วานนี้ (26ก.พ.) นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึงกรณีรัฐบาลระบุว่า ไม่สามารถออกพระราชกฤษฎีกา เพื่อรับสมัคร ส.ส. ใน 28 เขต ทางภาคใต้ ที่ไม่มีผู้สมัครว่า ทราบว่าเรื่องดังกล่าวได้เข้าที่ประชุมครม. เพื่อรับทราบแล้ว ซึ่งทางกกต.ก็เตรียมที่จะส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าอำนาจในการออกพระราชกฤษฎีกา เป็นขององค์กรใด
ส่วนสาเหตุที่กกต.ยังไม่ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาก่อนหน้านี้ เนื่องจากหนังสือดังกล่าว เป็นเพียงความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ส่งมาให้นายกรัฐมนตรี แล้วนายกฯส่งต่อมายังกกต. โดยไม่ได้เข้าที่ประชุมครม. แต่อย่างใด ดังนั้นการที่เรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมครม.เพื่อรับทราบความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา ก็ถือว่าเพียงพอที่ กกต.จะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา
สำหรับการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหา 28 เขต ที่ไม่มีผู้สมัครที่ จ.สงขลา ในวันที่ 7 มี.ค. นี้ ผู้ที่จะเข้าร่วมประชุมด้วยคือ ผู้ว่าราชการจังหวัด 14 จังหวัดภาคใต้ แม่ทัพภาค กกต.ประจำจังหวัด ผู้บัญชาการตำรวจภูธร ภาค 8 ภาค 9 พรรคการเมือง 4 พรรค รวมทั้งตัวแทนจากภาคประชาชน ซึ่งจะเป็นการประชุมเพื่อประเมินสถานการณ์ทางจังหวัดภาคใต้ ว่าพร้อมจัดเลือกตั้งหรือไม่ โดยกกต.จะฟังทุกเสียง แต่คนที่เสียงดังที่สุด ที่กกต.อยากฟังคือ รมว.มหาดไทย เพราะขณะนี้ยังมีปัญหาเรื่องบุคลากร ที่จะมาเป็นกรรมการเลือกตั้งประจำหน่วยเลือกตั้ง (กปน.) รมว.มหาดไทย จะมีส่วนสำคัญในการแก้ปัญหานี้ ถ้าหากยังคงไม่มา ต่อไปกกต.ก็จะมีคำสั่งให้เข้าร่วมประชุม แต่ในครั้งนี้ จะยังเป็นการเชิญอยู่
อย่างไรก็ตาม ตนยังอยากให้ กปปส.ในพื้นที่ทางภาคใต้ ส่งตัวแทนมาเข้าร่วมประชุมด้วย เอาเหตุผลมาคุยกันอย่างตรงไปตรงมา ดังนั้น เวทีประชุมในวันที่ 7 มี.ค. มีความหมายที่จะบอกว่า จะสามารถจัดเลือกตั้งทางภาคใต้ได้เมื่อไร
ส่วนกรณีที่มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า กกต.จะไม่สามารถจัดเลือกตั้งให้เสร็จ ในวันที่ 4 มี.ค. โดยจะไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 127 และอาจมีผลต่อการเป็นรัฐบาลรักษาการต่อไปนั้น นายสมชัย กล่าวว่า กกต.มีแค่หน้าที่จัดการเลือกตั้ง ส่วนจะเป็นการขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ เป็นหน้าที่ที่ฝ่ายกฎหมายต้องดูแล
**เร่งยื่นศาลรธน.ตีความ
นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุม กกต.เมื่อวานนี้ (26 ก.พ. )ว่า ที่ประชุมได้รับทราบหนังสือตอบกลับของรัฐบาล ที่ครม.รับทราบความเห็นของกฤษฎีกา ที่เห็นว่าการเลือกตั้ง 28 เขตภาคใต้ ไม่สามารถออกพ.ร.ฎ.กำหนดให้มีการลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ได้ ซึ่งในการประชุม กกต. วันนี้ (27 ก.พ.) ที่ประชุม ก็จะได้มีการพิจารณาความเห็นของรัฐบาล และร่างหนังสือที่จะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามมาตรา 214 ว่า การมี ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาล กับกกต. และกรณี 28 เขต จะออกเป็นพ.ร.ฎ.ได้หรือไม่
โดยในการยื่นคำร้องต่อศาลครั้งนี้ กกต.เห็นว่า ขณะนี้ผ่านการเลือกตั้ง 2 ก.พ.ไปแล้ว แต่มีประเด็นข้อกฎหมายหลายข้อ ที่หากมีการดำเนินการ อาจเข้าข่ายขัดต่อกฎหมาย ดังนั้นก็จะมีการยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไปในคราวเดียวกัน เช่น กรณีหากมีการกำหนดวันลงคะแนน 28 เขต ขึ้นใหม่ จะถือว่า ทำให้มีวันเลือกตั้ง 2 วัน หรือไม่ และการนับคะแนน และประกาศผลการเลือกตั้ง ก่อนการเลือกตั้งทั่วประเทศแล้วเสร็จ จะสามารถทำได้หรือไม่ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับ ดุลพินิจของศาลจะพิจารณาว่า ประเด็นที่ กกต.ขอให้วินิจฉัยเพิ่มเติมนั้น เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว หรือเป็นเพียงข้อหารือ
อย่างไรก็ตาม แม้ในที่ประชุมกกต.จะเห็นชอบกับ ร่างคำร้อง ที่จะส่งศาลรัฐธรรมนูญ แต่คงไม่สามารถดำเนินการส่งได้ทันในวันนี้ เนื่องจากนายบุญส่ง น้อยโสภณ กกต. ติดภารกิจในต่างจังหวัด จึงขอลาประชุม จึงต้องรอนายบุญส่ง กลับมาลงนามในหนังสือ
**เปิดเนื้อหาที่กกต.จะยื่นตีความ
รายงานข่าวแจ้งว่า กรณีที่กกต.จะยื่นเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเกี่ยวกับปัญหา 28 เขตเลือกตั้ง ที่ไม่มีผู้สมัคร โดยจะอ้างเป็นความขัดแย้งระหว่างองค์กร กกต. กับรัฐบาล ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 214 ว่า การจัดลงคะแนนเลือกตั้ง 28 เขตนั้น หน่วยงานใดจะเป็นผู้ดำเนินการ โดยรัฐบาลเห็นว่า กกต.สามารถออกประกาศกำหนดวันลงคะแนนเลือกตั้ง วันรับสมัครเลือกตั้งเพิ่มเติมได้ แต่ กกต.เห็นว่า จำเป็นที่รัฐบาลต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกา โดยขอให้รัฐบาลออก พ.ร.ฎ.ให้อำนาจกกต. กำหนดวันลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ วันสมัครรับเลือกตั้งใหม่ และประกาศงดเว้นการจัดให้มีการลงคะแนนเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง และนอกราชอาณาจักร แล้ว กกต.ยังจะอ้างความเห็นของพรรคการเมือง นักวิชาการจากการระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการจัดการเลือกตั้ง ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยเพิ่มเติมในอีก 3 ประเด็น คือ
1 .กรณี กกต.ออกประกาศการกำหนดวันลงคะแนนเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้ง หรือใน 28 เขตเลือกตั้งใหม่ที่ยังไม่แล้วเสร็จ โดยอาศัย มาตรา 78 ของพ.ร.บ.เลือกตั้งส.ส. และการได้มาซึ่งส.ว. จะถือว่าทำให้มีการวันเลือกตั้ง 2 วัน ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 ที่กำหนดให้วันเลือกตั้ง ต้องกำหนดเป็นวันเดียวทั่วราชอาณาจักรหรือไม่
2. กรณีที่ มาตรา102 ของ พ.ร.บ.เลือกตั้งส.ส. และการได้มาซึ่งส.ว. กำหนดให้บัตรลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตจังหวัด ต้องนำมานับรวมในวันเลือกตั้ง และในกรณีที่บัตรลงคะแนนเลือกตั้ง ส่งมาถึงสถานที่นับคะแนนของเขตเลือกตั้งนั้นหลังจากที่เริ่มนับคะแนนล้ว ให้ถือว่าเป็นบัตรเสีย กรณีนี้ในข้อเท็จจริงเมื่อวันที่ 2 ก.พ. ได้มีการนับคะแนนที่หน่วยเลือกตั้งแล้ว ดังนั้นจะถือว่าบัตรลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตจังหวัด ที่ยังไม่ได้เอามานับเนื่องจากมีการปิดล้อมบางหน่วยเลือกตั้งในวันเลือกตั้ง รวมทั้งส่วนหนึ่งที่ยังไม่ได้ลงคะแนน เช่น ในหลายจังหวัดภาคใต้เป็นต้น จะเป็นบัตรเสียหรือไม่ และหากเปิดนับและนำมารวมกับคะแนนที่ได้นับไว้แล้ว จะทำให้คะแนนทั้งหมดเสียไปหรือไม่
3 . กรณีรัฐธรรมนูญ มาตรา 93 วรรคท้าย กำหนดว่า กรณีมีเหตุการณ์ใดๆ ทำให้การเลือกตั้งทั่วไปครั้งใด มีส.ส.ไม่ถึง 500 แต่มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของจำนวนส.ส.ทั้งหมด กกต.ต้องจัดการเลือกตั้งให้มีส.ส.ครบตามจำนวนที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ภายใน 180 วัน นับแต่วันเลือกตั้งนั้น ตรงนี้เพื่อให้สามารถมีส.ส.ได้ร้อยละ 95 และสามารถเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ กกต.จะสามารถใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 236 ออกประกาศหลักเกณฑ์ให้มีการรวมคะแนนเท่าที่มีอยู่ และประกาศผลคะแนนตาม มาตรา 91 และ มาตรา 92 ของพ.ร.บ.เลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว. เพื่อให้สามารถประกาศผลการเลือกตั้งส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อได้ โดยไม่ต้องรอผลคะแนนครบทุกหน่วยเลือกตั้งได้หรือไม่
อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า ที่ประชุมกกต. จะทำยื่นคำร้องนี้ต่อศาลรัฐธรรมนูญ ในสัปดาห์หน้า ส่วนหนึ่งเนื่องจากในวันนี้ (27ก.พ.) กกต.ไม่สามารถลงนามหนังสือครบทั้ง 5 คนได้ ขณะเดียวกัน ก็มีกำหนดการตรวจพื้นที่เลือกตั้ง 5 จว. รวมทั้ง กกต.อยากให้ผ่านการลงคะแนนเลือกตั้งใน 5 จว.ไปก่อน ซึ่งก็จะถือว่า ปัญหาตามคำร้องได้เกิดขึ้นแล้ว
“ปมที่ กกต.ยื่นศาลรัฐธรรมนูญ ก็เพื่อให้เกิดแนวทางที่จะสามารถปฏิบัติได้ รวมทั้งทำให้สามารถมี ส.ส.ได้ครบตามจำนวนที่เปิดประชุมสภาฯได้ แต่ทั้งนี้ก็ยอมรับว่า หากศาลวินิจฉัยว่าไม่สามารถทำได้ ก็อาจส่งผลให้การเลือกตั้งต้องเป็นโมฆะ ไปโดยปริยาย แต่ก็ไม่รู้ว่าศาลจะวินิจฉัยว่า เป็นข้อขัดแย้งนอกเหนือจากเงื่อนไขความชัดแย้งระหว่างองค์กร ซึ่งเป็นประเด็นที่ยื่นหรือไม่” แหล่งข่าว กล่าว
**3 มี.ค.นายกฯรักษาการยังไม่สิ้นสุด
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) กล่าวถึงกรณีนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านบริหารจัดการเลือกตั้ง เตรียมเชิญพรรคร่วมรัฐบาลไปยัง จ.สงขลา เพื่อสัมมนาหาทางออกการเลือกตั้ง ในวันที่ 7 มี.ค. ว่า กปปส.ได้ กกต.มาร่วมเป็นตัวป่วน ขอถามว่า การนัดไปประชุมที่ จ.สงขลา จะทำได้หรือไม่ เพราะไปถึงก็ออกจากสนามบินไม่ได้ จัดการประชุมที่ กทม.ก็ได้ และการที่กกต.ให้รัฐบาลออก พ .ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่นั้น ทำไม่ได้ เพราะนายกฯ จะผิดกฎหมาย เมื่อการเลือกตั้งไม่เป็นโมฆะ กกต.จะต้องจัดการเลือกตั้งให้จบ แล้วเมื่อมีรัฐบาล นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. จะส่งพิมพ์เขียวเรื่องการปฏิรูปการเมืองมาให้ตน หรือให้รัฐบาลก็ได้ จากนั้นไปถามประชาชน หากประชาชนเห็นด้วย รัฐบาลจะยุบสภา เลือกตั้งใหม่ ทางออกมีทางนี้ทางเดียว ตนอยากให้กกต.คนอื่น เตือนนายสมชัย บ้าง เพราะไม่มีคนเชื่อถือ พูดแต่ละวันไม่ชัดเจน อยากแต่จะพูด
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในวันที่ 3 มี.ค. จะครบตามรัฐธรรมนูญที่กำหนด ให้มีการเปิดประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรก เพื่อเตรียมเลือกนายกฯ หากยังเปิดสภาไม่ได้ อาจจะนำไปสู่การตีความสถานะของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 93 ระบุว่า ในกรณีที่มีเหตุการณ์ใดๆ ทำให้การเลือกตั้งทั่วไปครั้งใดมีจำนวนส.ส.ไม่ถึง 500 คน แต่มีจำนวนไม่น้อยกว่า 95% ของจำนวนส.ส. ทั้งหมด ให้ถือว่าสมาชิกจำนวนนั้น ประกอบเป็นสภาผู้แทนราษฎร แต่ต้องดำเนินการให้มีส.ส.ให้ครบตามจำนวนที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ ภายใน 180 วัน หลังจากนั้น ต้องมาตีความกันใหม่ อย่าไปเครียด ที่ยุ่งทุกวันนี้เพราะ นายสมชัย รู้ไม่จริง แล้วชอบพูด
**รองอธิบดีฯหอบผังรายการแจงกกต.
วานนี้ นายไพฑูรย์ หิรัญประดิษฐ์ รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ได้เข้าชี้แจงต่อกกต. กรณีกรมประชาสัมพันธ์ และสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 11 มีการนำเสนอรายการที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดความเข้าใจผิดบทบาทของ กกต. และมีลักษณะโน้มเอียงเข้าข้างฝ่ายรัฐบาล ช่วงที่มี พ.ร.ฎ.เลือกตั้ง พร้อมนำรายละเอียดของผังรายการมาชี้แจงด้วย ซึ่งก็คงไม่มีการปรับเปลี่ยนผังรายการที่เคยออกอากาศมาแล้ว แต่ทั้งนี้ในประเด็นเรื่องของเนื้อหาและรายละเอียดต่างๆ ก็คง ต้องมาดูอีกที เพราะว่าอยู่ในช่วงการเลือกตั้ง
ส่วนกรณีที่มองว่ามีฝ่ายการเมืองเข้ามาครอบงำในการดำเนินการผลิตรายการของสถานีนั้น เรื่องนี้ทางผอ.ช่อง 11 ได้ชี้แจงไปแล้วว่า ทางสถานีทำงานด้วยตัวเราเอง ยืนยันว่าไม่มีฝ่ายการเมืองเข้ามาครอบงำ ในการผลิตรายการแน่นอน อย่างไรก็ตาม คาดว่ากกต. คงจะได้มีการหารือกับอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์อีกครั้งในสัปดาห์หน้า
**จี้ช่อง 11 จัดผังไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ
อย่างไรก็ตาม นายสมชัย กล่าวถึงการเชิญอธิดีกรมประชาสัมพันธ์ และ ผอ.ช่อง 11 มาชี้แจงกับ กกต.ว่า แม้รองอธิบดีจะมาแทนอธิบดีที่ติดราชการ แต่กกต.ก็ยังยืนยันขอพบอธิบดีฯเพราะเป็นผู้กำกับนโยบาย โดยนัดหมายในสัปดาห์หน้าอีกครั้ง ส่วนวันนี้กกต.ได้แลกเปลี่ยนปัญหาการทำงานของสื่อของรัฐ โดยตั้งข้อสังเกต 3 เรื่อง
1.การสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องให้แก่ประชาชน เนื่องจากพบว่ามีหลายรายการสนทนา หรือสกู๊ปข่าว มีเนื้อหาที่อาจไม่ถูกต้อง เช่นประเด็นชาวนาไม่ได้เงินจำนำข้าวเพราะกกต.ไม่อนุมัติ ซึ่งไม่ถูกต้อง จึงอยากให้ช่อง 11 มีความละเอียดรอบคอบในการนำเสนอ
2. การนำเสนอเนื้อหารายการสนทนา ขอให้ดูสาระที่สนับสนุนการเลือกตั้งส.ส.และ ส.ว.ตามช่วงเวลา ว่าประชาชนต้องรู้อะไรบ้าง เช่น ช่วงการลงทะเบียนใช้สิทธิ์นอกเขต หรือบทบาทหน้าที่ส.ว. เพื่อให้ประชาชนมีเกณฑ์ตัดสินใจเลือกส.ว. อย่างเหมาะสม แต่ที่ผ่านมาช่อง 11 กลับเสนอตามกระแสความขัดแย้งทางการเมือง เช่น เรื่อง 28 เขต ควรเป็นพระราชกฤษฎีกา หรือประกาศกกต. โดยให้ฝ่ายหนึ่งมาพูดฝ่ายเดียว จนกลายเป็นว่ากกต.ไม่ปฏิบัติหน้าที่ จึงควรพูดเรื่องที่เป็นประโยชน์มากกว่าการสร้างความขัดแย้งก่อให้เกิดความเข้าใจผิดต่อองค์กรอิสระ ควรเชิญแขกที่มีความเป็นกลาง มีหลายมุมมองแนวคิด ไม่ใช่แนวทางใดแนวทางหนึ่งเท่านั้น
3.ระวังการนำเสนอข่าวช่วงเลือกตั้ง หรือวันลงคะแนนที่จะมีต่อไปในวันข้างหน้า เนื่องจากวันที่ 2 ก.พ.ที่ผ่านมามีรายการให้ความเห็นทางการเมือง ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อความได้เปรียบเสียเปรียบทางคะแนนเสียงของพรรคการเมือง โดยทางผอ.ช่อง11ก็ขออภัยในเหตุการณ์ในอดีต และรับปากว่าจะไม่ให้เกิดอีกในอนาคต
“ผมเองบอกว่าควรมีการปรึกษา ออกแบบร่วมกันให้มีกลไกหลักประกันไม่มีเนื้อหาที่เป็นปัญหาอย่างที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ซึ่งจากนี้ไปรายการสดทุกอย่างควรคำนึงเนื้อหาที่เป็นประโยชน์มากกว่าการก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคม” นายสมชัย กล่าว
ส่วนสาเหตุที่กกต.ยังไม่ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาก่อนหน้านี้ เนื่องจากหนังสือดังกล่าว เป็นเพียงความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ส่งมาให้นายกรัฐมนตรี แล้วนายกฯส่งต่อมายังกกต. โดยไม่ได้เข้าที่ประชุมครม. แต่อย่างใด ดังนั้นการที่เรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมครม.เพื่อรับทราบความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา ก็ถือว่าเพียงพอที่ กกต.จะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา
สำหรับการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหา 28 เขต ที่ไม่มีผู้สมัครที่ จ.สงขลา ในวันที่ 7 มี.ค. นี้ ผู้ที่จะเข้าร่วมประชุมด้วยคือ ผู้ว่าราชการจังหวัด 14 จังหวัดภาคใต้ แม่ทัพภาค กกต.ประจำจังหวัด ผู้บัญชาการตำรวจภูธร ภาค 8 ภาค 9 พรรคการเมือง 4 พรรค รวมทั้งตัวแทนจากภาคประชาชน ซึ่งจะเป็นการประชุมเพื่อประเมินสถานการณ์ทางจังหวัดภาคใต้ ว่าพร้อมจัดเลือกตั้งหรือไม่ โดยกกต.จะฟังทุกเสียง แต่คนที่เสียงดังที่สุด ที่กกต.อยากฟังคือ รมว.มหาดไทย เพราะขณะนี้ยังมีปัญหาเรื่องบุคลากร ที่จะมาเป็นกรรมการเลือกตั้งประจำหน่วยเลือกตั้ง (กปน.) รมว.มหาดไทย จะมีส่วนสำคัญในการแก้ปัญหานี้ ถ้าหากยังคงไม่มา ต่อไปกกต.ก็จะมีคำสั่งให้เข้าร่วมประชุม แต่ในครั้งนี้ จะยังเป็นการเชิญอยู่
อย่างไรก็ตาม ตนยังอยากให้ กปปส.ในพื้นที่ทางภาคใต้ ส่งตัวแทนมาเข้าร่วมประชุมด้วย เอาเหตุผลมาคุยกันอย่างตรงไปตรงมา ดังนั้น เวทีประชุมในวันที่ 7 มี.ค. มีความหมายที่จะบอกว่า จะสามารถจัดเลือกตั้งทางภาคใต้ได้เมื่อไร
ส่วนกรณีที่มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า กกต.จะไม่สามารถจัดเลือกตั้งให้เสร็จ ในวันที่ 4 มี.ค. โดยจะไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 127 และอาจมีผลต่อการเป็นรัฐบาลรักษาการต่อไปนั้น นายสมชัย กล่าวว่า กกต.มีแค่หน้าที่จัดการเลือกตั้ง ส่วนจะเป็นการขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ เป็นหน้าที่ที่ฝ่ายกฎหมายต้องดูแล
**เร่งยื่นศาลรธน.ตีความ
นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุม กกต.เมื่อวานนี้ (26 ก.พ. )ว่า ที่ประชุมได้รับทราบหนังสือตอบกลับของรัฐบาล ที่ครม.รับทราบความเห็นของกฤษฎีกา ที่เห็นว่าการเลือกตั้ง 28 เขตภาคใต้ ไม่สามารถออกพ.ร.ฎ.กำหนดให้มีการลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ได้ ซึ่งในการประชุม กกต. วันนี้ (27 ก.พ.) ที่ประชุม ก็จะได้มีการพิจารณาความเห็นของรัฐบาล และร่างหนังสือที่จะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามมาตรา 214 ว่า การมี ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาล กับกกต. และกรณี 28 เขต จะออกเป็นพ.ร.ฎ.ได้หรือไม่
โดยในการยื่นคำร้องต่อศาลครั้งนี้ กกต.เห็นว่า ขณะนี้ผ่านการเลือกตั้ง 2 ก.พ.ไปแล้ว แต่มีประเด็นข้อกฎหมายหลายข้อ ที่หากมีการดำเนินการ อาจเข้าข่ายขัดต่อกฎหมาย ดังนั้นก็จะมีการยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไปในคราวเดียวกัน เช่น กรณีหากมีการกำหนดวันลงคะแนน 28 เขต ขึ้นใหม่ จะถือว่า ทำให้มีวันเลือกตั้ง 2 วัน หรือไม่ และการนับคะแนน และประกาศผลการเลือกตั้ง ก่อนการเลือกตั้งทั่วประเทศแล้วเสร็จ จะสามารถทำได้หรือไม่ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับ ดุลพินิจของศาลจะพิจารณาว่า ประเด็นที่ กกต.ขอให้วินิจฉัยเพิ่มเติมนั้น เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว หรือเป็นเพียงข้อหารือ
อย่างไรก็ตาม แม้ในที่ประชุมกกต.จะเห็นชอบกับ ร่างคำร้อง ที่จะส่งศาลรัฐธรรมนูญ แต่คงไม่สามารถดำเนินการส่งได้ทันในวันนี้ เนื่องจากนายบุญส่ง น้อยโสภณ กกต. ติดภารกิจในต่างจังหวัด จึงขอลาประชุม จึงต้องรอนายบุญส่ง กลับมาลงนามในหนังสือ
**เปิดเนื้อหาที่กกต.จะยื่นตีความ
รายงานข่าวแจ้งว่า กรณีที่กกต.จะยื่นเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเกี่ยวกับปัญหา 28 เขตเลือกตั้ง ที่ไม่มีผู้สมัคร โดยจะอ้างเป็นความขัดแย้งระหว่างองค์กร กกต. กับรัฐบาล ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 214 ว่า การจัดลงคะแนนเลือกตั้ง 28 เขตนั้น หน่วยงานใดจะเป็นผู้ดำเนินการ โดยรัฐบาลเห็นว่า กกต.สามารถออกประกาศกำหนดวันลงคะแนนเลือกตั้ง วันรับสมัครเลือกตั้งเพิ่มเติมได้ แต่ กกต.เห็นว่า จำเป็นที่รัฐบาลต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกา โดยขอให้รัฐบาลออก พ.ร.ฎ.ให้อำนาจกกต. กำหนดวันลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ วันสมัครรับเลือกตั้งใหม่ และประกาศงดเว้นการจัดให้มีการลงคะแนนเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง และนอกราชอาณาจักร แล้ว กกต.ยังจะอ้างความเห็นของพรรคการเมือง นักวิชาการจากการระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการจัดการเลือกตั้ง ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยเพิ่มเติมในอีก 3 ประเด็น คือ
1 .กรณี กกต.ออกประกาศการกำหนดวันลงคะแนนเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้ง หรือใน 28 เขตเลือกตั้งใหม่ที่ยังไม่แล้วเสร็จ โดยอาศัย มาตรา 78 ของพ.ร.บ.เลือกตั้งส.ส. และการได้มาซึ่งส.ว. จะถือว่าทำให้มีการวันเลือกตั้ง 2 วัน ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 ที่กำหนดให้วันเลือกตั้ง ต้องกำหนดเป็นวันเดียวทั่วราชอาณาจักรหรือไม่
2. กรณีที่ มาตรา102 ของ พ.ร.บ.เลือกตั้งส.ส. และการได้มาซึ่งส.ว. กำหนดให้บัตรลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตจังหวัด ต้องนำมานับรวมในวันเลือกตั้ง และในกรณีที่บัตรลงคะแนนเลือกตั้ง ส่งมาถึงสถานที่นับคะแนนของเขตเลือกตั้งนั้นหลังจากที่เริ่มนับคะแนนล้ว ให้ถือว่าเป็นบัตรเสีย กรณีนี้ในข้อเท็จจริงเมื่อวันที่ 2 ก.พ. ได้มีการนับคะแนนที่หน่วยเลือกตั้งแล้ว ดังนั้นจะถือว่าบัตรลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตจังหวัด ที่ยังไม่ได้เอามานับเนื่องจากมีการปิดล้อมบางหน่วยเลือกตั้งในวันเลือกตั้ง รวมทั้งส่วนหนึ่งที่ยังไม่ได้ลงคะแนน เช่น ในหลายจังหวัดภาคใต้เป็นต้น จะเป็นบัตรเสียหรือไม่ และหากเปิดนับและนำมารวมกับคะแนนที่ได้นับไว้แล้ว จะทำให้คะแนนทั้งหมดเสียไปหรือไม่
3 . กรณีรัฐธรรมนูญ มาตรา 93 วรรคท้าย กำหนดว่า กรณีมีเหตุการณ์ใดๆ ทำให้การเลือกตั้งทั่วไปครั้งใด มีส.ส.ไม่ถึง 500 แต่มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของจำนวนส.ส.ทั้งหมด กกต.ต้องจัดการเลือกตั้งให้มีส.ส.ครบตามจำนวนที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ภายใน 180 วัน นับแต่วันเลือกตั้งนั้น ตรงนี้เพื่อให้สามารถมีส.ส.ได้ร้อยละ 95 และสามารถเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ กกต.จะสามารถใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 236 ออกประกาศหลักเกณฑ์ให้มีการรวมคะแนนเท่าที่มีอยู่ และประกาศผลคะแนนตาม มาตรา 91 และ มาตรา 92 ของพ.ร.บ.เลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว. เพื่อให้สามารถประกาศผลการเลือกตั้งส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อได้ โดยไม่ต้องรอผลคะแนนครบทุกหน่วยเลือกตั้งได้หรือไม่
อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า ที่ประชุมกกต. จะทำยื่นคำร้องนี้ต่อศาลรัฐธรรมนูญ ในสัปดาห์หน้า ส่วนหนึ่งเนื่องจากในวันนี้ (27ก.พ.) กกต.ไม่สามารถลงนามหนังสือครบทั้ง 5 คนได้ ขณะเดียวกัน ก็มีกำหนดการตรวจพื้นที่เลือกตั้ง 5 จว. รวมทั้ง กกต.อยากให้ผ่านการลงคะแนนเลือกตั้งใน 5 จว.ไปก่อน ซึ่งก็จะถือว่า ปัญหาตามคำร้องได้เกิดขึ้นแล้ว
“ปมที่ กกต.ยื่นศาลรัฐธรรมนูญ ก็เพื่อให้เกิดแนวทางที่จะสามารถปฏิบัติได้ รวมทั้งทำให้สามารถมี ส.ส.ได้ครบตามจำนวนที่เปิดประชุมสภาฯได้ แต่ทั้งนี้ก็ยอมรับว่า หากศาลวินิจฉัยว่าไม่สามารถทำได้ ก็อาจส่งผลให้การเลือกตั้งต้องเป็นโมฆะ ไปโดยปริยาย แต่ก็ไม่รู้ว่าศาลจะวินิจฉัยว่า เป็นข้อขัดแย้งนอกเหนือจากเงื่อนไขความชัดแย้งระหว่างองค์กร ซึ่งเป็นประเด็นที่ยื่นหรือไม่” แหล่งข่าว กล่าว
**3 มี.ค.นายกฯรักษาการยังไม่สิ้นสุด
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) กล่าวถึงกรณีนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านบริหารจัดการเลือกตั้ง เตรียมเชิญพรรคร่วมรัฐบาลไปยัง จ.สงขลา เพื่อสัมมนาหาทางออกการเลือกตั้ง ในวันที่ 7 มี.ค. ว่า กปปส.ได้ กกต.มาร่วมเป็นตัวป่วน ขอถามว่า การนัดไปประชุมที่ จ.สงขลา จะทำได้หรือไม่ เพราะไปถึงก็ออกจากสนามบินไม่ได้ จัดการประชุมที่ กทม.ก็ได้ และการที่กกต.ให้รัฐบาลออก พ .ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่นั้น ทำไม่ได้ เพราะนายกฯ จะผิดกฎหมาย เมื่อการเลือกตั้งไม่เป็นโมฆะ กกต.จะต้องจัดการเลือกตั้งให้จบ แล้วเมื่อมีรัฐบาล นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. จะส่งพิมพ์เขียวเรื่องการปฏิรูปการเมืองมาให้ตน หรือให้รัฐบาลก็ได้ จากนั้นไปถามประชาชน หากประชาชนเห็นด้วย รัฐบาลจะยุบสภา เลือกตั้งใหม่ ทางออกมีทางนี้ทางเดียว ตนอยากให้กกต.คนอื่น เตือนนายสมชัย บ้าง เพราะไม่มีคนเชื่อถือ พูดแต่ละวันไม่ชัดเจน อยากแต่จะพูด
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในวันที่ 3 มี.ค. จะครบตามรัฐธรรมนูญที่กำหนด ให้มีการเปิดประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรก เพื่อเตรียมเลือกนายกฯ หากยังเปิดสภาไม่ได้ อาจจะนำไปสู่การตีความสถานะของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 93 ระบุว่า ในกรณีที่มีเหตุการณ์ใดๆ ทำให้การเลือกตั้งทั่วไปครั้งใดมีจำนวนส.ส.ไม่ถึง 500 คน แต่มีจำนวนไม่น้อยกว่า 95% ของจำนวนส.ส. ทั้งหมด ให้ถือว่าสมาชิกจำนวนนั้น ประกอบเป็นสภาผู้แทนราษฎร แต่ต้องดำเนินการให้มีส.ส.ให้ครบตามจำนวนที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ ภายใน 180 วัน หลังจากนั้น ต้องมาตีความกันใหม่ อย่าไปเครียด ที่ยุ่งทุกวันนี้เพราะ นายสมชัย รู้ไม่จริง แล้วชอบพูด
**รองอธิบดีฯหอบผังรายการแจงกกต.
วานนี้ นายไพฑูรย์ หิรัญประดิษฐ์ รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ได้เข้าชี้แจงต่อกกต. กรณีกรมประชาสัมพันธ์ และสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 11 มีการนำเสนอรายการที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดความเข้าใจผิดบทบาทของ กกต. และมีลักษณะโน้มเอียงเข้าข้างฝ่ายรัฐบาล ช่วงที่มี พ.ร.ฎ.เลือกตั้ง พร้อมนำรายละเอียดของผังรายการมาชี้แจงด้วย ซึ่งก็คงไม่มีการปรับเปลี่ยนผังรายการที่เคยออกอากาศมาแล้ว แต่ทั้งนี้ในประเด็นเรื่องของเนื้อหาและรายละเอียดต่างๆ ก็คง ต้องมาดูอีกที เพราะว่าอยู่ในช่วงการเลือกตั้ง
ส่วนกรณีที่มองว่ามีฝ่ายการเมืองเข้ามาครอบงำในการดำเนินการผลิตรายการของสถานีนั้น เรื่องนี้ทางผอ.ช่อง 11 ได้ชี้แจงไปแล้วว่า ทางสถานีทำงานด้วยตัวเราเอง ยืนยันว่าไม่มีฝ่ายการเมืองเข้ามาครอบงำ ในการผลิตรายการแน่นอน อย่างไรก็ตาม คาดว่ากกต. คงจะได้มีการหารือกับอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์อีกครั้งในสัปดาห์หน้า
**จี้ช่อง 11 จัดผังไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ
อย่างไรก็ตาม นายสมชัย กล่าวถึงการเชิญอธิดีกรมประชาสัมพันธ์ และ ผอ.ช่อง 11 มาชี้แจงกับ กกต.ว่า แม้รองอธิบดีจะมาแทนอธิบดีที่ติดราชการ แต่กกต.ก็ยังยืนยันขอพบอธิบดีฯเพราะเป็นผู้กำกับนโยบาย โดยนัดหมายในสัปดาห์หน้าอีกครั้ง ส่วนวันนี้กกต.ได้แลกเปลี่ยนปัญหาการทำงานของสื่อของรัฐ โดยตั้งข้อสังเกต 3 เรื่อง
1.การสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องให้แก่ประชาชน เนื่องจากพบว่ามีหลายรายการสนทนา หรือสกู๊ปข่าว มีเนื้อหาที่อาจไม่ถูกต้อง เช่นประเด็นชาวนาไม่ได้เงินจำนำข้าวเพราะกกต.ไม่อนุมัติ ซึ่งไม่ถูกต้อง จึงอยากให้ช่อง 11 มีความละเอียดรอบคอบในการนำเสนอ
2. การนำเสนอเนื้อหารายการสนทนา ขอให้ดูสาระที่สนับสนุนการเลือกตั้งส.ส.และ ส.ว.ตามช่วงเวลา ว่าประชาชนต้องรู้อะไรบ้าง เช่น ช่วงการลงทะเบียนใช้สิทธิ์นอกเขต หรือบทบาทหน้าที่ส.ว. เพื่อให้ประชาชนมีเกณฑ์ตัดสินใจเลือกส.ว. อย่างเหมาะสม แต่ที่ผ่านมาช่อง 11 กลับเสนอตามกระแสความขัดแย้งทางการเมือง เช่น เรื่อง 28 เขต ควรเป็นพระราชกฤษฎีกา หรือประกาศกกต. โดยให้ฝ่ายหนึ่งมาพูดฝ่ายเดียว จนกลายเป็นว่ากกต.ไม่ปฏิบัติหน้าที่ จึงควรพูดเรื่องที่เป็นประโยชน์มากกว่าการสร้างความขัดแย้งก่อให้เกิดความเข้าใจผิดต่อองค์กรอิสระ ควรเชิญแขกที่มีความเป็นกลาง มีหลายมุมมองแนวคิด ไม่ใช่แนวทางใดแนวทางหนึ่งเท่านั้น
3.ระวังการนำเสนอข่าวช่วงเลือกตั้ง หรือวันลงคะแนนที่จะมีต่อไปในวันข้างหน้า เนื่องจากวันที่ 2 ก.พ.ที่ผ่านมามีรายการให้ความเห็นทางการเมือง ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อความได้เปรียบเสียเปรียบทางคะแนนเสียงของพรรคการเมือง โดยทางผอ.ช่อง11ก็ขออภัยในเหตุการณ์ในอดีต และรับปากว่าจะไม่ให้เกิดอีกในอนาคต
“ผมเองบอกว่าควรมีการปรึกษา ออกแบบร่วมกันให้มีกลไกหลักประกันไม่มีเนื้อหาที่เป็นปัญหาอย่างที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ซึ่งจากนี้ไปรายการสดทุกอย่างควรคำนึงเนื้อหาที่เป็นประโยชน์มากกว่าการก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคม” นายสมชัย กล่าว