วานนี้ (25ก.พ.) ร.ท.หญิง สุณิสา เลิศภควัต รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติงบกลางสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 20 ล้านบาท ให้แก่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม สำหรับเป็นค่าใช่จ่ายในการสนับสนุนการจัดการเลือกตั้งทั่วไปสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่ผ่านมา โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายแบ่งเป็น
1. ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในส่วนของกำลังพลของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม จำนวน 17,000 นาย ประมาณ 17 ล้านบาท 2.ค่าน้ำมัน ยานพาหนะ 2 ล้านบาท และ 3.ค่าวัสดุ อุปกรณ์อื่นๆที่จำเป็น จำนวน 320,000 บาท หลังจากนี้จะขอความเห็นชอบไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 181
นอกจากนี้ ครม.ได้รับทราบหนังสือที่ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี ส่งไปถึงประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตามที่ประธาน กกต.เคยแสดงความคิดเห็นเสนอให้มีการตราพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้งทั่วไป โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้ความเห็นผ่าน นายพงศ์เทพ เป็นหนังสือเรื่องการดำเนินการเลือกตั้งกรณีผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ใน 28 เขตเลือกตั้งที่ไม่สามารถสมัครได้ มีสาระสำคัญในหนังสือ คือ การนำความกราบบังคมทูล เพื่อขอให้ทรงตราพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งใหม่นั้นไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากรัฐธรรมนูญไม่บัญญัติให้กระทำได้ เพราะการทูลเกล้าฯ เสนอพระมหากษัตริย์เพื่อให้ใช้พระราชอำนาจตราพระราชกฤษฎีกา ต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย และการเลือกตั้งใน 28 เขตนั้น ยังอยู่ในกระบวนการเลือกตั้งที่ยังไม่แล้วเสร็จ ถือเป็นอำนาจของกกต. ที่สามารถดำเนินการจัดการเลือกตั้งต่อไปได้ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า ที่ประชุมครม.ใช้เวลากว่า 1 ชม. ในการพิจารณากรณีที่ กกต.ส่งหนังสือดังกล่าว กลับมายังครม. เพื่อขอให้มีมติเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบอย่างชัดเจน ต่อความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นพ้องว่า ควรให้เป็นแค่เรื่องแจ้งเพื่อทราบต่อที่ประชุม และ ครม.รับทราบไว้เท่านั้น โดยไม่ต้องเป็นมติครม. เพราะเกรงว่าจะเป็นการวางหลุมพรางให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกกต. และ ครม. เพื่อเปิดช่องให้สามารถยื่นศาล รัฐธรรมนูญตีความได้
ทั้งนี้ มีรายงานว่า นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ได้ตั้งข้อสังเกตในที่ประชุมว่า ว่าเหตุใด กกต.จึงใช้ภาษาที่บิดเบือนข้อเท็จจริง เช่น การเลือกตั้งในพื้นที่ 28 เขต ไม่มีผู้สมัคร ทั้งที่จริงมีผู้สมัคร แต่ถูกขัดขวาง และกกต. ก็ไม่สามารถดูแลจัดการการเลือกตั้งได้
ขณะที่นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ ได้หารือต่อกฤษฎีกาว่า เรื่องดังกล่าวเข้าข่าย มติครม.ได้หรือไม่ และถ้ามีสถานะว่าเห็นชอบ ผลจะเป็นอย่างไร ซึ่งกฤษฎีกาชี้แจงว่า เรื่องการแสดงความเห็นชอบสามารถออกเป็นมติครม.ได้ แต่อาจจะถูกนำไปใช้เป็นประเด็นให้นำไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญต่อไป รวมถึงนายชัยเกษม นิติสิริ รมว.ยุติธรรม และ นายพีรพันธุ์ พาลุสุข รมว.วิทยาศาสตร์ ก็แสดงความเห็นพ้องว่า ถ้าออกเป็นมติครม.แล้วระบุว่า เห็นชอบตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา เท่ากับเราไปดึงศาลรัฐธรมนูญมาร่วมให้ทำในสิ่งที่รัฐบาลไม่ต้องการทำ และไม่ถูกต้อง เช่น การออกพระราชกฤษฎีกา กำหนดวันเลือกตั้งใหม่
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย ก็ได้แสดงความเห็นว่า “เราจะต้องไม่ตกหลุมพรางของกกต. ฉะนั้นก็ทำเป็นว่า ครม.รับทราบเฉยๆ แต่ไม่ใช้คำว่า ครม.เห็นชอบเด็ดขาด เพราะอาจจะมีผลผูกพันมาในภายหลัง”
ท้ายที่สุด ที่ประชุม ครม.ก็ไม่ได้มีมติใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ เป็นเพียงวาระในการรับทราบว่า กกต.มีหนังสือเข้ามาถึงนายกรัฐมนตรี และได้มอบหมายให้ นายพงศ์เทพ เป็นผู้ทำหนังสือด่วนที่สุด ตอบกลับไปยัง กกต. โดยระบุว่า ภายหลังจากปรึกษาคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วปรากฏว่า กฤษฎีกาฯ มีความเห็นว่า นายกรัฐมนตรี ไม่สามารถนำความกราบบังคมทูลเพื่อขอ ตรา พ.ร.ฎ.ใหม่ได้ เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ รวมทั้งเห็นว่า ขณะนี้ถือว่า กระบวนการเลือกตั้งยังไม่สิ้นสุด ดังนั้น กกต.สามารถดำเนินการจัดการเลือกตั้งใน 28 เขตเลือกตั้งได้ตาม พ.ร.ฎ.ที่มีอยู่เดิม
** เรียกเลขานายกฯแจงกรณีหาเสียงแฝง
ในวันเดียวกันนี้ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุม กกต.ว่า ในการประชุม กกต.ทั้ง 5 คน ในวันพุธที่ 26 ก.พ. ได้เรียนเชิญตัวแทนจากสำนักนายกรัฐมนตรี มาชี้แจงเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรของรัฐ เพื่อการหาเสียงของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่มีการร้องเรียนเข้ามาว่าในช่วงแรกหลังจากการยุบสภา นายกฯได้เดินทางไปภาคเหนือและภาคอีสาน เพื่อตรวจราชการและมีการหาเสียงในช่วงเย็น
"วันที่ 26 ก.พ. จะมีตัวแทนจากสำนักนายกรัฐมนตรี มาชี้แจงต่อ กกต.ทั้ง 5 คน ซึ่งน่าจะใหญ่พอสมควร น่าจะเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ซึ่ง กกต. คงต้องฟังคำชี้แจงแต่จะยังไม่มีมติใดๆ ออกมา เพราะต้องขอเวลาพิจารณาสืบสวนสอบสวนเพิ่มเติม" นายสมชัย กล่าว และว่า สำหรับการทำหน้าที่ของนายกฯในการบริหารราชการแผ่นดินสามารถทำได้ แต่ขอให้มีการแยกแยะว่า เรื่องใดทำหน้าที่ตามราชการ หรือเรื่องใดหาเสียง อย่านำ 2 เรื่องมาปนกัน เช่น กลางวัน ไปราชการ ตกเย็นไปหาเสียง แม้ว่าจะเป็นนอกเวลาราชการ ต้องพิจารณาว่า ช่วงกลางวันที่ไปได้ใช้งบประมาณแผ่นดินหรือไม่ ใช้คนของราชการหรือไม่ และการหาเสียงในช่วงเย็น ทำให้เกิดการได้ หรือเสียคะแนนนั้น เป็นการนำทรัพยากรของรัฐมาทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบหรือไม่ ดังนั้นอย่าได้กระทำการใด ๆ ที่สุ่มเสียงหรือหมิ่นเหม่ต่อความผิดดังกล่าว
เมื่อถามว่าทำไมไม่เชิญนายกฯมาชี้แจงเอง นายสมชัย กล่าวว่า ใจเย็น ๆ คงต้องขอดูข้อเท็จจริงก่อน กระบวนการยังไม่จบ
นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. กล่าวต่อว่า ในเวลา 13.30 น. วันที่ 26 ก.พ. ได้ทำหนังสือเชิญเลขาธิการนายกฯ มาชี้แจงต่ออนุกรรมการสืบสวนสอบสวนของ กกต. เพราะอยากรู้ตารางว่า แต่ละวันนายกฯ ไปที่ไหน มีใครไปบ้าง ซึ่งต้องให้ความเป็นธรรมกับทั้ง 2 ฝ่าย อย่างไรก็ตาม ทางอนุกรรมการฯอยากให้เลขาธิการนายกฯ ได้พบปะกับ กกต.ทั้ง 5 คนด้วย.
**เตรียมลงมติกรณีร้องคัดค้าน"เจ๊แดง"
นายสมชัย กล่าวด้วยว่า มีเรื่องที่ต้องจับตาดูในช่วงนี้คือ กกต.มีการพิจารณาคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส. เชียงใหม่ กรณีของ นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ที่มีการร้องคัดค้านว่า มีการขนคนมาใช้สิทธิเลือกตั้งซ่อม เมื่อปี 2556 ที่ผ่านมา ซึ่งเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุม กกต. 2 รอบแล้ว แต่ว่ายังไม่สามารถตัดสินได้ คงต้องนำรายละเอียดต่างๆ มาศึกษาแล้ว กกต.จึงจะลงมติ
เรื่องดังกล่าวมีการสืบสวนของอนุกรรมการสืบสวน มีความเห็นจาก กกต.จังหวัด และมีความเห็นจากทางอนุกรรมการวินิจฉัยของ กกต.แล้ว ตอนนี้อยู่ในขั้นสุดท้ายที่ กกต.ทั้ง 5 คน จะลงมติว่าจะยกคำร้องคัดค้าน ให้ใบเหลือง หรือใบแดง ที่ผ่านมามีการพิจารณามาแล้ว 2 ครั้ง ห่างกันประมาณ 2 สัปดาห์แล้วยังไม่จบ เข้าใจว่าสัปดาห์หน้าน่าจะจบ เนื่องจากมีหลักฐานต่างๆ ต้องดูเพิ่มเติม เช่น ซีดี 26 แผ่น ต้องไปดู ตอนนี้มีกกต.ท่านหนึ่งขอไปดูเป็นพิเศษทั้ง 26 แผ่น อย่างไรก็ตาม กกต.จะพิจารณาอย่างเป็นธรรม เพราะเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชนเรื่องหนึ่ง
เมื่อถามว่าการประชุมครั้งหน้า กกต. จะลงมติในกรณีของนางเยาวภาใช่หรือไม่ นายสมชัย กล่าวว่า ยังไม่หมดเวลา ยังสามารถพิจารณาได้ถึงเดือนพ.ค.นี้
ด้านนายบุญส่ง น้อยโสภณ กกต.ด้านสืบสวนสอบสวน กล่าวถึงกรณี ที่มีผู้ยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ที่เกี่ยวข้องกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ว่า มี 2 คำร้อง ได้แก่ คำร้องกรณีที่นายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ภาคอีสานและภาคเหนือ โดยใช้ทรัพยากรของรัฐ และคำร้องกรณีที่นายกรัฐมนตรี ไปงานศพและมอบเงินให้แก่ครอบครัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เสียชีวิต ในเหตุการณ์การปะทะกันที่สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง ในวันรับสมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งอาจเข้าข่ายการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของอนุกรรมการสืบสวนสอบสวน ซึ่งในวันนี้ (26 ก.พ.) คณะอนุกรรมการฯได้เชิญเลขาธิการนายกรัฐมนตรี มาชี้แจงด้วย
ทั้งนี้ นายบุญส่ง กล่าวยอมรับว่า ไม่รู้สึกกังวล เกี่ยวกับกรณีที่พรรคเพื่อไทยจะมีการฟ้องร้องกกต.ทั่วประเทศ ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ กรณีที่ไม่ดำเนินการจัดการเลือกตั้งให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญนั้น เนื่องจากมีฝ่ายกฎหมายดูแลอยู่แล้ว และก็คงไม่มีการฟ้องกลับ แต่ก็ได้มอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายไปชี้แจง ในวันที่ 21 เม.ย.ที่ศาลอาญา รัชดา
** กกต.ยืนยันความพร้อมจัดเลือกตั้งส.ว.
ในวันเดียวกันนี้ คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ได้มีการพิจารณากรณีการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) วันที่ 30 มี.ค. แทน ส.ว.ที่จะครบวาระในวันที่ 2 มี.ค. โดยมี นายสุเทพ พรหมวาส รองเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านกิจการการมีส่วนร่วม เข้าชี้แจงว่า ทางกกต.ได้เตรียมความพร้อมในด้านการประชาสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นพับโฆษณาในรูปแบบต่างๆ และได้ประสานกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อจัดสรรเวลาให้กกต. ได้ชี้แจงผ่านทางสถานีโทรทัศน์ รวมถึงเครือข่ายประชาสัมพันธ์จังหวัด และเตรียมกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งทั่วประเทศ ครบหมดแล้ว โดยจะของบประมาณจากรัฐบาล เพื่อทำการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบ ซึ่งหากได้งบประมาณมาเพิ่มเติม ก็จะสามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่
ขณะที่ นายประสิทธิ์ เอียดคง ผอ.ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ กกต. กล่าวว่า จากการลงพื้นที่จังหวัดภาคใต้ ได้ข้อมูลว่าไม่มีกระบวนการคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ว. พร้อมยืนยันจะทำทุกวิถีทางที่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบ
อย่างไรก็ตาม ทางกรรมาธิการเรียกร้องให้ กกต. ดูแลการเลือกตั้งให้เรียบร้อย อย่าให้เกิดปัญหาเช่นเดียวกับการเลือกตั้งทั่วไปของส.ส. และควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบว่าการขัดขวางการเลือกตั้ง ส.ว. ไม่ได้ทำให้เกิดสุญญากาศทางการเมือง เนื่องจาก ส.ว. ยังคงสมาชิกภาพอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าจะมีส.ว.ชุดใหม่
1. ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในส่วนของกำลังพลของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม จำนวน 17,000 นาย ประมาณ 17 ล้านบาท 2.ค่าน้ำมัน ยานพาหนะ 2 ล้านบาท และ 3.ค่าวัสดุ อุปกรณ์อื่นๆที่จำเป็น จำนวน 320,000 บาท หลังจากนี้จะขอความเห็นชอบไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 181
นอกจากนี้ ครม.ได้รับทราบหนังสือที่ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี ส่งไปถึงประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตามที่ประธาน กกต.เคยแสดงความคิดเห็นเสนอให้มีการตราพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้งทั่วไป โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้ความเห็นผ่าน นายพงศ์เทพ เป็นหนังสือเรื่องการดำเนินการเลือกตั้งกรณีผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ใน 28 เขตเลือกตั้งที่ไม่สามารถสมัครได้ มีสาระสำคัญในหนังสือ คือ การนำความกราบบังคมทูล เพื่อขอให้ทรงตราพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งใหม่นั้นไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากรัฐธรรมนูญไม่บัญญัติให้กระทำได้ เพราะการทูลเกล้าฯ เสนอพระมหากษัตริย์เพื่อให้ใช้พระราชอำนาจตราพระราชกฤษฎีกา ต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย และการเลือกตั้งใน 28 เขตนั้น ยังอยู่ในกระบวนการเลือกตั้งที่ยังไม่แล้วเสร็จ ถือเป็นอำนาจของกกต. ที่สามารถดำเนินการจัดการเลือกตั้งต่อไปได้ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า ที่ประชุมครม.ใช้เวลากว่า 1 ชม. ในการพิจารณากรณีที่ กกต.ส่งหนังสือดังกล่าว กลับมายังครม. เพื่อขอให้มีมติเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบอย่างชัดเจน ต่อความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นพ้องว่า ควรให้เป็นแค่เรื่องแจ้งเพื่อทราบต่อที่ประชุม และ ครม.รับทราบไว้เท่านั้น โดยไม่ต้องเป็นมติครม. เพราะเกรงว่าจะเป็นการวางหลุมพรางให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกกต. และ ครม. เพื่อเปิดช่องให้สามารถยื่นศาล รัฐธรรมนูญตีความได้
ทั้งนี้ มีรายงานว่า นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ได้ตั้งข้อสังเกตในที่ประชุมว่า ว่าเหตุใด กกต.จึงใช้ภาษาที่บิดเบือนข้อเท็จจริง เช่น การเลือกตั้งในพื้นที่ 28 เขต ไม่มีผู้สมัคร ทั้งที่จริงมีผู้สมัคร แต่ถูกขัดขวาง และกกต. ก็ไม่สามารถดูแลจัดการการเลือกตั้งได้
ขณะที่นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ ได้หารือต่อกฤษฎีกาว่า เรื่องดังกล่าวเข้าข่าย มติครม.ได้หรือไม่ และถ้ามีสถานะว่าเห็นชอบ ผลจะเป็นอย่างไร ซึ่งกฤษฎีกาชี้แจงว่า เรื่องการแสดงความเห็นชอบสามารถออกเป็นมติครม.ได้ แต่อาจจะถูกนำไปใช้เป็นประเด็นให้นำไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญต่อไป รวมถึงนายชัยเกษม นิติสิริ รมว.ยุติธรรม และ นายพีรพันธุ์ พาลุสุข รมว.วิทยาศาสตร์ ก็แสดงความเห็นพ้องว่า ถ้าออกเป็นมติครม.แล้วระบุว่า เห็นชอบตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา เท่ากับเราไปดึงศาลรัฐธรมนูญมาร่วมให้ทำในสิ่งที่รัฐบาลไม่ต้องการทำ และไม่ถูกต้อง เช่น การออกพระราชกฤษฎีกา กำหนดวันเลือกตั้งใหม่
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย ก็ได้แสดงความเห็นว่า “เราจะต้องไม่ตกหลุมพรางของกกต. ฉะนั้นก็ทำเป็นว่า ครม.รับทราบเฉยๆ แต่ไม่ใช้คำว่า ครม.เห็นชอบเด็ดขาด เพราะอาจจะมีผลผูกพันมาในภายหลัง”
ท้ายที่สุด ที่ประชุม ครม.ก็ไม่ได้มีมติใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ เป็นเพียงวาระในการรับทราบว่า กกต.มีหนังสือเข้ามาถึงนายกรัฐมนตรี และได้มอบหมายให้ นายพงศ์เทพ เป็นผู้ทำหนังสือด่วนที่สุด ตอบกลับไปยัง กกต. โดยระบุว่า ภายหลังจากปรึกษาคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วปรากฏว่า กฤษฎีกาฯ มีความเห็นว่า นายกรัฐมนตรี ไม่สามารถนำความกราบบังคมทูลเพื่อขอ ตรา พ.ร.ฎ.ใหม่ได้ เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ รวมทั้งเห็นว่า ขณะนี้ถือว่า กระบวนการเลือกตั้งยังไม่สิ้นสุด ดังนั้น กกต.สามารถดำเนินการจัดการเลือกตั้งใน 28 เขตเลือกตั้งได้ตาม พ.ร.ฎ.ที่มีอยู่เดิม
** เรียกเลขานายกฯแจงกรณีหาเสียงแฝง
ในวันเดียวกันนี้ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุม กกต.ว่า ในการประชุม กกต.ทั้ง 5 คน ในวันพุธที่ 26 ก.พ. ได้เรียนเชิญตัวแทนจากสำนักนายกรัฐมนตรี มาชี้แจงเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรของรัฐ เพื่อการหาเสียงของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่มีการร้องเรียนเข้ามาว่าในช่วงแรกหลังจากการยุบสภา นายกฯได้เดินทางไปภาคเหนือและภาคอีสาน เพื่อตรวจราชการและมีการหาเสียงในช่วงเย็น
"วันที่ 26 ก.พ. จะมีตัวแทนจากสำนักนายกรัฐมนตรี มาชี้แจงต่อ กกต.ทั้ง 5 คน ซึ่งน่าจะใหญ่พอสมควร น่าจะเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ซึ่ง กกต. คงต้องฟังคำชี้แจงแต่จะยังไม่มีมติใดๆ ออกมา เพราะต้องขอเวลาพิจารณาสืบสวนสอบสวนเพิ่มเติม" นายสมชัย กล่าว และว่า สำหรับการทำหน้าที่ของนายกฯในการบริหารราชการแผ่นดินสามารถทำได้ แต่ขอให้มีการแยกแยะว่า เรื่องใดทำหน้าที่ตามราชการ หรือเรื่องใดหาเสียง อย่านำ 2 เรื่องมาปนกัน เช่น กลางวัน ไปราชการ ตกเย็นไปหาเสียง แม้ว่าจะเป็นนอกเวลาราชการ ต้องพิจารณาว่า ช่วงกลางวันที่ไปได้ใช้งบประมาณแผ่นดินหรือไม่ ใช้คนของราชการหรือไม่ และการหาเสียงในช่วงเย็น ทำให้เกิดการได้ หรือเสียคะแนนนั้น เป็นการนำทรัพยากรของรัฐมาทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบหรือไม่ ดังนั้นอย่าได้กระทำการใด ๆ ที่สุ่มเสียงหรือหมิ่นเหม่ต่อความผิดดังกล่าว
เมื่อถามว่าทำไมไม่เชิญนายกฯมาชี้แจงเอง นายสมชัย กล่าวว่า ใจเย็น ๆ คงต้องขอดูข้อเท็จจริงก่อน กระบวนการยังไม่จบ
นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. กล่าวต่อว่า ในเวลา 13.30 น. วันที่ 26 ก.พ. ได้ทำหนังสือเชิญเลขาธิการนายกฯ มาชี้แจงต่ออนุกรรมการสืบสวนสอบสวนของ กกต. เพราะอยากรู้ตารางว่า แต่ละวันนายกฯ ไปที่ไหน มีใครไปบ้าง ซึ่งต้องให้ความเป็นธรรมกับทั้ง 2 ฝ่าย อย่างไรก็ตาม ทางอนุกรรมการฯอยากให้เลขาธิการนายกฯ ได้พบปะกับ กกต.ทั้ง 5 คนด้วย.
**เตรียมลงมติกรณีร้องคัดค้าน"เจ๊แดง"
นายสมชัย กล่าวด้วยว่า มีเรื่องที่ต้องจับตาดูในช่วงนี้คือ กกต.มีการพิจารณาคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส. เชียงใหม่ กรณีของ นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ที่มีการร้องคัดค้านว่า มีการขนคนมาใช้สิทธิเลือกตั้งซ่อม เมื่อปี 2556 ที่ผ่านมา ซึ่งเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุม กกต. 2 รอบแล้ว แต่ว่ายังไม่สามารถตัดสินได้ คงต้องนำรายละเอียดต่างๆ มาศึกษาแล้ว กกต.จึงจะลงมติ
เรื่องดังกล่าวมีการสืบสวนของอนุกรรมการสืบสวน มีความเห็นจาก กกต.จังหวัด และมีความเห็นจากทางอนุกรรมการวินิจฉัยของ กกต.แล้ว ตอนนี้อยู่ในขั้นสุดท้ายที่ กกต.ทั้ง 5 คน จะลงมติว่าจะยกคำร้องคัดค้าน ให้ใบเหลือง หรือใบแดง ที่ผ่านมามีการพิจารณามาแล้ว 2 ครั้ง ห่างกันประมาณ 2 สัปดาห์แล้วยังไม่จบ เข้าใจว่าสัปดาห์หน้าน่าจะจบ เนื่องจากมีหลักฐานต่างๆ ต้องดูเพิ่มเติม เช่น ซีดี 26 แผ่น ต้องไปดู ตอนนี้มีกกต.ท่านหนึ่งขอไปดูเป็นพิเศษทั้ง 26 แผ่น อย่างไรก็ตาม กกต.จะพิจารณาอย่างเป็นธรรม เพราะเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชนเรื่องหนึ่ง
เมื่อถามว่าการประชุมครั้งหน้า กกต. จะลงมติในกรณีของนางเยาวภาใช่หรือไม่ นายสมชัย กล่าวว่า ยังไม่หมดเวลา ยังสามารถพิจารณาได้ถึงเดือนพ.ค.นี้
ด้านนายบุญส่ง น้อยโสภณ กกต.ด้านสืบสวนสอบสวน กล่าวถึงกรณี ที่มีผู้ยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ที่เกี่ยวข้องกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ว่า มี 2 คำร้อง ได้แก่ คำร้องกรณีที่นายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ภาคอีสานและภาคเหนือ โดยใช้ทรัพยากรของรัฐ และคำร้องกรณีที่นายกรัฐมนตรี ไปงานศพและมอบเงินให้แก่ครอบครัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เสียชีวิต ในเหตุการณ์การปะทะกันที่สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง ในวันรับสมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งอาจเข้าข่ายการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของอนุกรรมการสืบสวนสอบสวน ซึ่งในวันนี้ (26 ก.พ.) คณะอนุกรรมการฯได้เชิญเลขาธิการนายกรัฐมนตรี มาชี้แจงด้วย
ทั้งนี้ นายบุญส่ง กล่าวยอมรับว่า ไม่รู้สึกกังวล เกี่ยวกับกรณีที่พรรคเพื่อไทยจะมีการฟ้องร้องกกต.ทั่วประเทศ ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ กรณีที่ไม่ดำเนินการจัดการเลือกตั้งให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญนั้น เนื่องจากมีฝ่ายกฎหมายดูแลอยู่แล้ว และก็คงไม่มีการฟ้องกลับ แต่ก็ได้มอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายไปชี้แจง ในวันที่ 21 เม.ย.ที่ศาลอาญา รัชดา
** กกต.ยืนยันความพร้อมจัดเลือกตั้งส.ว.
ในวันเดียวกันนี้ คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ได้มีการพิจารณากรณีการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) วันที่ 30 มี.ค. แทน ส.ว.ที่จะครบวาระในวันที่ 2 มี.ค. โดยมี นายสุเทพ พรหมวาส รองเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านกิจการการมีส่วนร่วม เข้าชี้แจงว่า ทางกกต.ได้เตรียมความพร้อมในด้านการประชาสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นพับโฆษณาในรูปแบบต่างๆ และได้ประสานกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อจัดสรรเวลาให้กกต. ได้ชี้แจงผ่านทางสถานีโทรทัศน์ รวมถึงเครือข่ายประชาสัมพันธ์จังหวัด และเตรียมกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งทั่วประเทศ ครบหมดแล้ว โดยจะของบประมาณจากรัฐบาล เพื่อทำการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบ ซึ่งหากได้งบประมาณมาเพิ่มเติม ก็จะสามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่
ขณะที่ นายประสิทธิ์ เอียดคง ผอ.ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ กกต. กล่าวว่า จากการลงพื้นที่จังหวัดภาคใต้ ได้ข้อมูลว่าไม่มีกระบวนการคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ว. พร้อมยืนยันจะทำทุกวิถีทางที่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบ
อย่างไรก็ตาม ทางกรรมาธิการเรียกร้องให้ กกต. ดูแลการเลือกตั้งให้เรียบร้อย อย่าให้เกิดปัญหาเช่นเดียวกับการเลือกตั้งทั่วไปของส.ส. และควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบว่าการขัดขวางการเลือกตั้ง ส.ว. ไม่ได้ทำให้เกิดสุญญากาศทางการเมือง เนื่องจาก ส.ว. ยังคงสมาชิกภาพอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าจะมีส.ว.ชุดใหม่