ออกแคมเปญโฆษณาชวนเชื่อผลักดันสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกันอย่างคึกคักหลังจากเกิดไฟฟ้าดับใน 14 จังหวัดภาคใต้ งานนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ทุ่มสุดตัว เพราะจะหาโอกาสและจังหวะเหมาะเช่นนี้ไม่มีอีกแล้ว แถมคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ยังชูมือสนับสนุนออกนอกหน้า โดยอยากให้ทำประชามติขอความเห็นจากประชาชนทั้งประเทศ มาแนวเดียวกันกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ 2550 ที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทย กำลังเดินหน้าเต็มที่
ประเด็นการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันไม่มีวันจบสิ้นและหาจุดร่วมกันได้ยากขึ้นทุกวัน ฝั่งผู้ที่ต้องการสร้าง อย่างเช่น กฟผ. บริษัทเอกชน และรัฐบาล ก็อ้างเหตุผลต่างๆ นาๆ ต้องเตรียมพร้อมเพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ต้องสำรองไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเพื่อความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศ และสร้างแต่ละโครงการก็เอาแบบใหญ่ๆ ใช้เงินลงทุนมากๆ ไปเลย เพราะมีหลักประกันความเสี่ยงทุกอย่างโดยประชาชนเป็นผู้แบกรับต้นทุนและความเสี่ยงทั้งหมดอยู่แล้ว ประเภทที่ว่าลงทุนสร้างได้เมื่อไหร่กำไรเห็นๆ ผลตอบแทนสูง ไม่มีทางขาดทุนร้อยเปอร์เซนต์
ขณะที่อีกฝั่งหนึ่งที่ต้องการให้มีการแสวงหาทางเลือกใหม่ๆ ในการลงทุนด้านพลังงานแทนการมุ่งสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ก็โต้แย้งกลับด้วยข้อมูลต่างๆ นาๆ ทั้งเรียกร้องให้ใช้มาตรการประหยัดพลังงาน ลงทุนส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน พลังงานทางเลือกให้เพิ่มมากขึ้น สำรองไฟฟ้าแต่พอเพียง และบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ใช่คิดเพียงแค่เพิ่มกำลังการผลิต แต่ต้องคิดถึงความมั่นคงของระบบสายส่งด้วย โดยยกอย่างกรณีเหตุการณ์ไฟฟ้าดับทั้งภาคใต้ว่าเป็นปัญหาจากการบริหารจัดการระบบสายส่ง และการบริหารจัดการเพื่อรักษาสมดุลของแรงดันไฟฟ้าที่ไม่ดี ไม่ใช่ว่ากำลังการผลิตไฟฟ้าไม่พออย่างที่อ้าง แล้วมาใช้เป็นเหตุผลในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มอย่างที่กำลังทำกันอยู่ในเวลานี้
อันที่จริงแล้ว ปัญหาไฟดับใน 14 จังหวัดภาคใต้นั้น กระทรวงพลังงานเองก็ยอมรับว่า หากมีการตัดไฟในบางจุดเพื่อรักษาสมดุลของแรงดันไฟฟ้า ก็จะมีพื้นที่ไฟฟ้าดับเพียงประมาณ 25% ไม่ใช่ดับทั้งภาคใต้อย่างที่เกิดขึ้น และการแก้ไขปัญหาก็จะทำได้รวดเร็ว เพราะระบบไฟฟ้าภาคใต้ไม่ได้ล่มทั้งระบบ
พูดให้เข้าใจง่ายๆ เห็นภาพชัดๆ ก็คือ เหตุการณ์ฟ้าผ่าสายส่งไฟฟ้า จะไม่ส่งผลให้เกิดไฟฟ้าดับทั้งภาคใต้ หาก กฟผ. และ กกพ. ใช้ความสามารถแก้ไขสถานการณ์ไม่ให้เดินไปสู่จุดวิกฤต โดยการตัดไฟบางจุดเพื่อลดโหลด ไม่ใช่ว่าปล่อยให้โหลดเพิ่มสูงขึ้นจนเกินกำลังสายส่ง 230 Kv ที่เหลืออยู่ 2 เส้น จากทั้งหมดที่มีอยู่ 4 เส้น ซึ่งถูกฟ้าผ่า 1 เส้น และซ่อมบำรุงอีก 1 เส้น กระทั่งทำให้เกิดการล่มทั้งระบบอย่างที่เกิดขึ้น
หลังจากนั้น ก็ฉวยโอกาสพากันออกมาอธิบายว่า กำลังการผลิตไฟฟ้าของภาคใต้ไม่เพียงพอ จะต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มขึ้น ที่ต้องย้ำว่า “ถ่านหิน” เพราะเวลานี้โรงไฟฟ้าพึ่งพาก๊าซธรรมชาติ เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้ากว่า 70% แล้ว จำเป็นต้องกระจายความเสี่ยงด้านเชื้อเพลิงไปยังแหล่งพลังงานอื่นแทนก๊าซฯ
ถามย้ำกันอีกครั้งว่า กำลังการผลิตไฟฟ้าภาคใต้มีไม่เพียงพอ จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มจริงๆ หรือ ?
ประเด็นนี้ สันติ โชคชัยชำนาญกิจ จากโครงการจับตาพลังงาน ให้ข้อมูลว่า โรงไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นใหม่ในภาคใต้ ในปีหน้า 2557 มีโรงไฟฟ้าจะนะ ที่ 2 ขนาด 800 เมกะวัตต์ ซึ่งจะก่อสร้างเสร็จ และในปี 2559 โรงไฟฟ้าขนอม ขนาด 700 เมกะวัตต์ ที่หมดอายุลงจะถูกทดแทนด้วยโรงไฟฟ้าใหม่ขนาด 900 เมกะวัตต์ เท่ากับว่าในอีก 3 ปีข้างหน้า กำลังการผลิตไฟฟ้าในภาคใต้จะเพิ่มขึ้นอีก 1,000 เมกะวัตต์ เป็นอย่างน้อย แม้จะไม่มีโรงไฟฟ้าถ่านหินเข้ามาเพิ่มก็ตาม โดยเวลานี้กำลังการผลิตไฟฟ้าพร้อมจ่ายในภาคใต้ มีอยู่ 1,692 เมกะวัตต์ และรับจากภาคกลาง 430 เมกะวัตต์ ขณะที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 2,242 เมกะวัตต์
แต่ก่อนจะไปถกเถียงกันเรื่องการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ ยังมีเรื่องที่ต้องสะสางกันก่อนก็คือ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากกรณีไฟฟ้าดับทั่วภาคใต้ที่ยังประเมินมูลค่าไม่ได้แต่มีตัวเลขเพลมมาจากฝั่งเอกชนว่าไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านนั้น ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ แน่นอน กฟผ. จะปัดความรับผิดชอบไปไม่พ้น แต่ กกพ. ซึ่งตอนนี้ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเหตุการณ์ไฟดับเพื่อสอบสวนว่า กฟผ. ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องหรือไม่ และจะต้องมีการชดเชยแก่ผู้เสียหายหรือไม่ ก็อยู่ในข่ายที่ต้องแสดงความรับผิดชอบด้วยเช่นกัน เพราะอำนาจในการสั่งดับไฟของศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าอยู่ กกพ. ทำให้เมื่อเกิดปัญหาขึ้น กฟผ.ไม่กล้าดำเนินการเองเพราะจะผิดกฎหมาย ดังนั้น หากจะชี้ให้ชัด ทั้งกฟผ. และกกพ. ต้องร่วมกันรับผิดชอบกับความเสียหายที่เกิดขึ้น
หากทั้งสองหน่วยงานยังปัดสวะกันไปมา ไม่กล้ารับผิดดีแต่จะเอาความชอบ ก็เป็นเรื่องที่ยากที่จะทำให้ประชาชนเกิดความมั่นใจและไว้วางใจ โดยเฉพาะความต้องการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ที่จะเพิ่มเข้ามาในระบบตามแผนเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ (พีดีพี 2010) รวม 4,400 เมกะวัตต์ ซึ่งในส่วนของภาคใต้ กฟผ. เล็งเป้าหมายพื้นที่จังหวัดกระบี่ เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหิน ขนาด 800 เมกะวัตต์ เป็นแห่งแรก โดยจะเริ่มสร้างในปี 2558 เพื่อนำเข้าสู่ระบบในปี 2562
การสร้างการยอมรับโรงไฟฟ้าถ่านหินโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้นั้น เป็นเรื่องยากอย่างยิ่งโดยเฉพาะเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาชีพ และวิถีชีวิตของชุมชน นับจากการล้มโรงไฟฟ้าถ่านหินบ่อนอก-หินกรูด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อเกือบสิบปีที่ผ่านมา จนถึงบัดนี้ยังไม่มีโรงไฟฟ้าถ่านหินสามารถแจ้งเกิดได้ในพื้นที่ปลายด้ามขวาน แม้ว่า กฟผ.และรัฐบาลจะเพียรพยายามเพียงใด ครั้งนี้ก็เช่นกัน เพียงแค่ขยับลงไปสำรวจพื้นที่และรับฟังความเห็นก็ถูกคนในพื้นที่ออกมาต่อต้าน การจะหยิบฉวยโอกาสจากเหตุการณ์ไฟฟ้าดับขึ้นมาเป็นเงื่อนไขให้เกิดการยอมรับก็ใช่ว่าจะสำเร็จ
นางสาวสุนีรัตน์ แต้ชูตระกูล ฝ่ายวิชาการของกลุ่มอนุรักษ์ทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แกนนำคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินทับสะแกของ กฟผ. จึงมีข้อแนะนำว่า การดำเนินแผนปฏิบัติการลดความต้องการใช้ไฟฟ้า การเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้และผลิตพลังงานที่มีศักยภาพ 17,000 เมกะวัตต์ ตามแผนอนุรักษ์พลังงานที่รัฐบาลได้กำหนดเป้าหมายไว้นั้น ควรเป็นทางเลือกแรกในการจัดหาพลังงานของประเทศแทนที่จะสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ซึ่งใช้งบลงทุนสูงและใช้เวลาสร้างการยอมรับและการก่อสร้างนาน ทางเลือกนี้สามารถทำได้ทันที ทำได้ทุกภาค และค่าไฟฟ้าก็จะลดลง อีกทั้งไม่เกิดความขัดแย้งกับชุมชน
อย่างไรก็ตาม หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดหากำลังการผลิตไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็น กฟผ. กระทรวงพลังงาน หรือ กกพ. มุ่งมั่นที่จะสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่เป็นเป้าหมายหลัก โดยจะทำประชามติถามคนทั่วประเทศในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินนั้น นางสาวกรณ์อุมา พงษ์น้อย ประธานกลุ่มรักท้องถิ่นบ่อนอก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีข้อเสนอว่า ควรสร้างในพื้นที่ที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง และหากจะทำประชามติ หัวข้อที่เหมาะสมที่สุดคือ คนทั้งประเทศเห็นด้วยหรือไม่ที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดที่กรุงเทพมหานครก่อนอย่างน้อย 4,000 เมกะวัตต์ หรือ 5 โรง และถ้าสามารถพิสูจน์ว่าการบริหารแบบไทยๆ เอาอยู่ในการควบคุมมลพิษก็ให้สร้างเพิ่มได้อีกและพื้นที่อื่นๆ ที่จะรองรับโรงไฟฟ้าถ่านหินก็น่าจะสบายใจขึ้น
“ข้อเท็จจริงกรุงเทพมหานครใช้ไฟฟ้าสูงถึง 8,000 เมกะวัตต์ คิดเป็น 30%ของการใช้ไฟฟ้าโดยรวมของประเทศ และมีความต้องการใช้เพิ่มมากขึ้นทุกปี อนาคตมีโครงการรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีกมากมายแต่มีโรงไฟฟ้าในพื้นที่เพียง 2 โรง คือพระนครเหนือพระนครใต้ กำลังการผลิตรวมแค่ 2,850 เมกะวัตต์ โดยรับก๊าซฯ จากพม่าเป็นเชื้อเพลิง หากพม่าปิดซ่อมท่อก๊าซในฤดูร้อนไม่มีเหลือไฟฟ้าเลย จะหวังพึ่งไฟฟ้าจากสายส่งของกฟผ.เพียงอย่างเดียวถือว่าเสี่ยงสูงเกินไป”
นางสาวกรณ์อุมา ยังเสนอให้เรกูเลเตอร์ หรือ กกพ. ทำประชามติแถมไปด้วยว่าคนไทยทั้งประเทศเห็นด้วยหรือไม่ ที่จะให้ลดเงินเดือนของเรกูเลเตอร์จาก 350,000 บาท เหลือ 50,000 บาทก็พอ เพราะเห็นว่า มีผลงานไม่คุ้มเงินเดือน เช่น ไม่กล้าเปิดรับซื้อไฟฟ้าช่วงพีค ไม่กล้าเช็คบิลค่าเสียหายจากบริษัทปตท.เป็นหลักหลายพันล้านกรณีไม่ส่งก๊าซฯ ให้โรงไฟฟ้าของกฟผ.ตามสัญญาอย่างซ้ำๆซากๆ แต่ไปอนุมัติขึ้นค่าเอฟทีแทนหรือแม้แต่กรณีไฟฟ้าดับทั้งภาคใต้เรกูเลเตอร์ก็มีส่วนต้องรับผิดชอบตามที่กฟผ.บอกคือไม่ปรับระบบให้ไฟฟ้าดับในวงแคบ เป็นต้น
“แต่เพื่อเห็นแก่ผลประโยชน์ของประเทศชาติและแสดงความรับผิดชอบจริง เรกูเลเตอร์น่าจะขอลดเงินเดือนตัวเองได้เลยโดยไม่ต้องรอทำประชามติ แบบนี้ก็รับได้” ประธานกลุ่มรักท้องถิ่นบ่อนอก เสนอแนะ
ฟังน้ำเสียงเสียดสีจากคนในท้องถิ่นแล้ว ดูท่าการผลักดันก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินของกฟผ.ที่ภาคใต้คงต้องร้องเพลงรอไปอีกนานแสนนาน
(หมายเหตุ - เผยแพร่วันที่ 30 พ.ค. 56)
ประเด็นการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันไม่มีวันจบสิ้นและหาจุดร่วมกันได้ยากขึ้นทุกวัน ฝั่งผู้ที่ต้องการสร้าง อย่างเช่น กฟผ. บริษัทเอกชน และรัฐบาล ก็อ้างเหตุผลต่างๆ นาๆ ต้องเตรียมพร้อมเพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ต้องสำรองไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเพื่อความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศ และสร้างแต่ละโครงการก็เอาแบบใหญ่ๆ ใช้เงินลงทุนมากๆ ไปเลย เพราะมีหลักประกันความเสี่ยงทุกอย่างโดยประชาชนเป็นผู้แบกรับต้นทุนและความเสี่ยงทั้งหมดอยู่แล้ว ประเภทที่ว่าลงทุนสร้างได้เมื่อไหร่กำไรเห็นๆ ผลตอบแทนสูง ไม่มีทางขาดทุนร้อยเปอร์เซนต์
ขณะที่อีกฝั่งหนึ่งที่ต้องการให้มีการแสวงหาทางเลือกใหม่ๆ ในการลงทุนด้านพลังงานแทนการมุ่งสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ก็โต้แย้งกลับด้วยข้อมูลต่างๆ นาๆ ทั้งเรียกร้องให้ใช้มาตรการประหยัดพลังงาน ลงทุนส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน พลังงานทางเลือกให้เพิ่มมากขึ้น สำรองไฟฟ้าแต่พอเพียง และบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ใช่คิดเพียงแค่เพิ่มกำลังการผลิต แต่ต้องคิดถึงความมั่นคงของระบบสายส่งด้วย โดยยกอย่างกรณีเหตุการณ์ไฟฟ้าดับทั้งภาคใต้ว่าเป็นปัญหาจากการบริหารจัดการระบบสายส่ง และการบริหารจัดการเพื่อรักษาสมดุลของแรงดันไฟฟ้าที่ไม่ดี ไม่ใช่ว่ากำลังการผลิตไฟฟ้าไม่พออย่างที่อ้าง แล้วมาใช้เป็นเหตุผลในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มอย่างที่กำลังทำกันอยู่ในเวลานี้
อันที่จริงแล้ว ปัญหาไฟดับใน 14 จังหวัดภาคใต้นั้น กระทรวงพลังงานเองก็ยอมรับว่า หากมีการตัดไฟในบางจุดเพื่อรักษาสมดุลของแรงดันไฟฟ้า ก็จะมีพื้นที่ไฟฟ้าดับเพียงประมาณ 25% ไม่ใช่ดับทั้งภาคใต้อย่างที่เกิดขึ้น และการแก้ไขปัญหาก็จะทำได้รวดเร็ว เพราะระบบไฟฟ้าภาคใต้ไม่ได้ล่มทั้งระบบ
พูดให้เข้าใจง่ายๆ เห็นภาพชัดๆ ก็คือ เหตุการณ์ฟ้าผ่าสายส่งไฟฟ้า จะไม่ส่งผลให้เกิดไฟฟ้าดับทั้งภาคใต้ หาก กฟผ. และ กกพ. ใช้ความสามารถแก้ไขสถานการณ์ไม่ให้เดินไปสู่จุดวิกฤต โดยการตัดไฟบางจุดเพื่อลดโหลด ไม่ใช่ว่าปล่อยให้โหลดเพิ่มสูงขึ้นจนเกินกำลังสายส่ง 230 Kv ที่เหลืออยู่ 2 เส้น จากทั้งหมดที่มีอยู่ 4 เส้น ซึ่งถูกฟ้าผ่า 1 เส้น และซ่อมบำรุงอีก 1 เส้น กระทั่งทำให้เกิดการล่มทั้งระบบอย่างที่เกิดขึ้น
หลังจากนั้น ก็ฉวยโอกาสพากันออกมาอธิบายว่า กำลังการผลิตไฟฟ้าของภาคใต้ไม่เพียงพอ จะต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มขึ้น ที่ต้องย้ำว่า “ถ่านหิน” เพราะเวลานี้โรงไฟฟ้าพึ่งพาก๊าซธรรมชาติ เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้ากว่า 70% แล้ว จำเป็นต้องกระจายความเสี่ยงด้านเชื้อเพลิงไปยังแหล่งพลังงานอื่นแทนก๊าซฯ
ถามย้ำกันอีกครั้งว่า กำลังการผลิตไฟฟ้าภาคใต้มีไม่เพียงพอ จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มจริงๆ หรือ ?
ประเด็นนี้ สันติ โชคชัยชำนาญกิจ จากโครงการจับตาพลังงาน ให้ข้อมูลว่า โรงไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นใหม่ในภาคใต้ ในปีหน้า 2557 มีโรงไฟฟ้าจะนะ ที่ 2 ขนาด 800 เมกะวัตต์ ซึ่งจะก่อสร้างเสร็จ และในปี 2559 โรงไฟฟ้าขนอม ขนาด 700 เมกะวัตต์ ที่หมดอายุลงจะถูกทดแทนด้วยโรงไฟฟ้าใหม่ขนาด 900 เมกะวัตต์ เท่ากับว่าในอีก 3 ปีข้างหน้า กำลังการผลิตไฟฟ้าในภาคใต้จะเพิ่มขึ้นอีก 1,000 เมกะวัตต์ เป็นอย่างน้อย แม้จะไม่มีโรงไฟฟ้าถ่านหินเข้ามาเพิ่มก็ตาม โดยเวลานี้กำลังการผลิตไฟฟ้าพร้อมจ่ายในภาคใต้ มีอยู่ 1,692 เมกะวัตต์ และรับจากภาคกลาง 430 เมกะวัตต์ ขณะที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 2,242 เมกะวัตต์
แต่ก่อนจะไปถกเถียงกันเรื่องการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ ยังมีเรื่องที่ต้องสะสางกันก่อนก็คือ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากกรณีไฟฟ้าดับทั่วภาคใต้ที่ยังประเมินมูลค่าไม่ได้แต่มีตัวเลขเพลมมาจากฝั่งเอกชนว่าไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านนั้น ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ แน่นอน กฟผ. จะปัดความรับผิดชอบไปไม่พ้น แต่ กกพ. ซึ่งตอนนี้ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเหตุการณ์ไฟดับเพื่อสอบสวนว่า กฟผ. ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องหรือไม่ และจะต้องมีการชดเชยแก่ผู้เสียหายหรือไม่ ก็อยู่ในข่ายที่ต้องแสดงความรับผิดชอบด้วยเช่นกัน เพราะอำนาจในการสั่งดับไฟของศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าอยู่ กกพ. ทำให้เมื่อเกิดปัญหาขึ้น กฟผ.ไม่กล้าดำเนินการเองเพราะจะผิดกฎหมาย ดังนั้น หากจะชี้ให้ชัด ทั้งกฟผ. และกกพ. ต้องร่วมกันรับผิดชอบกับความเสียหายที่เกิดขึ้น
หากทั้งสองหน่วยงานยังปัดสวะกันไปมา ไม่กล้ารับผิดดีแต่จะเอาความชอบ ก็เป็นเรื่องที่ยากที่จะทำให้ประชาชนเกิดความมั่นใจและไว้วางใจ โดยเฉพาะความต้องการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ที่จะเพิ่มเข้ามาในระบบตามแผนเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ (พีดีพี 2010) รวม 4,400 เมกะวัตต์ ซึ่งในส่วนของภาคใต้ กฟผ. เล็งเป้าหมายพื้นที่จังหวัดกระบี่ เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหิน ขนาด 800 เมกะวัตต์ เป็นแห่งแรก โดยจะเริ่มสร้างในปี 2558 เพื่อนำเข้าสู่ระบบในปี 2562
การสร้างการยอมรับโรงไฟฟ้าถ่านหินโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้นั้น เป็นเรื่องยากอย่างยิ่งโดยเฉพาะเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาชีพ และวิถีชีวิตของชุมชน นับจากการล้มโรงไฟฟ้าถ่านหินบ่อนอก-หินกรูด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อเกือบสิบปีที่ผ่านมา จนถึงบัดนี้ยังไม่มีโรงไฟฟ้าถ่านหินสามารถแจ้งเกิดได้ในพื้นที่ปลายด้ามขวาน แม้ว่า กฟผ.และรัฐบาลจะเพียรพยายามเพียงใด ครั้งนี้ก็เช่นกัน เพียงแค่ขยับลงไปสำรวจพื้นที่และรับฟังความเห็นก็ถูกคนในพื้นที่ออกมาต่อต้าน การจะหยิบฉวยโอกาสจากเหตุการณ์ไฟฟ้าดับขึ้นมาเป็นเงื่อนไขให้เกิดการยอมรับก็ใช่ว่าจะสำเร็จ
นางสาวสุนีรัตน์ แต้ชูตระกูล ฝ่ายวิชาการของกลุ่มอนุรักษ์ทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แกนนำคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินทับสะแกของ กฟผ. จึงมีข้อแนะนำว่า การดำเนินแผนปฏิบัติการลดความต้องการใช้ไฟฟ้า การเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้และผลิตพลังงานที่มีศักยภาพ 17,000 เมกะวัตต์ ตามแผนอนุรักษ์พลังงานที่รัฐบาลได้กำหนดเป้าหมายไว้นั้น ควรเป็นทางเลือกแรกในการจัดหาพลังงานของประเทศแทนที่จะสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ซึ่งใช้งบลงทุนสูงและใช้เวลาสร้างการยอมรับและการก่อสร้างนาน ทางเลือกนี้สามารถทำได้ทันที ทำได้ทุกภาค และค่าไฟฟ้าก็จะลดลง อีกทั้งไม่เกิดความขัดแย้งกับชุมชน
อย่างไรก็ตาม หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดหากำลังการผลิตไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็น กฟผ. กระทรวงพลังงาน หรือ กกพ. มุ่งมั่นที่จะสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่เป็นเป้าหมายหลัก โดยจะทำประชามติถามคนทั่วประเทศในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินนั้น นางสาวกรณ์อุมา พงษ์น้อย ประธานกลุ่มรักท้องถิ่นบ่อนอก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีข้อเสนอว่า ควรสร้างในพื้นที่ที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง และหากจะทำประชามติ หัวข้อที่เหมาะสมที่สุดคือ คนทั้งประเทศเห็นด้วยหรือไม่ที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดที่กรุงเทพมหานครก่อนอย่างน้อย 4,000 เมกะวัตต์ หรือ 5 โรง และถ้าสามารถพิสูจน์ว่าการบริหารแบบไทยๆ เอาอยู่ในการควบคุมมลพิษก็ให้สร้างเพิ่มได้อีกและพื้นที่อื่นๆ ที่จะรองรับโรงไฟฟ้าถ่านหินก็น่าจะสบายใจขึ้น
“ข้อเท็จจริงกรุงเทพมหานครใช้ไฟฟ้าสูงถึง 8,000 เมกะวัตต์ คิดเป็น 30%ของการใช้ไฟฟ้าโดยรวมของประเทศ และมีความต้องการใช้เพิ่มมากขึ้นทุกปี อนาคตมีโครงการรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีกมากมายแต่มีโรงไฟฟ้าในพื้นที่เพียง 2 โรง คือพระนครเหนือพระนครใต้ กำลังการผลิตรวมแค่ 2,850 เมกะวัตต์ โดยรับก๊าซฯ จากพม่าเป็นเชื้อเพลิง หากพม่าปิดซ่อมท่อก๊าซในฤดูร้อนไม่มีเหลือไฟฟ้าเลย จะหวังพึ่งไฟฟ้าจากสายส่งของกฟผ.เพียงอย่างเดียวถือว่าเสี่ยงสูงเกินไป”
นางสาวกรณ์อุมา ยังเสนอให้เรกูเลเตอร์ หรือ กกพ. ทำประชามติแถมไปด้วยว่าคนไทยทั้งประเทศเห็นด้วยหรือไม่ ที่จะให้ลดเงินเดือนของเรกูเลเตอร์จาก 350,000 บาท เหลือ 50,000 บาทก็พอ เพราะเห็นว่า มีผลงานไม่คุ้มเงินเดือน เช่น ไม่กล้าเปิดรับซื้อไฟฟ้าช่วงพีค ไม่กล้าเช็คบิลค่าเสียหายจากบริษัทปตท.เป็นหลักหลายพันล้านกรณีไม่ส่งก๊าซฯ ให้โรงไฟฟ้าของกฟผ.ตามสัญญาอย่างซ้ำๆซากๆ แต่ไปอนุมัติขึ้นค่าเอฟทีแทนหรือแม้แต่กรณีไฟฟ้าดับทั้งภาคใต้เรกูเลเตอร์ก็มีส่วนต้องรับผิดชอบตามที่กฟผ.บอกคือไม่ปรับระบบให้ไฟฟ้าดับในวงแคบ เป็นต้น
“แต่เพื่อเห็นแก่ผลประโยชน์ของประเทศชาติและแสดงความรับผิดชอบจริง เรกูเลเตอร์น่าจะขอลดเงินเดือนตัวเองได้เลยโดยไม่ต้องรอทำประชามติ แบบนี้ก็รับได้” ประธานกลุ่มรักท้องถิ่นบ่อนอก เสนอแนะ
ฟังน้ำเสียงเสียดสีจากคนในท้องถิ่นแล้ว ดูท่าการผลักดันก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินของกฟผ.ที่ภาคใต้คงต้องร้องเพลงรอไปอีกนานแสนนาน
(หมายเหตุ - เผยแพร่วันที่ 30 พ.ค. 56)