ASTVผู้จัดการรายวัน - ออมสินเล็งปรับแผนปล่อยกู้ปีนี้ใหม่หลังจากรัฐบาลพับแผนกู้ส่งผลจาก 20% ของวงเงิน 9 หมื่นล้านอาจแห้วหลังโครงการน้ำ-โครงสรางพื้นฐาน 2 ล้านล้านสะดุด จำนำข้าวถูกจับตา หันปล่อยรายย่อย-อินเตอร์แบงก์แทน พร้อมรับกำไรอาจลดลงเหตุตั้งสำรองหนี้เสียเพิ่มรับเศรษฐกิจเสี่ยง
นายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า การดำเนินงานในปีนี้ ธนาคารคงต้องปรับเปลี่ยนแผนการปล่อยสินเชื่อใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและความเหมาะสม โดยเฉพาะการเตรียมวงเงินไว้ปล่อยกู้ให้รัฐบาลผ่านโครงการลงทุนขนาดใหญ่ทั้งการบริหารจัดการน้ำและการลงทุนโครงกสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาทชะลอออกไปยังไม่มีกำหนดการใช้เงินที่ชัดเจน รวมถึงการปล่อยกู้ในโครงการซอฟโลนด์ของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้วงเงิน 2 หมื่นล้านบาทนั้นทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังไม่ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบทำให้การปล่อยกู้ส่วนนี้ก็ต้องระงับไว้ก่อน ซึ่งจากเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อปีนี้อยู่ที่ 8-9 หมื่นล้านบาท ใกล้เคียงกับปีก่อนหรือขยายตัว 6% หากจีดีพีอยู่ที่ 4% แต่หากจีดีพีลดลงเหลือ 3% สินเชื่อก็จะขยายตัวลดเหลือ 5% เท่านั้น
ทั้งนี้การปล่ออยกู้ให้โครงการรัฐต่อปีจะอยู่ที่ประมาณ 20% นั้นปีนี้อาจจะไม่ถึง เพราะวงเงินที่เตรียมจะปล่อยกู้ให้โครงการน้ำ 3-4 หมื่นล้านก็อาจไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทันในปีนี้หรือหากเบิกได้ก็อาจใช้ไม่มากนัก จากปีก่อนที่ตั้งไว้ 1 หมื่นล้านบาทก็ไม่ได้ใช้เช่นกัน ทำให้ออมสินอาจต้องหันไปปล่อยกู้ส่วนอื่นทดแทน โดยเฉพาะการปล่อยกู้ประชาชนทั่วไป ทั้งพ่อค้าแม่ค้า สินเชื่อบ้านหรือสินเชื่อเอสเอ็มอี รวมถึงการปล่อยกู้ในตลาดเงินหรืออินเตอร์แบงก์ เพื่อบริหารต้นทุนให้สอดคล้องกับเงินฝากที่ปีนี้ตั้งเป้าระดมเข้ามาใกล้เคียงกับการปล่อยสินเชื่อหรือขยายตัว 6% ซึ่งลดลงจากปีก่อนที่มีเงินฝากเข้ามาแสนกว่าล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 10% โดยมองว่าปีนี้สถบันการเงินจะลดการแข่งขันการระดมเงินฝากลง จะเห็นได้จากเดือนมกราคมที่ผ่านมามีการออกแคมเปญเงินฝากใหม่ๆออกมาค่อนข้างน้อย ขณะที่ผลการดำเนินงานปีก่อนธนาคารมีเงินฝากทั้งสิ้น 1.87 ล้านล้านบาท มีสินเชื่อรวม 1.17 ล้านล้านบาท มีสินทรัพย์รวมอยู่ที่ 2.17 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.1แสนล้านบาท ขณะที่หนี้เสียหรือเอ็นพีแอลอยู่ที่ 1.14% ลดลงจากที่เคยอยู่ในระดับ 1.3% ส่งผลให้ธนาคารมีกำไรปีก่อนที่ 2.2 หมื่นล้านบาท
"ขณะนี้ยังคงเป้าการขยายตัวขอสินเชื่อไว้ 6% ตามเดิม แต่หลังจากผ่านไป 2-3 ไตรมาสแล้วตัวเลขยังไม่ดีขึ้นก็คงต้องมาทบทวนตัวเลขและปรับแผนกันใหม่ ซึ่งทางคณะกรรมการของธนาคารเองก็มีความเข้าใจดี และไม่เน้นให้ฝ่ายบริการเร่งเพิ่มที่ปริมาณแต่ให้เน้นที่การเพิ่มด้านคุณภาพของสินเชื่อแทน นอกจากนั้นในปีหน้าจากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัวซึ่งอาจกระทบต่อการจัดชั้นมากขึ้น ทำให้ธนาคารจะมีการตั้งสำรองส่วนของหนี้ตกชั้นให้ครอบคลุมมากขึ้น จึงอาจส่งผลให้กำไรในปีนี้ลดลงบ้าง จากที่ปีก่อนกำไรจริงๆ จะอยู่ที่ 2.4 หมื่นล้านบาท แต่เป็นการเตรียมไว้สำหรับการเพิ่มทุนให้ไอแบงก์อีกประมาณ 2 พันล้านบาท"นายวรวิทย์กล่าวและว่า การปล่อยกู้ให้โครงการของรัฐเป็นบทบาทของธนาคารออมสินที่ดำเนินการมานาน และเห็นว่าไม่ได้มีปัญหาเรื่องของความเสี่ยง แต่มีอัตราดอกเบี้ยน้อยเมื่อเทียบกับการปล่อยกู้ส่วนอื่น แต่มีผลดีตรงไม่ต้องนำมาคำนวณในเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงหรือบีไอเอสเรโชเพราะความเสี่ยงเป็นศูนย์ จึงเป็นพันธกิจที่ออมสินคงต้องดำเนินการปล่อยกู้ให้รัฐบาลต่อไป เพียงแต่ในช่วงนี้อาจต้องพิจารณาความเหมาะสมหากจะเข้าไปปล่อยกู้ในโครงการจำนำข้าวเพราะมีเรื่องของความเชื่อมั่นเข้ามาเป็นตัวแปรสำคัญและยังถูกคัดค้านจากพนักงานด้วย.
นายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า การดำเนินงานในปีนี้ ธนาคารคงต้องปรับเปลี่ยนแผนการปล่อยสินเชื่อใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและความเหมาะสม โดยเฉพาะการเตรียมวงเงินไว้ปล่อยกู้ให้รัฐบาลผ่านโครงการลงทุนขนาดใหญ่ทั้งการบริหารจัดการน้ำและการลงทุนโครงกสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาทชะลอออกไปยังไม่มีกำหนดการใช้เงินที่ชัดเจน รวมถึงการปล่อยกู้ในโครงการซอฟโลนด์ของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้วงเงิน 2 หมื่นล้านบาทนั้นทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังไม่ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบทำให้การปล่อยกู้ส่วนนี้ก็ต้องระงับไว้ก่อน ซึ่งจากเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อปีนี้อยู่ที่ 8-9 หมื่นล้านบาท ใกล้เคียงกับปีก่อนหรือขยายตัว 6% หากจีดีพีอยู่ที่ 4% แต่หากจีดีพีลดลงเหลือ 3% สินเชื่อก็จะขยายตัวลดเหลือ 5% เท่านั้น
ทั้งนี้การปล่ออยกู้ให้โครงการรัฐต่อปีจะอยู่ที่ประมาณ 20% นั้นปีนี้อาจจะไม่ถึง เพราะวงเงินที่เตรียมจะปล่อยกู้ให้โครงการน้ำ 3-4 หมื่นล้านก็อาจไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทันในปีนี้หรือหากเบิกได้ก็อาจใช้ไม่มากนัก จากปีก่อนที่ตั้งไว้ 1 หมื่นล้านบาทก็ไม่ได้ใช้เช่นกัน ทำให้ออมสินอาจต้องหันไปปล่อยกู้ส่วนอื่นทดแทน โดยเฉพาะการปล่อยกู้ประชาชนทั่วไป ทั้งพ่อค้าแม่ค้า สินเชื่อบ้านหรือสินเชื่อเอสเอ็มอี รวมถึงการปล่อยกู้ในตลาดเงินหรืออินเตอร์แบงก์ เพื่อบริหารต้นทุนให้สอดคล้องกับเงินฝากที่ปีนี้ตั้งเป้าระดมเข้ามาใกล้เคียงกับการปล่อยสินเชื่อหรือขยายตัว 6% ซึ่งลดลงจากปีก่อนที่มีเงินฝากเข้ามาแสนกว่าล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 10% โดยมองว่าปีนี้สถบันการเงินจะลดการแข่งขันการระดมเงินฝากลง จะเห็นได้จากเดือนมกราคมที่ผ่านมามีการออกแคมเปญเงินฝากใหม่ๆออกมาค่อนข้างน้อย ขณะที่ผลการดำเนินงานปีก่อนธนาคารมีเงินฝากทั้งสิ้น 1.87 ล้านล้านบาท มีสินเชื่อรวม 1.17 ล้านล้านบาท มีสินทรัพย์รวมอยู่ที่ 2.17 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.1แสนล้านบาท ขณะที่หนี้เสียหรือเอ็นพีแอลอยู่ที่ 1.14% ลดลงจากที่เคยอยู่ในระดับ 1.3% ส่งผลให้ธนาคารมีกำไรปีก่อนที่ 2.2 หมื่นล้านบาท
"ขณะนี้ยังคงเป้าการขยายตัวขอสินเชื่อไว้ 6% ตามเดิม แต่หลังจากผ่านไป 2-3 ไตรมาสแล้วตัวเลขยังไม่ดีขึ้นก็คงต้องมาทบทวนตัวเลขและปรับแผนกันใหม่ ซึ่งทางคณะกรรมการของธนาคารเองก็มีความเข้าใจดี และไม่เน้นให้ฝ่ายบริการเร่งเพิ่มที่ปริมาณแต่ให้เน้นที่การเพิ่มด้านคุณภาพของสินเชื่อแทน นอกจากนั้นในปีหน้าจากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัวซึ่งอาจกระทบต่อการจัดชั้นมากขึ้น ทำให้ธนาคารจะมีการตั้งสำรองส่วนของหนี้ตกชั้นให้ครอบคลุมมากขึ้น จึงอาจส่งผลให้กำไรในปีนี้ลดลงบ้าง จากที่ปีก่อนกำไรจริงๆ จะอยู่ที่ 2.4 หมื่นล้านบาท แต่เป็นการเตรียมไว้สำหรับการเพิ่มทุนให้ไอแบงก์อีกประมาณ 2 พันล้านบาท"นายวรวิทย์กล่าวและว่า การปล่อยกู้ให้โครงการของรัฐเป็นบทบาทของธนาคารออมสินที่ดำเนินการมานาน และเห็นว่าไม่ได้มีปัญหาเรื่องของความเสี่ยง แต่มีอัตราดอกเบี้ยน้อยเมื่อเทียบกับการปล่อยกู้ส่วนอื่น แต่มีผลดีตรงไม่ต้องนำมาคำนวณในเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงหรือบีไอเอสเรโชเพราะความเสี่ยงเป็นศูนย์ จึงเป็นพันธกิจที่ออมสินคงต้องดำเนินการปล่อยกู้ให้รัฐบาลต่อไป เพียงแต่ในช่วงนี้อาจต้องพิจารณาความเหมาะสมหากจะเข้าไปปล่อยกู้ในโครงการจำนำข้าวเพราะมีเรื่องของความเชื่อมั่นเข้ามาเป็นตัวแปรสำคัญและยังถูกคัดค้านจากพนักงานด้วย.