ASTVผู้จัดการรายวัน - ตลาดค้าปลีกโคราชระอุ “ซีพีเอ็น” เหยียบจมูกเจ้าถิ่นเดอะมอลล์ ทุ่ม 7,000 ล้านบาท ผุดสาขาที่โคราช ชูแบรนด์เซ็นทรัลพลาซ่าชน รองรับกำลังซื้อมหาศาล ส่วนเดอะมอลล์ยังอุบไต๋แผนรับมือ
นาวสาววัลยา จิราธิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาธุรกิจ และบริหารโครงการก่อสร้าง บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอ็น เปิดเผยว่า ตามแผนงานที่วางไว้ในปีนี้ บริษัทฯเตรียมเปิดตัวโครงการใหม่อย่างต่ำอีก 4-5 โครงการ ด้วยงบลงทุนรวมกว่า 12,000 - 14,000 ล้านบาท
ทั้งนี้โครงการที่สามารถเปิดเผยได้แล้วมี 5 โครงการ คือ 1. เซ็นทรัลเฟสติวัล สมุย กำหนดเปิดบริการวันที่ 29 มี.ค.2557 2. เซ็นทรัลพลาซ่า ศาลายา เปิดบริการ วันที่ 15 ส.ค.2557 นอกนั้นเป็นปีถัดไปคือ เซ็นทรัลพลาซ่า ระยองจะเปิดบริการต้นปี 2558 , เซ็นทรัลเวสท์เกต จะเปิดบริการกลางปี 2558 และศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า โคราช จะเปิดบริการปี 2559
ล่าสุดบริษัทฯได้ลงทุน 7,000 ล้านบาท ก่อสร้างโครงการศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่าที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งจะเป็นสาขาที่ 4 ของบริษัทฯในพื้นที่ภาคตะวันอออกเฉียงเหนือ ต่อจาก ขอนแก่น อุดรธานี และอุบลราชธานี และเป็นโครงการที่ 28 ของบริษัทฯ และด้วยศักยภาพของจังหวัดนครราชสีมาที่ยังมีช่องว่างทางการตลาดของธุรกิจค้าปลีกอีกมาก อาจจะมีความเป็นไปได้ว่าบริษัทฯอาจจะลงทุนสาขาที่ 2 เช่นเดียวกับที่เชียงใหม่ก็ได้
สาเหตุที่บริษัทฯใช้แบรนด์เซ็นทรัลพลาซ่าเปิดที่นครราชสีมา เนื่องจากว่าบริษัทฯได้ศึกษาแล้วพบ่า นครราชสีมาเป็นจังหวัดที่ใหญ่ และผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูง เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพทางการค้าอย่างมาก และกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นคนไทย จึงตัดสินใจนำแบรนด์เซ็นทรัลพลาซ่ามาเปิดบริการ แทนที่จะเป็นแบรนด์โรบินสันที่เหมาะกับจังหวัดระดับกลาง ส่วนแบรนด์เซ็นทรัลเฟสติวัลจะเหมาะกับจังหวัดท่องเที่ยว ที่มีชาวต่างชาติจำนวนมาก
“นครราชสีมา เป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศในฐานะ Gateway แห่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เชื่อมต่อทั้งในภูมิภาคและเชื่อมสู่ประเทศในแถบ AEC เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าผ่านระบบรางกับโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา รถไฟรางคู่ มาบกะเบา-นครราชสีมา และมอเตอร์เวย์สาย บางปะอิน-นครราชสีมา อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ ทั้งยังเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ยังมี ขนาดเศรษฐกิจ และประชากร สูงเป็นอันดับต้นๆของประเทศนครราชสีมาเป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีประชากร 2.8 ล้านคน มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดสูงถึง 202,014 ล้านบาท เป็นอันดับ 1 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีรายได้ประชากรต่อหัว 71,405 บาท ต่อปี เศรษฐกิจมีการขยายตัวปีละประมาณ 8% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศ”
นอกจากนี้ยังมุ่งรองรับกำลังซื้อมหาศาลของกลุ่มเป้าหมายกำลังซื้อสูงในจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ ผู้ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครราชสีมากว่า 2.8 ล้านคน คนที่อยู่อาศัยภายในรัศมี 120 กิโลเมตร หรือระยะขับรถประมาณ 1 ชั่วโมงใน 3 จังหวัด คือ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และชัยภูมิ กว่า 3.4 ล้านคน และนักท่องเที่ยวอีกกว่า 5 ล้านคนต่อปี
สำหรับเซ็นทรัลพลาซ่านครราชสีมา มีพื้นที่กว่า 250,000 ตร.ม. มีมากกว่า 400 ร้านค้า ตั้งอยู่บนพื้นที่ 52 ไร่ของเส้นบายพาส บนถนนมิตรภาพสายใหม่ เลี่ยงเมืองโคราช ซึ่งเป็นซีบีดีแห่งใหม่
รูปแบบของศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า นครราชสีมา จะเป็นคอนเซ็ปต์เดียวกับศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่าลาดพร้าว ที่ให้ความสำคัญกับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย จะเริ่มก่อสร้างเดือน พ.ค. นี้ และคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2559 วางเป้าหมายมีลุกค้าเข้ามาใช้บริการประมาณ 5-6 หมื่นคนในวันธรรมดา และประมาณ 7-8 หมื่นคน ในวันเสาร์-อาทิตย์ และจะถึงจุดคุ้มทุน 7 ปี
แหล่งข่าวจาก บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ผู้บริหารเดอะมอลล์โคราชซึ่งถือเป็นเจ้าถิ่นมานาน กล่าวให้ความเห็นว่า แผนการทำกิจกรรมการตลาดของเดอะมอลล์โคราชจากนี้ไปบริษัทจะเน้นกลยุทธเชิงรุกมากขึ้น เพราะต้องการที่จะกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคให่มากขึ้น ส่วนการที่จะมีผู้เล่นรายใหม่เข้าสู่ตลาดศูนย์การค้าในโคราชนั้น บริษัทฯยังไม่มีแผนงานอะไรพิเศษมารองรับ
นาวสาววัลยา จิราธิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาธุรกิจ และบริหารโครงการก่อสร้าง บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอ็น เปิดเผยว่า ตามแผนงานที่วางไว้ในปีนี้ บริษัทฯเตรียมเปิดตัวโครงการใหม่อย่างต่ำอีก 4-5 โครงการ ด้วยงบลงทุนรวมกว่า 12,000 - 14,000 ล้านบาท
ทั้งนี้โครงการที่สามารถเปิดเผยได้แล้วมี 5 โครงการ คือ 1. เซ็นทรัลเฟสติวัล สมุย กำหนดเปิดบริการวันที่ 29 มี.ค.2557 2. เซ็นทรัลพลาซ่า ศาลายา เปิดบริการ วันที่ 15 ส.ค.2557 นอกนั้นเป็นปีถัดไปคือ เซ็นทรัลพลาซ่า ระยองจะเปิดบริการต้นปี 2558 , เซ็นทรัลเวสท์เกต จะเปิดบริการกลางปี 2558 และศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า โคราช จะเปิดบริการปี 2559
ล่าสุดบริษัทฯได้ลงทุน 7,000 ล้านบาท ก่อสร้างโครงการศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่าที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งจะเป็นสาขาที่ 4 ของบริษัทฯในพื้นที่ภาคตะวันอออกเฉียงเหนือ ต่อจาก ขอนแก่น อุดรธานี และอุบลราชธานี และเป็นโครงการที่ 28 ของบริษัทฯ และด้วยศักยภาพของจังหวัดนครราชสีมาที่ยังมีช่องว่างทางการตลาดของธุรกิจค้าปลีกอีกมาก อาจจะมีความเป็นไปได้ว่าบริษัทฯอาจจะลงทุนสาขาที่ 2 เช่นเดียวกับที่เชียงใหม่ก็ได้
สาเหตุที่บริษัทฯใช้แบรนด์เซ็นทรัลพลาซ่าเปิดที่นครราชสีมา เนื่องจากว่าบริษัทฯได้ศึกษาแล้วพบ่า นครราชสีมาเป็นจังหวัดที่ใหญ่ และผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูง เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพทางการค้าอย่างมาก และกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นคนไทย จึงตัดสินใจนำแบรนด์เซ็นทรัลพลาซ่ามาเปิดบริการ แทนที่จะเป็นแบรนด์โรบินสันที่เหมาะกับจังหวัดระดับกลาง ส่วนแบรนด์เซ็นทรัลเฟสติวัลจะเหมาะกับจังหวัดท่องเที่ยว ที่มีชาวต่างชาติจำนวนมาก
“นครราชสีมา เป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศในฐานะ Gateway แห่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เชื่อมต่อทั้งในภูมิภาคและเชื่อมสู่ประเทศในแถบ AEC เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าผ่านระบบรางกับโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา รถไฟรางคู่ มาบกะเบา-นครราชสีมา และมอเตอร์เวย์สาย บางปะอิน-นครราชสีมา อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ ทั้งยังเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ยังมี ขนาดเศรษฐกิจ และประชากร สูงเป็นอันดับต้นๆของประเทศนครราชสีมาเป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีประชากร 2.8 ล้านคน มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดสูงถึง 202,014 ล้านบาท เป็นอันดับ 1 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีรายได้ประชากรต่อหัว 71,405 บาท ต่อปี เศรษฐกิจมีการขยายตัวปีละประมาณ 8% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศ”
นอกจากนี้ยังมุ่งรองรับกำลังซื้อมหาศาลของกลุ่มเป้าหมายกำลังซื้อสูงในจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ ผู้ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครราชสีมากว่า 2.8 ล้านคน คนที่อยู่อาศัยภายในรัศมี 120 กิโลเมตร หรือระยะขับรถประมาณ 1 ชั่วโมงใน 3 จังหวัด คือ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และชัยภูมิ กว่า 3.4 ล้านคน และนักท่องเที่ยวอีกกว่า 5 ล้านคนต่อปี
สำหรับเซ็นทรัลพลาซ่านครราชสีมา มีพื้นที่กว่า 250,000 ตร.ม. มีมากกว่า 400 ร้านค้า ตั้งอยู่บนพื้นที่ 52 ไร่ของเส้นบายพาส บนถนนมิตรภาพสายใหม่ เลี่ยงเมืองโคราช ซึ่งเป็นซีบีดีแห่งใหม่
รูปแบบของศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า นครราชสีมา จะเป็นคอนเซ็ปต์เดียวกับศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่าลาดพร้าว ที่ให้ความสำคัญกับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย จะเริ่มก่อสร้างเดือน พ.ค. นี้ และคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2559 วางเป้าหมายมีลุกค้าเข้ามาใช้บริการประมาณ 5-6 หมื่นคนในวันธรรมดา และประมาณ 7-8 หมื่นคน ในวันเสาร์-อาทิตย์ และจะถึงจุดคุ้มทุน 7 ปี
แหล่งข่าวจาก บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ผู้บริหารเดอะมอลล์โคราชซึ่งถือเป็นเจ้าถิ่นมานาน กล่าวให้ความเห็นว่า แผนการทำกิจกรรมการตลาดของเดอะมอลล์โคราชจากนี้ไปบริษัทจะเน้นกลยุทธเชิงรุกมากขึ้น เพราะต้องการที่จะกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคให่มากขึ้น ส่วนการที่จะมีผู้เล่นรายใหม่เข้าสู่ตลาดศูนย์การค้าในโคราชนั้น บริษัทฯยังไม่มีแผนงานอะไรพิเศษมารองรับ