ASTVผู้จัดการรายวัน - GPSC เลื่อนเข้าตลาดหุ้นกลางปีนี้เป็นไตรมาส3-4 หลังภาวะตลาดไม่เอื้ออำนวย โดยมีแผนขายหุ้นIPO 25-30% คาดว่าระดมทุนได้ 7-8 พันล้านบาทเพื่อใช้ขยายการลงทุนธุรกิจไฟฟ้าทั้งในและต่างประเทศ เน้นเมียนมาร์และลาว เผยเซ็นกู้5 แบงก์ใหญ่ วงเงิน 8.6 พันล้านบาท ใช้ชำระทรัพย์สินโรงไฟฟ้าของกลุ่มปตท.และขยายการลงทุน
นายสุรงค์ บูลกุล ประธานกรรมการ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (GPSC) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แผนการนำบริษัท GPSC เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯในกลางปีนี้คงไม่ทัน เนื่องจากสภาพตลาดทุนไม่เอื้ออำนวยจากปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง แม้ว่าบริษัทฯจะมีความพร้อม คงต้องเลื่อนการเข้าตลาดหุ้นไปเป็นไตรมาส 3-4 แทน แต่หากภาวะตลาดยังไม่เอื้อก็คงต้องเลื่อนการเข้าระดมทุนไปเป็นปีหน้าแทน
ทั้งนี้ บริษัท GPSC มีแผนจะเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไป (IPO)ประมาณ 25-30% โดยตั้งที่ปรึกษาทางการเงิน ดังนี้ คือ บล.เคที ซีมิโก้ บล.ทิสโก้ และบล.ฟินันซ่า คาดว่าจะระดมทุนได้ประมาณ 7,000-8,000 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับแผนธุรกิจของบริษัทฯ GPSC เป็นบริษัทที่เกิดจากการรวมธุรกิจไฟฟ้าในเครือปตท.เข้าด้วยกัน โดยมีการโอนธุรกิจด้งกล่าวให้กับบริษัท GPSC ซึ่งถือเป็นบริษัทแกนนำธุรกิจไฟฟ้าของกลุ่มปตท. (Power Flagship ) เนื่องจากความต้องการใช้ไฟฟ้าและสาธารณูปการของบริษัทในกลุ่ม ปตท. เพิ่มขึ้นตามการขยายการลงทุน และความต้องการใช้ไฟฟ้าภายในประเทศที่มีอัตราเติบโตเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 4% ต่อปี
รวมถึงความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน
ซึ่งปัจจุบัน GPSC มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 1,038 เมกะวัตต์ โดยสิ้นนี้บริษัทฯจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็น 1,800 เมกะวัตต์ หลังรับโอนธุรกิจไฟฟ้าเพิ่มเติม ซึ่งรวมสัดส่วนการถือหุ้นโรงไฟฟ้าไซยะบุรี ที่สปป.ลาว และมีแผนจะเพิ่มกำลังการผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้นเป็น 6,000 เมกะวัตต์ภายในปี 2565
โดยเป้าหมายกำลังการผลิต 6,000 เมกะวัตต์นี้จะมาจากธุรกิจไฟฟ้าพลังงานทดแทน อาทิ โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าพลังน้ำคิดเป็น 5-10% ที่เหลือจะเป็นธุรกิจไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) โรงไฟฟ้าเอกชนอิสระขนาดใหญ่ (IPP) รวมถึงการพัฒนาโรงไฟฟ้าระบบโคเจเนอเรชั่นที่ได้ร่วมทุนกับกลุ่มปตท. ซึ่งมีอยู่ 2-3 โครงการที่อยู่ระหว่างการเตรียมการ เช่น โรงไฟฟ้าไออาร์พีซีกรีน ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าSPP จำนวน 2 โรง คิดเป็นกำลังผลิต 240 เมกะวัตต์ โครงการโรงไฟฟ้าในนิคมฯเอเชีย 500 เมกะวัตต์ ซึ่งอยู่ระหว่างการทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) รวมทั้งแผนการขยายการลงทุนโรงไฟฟ้าในเมียนมาร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งตามแผนการเพิ่มกำลังผลิตของ GPSC จะมีสัดส่วนกำลังผลิตในต่างประเทศ ไม่น้อยกว่า 30 %
" บริษัทสนใจลงทุนธุรกิจไฟฟ้าในพม่าเพราะเป็นประเทศที่ยังมีความต้องการใช้ไฟอีกมาก โดยพม่ามีการใช้ไฟน้อยกว่าไทยถึง 10 เท่า คงต้องดูว่าปริมาณก๊าซฯในแหล่งM3 จะมีโอกาสให้บริษัทฯเข้าไปร่วมทุนทำโรงไฟฟ้าได้ ซึ่งขณะนี้บริษัทสนใจลงทุนโรงไฟฟ้าใน 3 พื้นที่ใกล้เนปิดอร์ ย่างกุ้ง และทางใต้ (ทวาย) คงต้องรอดูผลการศึกษา
ขณะที่อินโดนีเซียก็เป็นประเทศที่มีศักยภาพด้านธุรกิจไฟฟ้าที่ดี และปตท.ก็มีฐานการผลิตถ่านหิน แต่ทั้งนี้เบื้องต้นบริษัทจะโฟกัสที่เมียนมาร์และลาวเป็นหลัก "
สำหรับรายได้ในปีนี้ของบริษัท GPSC คาดว่าจะใกล้เคียงปีที่แล้วที่มีรายได้รวม 2.4 หมื่นล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 1150 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบัน บริษัทเข้าไปถือหุ้นในโรงไฟฟ้าดังนี้ คือ บริษัท ผลิตไฟฟ้าและพลังงานร่วม (CHPP) บริษัท บางปะอิน โคเจนเนอเรชั่น จำกัด บริษัท ผลิตไฟฟ้านวนคร จำกัด โรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี และโรงไฟฟ้าพลังน้ำ-น้ำลิก1 ที่สปป.ลาว
โรงไฟฟ้าไทยโซล่ารีนิวเอเบิล (TSR) เป็นต้น
วานนี้ (20 มี.ค.) นายสุรงค์ บูลกุล เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาเงินกู้ ระหว่าง GPSC กับ 5 ธนาคาร ประกอบด้วย ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) ธนาคารมิซูโฮ คอร์ปอเรต จํากัด และธนาคารออมสิน วงเงินรวม 8,600 ล้านบาท เพื่อนำไปชำระการโอนสินทรัพย์ธุรกิจไฟฟ้าเป็นส่วนใหญ่และที่เหลือจะนำไปใช้ขยายการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ส่วนธุรกิจเหมืองถ่านหินในอินโดนีเซีย นายสุรงค์ กล่าวว่า ในปีนี้ธุรกิจถ่านหินจะมีกำไรโตเท่าตัวเป็น 20 ล้านเหรียญสหรัฐ จากปีก่อนทำได้ 10 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากในปีนี้คาดว่าจะสามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้อีกเหลือ 45-50 เหรียญ/ตัน จากปีก่อนมีต้นทุนการผลิตที่ 60 เหรียญสหรัฐ/ตัน ขณะที่ราคาขายเฉลี่ยปีนี้คาดใกล้ 80 เหรียญสหรัฐ /ตัน จากปีก่อนมีราคาขายที่ 74-75
เหรียญสหรัฐ/ตัน โดยมีเป้าหมายขายถ่านหินในปีนี้ 8-10 ล้านตัน จากปีก่อน ขายได้ 11 ล้านตัน
นายสุรงค์ กล่าวว่า ในปลายปีนี้ ปตท.จะมีหุ้นกู้ครบกำหนด จำนวน 2 หมื่นล้านบาทในปลายปีนี้ แต่ปตท.มีสภาพคล่องสูง เนื่องจากมีหลายโครงการที่เลื่อนออกไป ทำให้มีกระแสเงิสดมาก ดังนั้นคาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังจะขอตัดสินใจว่าจะออกหุ้นกู้เพื่อทดแทนหุ้นกู้เดิมหรือไม่
นายสุรงค์ บูลกุล ประธานกรรมการ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (GPSC) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แผนการนำบริษัท GPSC เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯในกลางปีนี้คงไม่ทัน เนื่องจากสภาพตลาดทุนไม่เอื้ออำนวยจากปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง แม้ว่าบริษัทฯจะมีความพร้อม คงต้องเลื่อนการเข้าตลาดหุ้นไปเป็นไตรมาส 3-4 แทน แต่หากภาวะตลาดยังไม่เอื้อก็คงต้องเลื่อนการเข้าระดมทุนไปเป็นปีหน้าแทน
ทั้งนี้ บริษัท GPSC มีแผนจะเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไป (IPO)ประมาณ 25-30% โดยตั้งที่ปรึกษาทางการเงิน ดังนี้ คือ บล.เคที ซีมิโก้ บล.ทิสโก้ และบล.ฟินันซ่า คาดว่าจะระดมทุนได้ประมาณ 7,000-8,000 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับแผนธุรกิจของบริษัทฯ GPSC เป็นบริษัทที่เกิดจากการรวมธุรกิจไฟฟ้าในเครือปตท.เข้าด้วยกัน โดยมีการโอนธุรกิจด้งกล่าวให้กับบริษัท GPSC ซึ่งถือเป็นบริษัทแกนนำธุรกิจไฟฟ้าของกลุ่มปตท. (Power Flagship ) เนื่องจากความต้องการใช้ไฟฟ้าและสาธารณูปการของบริษัทในกลุ่ม ปตท. เพิ่มขึ้นตามการขยายการลงทุน และความต้องการใช้ไฟฟ้าภายในประเทศที่มีอัตราเติบโตเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 4% ต่อปี
รวมถึงความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน
ซึ่งปัจจุบัน GPSC มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 1,038 เมกะวัตต์ โดยสิ้นนี้บริษัทฯจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็น 1,800 เมกะวัตต์ หลังรับโอนธุรกิจไฟฟ้าเพิ่มเติม ซึ่งรวมสัดส่วนการถือหุ้นโรงไฟฟ้าไซยะบุรี ที่สปป.ลาว และมีแผนจะเพิ่มกำลังการผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้นเป็น 6,000 เมกะวัตต์ภายในปี 2565
โดยเป้าหมายกำลังการผลิต 6,000 เมกะวัตต์นี้จะมาจากธุรกิจไฟฟ้าพลังงานทดแทน อาทิ โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าพลังน้ำคิดเป็น 5-10% ที่เหลือจะเป็นธุรกิจไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) โรงไฟฟ้าเอกชนอิสระขนาดใหญ่ (IPP) รวมถึงการพัฒนาโรงไฟฟ้าระบบโคเจเนอเรชั่นที่ได้ร่วมทุนกับกลุ่มปตท. ซึ่งมีอยู่ 2-3 โครงการที่อยู่ระหว่างการเตรียมการ เช่น โรงไฟฟ้าไออาร์พีซีกรีน ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าSPP จำนวน 2 โรง คิดเป็นกำลังผลิต 240 เมกะวัตต์ โครงการโรงไฟฟ้าในนิคมฯเอเชีย 500 เมกะวัตต์ ซึ่งอยู่ระหว่างการทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) รวมทั้งแผนการขยายการลงทุนโรงไฟฟ้าในเมียนมาร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งตามแผนการเพิ่มกำลังผลิตของ GPSC จะมีสัดส่วนกำลังผลิตในต่างประเทศ ไม่น้อยกว่า 30 %
" บริษัทสนใจลงทุนธุรกิจไฟฟ้าในพม่าเพราะเป็นประเทศที่ยังมีความต้องการใช้ไฟอีกมาก โดยพม่ามีการใช้ไฟน้อยกว่าไทยถึง 10 เท่า คงต้องดูว่าปริมาณก๊าซฯในแหล่งM3 จะมีโอกาสให้บริษัทฯเข้าไปร่วมทุนทำโรงไฟฟ้าได้ ซึ่งขณะนี้บริษัทสนใจลงทุนโรงไฟฟ้าใน 3 พื้นที่ใกล้เนปิดอร์ ย่างกุ้ง และทางใต้ (ทวาย) คงต้องรอดูผลการศึกษา
ขณะที่อินโดนีเซียก็เป็นประเทศที่มีศักยภาพด้านธุรกิจไฟฟ้าที่ดี และปตท.ก็มีฐานการผลิตถ่านหิน แต่ทั้งนี้เบื้องต้นบริษัทจะโฟกัสที่เมียนมาร์และลาวเป็นหลัก "
สำหรับรายได้ในปีนี้ของบริษัท GPSC คาดว่าจะใกล้เคียงปีที่แล้วที่มีรายได้รวม 2.4 หมื่นล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 1150 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบัน บริษัทเข้าไปถือหุ้นในโรงไฟฟ้าดังนี้ คือ บริษัท ผลิตไฟฟ้าและพลังงานร่วม (CHPP) บริษัท บางปะอิน โคเจนเนอเรชั่น จำกัด บริษัท ผลิตไฟฟ้านวนคร จำกัด โรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี และโรงไฟฟ้าพลังน้ำ-น้ำลิก1 ที่สปป.ลาว
โรงไฟฟ้าไทยโซล่ารีนิวเอเบิล (TSR) เป็นต้น
วานนี้ (20 มี.ค.) นายสุรงค์ บูลกุล เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาเงินกู้ ระหว่าง GPSC กับ 5 ธนาคาร ประกอบด้วย ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) ธนาคารมิซูโฮ คอร์ปอเรต จํากัด และธนาคารออมสิน วงเงินรวม 8,600 ล้านบาท เพื่อนำไปชำระการโอนสินทรัพย์ธุรกิจไฟฟ้าเป็นส่วนใหญ่และที่เหลือจะนำไปใช้ขยายการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ส่วนธุรกิจเหมืองถ่านหินในอินโดนีเซีย นายสุรงค์ กล่าวว่า ในปีนี้ธุรกิจถ่านหินจะมีกำไรโตเท่าตัวเป็น 20 ล้านเหรียญสหรัฐ จากปีก่อนทำได้ 10 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากในปีนี้คาดว่าจะสามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้อีกเหลือ 45-50 เหรียญ/ตัน จากปีก่อนมีต้นทุนการผลิตที่ 60 เหรียญสหรัฐ/ตัน ขณะที่ราคาขายเฉลี่ยปีนี้คาดใกล้ 80 เหรียญสหรัฐ /ตัน จากปีก่อนมีราคาขายที่ 74-75
เหรียญสหรัฐ/ตัน โดยมีเป้าหมายขายถ่านหินในปีนี้ 8-10 ล้านตัน จากปีก่อน ขายได้ 11 ล้านตัน
นายสุรงค์ กล่าวว่า ในปลายปีนี้ ปตท.จะมีหุ้นกู้ครบกำหนด จำนวน 2 หมื่นล้านบาทในปลายปีนี้ แต่ปตท.มีสภาพคล่องสูง เนื่องจากมีหลายโครงการที่เลื่อนออกไป ทำให้มีกระแสเงิสดมาก ดังนั้นคาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังจะขอตัดสินใจว่าจะออกหุ้นกู้เพื่อทดแทนหุ้นกู้เดิมหรือไม่