ASTVผู้จัดการรายวัน – “ซีอาร์จี” สยายปีกฟาสต์ฟู้ดเชิงรุก ทุ่ม 2,000 ล้านบาทลุยปีหน้า จ้องขยายกิจการด้วยการเทคโอเวอร์และร่วมทุน รับตลาดฟาสต์ฟู้ดพุ่งสุดตัว 90,000 ล้านบาท ปีหน้าเล็งคว้าไลเซ่นส์แบรนด์ใหม่ และรอสรุปซื้อกิจการ ล่าสุดคว้าไลเซนส์เทนยะลุยตลาดข้าวหน้าเทมปุระเสริมทัพ
นายธีระเดช จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือซีอาร์ซีในเครือเซ็นทรัล เปิดเผยว่า บริษัทฯวางแผนการลงทุนปีหน้า (2557) ในเชิงรุกเหมือนช่วง2ปีที่แล้วด้วยงบประมาณรวม 2,000 ล้านบาท แยกเป็น งบการตลาด 500 ล้านบาท และการลงทุนขยายสาขาใหม่ทุกแบรนด์รวม 12 แบรนด์กว่า 1,000 ล้านบาท และสำหรับการเข้าซื้อกิจการและการร่วมทุนธุรกิจอาหารอีก 500-1,000 ล้านบาท
โดยปีหน้าจะเปิดตัวอาหารแบรนด์ใหม่อีก 1 แบรนด์ เป็นการซื้อไลเซนส์แฟรนไชส์ และอยู่ระหว่างการเจรจากับร้านอาหารของไทยกับต่างชาติอย่างละแบรนด์เพื่อซื้อกิจการหรือร่วมทุน ขณะนี้ยังไม่สรุป นอกนั้นก็เปิดสาขาใหม่อีก 90 สาขาใกล้เคียงกับปีนี้ ซึง่ปีนี้ลงทุนรวม 1,500 ล้านบาท คาดว่าสิ้นปีนี้จะมีสาขารวม 740 สาขา จากปัจจุบันที่มี 736 สาขา ซึ่งปีหน้าจะเน้นการสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งมากขึ้น ทำการตลาดมากขึ้นด้วย
อีกทั้งยังอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อขยายธุรกิจร้านอาหารในเครือที่เป็นแฟรนไชส์ไปต่างประเทศในอาเซียนและเอเซียด้วย ที่มีศักยภาพอย่างเช่น 4 แบรนด์นี้คือ โอโตยะ เดอะเทอเรซ มิสเตอร์โดนัท และเทนยะที่เป็นแบรนด์ใหม่ล่าสุด โดยประเทศที่มองไว้คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ซึ่งจะมีทั้งการไปพร้อมกับธุรกิจในเครือกับไปลงทุนเอง
ทั้งนี้หากทำได้ตามแผนงานสำเร็จคาดว่าปีหน้าจะมีรายได้รวมประมาณ 11,000 ล้านบาท เติบโต 17% จากปีนี้ที่คาดว่าจะมีรายได้ 9,000 ล้านบาท เติบโต 10-12% จากปีที่แล้วที่มี 8,200 ล้านบาท แต่ปีนี้รายได้รวม ต่ำกว่าเป้าหมายเล็กน้อยจากที่ตั้งไว้ 9,600 ล้านบาท เนื่องจากปัญหาตั้งแต่ต้นปีทั้งจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง การส่งออกจากไทยน้อยลง ปัญหาโครงการรถคันแรก กระทบต่อกำลังซื้อลดลงด้วย ซึ่งแบรนด์หลักที่เติบโตดีมีสัดส่วนรายได้มากของเครือคือ เคเอฟซี มิสเตอร์โดนัท อานตี้แอนส์ โอโตยะ และเปปเปอร์ลั้นช์ เป็นต้น
สำหรับแนทางของบริษัทฯจะเน้นการขยายอาหารในทุกประเภทที่มีศักยภาพและแนวโน้มเติบโตดี เช่นอาหารญี่ปุ่นซึ่งถือเป็นตลาดใหญ่อันดับสองรองจากอาหารไทย ซึ่งปัจจุบันซีอาร์จีมีอาหารญี่ปุ่นทั้งหมด 7 แบรนด์จากทั้งหมด 12 แบรนด์ คือ ชาบูตง โยชิโนยะ โอโตยะ เทนยะ (ล่าสุดที่เพิ่งเซ็นสัญญาเมื่อกลางปีนี้ ) ทั้งหมดเป็นไลเซ่นส์จากญี่ปุ่น และอีกแบรนด์คือ ริว เป็นของบริษัทฯเองมีสาขาเดียว ส่วนแนวโน้มต่อไปคาดว่าอาหารเกาหลีเริ่มที่จะมาแรงในตลาดมากขึ้นแล้ว แต่ซีอาร์จีก็ยังไม่มีกลุ่มนี้
ทั้งนี้ตลาดอาหารญี่ปุ่นมีการเติบโตเฉลี่ย 15% ต่อปีจากมูลค่าตลาดรวมกว่า 17,000 ล้านบาท เช่นเดียวกับที่ซีอาร์จีก็เติบโตเท่ากัน แต่ยังมีช่องว่างอีกมาก เพราะอาหารญี่ปุ่นมีหลายประเภท ซึ่งซีอาร์จียังมีไม่ครบทุกกลุ่ม อีกทั้งแบรนด์อาหารญี่ปุ่นที่เป็นเชนรายใหญ่ในไทยก็ยังมีน้อยราย แต่การแข่งขันก็รุนแรงเช่นกัน
ล่าสุดคือการซื้อไลเซ่นส์แฟรนไชส์ร้าน เทนยะ จากบริษัท เทน คอร์ปอเรชั่น จำกัด จากญี่ปุ่น ซึ่งเป็นบริษัทในเครือรอยัลโฮลดิ้งผู้ประกอบการร้านอาหารรายใหญ่ในญี่ปุ่น ที่มีร้านอาหารรูปแบบแฟรนไชส์กว่า 40 แบรนด์ และที่ไม่ใช่แฟรนไชส์อีก 5 แบรนด์ มีรายได้รวม 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเปิดร้านเทนยะ เป็นกลุ่มข้าวหน้าเทมปุระ เข้ามาทำตลาดในไทยและเอเซีย โดยไทยเป็นประเทศแรกที่เทนยะขยายตัวออกจากญี่ปุ่น ที่มีมากกว่า 136 สาขาแล้ว และมอบสิทธิ์ให้ซีอาร์จี 20 ปี โดยมีแผนร่วมมือกับเทนยะที่จะขยายแบรนด์ร้านเทนยะไปยังเอเซียอีกด้วย
แผนธุรกิจร้านเทนยะในไทย ภายใน 5 ปีจากนี้ จะขยายให้ได้ 30 สาขา ด้วยงบรวมกันกว่า 300 ล้านบาท และงบการตลาดอีก 100 ล้านบาทรวมเป็น 400 ล้านบาท เปิดสาขาแรกแล้วที่เซ็นทรัลบบางนา และสาขาสองที่เซ็นทรัลลาดพร้าว และคาดว่าปีหน้าจะมีสาขาครบ 10 แห่ง ด้วยงบลงทุนกว่า 60 ล้านบาท เมนูอาหารจะเน้น ราเมง ทงคัตสึ ข้าวหน้าต่างๆที่ใส่เทมปุระ ราคาเฉลี่ย 100-200 บาท
สำหรับตลาดรวมร้านอาหารที่เป็นเชนสโตร์นั้น มีมูลค่ากว่า 90,000 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 11-12% คาดว่าปีหน้าเติบโต 13% ซึ่งกลุ่มหลักๆคือ ตลาดไก่ทอด มูลค่า 14,000 ล้านบาท ปีนี้โต 10% คาดว่าปีหน้าโต 13%, ตลาดเบเกอรี่ มูลค่า 7,200 ล้านบาท ปีนี้โต 12% คาดว่าปีหน้าโต 13%, ตลาดโดนัท มูลค่า 3,500 ล้านบาท ปีนี้โต 14% คาดว่าปีหน้าโต 14%, ตลาดเบอร์เกอร์มูลค่า 6,000 ล้านบาท โต 9% คาดว่าปีหน้าโต 13%, ตลาดปิ้งย่างบุฟเฟ่ต์ มูลค่า 4,300 ล้านบาท โต 18% คาดว่าปีหน้าโต 18% , ตลาดพิซซ่า มูลค่า 8,000 ล้านบาท โต 14% คาดว่าปีหน้าคงเติบโต 10%
นายธีระเดช จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือซีอาร์ซีในเครือเซ็นทรัล เปิดเผยว่า บริษัทฯวางแผนการลงทุนปีหน้า (2557) ในเชิงรุกเหมือนช่วง2ปีที่แล้วด้วยงบประมาณรวม 2,000 ล้านบาท แยกเป็น งบการตลาด 500 ล้านบาท และการลงทุนขยายสาขาใหม่ทุกแบรนด์รวม 12 แบรนด์กว่า 1,000 ล้านบาท และสำหรับการเข้าซื้อกิจการและการร่วมทุนธุรกิจอาหารอีก 500-1,000 ล้านบาท
โดยปีหน้าจะเปิดตัวอาหารแบรนด์ใหม่อีก 1 แบรนด์ เป็นการซื้อไลเซนส์แฟรนไชส์ และอยู่ระหว่างการเจรจากับร้านอาหารของไทยกับต่างชาติอย่างละแบรนด์เพื่อซื้อกิจการหรือร่วมทุน ขณะนี้ยังไม่สรุป นอกนั้นก็เปิดสาขาใหม่อีก 90 สาขาใกล้เคียงกับปีนี้ ซึง่ปีนี้ลงทุนรวม 1,500 ล้านบาท คาดว่าสิ้นปีนี้จะมีสาขารวม 740 สาขา จากปัจจุบันที่มี 736 สาขา ซึ่งปีหน้าจะเน้นการสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งมากขึ้น ทำการตลาดมากขึ้นด้วย
อีกทั้งยังอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อขยายธุรกิจร้านอาหารในเครือที่เป็นแฟรนไชส์ไปต่างประเทศในอาเซียนและเอเซียด้วย ที่มีศักยภาพอย่างเช่น 4 แบรนด์นี้คือ โอโตยะ เดอะเทอเรซ มิสเตอร์โดนัท และเทนยะที่เป็นแบรนด์ใหม่ล่าสุด โดยประเทศที่มองไว้คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ซึ่งจะมีทั้งการไปพร้อมกับธุรกิจในเครือกับไปลงทุนเอง
ทั้งนี้หากทำได้ตามแผนงานสำเร็จคาดว่าปีหน้าจะมีรายได้รวมประมาณ 11,000 ล้านบาท เติบโต 17% จากปีนี้ที่คาดว่าจะมีรายได้ 9,000 ล้านบาท เติบโต 10-12% จากปีที่แล้วที่มี 8,200 ล้านบาท แต่ปีนี้รายได้รวม ต่ำกว่าเป้าหมายเล็กน้อยจากที่ตั้งไว้ 9,600 ล้านบาท เนื่องจากปัญหาตั้งแต่ต้นปีทั้งจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง การส่งออกจากไทยน้อยลง ปัญหาโครงการรถคันแรก กระทบต่อกำลังซื้อลดลงด้วย ซึ่งแบรนด์หลักที่เติบโตดีมีสัดส่วนรายได้มากของเครือคือ เคเอฟซี มิสเตอร์โดนัท อานตี้แอนส์ โอโตยะ และเปปเปอร์ลั้นช์ เป็นต้น
สำหรับแนทางของบริษัทฯจะเน้นการขยายอาหารในทุกประเภทที่มีศักยภาพและแนวโน้มเติบโตดี เช่นอาหารญี่ปุ่นซึ่งถือเป็นตลาดใหญ่อันดับสองรองจากอาหารไทย ซึ่งปัจจุบันซีอาร์จีมีอาหารญี่ปุ่นทั้งหมด 7 แบรนด์จากทั้งหมด 12 แบรนด์ คือ ชาบูตง โยชิโนยะ โอโตยะ เทนยะ (ล่าสุดที่เพิ่งเซ็นสัญญาเมื่อกลางปีนี้ ) ทั้งหมดเป็นไลเซ่นส์จากญี่ปุ่น และอีกแบรนด์คือ ริว เป็นของบริษัทฯเองมีสาขาเดียว ส่วนแนวโน้มต่อไปคาดว่าอาหารเกาหลีเริ่มที่จะมาแรงในตลาดมากขึ้นแล้ว แต่ซีอาร์จีก็ยังไม่มีกลุ่มนี้
ทั้งนี้ตลาดอาหารญี่ปุ่นมีการเติบโตเฉลี่ย 15% ต่อปีจากมูลค่าตลาดรวมกว่า 17,000 ล้านบาท เช่นเดียวกับที่ซีอาร์จีก็เติบโตเท่ากัน แต่ยังมีช่องว่างอีกมาก เพราะอาหารญี่ปุ่นมีหลายประเภท ซึ่งซีอาร์จียังมีไม่ครบทุกกลุ่ม อีกทั้งแบรนด์อาหารญี่ปุ่นที่เป็นเชนรายใหญ่ในไทยก็ยังมีน้อยราย แต่การแข่งขันก็รุนแรงเช่นกัน
ล่าสุดคือการซื้อไลเซ่นส์แฟรนไชส์ร้าน เทนยะ จากบริษัท เทน คอร์ปอเรชั่น จำกัด จากญี่ปุ่น ซึ่งเป็นบริษัทในเครือรอยัลโฮลดิ้งผู้ประกอบการร้านอาหารรายใหญ่ในญี่ปุ่น ที่มีร้านอาหารรูปแบบแฟรนไชส์กว่า 40 แบรนด์ และที่ไม่ใช่แฟรนไชส์อีก 5 แบรนด์ มีรายได้รวม 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเปิดร้านเทนยะ เป็นกลุ่มข้าวหน้าเทมปุระ เข้ามาทำตลาดในไทยและเอเซีย โดยไทยเป็นประเทศแรกที่เทนยะขยายตัวออกจากญี่ปุ่น ที่มีมากกว่า 136 สาขาแล้ว และมอบสิทธิ์ให้ซีอาร์จี 20 ปี โดยมีแผนร่วมมือกับเทนยะที่จะขยายแบรนด์ร้านเทนยะไปยังเอเซียอีกด้วย
แผนธุรกิจร้านเทนยะในไทย ภายใน 5 ปีจากนี้ จะขยายให้ได้ 30 สาขา ด้วยงบรวมกันกว่า 300 ล้านบาท และงบการตลาดอีก 100 ล้านบาทรวมเป็น 400 ล้านบาท เปิดสาขาแรกแล้วที่เซ็นทรัลบบางนา และสาขาสองที่เซ็นทรัลลาดพร้าว และคาดว่าปีหน้าจะมีสาขาครบ 10 แห่ง ด้วยงบลงทุนกว่า 60 ล้านบาท เมนูอาหารจะเน้น ราเมง ทงคัตสึ ข้าวหน้าต่างๆที่ใส่เทมปุระ ราคาเฉลี่ย 100-200 บาท
สำหรับตลาดรวมร้านอาหารที่เป็นเชนสโตร์นั้น มีมูลค่ากว่า 90,000 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 11-12% คาดว่าปีหน้าเติบโต 13% ซึ่งกลุ่มหลักๆคือ ตลาดไก่ทอด มูลค่า 14,000 ล้านบาท ปีนี้โต 10% คาดว่าปีหน้าโต 13%, ตลาดเบเกอรี่ มูลค่า 7,200 ล้านบาท ปีนี้โต 12% คาดว่าปีหน้าโต 13%, ตลาดโดนัท มูลค่า 3,500 ล้านบาท ปีนี้โต 14% คาดว่าปีหน้าโต 14%, ตลาดเบอร์เกอร์มูลค่า 6,000 ล้านบาท โต 9% คาดว่าปีหน้าโต 13%, ตลาดปิ้งย่างบุฟเฟ่ต์ มูลค่า 4,300 ล้านบาท โต 18% คาดว่าปีหน้าโต 18% , ตลาดพิซซ่า มูลค่า 8,000 ล้านบาท โต 14% คาดว่าปีหน้าคงเติบโต 10%