และแล้วกองทัพบกโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ก็ได้ออกคำสั่งให้ดำเนินการกับกบฏอั้งยี่ สปป.ล้านนา และกองทัพภาคที่ 3 ก็ได้ดำเนินการแจ้งความดำเนินคดีแล้ว
ในขณะเดียวกัน กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในก็ได้หยิบยกเรื่องกบฏอั้งยี่แบ่งแยกดินแดนขึ้นมาดำเนินการในลักษณะเป็นวงกว้างเป็นครั้งแรก และผลการดำเนินการเบื้องต้นก็ปรากฏว่าผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดได้เข้ารายงานตัวและประชุมเพื่อดำเนินการอย่างพร้อมเพรียงกัน
ดูเหมือนว่าการทดสอบกำลังของฝ่ายทหารครั้งแรกหลังยุคปราบปรามคอมมิวนิสต์ก็มีความศักดิ์สิทธิ์และได้รับความร่วมมือปฏิบัติอย่างคึกคัก ในขณะที่ประชาชนทั่วประเทศก็ได้ให้การสนับสนุนการดำเนินการของกองทัพอย่างท่วมท้น
การดำเนินคดีข้อหากบฏตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 และมาตรา 114 เป็นคดีร้ายแรง ที่ถ้าหากเกิดขึ้นในสมัยโบราณก็จะมีโทษประหาร 7 ชั่วโคตร แต่ในปัจจุบันประมวลกฎหมายอาญาระวางโทษขั้นสูงไว้ที่การประหารชีวิต หรืออย่างเบาก็จำคุกตลอดชีวิต
ความผิดฐานกบฏเป็นความผิดที่มีความผิดเมื่อได้กระทำการ แม้การกระทำการในขั้นพยายามหรือสนับสนุนช่วยเหลือในการกระทำความผิดก็ถือว่ามีความผิดเช่นเดียวกัน แต่ในการดำเนินการข้อหากบฏนั้น แต่ไหนแต่ไรมาก็จะมีการแจ้งข้อหาความผิดฐานอั้งยี่ด้วย
ความผิดฐานอั้งยี่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 209 ที่บัญญัติให้ใครก็ตามที่เป็นสมาชิกของอั้งยี่คือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อกระทำการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ก็เป็นความผิดตามกฎหมายแล้ว และมีโทษจำคุก 7 ปี ยกเว้นผู้ที่เป็นหัวหน้า ผู้จัดการ หรือผู้มีตำแหน่งหน้าที่หรือที่เรียกว่าแกนนำ ก็จะมีโทษสูงเป็นจำคุก 10 ปี
เหตุที่ต้องมีการดำเนินคดีทั้งข้อหากบฏและอั้งยี่ก็เพราะว่า ข้อหานี้จะใช้ดำเนินการกับการกระทำที่กระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของประเทศและประชาชน คือมีการทำกันเป็นขบวนการ มีการใช้กำลังประทุษร้าย โดยเฉพาะการใช้กองกำลังอาวุธ ดังนั้นเพื่อความสะดวกในการดำเนินคดีและในการพิสูจน์ความผิด จึงต้องดำเนินคดีทั้งสองข้อหาควบคู่กัน
เพราะการทำความผิดฐานกบฏนั้น จะต้องเป็นการกระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่ด้วยเสมอ และผู้ที่กระทำการหรือพยายามกระทำการกบฏก็จะมีความผิดฐานกบฏโดยเฉพาะและมีโทษหนักขึ้น
ระเบียบการตำรวจว่าด้วยคดี และวิธีปฏิบัติในการดำเนินคดีข้อหากบฏอั้งยี่นั้นแต่ไหนแต่ไรมาจะเป็นหน้าที่ของตำรวจสอบสวนกลาง ซึ่งมีเขตอำนาจทั่วประเทศ เพราะว่าเป็นข้อหาที่กระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของรัฐ ของประเทศ และของประชาชน เกินกำลังที่ตำรวจภูธรท้องที่ใดท้องที่หนึ่งจะกระทำได้
เพราะถ้าหากปล่อยให้ตำรวจภูธรดำเนินคดีก็อาจถูกอิทธิพลอำนาจมืดของกบฏและอั้งยี่ข่มขู่บังคับ จนกระทั่งคดีสูญเสียไปซึ่งความยุติธรรมและคนผิดอาจจะลอยนวลได้ ดังนั้นแม้กองทัพบกจะได้ดำเนินการแจ้งความต่อสถานีตำรวจภูธรบางท้องที่แล้วก็ตาม ยังต้องดำเนินการเพื่อให้หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่เฉพาะและเพียงพอรับมาดำเนินการต่อไป
ในยุครัตนโกสินทร์นี้เคยมีกบฏอั้งยี่มาแล้ว 4 ครั้ง โดยเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 และในสมัยพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ซึ่งถือว่าเกิดขึ้นรัชกาลละครั้ง ทั้งๆ ที่ความจริงในแต่ละรัชกาลก็มีกบฏอั้งยี่เกิดขึ้นหลายพื้นที่ และไม่ได้เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันเป็นขบวนการใหญ่
ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 มีกบฏอั้งยี่เกิดขึ้นในลักษณะตั้งเป็นกองกำลังกองโจรปล้นสะดม หรือเป็นกลุ่มกองกำลังอิทธิพลท้องถิ่น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ทำการปราบปรามดังนี้
ปี พ.ศ. 2385 โปรดให้กำลังตำรวจจากกรุงเทพฯ ลงไปปราบปรามกบฏอั้งยี่ที่นครชัยศรี ซึ่งมีกองกำลัง 1,000 คน การปราบปรามเสร็จสิ้นลงในปี พ.ศ. 2387 และยังโปรดให้จมื่นราชามาตย์นำกำลังทหารจากปากน้ำโพ นครสวรรค์ ไปปราบกบฏอั้งยี่ที่ปากน้ำ บางปะกง มีการต่อสู้กันเป็นสามารถ และทหารหลวงได้ปราบปรามกบฏอั้งยี่กลุ่มนี้สำเร็จ
ปี พ.ศ. 2388 ทรงโปรดให้จมื่นราชามาตย์และจมื่นสมุหพิมานนำทหารหลวงลงไปปราบปรามกบฏอั้งยี่ที่อาละวาดตั้งแต่พังงา ปราณบุรี ชุมพร จนถึงสุราษฎร์ธานี และปราบปรามได้สำเร็จเช่นเดียวกัน
ปี พ.ศ. 2391 ทรงโปรดให้พระยามหาเทพไปปราบปรามกบฏอั้งยี่ค้าฝิ่นกลุ่มของจีนเพียว แต่พระยามหาเทพเสียทีถูกยิงถึงแก่อนิจกรรม พวกกบฏอั้งยี่จึงกำเริบขึ้นเป็นอันมาก จึงทรงโปรดให้เจ้าพระยาพระคลังนำทหารหลวงจากกรุงเทพฯ ไปปราบปราม มีการต่อสู้กันเป็นการใหญ่ ทหารหลวงได้สังหารกบฏอั้งยี่ตาย 400 คน จับหัวหน้ากบฏอั้งยี่ได้
ในช่วงเดียวกัน ทรงโปรดให้พระยาวิเศษฤาชัยไปปราบปรามกบฏอั้งยี่ที่ฉะเชิงเทรา ก็เสียทีตายในสนามรบ พวกกบฏอั้งยี่เข้ายึดเมืองฉะเชิงเทราได้ จึงทรงโปรดให้เจ้าพระยาพระคลังและเจ้าพระยาบดินทรเดชาคุมกำลังไปปราบปรามเป็นที่เรียบร้อย
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ทรงปราบปรามกบฏอั้งยี่อย่างเฉียบขาด จึงทำให้กบฏอั้งยี่ที่มีมากมายหลายกลุ่มได้สงบราบคาบลง
ครั้นสมัยพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงกำหนดพระบรมราโชบายตั้งหัวหน้าชุมชนชาวจีน เป็นตัวกลางในการจัดเก็บภาษี จึงทำให้ไม่เกิดกบฏอั้งยี่ขึ้นเกือบตลอดรัชกาล จนกระทั่งถึง ปี พ.ศ. 2410 ก็เกิดกบฏอั้งยี่ขึ้นที่จังหวัดภูเก็ต จึงทรงโปรดให้พระยาเทพประชุมไปปราบปรามกบฏอั้งยี่ ได้เกลี้ยกล่อมให้กลุ่มกบฏอั้งยี่ยอมจำนนและเดินทางมากระทำสัตย์สาบานในกรุงเทพฯ ว่าจะไม่ประพฤติเยี่ยงนั้นอีก จากนั้นก็ทรงโปรดเกล้าฯ ให้กลับไปทำอาชีพอันสุจริตตามเดิม
ครั้นถึงสมัยพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 บ้านเมืองก็สงบร่มเย็นตลอดมา จนกระทั่งเกิดกบฏอั้งยี่ขึ้นที่นครชัยศรี พระเจ้าอยู่หัวได้ส่งทหารหลวงไปปราบปรามจับหัวหน้ากบฏอั้งยี่เข้ามาประหารชีวิตในกรุงเทพฯ และจำคุกสมาชิกของกบฏอั้งยี่ทั้งหมด จนถึงช่วงปลายรัชกาลก็เกิดกบฏอั้งยี่ขนาดใหญ่ขึ้น แต่การปราบปรามก็ได้ใช้วิธีเคลื่อนไหวทางแสนยานุภาพเพื่อข่มขวัญ ทำให้พวกกบฏอั้งยี่เกรงกลัว แล้วแตกหนีไป จึงทำให้เหตุการณ์สงบลง
กบฏอั้งยี่ได้เงียบหายไปเป็นเวลาช้านาน จนกระทั่งถึงสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ก็บังเกิดกบฏอั้งยี่ผีบุญขึ้นในภาคอีสาน สร้างนิทานโกหกว่าเป็นผู้วิเศษมาเกิดเพื่อปราบปรามยุคเข็ญ แล้วตั้งกองกำลังกบฏขึ้น ผู้คนก็ไปเข้าร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก เพราะหลงเชื่อว่ากบฏอั้งยี่ผีบุญจะสามารถแก้ไขปัญหาความยากจน และนำพาบ้านเมืองให้ถึงซึ่งยุคพระศรีอาริย์ได้
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ส่งกำลังทหารเข้าปราบปรามอย่างเฉียบขาด และจับเอาหัวหน้ากบฏอั้งยี่ผีบุญมายิงเป้าท่ามกลางสายตามหาชน หลังจากนั้นเหตุการณ์กบฏอั้งยี่ก็เงียบหายไป
จนกระทั่งไม่กี่ปีมานี้ คนไทยก็เริ่มได้ยินเรื่องรัฐไทยใหม่ เรื่องปฏิญญาฟินแลนด์ เรื่องการตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น เรื่องการแยกแผ่นดิน แล้วเอาจังหวัดเชียงใหม่บ้าง จังหวัดอุดรธานีบ้าง จังหวัดขอนแก่นบ้าง แม้กระทั่งโคราชบ้างเป็นเมืองหลวง และได้มีการเคลื่อนไหวในเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง ถึงขนาดบังอาจประกาศก้องทางโทรทัศน์และสื่อทุกชนิดในเครือข่าย
จนกระทั่งมีความมั่นใจว่ากำลังกล้าแข็งแกร่งกล้าแล้ว จึงได้มีการเปิดตัวอย่างอึกทึกครึกโครม ประกาศแยกประเทศเป็นประเทศล้านนา และใช้ชื่อว่า สปป.ล้านนา มีการประกาศจัดตั้งกองกำลังอาวุธ ดำเนินการรับสมัครอาสาสมัคร และทำการสวนสนามกองกำลังที่ได้มีการจัดตั้งขึ้น
นับเป็นกบฏอั้งยี่ครั้งที่ 4 ในยุครัตนโกสินทร์ต่อจากกบฏผีบุญ ดังนั้นจึงมีสื่อบางสำนักเรียกขานกบฏอั้งยี่คณะนี้ว่ากบฏผีบ้า ซึ่งครั้งนี้ทั้งกองทัพไทย ข้าราชการ และประชาชนไทยทุกหมู่เหล่าได้ร่วมแรงร่วมใจในการต่อสู้กับกบฏอั้งยี่ครั้งที่ 4 นี้อย่างเต็มที่.
ในขณะเดียวกัน กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในก็ได้หยิบยกเรื่องกบฏอั้งยี่แบ่งแยกดินแดนขึ้นมาดำเนินการในลักษณะเป็นวงกว้างเป็นครั้งแรก และผลการดำเนินการเบื้องต้นก็ปรากฏว่าผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดได้เข้ารายงานตัวและประชุมเพื่อดำเนินการอย่างพร้อมเพรียงกัน
ดูเหมือนว่าการทดสอบกำลังของฝ่ายทหารครั้งแรกหลังยุคปราบปรามคอมมิวนิสต์ก็มีความศักดิ์สิทธิ์และได้รับความร่วมมือปฏิบัติอย่างคึกคัก ในขณะที่ประชาชนทั่วประเทศก็ได้ให้การสนับสนุนการดำเนินการของกองทัพอย่างท่วมท้น
การดำเนินคดีข้อหากบฏตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 และมาตรา 114 เป็นคดีร้ายแรง ที่ถ้าหากเกิดขึ้นในสมัยโบราณก็จะมีโทษประหาร 7 ชั่วโคตร แต่ในปัจจุบันประมวลกฎหมายอาญาระวางโทษขั้นสูงไว้ที่การประหารชีวิต หรืออย่างเบาก็จำคุกตลอดชีวิต
ความผิดฐานกบฏเป็นความผิดที่มีความผิดเมื่อได้กระทำการ แม้การกระทำการในขั้นพยายามหรือสนับสนุนช่วยเหลือในการกระทำความผิดก็ถือว่ามีความผิดเช่นเดียวกัน แต่ในการดำเนินการข้อหากบฏนั้น แต่ไหนแต่ไรมาก็จะมีการแจ้งข้อหาความผิดฐานอั้งยี่ด้วย
ความผิดฐานอั้งยี่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 209 ที่บัญญัติให้ใครก็ตามที่เป็นสมาชิกของอั้งยี่คือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อกระทำการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ก็เป็นความผิดตามกฎหมายแล้ว และมีโทษจำคุก 7 ปี ยกเว้นผู้ที่เป็นหัวหน้า ผู้จัดการ หรือผู้มีตำแหน่งหน้าที่หรือที่เรียกว่าแกนนำ ก็จะมีโทษสูงเป็นจำคุก 10 ปี
เหตุที่ต้องมีการดำเนินคดีทั้งข้อหากบฏและอั้งยี่ก็เพราะว่า ข้อหานี้จะใช้ดำเนินการกับการกระทำที่กระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของประเทศและประชาชน คือมีการทำกันเป็นขบวนการ มีการใช้กำลังประทุษร้าย โดยเฉพาะการใช้กองกำลังอาวุธ ดังนั้นเพื่อความสะดวกในการดำเนินคดีและในการพิสูจน์ความผิด จึงต้องดำเนินคดีทั้งสองข้อหาควบคู่กัน
เพราะการทำความผิดฐานกบฏนั้น จะต้องเป็นการกระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่ด้วยเสมอ และผู้ที่กระทำการหรือพยายามกระทำการกบฏก็จะมีความผิดฐานกบฏโดยเฉพาะและมีโทษหนักขึ้น
ระเบียบการตำรวจว่าด้วยคดี และวิธีปฏิบัติในการดำเนินคดีข้อหากบฏอั้งยี่นั้นแต่ไหนแต่ไรมาจะเป็นหน้าที่ของตำรวจสอบสวนกลาง ซึ่งมีเขตอำนาจทั่วประเทศ เพราะว่าเป็นข้อหาที่กระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของรัฐ ของประเทศ และของประชาชน เกินกำลังที่ตำรวจภูธรท้องที่ใดท้องที่หนึ่งจะกระทำได้
เพราะถ้าหากปล่อยให้ตำรวจภูธรดำเนินคดีก็อาจถูกอิทธิพลอำนาจมืดของกบฏและอั้งยี่ข่มขู่บังคับ จนกระทั่งคดีสูญเสียไปซึ่งความยุติธรรมและคนผิดอาจจะลอยนวลได้ ดังนั้นแม้กองทัพบกจะได้ดำเนินการแจ้งความต่อสถานีตำรวจภูธรบางท้องที่แล้วก็ตาม ยังต้องดำเนินการเพื่อให้หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่เฉพาะและเพียงพอรับมาดำเนินการต่อไป
ในยุครัตนโกสินทร์นี้เคยมีกบฏอั้งยี่มาแล้ว 4 ครั้ง โดยเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 และในสมัยพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ซึ่งถือว่าเกิดขึ้นรัชกาลละครั้ง ทั้งๆ ที่ความจริงในแต่ละรัชกาลก็มีกบฏอั้งยี่เกิดขึ้นหลายพื้นที่ และไม่ได้เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันเป็นขบวนการใหญ่
ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 มีกบฏอั้งยี่เกิดขึ้นในลักษณะตั้งเป็นกองกำลังกองโจรปล้นสะดม หรือเป็นกลุ่มกองกำลังอิทธิพลท้องถิ่น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ทำการปราบปรามดังนี้
ปี พ.ศ. 2385 โปรดให้กำลังตำรวจจากกรุงเทพฯ ลงไปปราบปรามกบฏอั้งยี่ที่นครชัยศรี ซึ่งมีกองกำลัง 1,000 คน การปราบปรามเสร็จสิ้นลงในปี พ.ศ. 2387 และยังโปรดให้จมื่นราชามาตย์นำกำลังทหารจากปากน้ำโพ นครสวรรค์ ไปปราบกบฏอั้งยี่ที่ปากน้ำ บางปะกง มีการต่อสู้กันเป็นสามารถ และทหารหลวงได้ปราบปรามกบฏอั้งยี่กลุ่มนี้สำเร็จ
ปี พ.ศ. 2388 ทรงโปรดให้จมื่นราชามาตย์และจมื่นสมุหพิมานนำทหารหลวงลงไปปราบปรามกบฏอั้งยี่ที่อาละวาดตั้งแต่พังงา ปราณบุรี ชุมพร จนถึงสุราษฎร์ธานี และปราบปรามได้สำเร็จเช่นเดียวกัน
ปี พ.ศ. 2391 ทรงโปรดให้พระยามหาเทพไปปราบปรามกบฏอั้งยี่ค้าฝิ่นกลุ่มของจีนเพียว แต่พระยามหาเทพเสียทีถูกยิงถึงแก่อนิจกรรม พวกกบฏอั้งยี่จึงกำเริบขึ้นเป็นอันมาก จึงทรงโปรดให้เจ้าพระยาพระคลังนำทหารหลวงจากกรุงเทพฯ ไปปราบปราม มีการต่อสู้กันเป็นการใหญ่ ทหารหลวงได้สังหารกบฏอั้งยี่ตาย 400 คน จับหัวหน้ากบฏอั้งยี่ได้
ในช่วงเดียวกัน ทรงโปรดให้พระยาวิเศษฤาชัยไปปราบปรามกบฏอั้งยี่ที่ฉะเชิงเทรา ก็เสียทีตายในสนามรบ พวกกบฏอั้งยี่เข้ายึดเมืองฉะเชิงเทราได้ จึงทรงโปรดให้เจ้าพระยาพระคลังและเจ้าพระยาบดินทรเดชาคุมกำลังไปปราบปรามเป็นที่เรียบร้อย
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ทรงปราบปรามกบฏอั้งยี่อย่างเฉียบขาด จึงทำให้กบฏอั้งยี่ที่มีมากมายหลายกลุ่มได้สงบราบคาบลง
ครั้นสมัยพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงกำหนดพระบรมราโชบายตั้งหัวหน้าชุมชนชาวจีน เป็นตัวกลางในการจัดเก็บภาษี จึงทำให้ไม่เกิดกบฏอั้งยี่ขึ้นเกือบตลอดรัชกาล จนกระทั่งถึง ปี พ.ศ. 2410 ก็เกิดกบฏอั้งยี่ขึ้นที่จังหวัดภูเก็ต จึงทรงโปรดให้พระยาเทพประชุมไปปราบปรามกบฏอั้งยี่ ได้เกลี้ยกล่อมให้กลุ่มกบฏอั้งยี่ยอมจำนนและเดินทางมากระทำสัตย์สาบานในกรุงเทพฯ ว่าจะไม่ประพฤติเยี่ยงนั้นอีก จากนั้นก็ทรงโปรดเกล้าฯ ให้กลับไปทำอาชีพอันสุจริตตามเดิม
ครั้นถึงสมัยพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 บ้านเมืองก็สงบร่มเย็นตลอดมา จนกระทั่งเกิดกบฏอั้งยี่ขึ้นที่นครชัยศรี พระเจ้าอยู่หัวได้ส่งทหารหลวงไปปราบปรามจับหัวหน้ากบฏอั้งยี่เข้ามาประหารชีวิตในกรุงเทพฯ และจำคุกสมาชิกของกบฏอั้งยี่ทั้งหมด จนถึงช่วงปลายรัชกาลก็เกิดกบฏอั้งยี่ขนาดใหญ่ขึ้น แต่การปราบปรามก็ได้ใช้วิธีเคลื่อนไหวทางแสนยานุภาพเพื่อข่มขวัญ ทำให้พวกกบฏอั้งยี่เกรงกลัว แล้วแตกหนีไป จึงทำให้เหตุการณ์สงบลง
กบฏอั้งยี่ได้เงียบหายไปเป็นเวลาช้านาน จนกระทั่งถึงสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ก็บังเกิดกบฏอั้งยี่ผีบุญขึ้นในภาคอีสาน สร้างนิทานโกหกว่าเป็นผู้วิเศษมาเกิดเพื่อปราบปรามยุคเข็ญ แล้วตั้งกองกำลังกบฏขึ้น ผู้คนก็ไปเข้าร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก เพราะหลงเชื่อว่ากบฏอั้งยี่ผีบุญจะสามารถแก้ไขปัญหาความยากจน และนำพาบ้านเมืองให้ถึงซึ่งยุคพระศรีอาริย์ได้
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ส่งกำลังทหารเข้าปราบปรามอย่างเฉียบขาด และจับเอาหัวหน้ากบฏอั้งยี่ผีบุญมายิงเป้าท่ามกลางสายตามหาชน หลังจากนั้นเหตุการณ์กบฏอั้งยี่ก็เงียบหายไป
จนกระทั่งไม่กี่ปีมานี้ คนไทยก็เริ่มได้ยินเรื่องรัฐไทยใหม่ เรื่องปฏิญญาฟินแลนด์ เรื่องการตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น เรื่องการแยกแผ่นดิน แล้วเอาจังหวัดเชียงใหม่บ้าง จังหวัดอุดรธานีบ้าง จังหวัดขอนแก่นบ้าง แม้กระทั่งโคราชบ้างเป็นเมืองหลวง และได้มีการเคลื่อนไหวในเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง ถึงขนาดบังอาจประกาศก้องทางโทรทัศน์และสื่อทุกชนิดในเครือข่าย
จนกระทั่งมีความมั่นใจว่ากำลังกล้าแข็งแกร่งกล้าแล้ว จึงได้มีการเปิดตัวอย่างอึกทึกครึกโครม ประกาศแยกประเทศเป็นประเทศล้านนา และใช้ชื่อว่า สปป.ล้านนา มีการประกาศจัดตั้งกองกำลังอาวุธ ดำเนินการรับสมัครอาสาสมัคร และทำการสวนสนามกองกำลังที่ได้มีการจัดตั้งขึ้น
นับเป็นกบฏอั้งยี่ครั้งที่ 4 ในยุครัตนโกสินทร์ต่อจากกบฏผีบุญ ดังนั้นจึงมีสื่อบางสำนักเรียกขานกบฏอั้งยี่คณะนี้ว่ากบฏผีบ้า ซึ่งครั้งนี้ทั้งกองทัพไทย ข้าราชการ และประชาชนไทยทุกหมู่เหล่าได้ร่วมแรงร่วมใจในการต่อสู้กับกบฏอั้งยี่ครั้งที่ 4 นี้อย่างเต็มที่.