xs
xsm
sm
md
lg

RATCHทุ่มงบหมื่นล./ปี

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ASTVผู้จัดการรายวัน- ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้งปรับแผนกลยุทธ์ 10ปีขยายกำลังผลิตไฟฟ้าเพิ่มเป็น 9,700 เมกะวัตต์จากปัจจุบัน 6,543 เมกะวัตต์ หนุนมูลค่ากิจการพุ่ง 2.8 แสนล้านบาทในปี 2566 โดยวางงบลงทุนปีละ 1หมื่นล้านบาทใน 10ปีนี้ แย้มบอร์ดไฟเขียวลุยโรงไฟฟ้าในพม่า และโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ที่ญี่ปุ่น กฟผ.ปิ๊งไอเดีย นำเข้าแอลเอ็นจีมาใช้ในโรงไฟฟ้าก๊าซฯเครือกฟผ.เองทั้งหมดแทนการซื้อจากปตท. หลังอนาคตก๊าซฯในอ่าวไทยหมดและพม่าเมินขายเพิ่ม

นายพงษ์ดิษฐ พจนา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (RATCH) เปิดเผยว่า บริษัทฯปรับแผนกลยุทธ์การขยายกำลังการผลิตใน 10ปีข้างหน้า (2557-2566) เพิ่มขึ้นเป็น 9,700 เมกะวัตต์ (MW)จากปัจจุบันที่มีกำลังการผลิตอยู่ 6,543 เมกะวัตต์ สร้างมูลค่ากิจการ เพิ่มขึ้นเป็น 280,000 ล้านบาทในปี 2566 จากปัจจุบันมูลค่ากิจการอยู่ที่ 114,000ล้านบาท
โดยเน้นการลงทุนใน 4 ธุรกิจหลัก คือ กลุ่มโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงหลักในประเทศ โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน โรงไฟฟ้าในต่างประเทศ และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง โดยจะให้ความสำคัญการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านและประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิก เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ในการเป็นบริษัทพลังงานครบวงจรชั้นนำที่มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

“ ในปี 56 บริษัทมีมูลค่ากิจการ จำนวน1.14 แสนล้านบาท มาจากกิจการในไทย 46% ลาว 42% และในออสเตรเลีย 12% แต่อีก 5 ปีข้างหน้า คาดว่ามูลค่ากิจการของบริษัทจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.89 แสนล้านบาท โครงสร้างกิจการจะเปลี่ยนมาที่ลาวและพม่ารวมกัน 44% ในไทยเหลือ 16% ออสเตรเลีย 15% ประเทศกลุ่มอาเซียนนอกเหนือลาวและพม่า มี 15% และประเทศนอกกลุ่มอาเซียน 5% ส่วนปี 2566จะมีสัดส่วนมูลค่ากิจการในลาวและพม่า 37% ในไทย 18% ออสเตรเลีย 10% ประเทศในกลุ่มอาเซียนยกเว้นลาวและพม่า 19% ประเทศนอกอาเซียน 6% ส่วนธุรกิจเกี่ยวเนื่องคือ ธุรกิจเชื้อเพลิงได้แก่เหมืองถ่านหินและแหล่งก๊าซธรรมชาติ 5% และธุรกิจจัดจำหน่ายไฟฟ้า 5% “

ทั้งนี้ บริษัทฯตั้งงบลงทุนใน 10ปีนี้เฉลี่ยปีละ 1 หมื่นล้านบาท รวมทั้งสิ้น 1 แสนล้านบาท โดยจะให้ความสำคัญการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าในประเทศเพื่อนบ้านเพื่อสร้างความมั่นคงด้านไฟฟ้าให้กับบริษัทแม่ คือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ. ) อาทิ ลาว เมียนมาร์ และมาเลเซีย ซึ่งล่าสุดมีพันธมิตรทางธุรกิจเสนอให้บริษัทฯเข้าร่วมทุนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน 2
ยูนิตๆละ 600 เมกะวัตต์ที่มาเลเซีย โดยกำลังการผลิตไฟฟ้ากึ่งหนึ่งขายเข้าไทย

นอกจากนี้ บริษัทฯได้ยื่นเป็นผู้ผลิตโครงการผลิตไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซฯเป็นเชื้อเพลิงขนาดกำลังผลิต 300 เมกะวัตต์ ใกล้เมืองเนปิดอร์ ประเทศเมียนมาร์ เงินลงทุน 1 หมื่นล้านบาท โดยจะร่วมทุนกับพันธมิตรท้องถิ่น และรัฐบาลเมียนมาร์จะเป็นผู้จัดเชื้อเพลิงให้ 45 ล้านลบ.ฟุต/วัน ซึ่งโครงการประมูลดังกล่าวมีผู้ยื่นประมูลมากถึง 19 ราย โดยเป็นบริษัทคนไทยรวม 3 ราย
ทำให้ต้องเลื่อนการประกาศชื่อผู้ชนะประมูลโครงการดังกล่าวจากที่กำหนดไว้ในเดือนมี.ค.นี้

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากนโยบายการลงทุนธุรกิจไฟฟ้าของบริษัทฯจะต้องมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (พีพีเอ)ที่แน่นอน เพื่อลดความเสี่ยงในตัวโครงการและการจัดหาเงินกู้ยืม ดังนั้น หากบริษัทฯเป็นผู้ชนะ แต่ถ้าไม่มีสัญญาพีพีเอจากรัฐบาลเมียนมาร์ บริษัทฯก็จะปฏิเสธการลงทุน
นายพงษ์ดิษฐ กล่าวต่อไปว่า เมื่อวันที่ 17 ก.พ.ที่ผ่านมา คณะกรรมการบริษัทฯมีมติอนุมัติลงทุนโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 300 เมกะวัตต์ในเมืองเชียงตุง ประเทศเมียนมาร์ มูลค่าโครงการลงทุน 1.6 หมื่นล้านบาท เป็นการร่วมทุนกับพันธมิตรท้องถิ่น ระหว่างนี้อยู่ระหว่างการศึกษารายงานความเป็นไปได้ของโครงการ เพื่อยื่นเสนอต่อกระทรวงพลังงานไฟฟ้าของเมียนมาร์ในเดือน มี.ค.นี้
คาดทางรัฐบาลเมียนมาร์จะใช้เวลาพิจารณา 4-5 เดือน หากสรุปได้ในปีนี้ก็จะสามารถเริ่มก่อสร้างในปีหน้าซึ่งต้องใช้เวลา 3 ปี โดยบริษัทฯ จะขอถือหุ้นใหญประมาณ 60- 70%

บอร์ดบริษัทฯ ได้อนุมัติการร่วมลงทุนโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ 2 โครงการในญี่ปุ่น รวม 30 เมกะวัตต์ เป็นเงินลงทุนกว่า 600 กว่าล้านบาท โดยจะเป็นการลงทุนผ่านบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัทฯ กับบมจ.เชาว์สตีล (CHOW) ทั้ง 2 โครงการ ใช้เงินลงทุนกว่า 4 พันล้านบาท คาดว่าจะสรุปสัญญาเงินกู้ 3 พันล้านบาทในกลางปีนี้ และจะสร้างแล้วเสร็จในปี 2558
ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา ได้แก่ โครงการพลังงานทดแทน 2 แห่งในออสเตรเลีย คือ โครงการ Conlinsville Solar PV กำลังผลิต 23 เมกะวัตต์ คาดแล้วเสร็จและเดินเครื่องในปี 2558 ส่วนโครงการพลังงานลม Collector Farm กำลังการผลิตติดตั้ง 165 เมกะวัตต์ จะแล้วเสร็จและเดินเครื่องในปี 2559

ทั้งนี้ บริษัทฯจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในปีนี้จากการซื้อหุ้นอีก 50%ในโครงการโรงไฟฟ้าไตรเอนเนอจี้ คิดเป็นกำลังผลิต 350 เมกะวัตต์ และโครงการโรงไฟฟ้าราชเวอลด์ 120 เมกะวัตต์ ส่วนผลการดำเนินงานในปีนี้ บริษัทฯคาดว่าจะมีกำไรใกล้เคียงปีที่แล้วที่มีกำไรสุทธิ 6.18 พันล้านบาท เพราะโรงไฟฟ้าไตรเอนเนอจี้ไม่ค่อยได้เดินเครื่อง และรายได้จากค่าไฟก็ลดลงตามสัญญา ส่วนโรงไฟฟ้าราชเวอลด์ จะเริ่มเดินเครื่องได้ในปลายปีนี้ ทั้งนี้ บริษัทฯจะเสนอขอขยายสัญญารับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าไตรเอนเนอจี้จากเดิม 20ปีที่จะสิ้นสุดเดือนมิ.ย. 63 ออกไปอีก 5 ปี
เพื่อให้สอดคล้องกับโรงไฟฟ้าไอพีพีรายอื่นๆ

นายพงษ์ดิษฐ กล่าวถึงปริมาณก๊าซฯในอ่าวไทยที่จะหมดลงและเมียนมาร์ไม่ต้องการขายก๊าซฯเข้าไทยเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความเสี่ยงปริมาณก๊าซฯในภาคตะวันตกว่า กฟผ.จะศึกษาเรื่องการนำเข้าแอลเอ็นจีด้วยตนเอง ซึ่งเป็นช่วงจังหวะที่เหมาะสม เพราะอีก 7-10 ปีข้างหน้าก๊าซฯในอ่าวไทยหมดใกล้เคียงสัญญาซื้อก๊าซฯจากแหล่งยาดานาและเยตากุนที่ครบอายุสัญญาทำให้ไทยตอ้งมีการนำเข้าแอลเอ็นจีเพิ่มขึ้น แทนการซื้อแอลเอ็นจีจากปตท. ซึ่งปัจจุบันกลุ่มกฟผ.มีโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซฯไม่ต่ำกว่า 1.6 หมื่นเมกะวัตต์ คิดเป็นการใช้ก๊าซฯไม่ต่ำกว่าวันละ 2,300 ล้านลบ.ฟุต ดังนั้นหากกลุ่มกฟผ.มีการลงทุนสร้างคลังแอลพีจีเองโดยใช้พื้นที่ทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์แล้ววางท่อก๊าซฯมายังจังหวัดราชบุรี
กำลังโหลดความคิดเห็น