วานนี้ ( 18 ก.พ.) ศาลปกครองกลาง ยังคงมีคำพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 647/50 ลงวันที่ 16 ต.ค.50 ที่สั่งลดโทษปลดพล.ต.ต.มานิต วงศ์สมบูรณ์ รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล 6 ในขณะนั้น ออกจากราชการ กรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) มีมติชี้มูลว่า พล.ต.ต.มานิต กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ข้าราชการ ผิดวินัยอย่างร้ายแรง จากการที่ใช้ตำแหน่งช่วยเหลือให้ผู้ที่กระทำผิดในกรณีเข้าควบคุมจับกุม นายวิชัย เอื้อสิยาพันธุ์ ซึ่งเป็นประชาชนที่ตะโกนต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น ที่บริเวณหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิล์ด เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 49 จนเป็นเหตุทำให้มีการทำร้ายร่างกายนายวิชัย และให้เพิกถอนมีมติของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ ซึ่งเป็นผู้ถูกฟ้องที่ 2 ที่ยกคำอุทธรณ์ของ พล.ต.ต.มานิต โดยให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ถือปฏิบัติต่อสิทธิ หรือหน้าที่ของ พล.ต.ต.มานิต เสมือนว่า พล.ต.ต.มานิตไม่เคยถูกคำสั่งลงโทษปลดออกราชการมาตั้งแต่ต้น เนื่องจากศาลปกครองพิจารณาแล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่า พล.ต.ต.มานิต ได้กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาแต่อย่างใด คำสั่งปลดออกราชการ จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทั้งนี้ คำพิพากษาของศาลปกครองกลางดังกล่าว เป็นคำพิพากษา ครั้งที่ 2 ในคดีนี้ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 30 ก.ย. 52 ไปแล้วครั้งหนึ่ง ให้เพิกถอนคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ให้ปลด พล.ต.ต.มานิต ออกจากราชการ เพราะเห็นว่ากระทำของ พล.ต.ต.มานิต มิได้เป็นการละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุอันสมควร เป็นเหตุทำให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการ หรือมีพฤติการณ์แสดงถึงความจงใจ ไม่ปฏิบัติตามระเบียบราชการอันได้ชื่อว่าประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง จนเป็นเหตุให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต้องปลดออกจากราชการ
ต่อมาป.ป.ช.ในฐานะผู้ที่ชี้มูลได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลาง ขอให้พิจารณาคดีนี้ใหม่ โดยป.ป.ช.อ้างว่า คำพิพากษาของศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 30 ก.ย. 52 มีการระบุว่า การไต่สวนของป.ป.ช. ที่นำไปสู่การมีมติว่า พล.ต.ต.มานิต กระทำผิดวินิยอย่างร้ายแรง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งแม้หลังศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาแล้ว คู่กรณีจะไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ตามสิทธิแต่ ป.ป.ช. ก็ถือว่าตัวเองเสียหายจากการมีคำพิพากษาดังกล่าว ซึ่งศาลปกครองกลางในขณะนั้นยกคำอุทธรณ์ของป.ป.ช. โดยเห็นว่า ป.ป.ช.ไม่ได้มีส่วนได้เสีย หรืออาจถูกระทบจากผลแห่งคดีนี้ทำให้ป.ป.ช. ยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ ของศาลปกครองกลาง ไปยังศาลปกครองสูงสุด โดยศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งลงมายังศาลปกครองกลาง ให้รับคำขอพิจารณาคดีใหม่ของ ป.ป.ช.ไว้พิจารณาและดำเนินกระบวนพิจารณาตามรูปคดีโดยให้เปลี่ยนองค์คณะในการพิจารณาคดีใหม่ ซึ่งปรากฎว่าในวันนี้องค์คณะใหม่ก็ยังคงมีคำพิพากษาในทำนองเดียวกับองค์คณะศาลปกครองกลางชุดเดิม
สำหรับเหตุที่ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งปลด พล.ต.ต.มานิตย์ ออกจากราชการในครั้งนี้ ระบุว่า ศาลพิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ป.ป.ช. มีคำสั่งวันที่ 10 พ.ย. 49 ตั้งอนุกรรมการไต่สวนกรณีกล่าวหา พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ เทพจันดา ผกก.สส.น. 6 กับพวก ที่มี พล.ต.ต.มานิต ด้วย ฐานกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ จากกรณีไม่ปฏิบัติตามระเบียบทางราชการจับกุมผู้ทำร้ายร่างกาย ระหว่างกลุ่มผู้สนับสนุนและกลุ่มต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ โดยการไต่สวนข้อเท็จจริงของ อนุ.กก.ไต่สวน ของ ป.ป.ช. รวบรวมหลักฐานจากพยานบุคล 30 ปาก ภาพเคลื่อนไหว และภาพนิ่งบันทึกในแผ่นวีซีดี จากสื่อมวลชน และการไต่สวนข้อเท็จจริงจากผู้กล่าวหา และผู้ถูกกล่าวหาแล้วจัดทำสำนวนที่มีความเห็นว่า พล.ต.ต.มานิต มีมูลความผิดทางวินัย ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 มาตรา 79 (2)(5)(6) เสนอ ป.ป.ช.
ต่อมาวันที่ 28 ส.ค. 50 ป.ป.ช. มีมติเอกฉันท์เห็นว่า พล.ต.ต.มานิต มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง จึงมีหนังสือถึง ผบ.ตร. ผู้ถูกฟ้องที่ 1 พิจารณาโทษวินัยตามขั้นตอน คดีจึงมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า การที่ผบ.ตร. ผู้ถูกฟ้องที่ 1 มีคำสั่งปลด พล.ต.ต.มานิต ออกจากราชการ ใช้ดุลพินิจโดยชอบหรือไม่ เห็นว่าจากภาพเคลื่อนไหวในวีซีดีที่อยู่ในสำนวนไต่สวนคดีนั้น เห็นแต่เพียงว่า พล.ต.ต.มานิต เข้าไปในที่เกิดเหตุ โดยมือซ้ายแตะที่หลังของกลุ่มผู้ต่อต้านพ.ต.ท.ทักษิณ ส่วนมือขวา ถือวิทยุสื่อสาร และเมื่อกลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ช่วยกันดึงตัวผู้ที่ต่อต้านออกมา พล.ต.ต.มานิต ก็ได้เข้าไปแทรก โดยใช้มือซ้ายจับที่ไหล่ของผู้ต่อต้าน ส่วนอีกมือแตะไปที่แขนของกลุ่มผู้สนับสนุน พร้อมพูดว่า “อย่า อย่า” อันมีลักษณะการเข้าไปช่วยแยกตัว และเมื่อผู้ต่อต้านถูกกลุ่มผู้สนับสนุนเข้าล้อมและด่าทอตลอดทางที่เดินหนีออกมา พล.ต.ต.มานิตก็ยังเดินมาพูดกับกลุ่มผู้สนับสนุนว่าให้หยุดแล้วพาตัวผู้ที่ต่อต้านออกมาแล้วขึ้นรถไปยัง สน.ปทุมวัน ขณะที่ผู้ต่อต้าน เคยให้การต่อพนักงานสอบสวนว่า วันเกิดเหตุระหว่างถูกรุมล้อมมีพล.ต.ต.มานิตเข้าช่วยเหลือและนำตัวส่ง สน.ปทุมวันโดยผู้ฟ้องเข้าระงับพร้อมพูดให้หยุด ส่วนที่มีพยานให้การว่า เห็น พล.ต.ต.มานิต ผลักผู้ต่อต้านไปให้กลุ่มผู้สนับสนุนกับพวกทำร้ายนั้น ก็เป็นผู้ถ่ายภาพเหตุการณ์จากกล้องโทรศัพท์ของตน เป็นการเห็นเหตุการณ์ผ่านกล้อง ไม่ได้เห็นด้วยตาของตนเอง จึงไม่อาจชี้ชัดได้ว่า พล.ต.ต.มานิต มีเจตนาใช้กำลังผลัก หาก พล.ต.ต.มานิต มีเจตนาให้มีการทำร้ายกัน พล.ต.ต.มานิต ก็ไม่จำเป็นต้องเข้าไปร่วมในเหตุการณ์ดังกล่าว เพราะกลุ่มผู้สนับสนุนใช้กำลังเข้าไปฉุดกระชากดึง ผู้ต่อต้านออกมาแล้ว และที่ พล.ต.ต.มานิตไม่ได้จับกุมกลุ่มผู้สนับสนุนในทันที เนื่องจากช่วงนั้นเกิดเหตุชุลมุน ระหว่าง 2 กลุ่ม ที่มีความเห็นทางการเมืองไม่ตรงกัน โดยกลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ มีจำนวนมาก และตามภาพที่ปรากฏในวีซีดี เห็นว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจในเครื่องแบบขณะนั้นมี พล.ต.ต.มานิต เพียงคนเดียวที่อยู่ในเหตุการณ์ดังกล่าว ดังนั้นการเข้าจับกุมทั้ง 2 ฝ่าย ที่กระทำผิดกฎหมายจำนวนมากในทันที ย่อมจะทำไม่ได้ พล.ต.ต.มานิต จึงตัดสินใจเข้าระงับเหตุ โดยพยายามกันตัวผู้ต่อต้านที่ตะโกนไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่เป็นการยั่วยุอีกฝ่ายออกมาก่อน
ดังนั้นจึงยังฟังไม่ได้ว่าพล.ต.ต.มานิต มีพฤติการณ์เลือกปฏิบัติในการเข้าจับกุมเฉพาะผู้ที่ต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ และใช้กำลังผลักจนเป็นเหตุให้ผู้ที่ต่อต้านถูกฝ่ายสนับสนุนนั้นทำร้าย นอกจากนี้ยังปรากฏภายหลัง พล.ต.ต.มานิตได้แจ้งความดำเนินคดีกับฝ่ายต่อต้านแล้ว ก็ยังดำเนินคดีกับฝ่ายสนับสุนน พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วยในข้อหาเดียวกัน ฐานทำให้เกิดเสียงหรือกระทำความอื้ออึงโดยไม่มีเหตุสมควรในที่สาธารณะ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 370 และ 397 ด้วย จึงยังไม่ถือว่าพล.ต.ต.มานิตเลือกปฏิบัติไม่ยึดหลักความเสมอภาคในการใช้กฎหมาย ดังนั้นเมื่อยังรับฟังไม่ได้ว่า พล.ต.ต.มานิตกระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหา การที่ ผบ.ตร.ผู้ถูกฟ้องที่ 1 มีคำสั่งลงโทษให้ออกจากราชการ และ มติ ก.ตร.ผู้ถูกฟ้องที่ 2 ที่ยกอุทธรณ์ ก็เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่ง สตช. ดังกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อย่างไรก็ดี คำพิพากษาดังกล่าว ยังคงเป็นเพียงคำวินิจฉัยของศาลปกครองชั้นต้น ซึ่งคู่ความสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อสู้คดีได้ต่อศาลปกครองสูงสุด ภายใน 30 วัน ตามกฎหมาย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทั้งนี้ คำพิพากษาของศาลปกครองกลางดังกล่าว เป็นคำพิพากษา ครั้งที่ 2 ในคดีนี้ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 30 ก.ย. 52 ไปแล้วครั้งหนึ่ง ให้เพิกถอนคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ให้ปลด พล.ต.ต.มานิต ออกจากราชการ เพราะเห็นว่ากระทำของ พล.ต.ต.มานิต มิได้เป็นการละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุอันสมควร เป็นเหตุทำให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการ หรือมีพฤติการณ์แสดงถึงความจงใจ ไม่ปฏิบัติตามระเบียบราชการอันได้ชื่อว่าประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง จนเป็นเหตุให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต้องปลดออกจากราชการ
ต่อมาป.ป.ช.ในฐานะผู้ที่ชี้มูลได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลาง ขอให้พิจารณาคดีนี้ใหม่ โดยป.ป.ช.อ้างว่า คำพิพากษาของศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 30 ก.ย. 52 มีการระบุว่า การไต่สวนของป.ป.ช. ที่นำไปสู่การมีมติว่า พล.ต.ต.มานิต กระทำผิดวินิยอย่างร้ายแรง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งแม้หลังศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาแล้ว คู่กรณีจะไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ตามสิทธิแต่ ป.ป.ช. ก็ถือว่าตัวเองเสียหายจากการมีคำพิพากษาดังกล่าว ซึ่งศาลปกครองกลางในขณะนั้นยกคำอุทธรณ์ของป.ป.ช. โดยเห็นว่า ป.ป.ช.ไม่ได้มีส่วนได้เสีย หรืออาจถูกระทบจากผลแห่งคดีนี้ทำให้ป.ป.ช. ยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ ของศาลปกครองกลาง ไปยังศาลปกครองสูงสุด โดยศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งลงมายังศาลปกครองกลาง ให้รับคำขอพิจารณาคดีใหม่ของ ป.ป.ช.ไว้พิจารณาและดำเนินกระบวนพิจารณาตามรูปคดีโดยให้เปลี่ยนองค์คณะในการพิจารณาคดีใหม่ ซึ่งปรากฎว่าในวันนี้องค์คณะใหม่ก็ยังคงมีคำพิพากษาในทำนองเดียวกับองค์คณะศาลปกครองกลางชุดเดิม
สำหรับเหตุที่ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งปลด พล.ต.ต.มานิตย์ ออกจากราชการในครั้งนี้ ระบุว่า ศาลพิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ป.ป.ช. มีคำสั่งวันที่ 10 พ.ย. 49 ตั้งอนุกรรมการไต่สวนกรณีกล่าวหา พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ เทพจันดา ผกก.สส.น. 6 กับพวก ที่มี พล.ต.ต.มานิต ด้วย ฐานกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ จากกรณีไม่ปฏิบัติตามระเบียบทางราชการจับกุมผู้ทำร้ายร่างกาย ระหว่างกลุ่มผู้สนับสนุนและกลุ่มต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ โดยการไต่สวนข้อเท็จจริงของ อนุ.กก.ไต่สวน ของ ป.ป.ช. รวบรวมหลักฐานจากพยานบุคล 30 ปาก ภาพเคลื่อนไหว และภาพนิ่งบันทึกในแผ่นวีซีดี จากสื่อมวลชน และการไต่สวนข้อเท็จจริงจากผู้กล่าวหา และผู้ถูกกล่าวหาแล้วจัดทำสำนวนที่มีความเห็นว่า พล.ต.ต.มานิต มีมูลความผิดทางวินัย ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 มาตรา 79 (2)(5)(6) เสนอ ป.ป.ช.
ต่อมาวันที่ 28 ส.ค. 50 ป.ป.ช. มีมติเอกฉันท์เห็นว่า พล.ต.ต.มานิต มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง จึงมีหนังสือถึง ผบ.ตร. ผู้ถูกฟ้องที่ 1 พิจารณาโทษวินัยตามขั้นตอน คดีจึงมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า การที่ผบ.ตร. ผู้ถูกฟ้องที่ 1 มีคำสั่งปลด พล.ต.ต.มานิต ออกจากราชการ ใช้ดุลพินิจโดยชอบหรือไม่ เห็นว่าจากภาพเคลื่อนไหวในวีซีดีที่อยู่ในสำนวนไต่สวนคดีนั้น เห็นแต่เพียงว่า พล.ต.ต.มานิต เข้าไปในที่เกิดเหตุ โดยมือซ้ายแตะที่หลังของกลุ่มผู้ต่อต้านพ.ต.ท.ทักษิณ ส่วนมือขวา ถือวิทยุสื่อสาร และเมื่อกลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ช่วยกันดึงตัวผู้ที่ต่อต้านออกมา พล.ต.ต.มานิต ก็ได้เข้าไปแทรก โดยใช้มือซ้ายจับที่ไหล่ของผู้ต่อต้าน ส่วนอีกมือแตะไปที่แขนของกลุ่มผู้สนับสนุน พร้อมพูดว่า “อย่า อย่า” อันมีลักษณะการเข้าไปช่วยแยกตัว และเมื่อผู้ต่อต้านถูกกลุ่มผู้สนับสนุนเข้าล้อมและด่าทอตลอดทางที่เดินหนีออกมา พล.ต.ต.มานิตก็ยังเดินมาพูดกับกลุ่มผู้สนับสนุนว่าให้หยุดแล้วพาตัวผู้ที่ต่อต้านออกมาแล้วขึ้นรถไปยัง สน.ปทุมวัน ขณะที่ผู้ต่อต้าน เคยให้การต่อพนักงานสอบสวนว่า วันเกิดเหตุระหว่างถูกรุมล้อมมีพล.ต.ต.มานิตเข้าช่วยเหลือและนำตัวส่ง สน.ปทุมวันโดยผู้ฟ้องเข้าระงับพร้อมพูดให้หยุด ส่วนที่มีพยานให้การว่า เห็น พล.ต.ต.มานิต ผลักผู้ต่อต้านไปให้กลุ่มผู้สนับสนุนกับพวกทำร้ายนั้น ก็เป็นผู้ถ่ายภาพเหตุการณ์จากกล้องโทรศัพท์ของตน เป็นการเห็นเหตุการณ์ผ่านกล้อง ไม่ได้เห็นด้วยตาของตนเอง จึงไม่อาจชี้ชัดได้ว่า พล.ต.ต.มานิต มีเจตนาใช้กำลังผลัก หาก พล.ต.ต.มานิต มีเจตนาให้มีการทำร้ายกัน พล.ต.ต.มานิต ก็ไม่จำเป็นต้องเข้าไปร่วมในเหตุการณ์ดังกล่าว เพราะกลุ่มผู้สนับสนุนใช้กำลังเข้าไปฉุดกระชากดึง ผู้ต่อต้านออกมาแล้ว และที่ พล.ต.ต.มานิตไม่ได้จับกุมกลุ่มผู้สนับสนุนในทันที เนื่องจากช่วงนั้นเกิดเหตุชุลมุน ระหว่าง 2 กลุ่ม ที่มีความเห็นทางการเมืองไม่ตรงกัน โดยกลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ มีจำนวนมาก และตามภาพที่ปรากฏในวีซีดี เห็นว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจในเครื่องแบบขณะนั้นมี พล.ต.ต.มานิต เพียงคนเดียวที่อยู่ในเหตุการณ์ดังกล่าว ดังนั้นการเข้าจับกุมทั้ง 2 ฝ่าย ที่กระทำผิดกฎหมายจำนวนมากในทันที ย่อมจะทำไม่ได้ พล.ต.ต.มานิต จึงตัดสินใจเข้าระงับเหตุ โดยพยายามกันตัวผู้ต่อต้านที่ตะโกนไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่เป็นการยั่วยุอีกฝ่ายออกมาก่อน
ดังนั้นจึงยังฟังไม่ได้ว่าพล.ต.ต.มานิต มีพฤติการณ์เลือกปฏิบัติในการเข้าจับกุมเฉพาะผู้ที่ต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ และใช้กำลังผลักจนเป็นเหตุให้ผู้ที่ต่อต้านถูกฝ่ายสนับสนุนนั้นทำร้าย นอกจากนี้ยังปรากฏภายหลัง พล.ต.ต.มานิตได้แจ้งความดำเนินคดีกับฝ่ายต่อต้านแล้ว ก็ยังดำเนินคดีกับฝ่ายสนับสุนน พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วยในข้อหาเดียวกัน ฐานทำให้เกิดเสียงหรือกระทำความอื้ออึงโดยไม่มีเหตุสมควรในที่สาธารณะ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 370 และ 397 ด้วย จึงยังไม่ถือว่าพล.ต.ต.มานิตเลือกปฏิบัติไม่ยึดหลักความเสมอภาคในการใช้กฎหมาย ดังนั้นเมื่อยังรับฟังไม่ได้ว่า พล.ต.ต.มานิตกระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหา การที่ ผบ.ตร.ผู้ถูกฟ้องที่ 1 มีคำสั่งลงโทษให้ออกจากราชการ และ มติ ก.ตร.ผู้ถูกฟ้องที่ 2 ที่ยกอุทธรณ์ ก็เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่ง สตช. ดังกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อย่างไรก็ดี คำพิพากษาดังกล่าว ยังคงเป็นเพียงคำวินิจฉัยของศาลปกครองชั้นต้น ซึ่งคู่ความสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อสู้คดีได้ต่อศาลปกครองสูงสุด ภายใน 30 วัน ตามกฎหมาย