ASTVผู้จัดการรายวัน-หอการค้าไทยเผยรัฐบาลประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กระทบภาพลักษณ์ประเทศในสายตาต่างชาติ ภาคท่องเที่ยวลดลงทันที ระยะต่อไปกระทบภาคการลงทุน คาดเศรษฐกิจไทยปีนี้อย่างเก่งโต 3-4% พร้อมประกาศยุติบทบาท 7 องค์กรภาคเอกชนชั่วคราว หลังเสนอปฏิรูปประเทศ แต่ไม่มีใครสนใจ ส่งหนังสือถามสมาชิก 5 พันราย ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจและการเมืองอย่างไรต้องการความช่วยเหลืออะไร
นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ยังไม่สามารถประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นเวลา 60 วัน ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลได้ เพราะเพิ่งเริ่มบังคับใช้ พ.ร.ก.เป็นวันแรก แต่ในระยะสั้นมีผลกระทบแน่ ทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตาต่างชาติแย่ลง กระทบกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้ามาในไทยลดลง เพราะขณะนี้สถานทูตต่างๆ เริ่มออกคำเตือนนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมายังประเทศไทยมากขึ้น ส่วนในระยะยาวจะมีผลกระทบต่อการลงทุนใหม่ๆ ที่จะเข้ามาอย่างแน่นอน
ส่วนผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง พบว่า ได้สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจวันละ 500-700 ล้านบาท และยังกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว และการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน โดยหอการค้าไทยประเมินว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัวได้เพียง 3-4% จากเดิมคาดว่าจะขยายตัว 4-5% ซึ่งแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักๆ จะมาจากภาคการส่งออกที่คาดว่าจะขยายตัวได้ 3-4% ขณะที่การลงทุนภาครัฐได้ชะลอตัวมาตั้งแต่รัฐบาลประกาศยุบสภา
นายอิสระกล่าวว่า ขณะนี้ภาคเอกชนในนามของ 7 องค์กรภาคเอกชนจะขอยุติบทบาทชั่วคราวในการทำหน้าที่เป็นคนกลางที่จะประสานงานระหว่ารัฐบาล, กลุ่ม กปปส. และภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดตั้งเวทีปฏิรูปประเทศ เนื่องจากมองว่าข้อเสนอของภาคเอกชนที่ผ่านมา ไม่ได้รับการตอบรับเท่าที่ควรจากรัฐบาล ดังนั้น ภาคเอกชนจึงขอกลับมาทำบทบาทอย่างเต็มที่ในเรื่องของการดูแลเศรษฐกิจและภาคธุรกิจแทน และหวังว่าคู่ขัดแย้งทั้ง 2 ฝ่าย จะได้หันหน้ามาเจรจากัน ซึ่งน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด
"7องค์กรภาคเอกชนต้องยุติบทบาทการเปิดเวทีกลาง เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องแสดงความคิดเห็นปฏิรูปประเทศ เพราะเห็นว่า เราช่วยอะไรไม่ได้มาก และข้อเสนอที่เราเสนอไป ฝ่ายการเมืองรับฟังเพียงบางส่วน เราจึงหันมาทำบทบาทของเราด้านเศรษฐกิจดีกว่า เพราะขณะนี้ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (SMEs) กำลังได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมือง และเศรษฐกิจโลก”นายอิสระกล่าว
นายอิสระกล่าวว่า ได้ส่งหนังสือสอบถามไปยังสมาชิกหอการค้าไทยทั่วประเทศ 4,000-5,000 ราย เกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจและความขัดแย้งทางการเมือง เพราะทราบว่าผู้ประกอบการ SMEs หลายราย เริ่มมีปัญหาขาดแคลนสภาพคล่อง และยอดขายลดลง ซึ่งหากได้ข้อมูลปัญหาทั้งหมดแล้ว ก็จะนำไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหามาตรการช่วยเหลือโดยเร็ว
ทั้งนี้ ยังได้เสนอให้ผู้ประกอบการช่วยเหลือตัวเองให้มากขึ้น เพราะสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ รัฐบาลคงช่วยอะไรไม่ได้มาก โดยจะต้องเร่งสร้างศักยภาพการแข่งขัน ซึ่งในส่วนของหอการค้าไทยจะขอความร่วมมือให้สมาชิกที่เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ให้ความช่วยเหลือรายกลางรายเล็กให้มากขึ้น ทั้งด้านการทำธุรกิจและการหาคู่ค้า
นายกลินท์ สารสิน กรรมการเลขาธิการหอการค้าไทย กล่าวว่า ปัญหาหลักๆ ที่ผู้ประกอบการ SMEs ต้องการให้ช่วยเหลือก็คือ เรื่องของการขาดแคลนสภาพคล่อง เรื่องของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) และการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินที่ยากลำบาก ซึ่งทางหอการค้าไทยจะเร่งหารือกับสมาคมธนาคารไทยในการช่วยเหลือให้ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินกู้ต่อไป
//////
นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ยังไม่สามารถประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นเวลา 60 วัน ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลได้ เพราะเพิ่งเริ่มบังคับใช้ พ.ร.ก.เป็นวันแรก แต่ในระยะสั้นมีผลกระทบแน่ ทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตาต่างชาติแย่ลง กระทบกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้ามาในไทยลดลง เพราะขณะนี้สถานทูตต่างๆ เริ่มออกคำเตือนนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมายังประเทศไทยมากขึ้น ส่วนในระยะยาวจะมีผลกระทบต่อการลงทุนใหม่ๆ ที่จะเข้ามาอย่างแน่นอน
ส่วนผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง พบว่า ได้สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจวันละ 500-700 ล้านบาท และยังกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว และการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน โดยหอการค้าไทยประเมินว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัวได้เพียง 3-4% จากเดิมคาดว่าจะขยายตัว 4-5% ซึ่งแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักๆ จะมาจากภาคการส่งออกที่คาดว่าจะขยายตัวได้ 3-4% ขณะที่การลงทุนภาครัฐได้ชะลอตัวมาตั้งแต่รัฐบาลประกาศยุบสภา
นายอิสระกล่าวว่า ขณะนี้ภาคเอกชนในนามของ 7 องค์กรภาคเอกชนจะขอยุติบทบาทชั่วคราวในการทำหน้าที่เป็นคนกลางที่จะประสานงานระหว่ารัฐบาล, กลุ่ม กปปส. และภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดตั้งเวทีปฏิรูปประเทศ เนื่องจากมองว่าข้อเสนอของภาคเอกชนที่ผ่านมา ไม่ได้รับการตอบรับเท่าที่ควรจากรัฐบาล ดังนั้น ภาคเอกชนจึงขอกลับมาทำบทบาทอย่างเต็มที่ในเรื่องของการดูแลเศรษฐกิจและภาคธุรกิจแทน และหวังว่าคู่ขัดแย้งทั้ง 2 ฝ่าย จะได้หันหน้ามาเจรจากัน ซึ่งน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด
"7องค์กรภาคเอกชนต้องยุติบทบาทการเปิดเวทีกลาง เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องแสดงความคิดเห็นปฏิรูปประเทศ เพราะเห็นว่า เราช่วยอะไรไม่ได้มาก และข้อเสนอที่เราเสนอไป ฝ่ายการเมืองรับฟังเพียงบางส่วน เราจึงหันมาทำบทบาทของเราด้านเศรษฐกิจดีกว่า เพราะขณะนี้ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (SMEs) กำลังได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมือง และเศรษฐกิจโลก”นายอิสระกล่าว
นายอิสระกล่าวว่า ได้ส่งหนังสือสอบถามไปยังสมาชิกหอการค้าไทยทั่วประเทศ 4,000-5,000 ราย เกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจและความขัดแย้งทางการเมือง เพราะทราบว่าผู้ประกอบการ SMEs หลายราย เริ่มมีปัญหาขาดแคลนสภาพคล่อง และยอดขายลดลง ซึ่งหากได้ข้อมูลปัญหาทั้งหมดแล้ว ก็จะนำไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหามาตรการช่วยเหลือโดยเร็ว
ทั้งนี้ ยังได้เสนอให้ผู้ประกอบการช่วยเหลือตัวเองให้มากขึ้น เพราะสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ รัฐบาลคงช่วยอะไรไม่ได้มาก โดยจะต้องเร่งสร้างศักยภาพการแข่งขัน ซึ่งในส่วนของหอการค้าไทยจะขอความร่วมมือให้สมาชิกที่เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ให้ความช่วยเหลือรายกลางรายเล็กให้มากขึ้น ทั้งด้านการทำธุรกิจและการหาคู่ค้า
นายกลินท์ สารสิน กรรมการเลขาธิการหอการค้าไทย กล่าวว่า ปัญหาหลักๆ ที่ผู้ประกอบการ SMEs ต้องการให้ช่วยเหลือก็คือ เรื่องของการขาดแคลนสภาพคล่อง เรื่องของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) และการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินที่ยากลำบาก ซึ่งทางหอการค้าไทยจะเร่งหารือกับสมาคมธนาคารไทยในการช่วยเหลือให้ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินกู้ต่อไป
//////