม่ต้องการให้ผลาญน้ำมันกันเช่นชาวเวเนซุเอลา นอกจากนั้น รัฐบาลยังต้องการดำเนินนโยบายตามแนวคิดที่จะสงวนน้ำมันและรายได้จากการขายน้ำมันไว้ให้คนรุ่นต่อๆ ไปอีกด้วย ผู้ที่ติดตามความเป็นไปในโลกภายนอกอยู่บ้างย่อมทราบดีแล้วว่าการพัฒนาของนอร์เวย์กับของเวเนซุเอลาแตกต่างกันปานฟ้ากับดิน เวเนซุเอลาเป็นตัวอย่างชั้นดีของประเทศที่ “ติดกับเชื้อเพลิงราคาถูก” มานานทั้งที่มีน้ำมันดิบที่ค้นพบแล้วมากที่สุดในโลกและเคยส่งออกมากที่สุดในโลกด้วย ฉะนั้น ตัวอย่างนี้จึงชี้ให้เห็นว่า การเข้าถึงเชื้อเพลิงราคาถูกมิใช่ปัจจัยสำคัญในการพัฒนา ตรงข้าม มันอาจสร้างปัญหาหนักหนาสาหัสได้
อียิปต์ผลิตน้ำมันได้ไม่มากถึงกับเหลือใช้จนส่งออกได้เช่นเดียวกับเวเนซุเอลา นอร์เวย์และเอกวาดอร์ แต่ก็ติดกับดักเชื้อเพลิงกับเขาด้วย เท่านั้นยังไม่พอ อียิปต์ยังติดกับดักใหญ่ที่ประเทศกำลังพัฒนาโดยทั่วไปมักเดินไปติดอีกด้วย นั่นคือ กับดักที่เกิดจากการใช้งบประมาณรัฐบาลสนับสนุนให้สินค้าราคาถูกจนรายได้ไม่พอกับรายจ่ายส่งผลให้ประสบภาวะล้มละลายและต้องไปขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ประเด็นนี้บทความของนิตยสาร Bloombergbusinessweek ดังกล่าวใช้คำว่า “budget-busting subsidies” เรื่องหนึ่งซึ่งสร้างปัญหาให้อียิปต์สูงยิ่งได้แก่การใช้งบประมาณสนับสนุนให้อาหารราคาถูกมากๆ ย้อนไปในสมัยหนึ่ง ราคาขนมปังในอียิปต์ราคาถูกเสียจนชาวอียิปต์ซื้อไปใช้เป็นอาหารสัตว์ ทุกครั้งที่รัฐบาลจะลดงบประมาณสนับสนุนราคาอาหารก็มักเกิดการจลาจล ผู้สนใจในเรื่องราวของอียิปต์อาจไปอ่านบทที่ 7 ชื่อ “พีระมิดหรือคิดคด” ในหนังสือเรื่อง จดหมายจากวอชิงตัน ซึ่งดาวน์โหลดฟรีได้ที่เว็บไซต์ของคลังเอกสารสาธารณะ www.openbase.in.th
ตัวอย่างที่ยืนยันว่านโยบายในแนวดังกล่าวล้มเหลวมีให้เห็นอยู่เป็นประจำ แต่รัฐบาลจำนวนมากก็ยังดันทุรังทำด้วยปัจจัยหลักๆ สองอย่างด้วยกัน นั่นคือ ประชาชนต้องการสินค้าราคาถูกโดยไม่ใส่ใจว่ามันจะมีผลพวงอย่างไรและนักการเมืองต้องการเอาใจประชาชนเพื่อสร้างความนิยมในตนเอง คงเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ปัจจัยทั้งสองนี้คือที่มาของนโยบายประชานิยมแบบเลวร้ายที่ได้ทำลายหลายประเทศไปแล้วรวมทั้งอาร์เจนตินาและเวเนซุเอลาและกำลังทำลายประเทศไทยอยู่ในขณะนี้
เมื่อเทียบกับประเทศทั่วโลก ราคาน้ำมันในเมืองไทยอยู่ในระดับกลางๆ ด้วยเหตุนี้ผู้ที่มองว่าราคาน้ำมันในเมืองไทยแสนแพงก็ไม่ผิดและผู้ที่มองว่าราคานั้นแสนถูกก็ไม่ผิดเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ข่าวที่ออกมาทางสื่อและทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ในช่วงนี้ดูจะชี้ชัดว่าคนไทยส่วนใหญ่มองว่ามันแพงเกินไป ฉะนั้น การปฏิรูปพลังงานที่พูดถึงกันอยู่จึงดูจะตั้งเป้าหมายสำคัญอันหนึ่งว่าจะทำให้น้ำมันราคาถูกลงกว่าในปัจจุบันมากๆ ผมไม่แน่ใจเต็มร้อยว่านั่นเป็นเป้าหมายจริงหรือไม่ ถ้าใช่ มันจะเป็นการวางกับดักไว้ให้เกิดปัญหาหนักหนาสาหัสต่อไปในอนาคต
อนึ่ง ประเด็นเรื่องการปฏิรูปพลังงานที่กำลังพูดกันอยู่ดูจะพูดถึงเพียงส่วนเดียว นั่นคือ ส่วนที่เกี่ยวกับน้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติโดยมุ่งเน้นไปที่ ปตท. ฉะนั้น ถ้าจะเปลี่ยนหัวข้อการพูดกันให้เฉพาะเจาะจงลงไปที่ส่วนนั้นเพียงอย่างเดียวจะทำให้การพูดตรงประเด็นยิ่งขึ้น
เป็นที่ทราบกันดีว่าภาคพลังงานครอบคลุมหลายอย่างนอกจากเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ พลังงานอย่างหนึ่งซึ่งเคยมีความสำคัญมากสำหรับการดำเนินชีวิตของคนไทยได้แก่เชื้อเพลิงที่ได้จากไม้ แต่คนไทยส่วนใหญ่ดูจะลืมไปหมด หรือมิให้ความสำคัญกันอีกแล้ว
ย้อนไปเพียงไม่กี่สิบปี เรายังไม่มีก๊าซธรรมชาติใช้อย่างแพร่หลายดังในปัจจุบัน คนไทยส่วนใหญ่ใช้ไม้เป็นเชื้อเพลิงโดยเฉพาะชาวนาชาวไร่ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในประเทศ พวกเขาใช้ฟืนและถ่านในการหุงต้ม ฟืนและถ่านส่วนใหญ่ได้จากการตัดต้นไม้จากป่าและจากนาจากไร่ของตน ในกรณีที่ไม่มีป่า ชาวนาชาวไร่โดยทั่วไปมักปลูกต้นไม้ไว้ในที่ดินสำหรับทำฟืนและถ่านโดยใช้แรงงานของตนเอง เมื่อก๊าซธรรมชาติบรรจุถังมีขายในราคาถูก ชาวนาชาวไร่จึงหันไปใช้ก๊าซนั้นแทนฟืนและถ่านมากขึ้นเรื่อยๆ
ในการเปลี่ยนเชื้อเพลิงหุงต้มจากฟืนและถ่านไปสู่ก๊าซบรรจุถังมีสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นพร้อมกันไปด้วย นั่นคือ ต้นไม้ในไร่ในนาถูกตัดทิ้งไปโดยมิได้มีการปลูกทดแทนส่งผลให้ความหลากหลายทางธรรมชาติสูญไป ชาวนาชาวไร่เลิกใช้แรงงานของตนส่วนหนึ่งซึ่งเคยใช้ปลูกต้นไม้ ตัดฟืนและเผาถ่าน พวกเขาอาจหางานอย่างอื่นทำแทน หากหางานอื่นทำไม่ได้แรงงานนั้นก็สูญไปเปล่าๆ โดยไม่ทำรายได้ให้เกิดขึ้น ในขณะเดียวกัน พวกเขาต้องเพิ่มรายจ่ายสำหรับใช้ซื้อก๊าซหุงต้ม การเดินสวนทางกันของการใช้แรงงานเพื่อหารายได้กับการใช้จ่ายในแนวนี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่นำไปสู่ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรในปัจจุบัน ฉะนั้น พอจะอนุมานได้ว่า ถ้าก๊าซหุงต้มราคาถูกลงมากกว่าในปัจจุบัน โอกาสที่ชาวนาชาวไร่จะหันกลับไปปลูกต้นไม้เพื่อใช้ทำฟืนและถ่านซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาหนี้สินพร้อมกันไปด้วยแทบไม่มีเลย ในอีกนัยหนึ่ง พวกเขายังจะติดกับดักของเชื้อเพลิงราคาถูกต่อไป
เมื่อพูดถึงการปลูกต้นไม้เพื่อใช้ทำฟืนและถ่านคงทำให้หลายคนคิดว่าผมกำลังเสนอให้พากันกลับไปใช้ชีวิตในสมัยหินอีกครั้ง จะคิดเช่นนั้นก็ได้ แต่ผมใคร่ขอให้คิดกันต่อไปอีกนิดว่า การปลูกต้นไม้นอกจากจะใช้แรงงานที่มีอยู่ให้เกิดผลดีดังที่เคยทำกันมาก่อนแล้ว ยังจะได้ต้นไม้ที่ให้ประโยชน์สารพัดนอกจากฟืนและถ่านอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการให้ความหลากหลายทางธรรมชาติ การให้ความชุ่มชื้นแก่ผืนดิน การให้ความร่มรื่นแก่สถานที่ การดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ทำให้เกิดปัญหาโลกร้อน หรือการให้ใบเพื่อใช้ทำปุ๋ย
โดยรวมแล้วผมมองว่า การหันกลับไปปลูกต้นไม้เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการกลับไปสู่รากฐานอันมั่นคงของสังคมมนุษย์ ผมเคยเสนอแนวคิดนี้ไว้ในที่ต่างๆ ในนามของสามเหลี่ยมที่มีค่าเกินทองคำ ขอตัดบางส่วนของบทความหนึ่งมาปันกันดังนี้
“.....จากประสบการณ์ที่คลุกคลีกับชาวอเมริกันมากว่า 40 ปี ผมมีความประทับใจว่า อเมริกากำลังวิวัฒน์ไปในแนวน่าวิตกเนื่องจากทุกคนถูกกระตุ้นให้บริโภคเพิ่มขึ้นแบบไม่มีที่สิ้นสุด ฉะนั้น แม้ชาวอเมริกันโดยเฉลี่ยจะบริโภคคนละหลายเท่าของชาวโลกแล้ว แต่ก็ยังต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น ส่วนรัฐบาลก็ดำเนินนโยบายให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่องจนก่อให้เกิดการแข่งขันกันอย่างเข้มข้นและความแตกต่างระหว่างคนจนกับคนรวยเพิ่มขึ้นทุกวัน ในขณะเดียวกันก็ออกไปรุกรานชาวโลกเพื่อช่วงชิงทรัพยากรด้วยการทำสงครามแบบยืดเยื้อซึ่งเมื่อรวมเข้ากับการแข่งขันภายในสร้างความกดดันให้ชาวอเมริกันเพิ่มขึ้นจนในบางครั้งปะทุออกมาในรูปของการฆ่าแกงกัน...
อย่างไรก็ตาม ยังมีชาวอเมริกันส่วนหนึ่งซึ่งไม่ยึดการบริโภคแบบนั้นเป็นแนวดำเนินชีวิต เออร์วิน ลาสซโล อ้างไว้ในหนังสือชื่อ The Chaos Point ว่าชาวอเมริกันราว 25% ยึดความเป็นอยู่แบบพอเพียง ผมไม่มีตัวเลขอื่นมายืนยันตัวเลขนี้ หากมีโอกาสได้สัมผัสกับชาวอเมริกันสามกลุ่มคือ เยาวชนอเมริกันที่ต่อต้านวิถีชีวิตแบบวัตถุนิยมอย่างรุนแรงซึ่งครั้งหนึ่งเรียกกันว่า “ฮิปปี้” อีกกลุ่มหนึ่งเป็นผู้ใหญ่ในวัยกลางคนขึ้นไปและได้รับความสำเร็จทางเศรษฐกิจสูง กลุ่มนี้มักละทิ้งอาชีพที่ทำรายได้มหาศาลและบ้านเรือนหรูหราออกไปใช้ชีวิตกับธรรมชาติแบบเรียบง่ายในชนบทด้วยการทำเกษตรกรรมในครัวเรือน และกลุ่มที่สามชื่อว่า “อามิช” ซึ่งยังดำเนินชีวิตแบบชาวนาไทยในสมัยก่อน กล่าวคือ ยังทำไร่ไถนาโดยใช้ม้าลากไถ ไม่ใช้ไฟฟ้า ไม่ใช้เครื่องจักรกล ไม่มีรถยนต์และโทรศัพท์ในบ้าน
ผมเคยนำเรื่องราวของชาวอามิชมาเล่าไว้ในหนังสือชื่อ “อเมริกาที่ยังใช้ม้าเทียมไถ” [ซึ่งอาจดาวน์โหลดได้ฟรีที่เว็บไซต์ของคลังเอกสารสาธารณะ www.openbase.in.th] พวกเขาและชาวไร่ชาวนารุ่นปู่ย่าตายายของคนไทยมีชีวิตและความเป็นอยู่ตามยุคเกษตรกรรมซึ่งอาจแสดงได้ตามจุด A ของสามเหลี่ยมในภาพ เราทราบแล้วว่าโลกตกอยู่ในยุคเกษตรกรรมราว 8,000 ปีก่อนที่จะมีการประดิษฐ์เครื่องจักรกลจนเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อราว 250 ปีที่ผ่านมา การปฏิวัติอุตสาหกรรมนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่เมื่อชาวไร่ชาวนาพากันอพยพเข้าไปทำงานในเมือง ความเปลี่ยนแปลงจากชีวิตแนวเกษตรกรรมไปสู่ชีวิตที่มีการอุตสาหกรรมเป็นหลักเปรียบเสมือนการเคลื่อนจากจุด A ขึ้นไปสู่จุด B เมื่อชาวโลกมีความก้าวหน้าจากการพัฒนาอุตสาหกรรมจนทำให้สามารถบริโภคได้มากขึ้นเป็นส่วนใหญ่ แต่ในขณะเดียวกันมันก็นำความเสียหายร้ายแรงมาด้วย เช่น การแข่งขันและความกดดันอย่างเข้มข้นซึ่งนำไปสู่ความเครียด การขาดความเอื้ออาทรนำไปสู่ความหงอยเหงาเศร้าซึม การอยู่กันอย่างแออัดท่ามกลางอากาศและสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษทำให้ชีวิตในเมืองไม่ปลอดภัยทั้งด้านร่างกายและด้านทรัพย์สิน และการบริโภคแบบสุดโต่งนำไปสู่การเผาผลาญทรัพยากรและการทำลายสิ่งแวดล้อมซึ่งเท่ากับเรากำลังเผาบ้านตัวเอง
สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ที่มีโอกาสสัมผัสหรือได้ศึกษาอย่างถ่องแท้ตระหนักว่า ความก้าวหน้าที่พาสังคมเคลื่อนไปสู่จุด B นั้นเปรียบเสมือนการขึ้นไปอยู่บนภูเขาสูง มันจะทำให้พวกเขาลื่นตกลงมาจนขาหรือคอหักได้ พวกเขาจึงมองหาทางออก การอพยพกลับไปอยู่ในชนบทเป็นทางเลือกหนึ่งซึ่งเปรียบเสมือนการกลับไปอยู่บนที่ราบอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวออกไปสู่ชนบทไม่ใช่การกลับไปสู่จุด A หากเป็นการเคลื่อนไปสู่จุด C ซึ่งมีความแตกต่างจากจุด A ในนัยสำคัญ นั่นคือ ผู้อยู่ ณ จุด C มีความรู้ความเข้าใจในวิวัฒนาการของโลกอย่างถ่องแท้และเลือกที่จะใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายด้วยความสมัครใจ ส่วนผู้ที่อยู่ ณ จุด A โดยทั่วไปขาดความรู้ความเข้าใจดังกล่าว ซึ่งรวมทั้งชาวไร่ชาวนาไทยในรุ่นปู่ย่าตายายและชาวชนบทอีกมากมายซึ่งยังกระจัดกระจายกันอยู่ทั่วโลกในปัจจุบัน
สำหรับผม สามเหลี่ยมนี้มีค่าเกินทองคำเพราะมันทำให้ผมมองเห็นภาพของกระบวนการพัฒนาได้อย่างกระจ่างขึ้น กล่าวคือ จุด A เป็นสังคมแบบดั้งเดิมซึ่งวางอยู่บนฐานของการสืบทอดต่อๆ กันมาและยังถูกครอบงำด้วยอวิชชาเป็นส่วนใหญ่ จุด B สะท้อนความก้าวหน้าเมื่ออวิชชาลดลง แต่มีปัญหาร้ายแรงตามมาจากการพัฒนาบนฐานของการบริโภคแบบสุดโต่ง จุด C เป็นสังคมหลังวัตถุนิยมซึ่งงดการผลาญทรัพยากรเพื่อบริโภคโดยไม่จำเป็น จากมุมมองของการพัฒนา จึงอาจสรุปได้ว่าไม่มีความจำเป็นที่เราจะต้องพยายามพัฒนาประเทศและเศรษฐกิจไปในแนวจุด B ก่อนที่จะรู้ว่ามันไม่ใช่การพัฒนาที่นำไปสู่ความสงบสุขแบบยั่งยืน เราสามารถพัฒนาจากจุด A ไปในแนวจุด C ได้โดยไม่ต้องเสียเวลาค้นหาสัจธรรมข้อนี้อีกครั้ง”
เนื้อหาของบทความที่นำมาปันเป็นกรอบใหญ่ที่ทำให้สรุปเนื้อหาที่เขียนมาได้คร่าวๆ ว่า กับดักเชื้อเพลิงราคาถูกเป็นส่วนหนึ่งของกับดักขนาดใหญ่ที่กำลังทำให้สังคมโลกหลงเดินเข้าไปติด สังคมไหนฉุกคิดขึ้นได้ก่อน สังคมนั้นอาจรอดตัว สังคมไทยอาจเป็นหนึ่งในสังคมดังกล่าวหากเราพากันศึกษาแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงให้แตกฉานแล้วนำไปปฏิบัติกันแบบจริงจังอย่างทั่วถึง
เมื่ออ่านมาถึงตอนนี้อาจมีผู้คิดในใจว่านี่คือบทความจำพวกหมาเดินตามก้นฝรั่ง จะคิดอย่างนั้นก็ได้เนื่องจากทุกคนมีอิสระที่จะคิด แต่ขอเรียนนิดหนึ่งว่า ผมพูดถึงเรื่องเชื้อเพลิงราคาถูกมาก่อนฝรั่ง ครั้งหนึ่งในคอลัมน์นี้เมื่อวันที่ 26 มกราคมที่ผ่านมาด้วยชื่อเรื่องว่า “เรื่องของเมืองมีน้ำมัน” ซึ่งมีผู้อ่านเพียงสองพันกว่าคน บทความนั้นยังค้นหาอ่านได้ในเว็บไซต์ของผู้จัดการออนโลน์ นอกจากนั้น ผมยังอ้างถึงประเด็นเดียวกันเป็นภาษาอังกฤษสำหรับผู้ที่อาจไม่ค่อยสนใจอ่านภาษาไทยอีกด้วย ผู้สนใจอาจไปอ่านเรื่อง “Pursuit of self-interest will doom the reform effort” ในหนังสือพิมพ์ Bangkok Post ประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา บางประเด็นผมเขียนลงในหลายแห่งเพื่อจะกระจายเรื่องราวออกไปให้กว้างที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งนี้มิใช่ด้วยความโอหังว่าตนเองเก่งกว่าคนอื่น หากเพียงต้องการให้เป็นอาหารสมองของผู้ที่อาจไม่มีโอกาสมองจากบางมุมเท่านั้น
บทความ “เรื่องของเมืองน้ำมัน” ใช้ข้อมูลเดียวกันกับที่ปรากฏในภาพข้างบน นั่นคือ น้ำมันชั้นดีในเวเนซุเอลาราคาเพียง 4 เซ็นต์อเมริกันต่อแกลลอน หรือราวลิตรละ 35 สตางค์อันเป็นราคาที่ถูกที่สุดในโลก บทความนั้นพูดถึงนอร์เวย์ซึ่งผลิตน้ำมันได้ปริมาณมากจากทะเลเหนือจนเหลือใช้จึงส่งขายให้ต่างประเทศ ทั้งที่ประเทศผลิตน้ำมันได้มากจนเหลือใช้ แต่ชาวนอร์เวย์ซื้อน้ำมันกันลิตรละประมาณ 85 บาทเนื่องจากรัฐบาลไม่ต้องการให้ผลาญน้ำมันกันเช่นชาวเวเนซุเอลา นอกจากนั้น รัฐบาลยังต้องการดำเนินนโยบายตามแนวคิดที่จะสงวนน้ำมันและรายได้จากการขายน้ำมันไว้ให้คนรุ่นต่อๆ ไปอีกด้วย ผู้ที่ติดตามความเป็นไปในโลกภายนอกอยู่บ้างย่อมทราบดีแล้วว่าการพัฒนาของนอร์เวย์กับของเวเนซุเอลาแตกต่างกันปานฟ้ากับดิน เวเนซุเอลาเป็นตัวอย่างชั้นดีของประเทศที่ “ติดกับเชื้อเพลิงราคาถูก” มานานทั้งที่มีน้ำมันดิบที่ค้นพบแล้วมากที่สุดในโลกและเคยส่งออกมากที่สุดในโลกด้วย ฉะนั้น ตัวอย่างนี้จึงชี้ให้เห็นว่า การเข้าถึงเชื้อเพลิงราคาถูกมิใช่ปัจจัยสำคัญในการพัฒนา ตรงข้าม มันอาจสร้างปัญหาหนักหนาสาหัสได้
อียิปต์ผลิตน้ำมันได้ไม่มากถึงกับเหลือใช้จนส่งออกได้เช่นเดียวกับเวเนซุเอลา นอร์เวย์และเอกวาดอร์ แต่ก็ติดกับดักเชื้อเพลิงกับเขาด้วย เท่านั้นยังไม่พอ อียิปต์ยังติดกับดักใหญ่ที่ประเทศกำลังพัฒนาโดยทั่วไปมักเดินไปติดอีกด้วย นั่นคือ กับดักที่เกิดจากการใช้งบประมาณรัฐบาลสนับสนุนให้สินค้าราคาถูกจนรายได้ไม่พอกับรายจ่ายส่งผลให้ประสบภาวะล้มละลายและต้องไปขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ประเด็นนี้บทความของนิตยสาร Bloombergbusinessweek ดังกล่าวใช้คำว่า “budget-busting subsidies” เรื่องหนึ่งซึ่งสร้างปัญหาให้อียิปต์สูงยิ่งได้แก่การใช้งบประมาณสนับสนุนให้อาหารราคาถูกมากๆ ย้อนไปในสมัยหนึ่ง ราคาขนมปังในอียิปต์ราคาถูกเสียจนชาวอียิปต์ซื้อไปใช้เป็นอาหารสัตว์ ทุกครั้งที่รัฐบาลจะลดงบประมาณสนับสนุนราคาอาหารก็มักเกิดการจลาจล ผู้สนใจในเรื่องราวของอียิปต์อาจไปอ่านบทที่ 7 ชื่อ “พีระมิดหรือคิดคด” ในหนังสือเรื่อง จดหมายจากวอชิงตัน ซึ่งดาวน์โหลดฟรีได้ที่เว็บไซต์ของคลังเอกสารสาธารณะ www.openbase.in.th
ตัวอย่างที่ยืนยันว่านโยบายในแนวดังกล่าวล้มเหลวมีให้เห็นอยู่เป็นประจำ แต่รัฐบาลจำนวนมากก็ยังดันทุรังทำด้วยปัจจัยหลักๆ สองอย่างด้วยกัน นั่นคือ ประชาชนต้องการสินค้าราคาถูกโดยไม่ใส่ใจว่ามันจะมีผลพวงอย่างไรและนักการเมืองต้องการเอาใจประชาชนเพื่อสร้างความนิยมในตนเอง คงเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ปัจจัยทั้งสองนี้คือที่มาของนโยบายประชานิยมแบบเลวร้ายที่ได้ทำลายหลายประเทศไปแล้วรวมทั้งอาร์เจนตินาและเวเนซุเอลาและกำลังทำลายประเทศไทยอยู่ในขณะนี้
เมื่อเทียบกับประเทศทั่วโลก ราคาน้ำมันในเมืองไทยอยู่ในระดับกลางๆ ด้วยเหตุนี้ผู้ที่มองว่าราคาน้ำมันในเมืองไทยแสนแพงก็ไม่ผิดและผู้ที่มองว่าราคานั้นแสนถูกก็ไม่ผิดเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ข่าวที่ออกมาทางสื่อและทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ในช่วงนี้ดูจะชี้ชัดว่าคนไทยส่วนใหญ่มองว่ามันแพงเกินไป ฉะนั้น การปฏิรูปพลังงานที่พูดถึงกันอยู่จึงดูจะตั้งเป้าหมายสำคัญอันหนึ่งว่าจะทำให้น้ำมันราคาถูกลงกว่าในปัจจุบันมากๆ ผมไม่แน่ใจเต็มร้อยว่านั่นเป็นเป้าหมายจริงหรือไม่ ถ้าใช่ มันจะเป็นการวางกับดักไว้ให้เกิดปัญหาหนักหนาสาหัสต่อไปในอนาคต
อนึ่ง ประเด็นเรื่องการปฏิรูปพลังงานที่กำลังพูดกันอยู่ดูจะพูดถึงเพียงส่วนเดียว นั่นคือ ส่วนที่เกี่ยวกับน้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติโดยมุ่งเน้นไปที่ ปตท. ฉะนั้น ถ้าจะเปลี่ยนหัวข้อการพูดกันให้เฉพาะเจาะจงลงไปที่ส่วนนั้นเพียงอย่างเดียวจะทำให้การพูดตรงประเด็นยิ่งขึ้น
เป็นที่ทราบกันดีว่าภาคพลังงานครอบคลุมหลายอย่างนอกจากเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ พลังงานอย่างหนึ่งซึ่งเคยมีความสำคัญมากสำหรับการดำเนินชีวิตของคนไทยได้แก่เชื้อเพลิงที่ได้จากไม้ แต่คนไทยส่วนใหญ่ดูจะลืมไปหมด หรือมิให้ความสำคัญกันอีกแล้ว
ย้อนไปเพียงไม่กี่สิบปี เรายังไม่มีก๊าซธรรมชาติใช้อย่างแพร่หลายดังในปัจจุบัน คนไทยส่วนใหญ่ใช้ไม้เป็นเชื้อเพลิงโดยเฉพาะชาวนาชาวไร่ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในประเทศ พวกเขาใช้ฟืนและถ่านในการหุงต้ม ฟืนและถ่านส่วนใหญ่ได้จากการตัดต้นไม้จากป่าและจากนาจากไร่ของตน ในกรณีที่ไม่มีป่า ชาวนาชาวไร่โดยทั่วไปมักปลูกต้นไม้ไว้ในที่ดินสำหรับทำฟืนและถ่านโดยใช้แรงงานของตนเอง เมื่อก๊าซธรรมชาติบรรจุถังมีขายในราคาถูก ชาวนาชาวไร่จึงหันไปใช้ก๊าซนั้นแทนฟืนและถ่านมากขึ้นเรื่อยๆ
ในการเปลี่ยนเชื้อเพลิงหุงต้มจากฟืนและถ่านไปสู่ก๊าซบรรจุถังมีสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นพร้อมกันไปด้วย นั่นคือ ต้นไม้ในไร่ในนาถูกตัดทิ้งไปโดยมิได้มีการปลูกทดแทนส่งผลให้ความหลากหลายทางธรรมชาติสูญไป ชาวนาชาวไร่เลิกใช้แรงงานของตนส่วนหนึ่งซึ่งเคยใช้ปลูกต้นไม้ ตัดฟืนและเผาถ่าน พวกเขาอาจหางานอย่างอื่นทำแทน หากหางานอื่นทำไม่ได้แรงงานนั้นก็สูญไปเปล่าๆ โดยไม่ทำรายได้ให้เกิดขึ้น ในขณะเดียวกัน พวกเขาต้องเพิ่มรายจ่ายสำหรับใช้ซื้อก๊าซหุงต้ม การเดินสวนทางกันของการใช้แรงงานเพื่อหารายได้กับการใช้จ่ายในแนวนี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่นำไปสู่ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรในปัจจุบัน ฉะนั้น พอจะอนุมานได้ว่า ถ้าก๊าซหุงต้มราคาถูกลงมากกว่าในปัจจุบัน โอกาสที่ชาวนาชาวไร่จะหันกลับไปปลูกต้นไม้เพื่อใช้ทำฟืนและถ่านซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาหนี้สินพร้อมกันไปด้วยแทบไม่มีเลย ในอีกนัยหนึ่ง พวกเขายังจะติดกับดักของเชื้อเพลิงราคาถูกต่อไป
เมื่อพูดถึงการปลูกต้นไม้เพื่อใช้ทำฟืนและถ่านคงทำให้หลายคนคิดว่าผมกำลังเสนอให้พากันกลับไปใช้ชีวิตในสมัยหินอีกครั้ง จะคิดเช่นนั้นก็ได้ แต่ผมใคร่ขอให้คิดกันต่อไปอีกนิดว่า การปลูกต้นไม้นอกจากจะใช้แรงงานที่มีอยู่ให้เกิดผลดีดังที่เคยทำกันมาก่อนแล้ว ยังจะได้ต้นไม้ที่ให้ประโยชน์สารพัดนอกจากฟืนและถ่านอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการให้ความหลากหลายทางธรรมชาติ การให้ความชุ่มชื้นแก่ผืนดิน การให้ความร่มรื่นแก่สถานที่ การดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ทำให้เกิดปัญหาโลกร้อน หรือการให้ใบเพื่อใช้ทำปุ๋ย
โดยรวมแล้วผมมองว่า การหันกลับไปปลูกต้นไม้เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการกลับไปสู่รากฐานอันมั่นคงของสังคมมนุษย์ ผมเคยเสนอแนวคิดนี้ไว้ในที่ต่างๆ ในนามของสามเหลี่ยมที่มีค่าเกินทองคำ ขอตัดบางส่วนของบทความหนึ่งมาปันกันดังนี้
“.....จากประสบการณ์ที่คลุกคลีกับชาวอเมริกันมากว่า 40 ปี ผมมีความประทับใจว่า อเมริกากำลังวิวัฒน์ไปในแนวน่าวิตกเนื่องจากทุกคนถูกกระตุ้นให้บริโภคเพิ่มขึ้นแบบไม่มีที่สิ้นสุด ฉะนั้น แม้ชาวอเมริกันโดยเฉลี่ยจะบริโภคคนละหลายเท่าของชาวโลกแล้ว แต่ก็ยังต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น ส่วนรัฐบาลก็ดำเนินนโยบายให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่องจนก่อให้เกิดการแข่งขันกันอย่างเข้มข้นและความแตกต่างระหว่างคนจนกับคนรวยเพิ่มขึ้นทุกวัน ในขณะเดียวกันก็ออกไปรุกรานชาวโลกเพื่อช่วงชิงทรัพยากรด้วยการทำสงครามแบบยืดเยื้อซึ่งเมื่อรวมเข้ากับการแข่งขันภายในสร้างความกดดันให้ชาวอเมริกันเพิ่มขึ้นจนในบางครั้งปะทุออกมาในรูปของการฆ่าแกงกัน...
อย่างไรก็ตาม ยังมีชาวอเมริกันส่วนหนึ่งซึ่งไม่ยึดการบริโภคแบบนั้นเป็นแนวดำเนินชีวิต เออร์วิน ลาสซโล อ้างไว้ในหนังสือชื่อ The Chaos Point ว่าชาวอเมริกันราว 25% ยึดความเป็นอยู่แบบพอเพียง ผมไม่มีตัวเลขอื่นมายืนยันตัวเลขนี้ หากมีโอกาสได้สัมผัสกับชาวอเมริกันสามกลุ่มคือ เยาวชนอเมริกันที่ต่อต้านวิถีชีวิตแบบวัตถุนิยมอย่างรุนแรงซึ่งครั้งหนึ่งเรียกกันว่า “ฮิปปี้” อีกกลุ่มหนึ่งเป็นผู้ใหญ่ในวัยกลางคนขึ้นไปและได้รับความสำเร็จทางเศรษฐกิจสูง กลุ่มนี้มักละทิ้งอาชีพที่ทำรายได้มหาศาลและบ้านเรือนหรูหราออกไปใช้ชีวิตกับธรรมชาติแบบเรียบง่ายในชนบทด้วยการทำเกษตรกรรมในครัวเรือน และกลุ่มที่สามชื่อว่า “อามิช” ซึ่งยังดำเนินชีวิตแบบชาวนาไทยในสมัยก่อน กล่าวคือ ยังทำไร่ไถนาโดยใช้ม้าลากไถ ไม่ใช้ไฟฟ้า ไม่ใช้เครื่องจักรกล ไม่มีรถยนต์และโทรศัพท์ในบ้าน
ผมเคยนำเรื่องราวของชาวอามิชมาเล่าไว้ในหนังสือชื่อ “อเมริกาที่ยังใช้ม้าเทียมไถ” [ซึ่งอาจดาวน์โหลดได้ฟรีที่เว็บไซต์ของคลังเอกสารสาธารณะ www.openbase.in.th] พวกเขาและชาวไร่ชาวนารุ่นปู่ย่าตายายของคนไทยมีชีวิตและความเป็นอยู่ตามยุคเกษตรกรรมซึ่งอาจแสดงได้ตามจุด A ของสามเหลี่ยมในภาพ เราทราบแล้วว่าโลกตกอยู่ในยุคเกษตรกรรมราว 8,000 ปีก่อนที่จะมีการประดิษฐ์เครื่องจักรกลจนเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อราว 250 ปีที่ผ่านมา การปฏิวัติอุตสาหกรรมนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่เมื่อชาวไร่ชาวนาพากันอพยพเข้าไปทำงานในเมือง ความเปลี่ยนแปลงจากชีวิตแนวเกษตรกรรมไปสู่ชีวิตที่มีการอุตสาหกรรมเป็นหลักเปรียบเสมือนการเคลื่อนจากจุด A ขึ้นไปสู่จุด B เมื่อชาวโลกมีความก้าวหน้าจากการพัฒนาอุตสาหกรรมจนทำให้สามารถบริโภคได้มากขึ้นเป็นส่วนใหญ่ แต่ในขณะเดียวกันมันก็นำความเสียหายร้ายแรงมาด้วย เช่น การแข่งขันและความกดดันอย่างเข้มข้นซึ่งนำไปสู่ความเครียด การขาดความเอื้ออาทรนำไปสู่ความหงอยเหงาเศร้าซึม การอยู่กันอย่างแออัดท่ามกลางอากาศและสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษทำให้ชีวิตในเมืองไม่ปลอดภัยทั้งด้านร่างกายและด้านทรัพย์สิน และการบริโภคแบบสุดโต่งนำไปสู่การเผาผลาญทรัพยากรและการทำลายสิ่งแวดล้อมซึ่งเท่ากับเรากำลังเผาบ้านตัวเอง
สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ที่มีโอกาสสัมผัสหรือได้ศึกษาอย่างถ่องแท้ตระหนักว่า ความก้าวหน้าที่พาสังคมเคลื่อนไปสู่จุด B นั้นเปรียบเสมือนการขึ้นไปอยู่บนภูเขาสูง มันจะทำให้พวกเขาลื่นตกลงมาจนขาหรือคอหักได้ พวกเขาจึงมองหาทางออก การอพยพกลับไปอยู่ในชนบทเป็นทางเลือกหนึ่งซึ่งเปรียบเสมือนการกลับไปอยู่บนที่ราบอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวออกไปสู่ชนบทไม่ใช่การกลับไปสู่จุด A หากเป็นการเคลื่อนไปสู่จุด C ซึ่งมีความแตกต่างจากจุด A ในนัยสำคัญ นั่นคือ ผู้อยู่ ณ จุด C มีความรู้ความเข้าใจในวิวัฒนาการของโลกอย่างถ่องแท้และเลือกที่จะใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายด้วยความสมัครใจ ส่วนผู้ที่อยู่ ณ จุด A โดยทั่วไปขาดความรู้ความเข้าใจดังกล่าว ซึ่งรวมทั้งชาวไร่ชาวนาไทยในรุ่นปู่ย่าตายายและชาวชนบทอีกมากมายซึ่งยังกระจัดกระจายกันอยู่ทั่วโลกในปัจจุบัน
สำหรับผม สามเหลี่ยมนี้มีค่าเกินทองคำเพราะมันทำให้ผมมองเห็นภาพของกระบวนการพัฒนาได้อย่างกระจ่างขึ้น กล่าวคือ จุด A เป็นสังคมแบบดั้งเดิมซึ่งวางอยู่บนฐานของการสืบทอดต่อๆ กันมาและยังถูกครอบงำด้วยอวิชชาเป็นส่วนใหญ่ จุด B สะท้อนความก้าวหน้าเมื่ออวิชชาลดลง แต่มีปัญหาร้ายแรงตามมาจากการพัฒนาบนฐานของการบริโภคแบบสุดโต่ง จุด C เป็นสังคมหลังวัตถุนิยมซึ่งงดการผลาญทรัพยากรเพื่อบริโภคโดยไม่จำเป็น จากมุมมองของการพัฒนา จึงอาจสรุปได้ว่าไม่มีความจำเป็นที่เราจะต้องพยายามพัฒนาประเทศและเศรษฐกิจไปในแนวจุด B ก่อนที่จะรู้ว่ามันไม่ใช่การพัฒนาที่นำไปสู่ความสงบสุขแบบยั่งยืน เราสามารถพัฒนาจากจุด A ไปในแนวจุด C ได้โดยไม่ต้องเสียเวลาค้นหาสัจธรรมข้อนี้อีกครั้ง”
เนื้อหาของบทความที่นำมาปันเป็นกรอบใหญ่ที่ทำให้สรุปเนื้อหาที่เขียนมาได้คร่าวๆ ว่า กับดักเชื้อเพลิงราคาถูกเป็นส่วนหนึ่งของกับดักขนาดใหญ่ที่กำลังทำให้สังคมโลกหลงเดินเข้าไปติด สังคมไหนฉุกคิดขึ้นได้ก่อน สังคมนั้นอาจรอดตัว สังคมไทยอาจเป็นหนึ่งในสังคมดังกล่าวหากเราพากันศึกษาแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงให้แตกฉานแล้วนำไปปฏิบัติกันแบบจริงจังอย่างทั่วถึง