นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงกรณีที่มอบให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ไปศึกษาความเป็นไปได้ การปรับเพิ่มเพดานค่าเล่าเรียนโรงเรียนเอกชน เนื่องจากไม่ได้มีการปรับเพดานค่าเล่าเรียนมาประมาณ 10 ปีแล้วว่า ความสัมพันธ์ระหว่างเงินอุดหนุนรายหัวโรงเรียนเอกชน และเพดานค่าธรรมเนียมการศึกษาจะมีความพอดี แต่เพราะไปล็อกเพดานเอาไว้ จนทำให้โรงเรียนเอกชนไม่สามารถปรับเพิ่มค่าเล่า เรียนได้ ขณะที่เงินอุดหนุนรายหัวที่รัฐจัดสรรให้ ก็ได้รับในอัตราที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น จะกลายเป็นว่าไม่ส่งเสริมการศึกษาเอกชน
ทั้งนี้ หากมีการส่งเสริมให้โรงเรียนเอกชนจัดการศึกษาได้มากขึ้นกว่าปัจจุบัน จะทำให้ค่าใช้จ่ายของรัฐน้อยลงอย่างมาก ดังนั้นหากมีการเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวโรงเรียนเอกชน และเปิดโอกาสให้เก็บค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียมการศึกษาได้เพิ่มขึ้นในกรณีที่เป็นไปได้และไม่สร้างความเดือดร้อนแก่นักเรียนและผู้ปกครอง
"หากมีการเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวโรงเรียนเอกชนมากขึ้น และโรงเรียนเก็บค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมได้มากขึ้นในกรณีที่ผู้ปกครองมีศักยภาพจะทำให้ทั้งหมดเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่น นักเรียนโรงเรียนเอกชนเองก็ได้รับความช่วยเหลือมากขึ้น ส่วนการจะเพิ่มเงินอุดหนุนเป็นสัดส่วนเท่าไรนั้น กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาตัวเลขที่ปรับเพิ่มโดยหากดูในภาพรวมแล้วอาจไม่จำเป็นต้องดูว่าจะเพิ่มกี่เปอร์เซ็นต์ของเงินอุดหนุนรายหัวของโรงเรียนรัฐ หากคิดออกมาถ้า จะอุดหนุนโรงเรียนเอกชนมากกว่าของโรงเรียนรัฐก็ยังได้ เพราะมีการคิดวิเคราะห์มากันแล้วว่าถ้าส่งเสริมให้เอกชนจัดการศึกษาเพิ่มขึ้นในสัดส่วน 70% รัฐจะใช้งบประมาณน้อยลงไม่ต่ำกว่า 40,000 ล้านบาท" นายจาตุรนต์ กล่าว และว่า การปรับเพิ่มเพดานค่าเล่าเรียนและการเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวโรงเรียนเอกชนจะต้องจัดทำไว้ เพื่อรอรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาบริหารงาน
ทั้งนี้ หากมีการส่งเสริมให้โรงเรียนเอกชนจัดการศึกษาได้มากขึ้นกว่าปัจจุบัน จะทำให้ค่าใช้จ่ายของรัฐน้อยลงอย่างมาก ดังนั้นหากมีการเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวโรงเรียนเอกชน และเปิดโอกาสให้เก็บค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียมการศึกษาได้เพิ่มขึ้นในกรณีที่เป็นไปได้และไม่สร้างความเดือดร้อนแก่นักเรียนและผู้ปกครอง
"หากมีการเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวโรงเรียนเอกชนมากขึ้น และโรงเรียนเก็บค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมได้มากขึ้นในกรณีที่ผู้ปกครองมีศักยภาพจะทำให้ทั้งหมดเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่น นักเรียนโรงเรียนเอกชนเองก็ได้รับความช่วยเหลือมากขึ้น ส่วนการจะเพิ่มเงินอุดหนุนเป็นสัดส่วนเท่าไรนั้น กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาตัวเลขที่ปรับเพิ่มโดยหากดูในภาพรวมแล้วอาจไม่จำเป็นต้องดูว่าจะเพิ่มกี่เปอร์เซ็นต์ของเงินอุดหนุนรายหัวของโรงเรียนรัฐ หากคิดออกมาถ้า จะอุดหนุนโรงเรียนเอกชนมากกว่าของโรงเรียนรัฐก็ยังได้ เพราะมีการคิดวิเคราะห์มากันแล้วว่าถ้าส่งเสริมให้เอกชนจัดการศึกษาเพิ่มขึ้นในสัดส่วน 70% รัฐจะใช้งบประมาณน้อยลงไม่ต่ำกว่า 40,000 ล้านบาท" นายจาตุรนต์ กล่าว และว่า การปรับเพิ่มเพดานค่าเล่าเรียนและการเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวโรงเรียนเอกชนจะต้องจัดทำไว้ เพื่อรอรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาบริหารงาน