เมื่อเวลา 13.30 น. วานนี้ (16ม.ค.) ที่กองบัญชาการกองทัพอากาศ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมการปฏิรูปประเทศไทย รวมกับผู้แทนภาคเอกชน 12 องค์กร ตัวแทนวิชาการ ภาคประชาชน พร้อมด้วย นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และรมว.คลัง นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกฯ และรมว.พาณิชย์ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกฯ นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรมช.เกษตรฯ พร้อมด้วย นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ นายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี รวมถึง 7 องค์กรภาคธุรกิจ เช่น สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สภาธุรกิจตลาดทุนไทย และสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย และ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เข้าร่วมการประชุม
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวเปิดประชุมว่า วันนี้จะเป็นการหารือถึงข้อเสนอการปฏิรูปประเทศ ที่สังคมเห็นพ้องให้เริ่มต้นปฏิรูปได้แล้ว เพราะมีหลายภาคส่วนที่เสนอแนวทางปฏิรูป จึงต้องนำมารวบรวมให้เป็นแผนปฏิรูปเดียวกัน ให้สามารถปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม และต้องมีกลไกเชื่อมโยงสู่ฝ่ายปฏิบัติ โดยรัฐบาลไม่ขอเป็นฝ่ายเสนอแนวคิด แต่จะทำหน้าที่รับฟังและรวบรวมข้อเสนอทั้งหมด เพื่อให้เป็นเวทีกลางของประเทศอย่างแท้จริง เบื้องต้นรัฐบาลวางแนวทางปฏิรูปไว้ 3 ส่วน คือ การวางแผนขั้นตอนปฏิบัติ ,โครงสร้างคณะทำงานการปฏิรูป, การกำหนดสาระสำคัญของการปฏิรูป ซึ่งแบ่งเป็นระยะเร่งด่วน และระยะยาว
**หอการค้าให้ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง
นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และหอการค้าไทย กล่าวว่า ผลสรุปจากการเปิดเวทีกลางของภาคเอกชน 7 องค์กรภาคเอกชนร่วมกับองค์กรเครือข่ายอีก18 แห่ง อาทิ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน สถาบันพระปกเกล้า ศูนย์พัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีข้อเสนอ 4 ประเด็น คือ
1. จัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปประเทศในช่วงก่อนการเลือกตั้ง มีสถานะทางกฎหมายรองรับที่ชัดเจน เพื่อสร้างหลักประกันของทำงานได้ต่อเนื่อง
2. การทำความตกลงร่วมพรรคการเมืองในการปฏิรูป
3.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ เนื่องจากเห็นว่า การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 2 ก.พ. จะมีอุปสรรคพอสมควร
4.ปรับรูปแบบของรัฐบาลรักษาการ ในช่วงก่อนการเลือกตั้ง นายกฯ ต้องลากิจไม่ปฏิบัติหน้าที่รักษาการ และเสนอให้มีรัฐบาลผสมหลายพรรคเป็นรูปแบบ "รัฐบาลปรองดองแห่งชาติ" ซึ่งตั้งขึ้นตามกรอบรัฐธรรมนูญ เพื่อทำภารกิจปฏิรูป มีอายุ 1 ปี
ขณะที่นายวิชัย อัศรัสกร รองประธานสภาหอการค้าฯ ในฐานะประธานคณะทำงาน 7 องค์กรภาคเอกชน กล่าวว่า องค์กรภาคเอกชนมีความเห็นตรงกันเสนอให้จัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปประเทศโดยตรง ที่มีกฏหมายรองรับ ทำหน้าที่เสนอยุทธศาสตร์การปฏิรูป และต้องทำงานเชื่อมโยงกับฝ่ายต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ส่วนกรอบแนวทางการปฏิรูป มุ่งเน้นปฏิรูปการเมือง ระบบราชการ การปกครอง การขจัดคอร์รัปชัน ลดความเหลื่อมล้ำ และพัฒนาระบบเศรษฐกิจ พร้อมเสนอให้เลื่อนการเลือกตั้งจากวันที่ 2 ก.พ. ออกไปก่อน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาและความรุนแรง
**"ธีรภัทร" แนะนายกฯออก-กปปส.หยุด
ขณะที่นายธีรภัทร เสรีสังสรรค์ ประธานสภาพัฒนาการเมือง กล่าวว่า ก่อนหน้านี้เคยพูดไว้ ถ้าเวทีปฏิรูปของรัฐบาล ที่ดำเนินการก่อหน้านี้ ถ้าไม่มีอะไรออกไปภายใน 3 เดือนก็จะล้มเหลว วันนี้ประเด็นสำคัญในการที่จะแก้วิกฤติการเมือง ในส่วนของสภาพัฒนาการเมือง ได้ระดมรวบรวมความคิดเห็น ตั้งแต่เมื่อวันที่ 8 ม.ค. และได้ส่งให้นายกรัฐมนตรีไปเมื่อวันที่ 10 ม.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งแนวทางแก้ไขปญหาขณะนี้ ควรมีการเจรจาพูดคุยหาทางออกโดยเฉพาะฝ่ายที่มีความขัดแย้งกัน รัฐบาลกับ กปปส.โดยหาคนกลางที่คนส่วนใหญ่ยอมรับมาทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย ประณีประนอม และต้องเข้าใจความขัดแย้งดังกล่าว ไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างพรรคการเมืองหรือระหว่างกลุ่มฝ่าย แต่เป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐ กับประชาชน ไม่เช่นนั้นคงไม่เห็นประชาชนออกมาเป็นจำนวนนับล้านๆ คน ฉะนั้นอย่ามองเป็นความขัดแย้งระหว่างเสื้อสี หรือฝ่ายหนึ่งกับฝ่ายหนึ่ง หรือรัฐบาลกับฝ่ายค้าน ถ้าเข้าใจแบบนั้นการ แก้ปัญหาก็จะทำไม่ได้
ส่วนการเลือกตั้งใน วันที่ 2 ก.พ.นี้ ที่ประชุมสภาพัฒนาการเมืองเห็นว่า ไม่น่าจะเป็นหนทางในการแกปัญหา ซึ่ง ตนคงไม่ต้องพูดถึงปัญหาเพราะคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ชี้ประเด็นต่างๆ มาพอสมควรแล้ว โดยสรุปที่ประชุมเสนอให้มีการเลื่อนการเลือกตั้งออกไปก่อน และในฐานะที่นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้ารัฐบาลต้องเข้าใจ รัฐบาลมีหน้าที่ในการแก้ไขปัญหา จะเป็นปัญหาที่รัฐบาลก่อหรือไม่ก็ตาม แต่รัฐบาลมีหน้าที่แก้ไขปัญหา และถ้าแก้ไขปัญหาไม่ได้ ก็หมดความชอบธรรมอันนี้ต้องเข้าใจ อย่าไปคิดว่าปัญหาเกิดจากฝ่ายตรงข้ามสร้างขึ้น ฝ่ายโน้นฝ่ายนี้สร้าง แต่เมื่อเราสวมหมวกรัฐบาลถ้าแก้ปัญหาไม่ได้ เราก็ไม่ควรจะไปดื้อดึง หรือทำให้ปัญหามันยืดเยื้อ เราอาจต้องเสียสละ แม้จะไม่ใช่ความผิดของเรา ตรงนี้ต้องเข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจบ้านเมืองจะไม่ไปไหน ฉะนั้นปัญหาขณะนี้ที่เกิดความแตกแยกของคนในประเทศ ในฐานะผู้นำที่ดี ต้องทำทุกอย่างเพื่อรักษาความสามัคคีคนในชาติเอาไว้ให้ได้ อย่าทำให้มีความแตกแยกมากขึ้นอีก
นอกจากนี้ ในที่ประชุม ยังเสนอให้สภาพัฒนาการเมืองเป็นแกนกลางในการหาทางออกแก้ไขปัญหาให้ประเทศ โดยประสานคู่ขัดแย้ง มาร่วมหารือกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับฝ่าบรัฐบาล และ กปปส. จะยอมหรือไม่
นายธีรภัทร กล่าวต่อว่า ที่ประชุมสภาพัฒนาการเมือง เห็นว่า รัฐบาลต้องลาออกจากการรักษาการ และ กปปส. ต้องไม่ผูกขาดการปฏิรูปการเมือง และ กปปส. ต้องหยุดการชุมนุมโดยทันที ไม่ใช่รัฐบาลลาออกแล้ว กปปส. ยังชุมนุมกันต่อ จากนั้นหากลไกกลางทำหน้าที่กำหนดให้มีการสภาประชาชนรูปแบบใดและจะปฏิรูปอย่างไรกันต่อไป จากนั้นจัดหารัฐบาลเฉพาะการมาดำเนินการในสิ่งที่ตกลงกัน เพื่อไม่ให้เกิดเงือ่นไขสูงที่จะนำไสู่สงครามกลางเมือง นี่คือแนวทางทั่วๆปที่มีผู้เสนอมา
"สำหรับแนวทางเร่งด่วนที่เสนอมา เสนอให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีรักษาการลาออกจากกมรปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้มีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ มาปฏิบัติหน้าที่รักษาการแทน ชัดเจนว่า นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี อาจจะต้องเสียสละ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของท่าน
แต่คิดว่าประเด็นที่บอกว่า รัฐธรรมนูญไม่ให้ลาออกนั้น เป็นประเด็นที่พูดกันมาเยอะ แต่นักกฏหมายใหญ่ๆ ทั้งหลายเห็นว่า เรื่องการลาออกเป็นสิทธิธรรมชาติ สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล รัฐธรรมนูญ ไม่สามารถมาบังคับชีวิตของท่านได้ จะอยู่หรือไป จากนั้นอาจออกพระราชกำหนด หรือพระราชกฤษฏีกา ให้มีการเลื่อนการเลือกตั้งออกไปก่อน ขณะเดียวกัน กปปส. ต้องยุติการเมืองโดยทันที่ เชื่อว่าน่าจะคลี่คลายวิกฤตการณ์ช่วงที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้ และคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ต้องจัดให้มีการออกเสียงประชามติ ตามมาตรา 165 (1) ของรัฐธรรมนูญ ให้ประชาชนลงมติ จะให้มีการปฏิรูปการเมืองก่อนการเลือกตั้งส.ส. หรือปฏิรูปหลังการเลือกตั้งส.ส. ตามหลักการประเทศประชาธิปไตยทั่วโลกก็ทำแบบนี้ และ อาจมีการบวนการให้พรรคการเมืองทำสัตยาบัน ปฏิรูปการเมืองหลังการเลือกตั้ง และกำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรยุบสภาภายใน 1หรือ 1 ปีครึ่ง เพื่อให้เกิดความชัดเจน ที่จะให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะกำหนดอนาคตประเทศ ตรงนี้ถือเป็นการใช้หลักประชาธิปไตยสูงสุดมาแก้ไขปัญหา โดยสรุปถ้าเราทำประชามติ จะเป็นทางออกของทุกฝ่ายที่จะแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ครั้งนี้ได้" นายธีรภัทร กล่าว
นายธีรภัทร กล่าวทิ้งท้ายว่า หากเราไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางในการแก้ปัญหา เราก็เป็นหนึ่งของตัวปัญหา และคิดว่าวันนี้เราอยู่ในทางสองแพร่งว่าเราจะเลือกเป็นผู้แก้ปัญหา หรือเป็นตัวปัญหา อันนี้อยากฝากนายกรัฐมนตรี พิจารณา
**ภาคประชาชนหนุนเลือกตั้ง 2 ก.พ.
ด้านนายเอกชัย ไชยนุวัติ นักวิชาการ ในฐานะสมัชชาปกปัองประชาธิปไตย เห็นว่าควรเดินหน้าจัดการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ. ตามกฏหมาย เพราะไม่มีกฏหมายรองรับให้เลื่อนการเลือกตั้ง
ตัวแทนภาคประชาชน ระบุว่าการเลือกตั้งอาจไม่ใช่แนวทางที่ดีที่สุด แต่สถานการณ์ปัจจุบันต้องจัดการเลือกตั้ง เพื่อเคารพสิทธิของประชาชน แม้จะมีความเห็นต่างในสังคม และควรปฏิรูปที่ตัวนักการเมือง ขณะที่ข้าราชการต้องวางตัวเป็นกลาง
ตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า ข้อเสนอการปฏิรูปทั้งหมดต้องอยู่บนประโยชน์ของประเทศเป็นหลักและต้องผ่านการทำประชามติจากประชาชนก่อน จึงจะสามารถนำมาปฏิบัติได้จริง
**"ปู"อ้างประชาชนเลือกมาต้องอยู่ต่อ
ขณะที่ นายกฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า ทุกความเห็น ยินดีน้อมรับ เชื่อว่าวันนี้เราต้องการให้บ้านเมืองเดินหน้าได้ ภาคเอกชนก็บอกว่านักธุกิจอยากให้ธุรกิจเดินได้ ซึ่งการเดินประกอบด้วยภาคเอกชน และภาครัฐ ที่จะขับเคลื่อนประเทศ เรายอมรับปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ก็ไม่อยากเอาความขัดแย้งนี้มาเป็นอุปสรรคของประเทศให้เดินต่อไปไม่ได้ ถ้าทำอย่างนายธีรภัทรเสนอแล้วลดความขัดแย้งได้ถือเป็นเรื่องดี เพราะไม่อยากได้รับการบอกว่า ตัวดิฉันเองเป็นตัวปัญหา หลายฝ่ายเรียกร้องให้แสดงความรับผิดชอบ บนความรับผิดชอบของรัฐบาล เรามีทางเลือกเพียง 2 ทาง คือ ลาออกกับยุบสภา ดิฉันก็ได้แสดงออกแล้ว ด้วยการยุบสภา วันนี้ไม่มีนายกรัฐมนตรี มีเพียงนายกรัฐมนตรี ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่อยู่ในกฏหมาย ดิฉันเองไม่สามารถบอกว่า ดิฉันท้อ ดิฉันไม่อยากทำ ทิ้งไว้เฉยๆ แต่ก็ไม่รูัว่าดิฉันจะโดนประชาชนที่เลือกฉันมาแล้วกล่าวหาว่าดิฉันไม่รับผิดชอบหรือเปล่า
วันนี้กติกาที่เราอยู่ ดิฉันไม่ต้องการอยู่เพื่อที่จะบอกสังคมว่า ดิฉันเป็นคนที่จะสร้างความขัดแย้ง แต่อยู่เพื่อส่งมอบกติกานี้ ประชาธิปไตยนี้ ให้กับคนใหม่ ใครก็ได้ที่มาถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ หลังการเลือกตั้ง เพียงแค่การประคอง แต่วันนี้ราไม่รูัว่าประคองแบบนี้จะไปอย่างไร
หลายท่านอาจจะบอกว่า การประคองนี้ ให้เดินหน้าเลือกตั้งเลย หรือเดินหน้าแล้วเกิดความขัดแย้ง เราจะเลื่อน ก็ต้องศึกษาทำอย่างไรอย่างที่ภาคเอกชนพูด ถ้าท่านยังเดินอย่างนี้ สายการเงิน ตลาดหลักทรัพย์ นักลงทุนกลัวมากที่สุดว่า ทิศทางข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้น กลัวสำหรับการเปลี่ยระบบ เพราะไม่รู้ว่าวันข้างหน้าที่จะลงทุนอย่างไร สิ่งนี้ต่างหากที่อยากจะบอกว่า ความขัดแย้งอยากแก้ถ้าเราแก้ได้ แล้วตนไม่ได้ปิดกั้นใครเป็นคนกลาง
ไม่มีรัฐบาลไหนอยากเป็นคู่ขัดแย้งกับประชาชน รัฐบาลคืนอำนาจนี้แล้วให้กับประชาชน เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้ใช้สิทธิของตนเองผ่านการเลือกตั้ง เรียนด้วยความเคารพ ยินดีให้ความร่วมมือทุกเวที ทุกมิติ ถ้ามีอำนาจการปฏิบัติได้ ช่วยบอกด้วยว่า ใช้อำนาจอะไรในขณะที่เป็นรัฐบาลรักษาการ เพราะแม้แต่อำนาจจะจ่ายเงินให้กับพี่น้องชาวนา ยังไม่มีเลยวันนี้ อำนาจนี้ต้องถาม กกต.ก่อนทุกครั้ง แล้วจะเอาอำนาจไหน เอาเงินไปให้ วันนี้ถามแล้วนายกฯไม่ได้อยู่ในสถานะที่เป็นนายกฯเต็มตัว
สำหรับประเด็นที่ได้รับฟัง คือเป็นห่วงว่า จากเวทีนี้เราพูดกันได้ จัดลำดับความสำคัญ และสิ่งสำคัญเราหาเปิดเวทีให้ประชาชนทั้งประเทศมีส่วนร่วม เราจะสร้างกลไกทุกคนมีส่วนร่วมอย่างไร ถ้าปิดทางออกเหล่านี้ ก็จะเป็นการปิดกั้นทางออกความขัดแย้ง เรามาแก้ในเวทีปฏิรูปได้ไหม เพราะเวทีนี้ทำเพื่อประเทศจริงๆ จะหาแนวทางที่ทุกคนเห็นชอบได้ จะไปใยทางไหนต่อ ถ้าเพื่อให้งานเกิดขึ้นทำให้เกิดการมีส่วนร่วมมากที่สุดเพื่อลดความขัดแย้งลงได้ เราจะเปิดเวทีให้แต่ละเวทีที่มีพิมพ์เขียว ภาคต่างๆได้มีโอกาสนำเสนอ แล้วกระบวนการภาคประชาชนได้แสดงความคิดเห็น นี้คือสิ่งที่เราจะได้ความสามัคคีกลับคืนมา
**ปชป.ชี้แค่ปาหี่รอบใหม่
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงสภาปฏิรูปที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์เป็นประธานการประชุมว่า ก็แค่ทำปาหี่ปฏิรูปอีกครั้ง จนคนสงสัยว่า มีการปฏิรูปอะไรบ้างที่รัฐบาลทำ เพราะก่อนหน้านี้เคยพูดถึงการตั้งคณะกรรมการสรรหา 11 คน มาเลือกสภาปฏิรูป แต่จนปัจจุบันยังไม่มีการลงนาม
ในระเบียบสำนักนายกฯ แต่งตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าวแต่อย่างใด เพียงแต่คิดเอาตัวรอด ไม่ได้คิดปฏิรูปประเทศ หรือคำนึงถึงผลสำเร็จและประโยชน์ต่อประเทศชาติ
ดังนั้นเวทีนี้จึงเป็นเพียงวาทกรรมที่หวังให้ประชาชนหลงเชื่อว่า รัฐบาลมีแนวคิดปฏิรูปประเทศ ทั้งที่มีความคิดตรงกันข้ามกับการปฏิรูป คนเหล่านี้จะไม่มีวันปฏิรูปเลือกตั้ง การทุจริตคอร์รัปชัน เพราะจะทำให้ตัวเองเสียประโยชน์
นายชวนนท์ กล่าวสรุปแนวคิดพรรคเพื่อไทย ที่ไม่คิดปฏิรูปทุจริตว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ มุ่งสู่การเลือกตั้งเพื่อบอกประชาคมโลกว่า การเลือกตั้งคือการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด จึงอยากให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ พูดความจริงกับประชาชนในการหาเสียงว่า “มุ่งเลือกตั้ง ล้างผิด มุ่งทุจริต ไม่คิดปฏิรูป”ประชาชนจะได้ตัดสินใจได้ว่าสมควรเลือกพรรคเพื่อไทย หรือไม่ หยุดโกหกตบตาประชาชนได้แล้ว
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวเปิดประชุมว่า วันนี้จะเป็นการหารือถึงข้อเสนอการปฏิรูปประเทศ ที่สังคมเห็นพ้องให้เริ่มต้นปฏิรูปได้แล้ว เพราะมีหลายภาคส่วนที่เสนอแนวทางปฏิรูป จึงต้องนำมารวบรวมให้เป็นแผนปฏิรูปเดียวกัน ให้สามารถปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม และต้องมีกลไกเชื่อมโยงสู่ฝ่ายปฏิบัติ โดยรัฐบาลไม่ขอเป็นฝ่ายเสนอแนวคิด แต่จะทำหน้าที่รับฟังและรวบรวมข้อเสนอทั้งหมด เพื่อให้เป็นเวทีกลางของประเทศอย่างแท้จริง เบื้องต้นรัฐบาลวางแนวทางปฏิรูปไว้ 3 ส่วน คือ การวางแผนขั้นตอนปฏิบัติ ,โครงสร้างคณะทำงานการปฏิรูป, การกำหนดสาระสำคัญของการปฏิรูป ซึ่งแบ่งเป็นระยะเร่งด่วน และระยะยาว
**หอการค้าให้ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง
นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และหอการค้าไทย กล่าวว่า ผลสรุปจากการเปิดเวทีกลางของภาคเอกชน 7 องค์กรภาคเอกชนร่วมกับองค์กรเครือข่ายอีก18 แห่ง อาทิ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน สถาบันพระปกเกล้า ศูนย์พัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีข้อเสนอ 4 ประเด็น คือ
1. จัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปประเทศในช่วงก่อนการเลือกตั้ง มีสถานะทางกฎหมายรองรับที่ชัดเจน เพื่อสร้างหลักประกันของทำงานได้ต่อเนื่อง
2. การทำความตกลงร่วมพรรคการเมืองในการปฏิรูป
3.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ เนื่องจากเห็นว่า การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 2 ก.พ. จะมีอุปสรรคพอสมควร
4.ปรับรูปแบบของรัฐบาลรักษาการ ในช่วงก่อนการเลือกตั้ง นายกฯ ต้องลากิจไม่ปฏิบัติหน้าที่รักษาการ และเสนอให้มีรัฐบาลผสมหลายพรรคเป็นรูปแบบ "รัฐบาลปรองดองแห่งชาติ" ซึ่งตั้งขึ้นตามกรอบรัฐธรรมนูญ เพื่อทำภารกิจปฏิรูป มีอายุ 1 ปี
ขณะที่นายวิชัย อัศรัสกร รองประธานสภาหอการค้าฯ ในฐานะประธานคณะทำงาน 7 องค์กรภาคเอกชน กล่าวว่า องค์กรภาคเอกชนมีความเห็นตรงกันเสนอให้จัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปประเทศโดยตรง ที่มีกฏหมายรองรับ ทำหน้าที่เสนอยุทธศาสตร์การปฏิรูป และต้องทำงานเชื่อมโยงกับฝ่ายต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ส่วนกรอบแนวทางการปฏิรูป มุ่งเน้นปฏิรูปการเมือง ระบบราชการ การปกครอง การขจัดคอร์รัปชัน ลดความเหลื่อมล้ำ และพัฒนาระบบเศรษฐกิจ พร้อมเสนอให้เลื่อนการเลือกตั้งจากวันที่ 2 ก.พ. ออกไปก่อน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาและความรุนแรง
**"ธีรภัทร" แนะนายกฯออก-กปปส.หยุด
ขณะที่นายธีรภัทร เสรีสังสรรค์ ประธานสภาพัฒนาการเมือง กล่าวว่า ก่อนหน้านี้เคยพูดไว้ ถ้าเวทีปฏิรูปของรัฐบาล ที่ดำเนินการก่อหน้านี้ ถ้าไม่มีอะไรออกไปภายใน 3 เดือนก็จะล้มเหลว วันนี้ประเด็นสำคัญในการที่จะแก้วิกฤติการเมือง ในส่วนของสภาพัฒนาการเมือง ได้ระดมรวบรวมความคิดเห็น ตั้งแต่เมื่อวันที่ 8 ม.ค. และได้ส่งให้นายกรัฐมนตรีไปเมื่อวันที่ 10 ม.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งแนวทางแก้ไขปญหาขณะนี้ ควรมีการเจรจาพูดคุยหาทางออกโดยเฉพาะฝ่ายที่มีความขัดแย้งกัน รัฐบาลกับ กปปส.โดยหาคนกลางที่คนส่วนใหญ่ยอมรับมาทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย ประณีประนอม และต้องเข้าใจความขัดแย้งดังกล่าว ไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างพรรคการเมืองหรือระหว่างกลุ่มฝ่าย แต่เป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐ กับประชาชน ไม่เช่นนั้นคงไม่เห็นประชาชนออกมาเป็นจำนวนนับล้านๆ คน ฉะนั้นอย่ามองเป็นความขัดแย้งระหว่างเสื้อสี หรือฝ่ายหนึ่งกับฝ่ายหนึ่ง หรือรัฐบาลกับฝ่ายค้าน ถ้าเข้าใจแบบนั้นการ แก้ปัญหาก็จะทำไม่ได้
ส่วนการเลือกตั้งใน วันที่ 2 ก.พ.นี้ ที่ประชุมสภาพัฒนาการเมืองเห็นว่า ไม่น่าจะเป็นหนทางในการแกปัญหา ซึ่ง ตนคงไม่ต้องพูดถึงปัญหาเพราะคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ชี้ประเด็นต่างๆ มาพอสมควรแล้ว โดยสรุปที่ประชุมเสนอให้มีการเลื่อนการเลือกตั้งออกไปก่อน และในฐานะที่นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้ารัฐบาลต้องเข้าใจ รัฐบาลมีหน้าที่ในการแก้ไขปัญหา จะเป็นปัญหาที่รัฐบาลก่อหรือไม่ก็ตาม แต่รัฐบาลมีหน้าที่แก้ไขปัญหา และถ้าแก้ไขปัญหาไม่ได้ ก็หมดความชอบธรรมอันนี้ต้องเข้าใจ อย่าไปคิดว่าปัญหาเกิดจากฝ่ายตรงข้ามสร้างขึ้น ฝ่ายโน้นฝ่ายนี้สร้าง แต่เมื่อเราสวมหมวกรัฐบาลถ้าแก้ปัญหาไม่ได้ เราก็ไม่ควรจะไปดื้อดึง หรือทำให้ปัญหามันยืดเยื้อ เราอาจต้องเสียสละ แม้จะไม่ใช่ความผิดของเรา ตรงนี้ต้องเข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจบ้านเมืองจะไม่ไปไหน ฉะนั้นปัญหาขณะนี้ที่เกิดความแตกแยกของคนในประเทศ ในฐานะผู้นำที่ดี ต้องทำทุกอย่างเพื่อรักษาความสามัคคีคนในชาติเอาไว้ให้ได้ อย่าทำให้มีความแตกแยกมากขึ้นอีก
นอกจากนี้ ในที่ประชุม ยังเสนอให้สภาพัฒนาการเมืองเป็นแกนกลางในการหาทางออกแก้ไขปัญหาให้ประเทศ โดยประสานคู่ขัดแย้ง มาร่วมหารือกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับฝ่าบรัฐบาล และ กปปส. จะยอมหรือไม่
นายธีรภัทร กล่าวต่อว่า ที่ประชุมสภาพัฒนาการเมือง เห็นว่า รัฐบาลต้องลาออกจากการรักษาการ และ กปปส. ต้องไม่ผูกขาดการปฏิรูปการเมือง และ กปปส. ต้องหยุดการชุมนุมโดยทันที ไม่ใช่รัฐบาลลาออกแล้ว กปปส. ยังชุมนุมกันต่อ จากนั้นหากลไกกลางทำหน้าที่กำหนดให้มีการสภาประชาชนรูปแบบใดและจะปฏิรูปอย่างไรกันต่อไป จากนั้นจัดหารัฐบาลเฉพาะการมาดำเนินการในสิ่งที่ตกลงกัน เพื่อไม่ให้เกิดเงือ่นไขสูงที่จะนำไสู่สงครามกลางเมือง นี่คือแนวทางทั่วๆปที่มีผู้เสนอมา
"สำหรับแนวทางเร่งด่วนที่เสนอมา เสนอให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีรักษาการลาออกจากกมรปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้มีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ มาปฏิบัติหน้าที่รักษาการแทน ชัดเจนว่า นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี อาจจะต้องเสียสละ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของท่าน
แต่คิดว่าประเด็นที่บอกว่า รัฐธรรมนูญไม่ให้ลาออกนั้น เป็นประเด็นที่พูดกันมาเยอะ แต่นักกฏหมายใหญ่ๆ ทั้งหลายเห็นว่า เรื่องการลาออกเป็นสิทธิธรรมชาติ สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล รัฐธรรมนูญ ไม่สามารถมาบังคับชีวิตของท่านได้ จะอยู่หรือไป จากนั้นอาจออกพระราชกำหนด หรือพระราชกฤษฏีกา ให้มีการเลื่อนการเลือกตั้งออกไปก่อน ขณะเดียวกัน กปปส. ต้องยุติการเมืองโดยทันที่ เชื่อว่าน่าจะคลี่คลายวิกฤตการณ์ช่วงที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้ และคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ต้องจัดให้มีการออกเสียงประชามติ ตามมาตรา 165 (1) ของรัฐธรรมนูญ ให้ประชาชนลงมติ จะให้มีการปฏิรูปการเมืองก่อนการเลือกตั้งส.ส. หรือปฏิรูปหลังการเลือกตั้งส.ส. ตามหลักการประเทศประชาธิปไตยทั่วโลกก็ทำแบบนี้ และ อาจมีการบวนการให้พรรคการเมืองทำสัตยาบัน ปฏิรูปการเมืองหลังการเลือกตั้ง และกำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรยุบสภาภายใน 1หรือ 1 ปีครึ่ง เพื่อให้เกิดความชัดเจน ที่จะให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะกำหนดอนาคตประเทศ ตรงนี้ถือเป็นการใช้หลักประชาธิปไตยสูงสุดมาแก้ไขปัญหา โดยสรุปถ้าเราทำประชามติ จะเป็นทางออกของทุกฝ่ายที่จะแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ครั้งนี้ได้" นายธีรภัทร กล่าว
นายธีรภัทร กล่าวทิ้งท้ายว่า หากเราไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางในการแก้ปัญหา เราก็เป็นหนึ่งของตัวปัญหา และคิดว่าวันนี้เราอยู่ในทางสองแพร่งว่าเราจะเลือกเป็นผู้แก้ปัญหา หรือเป็นตัวปัญหา อันนี้อยากฝากนายกรัฐมนตรี พิจารณา
**ภาคประชาชนหนุนเลือกตั้ง 2 ก.พ.
ด้านนายเอกชัย ไชยนุวัติ นักวิชาการ ในฐานะสมัชชาปกปัองประชาธิปไตย เห็นว่าควรเดินหน้าจัดการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ. ตามกฏหมาย เพราะไม่มีกฏหมายรองรับให้เลื่อนการเลือกตั้ง
ตัวแทนภาคประชาชน ระบุว่าการเลือกตั้งอาจไม่ใช่แนวทางที่ดีที่สุด แต่สถานการณ์ปัจจุบันต้องจัดการเลือกตั้ง เพื่อเคารพสิทธิของประชาชน แม้จะมีความเห็นต่างในสังคม และควรปฏิรูปที่ตัวนักการเมือง ขณะที่ข้าราชการต้องวางตัวเป็นกลาง
ตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า ข้อเสนอการปฏิรูปทั้งหมดต้องอยู่บนประโยชน์ของประเทศเป็นหลักและต้องผ่านการทำประชามติจากประชาชนก่อน จึงจะสามารถนำมาปฏิบัติได้จริง
**"ปู"อ้างประชาชนเลือกมาต้องอยู่ต่อ
ขณะที่ นายกฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า ทุกความเห็น ยินดีน้อมรับ เชื่อว่าวันนี้เราต้องการให้บ้านเมืองเดินหน้าได้ ภาคเอกชนก็บอกว่านักธุกิจอยากให้ธุรกิจเดินได้ ซึ่งการเดินประกอบด้วยภาคเอกชน และภาครัฐ ที่จะขับเคลื่อนประเทศ เรายอมรับปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ก็ไม่อยากเอาความขัดแย้งนี้มาเป็นอุปสรรคของประเทศให้เดินต่อไปไม่ได้ ถ้าทำอย่างนายธีรภัทรเสนอแล้วลดความขัดแย้งได้ถือเป็นเรื่องดี เพราะไม่อยากได้รับการบอกว่า ตัวดิฉันเองเป็นตัวปัญหา หลายฝ่ายเรียกร้องให้แสดงความรับผิดชอบ บนความรับผิดชอบของรัฐบาล เรามีทางเลือกเพียง 2 ทาง คือ ลาออกกับยุบสภา ดิฉันก็ได้แสดงออกแล้ว ด้วยการยุบสภา วันนี้ไม่มีนายกรัฐมนตรี มีเพียงนายกรัฐมนตรี ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่อยู่ในกฏหมาย ดิฉันเองไม่สามารถบอกว่า ดิฉันท้อ ดิฉันไม่อยากทำ ทิ้งไว้เฉยๆ แต่ก็ไม่รูัว่าดิฉันจะโดนประชาชนที่เลือกฉันมาแล้วกล่าวหาว่าดิฉันไม่รับผิดชอบหรือเปล่า
วันนี้กติกาที่เราอยู่ ดิฉันไม่ต้องการอยู่เพื่อที่จะบอกสังคมว่า ดิฉันเป็นคนที่จะสร้างความขัดแย้ง แต่อยู่เพื่อส่งมอบกติกานี้ ประชาธิปไตยนี้ ให้กับคนใหม่ ใครก็ได้ที่มาถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ หลังการเลือกตั้ง เพียงแค่การประคอง แต่วันนี้ราไม่รูัว่าประคองแบบนี้จะไปอย่างไร
หลายท่านอาจจะบอกว่า การประคองนี้ ให้เดินหน้าเลือกตั้งเลย หรือเดินหน้าแล้วเกิดความขัดแย้ง เราจะเลื่อน ก็ต้องศึกษาทำอย่างไรอย่างที่ภาคเอกชนพูด ถ้าท่านยังเดินอย่างนี้ สายการเงิน ตลาดหลักทรัพย์ นักลงทุนกลัวมากที่สุดว่า ทิศทางข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้น กลัวสำหรับการเปลี่ยระบบ เพราะไม่รู้ว่าวันข้างหน้าที่จะลงทุนอย่างไร สิ่งนี้ต่างหากที่อยากจะบอกว่า ความขัดแย้งอยากแก้ถ้าเราแก้ได้ แล้วตนไม่ได้ปิดกั้นใครเป็นคนกลาง
ไม่มีรัฐบาลไหนอยากเป็นคู่ขัดแย้งกับประชาชน รัฐบาลคืนอำนาจนี้แล้วให้กับประชาชน เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้ใช้สิทธิของตนเองผ่านการเลือกตั้ง เรียนด้วยความเคารพ ยินดีให้ความร่วมมือทุกเวที ทุกมิติ ถ้ามีอำนาจการปฏิบัติได้ ช่วยบอกด้วยว่า ใช้อำนาจอะไรในขณะที่เป็นรัฐบาลรักษาการ เพราะแม้แต่อำนาจจะจ่ายเงินให้กับพี่น้องชาวนา ยังไม่มีเลยวันนี้ อำนาจนี้ต้องถาม กกต.ก่อนทุกครั้ง แล้วจะเอาอำนาจไหน เอาเงินไปให้ วันนี้ถามแล้วนายกฯไม่ได้อยู่ในสถานะที่เป็นนายกฯเต็มตัว
สำหรับประเด็นที่ได้รับฟัง คือเป็นห่วงว่า จากเวทีนี้เราพูดกันได้ จัดลำดับความสำคัญ และสิ่งสำคัญเราหาเปิดเวทีให้ประชาชนทั้งประเทศมีส่วนร่วม เราจะสร้างกลไกทุกคนมีส่วนร่วมอย่างไร ถ้าปิดทางออกเหล่านี้ ก็จะเป็นการปิดกั้นทางออกความขัดแย้ง เรามาแก้ในเวทีปฏิรูปได้ไหม เพราะเวทีนี้ทำเพื่อประเทศจริงๆ จะหาแนวทางที่ทุกคนเห็นชอบได้ จะไปใยทางไหนต่อ ถ้าเพื่อให้งานเกิดขึ้นทำให้เกิดการมีส่วนร่วมมากที่สุดเพื่อลดความขัดแย้งลงได้ เราจะเปิดเวทีให้แต่ละเวทีที่มีพิมพ์เขียว ภาคต่างๆได้มีโอกาสนำเสนอ แล้วกระบวนการภาคประชาชนได้แสดงความคิดเห็น นี้คือสิ่งที่เราจะได้ความสามัคคีกลับคืนมา
**ปชป.ชี้แค่ปาหี่รอบใหม่
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงสภาปฏิรูปที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์เป็นประธานการประชุมว่า ก็แค่ทำปาหี่ปฏิรูปอีกครั้ง จนคนสงสัยว่า มีการปฏิรูปอะไรบ้างที่รัฐบาลทำ เพราะก่อนหน้านี้เคยพูดถึงการตั้งคณะกรรมการสรรหา 11 คน มาเลือกสภาปฏิรูป แต่จนปัจจุบันยังไม่มีการลงนาม
ในระเบียบสำนักนายกฯ แต่งตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าวแต่อย่างใด เพียงแต่คิดเอาตัวรอด ไม่ได้คิดปฏิรูปประเทศ หรือคำนึงถึงผลสำเร็จและประโยชน์ต่อประเทศชาติ
ดังนั้นเวทีนี้จึงเป็นเพียงวาทกรรมที่หวังให้ประชาชนหลงเชื่อว่า รัฐบาลมีแนวคิดปฏิรูปประเทศ ทั้งที่มีความคิดตรงกันข้ามกับการปฏิรูป คนเหล่านี้จะไม่มีวันปฏิรูปเลือกตั้ง การทุจริตคอร์รัปชัน เพราะจะทำให้ตัวเองเสียประโยชน์
นายชวนนท์ กล่าวสรุปแนวคิดพรรคเพื่อไทย ที่ไม่คิดปฏิรูปทุจริตว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ มุ่งสู่การเลือกตั้งเพื่อบอกประชาคมโลกว่า การเลือกตั้งคือการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด จึงอยากให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ พูดความจริงกับประชาชนในการหาเสียงว่า “มุ่งเลือกตั้ง ล้างผิด มุ่งทุจริต ไม่คิดปฏิรูป”ประชาชนจะได้ตัดสินใจได้ว่าสมควรเลือกพรรคเพื่อไทย หรือไม่ หยุดโกหกตบตาประชาชนได้แล้ว