นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยืนยันต้องเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ.ให้ได้ว่า ความจริงแล้ว กกต. ต้องเสนอให้ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรว่า จะเลือกตั้งใหม่ แต่หากรัฐบาลยังคงเดินหน้าเลือกตั้งต่อไป ทั้งที่ กกต.มีความเห็นให้เลื่อน จนทำให้เกิดเหตุการณ์ปะทะ จนทำให้เกิดการสูญเสีย ก็จะมีคนฟ้องแพ่งและอาญา ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทั้งคณะ ซึ่งตนจะเป็นผู้ฟ้องแพ่งเอง โดยเรียกค่าเสียหายงบ ประมาณที่ใช้จัดการเลือกตั้งกว่า 3,800 ล้านบาท เฉลี่ยแล้วครม. ต้องจ่ายค่าเสียหายคนละ 100 กว่าล้านบาท
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ข้อเสนอของกกต. ที่ให้กำหนดเลือกตั้งใหม่ 4-5 เดือนนั้น ทุกคนก็เห็นด้วยที่ไม่อยากให้มีการเลือกตั้งช่วงนี้ เพราะหากเลือกตั้งไปก็ได้ผู้แทนไม่ครบ เปิดสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้ และเมื่อเลื่อนเลือกตั้งไปแล้ว ก็สามารถทำการปฏิรูปบางเรื่องที่สามารถทำได้ก่อน ภายในระยะเวลาก่อนการเลือกตั้ง เช่น การทำให้การเลือกตั้งโปร่งใส สุจริต และเป็นธรรม ส่วนเรื่องใดที่ต้องรับฟังความคิดเห็นประชาชน อาทิ ปฏิรูปโครงสร้างตำรวจ หรือการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ต้องแก้ไขกฎหมาย และใช้ระยะเวลานาน ก็ต้องให้พรรคการเมืองลงสัตยาบันว่า จะปฏิรูปเรื่องเหล่านี้หลังการเลือกตั้งพร้อมกำหนดระยะเวลาให้ชัดเจน อาจจะ 1 ปี ต้องปฏิรูปให้เสร็จ และจะเสนอกฎหมายใหม่กี่เดือน เนื่องจากการปฏิรูปก็ต้องทำก่อนและหลังเลือกตั้ง การปฏิรูปจึงสมบูรณ์
อย่างไรก็ตาม หากมีการเลื่อนเลือกตั้งตามที่ กกต. เสนอและให้กกต.เป็นคนกลางในการปฏิรูปกติกา พรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไม่ลงเลือกตั้ง เพราะหากไม่ลงเลือกตั้งติดต่อกัน 2 ครั้ง พรรคประชาธิปัตย์ ก็จะถูกยุบพรรคได้
**เลือกตั้งแก้ปัญหาความขัดแย้งไม่ได้
นายถาวร จันทร์สม อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร) ปี 2540 จ.บุรีรัมย์ ได้ออกมาแสดงความเห็น กรณีที่รัฐบาล และกกต. ยังจะเดินหน้าจัดการเลือกตั้ง ส.ส. ที่จะมีขึ้นในวันที่ 2 ก.พ.นี้ ว่า การเลือกตั้งท่ามกลางภาวะวิกฤต จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้นในบ้านเมืองได้ แต่กลับจะยิ่งเพิ่มทวีความรุนแรงขึ้นไปอีก เพราะยังมีการประท้วงคัดค้านอยู่
ดังนั้น กกต.และรัฐบาล ควรจะทบทวน เพื่อพิจารณาเลื่อนการเลือกตั้งออกไปสักระยะ แล้วกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ เพื่อลดกระแสความขัดแย้งที่มีแนวโน้มจะเพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆให้สงบลงก่อน ถึงแม้จะมีการเลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้ว ก็อาจจะเป็นโมฆะได้ เนื่องจากกระบวนการที่ผ่านมา ไม่ถูกต้องตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฏหมายเลือกตั้งอยู่หลายประการ เช่น ผู้สมัคร 28 เขต ที่ไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้ อีกทั้งหลังเลือกตั้งก็จะไม่สามารถเปิดสภาได้ เพราะ ส.ส.ไม่ครบตามจำนวน 275 คน หรือ 95 เปอร์เซ็นต์ของจำนวน ส.ส. ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ซึ่งจะส่งผลเสียหายทำให้รัฐสูญเสียงบประมาณกว่า 3,800 ล้านบาท โดยเปล่าประโยชน์
นายถาวร กล่าวว่า หากรัฐบาลเห็นแก่ประเทศชาติบ้านเมือง ควรจะพิจารณาเลื่อนการเลือกตั้งออกไป อย่างน้อย 6 เดือน หรือ 1 ปี หรือเสียสละลาออกจากตำแหน่ง เพื่อลดกระแสความขัดแย้ง เพราะหากรัฐบาลยังดึงดันที่จะจัดการเลือกตั้งต่อไป อาจจะส่งผลให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงบายปลายมากขึ้นไปอีกและอาจจะทำให้เกิดการสูญเสียทั้งสองฝ่าย หากเป็นเช่นนั้นก็อาจจะนำไปสู่การปฏิวัติรัฐประหารได้ หลายฝ่ายก็ไม่อยากให้เป็นเช่นนั้นอยู่แล้ว จึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลได้ทบทวนกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ เพื่อเห็นแก่ประเทศชาติบ้านเมือง ไม่ให้บอบช้ำไปมากกว่านี้
** 3 ผอ.เขตเลือกตั้งในกทม.ยื่นลาออก
เวลา 10.30 น. วานนี้ (29 ม.ค.) ที่ศาลาว่าการ กทม. นางนินนาท ชลิตานนท์ ปลัดกทม. กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ตามที่มีผู้อำนวยการเขตได้เข้าพบ เพื่อหารือถึงการลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง และกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งของตน และผู้ใต้บังคับบัญชา เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบในบ้านเมือง และได้รับความกดดันในการปฏิบัติหน้าที่ในวันเลือกตั้งล่วงหน้า วันที่ 26 ม.ค.ที่ผ่านมา ประกอบกับได้รับการข่มขู่ว่า จะทำการฟ้องร้องฐานละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 157 และเกรงว่าจะไม่ได้รับความปลอดภัยจากการปฏิบัติหน้าที่จัดการเลือกตั้ง ส.ส.ในวันอาทิตย์ที่ 2 ก.พ. แต่ทาง กทม.ได้แนะนำให้พิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจ หากยังยืนยันจะลาออก ก็ถือเป็นสิทธิส่วนตัวที่สามารถทำได้
นางนินนาท กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ เบื้องต้นรับทราบข้อมูลว่า ขณะนี้มีผู้อำนวยการเขต จำนวน 3 เขต ได้แก่ บางกะปิ บางคอแหลม และยานนาวา ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการปฏิบัติหน้าที่ต่อคณะกรรมการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร (กกต.กทม.) แล้ว แต่ตนยังไม่เห็นหนังสือดังกล่าว เพราะการยื่นหนังสือลาออก จะยื่นต่อกกต.กทม. โดยตรง ไม่ต้องยื่นผ่านกทม. อย่างไรก็ตาม หาก กกต.กทม. อนุญาตให้ลาออก และสรรหาคนมาทำหน้าที่แทนได้ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อ
การเลือกตั้งยังสามารถจัดการเลือกตั้งได้ตามปกติ
"นอกจากนี้กทม.ได้ทำหนังสือถึงศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) หารือถึงมาตรการและแผนการคุ้มครองและดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานประจำหน่วยเลือกตั้ง และประชาชนที่มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งได้ขอให้ศรส. ตอบกลับมายังกทม.ภายในวันที่ 30 ม.ค." นางนินนาท กล่าว
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ข้อเสนอของกกต. ที่ให้กำหนดเลือกตั้งใหม่ 4-5 เดือนนั้น ทุกคนก็เห็นด้วยที่ไม่อยากให้มีการเลือกตั้งช่วงนี้ เพราะหากเลือกตั้งไปก็ได้ผู้แทนไม่ครบ เปิดสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้ และเมื่อเลื่อนเลือกตั้งไปแล้ว ก็สามารถทำการปฏิรูปบางเรื่องที่สามารถทำได้ก่อน ภายในระยะเวลาก่อนการเลือกตั้ง เช่น การทำให้การเลือกตั้งโปร่งใส สุจริต และเป็นธรรม ส่วนเรื่องใดที่ต้องรับฟังความคิดเห็นประชาชน อาทิ ปฏิรูปโครงสร้างตำรวจ หรือการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ต้องแก้ไขกฎหมาย และใช้ระยะเวลานาน ก็ต้องให้พรรคการเมืองลงสัตยาบันว่า จะปฏิรูปเรื่องเหล่านี้หลังการเลือกตั้งพร้อมกำหนดระยะเวลาให้ชัดเจน อาจจะ 1 ปี ต้องปฏิรูปให้เสร็จ และจะเสนอกฎหมายใหม่กี่เดือน เนื่องจากการปฏิรูปก็ต้องทำก่อนและหลังเลือกตั้ง การปฏิรูปจึงสมบูรณ์
อย่างไรก็ตาม หากมีการเลื่อนเลือกตั้งตามที่ กกต. เสนอและให้กกต.เป็นคนกลางในการปฏิรูปกติกา พรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไม่ลงเลือกตั้ง เพราะหากไม่ลงเลือกตั้งติดต่อกัน 2 ครั้ง พรรคประชาธิปัตย์ ก็จะถูกยุบพรรคได้
**เลือกตั้งแก้ปัญหาความขัดแย้งไม่ได้
นายถาวร จันทร์สม อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร) ปี 2540 จ.บุรีรัมย์ ได้ออกมาแสดงความเห็น กรณีที่รัฐบาล และกกต. ยังจะเดินหน้าจัดการเลือกตั้ง ส.ส. ที่จะมีขึ้นในวันที่ 2 ก.พ.นี้ ว่า การเลือกตั้งท่ามกลางภาวะวิกฤต จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้นในบ้านเมืองได้ แต่กลับจะยิ่งเพิ่มทวีความรุนแรงขึ้นไปอีก เพราะยังมีการประท้วงคัดค้านอยู่
ดังนั้น กกต.และรัฐบาล ควรจะทบทวน เพื่อพิจารณาเลื่อนการเลือกตั้งออกไปสักระยะ แล้วกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ เพื่อลดกระแสความขัดแย้งที่มีแนวโน้มจะเพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆให้สงบลงก่อน ถึงแม้จะมีการเลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้ว ก็อาจจะเป็นโมฆะได้ เนื่องจากกระบวนการที่ผ่านมา ไม่ถูกต้องตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฏหมายเลือกตั้งอยู่หลายประการ เช่น ผู้สมัคร 28 เขต ที่ไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้ อีกทั้งหลังเลือกตั้งก็จะไม่สามารถเปิดสภาได้ เพราะ ส.ส.ไม่ครบตามจำนวน 275 คน หรือ 95 เปอร์เซ็นต์ของจำนวน ส.ส. ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ซึ่งจะส่งผลเสียหายทำให้รัฐสูญเสียงบประมาณกว่า 3,800 ล้านบาท โดยเปล่าประโยชน์
นายถาวร กล่าวว่า หากรัฐบาลเห็นแก่ประเทศชาติบ้านเมือง ควรจะพิจารณาเลื่อนการเลือกตั้งออกไป อย่างน้อย 6 เดือน หรือ 1 ปี หรือเสียสละลาออกจากตำแหน่ง เพื่อลดกระแสความขัดแย้ง เพราะหากรัฐบาลยังดึงดันที่จะจัดการเลือกตั้งต่อไป อาจจะส่งผลให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงบายปลายมากขึ้นไปอีกและอาจจะทำให้เกิดการสูญเสียทั้งสองฝ่าย หากเป็นเช่นนั้นก็อาจจะนำไปสู่การปฏิวัติรัฐประหารได้ หลายฝ่ายก็ไม่อยากให้เป็นเช่นนั้นอยู่แล้ว จึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลได้ทบทวนกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ เพื่อเห็นแก่ประเทศชาติบ้านเมือง ไม่ให้บอบช้ำไปมากกว่านี้
** 3 ผอ.เขตเลือกตั้งในกทม.ยื่นลาออก
เวลา 10.30 น. วานนี้ (29 ม.ค.) ที่ศาลาว่าการ กทม. นางนินนาท ชลิตานนท์ ปลัดกทม. กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ตามที่มีผู้อำนวยการเขตได้เข้าพบ เพื่อหารือถึงการลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง และกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งของตน และผู้ใต้บังคับบัญชา เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบในบ้านเมือง และได้รับความกดดันในการปฏิบัติหน้าที่ในวันเลือกตั้งล่วงหน้า วันที่ 26 ม.ค.ที่ผ่านมา ประกอบกับได้รับการข่มขู่ว่า จะทำการฟ้องร้องฐานละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 157 และเกรงว่าจะไม่ได้รับความปลอดภัยจากการปฏิบัติหน้าที่จัดการเลือกตั้ง ส.ส.ในวันอาทิตย์ที่ 2 ก.พ. แต่ทาง กทม.ได้แนะนำให้พิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจ หากยังยืนยันจะลาออก ก็ถือเป็นสิทธิส่วนตัวที่สามารถทำได้
นางนินนาท กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ เบื้องต้นรับทราบข้อมูลว่า ขณะนี้มีผู้อำนวยการเขต จำนวน 3 เขต ได้แก่ บางกะปิ บางคอแหลม และยานนาวา ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการปฏิบัติหน้าที่ต่อคณะกรรมการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร (กกต.กทม.) แล้ว แต่ตนยังไม่เห็นหนังสือดังกล่าว เพราะการยื่นหนังสือลาออก จะยื่นต่อกกต.กทม. โดยตรง ไม่ต้องยื่นผ่านกทม. อย่างไรก็ตาม หาก กกต.กทม. อนุญาตให้ลาออก และสรรหาคนมาทำหน้าที่แทนได้ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อ
การเลือกตั้งยังสามารถจัดการเลือกตั้งได้ตามปกติ
"นอกจากนี้กทม.ได้ทำหนังสือถึงศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) หารือถึงมาตรการและแผนการคุ้มครองและดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานประจำหน่วยเลือกตั้ง และประชาชนที่มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งได้ขอให้ศรส. ตอบกลับมายังกทม.ภายในวันที่ 30 ม.ค." นางนินนาท กล่าว