ASTVผู้จัดการรายวัน-ธ.ก.ส.เริ่มจ่ายเงิน 2 หมื่นล้านให้ชาวนาแล้ว คาดจ่ายเสร็จ 26 มี.ค.นี้ แต่ข่าวร้าย ยังค้างอีก 9.7 หมื่นล้าน เหลือชาวนาที่ยังไม่ได้เงิน 7 แสนราย ส่วนการประมูลข้าวผ่านเอเฟตสุดเงียบ มียื่นซองแค่ 7 ราย เสนอซื้อปริมาณต่ำกว่าที่เปิดประมูลและเจอกดราคาซ้ำ เผยส่งเงินคืนคลังพลาดเป้าแน่ หลังประมูล 6 ครั้งได้เงินแค่ 4.8 พันล้าน "หมอวรงค์"จวกรัฐแถไม่เลิก อ้างราคาข้าวตก เพราะไม่มีจำนำ ทั้งๆ ที่ตัวเองลดแลกแจกแถมระบายข้าวช่วงผลผลิตออกสู่ตลาด
นายสุพัฒน์ เอี้ยวฉาย ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส.ได้เริ่มจ่ายเงินให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวปี 2556/57 ตั้งแต่วานนี้ (19 มี.ค.) หลังจากที่ได้รับงบกลางอีก 2 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะมีเกษตรกรได้รับเงินจำนวน 1.8 แสนราย ปริมาณข้าว 1.3 ล้านตัน ซึ่งหากรวมเงินที่ธ.ก.ส.ได้จ่ายไปก่อนหน้านี้ 7.3 หมื่นล้านบาท จ่ายให้เกษตรกร 5.83 แสนราย ปริมาณข้าวเปลือก 4.4 ล้านตัน จะทำให้เหลือเงินค้างจ่ายอีก 9.7 หมื่นล้านบาท จำนวนเกษตรกร 7 แสนราย จากที่รับจำนำมาทั้งสิ้น 11.6 ล้านตัน วงเงินรวม 1.9 แสนล้านบาท
"ขณะนี้อยู่ระหว่างหารือกับกระทรวงการคลัง เพื่อหาแหล่งเงินนำมาจ่ายให้กับเกษตรกรในส่วนที่เหลือ เพราะเงินที่ได้จากการระบายข้าวที่กระทรวงพาณิชย์ส่งเงินให้ ธ.ก.ส. ตั้งแต่เดือนม.ค. ได้มาแล้วประมาณ 3 หมื่นล้านบาท แต่จากนี้ไปคงจะลดลง เพราะกระทรวงพาณิชย์ต้องกันเงินไว้เพื่อส่งคืนงบกลางที่ยืมมาภายในวันที่ 31 พ.ค.2557"
สำหรับการจัดสรรเงินงบกลาง 2 หมื่นล้านบาท จะใช้เกณฑ์เงินคงค้างในแต่ละพื้นที่ โดยพื่้นที่ได้รับเงินมากที่สุด คือ ภาคเหนือตอนล่าง เช่น พิจิตร กำแพงเพชร นครสรรค์ พิษณุโลก พื้นที่รองลงมา ได้แก่ อีสานตอนล่าง เช่น นครราชสีมา อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร เป็นต้น โดยเฉลี่ยมียอดใบประทวนค้างรับประมาณ 1.1 แสนบาทต่อราย และศักยภาพของสาขา ธ.ก.ส. จะจ่ายเงินได้ประมาณ 3-4 พันล้านบาทต่อวัน จึงต้องใช้เวลา 7-10 วัน ถึงจะจ่ายเงินได้ครบ คาดว่าภายในวันที่ 26 มี.ค.นี้
อย่างไรก็ตาม ในสัปดาห์หน้า จะประชุมคณะกรรมการกองทุนช่วยเหลือชาวนา เพื่อจัดสรรเงินจากกองทุนเพิ่มเติมไปให้สาขาต่างๆ หลังจากสัปดาห์นี้ ได้โอนเงินไปแล้ว 500 ล้านบาท จะทำให้ในแต่ละสัปดาห์จะมีเงินหมุนเวียนจ่ายค่าจำนำข้าวอย่างต่อเนื่อง ส่วนข้อเสนอของชาวนาในการหาแหล่งเงิน ทั้งการใช้งบกลางมาจ่ายเพิ่มเติมและการกู้เงินของกระทรวงการคลัง เป็นเรื่องระดับนโยบาย ที่ต้องตัดสินใจในเรื่องดังกล่าว
***ประมูลข้าวเอเฟตเงียบยื่นซื้อแค่7ราย
นายศักดา ทองปลาด รักษาการผู้จัดการตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (เอเฟต) กล่าวภายหลังการเปิดซองประมูลข้าวสารในสต๊อกรัฐบาลปริมาณ 2.44 แสนตัน ซึ่งเป็นการจัดทดแทนการประมูลเมื่อวันที่ 12 มี.ค.ที่ผ่านมาว่า มีเอกชนยื่นซองประมูลจำนวน 7 ราย เสนอประมูลจำนวน 1.05 แสนตัน แบ่งเป็นข้าวขาว 5% ปริมาณ 1.03 แสนตัน เสนอราคาส่วนต่างที่ลบ 2.48-3.90 บาท และข้าวหอมมะลิปริมาณ 2 พันตัน เสนอราคาส่วนต่างลบ 5.70 บาท โดยราคากลางของข้าวขาว 5% อยู่ที่กิโลกรัม (กก.) ละ 12.70 บาท และข้าวหอมมะลิ กก.ละ 29.70 บาท
ทั้งนี้ ยอมรับว่าการเร่งระบายข้าวในสต๊อกของรัฐบาลผ่านหลายช่องทาง ได้ส่งผลกระทบต่อการประมูลผ่านเอเฟต ทั้งราคาและจำนวนผู้เข้าร่วมประมูล และจะส่งผลกระทบต่อการคืนเงินให้กับกระทรวงการคลัง เพราะตามแผนจะระบายข้าวผ่านเอเฟตปริมาณ 1 ล้านตัน คืนเงินไม่ต่ำกว่า 1.8 หมื่นล้านบาท แต่จากการประมูล 6 ครั้งที่ผ่านมา ได้เงินเพียง 4.8 พันล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าเป้ามาก อีกทั้งการประมูลที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นข้าวขาว ซึ่งมีสัดส่วนมากถึง 94% ข้าวหอมมะลิ 6% ต่ำกว่าแผนเดิมที่จะประมูลข้าวขาว 60% ข้าวหอมมะลิ 40% จึงต้องปรับแผนมาเป็นประมูลข้าวหอมมะลิให้มากขึ้น
***เผยแนวโน้มราคาข้าวลดต่อเนื่อง
แหล่งข่าวจากวงการค้าข้าว กล่าวว่า ราคาข้าวกำลังตกต่ำอย่างต่อเนื่อง โดยราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ราคาเฉลี่ยที่ตันละ 7,500 บาท แต่ชาวนาจะขายได้ราคาต่ำกว่านี้ เพราะค่าความชื้นที่สูง อีกทั้งผลผลิตข้าวนาปรัง 2557 ไม่มีมาตรการดูแลราคาจากรัฐบาล ก็ยิ่งทำให้ราคามีแต่ตกลง และถูกกดราคา แม้ว่าปีนี้ จะมีปัญหาเรื่องภัยแล้ง แต่ก็ไม่ได้ส่งผลดีต่อราคาข้าว เนื่องจากช่วงที่ผลผลิตออกมามาก ก็ถูกกดราคาอยู่ดี ประกอบกับรัฐบาลเร่งระบายข้าวออกมาเป็นจำนวนมาก ทำให้ไม่มีใครมาซื้อข้าวจากชาวนา
***ซัดรัฐโกหกข้าวเปลือกราคาขึ้น
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีต ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ขณะนี้ชาวนาเดือดร้อนมาก เพราะต้องขายข้าวเปลือกในราคาถูกตันละ 5,000 บาท แต่นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ กลับอ้างว่าเป็นเพราะโครงการรับจำนำไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ ถือเป็นความพยายามแก้ตัว ทั้งๆ ที่เป็นเพราะการระบายข้าวของรัฐบาล ทำให้ราคาตก เนื่องจากมีการระบายมากในช่วงเก็บเกี่ยว และข้าวที่ระบายยังมีปัญหาเสื่อมคุณภาพ เพราะมีการทุจริตเวียนเทียนข้าว
"ตอนนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กำลังจะติดคุก จากการโกงจำนำข้าวแล้ว แต่ก็ยังไม่เลิกพฤติกรรมโกง โดยร่วมกันเป็นขบวนการ และมีนักการเมืองอยู่เบื้องหลัง ผมไม่ขอเปิดเผยว่าได้รูปภาพพวกนี้มาจากโกดังไหน เพราะเกรงว่ารัฐบาลจะเข้าไปปกปิดหลักฐานอีก จึงให้เวลารัฐบาลว่า จะออกมาชี้แจงอย่างไร ถ้าไม่ดำเนินการอะไร ก็จะออกมาแฉว่า ในภาพนี้คือที่ไหน"
ด้านนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ พยายามการหลีกเลี่ยงที่จะให้ความร่วมมือกับการตรวจสอบของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยอ้างว่า ไม่มีรายละเอียดที่ครอบคลุม และให้เวลาชี้แจงน้อยเกินไป ซึ่งเป็นคำพูดที่ขัดกันเอง เพราะควรจะชี้แจงตามคำร้อง 49 หน้า และไม่จำเป็นต้องมีการขยายเวลา เพื่อให้การตรวจสอบเดินหน้า และเป็นประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาให้ชาวนา โดยยุติความพยายามทำลายความน่าเชื่อถือ และต้องพร้อมดำเนินการตามกระบวนการกฎหมาย หากถูกชี้มูลว่ามีความผิด
***ชาวนาพิษณุโลกผิดหวังยังไม่ได้เงิน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวนาจำนวนมากได้เดินทางมารอดูลำดับการจ่ายเงินในโครงการจำนำข้าวที่ธ.ก.ส. สาขา อ.เมืองพิษณุโลก หลังทราบข่าวการอนุมัติงบกลาง 2 หมื่นล้านบาทมาจ่ายค่าจำนำข้าว แต่ก็ต้องผิดหวังเนื่องจากยังไม่มีงบประมาณลงมาแต่อย่างใด ขณะเดียวกัน ชาวนาจำนวนหลายสิบรายได้นำเอกสารมายื่นขอกู้เงินกรณีพิเศษตามโครงการสินเชื่อเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของชาวนาที่ทาง ธ.ก.ส.ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ รายละไม่เกิน 1 แสนบาท
นายสุพัฒน์ เอี้ยวฉาย ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส.ได้เริ่มจ่ายเงินให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวปี 2556/57 ตั้งแต่วานนี้ (19 มี.ค.) หลังจากที่ได้รับงบกลางอีก 2 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะมีเกษตรกรได้รับเงินจำนวน 1.8 แสนราย ปริมาณข้าว 1.3 ล้านตัน ซึ่งหากรวมเงินที่ธ.ก.ส.ได้จ่ายไปก่อนหน้านี้ 7.3 หมื่นล้านบาท จ่ายให้เกษตรกร 5.83 แสนราย ปริมาณข้าวเปลือก 4.4 ล้านตัน จะทำให้เหลือเงินค้างจ่ายอีก 9.7 หมื่นล้านบาท จำนวนเกษตรกร 7 แสนราย จากที่รับจำนำมาทั้งสิ้น 11.6 ล้านตัน วงเงินรวม 1.9 แสนล้านบาท
"ขณะนี้อยู่ระหว่างหารือกับกระทรวงการคลัง เพื่อหาแหล่งเงินนำมาจ่ายให้กับเกษตรกรในส่วนที่เหลือ เพราะเงินที่ได้จากการระบายข้าวที่กระทรวงพาณิชย์ส่งเงินให้ ธ.ก.ส. ตั้งแต่เดือนม.ค. ได้มาแล้วประมาณ 3 หมื่นล้านบาท แต่จากนี้ไปคงจะลดลง เพราะกระทรวงพาณิชย์ต้องกันเงินไว้เพื่อส่งคืนงบกลางที่ยืมมาภายในวันที่ 31 พ.ค.2557"
สำหรับการจัดสรรเงินงบกลาง 2 หมื่นล้านบาท จะใช้เกณฑ์เงินคงค้างในแต่ละพื้นที่ โดยพื่้นที่ได้รับเงินมากที่สุด คือ ภาคเหนือตอนล่าง เช่น พิจิตร กำแพงเพชร นครสรรค์ พิษณุโลก พื้นที่รองลงมา ได้แก่ อีสานตอนล่าง เช่น นครราชสีมา อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร เป็นต้น โดยเฉลี่ยมียอดใบประทวนค้างรับประมาณ 1.1 แสนบาทต่อราย และศักยภาพของสาขา ธ.ก.ส. จะจ่ายเงินได้ประมาณ 3-4 พันล้านบาทต่อวัน จึงต้องใช้เวลา 7-10 วัน ถึงจะจ่ายเงินได้ครบ คาดว่าภายในวันที่ 26 มี.ค.นี้
อย่างไรก็ตาม ในสัปดาห์หน้า จะประชุมคณะกรรมการกองทุนช่วยเหลือชาวนา เพื่อจัดสรรเงินจากกองทุนเพิ่มเติมไปให้สาขาต่างๆ หลังจากสัปดาห์นี้ ได้โอนเงินไปแล้ว 500 ล้านบาท จะทำให้ในแต่ละสัปดาห์จะมีเงินหมุนเวียนจ่ายค่าจำนำข้าวอย่างต่อเนื่อง ส่วนข้อเสนอของชาวนาในการหาแหล่งเงิน ทั้งการใช้งบกลางมาจ่ายเพิ่มเติมและการกู้เงินของกระทรวงการคลัง เป็นเรื่องระดับนโยบาย ที่ต้องตัดสินใจในเรื่องดังกล่าว
***ประมูลข้าวเอเฟตเงียบยื่นซื้อแค่7ราย
นายศักดา ทองปลาด รักษาการผู้จัดการตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (เอเฟต) กล่าวภายหลังการเปิดซองประมูลข้าวสารในสต๊อกรัฐบาลปริมาณ 2.44 แสนตัน ซึ่งเป็นการจัดทดแทนการประมูลเมื่อวันที่ 12 มี.ค.ที่ผ่านมาว่า มีเอกชนยื่นซองประมูลจำนวน 7 ราย เสนอประมูลจำนวน 1.05 แสนตัน แบ่งเป็นข้าวขาว 5% ปริมาณ 1.03 แสนตัน เสนอราคาส่วนต่างที่ลบ 2.48-3.90 บาท และข้าวหอมมะลิปริมาณ 2 พันตัน เสนอราคาส่วนต่างลบ 5.70 บาท โดยราคากลางของข้าวขาว 5% อยู่ที่กิโลกรัม (กก.) ละ 12.70 บาท และข้าวหอมมะลิ กก.ละ 29.70 บาท
ทั้งนี้ ยอมรับว่าการเร่งระบายข้าวในสต๊อกของรัฐบาลผ่านหลายช่องทาง ได้ส่งผลกระทบต่อการประมูลผ่านเอเฟต ทั้งราคาและจำนวนผู้เข้าร่วมประมูล และจะส่งผลกระทบต่อการคืนเงินให้กับกระทรวงการคลัง เพราะตามแผนจะระบายข้าวผ่านเอเฟตปริมาณ 1 ล้านตัน คืนเงินไม่ต่ำกว่า 1.8 หมื่นล้านบาท แต่จากการประมูล 6 ครั้งที่ผ่านมา ได้เงินเพียง 4.8 พันล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าเป้ามาก อีกทั้งการประมูลที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นข้าวขาว ซึ่งมีสัดส่วนมากถึง 94% ข้าวหอมมะลิ 6% ต่ำกว่าแผนเดิมที่จะประมูลข้าวขาว 60% ข้าวหอมมะลิ 40% จึงต้องปรับแผนมาเป็นประมูลข้าวหอมมะลิให้มากขึ้น
***เผยแนวโน้มราคาข้าวลดต่อเนื่อง
แหล่งข่าวจากวงการค้าข้าว กล่าวว่า ราคาข้าวกำลังตกต่ำอย่างต่อเนื่อง โดยราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ราคาเฉลี่ยที่ตันละ 7,500 บาท แต่ชาวนาจะขายได้ราคาต่ำกว่านี้ เพราะค่าความชื้นที่สูง อีกทั้งผลผลิตข้าวนาปรัง 2557 ไม่มีมาตรการดูแลราคาจากรัฐบาล ก็ยิ่งทำให้ราคามีแต่ตกลง และถูกกดราคา แม้ว่าปีนี้ จะมีปัญหาเรื่องภัยแล้ง แต่ก็ไม่ได้ส่งผลดีต่อราคาข้าว เนื่องจากช่วงที่ผลผลิตออกมามาก ก็ถูกกดราคาอยู่ดี ประกอบกับรัฐบาลเร่งระบายข้าวออกมาเป็นจำนวนมาก ทำให้ไม่มีใครมาซื้อข้าวจากชาวนา
***ซัดรัฐโกหกข้าวเปลือกราคาขึ้น
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีต ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ขณะนี้ชาวนาเดือดร้อนมาก เพราะต้องขายข้าวเปลือกในราคาถูกตันละ 5,000 บาท แต่นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ กลับอ้างว่าเป็นเพราะโครงการรับจำนำไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ ถือเป็นความพยายามแก้ตัว ทั้งๆ ที่เป็นเพราะการระบายข้าวของรัฐบาล ทำให้ราคาตก เนื่องจากมีการระบายมากในช่วงเก็บเกี่ยว และข้าวที่ระบายยังมีปัญหาเสื่อมคุณภาพ เพราะมีการทุจริตเวียนเทียนข้าว
"ตอนนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กำลังจะติดคุก จากการโกงจำนำข้าวแล้ว แต่ก็ยังไม่เลิกพฤติกรรมโกง โดยร่วมกันเป็นขบวนการ และมีนักการเมืองอยู่เบื้องหลัง ผมไม่ขอเปิดเผยว่าได้รูปภาพพวกนี้มาจากโกดังไหน เพราะเกรงว่ารัฐบาลจะเข้าไปปกปิดหลักฐานอีก จึงให้เวลารัฐบาลว่า จะออกมาชี้แจงอย่างไร ถ้าไม่ดำเนินการอะไร ก็จะออกมาแฉว่า ในภาพนี้คือที่ไหน"
ด้านนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ พยายามการหลีกเลี่ยงที่จะให้ความร่วมมือกับการตรวจสอบของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยอ้างว่า ไม่มีรายละเอียดที่ครอบคลุม และให้เวลาชี้แจงน้อยเกินไป ซึ่งเป็นคำพูดที่ขัดกันเอง เพราะควรจะชี้แจงตามคำร้อง 49 หน้า และไม่จำเป็นต้องมีการขยายเวลา เพื่อให้การตรวจสอบเดินหน้า และเป็นประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาให้ชาวนา โดยยุติความพยายามทำลายความน่าเชื่อถือ และต้องพร้อมดำเนินการตามกระบวนการกฎหมาย หากถูกชี้มูลว่ามีความผิด
***ชาวนาพิษณุโลกผิดหวังยังไม่ได้เงิน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวนาจำนวนมากได้เดินทางมารอดูลำดับการจ่ายเงินในโครงการจำนำข้าวที่ธ.ก.ส. สาขา อ.เมืองพิษณุโลก หลังทราบข่าวการอนุมัติงบกลาง 2 หมื่นล้านบาทมาจ่ายค่าจำนำข้าว แต่ก็ต้องผิดหวังเนื่องจากยังไม่มีงบประมาณลงมาแต่อย่างใด ขณะเดียวกัน ชาวนาจำนวนหลายสิบรายได้นำเอกสารมายื่นขอกู้เงินกรณีพิเศษตามโครงการสินเชื่อเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของชาวนาที่ทาง ธ.ก.ส.ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ รายละไม่เกิน 1 แสนบาท