เวลา 10.55 น. วานนี้ (13 ก.พ.) ที่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลได้รับหนังสือจาก กกต. เกี่ยวกับการจัดการปัญหา 28 เขตเลือกตั้งที่ไม่มีผูัสมัครแล้ว แสดงความคิดเห็นมา 2 ประเด็น คือ กกต.จะออกประกาศ หรือวางระเบียบเองจะทำได้หรือไม่ และการตรา พ.ร.ฏ.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ อาจมีประเด็นที่ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 ที่ระบุว่าวันเลือกตั้งต้องเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร และจากการหารือเบื้องต้นที่มีตน นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรมช.เกษตรฯ ฝ่ายกฎหมายรัฐบาล และ คณะกรรมการกฤษฎีกา ร่วมหารือกัน เห็นว่ามีประเด็นปัญหาเพิ่มเติมขึ้นมาอีก เช่น รัฐธรรมนูญมาตรา 104 ระบุว่า อายุของสภาผู้แทนราษฎร มีกำหนดคราวละ 4 ปี นับจากวันเลือกตั้ง หากวันเลือกตั้งมีหลายวัน ก็จะมีปัญหาทางกฎหมาย
นายพงศ์เทพ กล่าวว่า ส่วนที่ กกต.จะกำหนดวันรับสมัครเลือกตั้งเพิ่มเติมใน 28 เขต ต้องกระทำโดยตรา พ.ร.ฎ.และ ระบุกกต. มีอำนาจกำหนดวันรับสมัครเลือกตั้งเพิ่มเติมได้ ระบุการลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ รวมทั้งประกาศยกเว้นการจัดให้มีการลงคะแนนนอกเขตเลือกตั้ง และนอกราชอาณาจักรด้วย เพื่อความรอบคอบ รัฐบาลได้ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาเหตุผล และประเด็นต่างๆในหนังสือกกต. อย่างถี่ถ้วน และในช่วงเช้าวันที่ 17 ก.พ. ตนและนายวราเทพ รวมถึงบุคคลหลายฝ่ายที่ กกต.เชิญมา จะไปรับฟังความคิดเห็น เหตุผลข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายต่างๆ จากกกต.เพิ่มเติม และช่วงบ่ายวันเดียวกัน จะนำข้อมูลกลับมาหารือกับกฤษฎีกา เพื่อหาข้อสรุป
**กัน"ปู"เอี่ยวออกพ.ร.ฎ.เลือกตั้งใหม่
นายพงศ์เทพ กล่าวว่า ทั้งนี้ ยังมีข้อมูลเพิ่มเติมจากกฤษฎีกาคือ ในพ.ร.ฎ.กำหนดให้มีการเลือกตั้ง ถ้าเป็นการเลือกตั้งส.ส.หรือ ส.ว.เมื่อครบวาระ ผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.นั้น เป็นประธาน กกต. เพียงผู้เดียว รวมถึงการเลือกตั้งส.ว. เดือนมี.ค.นี้ด้วย จึงบ่งชี้ให้เห็นว่า อำนาจในการจัดการเลือกตั้งเป็นเรื่องของประธานกกต. มีเพียงกรณีเดียวเท่านั้นที่ นายกฯไปเป็นผู้รักษาการร่วมด้วย คือในพ.ร.ฎ.เลือกตั้งทั่วไป เพราะเป็นเรื่องของการยุบสภา
ขณะที่ นายวราเทพ กล่าวว่า ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้ง ในส่วนของพ.ร.ฎ. ต้องมีผู้สนองพระบรมราชโองการ จะต่างจากผู้รักษาการ เพราะผูัสนองพระบรมราชโองการ ต้องเป็นนายกฯ เพราะพ.ร.ฎ.ออกโดยฝ่ายบริหาร และในพ.ร.ฎ. มีมาตราสำคัญหนึ่งกำหนดว่า จะมีผูัรักษาการตาม พ.ร.ฎ.ให้มีการเลือกตั้ง มี 2 กรณี คือ 1. หากมีการยุบสภา เป็นอำนาจของนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ ฉะนั้น นายกฯ จึงต้องเป็นผู้รักษาการ ร่วมกับประธาน กกต.ทุกครั้ง แต่ถ้าไม่เกิดจากการ ยุบสภา เช่น การเลือกตั้งปี 48 การเลือกตั้งคราวนั้น รัฐบาลอยู่ครบเทอม ผู้รับสนองพระบรมราชโองการเป็นนายกฯ แต่ผู้รักษาการ เป็นประธานกกต. เพียงผูัเดียว
** ปชป.เตรียมยื่นตีความโมฆะอีกรอบ
นายวิรัตน์ กัลยาศิริ หัวหน้าทีมกฎหมาย พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ยกคำร้องว่า การเลือกตั้ง 2 ก.พ.57 ไม่ได้เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง ตามมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ ว่า คณะทำงานกฎหมายส่งเรื่องนี้ไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นช่วงยุบสภา รัฐบาลต้องอยู่ภายใต้บังคับรัฐธรรมนูญมาตรา 181(4) ไม่ใช้ทรัพยากร บุคลากรของรัฐ ให้มีผลต่อการเลือกตั้ง แต่รัฐบาลรักษาการไปเรื่อยๆ ทั้งที่รู้ว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมา ไม่สามารถ ที่จะได้รัฐบาลใหม่ได้ รวมถึงการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ออกคำสั่งปิดสื่อ แต่เปิดโอกาสให้ทีวีของรัฐบาล โฆษณาชวนเชื่อ จนทำให้เกิดการเลือกตั้งที่ไม่สุจริต เที่ยงธรรม ประชาชนเข้าใจผิดในความนิยมของพรรคการเมือง จึงถือเป็นความพยายามที่จะให้ได้อำนาจมา ซึ่งวิธีการที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อศาลเห็นว่าไม่เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ตนก็เคารพคำวินิจฉัย เพราะเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้หากรัฐบาลยังทำซ้ำ ตนจะยื่นข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อร้องใหม่อีกครั้ง
"ก่อนหน้านี้ ยื่นต่อก.ก.ต.ให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ มีการไต่สวนผมมาแล้ว 15 วัน กระบวนการต่อจากนี้ จะมีการสรุปเสนอกกต.ทั้ง 5 คน หาก กกต.เห็นชอบ ก็จะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยผมคิดว่า กกต.ชุดนี้มีความกล้าหาญกว่าทุกชุด จึงขอเรียนไปยังกกต. ที่เคยส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเรื่อง สามารถออกพ.ร.ฎ. กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ได้หรือไม่นั้น ความจริงควรหยิบประเด็นเรื่องเป็นโมฆะไปด้วย บ้านเมืองก็จะเดินได้ แต่กกต.ขอความเห็นศาล แค่ว่าลงคะแนนใหม่ หรือกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ เท่านั้น และขอย้ำว่าไม่มีองค์กรใดยืนยันว่า การเลือกตั้งสมบูรณ์แล้ว ตรงกันข้ามสิ่งที่เกิดขึ้น ขัดรัฐธรรมนูญชัดเจน ในลักษณะเดียวกับคำวินิจฉัย ให้การเลือกตั้งปี 2549 เป็นโมฆะ" นายวิรัตน์ กล่าว
นายวิรัตน์ กล่าวด้วยว่า การยกคำร้องดังกล่าวเป็นคนละประเด็นกับเรื่อง การเลือกตั้ง 2 ก.พ. เป็นโมฆะหรือไม่ เพราะศาลรัฐธรรมนูญ ยังไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นนี้ ซึ่งมีกระบวนการที่ขัดกฎหมายหลายประเด็น ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 ไม่เสมอภาค เพราะเลือกตั้งล่วงหน้าไม่ได้หายไป 2 ล้านคะแนน นอกจากนี้การเลือกตั้งต้องตรง และลับ แต่ตอนนี้ไม่ลับ แม้กกต.ไม่ประกาศผลเป็นทางการ แต่มีการรายงานผลไปทั่วประเทศ ยกเว้น 28 เขต ที่ไม่มีผู้สมัครเท่านั้น จึงไม่เป็นความลับ มีผลต่อการจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า 2 ล้าน และอีก 28 เขต รวมเกือบ 10 ล้านคน ที่จะลงคะแนนในวันข้างหน้า ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญ เคยวินิจฉัยแล้วว่าเป็นโมฆะ ในปี 2549 เพราะไม่เสมอภาค และไม่เป็นความลับ
" ปัญหาของรัฐบาลที่จะตามมาคือ ไม่สามารถเรียกประชุมสภาภายใน 30 วัน ตามมาตรา 127 ตั้งนายกฯไม่ได้ จะเป็นส่วนหนึ่งในข้อมูลที่จะใช้ยื่นเพิ่มเติมประกอบพฤติกรรมว่า รัฐบาลจงใจที่จะใช้การเลือกตั้ง 2 ก.พ. 57 เป็นเครื่องมือในการรักษาการในอำนาจต่อไป ทั้งที่รู้ผลลัพธ์ว่า ไม่สามารถตั้งรัฐบาลใหม่ได้ เมื่อครบเวลาตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ก็จะเป็นเงื่อนเวลาหนึ่งที่จะยื่นเพิ่มต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ และจะพิจารณาการกระทำใดๆ ที่นอกรัฐธรรมนูญของรัฐบาล ซึ่งในขณะนี้มีการทำผิด เช่น พยายามกู้เงิน 1.3 แสนล้าน ทำขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 ทั้งหมดจะเก็บรวบรวมเพื่อยื่นเพิ่มเติมซ้ำอีกครั้ง เพราะศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้วินิจฉัยว่าการเลือกตั้งเป็นโมฆะหรือไม่ ” นายวิรัตน์กล่าว
**พท.ใต้จี้"ดีเอสไอ"รับคดีขวางเลือกตั้ง
เมื่อเวลา 13.10 น. วานนี้ ตัวแทนผู้สมัคร ส.ส.พรรคเพื่อไทย พื้นที่ 8 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 15 คน จากทั้งหมด 29 คน นำโดยนายยศวริศ ชูกล่อม หรือ เจ๋ง ดอกจิก และ นายวรวุฒิ วิชัยดิษฐ์ ยื่นหนังสือต่อ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดี ดีเอสไอ เพื่อให้รับเรื่องที่ผู้สมัคร ส.ส.ในพื้นที่ 8 จว.ภาคใต้ ถูกขัดขวาง ไม่สามารถลงรับสมัครได้ เป็นคดีพิเศษ โดยนายยศวริศ กล่าวว่า ที่ผ่านมา นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ฝ่ายบริหารจัดการการเลือกตั้ง พูดตลอดว่า ไม่มีผู้สมัครในพื้นที่ 29 เขต 8 จังหวัดภาคใต้ ทั้งที่พวกตนไปสมัครทุกวัน แต่ไม่สามารถเข้าไปสมัครได้ เนื่องจากโดนปิดล้อมโดยกลุ่ม กปปส. ทำให้เสียสิทธิ์ในการลงรับสมัคร จึงอยากมาร้องเรียนต่ออธิบดี ดีเอสไอ เพื่อให้ดำเนินการกับ กกต.กลาง กกต.จังหวัด รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการขัดขวางการรับสมัคร การปิดล้อมการขนหีบตามจุดต่างๆ ก่อนหน้านี้เราเคยแจ้งความดำเนินคดีไปแล้ว แต่ไม่มีความคืบหน้า จึงอยากให้ดีเอสไอ นำกรณีดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาเป็นคดีพิเศษ
ด้านอธิบดี ดีเอสไอ กล่าวว่า ขณะนี้คดีขัดขวางการเลือกตั้งมีหลายมิติ ทั้งการปิดกั้นการขนหีบบัตรเลือกตั้ง การขัดขวางไม่ให้ผู้สมัครเข้าไปรับสมัครได้ และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ในการรับสมัคร ซึ่งตำรวจกำลังพิจารณาอยู่ แต่เมื่อมีผู้มาร้อง ดีเอสไอ ให้กรณีดังกล่าวเป็นคดีพิเศษ ดีเอสไอ ก็จะรับเรื่องไว้เพื่อพิจารณาต่อไป ว่าจะนำเรื่องดังกล่าวเป็นคดีพิเศษหรือไม่
** รับข้อมูลออนไลน์ต้องวิเคราะห์ด้วย
นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) กล่าวชี้แจงกรณีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 2ก.พ.57 ตามที่สื่อมวลชนได้นำเสนอข่าวว่า พบบัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 129 เล่ม ถูกทิ้งบริเวณริมถนนสายทุ่งใหญ่- สี่แยกหนองดี ซึ่งเป็นบัตรเลือกตั้งของ เขตเลือกตั้งที่ 6 อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช นั้น กกต.จว.นครศรีธรรมราช ได้มีหนังสือรายงานข้อเท็จจริง กกต.ทราบเบื้องต้นว่า บัตรเลือกตั้งดังกล่าว เป็นบัตรเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตของหน่วยเลือกตั้งที่ 1 และ 2 โรงเรียนบ้านหนองคล้า ต.ปริก โดยในวันที่ 2 ก.พ. ซึ่งเป็นวันเลือกตั้งได้มีผู้ชุมนุม กลุ่ม กปปส. มาทำการปิดล้อม และกดดันคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ไม่ให้ปฏิบัติหน้าที่ ทำให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งเกิดความหวาดกลัว จึงออกจากหน่วยเลือกตั้งดังกล่าว โดยไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบกกต. ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 แต่อย่างใด และในขณะนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจรักษาความปลอดภัยบริเวณที่เลือกตั้ง ประมาณ 20 นาย ได้ปิดกั้นกลุ่มผู้ชุมนุมไม่ให้เข้าไปในหน่วยเลือกตั้ง พร้อมทั้งได้ประสานประธานกกต.ประจำเขตเลือกตั้งที่ 6 เพื่อเก็บบัตรเลือกตั้งดังกล่าวแล้ว แต่ในวันรุ่งขึ้นได้มีประชาชนแจ้งว่า พบบัตรเลือกตั้งที่เหลือ บริเวณโรงเรียนบ้านหนองคล้า ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองคล้า จึงเข้าไปตรวจสอบ และแจ้งความลงบันทึกประจำวัน ณ สถานีตำรวจภูธรทุ่งใหญ่ โดยในขณะนี้ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรทุ่งใหญ่ ได้เร่งดำเนินการสอบสวนเพื่อหาข้อมูล และเร่งรัดเจ้าหน้าที่ตรวจสอบว่าบัตรเลือกตั้งดังกล่าวอยู่ที่ใด ซึ่งผลเป็นประการใด สำนักงานกกต.ประจำจังหวัด นครศรีธรรมราช จะรายงานให้ทราบต่อไป
นอกจากนี้ตามที่ได้ปรากฏภาพ ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ผ่านทางทวิตเตอร์ ซึ่งเป็นภาพเจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังใช้ปากกาเขียนข้อความลงบนบัตรเลือกตั้ง โดยมีข้อความระบุว่า “ไม่เคยเห็น ดูกันให้จะๆ ตร.ช่วยกาบัตรเลือกตั้งเป็นกองๆ ส่งภาพนี้ให้กกต. เลือกตั้งหนนี้โมฆะ ชัวร์" ซึ่งภาพกรณีดังกล่าว เป็นการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งในวันรับมอบวัสดุอุปกรณ์ ซึ่งกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจะต้องดำเนินการนับบัตรเลือกตั้งภายในเล่ม ว่ามี จำนวนครบ 25 ฉบับหรือไม่ หากครบ กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ก็จะต้องลงลายมือชื่อบนหน้าปกของบัตรเลือกตั้ง ซึ่งการดำเนินการในขั้นตอนดังกล่าว เป็นไปตามข้อ 113 ของระเบียบกกต.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554
นายภุชงค์ กล่าวย้ำด้วยว่า เนื่องจากสื่อสังคมออนไลน์ในยุคปัจจุบัน มีบทบาทและมีความรวดเร็วต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน แต่ขาดการกลั่นกรองข้อมูล ข้อเท็จจริง สำนักงาน กกต. จึงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนพิจารณา และวิเคราะห์ข้อมูลให้รอบด้านก่อนตัดสินใจเชื่อ พร้อมทั้งติดตามข้อมูลข่าวสารการดำเนินงานของสำนักงาน กกต.ได้ที่เว็บไซต์ www.ect.go.th
** แจ้งเลือกตั้งล่วงหน้าส.ว.17-28 ก.พ.
นายภุชงค์ ยังกล่าวถึงการเตรียมความพร้อมในการจัดการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา(ส.ซ.) เป็นการทั่วไป ซึ่งจะครบวาระในวันที่ 1 มี.ค. ว่า คณะรัฐมนตรี ได้ให้ความเห็นชอบร่างพ.ร.ฎ.ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ... ที่กำหนดให้วันอาทิตย์ที่ 30 มี.ค.57 เป็นวันเลือกตั้งแล้ว โดยขณะนี้อยู่ระหว่างทูลเกล้าฯ ซึ่งหากพ.ร.ฎ. มีผลบังคับใช้ กกต.จะเปิดรับสมัครตั้งแต่ วันที่ 4-8 มี.ค.57 และ กำหนดให้ลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าในวันอาทิตย์ที่ 23 มี.ค.57
ทั้งนี้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีความประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตจังหวัด สามารถยื่นคำขอลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้ง ได้ตั้งแต่วันที่ 17-28 ก.พ.57
ในกรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เคยลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตจังหวัดไว้แล้วในการเลือกตั้ง ส.ส.ที่ผ่านมา ไม่ต้องยื่นคำขอใหม่ แต่หากต้องการกลับไปใช้สิทธิ ณ หน่วยเลือกตั้งที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จะต้องยื่นคำขอยกเลิกการลงทะเบียน โดยขอรับแบบคำขอลงทะเบียน และยื่นต่อนายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่นในจังหวัดที่อาศัยอยู่ด้วยตนเอง หรือส่งทางไปรษณีย์ หรือมอบหมายผู้อื่นไปยื่นแทนซึ่งจะต้องแนบหลักฐาน เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรที่มีรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้
นายพงศ์เทพ กล่าวว่า ส่วนที่ กกต.จะกำหนดวันรับสมัครเลือกตั้งเพิ่มเติมใน 28 เขต ต้องกระทำโดยตรา พ.ร.ฎ.และ ระบุกกต. มีอำนาจกำหนดวันรับสมัครเลือกตั้งเพิ่มเติมได้ ระบุการลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ รวมทั้งประกาศยกเว้นการจัดให้มีการลงคะแนนนอกเขตเลือกตั้ง และนอกราชอาณาจักรด้วย เพื่อความรอบคอบ รัฐบาลได้ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาเหตุผล และประเด็นต่างๆในหนังสือกกต. อย่างถี่ถ้วน และในช่วงเช้าวันที่ 17 ก.พ. ตนและนายวราเทพ รวมถึงบุคคลหลายฝ่ายที่ กกต.เชิญมา จะไปรับฟังความคิดเห็น เหตุผลข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายต่างๆ จากกกต.เพิ่มเติม และช่วงบ่ายวันเดียวกัน จะนำข้อมูลกลับมาหารือกับกฤษฎีกา เพื่อหาข้อสรุป
**กัน"ปู"เอี่ยวออกพ.ร.ฎ.เลือกตั้งใหม่
นายพงศ์เทพ กล่าวว่า ทั้งนี้ ยังมีข้อมูลเพิ่มเติมจากกฤษฎีกาคือ ในพ.ร.ฎ.กำหนดให้มีการเลือกตั้ง ถ้าเป็นการเลือกตั้งส.ส.หรือ ส.ว.เมื่อครบวาระ ผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.นั้น เป็นประธาน กกต. เพียงผู้เดียว รวมถึงการเลือกตั้งส.ว. เดือนมี.ค.นี้ด้วย จึงบ่งชี้ให้เห็นว่า อำนาจในการจัดการเลือกตั้งเป็นเรื่องของประธานกกต. มีเพียงกรณีเดียวเท่านั้นที่ นายกฯไปเป็นผู้รักษาการร่วมด้วย คือในพ.ร.ฎ.เลือกตั้งทั่วไป เพราะเป็นเรื่องของการยุบสภา
ขณะที่ นายวราเทพ กล่าวว่า ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้ง ในส่วนของพ.ร.ฎ. ต้องมีผู้สนองพระบรมราชโองการ จะต่างจากผู้รักษาการ เพราะผูัสนองพระบรมราชโองการ ต้องเป็นนายกฯ เพราะพ.ร.ฎ.ออกโดยฝ่ายบริหาร และในพ.ร.ฎ. มีมาตราสำคัญหนึ่งกำหนดว่า จะมีผูัรักษาการตาม พ.ร.ฎ.ให้มีการเลือกตั้ง มี 2 กรณี คือ 1. หากมีการยุบสภา เป็นอำนาจของนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ ฉะนั้น นายกฯ จึงต้องเป็นผู้รักษาการ ร่วมกับประธาน กกต.ทุกครั้ง แต่ถ้าไม่เกิดจากการ ยุบสภา เช่น การเลือกตั้งปี 48 การเลือกตั้งคราวนั้น รัฐบาลอยู่ครบเทอม ผู้รับสนองพระบรมราชโองการเป็นนายกฯ แต่ผู้รักษาการ เป็นประธานกกต. เพียงผูัเดียว
** ปชป.เตรียมยื่นตีความโมฆะอีกรอบ
นายวิรัตน์ กัลยาศิริ หัวหน้าทีมกฎหมาย พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ยกคำร้องว่า การเลือกตั้ง 2 ก.พ.57 ไม่ได้เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง ตามมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ ว่า คณะทำงานกฎหมายส่งเรื่องนี้ไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นช่วงยุบสภา รัฐบาลต้องอยู่ภายใต้บังคับรัฐธรรมนูญมาตรา 181(4) ไม่ใช้ทรัพยากร บุคลากรของรัฐ ให้มีผลต่อการเลือกตั้ง แต่รัฐบาลรักษาการไปเรื่อยๆ ทั้งที่รู้ว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมา ไม่สามารถ ที่จะได้รัฐบาลใหม่ได้ รวมถึงการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ออกคำสั่งปิดสื่อ แต่เปิดโอกาสให้ทีวีของรัฐบาล โฆษณาชวนเชื่อ จนทำให้เกิดการเลือกตั้งที่ไม่สุจริต เที่ยงธรรม ประชาชนเข้าใจผิดในความนิยมของพรรคการเมือง จึงถือเป็นความพยายามที่จะให้ได้อำนาจมา ซึ่งวิธีการที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อศาลเห็นว่าไม่เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ตนก็เคารพคำวินิจฉัย เพราะเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้หากรัฐบาลยังทำซ้ำ ตนจะยื่นข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อร้องใหม่อีกครั้ง
"ก่อนหน้านี้ ยื่นต่อก.ก.ต.ให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ มีการไต่สวนผมมาแล้ว 15 วัน กระบวนการต่อจากนี้ จะมีการสรุปเสนอกกต.ทั้ง 5 คน หาก กกต.เห็นชอบ ก็จะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยผมคิดว่า กกต.ชุดนี้มีความกล้าหาญกว่าทุกชุด จึงขอเรียนไปยังกกต. ที่เคยส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเรื่อง สามารถออกพ.ร.ฎ. กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ได้หรือไม่นั้น ความจริงควรหยิบประเด็นเรื่องเป็นโมฆะไปด้วย บ้านเมืองก็จะเดินได้ แต่กกต.ขอความเห็นศาล แค่ว่าลงคะแนนใหม่ หรือกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ เท่านั้น และขอย้ำว่าไม่มีองค์กรใดยืนยันว่า การเลือกตั้งสมบูรณ์แล้ว ตรงกันข้ามสิ่งที่เกิดขึ้น ขัดรัฐธรรมนูญชัดเจน ในลักษณะเดียวกับคำวินิจฉัย ให้การเลือกตั้งปี 2549 เป็นโมฆะ" นายวิรัตน์ กล่าว
นายวิรัตน์ กล่าวด้วยว่า การยกคำร้องดังกล่าวเป็นคนละประเด็นกับเรื่อง การเลือกตั้ง 2 ก.พ. เป็นโมฆะหรือไม่ เพราะศาลรัฐธรรมนูญ ยังไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นนี้ ซึ่งมีกระบวนการที่ขัดกฎหมายหลายประเด็น ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 ไม่เสมอภาค เพราะเลือกตั้งล่วงหน้าไม่ได้หายไป 2 ล้านคะแนน นอกจากนี้การเลือกตั้งต้องตรง และลับ แต่ตอนนี้ไม่ลับ แม้กกต.ไม่ประกาศผลเป็นทางการ แต่มีการรายงานผลไปทั่วประเทศ ยกเว้น 28 เขต ที่ไม่มีผู้สมัครเท่านั้น จึงไม่เป็นความลับ มีผลต่อการจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า 2 ล้าน และอีก 28 เขต รวมเกือบ 10 ล้านคน ที่จะลงคะแนนในวันข้างหน้า ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญ เคยวินิจฉัยแล้วว่าเป็นโมฆะ ในปี 2549 เพราะไม่เสมอภาค และไม่เป็นความลับ
" ปัญหาของรัฐบาลที่จะตามมาคือ ไม่สามารถเรียกประชุมสภาภายใน 30 วัน ตามมาตรา 127 ตั้งนายกฯไม่ได้ จะเป็นส่วนหนึ่งในข้อมูลที่จะใช้ยื่นเพิ่มเติมประกอบพฤติกรรมว่า รัฐบาลจงใจที่จะใช้การเลือกตั้ง 2 ก.พ. 57 เป็นเครื่องมือในการรักษาการในอำนาจต่อไป ทั้งที่รู้ผลลัพธ์ว่า ไม่สามารถตั้งรัฐบาลใหม่ได้ เมื่อครบเวลาตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ก็จะเป็นเงื่อนเวลาหนึ่งที่จะยื่นเพิ่มต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ และจะพิจารณาการกระทำใดๆ ที่นอกรัฐธรรมนูญของรัฐบาล ซึ่งในขณะนี้มีการทำผิด เช่น พยายามกู้เงิน 1.3 แสนล้าน ทำขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 ทั้งหมดจะเก็บรวบรวมเพื่อยื่นเพิ่มเติมซ้ำอีกครั้ง เพราะศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้วินิจฉัยว่าการเลือกตั้งเป็นโมฆะหรือไม่ ” นายวิรัตน์กล่าว
**พท.ใต้จี้"ดีเอสไอ"รับคดีขวางเลือกตั้ง
เมื่อเวลา 13.10 น. วานนี้ ตัวแทนผู้สมัคร ส.ส.พรรคเพื่อไทย พื้นที่ 8 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 15 คน จากทั้งหมด 29 คน นำโดยนายยศวริศ ชูกล่อม หรือ เจ๋ง ดอกจิก และ นายวรวุฒิ วิชัยดิษฐ์ ยื่นหนังสือต่อ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดี ดีเอสไอ เพื่อให้รับเรื่องที่ผู้สมัคร ส.ส.ในพื้นที่ 8 จว.ภาคใต้ ถูกขัดขวาง ไม่สามารถลงรับสมัครได้ เป็นคดีพิเศษ โดยนายยศวริศ กล่าวว่า ที่ผ่านมา นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ฝ่ายบริหารจัดการการเลือกตั้ง พูดตลอดว่า ไม่มีผู้สมัครในพื้นที่ 29 เขต 8 จังหวัดภาคใต้ ทั้งที่พวกตนไปสมัครทุกวัน แต่ไม่สามารถเข้าไปสมัครได้ เนื่องจากโดนปิดล้อมโดยกลุ่ม กปปส. ทำให้เสียสิทธิ์ในการลงรับสมัคร จึงอยากมาร้องเรียนต่ออธิบดี ดีเอสไอ เพื่อให้ดำเนินการกับ กกต.กลาง กกต.จังหวัด รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการขัดขวางการรับสมัคร การปิดล้อมการขนหีบตามจุดต่างๆ ก่อนหน้านี้เราเคยแจ้งความดำเนินคดีไปแล้ว แต่ไม่มีความคืบหน้า จึงอยากให้ดีเอสไอ นำกรณีดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาเป็นคดีพิเศษ
ด้านอธิบดี ดีเอสไอ กล่าวว่า ขณะนี้คดีขัดขวางการเลือกตั้งมีหลายมิติ ทั้งการปิดกั้นการขนหีบบัตรเลือกตั้ง การขัดขวางไม่ให้ผู้สมัครเข้าไปรับสมัครได้ และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ในการรับสมัคร ซึ่งตำรวจกำลังพิจารณาอยู่ แต่เมื่อมีผู้มาร้อง ดีเอสไอ ให้กรณีดังกล่าวเป็นคดีพิเศษ ดีเอสไอ ก็จะรับเรื่องไว้เพื่อพิจารณาต่อไป ว่าจะนำเรื่องดังกล่าวเป็นคดีพิเศษหรือไม่
** รับข้อมูลออนไลน์ต้องวิเคราะห์ด้วย
นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) กล่าวชี้แจงกรณีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 2ก.พ.57 ตามที่สื่อมวลชนได้นำเสนอข่าวว่า พบบัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 129 เล่ม ถูกทิ้งบริเวณริมถนนสายทุ่งใหญ่- สี่แยกหนองดี ซึ่งเป็นบัตรเลือกตั้งของ เขตเลือกตั้งที่ 6 อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช นั้น กกต.จว.นครศรีธรรมราช ได้มีหนังสือรายงานข้อเท็จจริง กกต.ทราบเบื้องต้นว่า บัตรเลือกตั้งดังกล่าว เป็นบัตรเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตของหน่วยเลือกตั้งที่ 1 และ 2 โรงเรียนบ้านหนองคล้า ต.ปริก โดยในวันที่ 2 ก.พ. ซึ่งเป็นวันเลือกตั้งได้มีผู้ชุมนุม กลุ่ม กปปส. มาทำการปิดล้อม และกดดันคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ไม่ให้ปฏิบัติหน้าที่ ทำให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งเกิดความหวาดกลัว จึงออกจากหน่วยเลือกตั้งดังกล่าว โดยไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบกกต. ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 แต่อย่างใด และในขณะนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจรักษาความปลอดภัยบริเวณที่เลือกตั้ง ประมาณ 20 นาย ได้ปิดกั้นกลุ่มผู้ชุมนุมไม่ให้เข้าไปในหน่วยเลือกตั้ง พร้อมทั้งได้ประสานประธานกกต.ประจำเขตเลือกตั้งที่ 6 เพื่อเก็บบัตรเลือกตั้งดังกล่าวแล้ว แต่ในวันรุ่งขึ้นได้มีประชาชนแจ้งว่า พบบัตรเลือกตั้งที่เหลือ บริเวณโรงเรียนบ้านหนองคล้า ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองคล้า จึงเข้าไปตรวจสอบ และแจ้งความลงบันทึกประจำวัน ณ สถานีตำรวจภูธรทุ่งใหญ่ โดยในขณะนี้ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรทุ่งใหญ่ ได้เร่งดำเนินการสอบสวนเพื่อหาข้อมูล และเร่งรัดเจ้าหน้าที่ตรวจสอบว่าบัตรเลือกตั้งดังกล่าวอยู่ที่ใด ซึ่งผลเป็นประการใด สำนักงานกกต.ประจำจังหวัด นครศรีธรรมราช จะรายงานให้ทราบต่อไป
นอกจากนี้ตามที่ได้ปรากฏภาพ ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ผ่านทางทวิตเตอร์ ซึ่งเป็นภาพเจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังใช้ปากกาเขียนข้อความลงบนบัตรเลือกตั้ง โดยมีข้อความระบุว่า “ไม่เคยเห็น ดูกันให้จะๆ ตร.ช่วยกาบัตรเลือกตั้งเป็นกองๆ ส่งภาพนี้ให้กกต. เลือกตั้งหนนี้โมฆะ ชัวร์" ซึ่งภาพกรณีดังกล่าว เป็นการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งในวันรับมอบวัสดุอุปกรณ์ ซึ่งกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจะต้องดำเนินการนับบัตรเลือกตั้งภายในเล่ม ว่ามี จำนวนครบ 25 ฉบับหรือไม่ หากครบ กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ก็จะต้องลงลายมือชื่อบนหน้าปกของบัตรเลือกตั้ง ซึ่งการดำเนินการในขั้นตอนดังกล่าว เป็นไปตามข้อ 113 ของระเบียบกกต.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554
นายภุชงค์ กล่าวย้ำด้วยว่า เนื่องจากสื่อสังคมออนไลน์ในยุคปัจจุบัน มีบทบาทและมีความรวดเร็วต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน แต่ขาดการกลั่นกรองข้อมูล ข้อเท็จจริง สำนักงาน กกต. จึงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนพิจารณา และวิเคราะห์ข้อมูลให้รอบด้านก่อนตัดสินใจเชื่อ พร้อมทั้งติดตามข้อมูลข่าวสารการดำเนินงานของสำนักงาน กกต.ได้ที่เว็บไซต์ www.ect.go.th
** แจ้งเลือกตั้งล่วงหน้าส.ว.17-28 ก.พ.
นายภุชงค์ ยังกล่าวถึงการเตรียมความพร้อมในการจัดการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา(ส.ซ.) เป็นการทั่วไป ซึ่งจะครบวาระในวันที่ 1 มี.ค. ว่า คณะรัฐมนตรี ได้ให้ความเห็นชอบร่างพ.ร.ฎ.ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ... ที่กำหนดให้วันอาทิตย์ที่ 30 มี.ค.57 เป็นวันเลือกตั้งแล้ว โดยขณะนี้อยู่ระหว่างทูลเกล้าฯ ซึ่งหากพ.ร.ฎ. มีผลบังคับใช้ กกต.จะเปิดรับสมัครตั้งแต่ วันที่ 4-8 มี.ค.57 และ กำหนดให้ลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าในวันอาทิตย์ที่ 23 มี.ค.57
ทั้งนี้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีความประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตจังหวัด สามารถยื่นคำขอลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้ง ได้ตั้งแต่วันที่ 17-28 ก.พ.57
ในกรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เคยลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตจังหวัดไว้แล้วในการเลือกตั้ง ส.ส.ที่ผ่านมา ไม่ต้องยื่นคำขอใหม่ แต่หากต้องการกลับไปใช้สิทธิ ณ หน่วยเลือกตั้งที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จะต้องยื่นคำขอยกเลิกการลงทะเบียน โดยขอรับแบบคำขอลงทะเบียน และยื่นต่อนายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่นในจังหวัดที่อาศัยอยู่ด้วยตนเอง หรือส่งทางไปรษณีย์ หรือมอบหมายผู้อื่นไปยื่นแทนซึ่งจะต้องแนบหลักฐาน เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรที่มีรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้