ถ้าสังเกตตอนท้ายของแถลงการณ์ที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อ่านให้ดีก็จะเห็นว่าเป็นการเขียนแบบแถลงการณ์ของคณะปฏิวัติ ให้สัญญาว่าจะยอมรับนับถือพันธกรณีที่มีกับนานาประเทศ
การออกมาชุมนุมของประชาชนในครั้งนี้ ต้องยอมรับว่ามีจำนวนมากที่สุดอย่างที่ไม่ปรากฏมาก่อน คงไม่ใช่เพราะมีคนเกลียดทักษิณขนาดนี้ แต่มาจากหลายสาเหตุมารวมกัน โดยเฉพาะการต่อต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม หลายคนไม่เห็นด้วยกับนโยบายประชานิยม และการสร้างหนี้จำนวนมาก
นายสุเทพเป็นนักการเมืองมานานย่อมเป็นธรรมดาที่จะมีเครือข่ายมากมาย โดยเฉพาะฝ่ายทหารที่มีข่าวลือว่าได้มีการพบกัน ซึ่งก็เป็นความจริง แต่ไม่ใช่วันที่เป็นข่าว เข้าใจว่าจะมีการพบกันมาก่อนหน้านั้น และรัฐบาลย่อมรู้ข่าวนี้ดีจึงเกิดการยุบสภา
เมื่อยุบสภาแล้วยังมีการเดินหน้ากดดันให้รัฐบาลออกไป แต่รัฐบาลถือว่า หากทนอยู่ได้นานวันเข้าประชาชนก็จะน้อยลง แล้วจะทำอย่างไรเพราะแต่ละฝ่ายต่างระดมนักวิชาการของตนออกมาสนับสนุนตัวเอง
ถ้ารัฐบาลยอมออกไปจริง วุฒิสภาก็จะต้องทำการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี หากจะเสนอผู้ซึ่งไม่เป็นสมาชิกรัฐสภา วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภาก็ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนนี้เสียก่อน และก็ไม่ต้องใช้มาตรา 7 แต่ถ้าจะใช้มาตรา 7 ทันทีก็ได้
หากมีรัฐบาลชุดใหม่มารักษาการจนถึงวันเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 จะมีประโยชน์อะไร เพราะพรรคเพื่อไทยก็คงได้เสียงข้างมากเข้ามาจัดตั้งรัฐบาลอีก การเมืองไทยก็เป็นเหมือนเดิม เว้นแต่พรรคประชาธิปัตย์จะได้เป็นรัฐบาลแล้วทำการปฏิรูปการเมืองอย่างจริงจัง ซึ่งก็คงจะเป็นไปได้ยาก
ขั้นต่อไปที่ประชาชนควรกดดันรัฐบาลได้แก่การเสนอให้มีการปฏิรูปการเมืองอย่างจริงจัง ซึ่งอย่างน้อยควรครอบคลุมเรื่องเหล่านี้
1. ปรับปรุงกฎหมายปราบคอร์รัปชันให้ไม่มีอายุความ และดำเนินการจัดการปราบปรามอย่างจริงจัง
2. ใครซื้อเสียงต้องถูกลงโทษตัดสิทธิการเมืองตลอดชีวิต
3. กระจายอำนาจอย่างจริงจัง ให้ท้องถิ่นควบคุมตำรวจ ลดอำนาจศูนย์กลาง
4. ห้ามมีนโยบายประชานิยม ซึ่งจะต้องกำหนดกรอบลงไปว่าอย่างไรจึงจะเรียกว่าเข้าข่ายเป็น “ประชานิยม”
เวลานี้ประชาชนมาชุมนุมกันเป็นจำนวนมาก นายสุเทพจะใช้อำนาจเป็นรัฐบาลเสียเองอย่างที่กำลังทำอยู่ก็ไม่เกิดอะไร ไปๆ มาๆ เมืองไทยก็ดูเหมือนจะมีรัฐบาลสองรัฐบาล
มีทางเป็นไปได้ว่า ในที่สุดรัฐบาลอาจทำการจับตัวนายสุเทพ ซึ่งก็คงจะดีกว่าการสลายการชุมนุม แต่ก็จะมีประชาชนลุกขึ้นมาต่อต้านอีก รัฐบาลจึงคงเลือกที่จะใช้วิธีรอคอยเวลาให้ประชาชนมีจำนวนน้อยลง
อีกทางหนึ่งคือ นำเอาม็อบจัดตั้งของตนเข้ามาขับไล่ผู้ชุมนุม แน่นอนว่าวิธีการนี้ สุ่มเสี่ยงเกิดการปะทะกันมีความรุนแรง
ในที่สุดการเมืองไทยก็คงวนเวียนอยู่เช่นนี้ และเป็นการเมืองที่มีการระดมประชาชนของแต่ละฝ่ายเข้ามาสนับสนุนมากยิ่งขึ้น นายทุนใหญ่ๆ ก็จะพลอยเดือดร้อนเพราะชุมนุมแต่ละครั้งก็ต้องใช้ทุนช่วยทั้งนั้น
การออกมาชุมนุมของประชาชนในครั้งนี้ ต้องยอมรับว่ามีจำนวนมากที่สุดอย่างที่ไม่ปรากฏมาก่อน คงไม่ใช่เพราะมีคนเกลียดทักษิณขนาดนี้ แต่มาจากหลายสาเหตุมารวมกัน โดยเฉพาะการต่อต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม หลายคนไม่เห็นด้วยกับนโยบายประชานิยม และการสร้างหนี้จำนวนมาก
นายสุเทพเป็นนักการเมืองมานานย่อมเป็นธรรมดาที่จะมีเครือข่ายมากมาย โดยเฉพาะฝ่ายทหารที่มีข่าวลือว่าได้มีการพบกัน ซึ่งก็เป็นความจริง แต่ไม่ใช่วันที่เป็นข่าว เข้าใจว่าจะมีการพบกันมาก่อนหน้านั้น และรัฐบาลย่อมรู้ข่าวนี้ดีจึงเกิดการยุบสภา
เมื่อยุบสภาแล้วยังมีการเดินหน้ากดดันให้รัฐบาลออกไป แต่รัฐบาลถือว่า หากทนอยู่ได้นานวันเข้าประชาชนก็จะน้อยลง แล้วจะทำอย่างไรเพราะแต่ละฝ่ายต่างระดมนักวิชาการของตนออกมาสนับสนุนตัวเอง
ถ้ารัฐบาลยอมออกไปจริง วุฒิสภาก็จะต้องทำการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี หากจะเสนอผู้ซึ่งไม่เป็นสมาชิกรัฐสภา วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภาก็ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนนี้เสียก่อน และก็ไม่ต้องใช้มาตรา 7 แต่ถ้าจะใช้มาตรา 7 ทันทีก็ได้
หากมีรัฐบาลชุดใหม่มารักษาการจนถึงวันเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 จะมีประโยชน์อะไร เพราะพรรคเพื่อไทยก็คงได้เสียงข้างมากเข้ามาจัดตั้งรัฐบาลอีก การเมืองไทยก็เป็นเหมือนเดิม เว้นแต่พรรคประชาธิปัตย์จะได้เป็นรัฐบาลแล้วทำการปฏิรูปการเมืองอย่างจริงจัง ซึ่งก็คงจะเป็นไปได้ยาก
ขั้นต่อไปที่ประชาชนควรกดดันรัฐบาลได้แก่การเสนอให้มีการปฏิรูปการเมืองอย่างจริงจัง ซึ่งอย่างน้อยควรครอบคลุมเรื่องเหล่านี้
1. ปรับปรุงกฎหมายปราบคอร์รัปชันให้ไม่มีอายุความ และดำเนินการจัดการปราบปรามอย่างจริงจัง
2. ใครซื้อเสียงต้องถูกลงโทษตัดสิทธิการเมืองตลอดชีวิต
3. กระจายอำนาจอย่างจริงจัง ให้ท้องถิ่นควบคุมตำรวจ ลดอำนาจศูนย์กลาง
4. ห้ามมีนโยบายประชานิยม ซึ่งจะต้องกำหนดกรอบลงไปว่าอย่างไรจึงจะเรียกว่าเข้าข่ายเป็น “ประชานิยม”
เวลานี้ประชาชนมาชุมนุมกันเป็นจำนวนมาก นายสุเทพจะใช้อำนาจเป็นรัฐบาลเสียเองอย่างที่กำลังทำอยู่ก็ไม่เกิดอะไร ไปๆ มาๆ เมืองไทยก็ดูเหมือนจะมีรัฐบาลสองรัฐบาล
มีทางเป็นไปได้ว่า ในที่สุดรัฐบาลอาจทำการจับตัวนายสุเทพ ซึ่งก็คงจะดีกว่าการสลายการชุมนุม แต่ก็จะมีประชาชนลุกขึ้นมาต่อต้านอีก รัฐบาลจึงคงเลือกที่จะใช้วิธีรอคอยเวลาให้ประชาชนมีจำนวนน้อยลง
อีกทางหนึ่งคือ นำเอาม็อบจัดตั้งของตนเข้ามาขับไล่ผู้ชุมนุม แน่นอนว่าวิธีการนี้ สุ่มเสี่ยงเกิดการปะทะกันมีความรุนแรง
ในที่สุดการเมืองไทยก็คงวนเวียนอยู่เช่นนี้ และเป็นการเมืองที่มีการระดมประชาชนของแต่ละฝ่ายเข้ามาสนับสนุนมากยิ่งขึ้น นายทุนใหญ่ๆ ก็จะพลอยเดือดร้อนเพราะชุมนุมแต่ละครั้งก็ต้องใช้ทุนช่วยทั้งนั้น