ชาวนาบุกคลังทวงเงินค่าข้าววันที่ 2 พร้อมขนข้าวไปเทกองไว้อีก แย้มวันนี้มาเทอีก หากไม่ได้รับการเหลียวแล ผู้ส่งออกเผยแนวโน้มราคาส่งออกข้าวรูดต่อเนื่อง หลังรัฐเทกระจาดระบายสต๊อก จับตาข้าวเปลือกตกเหลือตันละ 6 พัน ด้าน "ปู" โบ้ยม็อบขวางทำให้ชาวนาได้รับเงินล่าช้า ส่วนเงินกองทุนช่วยเหลือชาวนา มีเงินเข้ามา 900 ล้านบาท ถึงมือเกษตรกร 500 ล้าน วันนี้ (14 มี.ค.) ขณะที่ป.ป.ช.ขยายเวลาให้นายกฯ ชี้แจงโกงข้าวออกไปอีก 15 วัน
วานนี้ (13 มี.ค.) กลุ่มชาวนาที่ปักหลักชุมนุมที่กระทรวงพาณิชย์ ได้เดินทางไปยังกระทรวงการคลัง เพื่อทวงถามความคืบหน้าการจ่ายเงินจำนำข้าว และขอให้กระทรวงการคลังรับซื้อข้าวเปลือกที่ชาวนาได้นำไปเทไว้ ทั้งเมื่อวันที่ 12 มี.ค. และ 13 มี.ค. ซึ่งในช่วง 2 วันที่ผ่านมา ได้นำไปเทไว้แล้วเกือบ 20 ตัน
นายระวี รุ่งเรือง ประธานเครือข่ายชาวนาไทย กล่าวว่า วันนี้ (14 มี.ค.) จะเคลื่อนขบวน โดยมีเป้าหมายที่กระทรวงการคลังเช่นเดิม และจะเรียกร้องเหมือนเดิม คือ ให้จ่ายเงินค่าข้าว และรับซื้อข้าวเปลือกที่ได้นำไปเทไว้ โดยหากไม่ได้รับการตอบสนอง จะนำข้าวเปลือกมาเทอีก โดยจะมีชาวนาจากจังหวัดนครปฐมนำข้าวเปลือกอีก 12 ตันมาเทไว้ที่กระทรวงการคลัง
นอกจากนี้ มีแผนที่จะเจรจากับกระทรวงพาณิชย์ เพื่อหาพื้นที่ทำการสีข้าวเปลือกหอมมะลิจัดทำเป็นข้าวถุงเครือข่ายชาวนาไทย จำหน่ายให้กับผู้สนใจ เพื่อให้ความช่วยเหลือชาวนาในช่วงที่ยังไม่ได้รับเงินจากโครงการรับจำนำ และยังมีแผนที่จะไปเจรจากับผู้บัญชาการทหารบก กรมราชทัณฑ์ และกรมการค้าภายใน เพื่อขอให้ช่วยรับซื้อข้าวจากชาวนา ซึ่งเป็นฤดูนาปรังที่กำลังเก็บเกี่ยวอยู่ในขณะนี้
***ราคาข้าวส่งออกลดลงต่อเนื่อง
นายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า แนวโน้มราคาส่งออกข้าวไทยได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยข้าวขาว 5% ราคาขณะนี้อยู่ที่ 410 เหรียญสหรัฐต่อตัน มีโอกาสต่ำกว่า 400 เหรียญสหรัฐต่อตัน ขณะที่ราคาส่งออกของเวียดนามอยู่ที่ 370-380 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลงเช่นเดียวกัน ซึ่งมีสาเหตุมาจากปริมาณข้าวในตลาดโลกเพิ่มขึ้นเกินไปกว่าความต้องการบริโภคจากการที่รัฐบาลไทยเร่งระบายข้าวเดือนละ 1 ล้านตัน เวียดนามมีผลผลิตออกสู่ตลาด และอินเดียมีสต๊อกข้าวเพิ่มขึ้น
***แนวโน้มราคาข้าวเปลือกร่วงต่อ
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ปัจจุบันราคาข้าวเปลือกที่ชาวนาขายได้ในตลาดอยู่ที่ตันละ 7,000 บาท ซึ่งคิดเป็นราคาข้าวสารในประเทศอยู่ที่ตันละ 1.2 หมื่นบาท และเป็นราคาส่งออกที่ตันละ 400-410 เหรียญสหรัฐ หากราคาส่งออกข้าวขาว 5% ลดต่ำกว่า 400 เหรียญสหรัฐ จะทำให้ราคาข้าวเปลือกที่ชาวนาจะขายในตลาดเหลือตันละ 6,000 กว่าบาท และราคาข้าวสารในประเทศเหลือตันละ 1-1.1 หมื่นบาท
*** "ปู"โบ้ยม็อบทำจ่ายเงินชาวนาล่าช้า ***
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กล่าวว่า ขณะที่รัฐบาลกำลังหาเงินจ่ายให้กับชาวนา แต่ม็อบ กปปส. ไปปิดล้อม จนต้องล้มการประมูลข้าว ซึ่งความจริงถ้าเรารัก เราสงสารชาวนา ทำไมเราไม่แยกเรื่องความคิดเห็นต่าง ทางการเมืองออกไป แล้วบอกว่าทุกคนมุ่งเป้าในการช่วยกันแก้ปัญหาให้ชาวนา
ที่ผ่านมาหลายคนอาจจะบอกว่าไม่เห็นด้วยกับโครงการของรัฐบาล เราก็มีกลไกของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ตรวจสอบรัฐบาลอยู่แล้ว แต่ทำไมต้องเอากลไกนี้ มาทำให้กระบวนการในการจ่ายเงินของชาวนาถูกลิดรอนไป เราถูกขัดขวางตั้งแต่กระบวนการ ในเรื่องที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทำงาน และธนาคารรัฐทุกธนาคารในการทำงานร่วมกับกระทรวงการคลัง เราไม่ได้รับความร่วมมือ เราไม่สามารถเดินได้ เราก็หันมาเดินหน้าในการระบายข้าว ก็มีการเปิดประมูลอย่างถูกต้อง แต่ก็ถูกขัดขวางอีก แล้วอย่างนี้ชาวนาจะได้เงินได้อย่างไร
แม้กระทั่งขบวนการในการฟ้องร้อง ถ้ามีการฟ้องร้องคดีตรงนั้น แล้วชาวนาจะได้เงินได้อย่างไร เงินตรงนั้นก็ไม่สามารถจ่ายได้ เพราะตรงนั้นเป็นขั้นตอนของกฏหมาย ก็ต้องรอขั้นตอนของกฏหมายเป็นที่สิ้นสุด อย่างนี้ก็ยิ่งทำให้พี่น้องชาวนา ได้เงินช้าลง ทำไม เราไม่ช่วยกันบอกว่า แยกออกจากกันได้ไหม จะลงโทษรัฐบาล ก็มีกระบวนการอยู่แล้ว แต่อย่าลงโทษชาวนาเลย อย่าเอารัฐบาลมาทำให้ชาวนาเดือดร้อน หลายท่านอาจบอกว่า รัฐบาลนี้ไม่มีความเชื่อมั่น เปลี่ยนรัฐบาลอื่น แต่ตนเชื่อว่า ทุกรัฐบาลก็ต้องทำกระบวนการนี้ แต่ทำไมต้องให้กระบวนการนี้เกิดความล่าช้า เดินหน้าไม่ได้ แล้วชาวนาก็เดือดร้อน
**จวก"ปู"จงใจหนีป.ป.ช.ไม่แจงโกงข้าว
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ขอขยายเวลาชี้แจงกรณีทุจริตจำนำข้าวกับป.ป.ช. ว่า เป็นการไม่ให้ความร่วมมือกับป.ป.ช. เพราะหากมั่นใจว่าชี้แจงได้ทุกประเด็น ก็สามารถตอบคำถามได้ หากเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่การที่ขอขยายเวลาไปเรื่อยๆ เพราะตอบคำถามไม่ได้ และเป็นการเปิดแผลการทุจริต คอร์รัปชันครั้งประวัติศาสตร์ชาติไทย นอกจากนี้ยังมีความจงใจที่จะหลีกเลี่ยงการให้ถ้อยคำกับ ป.ป.ช.ที่กำหนดในวันที่ 14 มี.ค.57 โดยมีการกำหนดภารกิจในต่างจังหวัดล่วงหน้าวันที่ 13-16มี.ค. เพราะไม่ให้ความสำคัญกับองค์กรอิสระ อีกทั้งโครงการนี้ยังมีปัญหาในเรื่องการเบิกจ่ายเงินยืมงบฉุกเฉิน 2 หมื่นล้านบาท มาจ่ายจำนำข้าวโดยต้องใช้คืนภายในวันที่ 31 พ.ค.57 ก็เชื่อว่าจะมีปัญหาในอนาคต
**ป.ป.ช.ขยายเวลา"ปู"ชีแจงอีก 15 วัน
นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการุทจริตแห่งชาติ หรือป.ป.ช. กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการป.ป.ช.ว่า ที่ประชุมป.ป.ช. ได้มีการพิจารณากรณีที่ทนายความของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มายื่นหนังสือต่อประธานป.ป.ช.เมื่อวันที่ 12 มี.ค. ว่านายกรัฐมนตรีขอขยายระยะเวลาการยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวในคดีทุจริต โครงการรับจำนำข้าวออกไปอีก 45 วันนับแต่วันครบกำหนดเดิมที่ป.ป.ช.กำหนดไว้ในวันที่ 14 มี.ค. โดยอ้างเหตุผลว่าจำเป็นต้องใช้เวลาในการตรวจสอบพยานหลักฐานที่มีจำนวนมาก โดยที่ประชุมป.ป.ช.มีมติอนุญาตขยายเวลาให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในการเข้าชี้แจงแก้ข้อกล่าวกรณีทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว ไปอีก 15 วันนับแต่วันที่ 14 มี.ค. โดย ป.ป.ช.ได้มีหนังสือแจ้งไปยัง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ทราบต่อไป
***ธ.ก.ส.เผยยอดกองทุนชาวนา900ล้าน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยผลการดำเนินงานตั้งแต่เปิดโครงการกองทุนช่วยเหลือชาวนาเมื่อวันที่ 3 มี.ค.ที่ผ่านมา ล่าสุดหลังปิดทำการวานนี้ (13 มี.ค.) เม็ดเงินอยู่ที่ 902,504,569 บาท หรือเพิ่มขึ้น 56,215,166 บาท จากวันก่อนที่มียอดรวมที่ 846,289,403 บาท แบ่งเป็นกองทุนที่ 1 มียอดบริจาค 19,307,879 บาท กองทุนที่ 2 มียอดสมทบแบบไม่มีผลตอบแทนอยู่ที่ 610,267,048 บาท และกองทุนที่ 3 มียอดสมทบแบบมีผลตอบแทนอยู่ที่ 272,929,641 บาท
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธ.ก.ส. ในฐานะประธานกรรมการกองทุนช่วยเหลือชาวนา กล่าวว่า เพื่อให้เงินดังกล่าวไปถึงมือเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนในเวลาอันรวดเร็วตามความประสงค์ของผู้ร่วมบริจาคและผู้ร่วมสมทบ คณะกรรมการกองทุนช่วยเหลือชาวนาจึงได้จัดสรรเงินทุนก้อนแรกจำนวน 500 ล้านบาท ไปยัง ธ.ก.ส.ทุกสาขาเพื่อส่งต่อไปยังเกษตรกร
"ธ.ก.ส.จะจ่ายเงินดังกล่าวตามคิวใบประทวนที่ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว ตามลำดับก่อนหลังอย่างเคร่งครัด โปร่งใส ภายในวันพรุ่งนี้ (14 มี.ค.) ซึ่งคาดว่าจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรได้ประมาณ 3,000 ราย"
ในส่วนของงบฉุกเฉินหรืองบกลางจำนวน 20,000 ล้านบาท ที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้อนุมัติให้นำมาจ่ายชำระหนี้เกษตรกรตามใบประทวนที่เกษตรกรได้รับก่อนการยุบสภานั้น นายลักษณ์กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการขอเบิกจ่ายงบดังกล่าว โดยกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งหากเงินดังกล่าวมาถึง ธ.ก.ส.จะเร่งดำเนินการจัดสรรให้กับเกษตรกรต่อไป
ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวปี 2556/57 ณ วันปิดโครงการคือวันที่ 28 ก.พ.2557 มีจำนวนเกษตรกรที่ได้รับใบประทวนทั้งสิ้น 1,527,290 ราย ปริมาณข้าวเปลือก 11.62 ล้านตัน จำนวนเงิน 190.815 ล้านบาท ซึ่ง ธ.ก.ส.ได้ทยอยจ่ายเงินให้เกษตรกรจนถึงวันที่ 13 มี.ค.2557 แล้วจำนวน 71,224 ล้านบาท คิดเป็นปริมาณข้าวเปลือก 4.39 ล้านตัน จำนวนเกษตรกรที่ได้รับเงินแล้ว 581,284 ราย.
วานนี้ (13 มี.ค.) กลุ่มชาวนาที่ปักหลักชุมนุมที่กระทรวงพาณิชย์ ได้เดินทางไปยังกระทรวงการคลัง เพื่อทวงถามความคืบหน้าการจ่ายเงินจำนำข้าว และขอให้กระทรวงการคลังรับซื้อข้าวเปลือกที่ชาวนาได้นำไปเทไว้ ทั้งเมื่อวันที่ 12 มี.ค. และ 13 มี.ค. ซึ่งในช่วง 2 วันที่ผ่านมา ได้นำไปเทไว้แล้วเกือบ 20 ตัน
นายระวี รุ่งเรือง ประธานเครือข่ายชาวนาไทย กล่าวว่า วันนี้ (14 มี.ค.) จะเคลื่อนขบวน โดยมีเป้าหมายที่กระทรวงการคลังเช่นเดิม และจะเรียกร้องเหมือนเดิม คือ ให้จ่ายเงินค่าข้าว และรับซื้อข้าวเปลือกที่ได้นำไปเทไว้ โดยหากไม่ได้รับการตอบสนอง จะนำข้าวเปลือกมาเทอีก โดยจะมีชาวนาจากจังหวัดนครปฐมนำข้าวเปลือกอีก 12 ตันมาเทไว้ที่กระทรวงการคลัง
นอกจากนี้ มีแผนที่จะเจรจากับกระทรวงพาณิชย์ เพื่อหาพื้นที่ทำการสีข้าวเปลือกหอมมะลิจัดทำเป็นข้าวถุงเครือข่ายชาวนาไทย จำหน่ายให้กับผู้สนใจ เพื่อให้ความช่วยเหลือชาวนาในช่วงที่ยังไม่ได้รับเงินจากโครงการรับจำนำ และยังมีแผนที่จะไปเจรจากับผู้บัญชาการทหารบก กรมราชทัณฑ์ และกรมการค้าภายใน เพื่อขอให้ช่วยรับซื้อข้าวจากชาวนา ซึ่งเป็นฤดูนาปรังที่กำลังเก็บเกี่ยวอยู่ในขณะนี้
***ราคาข้าวส่งออกลดลงต่อเนื่อง
นายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า แนวโน้มราคาส่งออกข้าวไทยได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยข้าวขาว 5% ราคาขณะนี้อยู่ที่ 410 เหรียญสหรัฐต่อตัน มีโอกาสต่ำกว่า 400 เหรียญสหรัฐต่อตัน ขณะที่ราคาส่งออกของเวียดนามอยู่ที่ 370-380 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลงเช่นเดียวกัน ซึ่งมีสาเหตุมาจากปริมาณข้าวในตลาดโลกเพิ่มขึ้นเกินไปกว่าความต้องการบริโภคจากการที่รัฐบาลไทยเร่งระบายข้าวเดือนละ 1 ล้านตัน เวียดนามมีผลผลิตออกสู่ตลาด และอินเดียมีสต๊อกข้าวเพิ่มขึ้น
***แนวโน้มราคาข้าวเปลือกร่วงต่อ
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ปัจจุบันราคาข้าวเปลือกที่ชาวนาขายได้ในตลาดอยู่ที่ตันละ 7,000 บาท ซึ่งคิดเป็นราคาข้าวสารในประเทศอยู่ที่ตันละ 1.2 หมื่นบาท และเป็นราคาส่งออกที่ตันละ 400-410 เหรียญสหรัฐ หากราคาส่งออกข้าวขาว 5% ลดต่ำกว่า 400 เหรียญสหรัฐ จะทำให้ราคาข้าวเปลือกที่ชาวนาจะขายในตลาดเหลือตันละ 6,000 กว่าบาท และราคาข้าวสารในประเทศเหลือตันละ 1-1.1 หมื่นบาท
*** "ปู"โบ้ยม็อบทำจ่ายเงินชาวนาล่าช้า ***
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กล่าวว่า ขณะที่รัฐบาลกำลังหาเงินจ่ายให้กับชาวนา แต่ม็อบ กปปส. ไปปิดล้อม จนต้องล้มการประมูลข้าว ซึ่งความจริงถ้าเรารัก เราสงสารชาวนา ทำไมเราไม่แยกเรื่องความคิดเห็นต่าง ทางการเมืองออกไป แล้วบอกว่าทุกคนมุ่งเป้าในการช่วยกันแก้ปัญหาให้ชาวนา
ที่ผ่านมาหลายคนอาจจะบอกว่าไม่เห็นด้วยกับโครงการของรัฐบาล เราก็มีกลไกของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ตรวจสอบรัฐบาลอยู่แล้ว แต่ทำไมต้องเอากลไกนี้ มาทำให้กระบวนการในการจ่ายเงินของชาวนาถูกลิดรอนไป เราถูกขัดขวางตั้งแต่กระบวนการ ในเรื่องที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทำงาน และธนาคารรัฐทุกธนาคารในการทำงานร่วมกับกระทรวงการคลัง เราไม่ได้รับความร่วมมือ เราไม่สามารถเดินได้ เราก็หันมาเดินหน้าในการระบายข้าว ก็มีการเปิดประมูลอย่างถูกต้อง แต่ก็ถูกขัดขวางอีก แล้วอย่างนี้ชาวนาจะได้เงินได้อย่างไร
แม้กระทั่งขบวนการในการฟ้องร้อง ถ้ามีการฟ้องร้องคดีตรงนั้น แล้วชาวนาจะได้เงินได้อย่างไร เงินตรงนั้นก็ไม่สามารถจ่ายได้ เพราะตรงนั้นเป็นขั้นตอนของกฏหมาย ก็ต้องรอขั้นตอนของกฏหมายเป็นที่สิ้นสุด อย่างนี้ก็ยิ่งทำให้พี่น้องชาวนา ได้เงินช้าลง ทำไม เราไม่ช่วยกันบอกว่า แยกออกจากกันได้ไหม จะลงโทษรัฐบาล ก็มีกระบวนการอยู่แล้ว แต่อย่าลงโทษชาวนาเลย อย่าเอารัฐบาลมาทำให้ชาวนาเดือดร้อน หลายท่านอาจบอกว่า รัฐบาลนี้ไม่มีความเชื่อมั่น เปลี่ยนรัฐบาลอื่น แต่ตนเชื่อว่า ทุกรัฐบาลก็ต้องทำกระบวนการนี้ แต่ทำไมต้องให้กระบวนการนี้เกิดความล่าช้า เดินหน้าไม่ได้ แล้วชาวนาก็เดือดร้อน
**จวก"ปู"จงใจหนีป.ป.ช.ไม่แจงโกงข้าว
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ขอขยายเวลาชี้แจงกรณีทุจริตจำนำข้าวกับป.ป.ช. ว่า เป็นการไม่ให้ความร่วมมือกับป.ป.ช. เพราะหากมั่นใจว่าชี้แจงได้ทุกประเด็น ก็สามารถตอบคำถามได้ หากเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่การที่ขอขยายเวลาไปเรื่อยๆ เพราะตอบคำถามไม่ได้ และเป็นการเปิดแผลการทุจริต คอร์รัปชันครั้งประวัติศาสตร์ชาติไทย นอกจากนี้ยังมีความจงใจที่จะหลีกเลี่ยงการให้ถ้อยคำกับ ป.ป.ช.ที่กำหนดในวันที่ 14 มี.ค.57 โดยมีการกำหนดภารกิจในต่างจังหวัดล่วงหน้าวันที่ 13-16มี.ค. เพราะไม่ให้ความสำคัญกับองค์กรอิสระ อีกทั้งโครงการนี้ยังมีปัญหาในเรื่องการเบิกจ่ายเงินยืมงบฉุกเฉิน 2 หมื่นล้านบาท มาจ่ายจำนำข้าวโดยต้องใช้คืนภายในวันที่ 31 พ.ค.57 ก็เชื่อว่าจะมีปัญหาในอนาคต
**ป.ป.ช.ขยายเวลา"ปู"ชีแจงอีก 15 วัน
นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการุทจริตแห่งชาติ หรือป.ป.ช. กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการป.ป.ช.ว่า ที่ประชุมป.ป.ช. ได้มีการพิจารณากรณีที่ทนายความของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มายื่นหนังสือต่อประธานป.ป.ช.เมื่อวันที่ 12 มี.ค. ว่านายกรัฐมนตรีขอขยายระยะเวลาการยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวในคดีทุจริต โครงการรับจำนำข้าวออกไปอีก 45 วันนับแต่วันครบกำหนดเดิมที่ป.ป.ช.กำหนดไว้ในวันที่ 14 มี.ค. โดยอ้างเหตุผลว่าจำเป็นต้องใช้เวลาในการตรวจสอบพยานหลักฐานที่มีจำนวนมาก โดยที่ประชุมป.ป.ช.มีมติอนุญาตขยายเวลาให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในการเข้าชี้แจงแก้ข้อกล่าวกรณีทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว ไปอีก 15 วันนับแต่วันที่ 14 มี.ค. โดย ป.ป.ช.ได้มีหนังสือแจ้งไปยัง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ทราบต่อไป
***ธ.ก.ส.เผยยอดกองทุนชาวนา900ล้าน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยผลการดำเนินงานตั้งแต่เปิดโครงการกองทุนช่วยเหลือชาวนาเมื่อวันที่ 3 มี.ค.ที่ผ่านมา ล่าสุดหลังปิดทำการวานนี้ (13 มี.ค.) เม็ดเงินอยู่ที่ 902,504,569 บาท หรือเพิ่มขึ้น 56,215,166 บาท จากวันก่อนที่มียอดรวมที่ 846,289,403 บาท แบ่งเป็นกองทุนที่ 1 มียอดบริจาค 19,307,879 บาท กองทุนที่ 2 มียอดสมทบแบบไม่มีผลตอบแทนอยู่ที่ 610,267,048 บาท และกองทุนที่ 3 มียอดสมทบแบบมีผลตอบแทนอยู่ที่ 272,929,641 บาท
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธ.ก.ส. ในฐานะประธานกรรมการกองทุนช่วยเหลือชาวนา กล่าวว่า เพื่อให้เงินดังกล่าวไปถึงมือเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนในเวลาอันรวดเร็วตามความประสงค์ของผู้ร่วมบริจาคและผู้ร่วมสมทบ คณะกรรมการกองทุนช่วยเหลือชาวนาจึงได้จัดสรรเงินทุนก้อนแรกจำนวน 500 ล้านบาท ไปยัง ธ.ก.ส.ทุกสาขาเพื่อส่งต่อไปยังเกษตรกร
"ธ.ก.ส.จะจ่ายเงินดังกล่าวตามคิวใบประทวนที่ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว ตามลำดับก่อนหลังอย่างเคร่งครัด โปร่งใส ภายในวันพรุ่งนี้ (14 มี.ค.) ซึ่งคาดว่าจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรได้ประมาณ 3,000 ราย"
ในส่วนของงบฉุกเฉินหรืองบกลางจำนวน 20,000 ล้านบาท ที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้อนุมัติให้นำมาจ่ายชำระหนี้เกษตรกรตามใบประทวนที่เกษตรกรได้รับก่อนการยุบสภานั้น นายลักษณ์กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการขอเบิกจ่ายงบดังกล่าว โดยกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งหากเงินดังกล่าวมาถึง ธ.ก.ส.จะเร่งดำเนินการจัดสรรให้กับเกษตรกรต่อไป
ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวปี 2556/57 ณ วันปิดโครงการคือวันที่ 28 ก.พ.2557 มีจำนวนเกษตรกรที่ได้รับใบประทวนทั้งสิ้น 1,527,290 ราย ปริมาณข้าวเปลือก 11.62 ล้านตัน จำนวนเงิน 190.815 ล้านบาท ซึ่ง ธ.ก.ส.ได้ทยอยจ่ายเงินให้เกษตรกรจนถึงวันที่ 13 มี.ค.2557 แล้วจำนวน 71,224 ล้านบาท คิดเป็นปริมาณข้าวเปลือก 4.39 ล้านตัน จำนวนเกษตรกรที่ได้รับเงินแล้ว 581,284 ราย.