ในขณะนี้การเมืองไทยกำลังตกอยู่ในภาวะสับสนวุ่นวายไร้ทางออก เมื่อรัฐบาลภายใต้การนำของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถูกประชาชนจำนวนนับล้านคน ภายใต้การนำของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ และเพื่อนร่วมอุดมการณ์อีก 8 คนได้ออกมาเดินขบวนไล่ โดยเริ่มจากการต่อต้านการออกกฎหมายนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่ง ไม่ละเว้นแม้ผู้ที่ทุจริต คนโกง เผาบ้านเผาเมือง ฆ่าเจ้าหน้าที่ทหารและประชาชน และยกระดับเป็นการขับไล่โดยอ้างรัฐบาลไม่มีความชอบธรรม จนที่สุดรัฐบาลยอมถอยเริ่มตั้งแต่บงการให้ ส.ว.ที่รัฐบาลแทรกแซงได้มีมติคว่ำร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และสุดท้ายยอมถอยด้วยการยุบสภา แต่ดูเหมือนว่าประชาชนจะไม่ยอมถอยด้วยเงื่อนไขยุบสภา โดยอ้างเหตุว่ารัฐบาลภายใต้การนำของ นางสาวยิ่งลักษณ์ และสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้หมดความชอบธรรมแล้ว ด้วยเหตุปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ในส่วนของรัฐบาลไม่มีความชอบธรรมที่จะดำรงอยู่ในฐานะฝ่ายบริหารที่ได้รับมอบหมายอำนาจอธิปไตยจากปวงชน ด้วยเหตุปัจจัยที่ทำให้ขาดความชอบธรรมดังต่อไปนี้
1.1 ทุจริต คอร์รัปชันในหลายรูปแบบ ทั้งตามน้ำ ทวนน้ำ แต่ที่เห็นได้ชัดเจนและปรากฏเป็นข่าวฉาวโฉ่ไปทั่วโลก และกำลังอยู่ระหว่างการสอบสวนของ ป.ป.ช.ก็คือ การทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวที่อ้างเพื่อช่วยชาวนา แต่เงินตกถึงมือชาวนาน้อยกว่าที่ตกหล่นในกระบวนการ และเป็นเหตุให้ ธ.ก.ส.ผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับเงินในโครงการนี้ขาดเงินหมุนเวียน และทำให้ประเทศเป็นหนี้เนื่องจากขาดทุนนับแสนล้านบาทต่อปี
1.2 การเสนอ พ.ร.บ.กู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท โดยไม่มีรายละเอียดของโครงการชัดเจนพอให้ตรวจสอบได้ และเป็นเสมือนการเปิดโอกาสให้มีการแสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นตอนจัดซื้อจัดจ้าง
1.3 ในการออก พ.ร.บ.กู้เงินสองล้านล้านบาท เพื่อนำมาพัฒนาโครงการขั้นพื้นฐานในด้านคมนาคมการขนส่งซึ่งมีผลให้ประเทศไทยเป็นหนี้ถึง 50 ปี และที่ยิ่งกว่านี้ ประโยชน์ที่จะได้จากโครงการนี้เมื่อมองในแง่ของการใช้สอยแล้วไม่คุ้มค่าแก่การลงทุน และมีโอกาสจะขาดทุนสร้างภาระหนี้สินให้ลูกหลานในอนาคตต้องแบกรับด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถไฟความเร็วสูง
2. ในส่วนของสภาฯ ที่ถือได้ว่าไม่ชอบธรรมที่จะดำรงอยู่ต่อไป อนุมานได้จากเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
2.1 การเสนอออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่อดีตนายกฯ ทักษิณ ซึ่งเป็นผู้มีคดีความทุจริตทั้งที่
ศาลตัดสินแล้วว่ามีความผิด และเป็นนักโทษหนีคดี และคดีอีกหลายคดีที่รออยู่ในศาล รวมไปถึงผู้กระทำผิดข้อหาเผาบ้านเผาเมือง และฆ่าเจ้าหน้าที่ทหารและประชาชน ซึ่งถือได้ว่าไม่มีความชอบธรรมในการทำหน้าที่ในด้านนิติบัญญัติ
2.2 การแก้กฎหมายรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของ ส.ว.ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยแล้วว่าขัดต่อมาตรา 68
2.3 ปฏิเสธไม่ยอมรับอำนาจของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อันถือได้ว่าเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญซึ่งมีโทษถึงขั้นเป็นกบฏ
จากเหตุปัจจัยอันก่อให้เกิดความไม่ชอบธรรม ทั้งในส่วนของรัฐบาล และสภานิติบัญญัติ จะเห็นได้ว่าทั้งรัฐบาล และฝ่ายนิติบัญญัติส่วนหนึ่งประมาณ 300 กว่าคน ขาดความชอบธรรมแล้ว
ดังนั้น การเรียกร้องของประชาชนในนาม กปปส.ก็มีเหตุผลรองรับตามนัยมาตรา 3 แห่งรัฐธรรมนูญ ด้วยสาระที่ว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน แต่ได้มอบให้ผู้แทนไปใช้และเมื่อการใช้มิได้สนองตอบความต้องการของเจ้าของอำนาจ ทั้งยังก่อความเสียหายแก่ประเทศโดยรวมก็มีความชอบธรรมที่เจ้าของอำนาจจะทวงคืน และนำกลับมาใช้ในฐานะเจ้าของอำนาจที่แท้จริง อันเป็นประชาธิปไตยทางตรง
แต่อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้นางสาวยิ่งลักษณ์ยังดื้อแพ่งอยู่ในตำแหน่งโดยอ้างว่ากฎหมายมิได้บัญญัติให้ลาออกจากตำแหน่งหลังประกาศยุบสภา จึงจำเป็นต้องอยู่จนถึงได้รัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง
เมื่อนายกฯ ไม่ยอมลาออกและประชาชนไม่ยอมยุติบทบาททางการเมืองในการเรียกร้องให้มีการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว และทำการปฏิรูปประเทศโดยจัดให้มีสภาประชาชน จึงเท่ากับว่าในขณะนี้การเมืองไทยกำลังถึงทางตัน และยังรอการแก้ไข
ส่วนว่าจะแก้ไขอย่างไรนั้น ถ้ามองในแง่ของความเป็นไปได้โดยที่ไม่ต้องพึ่งการลาออกด้วยความสมัครใจของนางสาวยิ่งลักษณ์ และการยกระดับเพื่อกดดันของ กปปส.ถึงขั้นเกิดความรุนแรงมากกว่าที่เป็นอยู่ ก็อนุมานในแง่ตรรกะว่ามีอยู่ 2 ทางเลือกคือ
1. กองทัพรวมพลังแสดงจุดยืนข้างประชาชน และกดดันให้รัฐบาลชั่วคราวลาออกเพื่อให้เกิดสุญญากาศ และแต่งตั้งรัฐบาลใหม่ตามความต้องการของประชาชน
2. ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดตามนัยแห่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และปรากฏว่านางสาวยิ่งลักษณ์ และ ส.ส. ส.ว. 300 กว่าคนมีความผิดในข้อหาแก้กฎหมายรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของ ส.ว.ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 68 รวมไปถึงนางสาวยิ่งลักษณ์นำกฎหมายที่ยังอยู่ในกระบวนการของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อลงพระปรมาภิไธย ทั้งหมดมีความผิดและมีผลให้ต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ก็จะทำให้เกิดสุญญากาศ และจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้ตามที่ประชาชนเรียกร้อง
ถ้าทั้งสองกรณีข้างต้นไม่เกิดขึ้น และ กปปส.จำเป็นต้องยกระดับเพื่อกดดันก็น่าเป็นห่วงว่าประเทศไทยจะเกิดความรุนแรงขึ้นอีกครั้ง
ดังนั้น ผู้เขียนจึงเห็นว่าถ้าใครพอจะมีทางใดที่จะยุติปัญหานี้ โดยที่ประเทศและประชาชนไม่เดือดร้อน ทั้งยังมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองให้ดีขึ้น ก็ขอให้ช่วยกันไม่ควรปล่อยให้เป็นอยู่อย่างนี้นานเกินไป ไม่เป็นผลดีกับทุกฝ่าย.
1. ในส่วนของรัฐบาลไม่มีความชอบธรรมที่จะดำรงอยู่ในฐานะฝ่ายบริหารที่ได้รับมอบหมายอำนาจอธิปไตยจากปวงชน ด้วยเหตุปัจจัยที่ทำให้ขาดความชอบธรรมดังต่อไปนี้
1.1 ทุจริต คอร์รัปชันในหลายรูปแบบ ทั้งตามน้ำ ทวนน้ำ แต่ที่เห็นได้ชัดเจนและปรากฏเป็นข่าวฉาวโฉ่ไปทั่วโลก และกำลังอยู่ระหว่างการสอบสวนของ ป.ป.ช.ก็คือ การทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวที่อ้างเพื่อช่วยชาวนา แต่เงินตกถึงมือชาวนาน้อยกว่าที่ตกหล่นในกระบวนการ และเป็นเหตุให้ ธ.ก.ส.ผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับเงินในโครงการนี้ขาดเงินหมุนเวียน และทำให้ประเทศเป็นหนี้เนื่องจากขาดทุนนับแสนล้านบาทต่อปี
1.2 การเสนอ พ.ร.บ.กู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท โดยไม่มีรายละเอียดของโครงการชัดเจนพอให้ตรวจสอบได้ และเป็นเสมือนการเปิดโอกาสให้มีการแสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นตอนจัดซื้อจัดจ้าง
1.3 ในการออก พ.ร.บ.กู้เงินสองล้านล้านบาท เพื่อนำมาพัฒนาโครงการขั้นพื้นฐานในด้านคมนาคมการขนส่งซึ่งมีผลให้ประเทศไทยเป็นหนี้ถึง 50 ปี และที่ยิ่งกว่านี้ ประโยชน์ที่จะได้จากโครงการนี้เมื่อมองในแง่ของการใช้สอยแล้วไม่คุ้มค่าแก่การลงทุน และมีโอกาสจะขาดทุนสร้างภาระหนี้สินให้ลูกหลานในอนาคตต้องแบกรับด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถไฟความเร็วสูง
2. ในส่วนของสภาฯ ที่ถือได้ว่าไม่ชอบธรรมที่จะดำรงอยู่ต่อไป อนุมานได้จากเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
2.1 การเสนอออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่อดีตนายกฯ ทักษิณ ซึ่งเป็นผู้มีคดีความทุจริตทั้งที่
ศาลตัดสินแล้วว่ามีความผิด และเป็นนักโทษหนีคดี และคดีอีกหลายคดีที่รออยู่ในศาล รวมไปถึงผู้กระทำผิดข้อหาเผาบ้านเผาเมือง และฆ่าเจ้าหน้าที่ทหารและประชาชน ซึ่งถือได้ว่าไม่มีความชอบธรรมในการทำหน้าที่ในด้านนิติบัญญัติ
2.2 การแก้กฎหมายรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของ ส.ว.ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยแล้วว่าขัดต่อมาตรา 68
2.3 ปฏิเสธไม่ยอมรับอำนาจของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อันถือได้ว่าเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญซึ่งมีโทษถึงขั้นเป็นกบฏ
จากเหตุปัจจัยอันก่อให้เกิดความไม่ชอบธรรม ทั้งในส่วนของรัฐบาล และสภานิติบัญญัติ จะเห็นได้ว่าทั้งรัฐบาล และฝ่ายนิติบัญญัติส่วนหนึ่งประมาณ 300 กว่าคน ขาดความชอบธรรมแล้ว
ดังนั้น การเรียกร้องของประชาชนในนาม กปปส.ก็มีเหตุผลรองรับตามนัยมาตรา 3 แห่งรัฐธรรมนูญ ด้วยสาระที่ว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน แต่ได้มอบให้ผู้แทนไปใช้และเมื่อการใช้มิได้สนองตอบความต้องการของเจ้าของอำนาจ ทั้งยังก่อความเสียหายแก่ประเทศโดยรวมก็มีความชอบธรรมที่เจ้าของอำนาจจะทวงคืน และนำกลับมาใช้ในฐานะเจ้าของอำนาจที่แท้จริง อันเป็นประชาธิปไตยทางตรง
แต่อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้นางสาวยิ่งลักษณ์ยังดื้อแพ่งอยู่ในตำแหน่งโดยอ้างว่ากฎหมายมิได้บัญญัติให้ลาออกจากตำแหน่งหลังประกาศยุบสภา จึงจำเป็นต้องอยู่จนถึงได้รัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง
เมื่อนายกฯ ไม่ยอมลาออกและประชาชนไม่ยอมยุติบทบาททางการเมืองในการเรียกร้องให้มีการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว และทำการปฏิรูปประเทศโดยจัดให้มีสภาประชาชน จึงเท่ากับว่าในขณะนี้การเมืองไทยกำลังถึงทางตัน และยังรอการแก้ไข
ส่วนว่าจะแก้ไขอย่างไรนั้น ถ้ามองในแง่ของความเป็นไปได้โดยที่ไม่ต้องพึ่งการลาออกด้วยความสมัครใจของนางสาวยิ่งลักษณ์ และการยกระดับเพื่อกดดันของ กปปส.ถึงขั้นเกิดความรุนแรงมากกว่าที่เป็นอยู่ ก็อนุมานในแง่ตรรกะว่ามีอยู่ 2 ทางเลือกคือ
1. กองทัพรวมพลังแสดงจุดยืนข้างประชาชน และกดดันให้รัฐบาลชั่วคราวลาออกเพื่อให้เกิดสุญญากาศ และแต่งตั้งรัฐบาลใหม่ตามความต้องการของประชาชน
2. ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดตามนัยแห่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และปรากฏว่านางสาวยิ่งลักษณ์ และ ส.ส. ส.ว. 300 กว่าคนมีความผิดในข้อหาแก้กฎหมายรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของ ส.ว.ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 68 รวมไปถึงนางสาวยิ่งลักษณ์นำกฎหมายที่ยังอยู่ในกระบวนการของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อลงพระปรมาภิไธย ทั้งหมดมีความผิดและมีผลให้ต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ก็จะทำให้เกิดสุญญากาศ และจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้ตามที่ประชาชนเรียกร้อง
ถ้าทั้งสองกรณีข้างต้นไม่เกิดขึ้น และ กปปส.จำเป็นต้องยกระดับเพื่อกดดันก็น่าเป็นห่วงว่าประเทศไทยจะเกิดความรุนแรงขึ้นอีกครั้ง
ดังนั้น ผู้เขียนจึงเห็นว่าถ้าใครพอจะมีทางใดที่จะยุติปัญหานี้ โดยที่ประเทศและประชาชนไม่เดือดร้อน ทั้งยังมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองให้ดีขึ้น ก็ขอให้ช่วยกันไม่ควรปล่อยให้เป็นอยู่อย่างนี้นานเกินไป ไม่เป็นผลดีกับทุกฝ่าย.