การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือที่เรียกย่อๆ ว่า ส.ส.เป็นรูปแบบเบื้องต้นของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และผู้ที่ได้รับเลือกเป็น ส.ส.จะทำหน้าที่ในด้านนิติบัญญัติ ทั้งมีโอกาสได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งฝ่ายบริหารด้วย
ดังนั้น การเป็น ส.ส.จึงเป็นความต้องการของบรรดานักการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักการเมืองประเภทอาศัยการได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.แสวงหาอำนาจ และใช้อำนาจที่ได้มาแสวงหาผลประโยชน์ทั้งในทางที่พึงมีพึงได้โดยความชอบธรรม และในทางที่ไม่ควรจะได้ เนื่องจากขาดความชอบธรรม
ส่วนว่านักการเมืองคนไหนจะแสวงหาประโยชน์ในทางชอบธรรมหรือไม่ชอบธรรมนั้น ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ถ้าโดยพื้นฐานเป็นคนดีมีคุณธรรม ทั้งก่อนที่จะเข้ามาสู่วงการเมือง และหลังจากได้รับเลือกตั้งแล้วยังคงรักษาความดีไว้ได้ โดยที่ไม่ถูกลาภสักการะครอบงำเข้ามาเป็นนักการเมืองเพื่อรับใช้สังคมโดยรวม จะเป็นผู้ไม่แสวงหาประโยชน์ในทางที่ไม่ถูกไม่ควร
ตรงกันข้าม ถ้าเป็นคนไม่ดี ไม่มีคุณธรรม ถึงแม้จะมีความเก่งกาจสามารถก็จะไม่ปล่อยให้โอกาสในการแสวงหาประโยชน์ผ่านไป ไม่ว่าจะผิดหรือถูก ควรหรือไม่ควร
2. การลงทุนในการลงสมัครรับเลือกตั้ง ถ้าใช้เงินมากมายเพื่อแลกกับการได้รับเลือกโดยไม่คำนึงว่าผิดกฎหมายเลือกตั้งหรือไม่ และจำนวนที่ถูกใช้ไปไม่มีทางที่จะได้คืนจากผลตอบแทนในทางที่ชอบธรรม เช่น เงินเดือน สวัสดิการ และเบี้ยเลี้ยงรับรอง เป็นต้น เป็นที่แน่นอนว่าถ้ามีโอกาสโกง และสิ่งที่จะได้จากการโกงคุ้มค่าแก่การเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมาย ผู้ที่ลงทุนมากเช่นนี้ต้องโกง
ในทางตรงกันข้าม ถ้าผู้ลงสมัครคนใดใช้เงินลงทุนไม่มาก แต่ได้รับเลือกเนื่องจากเป็นคนมีต้นทุนทางสังคมสูงคือ เป็นคนที่ผู้คนนับถือยกย่อง โอกาสที่คนเช่นนี้จะทุจริตเป็นไปได้ยาก ถึงแม้จะมีโอกาสโกงก็ตาม
แต่การเลือกตั้งในระบอบทักษิณ มีการลงทุนมหาศาลในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง และในการลงเลือกตั้งของผู้สมัครแต่ละคน
ดังนั้น จึงมิใช่เรื่องแปลกหรือผิดปกติแต่ประการใด ที่นักการเมืองในระบอบทักษิณ ทั้งที่อยู่ในฝ่ายนิติบัญญัติจะร่วมมือกันสมองความต้องการนายทุนพรรค ซึ่งทุ่มเงินก้อนใหญ่ในการเลือกตั้งเพื่อให้ผู้สมัครในนามพรรคได้รับการเลือกเข้าเป็น ส.ส. และจากการอาศัยความร่วมมือของ ส.ส.นี้เอง การผลักดันกฎหมายสำคัญๆ ต่อการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ให้ผ่านสภาฯ ไปได้โดยสะดวกปราศจากการต่อต้านจากฝ่ายนิติบัญญัติ และการที่โครงการขนาดใหญ่เกิดขึ้นนี้เอง จะเป็นช่องทางให้นายทุนพรรคถอนทุนพร้อมกำไรตามที่ต้องการได้ จะเห็นได้จากโครงการรับจำนำข้าวและโครงการแจกแท็บเล็ตให้แก่เด็กนักเรียน ซึ่งต่อมากลายเป็นข่าวฉาวโฉ่ดังไปทั่วโลก และกำลังเป็นเครื่องประหารรัฐบาลอยู่ในขณะนี้
และนี่เองคือเหตุผลที่ว่า ทำไมรัฐบาลในระบอบทักษิณจึงใช้นโยบายประชานิยม และชอบที่จะคิดโครงการขนาดใหญ่ ทั้งๆ ที่ประเทศไม่มีเงิน
จากการที่รัฐบาลในระบอบทักษิณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐบาลภายใต้การนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งทำงานตามแนวคิดที่ว่า “ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ” จึงตกเป็นจำเลยสังคม และกำลังเป็นจำเลยทางกฎหมายในข้อหาทุจริตโครงการรับจำนำข้าว และอีกหลายโครงการ ถ้ามีโอกาสได้เป็นรัฐบาลอีกครั้งจากการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และนี่คือสาเหตุที่ทำให้ประชาชนซึ่งมีความรู้ มีความเข้าใจในปัญหาของประเทศดียิ่งขึ้นจากการเปิดเผยของผู้รู้ทั้งหลายผ่านทางเวทีของ กปปส.ไม่ยอมไปลงคะแนนเลือกตั้ง และทำให้การเลือกตั้งล้มเหลว เนื่องจากคนมาลงคะแนนน้อยกว่าที่ควรจะเป็น คือประมาณ 45% ทั่วประเทศ
และที่เห็นได้ชัดเจนยิ่งกว่านี้คือใน กทม.ซึ่งเป็นศูนย์กลางของประเทศและประชากรส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องการเมืองดี ทั้งมีความคิดอิสระชี้นำได้ยาก แต่ออกมาลงคะแนนประมาณ 26% นอกจากมีคนมาลงคะแนนน้อยแล้ว มีหลายเขตทั้งใน กทม.และต่างจังหวัดไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ จึงทำให้ประกาศผลการเลือกตั้งไม่ได้ และจนถึงวันนี้ ก็ยังไม่มีใครบอกได้ว่าจะเลือกตั้งให้ครบทุกเขตได้เมื่อใด ทั้งยังตอบไม่ได้ว่าการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ เป็นโมฆะตามที่มีผู้ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่
ไม่ว่าการเลือกตั้งในครั้งนี้จะเป็นโมฆะหรือไม่ แต่ที่แน่ๆ การเลือกตั้งในครั้งนี้จะใช้งบประมาณมากกว่าที่กำหนดไว้แน่นอน เพราะต้องจัดเลือกตั้งอีกหลายเขต และอาจหลายครั้งในเขตเดียว
ดังนั้นจึงพูดได้ว่าล้มเหลวทั้งในด้านการเมืองและการเงิน เหตุที่ล้มเหลวมีมูลเหตุมาจากประชาชนไม่ศรัทธาในรัฐบาล มิใช่มาจาก กปปส.ที่ออกมาคัดค้านการเลือกตั้ง โดยให้เหตุผลว่าควรจะเลือกตั้งหลังจากทำการปฏิรูปแล้ว และการออกมาคัดค้านของ กปปส.ก็มีมูลเหตุประการเดียวกันคือไม่ศรัทธาในรัฐบาล เช่นเดียวกันกับประชาชน
เมื่อเลือกตั้งแล้วได้ ส.ส.ไม่ครบตามจำนวน 95% ทำให้เปิดสภาฯ ไม่ได้ และจนถึงวันนี้ไม่มีใครตอบได้ว่าจะเลือกให้ครบได้เมื่อใด และในขณะเดียวกัน นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่ยอมลาออกตามข้อเรียกร้องของ กปปส.ระหว่างนี้ประเทศไทยจะกลายเป็นอย่างไร
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผู้เขียนเชื่อว่าผู้ที่เป็นห่วงอนาคตของประเทศ ไม่อยากเห็นคนไทยเป็นทุกข์ไปมากกว่านี้ และพอจะมีศักยภาพในการแก้ปัญหาของประเทศ คงจะต้องหาแนวทางแก้ไขอยู่ คงจะไม่ปล่อยให้ประเทศพังพินาศไปโดยที่ไม่ได้ช่วยกันทำอะไรอย่างแน่นอน
ดังนั้นในฐานะประชาชนจึงใคร่ขอร้องให้ผู้มีบารมีทั้งหลายช่วยกันแก้ไขปัญหานี้ และน่าจะกระทำได้ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. เร่งรัดให้ ป.ป.ช.ดำเนินการสอบสวน และชี้มูลความผิดในคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งเท่าที่ปรากฏตามข่าวมีหลักฐานพร้อมมูล และมากพอที่จะเอาผิดกับรัฐบาลชุดนี้ โดยเฉพาะผู้นำรัฐบาลในฐานะผู้กำกับดูแลนโยบายรับจำนำข้าวมาใช้ และไม่ควบคุมให้ดำเนินไปโดยปราศจากการทุจริต คอร์รัปชัน ทั้งๆ ที่หลายๆ ฝ่ายได้ออกมาเตือนก่อนหน้านี้แล้ว
กองทัพในฐานะผู้รับผิดชอบความมั่นคงของประเทศ และวันนี้ปรากฏเป็นข่าวค่อนข้างชัดเจนว่า มีการปล่อยให้ทหารต่างชาติเข้ามาก่อกวนในประเทศ มุ่งทำลายประชาชนผู้ชุมนุม โดยสงบปราศจากอาวุธ จึงควรออกมาแสดงท่าทีชัดเจนว่า รัฐบาลชุดนี้จะต้องรับผิดชอบในกรณีที่ประชาชนถูกลอบทำร้ายบาดเจ็บ และเสียชีวิตเป็นการกดดันให้รัฐบาลต้องทำในสิ่งที่ผู้นำประเทศควรทำ เยี่ยงผู้นำในประเทศที่เจริญแล้วทั้งหลาย
ถ้าปัจจัยข้อหนึ่งในสองข้อเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นพร้อมกันค่อนข้างจะเชื่อได้ว่า รัฐบาลชุดนี้ซึ่งหมดความชอบธรรมทั้งในด้านกฎหมาย และการเมือง คงจะหมดอำนาจลง จะด้วยการลาออกเองหรือถูกกดดันให้ออก ก็จะเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดตั้งรัฐบาล และสภาประชาชนเพื่อทำหน้าที่ปฏิรูปประเทศ เป็นการใช้ประชาธิปไตยทางตรงดีกว่าปล่อยให้เป็นไปในลักษณะที่เป็นอยู่
ขอให้นึกถึงคำพูดของขงจื๊อที่ว่า
“ประชาชนไม่ศรัทธาในผู้ปกครองประเทศ เศรษฐกิจย่ำแย่ และกองทัพแตกแยก ไร้ระเบียบวินัย การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจะเกิดขึ้น”
ดังนั้น การเป็น ส.ส.จึงเป็นความต้องการของบรรดานักการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักการเมืองประเภทอาศัยการได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.แสวงหาอำนาจ และใช้อำนาจที่ได้มาแสวงหาผลประโยชน์ทั้งในทางที่พึงมีพึงได้โดยความชอบธรรม และในทางที่ไม่ควรจะได้ เนื่องจากขาดความชอบธรรม
ส่วนว่านักการเมืองคนไหนจะแสวงหาประโยชน์ในทางชอบธรรมหรือไม่ชอบธรรมนั้น ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ถ้าโดยพื้นฐานเป็นคนดีมีคุณธรรม ทั้งก่อนที่จะเข้ามาสู่วงการเมือง และหลังจากได้รับเลือกตั้งแล้วยังคงรักษาความดีไว้ได้ โดยที่ไม่ถูกลาภสักการะครอบงำเข้ามาเป็นนักการเมืองเพื่อรับใช้สังคมโดยรวม จะเป็นผู้ไม่แสวงหาประโยชน์ในทางที่ไม่ถูกไม่ควร
ตรงกันข้าม ถ้าเป็นคนไม่ดี ไม่มีคุณธรรม ถึงแม้จะมีความเก่งกาจสามารถก็จะไม่ปล่อยให้โอกาสในการแสวงหาประโยชน์ผ่านไป ไม่ว่าจะผิดหรือถูก ควรหรือไม่ควร
2. การลงทุนในการลงสมัครรับเลือกตั้ง ถ้าใช้เงินมากมายเพื่อแลกกับการได้รับเลือกโดยไม่คำนึงว่าผิดกฎหมายเลือกตั้งหรือไม่ และจำนวนที่ถูกใช้ไปไม่มีทางที่จะได้คืนจากผลตอบแทนในทางที่ชอบธรรม เช่น เงินเดือน สวัสดิการ และเบี้ยเลี้ยงรับรอง เป็นต้น เป็นที่แน่นอนว่าถ้ามีโอกาสโกง และสิ่งที่จะได้จากการโกงคุ้มค่าแก่การเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมาย ผู้ที่ลงทุนมากเช่นนี้ต้องโกง
ในทางตรงกันข้าม ถ้าผู้ลงสมัครคนใดใช้เงินลงทุนไม่มาก แต่ได้รับเลือกเนื่องจากเป็นคนมีต้นทุนทางสังคมสูงคือ เป็นคนที่ผู้คนนับถือยกย่อง โอกาสที่คนเช่นนี้จะทุจริตเป็นไปได้ยาก ถึงแม้จะมีโอกาสโกงก็ตาม
แต่การเลือกตั้งในระบอบทักษิณ มีการลงทุนมหาศาลในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง และในการลงเลือกตั้งของผู้สมัครแต่ละคน
ดังนั้น จึงมิใช่เรื่องแปลกหรือผิดปกติแต่ประการใด ที่นักการเมืองในระบอบทักษิณ ทั้งที่อยู่ในฝ่ายนิติบัญญัติจะร่วมมือกันสมองความต้องการนายทุนพรรค ซึ่งทุ่มเงินก้อนใหญ่ในการเลือกตั้งเพื่อให้ผู้สมัครในนามพรรคได้รับการเลือกเข้าเป็น ส.ส. และจากการอาศัยความร่วมมือของ ส.ส.นี้เอง การผลักดันกฎหมายสำคัญๆ ต่อการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ให้ผ่านสภาฯ ไปได้โดยสะดวกปราศจากการต่อต้านจากฝ่ายนิติบัญญัติ และการที่โครงการขนาดใหญ่เกิดขึ้นนี้เอง จะเป็นช่องทางให้นายทุนพรรคถอนทุนพร้อมกำไรตามที่ต้องการได้ จะเห็นได้จากโครงการรับจำนำข้าวและโครงการแจกแท็บเล็ตให้แก่เด็กนักเรียน ซึ่งต่อมากลายเป็นข่าวฉาวโฉ่ดังไปทั่วโลก และกำลังเป็นเครื่องประหารรัฐบาลอยู่ในขณะนี้
และนี่เองคือเหตุผลที่ว่า ทำไมรัฐบาลในระบอบทักษิณจึงใช้นโยบายประชานิยม และชอบที่จะคิดโครงการขนาดใหญ่ ทั้งๆ ที่ประเทศไม่มีเงิน
จากการที่รัฐบาลในระบอบทักษิณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐบาลภายใต้การนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งทำงานตามแนวคิดที่ว่า “ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ” จึงตกเป็นจำเลยสังคม และกำลังเป็นจำเลยทางกฎหมายในข้อหาทุจริตโครงการรับจำนำข้าว และอีกหลายโครงการ ถ้ามีโอกาสได้เป็นรัฐบาลอีกครั้งจากการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และนี่คือสาเหตุที่ทำให้ประชาชนซึ่งมีความรู้ มีความเข้าใจในปัญหาของประเทศดียิ่งขึ้นจากการเปิดเผยของผู้รู้ทั้งหลายผ่านทางเวทีของ กปปส.ไม่ยอมไปลงคะแนนเลือกตั้ง และทำให้การเลือกตั้งล้มเหลว เนื่องจากคนมาลงคะแนนน้อยกว่าที่ควรจะเป็น คือประมาณ 45% ทั่วประเทศ
และที่เห็นได้ชัดเจนยิ่งกว่านี้คือใน กทม.ซึ่งเป็นศูนย์กลางของประเทศและประชากรส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องการเมืองดี ทั้งมีความคิดอิสระชี้นำได้ยาก แต่ออกมาลงคะแนนประมาณ 26% นอกจากมีคนมาลงคะแนนน้อยแล้ว มีหลายเขตทั้งใน กทม.และต่างจังหวัดไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ จึงทำให้ประกาศผลการเลือกตั้งไม่ได้ และจนถึงวันนี้ ก็ยังไม่มีใครบอกได้ว่าจะเลือกตั้งให้ครบทุกเขตได้เมื่อใด ทั้งยังตอบไม่ได้ว่าการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ เป็นโมฆะตามที่มีผู้ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่
ไม่ว่าการเลือกตั้งในครั้งนี้จะเป็นโมฆะหรือไม่ แต่ที่แน่ๆ การเลือกตั้งในครั้งนี้จะใช้งบประมาณมากกว่าที่กำหนดไว้แน่นอน เพราะต้องจัดเลือกตั้งอีกหลายเขต และอาจหลายครั้งในเขตเดียว
ดังนั้นจึงพูดได้ว่าล้มเหลวทั้งในด้านการเมืองและการเงิน เหตุที่ล้มเหลวมีมูลเหตุมาจากประชาชนไม่ศรัทธาในรัฐบาล มิใช่มาจาก กปปส.ที่ออกมาคัดค้านการเลือกตั้ง โดยให้เหตุผลว่าควรจะเลือกตั้งหลังจากทำการปฏิรูปแล้ว และการออกมาคัดค้านของ กปปส.ก็มีมูลเหตุประการเดียวกันคือไม่ศรัทธาในรัฐบาล เช่นเดียวกันกับประชาชน
เมื่อเลือกตั้งแล้วได้ ส.ส.ไม่ครบตามจำนวน 95% ทำให้เปิดสภาฯ ไม่ได้ และจนถึงวันนี้ไม่มีใครตอบได้ว่าจะเลือกให้ครบได้เมื่อใด และในขณะเดียวกัน นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่ยอมลาออกตามข้อเรียกร้องของ กปปส.ระหว่างนี้ประเทศไทยจะกลายเป็นอย่างไร
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผู้เขียนเชื่อว่าผู้ที่เป็นห่วงอนาคตของประเทศ ไม่อยากเห็นคนไทยเป็นทุกข์ไปมากกว่านี้ และพอจะมีศักยภาพในการแก้ปัญหาของประเทศ คงจะต้องหาแนวทางแก้ไขอยู่ คงจะไม่ปล่อยให้ประเทศพังพินาศไปโดยที่ไม่ได้ช่วยกันทำอะไรอย่างแน่นอน
ดังนั้นในฐานะประชาชนจึงใคร่ขอร้องให้ผู้มีบารมีทั้งหลายช่วยกันแก้ไขปัญหานี้ และน่าจะกระทำได้ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. เร่งรัดให้ ป.ป.ช.ดำเนินการสอบสวน และชี้มูลความผิดในคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งเท่าที่ปรากฏตามข่าวมีหลักฐานพร้อมมูล และมากพอที่จะเอาผิดกับรัฐบาลชุดนี้ โดยเฉพาะผู้นำรัฐบาลในฐานะผู้กำกับดูแลนโยบายรับจำนำข้าวมาใช้ และไม่ควบคุมให้ดำเนินไปโดยปราศจากการทุจริต คอร์รัปชัน ทั้งๆ ที่หลายๆ ฝ่ายได้ออกมาเตือนก่อนหน้านี้แล้ว
กองทัพในฐานะผู้รับผิดชอบความมั่นคงของประเทศ และวันนี้ปรากฏเป็นข่าวค่อนข้างชัดเจนว่า มีการปล่อยให้ทหารต่างชาติเข้ามาก่อกวนในประเทศ มุ่งทำลายประชาชนผู้ชุมนุม โดยสงบปราศจากอาวุธ จึงควรออกมาแสดงท่าทีชัดเจนว่า รัฐบาลชุดนี้จะต้องรับผิดชอบในกรณีที่ประชาชนถูกลอบทำร้ายบาดเจ็บ และเสียชีวิตเป็นการกดดันให้รัฐบาลต้องทำในสิ่งที่ผู้นำประเทศควรทำ เยี่ยงผู้นำในประเทศที่เจริญแล้วทั้งหลาย
ถ้าปัจจัยข้อหนึ่งในสองข้อเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นพร้อมกันค่อนข้างจะเชื่อได้ว่า รัฐบาลชุดนี้ซึ่งหมดความชอบธรรมทั้งในด้านกฎหมาย และการเมือง คงจะหมดอำนาจลง จะด้วยการลาออกเองหรือถูกกดดันให้ออก ก็จะเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดตั้งรัฐบาล และสภาประชาชนเพื่อทำหน้าที่ปฏิรูปประเทศ เป็นการใช้ประชาธิปไตยทางตรงดีกว่าปล่อยให้เป็นไปในลักษณะที่เป็นอยู่
ขอให้นึกถึงคำพูดของขงจื๊อที่ว่า
“ประชาชนไม่ศรัทธาในผู้ปกครองประเทศ เศรษฐกิจย่ำแย่ และกองทัพแตกแยก ไร้ระเบียบวินัย การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจะเกิดขึ้น”