ASTVผู้จัดการรายวัน- สภาที่ปรึกษาทางศก.และสังคมแห่งชาติเสนอผลศึกษาแนวทางการปฏิรูปประเทศต้องปฏิรูปการเมืองควบคู่กับเศรษฐกิจเผย 12 แนวทางปฏิรูปเน้นต้องปฏิรูปศก.ให้ปลอดจากการเมืองด้วยการเลิกกำหนดนโยบายประชานิยมทุกรูปแบบที่จะบิดเบือนกลไกเกษตร อุตฯ บริการ และให้มีระบบตรวจสอบราชการและรัฐวิสาหกิจป้องคอร์รัปชั่นโดยเฉพาะ
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานคณะทำงานเศรษฐกิจมหภาค การเงิน การคลัง สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า สภาที่ปรึกษาฯได้ทำการศึกษาแนวทางการปฏิรูปเศรษฐกิจหลังข้ามผ่านวิกฤตการเมืองเนื่องจากเห็นว่าแนวทางการปฏิรูปยังไม่ชัดเจนและการปฏิรูปจำเป็นต้องควบคู่ไปกับเศรษฐกิจ ซึ่งน่าจะเป็นทางออกของการแก้ปัญหาวิกฤตของชาติได้อย่างยั่งยืนโดยผลการศึกษาได้สรุปไว้ 12 แนวทางได้แก่ 1.การปฏิรูปเศรษฐกิจให้ปลอดจากการครอบงำของภาคการเมืองโดยพรรคการเมืองและรัฐบาลจะต้องไม่กำหนดนโยบายประชานิยมเพื่อบิดเบือนราคาสินค้าและต้นทุนภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม บริการ โดยเฉพาะจะต้องทบทวนนโยบายจำนำข้าว ค่าแรงขั้นต่ำ
2.ปฏิรูประบบราชการไทยให้ปลอดจากคอร์รัปชั่น ซึ่งจะรวมถึงการปรับเปลี่ยนบทบาทของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหรือป.ป.ช.ให้เป็นหน่วยงานตรวจสอบและพิจารณาคดี เฉพาะคอร์รัปชั่นซึ่งเกี่ยวข้องกับนักการเมือง และให้มีหน่วยงานในรูปแบบของสำนักงานป้องกันคอร์รัปชั่นของราชการและรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เป็นหน่วยงานสำหรับตรวจสอบมีระบบการตรวจสอบข้าราชการโดยเฉพาะ
3.การแก้ปัญหาความยากจนของภาคเกษตรด้วยการปฏิรูประบบเกษตรแผนใหม่ ที่ให้เกษตรกรพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน 4.ส่งเสริมและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของเอสเอ็มอี 5.การส่งเสริมพัฒนาการส่งออกและการส่งออกค้าผ่านแดนอย่างเป็นระบบ 6 ส่งเสริมความเข้มแข็งของภาคอุตสาหกรรม ประเทศไทยภายใต้บริบทของการเปิดเสรีการค้า ภายใต้กรอบ
7.ปฏิรูปและแก้กฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน
8. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงโลจิสติกส์กับภาคการผลิตและประเทศเพื่อนบ้าน 9.การปฏิรูปด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม โทรคมนาคมและการวิจัยเพื่อการพัฒนา 10. ปฏิรูปด้านการศึกษาทั้งระบบ ตั้งแต่ระดับประถมจนถึงระดับมหาวิทยาลัย รวมถึงการปรับคุณวุฒิ โดยการเทียบประสบการณ์การทำงาน 11.การปฏิรูปตลาดทุนและตราสารหนี้ ส่งเสริมให้ SME สามารถเข้าถึงตลาดตราสารหนี้พัฒนาตลาดเกษตรล่วงหน้า เช่นยางพารา,ข้าว,มันสำปะหลัง ฯลฯ
12.การปฏิรูปมาตรการการเงิน การคลัง และการส่งเสริมการลงทุน ผู้ประกอบการรายย่อย SME เกษตรกร ภาคบริการไม่สามารถเข้าถึงนโยบายดังกล่าว นอกจากนี้ควรปรับบทบาทของ BOI ด้วยการทบทวนการลงทุนจากต่างประเทศ ควรเน้นโครงการซึ่งใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ หรือลงทุนสูง
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานคณะทำงานเศรษฐกิจมหภาค การเงิน การคลัง สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า สภาที่ปรึกษาฯได้ทำการศึกษาแนวทางการปฏิรูปเศรษฐกิจหลังข้ามผ่านวิกฤตการเมืองเนื่องจากเห็นว่าแนวทางการปฏิรูปยังไม่ชัดเจนและการปฏิรูปจำเป็นต้องควบคู่ไปกับเศรษฐกิจ ซึ่งน่าจะเป็นทางออกของการแก้ปัญหาวิกฤตของชาติได้อย่างยั่งยืนโดยผลการศึกษาได้สรุปไว้ 12 แนวทางได้แก่ 1.การปฏิรูปเศรษฐกิจให้ปลอดจากการครอบงำของภาคการเมืองโดยพรรคการเมืองและรัฐบาลจะต้องไม่กำหนดนโยบายประชานิยมเพื่อบิดเบือนราคาสินค้าและต้นทุนภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม บริการ โดยเฉพาะจะต้องทบทวนนโยบายจำนำข้าว ค่าแรงขั้นต่ำ
2.ปฏิรูประบบราชการไทยให้ปลอดจากคอร์รัปชั่น ซึ่งจะรวมถึงการปรับเปลี่ยนบทบาทของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหรือป.ป.ช.ให้เป็นหน่วยงานตรวจสอบและพิจารณาคดี เฉพาะคอร์รัปชั่นซึ่งเกี่ยวข้องกับนักการเมือง และให้มีหน่วยงานในรูปแบบของสำนักงานป้องกันคอร์รัปชั่นของราชการและรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เป็นหน่วยงานสำหรับตรวจสอบมีระบบการตรวจสอบข้าราชการโดยเฉพาะ
3.การแก้ปัญหาความยากจนของภาคเกษตรด้วยการปฏิรูประบบเกษตรแผนใหม่ ที่ให้เกษตรกรพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน 4.ส่งเสริมและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของเอสเอ็มอี 5.การส่งเสริมพัฒนาการส่งออกและการส่งออกค้าผ่านแดนอย่างเป็นระบบ 6 ส่งเสริมความเข้มแข็งของภาคอุตสาหกรรม ประเทศไทยภายใต้บริบทของการเปิดเสรีการค้า ภายใต้กรอบ
7.ปฏิรูปและแก้กฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน
8. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงโลจิสติกส์กับภาคการผลิตและประเทศเพื่อนบ้าน 9.การปฏิรูปด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม โทรคมนาคมและการวิจัยเพื่อการพัฒนา 10. ปฏิรูปด้านการศึกษาทั้งระบบ ตั้งแต่ระดับประถมจนถึงระดับมหาวิทยาลัย รวมถึงการปรับคุณวุฒิ โดยการเทียบประสบการณ์การทำงาน 11.การปฏิรูปตลาดทุนและตราสารหนี้ ส่งเสริมให้ SME สามารถเข้าถึงตลาดตราสารหนี้พัฒนาตลาดเกษตรล่วงหน้า เช่นยางพารา,ข้าว,มันสำปะหลัง ฯลฯ
12.การปฏิรูปมาตรการการเงิน การคลัง และการส่งเสริมการลงทุน ผู้ประกอบการรายย่อย SME เกษตรกร ภาคบริการไม่สามารถเข้าถึงนโยบายดังกล่าว นอกจากนี้ควรปรับบทบาทของ BOI ด้วยการทบทวนการลงทุนจากต่างประเทศ ควรเน้นโครงการซึ่งใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ หรือลงทุนสูง