เมื่อเวลา 09.30 น. วานนี้ (22ธ.ค.) ที่โรงแรมนภาลัย จ.อุดรธานี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณี พรรคประชาธิปัตย์ ประกาศบอยคอตการเลือกตั้ง ว่า เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่มุ่งมั่นในเรื่องของการรักษาระบอบประชาธิปไตย รักษาระบบรัฐสภา ซึ่งการเลือกตั้งพวกเราทุกคนในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องรักษาระบอบประชาธิปไตย แล้วจุดมุ่งหมายของพรรคประชาธิปัตย์ หากไม่ลงเลือกตั้งแล้วจะเกิดเป็นรูปธรรมได้อย่างไร ภายใต้บทบัญญัตินี้เราก็ต้องติดตามกันต่อไป เราหวังว่าการที่เรารักษากติกา เป็นวิธีที่จะทำให้ประเทศเดินไปข้างหน้าได้ และเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเลยทีเดียว
เมื่อถามว่า พรรคประชาธิปัตย์มุ่งที่จะทำให้เปิดสภาไม่ได้ แล้วสุดท้ายการเลือกตั้งจะกลายเป็นโมฆะ หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่าเสียใจสำหรับประเทศ เพราะหลายๆ ประเทศ แม้กระทั่งประเทศในอาเซียน เรียกร้องให้มีระบอบประชาธิปไตย แต่ขณะเดียวกันประเทศของเรากลับบอกว่า ไม่อยากให้เดินหน้า นี่คือสิ่งที่เราเป็นห่วง เราจะบอกว่าไม่ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย แล้วแต่ยึดมั่นอะไร นี่คือสิ่งที่เป็นคำถามต่อประเทศในอนาคตว่า แล้วเราจะทำให้ประเทศของเราได้รับการยอมรับได้อย่างไร ถ้าไม่ยอมรับรัฐบาลนี้ ก็กรุณายอมรับระบบที่เป็นระบบ และใช้กติกาการเลือกตั้ง เพราะเราได้คืนอำนาจให้กับประชาชนแล้ว และผู้ที่ตัดสินใจอนาคตของประเทศ ก็คือประชาชน
นายกฯ กล่าวว่า อันนี้คือสิ่งที่อยากขอร้อง เพราะถ้าเรายังเป็นอยู่อย่างนี้ สุดท้ายประเทศของเราก็จะเจ็บปวด พวกเราทุกคนก็จะเจ็บปวด เราจะมาต่อสู้เพื่อชัยชนะมันไม่ใช่ แต่จะทำอย่างไรให้ประเทศของเราเดินได้ ตนในส่วนของรัฐบาลก็ทำทกุกอย่างที่ร้องขอ ทั้งเรื่องของการปฏิรูป การยุบสภาคืนอำนาจให้กับประชาชน แต่ก็ต้องขอความกรุณาว่า การที่เราอยู่ในตำแหน่งนี้ ต้องขอความกรุณาว่า ไม่ใช่เราดื้อรั้น ยึดติดกับตำแหน่ง แต่เป็นหน้าที่ที่ทุกคนต้องรับผิดชอบ เป็นหน้าที่ที่เราทำให้มีการเลือกตั้ง ถ้าเราไม่เอากติกา ไม่เดิน เราก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร แล้วจะให้รัฐบาลทำอย่างไร รัฐบาลในฐานะที่รักษาประชาธิปไตย บอกว่าให้วาง แล้วคืนอำนาจให้กับประชาชน และจะทำอย่างไร เพราะวันนี้วิธีคืนอำนาจให้กับประชาชนคือ การยุบสภา ถ้าหากคืนให้กับประชาชนแล้ว ไม่มีกติกา เราก็เกรงว่าความวุ่นวายนี้ จะเกิดขึ้นเป็นความเจ็บปวดของประเทศ ทำให้เราไม่ได้ก้าวไปข้างหน้า กับทำให้หลายๆ ประเทศมองเรา ตรงนี้คือสิ่งที่อยู่ในใจ
เมื่อถามว่า แถลงการณ์ที่ออกมาระบุว่า เดินหน้าการเลือกตั้ง และตั้งเวทีปฏิรูป ขณะนี้ได้รับกระแสกลับมาอย่างไร นายกฯ กล่าวว่า เราได้รับฟังหลายภาคส่วน รวมทั้งจากพรรคการเมือง ซึ่งมีแนวโน้มการตอบรับที่ดี แต่อย่างไรก็ตาม ต้องได้รับการตอบรับจากทุกคน โดยเฉพาะจากกลุ่มผู้ชุมนุม ถ้าไม่รับเวทีปฏิรูป ซึ่งไม่ใช่เวทีปฏิรูปของรัฐบาล แต่รัฐบาลเป็นผู้เริ่มต้นเท่านั้น เราอยากเห็นเวทีนี้ เป็นเวทีกลางของประชาชนทั้งประเทศไม่ใช่ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เป็นเวทีที่ทุกคนจะมาเปิดใจกันมาแก้ปัญหา อะไรที่ไม่ชอบ ไม่อยากเห็นในอดีต ก็มาแก้ไขด้วยการปฏิรูป แต่ถ้าอยู่ๆ การปฏิรูปเกิดขึ้นโดยไม่มีกติกา แล้วจะเอาบรรทัดฐานนี้ไปบอกคนอื่นได้อย่างไรว่า เวทีปฏิรูปนี้มีกฎหมายมีการรองรับแล้ว นี่คือสิ่งที่เราอยากจะขอว่ารัฐบาลอยากจะเปิดเวทีปฎิรูปนี้ เป็นกลไกในการเริ่มต้นให้ แต่เราหวังว่าเราจะได้รับฟังจากทุกกลุ่ม ที่ตนได้แถลงการณ์ไปเมื่อวันเสาร์ที่ 21ธ.ค. ที่ผ่านมานั้น เป็นเพียงแค่แนวคิดเริ่มต้น เราคงอยากจะฟังแนวคิดนี้ไม่ใช่ว่า เป็นแนวคิดที่จะปฏิบัติทั้งหมด อะไรที่ทุกคนเห็นชอบเราก็จำนำมาปฏิบัติ โดยหน้าที่รัฐบาลจะพยายามรวมมือทุกๆประเด็น
เมื่อถามว่าถึงเวลาหรือยังที่จะพูดจุดยืนการตัดสินใจในลงรับสมัครการเลือกตั้ง นายกฯ กล่าวว่า เราทุกคนต้องมีหน้าที่ พรรคเพื่อไทยเองก็ต้องมีหน้าที่ที่จะลงรับสมัครการเลือกตั้ง
ต่อมาน.ส.ยิ่งลักษณ์ และคณะ ประกอบด้วย พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม นายประดิษฐ์ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข นายวิสาร เตชะธีระวัฒน์ รมช.มหาดไทย นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.คลัง ได้พบปะมวลชนที่บริเวณสถานีรถไฟอุดรธานี ที่มารอต้อนรับอย่างเป็นจำนวนมาก ก่อนจะนำคณะนั่งรถไฟจากสถานีอุดรธานี ไปยังสถานี หนองคาย เพื่อตรวจเส้นทางเดินรถไฟ ที่จะเชื่อมต่อไปยังประเทศลาว
ในระหว่างนั่งรถไฟ นายกฯ ได้โชว์รอยช้ำ รอยขีดข่วนที่แขนและมือ ที่เกิดจากการพบปะประชาชนที่มารอให้การต้อนรับให้สื่อมวลชนได้บันทึกภาพ โดยนายกฯ ได้ทายาแก้รอยฟกช้ำ โดยพล.ต.อ.ประชา ในฐานะเจ้าของพื้นที่ระบุว่า อุดรธานี ไม่มีการเป่านกหวีดเลย ซึ่งนายกฯได้กล่าวชื่นชม และขอบคุณในการต้อนรับอย่างอบอุ่น โดยในขบวนรถไฟนี้ นายขวัญชัย ไพรพนา ประธานชมรมคนรักอุดร ได้ร่วมขบวนรถไฟในครั้งนี้ด้วย
ทั้งนี้ นายกฯ และพล.ต.อ.ประชา ได้ติดตามสถานการณ์ชุมนุมในกรุงเทพมหานคร ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะบริเวณหน้าบ้านซอยโยธินพัฒนา 3 จากภาพกล้องวงจรปิด ซึ่งนายกฯ ยอมรับว่าเป็นห่วงสถานการณ์ ที่กรุงเทพฯ และ จะติดตามอย่างใกล้ชิด แต่เชื่อว่าสถานการณ์จะไม่บานปลาย เป็นเพียงแค่แสดงสัญญาลักษณ์ จากนั้นจะเดินทางกลับ
ด้าน พล.ต.อ.ประชา กล่าวว่า ที่ยอมให้กลุ่มผู้ชุมนุมเดินทางเข้าไปประชิดถึงบริเวณหน้าบ้านนายกฯนั้น เพราะไม่ต้องการให้เกิดการปะทะ เนื่องจากผู้ชุมนุมต้องการให้เกิดความรุนแรง แต่ก็ให้เจ้าหน้าที่เพิ่มควาระมัดระวัง โดยเฉพาะมือที่สามที่อาจเข้ามาสร้างสถานการณ์ รวมถึงจุดอื่นๆ ที่มีการชุมนุมด้วย และมั่นใจว่าจะควบคุมสถานการณ์ได้ เพราะเจ้าหน้าที่ได้เตรียมแผนรองรับในทุกจุดแล้ว
ต่อมา นายกฯ ได้ลงที่สถานีรถไฟนาทา จ.อุดรธานี ซึ่งเป็นจุดสถานที่ก่อสร้างสถานีขนส่งสินค้าทางคอนเทนเนอร์ ดูระบบคันกลับประแจ และเครื่องทางสะดวก ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ระบุเครื่องทางสะดวก รฟท. ใช้งานมากว่า 70 ปีแล้ว ขณะที่ประเทศอื่นเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์หมด นายกฯถึงกับสีหน้าตกใจ
ต่อมา นายกฯไปตรวจเยี่ยมด่านศุลากากรหนองคาย จุดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 อ.เมืองฯ จ.หนองคายโดยมี นายวิวัฒน์ ลิ้มสุวัฒน์ ผู้ว่าฯ จ.หนองคาย ให้การต้อนรับ ซึ่งสะพานแห่งนี้จะครบรอบ 20 ปี ในวันที่ 8 เม.ย. 57 โดยรัฐบาลไทย-ลาว จะจัดงานเฉลิมฉลองอย่างเป็นทางการร่วมกัน
ทั้งนี้ นายกฯได้สอบถามถึงปัญหายาเสพติด ซึ่งทางเจ้าหน้าที่รายงานว่า หลังจากตรวจเข้มการลักลอบขนยาเสพติดลดน้อยลง
ปูเจอนกหวีดไล่ที่หนองคาย
จากนั้นเวลา12.00 น. นายกฯและคณะ เดินทางไปยังรับประทานอาหารกลางวัน ที่ร้านแดง แหนมเนือง จ.หนองคาย ริมแม่น้ำโขง ปรากฏว่า ระหว่างทางได้มีกลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล ประมาณ 7-8 คน มารอเป่านกหวีดตะโกนไล่นายกฯ อยู่ข้างทาง ขณะที่คนเสื้อแดงที่ จ.หนองคาย ที่มาในขบวนนายกฯ ไม่พอใจลงไปต่อว่า "ทำอย่างนี้ได้ยังไง ทำไมเจ้าหน้าที่ปล่อยให้เป่านกหวีดไล่นายกฯ" และจะให้เจ้าหน้าที่ตำรวจไปดึงนกหวีดออก แต่ขณะผู้หญิงที่เป่านกหวีดบอกว่า "ทำไมจะอย่างนี้ไม่ได้ เป็นสิทธิ ฉันเป่าอยู่หน้าบ้านตัวเอง " ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเพียงแต่ควบคุมสถานการณ์
ต่อมา เวลา 14.30 น. ที่สวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา อ.เมืองฯ จ.หนองบัวลำภู น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เข้าสักการะศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จากนั้นได้ปล่อยปลาจำนวน 30,000 ตัว ที่หนองบัว ซึ่งอยู่บริเวณด้านหลังศาล โดยมีข้าราชการ ประชาชนมารอต้อนรับเป็นจำนวนมาก และเดินทางตรวจเยี่ยมผู้ป่วย และให้กำลังใจเจ้าหน้าที่แพทย์ พยาบาล และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ฟังรายงานการดำเนินงานโครงข่ายประกันสุขภาพ การส่งต่อผูัป่วยจากโรงพยาบาลชุมชนไปยังโรงพยาบาลจังหวัด เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร จากนั้นเดินทางไปพบปะมวลชนที่โรงพยาบาลภูหลวง อ.หนองคัน อ.ภูหลวง จ.เลย ก่อนเดินทางไปที่ อ.เชียงคาน จ.เลย เพื่อเข้าที่พัก
มวลชน 2 ฝ่ายปะทะที่เชียงคาน
ต่อมาเวลา 18.40 น. นายกฯ เข้าสักการะพระพุทธรูปไม้จำหลัก ปางประทานอภัยแบบล้านช้าง ที่วัดพระศรีคุณเมือง อ.เชียงคาน จ.เลย โดยพระครูสิริปัญญาวิสุทธิ์ เจ้าอาวาสพร้อมกับคณะสงฆ์ได้สวดมนต์ให้พรนายกฯ ขณะเดียวกันได้มีกลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลจำนวนกว่า 200 คน มาชุมนุมอยู่บริเวณสามแยกมะลิวัลย์ ถนนมะลิวัลย์ ขณะที่การรักษาความปลอดภัย และตั้งจุดสกัด โดยใช้เจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชน สภ.เลย จำนวน 2 กองร้อย และอปพร.จำนวน 1,000 นาย ทันทีที่ นายกฯ ขึ้นรถออกจากวัด ได้เกิดเหตุปะทะกันระหว่างมวลชนคนเสื้อแดง และมวลชนที่ต่อต้านรัฐบาลที่อยู่ห่างจากวัดประมาณ 300 เมตร โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าระงับเหตุ
หิ้ว“น้องไปป์" หนีม็อบทัวร์อีสาน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เดินทางตรวจราชการในภาคอีสาน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้โพสต์ภาพและข้อความผ่านเฟชบุ๊ก Yingluck Shinawatra ว่า “เดินทางมาตรวจราชการในพื้นที่ภาคอีสานหลายจังหวัดและหลายภารกิจในแต่ละวัน อย่างน้อยก็มีลูกอยู่เคียงข้าง คอยเป็นกำลังใจซึ่งกันและกัน จะได้ไม่ต้องเป็นห่วงค่ะ”พร้อมกับลงรูปถ่ายคู่กับน้องไปป์ ด.ช.ศุภเสกข์ อมรฉัตร บุตรชาย ซึ่งกำลังสวมกอดกันด้วยร้อยยิ้ม
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกำหนดการเดิม นายกฯ ลงพื้นที่ตรวจราชการภาคอีสาน ระหว่างวันที่ 17-22ธ.ค. ทั้งนี้ หลังจากที่กปปส. ประกาศชุมนุมใหญ่อีกครั้งโดยเดินทางไปยังบ้านพักที่ซอยโยธินพัฒนา 3 นายฯ ได้ให้ทีมรักษาความปลอดภัย นำบุตรชาย และคนใกล้ชิดเดินทางมาร่วมคณะด้วย หลังจากที่นายกฯลงพื้นที่ได้เพียงวันเดียว
อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่านายกฯ ยังไม่มีกำหนดการเดินทางกลับกรุงเทพฯ แม้จะมีการสมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ในวันนี้ (23ธ.ค.) โดยจะให้หัวหน้าพรรคดำเนินการแทน
เมื่อถามว่า พรรคประชาธิปัตย์มุ่งที่จะทำให้เปิดสภาไม่ได้ แล้วสุดท้ายการเลือกตั้งจะกลายเป็นโมฆะ หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่าเสียใจสำหรับประเทศ เพราะหลายๆ ประเทศ แม้กระทั่งประเทศในอาเซียน เรียกร้องให้มีระบอบประชาธิปไตย แต่ขณะเดียวกันประเทศของเรากลับบอกว่า ไม่อยากให้เดินหน้า นี่คือสิ่งที่เราเป็นห่วง เราจะบอกว่าไม่ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย แล้วแต่ยึดมั่นอะไร นี่คือสิ่งที่เป็นคำถามต่อประเทศในอนาคตว่า แล้วเราจะทำให้ประเทศของเราได้รับการยอมรับได้อย่างไร ถ้าไม่ยอมรับรัฐบาลนี้ ก็กรุณายอมรับระบบที่เป็นระบบ และใช้กติกาการเลือกตั้ง เพราะเราได้คืนอำนาจให้กับประชาชนแล้ว และผู้ที่ตัดสินใจอนาคตของประเทศ ก็คือประชาชน
นายกฯ กล่าวว่า อันนี้คือสิ่งที่อยากขอร้อง เพราะถ้าเรายังเป็นอยู่อย่างนี้ สุดท้ายประเทศของเราก็จะเจ็บปวด พวกเราทุกคนก็จะเจ็บปวด เราจะมาต่อสู้เพื่อชัยชนะมันไม่ใช่ แต่จะทำอย่างไรให้ประเทศของเราเดินได้ ตนในส่วนของรัฐบาลก็ทำทกุกอย่างที่ร้องขอ ทั้งเรื่องของการปฏิรูป การยุบสภาคืนอำนาจให้กับประชาชน แต่ก็ต้องขอความกรุณาว่า การที่เราอยู่ในตำแหน่งนี้ ต้องขอความกรุณาว่า ไม่ใช่เราดื้อรั้น ยึดติดกับตำแหน่ง แต่เป็นหน้าที่ที่ทุกคนต้องรับผิดชอบ เป็นหน้าที่ที่เราทำให้มีการเลือกตั้ง ถ้าเราไม่เอากติกา ไม่เดิน เราก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร แล้วจะให้รัฐบาลทำอย่างไร รัฐบาลในฐานะที่รักษาประชาธิปไตย บอกว่าให้วาง แล้วคืนอำนาจให้กับประชาชน และจะทำอย่างไร เพราะวันนี้วิธีคืนอำนาจให้กับประชาชนคือ การยุบสภา ถ้าหากคืนให้กับประชาชนแล้ว ไม่มีกติกา เราก็เกรงว่าความวุ่นวายนี้ จะเกิดขึ้นเป็นความเจ็บปวดของประเทศ ทำให้เราไม่ได้ก้าวไปข้างหน้า กับทำให้หลายๆ ประเทศมองเรา ตรงนี้คือสิ่งที่อยู่ในใจ
เมื่อถามว่า แถลงการณ์ที่ออกมาระบุว่า เดินหน้าการเลือกตั้ง และตั้งเวทีปฏิรูป ขณะนี้ได้รับกระแสกลับมาอย่างไร นายกฯ กล่าวว่า เราได้รับฟังหลายภาคส่วน รวมทั้งจากพรรคการเมือง ซึ่งมีแนวโน้มการตอบรับที่ดี แต่อย่างไรก็ตาม ต้องได้รับการตอบรับจากทุกคน โดยเฉพาะจากกลุ่มผู้ชุมนุม ถ้าไม่รับเวทีปฏิรูป ซึ่งไม่ใช่เวทีปฏิรูปของรัฐบาล แต่รัฐบาลเป็นผู้เริ่มต้นเท่านั้น เราอยากเห็นเวทีนี้ เป็นเวทีกลางของประชาชนทั้งประเทศไม่ใช่ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เป็นเวทีที่ทุกคนจะมาเปิดใจกันมาแก้ปัญหา อะไรที่ไม่ชอบ ไม่อยากเห็นในอดีต ก็มาแก้ไขด้วยการปฏิรูป แต่ถ้าอยู่ๆ การปฏิรูปเกิดขึ้นโดยไม่มีกติกา แล้วจะเอาบรรทัดฐานนี้ไปบอกคนอื่นได้อย่างไรว่า เวทีปฏิรูปนี้มีกฎหมายมีการรองรับแล้ว นี่คือสิ่งที่เราอยากจะขอว่ารัฐบาลอยากจะเปิดเวทีปฎิรูปนี้ เป็นกลไกในการเริ่มต้นให้ แต่เราหวังว่าเราจะได้รับฟังจากทุกกลุ่ม ที่ตนได้แถลงการณ์ไปเมื่อวันเสาร์ที่ 21ธ.ค. ที่ผ่านมานั้น เป็นเพียงแค่แนวคิดเริ่มต้น เราคงอยากจะฟังแนวคิดนี้ไม่ใช่ว่า เป็นแนวคิดที่จะปฏิบัติทั้งหมด อะไรที่ทุกคนเห็นชอบเราก็จำนำมาปฏิบัติ โดยหน้าที่รัฐบาลจะพยายามรวมมือทุกๆประเด็น
เมื่อถามว่าถึงเวลาหรือยังที่จะพูดจุดยืนการตัดสินใจในลงรับสมัครการเลือกตั้ง นายกฯ กล่าวว่า เราทุกคนต้องมีหน้าที่ พรรคเพื่อไทยเองก็ต้องมีหน้าที่ที่จะลงรับสมัครการเลือกตั้ง
ต่อมาน.ส.ยิ่งลักษณ์ และคณะ ประกอบด้วย พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม นายประดิษฐ์ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข นายวิสาร เตชะธีระวัฒน์ รมช.มหาดไทย นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.คลัง ได้พบปะมวลชนที่บริเวณสถานีรถไฟอุดรธานี ที่มารอต้อนรับอย่างเป็นจำนวนมาก ก่อนจะนำคณะนั่งรถไฟจากสถานีอุดรธานี ไปยังสถานี หนองคาย เพื่อตรวจเส้นทางเดินรถไฟ ที่จะเชื่อมต่อไปยังประเทศลาว
ในระหว่างนั่งรถไฟ นายกฯ ได้โชว์รอยช้ำ รอยขีดข่วนที่แขนและมือ ที่เกิดจากการพบปะประชาชนที่มารอให้การต้อนรับให้สื่อมวลชนได้บันทึกภาพ โดยนายกฯ ได้ทายาแก้รอยฟกช้ำ โดยพล.ต.อ.ประชา ในฐานะเจ้าของพื้นที่ระบุว่า อุดรธานี ไม่มีการเป่านกหวีดเลย ซึ่งนายกฯได้กล่าวชื่นชม และขอบคุณในการต้อนรับอย่างอบอุ่น โดยในขบวนรถไฟนี้ นายขวัญชัย ไพรพนา ประธานชมรมคนรักอุดร ได้ร่วมขบวนรถไฟในครั้งนี้ด้วย
ทั้งนี้ นายกฯ และพล.ต.อ.ประชา ได้ติดตามสถานการณ์ชุมนุมในกรุงเทพมหานคร ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะบริเวณหน้าบ้านซอยโยธินพัฒนา 3 จากภาพกล้องวงจรปิด ซึ่งนายกฯ ยอมรับว่าเป็นห่วงสถานการณ์ ที่กรุงเทพฯ และ จะติดตามอย่างใกล้ชิด แต่เชื่อว่าสถานการณ์จะไม่บานปลาย เป็นเพียงแค่แสดงสัญญาลักษณ์ จากนั้นจะเดินทางกลับ
ด้าน พล.ต.อ.ประชา กล่าวว่า ที่ยอมให้กลุ่มผู้ชุมนุมเดินทางเข้าไปประชิดถึงบริเวณหน้าบ้านนายกฯนั้น เพราะไม่ต้องการให้เกิดการปะทะ เนื่องจากผู้ชุมนุมต้องการให้เกิดความรุนแรง แต่ก็ให้เจ้าหน้าที่เพิ่มควาระมัดระวัง โดยเฉพาะมือที่สามที่อาจเข้ามาสร้างสถานการณ์ รวมถึงจุดอื่นๆ ที่มีการชุมนุมด้วย และมั่นใจว่าจะควบคุมสถานการณ์ได้ เพราะเจ้าหน้าที่ได้เตรียมแผนรองรับในทุกจุดแล้ว
ต่อมา นายกฯ ได้ลงที่สถานีรถไฟนาทา จ.อุดรธานี ซึ่งเป็นจุดสถานที่ก่อสร้างสถานีขนส่งสินค้าทางคอนเทนเนอร์ ดูระบบคันกลับประแจ และเครื่องทางสะดวก ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ระบุเครื่องทางสะดวก รฟท. ใช้งานมากว่า 70 ปีแล้ว ขณะที่ประเทศอื่นเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์หมด นายกฯถึงกับสีหน้าตกใจ
ต่อมา นายกฯไปตรวจเยี่ยมด่านศุลากากรหนองคาย จุดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 อ.เมืองฯ จ.หนองคายโดยมี นายวิวัฒน์ ลิ้มสุวัฒน์ ผู้ว่าฯ จ.หนองคาย ให้การต้อนรับ ซึ่งสะพานแห่งนี้จะครบรอบ 20 ปี ในวันที่ 8 เม.ย. 57 โดยรัฐบาลไทย-ลาว จะจัดงานเฉลิมฉลองอย่างเป็นทางการร่วมกัน
ทั้งนี้ นายกฯได้สอบถามถึงปัญหายาเสพติด ซึ่งทางเจ้าหน้าที่รายงานว่า หลังจากตรวจเข้มการลักลอบขนยาเสพติดลดน้อยลง
ปูเจอนกหวีดไล่ที่หนองคาย
จากนั้นเวลา12.00 น. นายกฯและคณะ เดินทางไปยังรับประทานอาหารกลางวัน ที่ร้านแดง แหนมเนือง จ.หนองคาย ริมแม่น้ำโขง ปรากฏว่า ระหว่างทางได้มีกลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล ประมาณ 7-8 คน มารอเป่านกหวีดตะโกนไล่นายกฯ อยู่ข้างทาง ขณะที่คนเสื้อแดงที่ จ.หนองคาย ที่มาในขบวนนายกฯ ไม่พอใจลงไปต่อว่า "ทำอย่างนี้ได้ยังไง ทำไมเจ้าหน้าที่ปล่อยให้เป่านกหวีดไล่นายกฯ" และจะให้เจ้าหน้าที่ตำรวจไปดึงนกหวีดออก แต่ขณะผู้หญิงที่เป่านกหวีดบอกว่า "ทำไมจะอย่างนี้ไม่ได้ เป็นสิทธิ ฉันเป่าอยู่หน้าบ้านตัวเอง " ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเพียงแต่ควบคุมสถานการณ์
ต่อมา เวลา 14.30 น. ที่สวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา อ.เมืองฯ จ.หนองบัวลำภู น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เข้าสักการะศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จากนั้นได้ปล่อยปลาจำนวน 30,000 ตัว ที่หนองบัว ซึ่งอยู่บริเวณด้านหลังศาล โดยมีข้าราชการ ประชาชนมารอต้อนรับเป็นจำนวนมาก และเดินทางตรวจเยี่ยมผู้ป่วย และให้กำลังใจเจ้าหน้าที่แพทย์ พยาบาล และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ฟังรายงานการดำเนินงานโครงข่ายประกันสุขภาพ การส่งต่อผูัป่วยจากโรงพยาบาลชุมชนไปยังโรงพยาบาลจังหวัด เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร จากนั้นเดินทางไปพบปะมวลชนที่โรงพยาบาลภูหลวง อ.หนองคัน อ.ภูหลวง จ.เลย ก่อนเดินทางไปที่ อ.เชียงคาน จ.เลย เพื่อเข้าที่พัก
มวลชน 2 ฝ่ายปะทะที่เชียงคาน
ต่อมาเวลา 18.40 น. นายกฯ เข้าสักการะพระพุทธรูปไม้จำหลัก ปางประทานอภัยแบบล้านช้าง ที่วัดพระศรีคุณเมือง อ.เชียงคาน จ.เลย โดยพระครูสิริปัญญาวิสุทธิ์ เจ้าอาวาสพร้อมกับคณะสงฆ์ได้สวดมนต์ให้พรนายกฯ ขณะเดียวกันได้มีกลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลจำนวนกว่า 200 คน มาชุมนุมอยู่บริเวณสามแยกมะลิวัลย์ ถนนมะลิวัลย์ ขณะที่การรักษาความปลอดภัย และตั้งจุดสกัด โดยใช้เจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชน สภ.เลย จำนวน 2 กองร้อย และอปพร.จำนวน 1,000 นาย ทันทีที่ นายกฯ ขึ้นรถออกจากวัด ได้เกิดเหตุปะทะกันระหว่างมวลชนคนเสื้อแดง และมวลชนที่ต่อต้านรัฐบาลที่อยู่ห่างจากวัดประมาณ 300 เมตร โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าระงับเหตุ
หิ้ว“น้องไปป์" หนีม็อบทัวร์อีสาน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เดินทางตรวจราชการในภาคอีสาน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้โพสต์ภาพและข้อความผ่านเฟชบุ๊ก Yingluck Shinawatra ว่า “เดินทางมาตรวจราชการในพื้นที่ภาคอีสานหลายจังหวัดและหลายภารกิจในแต่ละวัน อย่างน้อยก็มีลูกอยู่เคียงข้าง คอยเป็นกำลังใจซึ่งกันและกัน จะได้ไม่ต้องเป็นห่วงค่ะ”พร้อมกับลงรูปถ่ายคู่กับน้องไปป์ ด.ช.ศุภเสกข์ อมรฉัตร บุตรชาย ซึ่งกำลังสวมกอดกันด้วยร้อยยิ้ม
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกำหนดการเดิม นายกฯ ลงพื้นที่ตรวจราชการภาคอีสาน ระหว่างวันที่ 17-22ธ.ค. ทั้งนี้ หลังจากที่กปปส. ประกาศชุมนุมใหญ่อีกครั้งโดยเดินทางไปยังบ้านพักที่ซอยโยธินพัฒนา 3 นายฯ ได้ให้ทีมรักษาความปลอดภัย นำบุตรชาย และคนใกล้ชิดเดินทางมาร่วมคณะด้วย หลังจากที่นายกฯลงพื้นที่ได้เพียงวันเดียว
อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่านายกฯ ยังไม่มีกำหนดการเดินทางกลับกรุงเทพฯ แม้จะมีการสมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ในวันนี้ (23ธ.ค.) โดยจะให้หัวหน้าพรรคดำเนินการแทน