ณ บ้านพระอาทิตย์
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ด็อกเตอร์มัลคอล์ม เคนดริค (Malcolm Kendrick) ได้เขียนหนังสือชื่อ “The Great Cholesterol Con” ซึ่งได้ศึกษาเชิงเปรียบเทียบเรื่องผลดีของคอเลสเตอรอลโดยรวบรวมข้อมูลการศึกษา 14 ประเทศ ได้อธิบายย้อนกลับข้อมูลของญี่ปุ่น พบว่า เมื่อปี พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ชาวญี่ปุ่น กินอาหารให้พลังงานรวมประมาณ 2,837 แคลอรี่ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2542 ( ค.ศ.1999) ชาวญี่ปุ่นกินอาหารให้พลังงานรวมลดน้อยลงเหลือประมาณ 2,202 แคลอรี่ ช่วงเวลา 41 ปีที่ผ่านไปนั้น ชาวญี่ปุ่นได้เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดยรับประทานคาร์โบไฮเดรตในสัดส่วนน้อยลง จาก 84% เหลือ 62% รับประทานโปรตีนมากขึ้นจาก 11% เหลือ 18% และรับประทานไขมันเพิ่มมากขึ้นจาก 5% เป็น 20%
ฟังดูเผินๆถ้าคิดแบบดั้งเดิมเราคงต้องคิดว่าคนญี่ปุ่นน่าจะเป็นโรคหัวใจเพิ่มมากขึ้นใช่หรือไม่?
ผลจากการบริโภคดังกล่าวที่เปลี่ยนไปในช่วงเวลา 41 ปี ปรากฏว่าชาวญี่ปุ่นมีคอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้นจาก 3.9 มิลลิโมลต่อลิตร (mmol/l) เทียบเท่า 150.58 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dl) ในปี พ.ศ. 2501 (ค.ศ.1958) มาเป็น 4.9 มิลลิโมลต่อลิตร เทียบเท่า 189.19 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ในปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999)
สรุปก็คือตลอดระยะเวลา 41 ปีที่คนญี่ปุ่นมีคอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้น 20% ปรากฏว่าชาวญี่ปุ่นเสียชีวิตโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันลดลง และโรคหลอดเลือดในสมองนั้นลดลงอย่างเห็นได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดในสมองของผู้ชายญี่ปุ่นที่อายุระหว่าง 60-69 ปีนั้น ลดลงไปถึงกว่า 83%
อย่างไรก็ตามการศึกษาและติดตามที่ยาวนานที่สุดเกี่ยวกับเรื่องโรคหลอดเลือดและหัวใจนั้น คงจะต้องกล่าวถึงการศึกษาในเมืองฟรามิงแฮม Framingham study มลรัฐแมสซาชูเซท ประเทศสหรัฐอเมริกาที่ทำการศึกษาและติดตามโรคหลอดเลือดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) ด้วยการติดตามผลจากประชากร 5,209 คน ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 ได้มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยบอสตัน รวมถึงได้รับความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญอีกหลายโรงพยาบาลและหลายมหาวิทยาลัย และปัจจุบันก็ยังดำเนินการศึกษาอยู่ในประชากรรุ่นที่ 3 แล้ว จึงถือว่าเป็นการศึกษาที่มีความต่อเนื่องยาวนานที่ทั่วโลกให้ความสำคัญและจับตามอง
เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2530 วารสารแห่งสมาคมแพทย์อเมริกัน ได้ตีพิมพ์บทความ เรื่อง คอเลสเตอรอลและอัตราการเสียชีวิต โดยติดตามผล 30 ปีจากการศึกษาของฟรามิงแฮม “Cholesterol and mortality.30 years of follow-up from the Frmingham Study” จัดทำโดย แอนเดอร์สัน (Keaven M. Anderson) และคณะ เอาไว้อย่างน่าสนใจเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างอายุของคนกับการมีคอเลสเตอรอลซึ่งสรุปเอาไว้ว่า:
“หากอายุน้อยกว่า 50 ปี ระดับปริมาณของคอเลสเตอรอลในหลอดเลือดมีผลโดยไปในทางเดียวกันกับอัตราการเสียชีวิตโดยรวมและโรคหลอดเลือดโดยรวมในช่วงเวลา 30 ปี โดยทุกๆ 10 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรของคอเลสเตอรอลที่เพิ่มขึ้น จะมีอัตราความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้นด้วยประมาณ 5% ในขณะเดียวกันก็จะเพิ่มอัตราความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดและหัวใจเพิ่มขึ้น 9 %
ในขณะที่ประชากรเมื่ออายุมากกว่า 50 ปีไปแล้ว กลับพบว่าไม่มีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นทั้งคนที่คอเลสเตอรอลต่ำหรือสูง อย่างไรก็ตามพบความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในการลดลงของคอเลสเตอรอลในช่วง 14 ปีแรกของกลุ่มสำรวจ และติดตามผลอัตราการเสียชีวิตในรอบ 18 ปีในกลุ่มคนที่อายุ 50 ปี ขึ้นไปพบว่า
"เมื่อระดับคอเลสเตอรอลลดลง 1 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร กลับทำให้อัตราการเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้น 11% และอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดและหัวใจเพิ่มขึ้น 14% หรืออีกนัยหนึ่งหากคอเลสเตอรอลลดลงไป 1 มิลลิโมลต่อลิตร (ลดไป 38 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) ความเสี่ยงในการเสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นถึง 429 %”
จากข้อมูลเหล่านี้คณะผู้ศึกษาวิจัยจึงแนะนำว่าคนที่อายุน้อยกว่า 50 ปี ให้รักษาระดับคอเลสเตอรอลให้อยู่ในระดับต่ำเพื่อพัฒนาขยายอายุขัยเพราะร่างกายสังเคราะห์คอเลสเตอรอลเองได้สูงอยู่แล้ว (ทั้งๆที่ความจริงคนเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดและหัวใจที่มีอายุต่ำกว่า 50 ปีนั้นถือเป็นส่วนน้อย แต่คนส่วนใหญ่ที่ป่วยด้วยโรคไหลเวียนเลือดและหัวใจจะมีอายุเกินกว่า 50 ปีขึ้นไป) แต่หลังอายุ 50 ปีไปแล้ว พบความสัมพันธ์ของอัตราการเสียชีวิตในกลุ่มประชากรที่มีระดับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดที่ลดลง
นอกจากนี้ ยังพบรายงานการศึกษาอีกหลายชิ้น ที่ยืนยันว่าคนที่มีอายุเกินกว่า 50 ปีแล้วหากมีคอเลสเตอรอลต่ำ นั่นหมายถึงความเสี่ยงในการเสียชีวิตจะเพิ่มมากขึ้น ดังนี้
วารสารสุขภาพผู้หญิง ได้ตีพิมพ์รายงานการศึกษาผู้ที่มีคอเลสเตอรอลต่ำและอัตราการเสียชีวิตในประเทศออสเตรีย ด้วยการศึกษาประชากรมากถึง 149,650 ทั้งชายและหญิง โดยการศึกษานี้ในช่วง 15 ปีสุดท้ายได้ติดตามผลจับตาอย่างใกล้ชิดเป้าหมายผู้ชาย 70,000 คน และในผู้หญิงมากกว่า 80,000 คน ที่มีอายุระหว่าง 20 ปี ถึง 95 ปี และสรุปว่า ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 50 ปี และมีคอเลสเตอรอลอยู่ในระดับต่ำมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยยะสำคัญกับแทบทุกสาเหตุของการเสียชีวิต และยังแสดงให้เห็นว่าคอเลสเตอรอลที่ต่ำนั้นยังมีสัมพันธ์กับสาเหตุการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง โรคตับ และผู้ป่วยทางจิตด้วย
วารสารแพทย์อังกฤษ ได้ตีพิมพ์เมี่อปี พ.ศ. 2538 ว่า ผู้ที่มีคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดต่ำกว่า 4.8 มิลลิโมลต่อลิตร หรือต่ำกว่า 185 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร มีอยู่ในผู้ชายประมาณ 5% ซึ่งพบว่ามีความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตสูงสุดในทุกสาเหตุแห่งโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
วารสารอเมริกันแห่งการระบาดวิทยา ได้ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2535 ถึงกรณีศึกษาชาวฟินแลนด์ ซึ่งได้ติดตามผลใน 7 ประเทศเป็นเวลา 25 ปี ได้ผลสรุปว่า ในระหว่าง 10 ปีของการติดตามผล ผู้ชายที่มีคอเลสเตอรอลสูงกลับมีอัตราการเสียชีวิตด้วยสาเหตุของทุกโรคอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า เพราะมีอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งและโรคอื่นๆอยู่ในระดับต่ำ
วารสารทางการแพทย์เดอะ แลนเซ็ท (The Lancet) ได้ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2541 ว่าผู้ที่สูงวัยเกินกว่า 85 ปี พบว่า การเพิ่มขึ้นของคอเลสเตอรอลทุกๆ 1 มิลลิโมลต่อลิตร (38 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) มีความสัมพันธ์ทำให้สาเหตุของการเสียชีวิตโดยทั่วไปลดลงไป 15%
วารสารทางการแพทย์ The Lancet ได้ตีพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ. 2532 ได้ทำการศึกษาผู้หญิง 92 คนที่พักอาศัยอยู่สถานพยาบาลบ้านพักคนชราแห่งหนึ่งที่ฝรั่งเศส และสำรวจคนที่เสียชีวิตใน 5 ปีที่มีการสำรวจพบว่า กลุ่มคนที่มีคอเลสเตอรอลในระดับสูงโดยมีค่าเฉลี่ย 7.0 มิลลิโมลต่อลิตร (270 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) กลับพบว่าเป็นกลุ่มอัตราการเสียชีวิตต่ำที่สุด แต่กลุ่มที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงสุดกลับเป็นกลุ่มที่มีคอเลสเตอรอลในระดับต่ำที่มีค่าเฉลี่ย 4.0 มิลลิโมลต่อลิตร (154.44 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) กลุ่มคนที่เสียชีวิตที่มีคอเลสเตอรอลต่ำดังกล่าวนี้มีอัตราการเสียชีวิตมากกว่าคนที่มีคอเลสเตอรอลในระดับสูงถึง 5.2 เท่าตัว
ถามว่าทำไมข้อมูลมันกลับด้านเช่นนี้ คำตอบเบื้องต้นมีดังนี้
เพราะคอเลสเตอรอลนั้นมีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เช่น เป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญในการสร้างฮอร์โมนเพศ วิตามินดี เยื่อหุ้มเซลล์ น้ำดี และฉนวนหุ้มใยประสาท ดังนั้นถ้าเรามีคอเลสเตอรอลลดลงก็แปลว่า การสังเคราะห์ ฮอร์โมนเพศ วิตามินดี เยื่อหุ้มเซลล์ น้ำดี และฉนวนหุ้มใยประสาทก็จะลดลงไปด้วย ก็หมายถึงว่าเรากำลังเข้าสู่ความเสื่อมของสุขภาพร่างกายแล้ว
คอเลสเตอรอลส่วนใหญ่ร่างกายผลิตขึ้นได้เองถึง 80% ส่วนใหญ่ถูกสังเคราะห์มาจากตับ สมอง ลำไส้เล็ก ต่อมหมวกไต ในยามอดอาหารคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดจะเพิ่มสูงขึ้นตามความต้องการใช้งาน เมื่อรับประทานอาหารมื้อแรกหลังการอดอาหารคอเลสเตอรอลจะลดระดับลงโดยทันที นั่นหมายความว่าร่างกายเราออกแบบกำหนดปริมาณคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดได้ตามการใช้งานให้สัมพันธ์กับการบริโภคของเราได้
คอเลสเตอรอลไม่ใช่สาเหตุของการอุดตันในเส้นเลือด แท้ที่จริงสาเหตุมาจากไขมันทรานส์ (ซึ่งมาจากเนยเทียม มาการ์รีน และพวกน้ำมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันถั่วเหลือง ข้าวโพด น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันรำข้าวที่โดนความร้อนสูงจนเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมี) และ พลาก (Plauges) ที่มีทั้งลิ่มเลือด คอเลสเตอรอล แคลเซียม ฯลฯ มาอุดตันตามหลอดเลือด ซึ่งวันนี้ได้มีการวิจัยแล้วว่าสารเริ่มต้นในการอุดตันนั้น 75% มาจากไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง พบมากใน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันรำข้าว ฯลฯ
เมื่อเราอายุมากขึ้นร่างกายจะเสื่อมสภาพลง การทำงานของไทรอยด์ฮอร์โมนจะต่ำลง ส่งผลทำให้อัตราการเผาผลาญต่ำลง และทำให้ตับ สมอง ลำไส้เล็ก ต่อมหมวกไตผลิตคอเลสเตอรอลได้น้อยลง เมื่อผลิตคอเลสเตรอลได้น้อยลงจึงทำให้ การสังเคราะห์ฮอร์โมนสำคัญ เช่น ฮอร์โมนเพศ วิตามินดี เยื่อหุ้มเซลล์ น้ำดี และฉนวนหุ้มใยประสาทก็จะลดลงไปด้วย ส่งผลทำให้ร่างกายเกิดความแปรปรวนในสุขภาพและจิตใจที่เสื่อมสภาพลง จึงเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ทุกโรค ทำให้คนใกล้เสียชีวิตส่วนใหญ่มักจะมีคอเลสเตอรอลลดลงมาอยู่ในระดับต่ำ
แต่ที่แน่ๆสำหรับคนที่กำลังกินยาลดคอเลสเตอรอล ควรจะต้องคิดใหม่ เลิกกินยาพวกนี้เสียตั้งแต่วันนี้จะปลอดภัยกว่าไหม !!?
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ด็อกเตอร์มัลคอล์ม เคนดริค (Malcolm Kendrick) ได้เขียนหนังสือชื่อ “The Great Cholesterol Con” ซึ่งได้ศึกษาเชิงเปรียบเทียบเรื่องผลดีของคอเลสเตอรอลโดยรวบรวมข้อมูลการศึกษา 14 ประเทศ ได้อธิบายย้อนกลับข้อมูลของญี่ปุ่น พบว่า เมื่อปี พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ชาวญี่ปุ่น กินอาหารให้พลังงานรวมประมาณ 2,837 แคลอรี่ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2542 ( ค.ศ.1999) ชาวญี่ปุ่นกินอาหารให้พลังงานรวมลดน้อยลงเหลือประมาณ 2,202 แคลอรี่ ช่วงเวลา 41 ปีที่ผ่านไปนั้น ชาวญี่ปุ่นได้เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดยรับประทานคาร์โบไฮเดรตในสัดส่วนน้อยลง จาก 84% เหลือ 62% รับประทานโปรตีนมากขึ้นจาก 11% เหลือ 18% และรับประทานไขมันเพิ่มมากขึ้นจาก 5% เป็น 20%
ฟังดูเผินๆถ้าคิดแบบดั้งเดิมเราคงต้องคิดว่าคนญี่ปุ่นน่าจะเป็นโรคหัวใจเพิ่มมากขึ้นใช่หรือไม่?
ผลจากการบริโภคดังกล่าวที่เปลี่ยนไปในช่วงเวลา 41 ปี ปรากฏว่าชาวญี่ปุ่นมีคอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้นจาก 3.9 มิลลิโมลต่อลิตร (mmol/l) เทียบเท่า 150.58 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dl) ในปี พ.ศ. 2501 (ค.ศ.1958) มาเป็น 4.9 มิลลิโมลต่อลิตร เทียบเท่า 189.19 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ในปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999)
สรุปก็คือตลอดระยะเวลา 41 ปีที่คนญี่ปุ่นมีคอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้น 20% ปรากฏว่าชาวญี่ปุ่นเสียชีวิตโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันลดลง และโรคหลอดเลือดในสมองนั้นลดลงอย่างเห็นได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดในสมองของผู้ชายญี่ปุ่นที่อายุระหว่าง 60-69 ปีนั้น ลดลงไปถึงกว่า 83%
อย่างไรก็ตามการศึกษาและติดตามที่ยาวนานที่สุดเกี่ยวกับเรื่องโรคหลอดเลือดและหัวใจนั้น คงจะต้องกล่าวถึงการศึกษาในเมืองฟรามิงแฮม Framingham study มลรัฐแมสซาชูเซท ประเทศสหรัฐอเมริกาที่ทำการศึกษาและติดตามโรคหลอดเลือดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) ด้วยการติดตามผลจากประชากร 5,209 คน ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 ได้มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยบอสตัน รวมถึงได้รับความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญอีกหลายโรงพยาบาลและหลายมหาวิทยาลัย และปัจจุบันก็ยังดำเนินการศึกษาอยู่ในประชากรรุ่นที่ 3 แล้ว จึงถือว่าเป็นการศึกษาที่มีความต่อเนื่องยาวนานที่ทั่วโลกให้ความสำคัญและจับตามอง
เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2530 วารสารแห่งสมาคมแพทย์อเมริกัน ได้ตีพิมพ์บทความ เรื่อง คอเลสเตอรอลและอัตราการเสียชีวิต โดยติดตามผล 30 ปีจากการศึกษาของฟรามิงแฮม “Cholesterol and mortality.30 years of follow-up from the Frmingham Study” จัดทำโดย แอนเดอร์สัน (Keaven M. Anderson) และคณะ เอาไว้อย่างน่าสนใจเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างอายุของคนกับการมีคอเลสเตอรอลซึ่งสรุปเอาไว้ว่า:
“หากอายุน้อยกว่า 50 ปี ระดับปริมาณของคอเลสเตอรอลในหลอดเลือดมีผลโดยไปในทางเดียวกันกับอัตราการเสียชีวิตโดยรวมและโรคหลอดเลือดโดยรวมในช่วงเวลา 30 ปี โดยทุกๆ 10 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรของคอเลสเตอรอลที่เพิ่มขึ้น จะมีอัตราความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้นด้วยประมาณ 5% ในขณะเดียวกันก็จะเพิ่มอัตราความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดและหัวใจเพิ่มขึ้น 9 %
ในขณะที่ประชากรเมื่ออายุมากกว่า 50 ปีไปแล้ว กลับพบว่าไม่มีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นทั้งคนที่คอเลสเตอรอลต่ำหรือสูง อย่างไรก็ตามพบความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในการลดลงของคอเลสเตอรอลในช่วง 14 ปีแรกของกลุ่มสำรวจ และติดตามผลอัตราการเสียชีวิตในรอบ 18 ปีในกลุ่มคนที่อายุ 50 ปี ขึ้นไปพบว่า
"เมื่อระดับคอเลสเตอรอลลดลง 1 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร กลับทำให้อัตราการเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้น 11% และอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดและหัวใจเพิ่มขึ้น 14% หรืออีกนัยหนึ่งหากคอเลสเตอรอลลดลงไป 1 มิลลิโมลต่อลิตร (ลดไป 38 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) ความเสี่ยงในการเสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นถึง 429 %”
จากข้อมูลเหล่านี้คณะผู้ศึกษาวิจัยจึงแนะนำว่าคนที่อายุน้อยกว่า 50 ปี ให้รักษาระดับคอเลสเตอรอลให้อยู่ในระดับต่ำเพื่อพัฒนาขยายอายุขัยเพราะร่างกายสังเคราะห์คอเลสเตอรอลเองได้สูงอยู่แล้ว (ทั้งๆที่ความจริงคนเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดและหัวใจที่มีอายุต่ำกว่า 50 ปีนั้นถือเป็นส่วนน้อย แต่คนส่วนใหญ่ที่ป่วยด้วยโรคไหลเวียนเลือดและหัวใจจะมีอายุเกินกว่า 50 ปีขึ้นไป) แต่หลังอายุ 50 ปีไปแล้ว พบความสัมพันธ์ของอัตราการเสียชีวิตในกลุ่มประชากรที่มีระดับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดที่ลดลง
นอกจากนี้ ยังพบรายงานการศึกษาอีกหลายชิ้น ที่ยืนยันว่าคนที่มีอายุเกินกว่า 50 ปีแล้วหากมีคอเลสเตอรอลต่ำ นั่นหมายถึงความเสี่ยงในการเสียชีวิตจะเพิ่มมากขึ้น ดังนี้
วารสารสุขภาพผู้หญิง ได้ตีพิมพ์รายงานการศึกษาผู้ที่มีคอเลสเตอรอลต่ำและอัตราการเสียชีวิตในประเทศออสเตรีย ด้วยการศึกษาประชากรมากถึง 149,650 ทั้งชายและหญิง โดยการศึกษานี้ในช่วง 15 ปีสุดท้ายได้ติดตามผลจับตาอย่างใกล้ชิดเป้าหมายผู้ชาย 70,000 คน และในผู้หญิงมากกว่า 80,000 คน ที่มีอายุระหว่าง 20 ปี ถึง 95 ปี และสรุปว่า ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 50 ปี และมีคอเลสเตอรอลอยู่ในระดับต่ำมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยยะสำคัญกับแทบทุกสาเหตุของการเสียชีวิต และยังแสดงให้เห็นว่าคอเลสเตอรอลที่ต่ำนั้นยังมีสัมพันธ์กับสาเหตุการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง โรคตับ และผู้ป่วยทางจิตด้วย
วารสารแพทย์อังกฤษ ได้ตีพิมพ์เมี่อปี พ.ศ. 2538 ว่า ผู้ที่มีคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดต่ำกว่า 4.8 มิลลิโมลต่อลิตร หรือต่ำกว่า 185 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร มีอยู่ในผู้ชายประมาณ 5% ซึ่งพบว่ามีความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตสูงสุดในทุกสาเหตุแห่งโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
วารสารอเมริกันแห่งการระบาดวิทยา ได้ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2535 ถึงกรณีศึกษาชาวฟินแลนด์ ซึ่งได้ติดตามผลใน 7 ประเทศเป็นเวลา 25 ปี ได้ผลสรุปว่า ในระหว่าง 10 ปีของการติดตามผล ผู้ชายที่มีคอเลสเตอรอลสูงกลับมีอัตราการเสียชีวิตด้วยสาเหตุของทุกโรคอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า เพราะมีอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งและโรคอื่นๆอยู่ในระดับต่ำ
วารสารทางการแพทย์เดอะ แลนเซ็ท (The Lancet) ได้ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2541 ว่าผู้ที่สูงวัยเกินกว่า 85 ปี พบว่า การเพิ่มขึ้นของคอเลสเตอรอลทุกๆ 1 มิลลิโมลต่อลิตร (38 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) มีความสัมพันธ์ทำให้สาเหตุของการเสียชีวิตโดยทั่วไปลดลงไป 15%
วารสารทางการแพทย์ The Lancet ได้ตีพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ. 2532 ได้ทำการศึกษาผู้หญิง 92 คนที่พักอาศัยอยู่สถานพยาบาลบ้านพักคนชราแห่งหนึ่งที่ฝรั่งเศส และสำรวจคนที่เสียชีวิตใน 5 ปีที่มีการสำรวจพบว่า กลุ่มคนที่มีคอเลสเตอรอลในระดับสูงโดยมีค่าเฉลี่ย 7.0 มิลลิโมลต่อลิตร (270 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) กลับพบว่าเป็นกลุ่มอัตราการเสียชีวิตต่ำที่สุด แต่กลุ่มที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงสุดกลับเป็นกลุ่มที่มีคอเลสเตอรอลในระดับต่ำที่มีค่าเฉลี่ย 4.0 มิลลิโมลต่อลิตร (154.44 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) กลุ่มคนที่เสียชีวิตที่มีคอเลสเตอรอลต่ำดังกล่าวนี้มีอัตราการเสียชีวิตมากกว่าคนที่มีคอเลสเตอรอลในระดับสูงถึง 5.2 เท่าตัว
ถามว่าทำไมข้อมูลมันกลับด้านเช่นนี้ คำตอบเบื้องต้นมีดังนี้
เพราะคอเลสเตอรอลนั้นมีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เช่น เป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญในการสร้างฮอร์โมนเพศ วิตามินดี เยื่อหุ้มเซลล์ น้ำดี และฉนวนหุ้มใยประสาท ดังนั้นถ้าเรามีคอเลสเตอรอลลดลงก็แปลว่า การสังเคราะห์ ฮอร์โมนเพศ วิตามินดี เยื่อหุ้มเซลล์ น้ำดี และฉนวนหุ้มใยประสาทก็จะลดลงไปด้วย ก็หมายถึงว่าเรากำลังเข้าสู่ความเสื่อมของสุขภาพร่างกายแล้ว
คอเลสเตอรอลส่วนใหญ่ร่างกายผลิตขึ้นได้เองถึง 80% ส่วนใหญ่ถูกสังเคราะห์มาจากตับ สมอง ลำไส้เล็ก ต่อมหมวกไต ในยามอดอาหารคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดจะเพิ่มสูงขึ้นตามความต้องการใช้งาน เมื่อรับประทานอาหารมื้อแรกหลังการอดอาหารคอเลสเตอรอลจะลดระดับลงโดยทันที นั่นหมายความว่าร่างกายเราออกแบบกำหนดปริมาณคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดได้ตามการใช้งานให้สัมพันธ์กับการบริโภคของเราได้
คอเลสเตอรอลไม่ใช่สาเหตุของการอุดตันในเส้นเลือด แท้ที่จริงสาเหตุมาจากไขมันทรานส์ (ซึ่งมาจากเนยเทียม มาการ์รีน และพวกน้ำมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันถั่วเหลือง ข้าวโพด น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันรำข้าวที่โดนความร้อนสูงจนเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมี) และ พลาก (Plauges) ที่มีทั้งลิ่มเลือด คอเลสเตอรอล แคลเซียม ฯลฯ มาอุดตันตามหลอดเลือด ซึ่งวันนี้ได้มีการวิจัยแล้วว่าสารเริ่มต้นในการอุดตันนั้น 75% มาจากไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง พบมากใน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันรำข้าว ฯลฯ
เมื่อเราอายุมากขึ้นร่างกายจะเสื่อมสภาพลง การทำงานของไทรอยด์ฮอร์โมนจะต่ำลง ส่งผลทำให้อัตราการเผาผลาญต่ำลง และทำให้ตับ สมอง ลำไส้เล็ก ต่อมหมวกไตผลิตคอเลสเตอรอลได้น้อยลง เมื่อผลิตคอเลสเตรอลได้น้อยลงจึงทำให้ การสังเคราะห์ฮอร์โมนสำคัญ เช่น ฮอร์โมนเพศ วิตามินดี เยื่อหุ้มเซลล์ น้ำดี และฉนวนหุ้มใยประสาทก็จะลดลงไปด้วย ส่งผลทำให้ร่างกายเกิดความแปรปรวนในสุขภาพและจิตใจที่เสื่อมสภาพลง จึงเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ทุกโรค ทำให้คนใกล้เสียชีวิตส่วนใหญ่มักจะมีคอเลสเตอรอลลดลงมาอยู่ในระดับต่ำ
แต่ที่แน่ๆสำหรับคนที่กำลังกินยาลดคอเลสเตอรอล ควรจะต้องคิดใหม่ เลิกกินยาพวกนี้เสียตั้งแต่วันนี้จะปลอดภัยกว่าไหม !!?