แม้ทุกคนที่เข้าร่วมขับไล่ระบอบทักษิณจะมีความรู้เป็นอย่างดี หรือได้สัมผัสระบอบทักษิณกันมาแล้ว แต่ก็พบว่ายังมีปัญหาต่อการอธิบายอยู่และปัญหาในการอธิบายนี้เอง ยังเป็นจุดอ่อนเล็กๆ น้อยๆ ที่ให้อีกฝ่ายนำมาใช้โจมตีหรือเยาะเย้ยถากถาง
เมื่อให้อธิบาย บางคนก็บอกว่า ระบอบทักษิณคือการโกงกินอย่างบูรณาการ บ้างก็ว่าระบอบทักษิณคือการใช้อำนาจแทรกแซงองค์กรอิสระ อีกความเห็นก็บอกระบอบทักษิณคือการครอบงำระบบการเมืองด้วยอำนาจเงินและคณาธิปไตย หรือบางคนสรุปว่าระบอบทักษิณคือเครือข่ายครอบงำประเทศไทย
คำตอบคนละทางสองทางนี้ ทำให้ฝ่ายตรงข้ามฉวยโอกาสตู่เอาหรือรีบสรุปว่า “เห็นไหมระบอบทักษิณไม่มีจริงหรอก” หรือ “คนไปไล่ระบอบทักษิณไม่ได้รู้จักระบอบทักษิณเลย เพราะถามกี่คนก็ตอบไม่ตรงกันสักคน” บางคนเป็นนักจัดรายการชื่อดังที่ใครๆ เรียกว่า “อาจารย์” ก็ยังเปรียบเปรยเย้ยหยันว่า “คนไปไล่ทักษิณยังไม่รู้เลยว่า ระบอบทักษิณเหมือนหม้อหุงข้าวหรือไม่” ทำให้คนที่ไม่รับรู้ถึงอันตรายของระบอบทักษิณ ปิดหูปิดตา หรือรู้แต่แกล้งไม่รู้เพราะได้ผลประโยชน์ รีบสรุปหรือแกล้งสรุปเอาง่ายๆ ว่า “ระบอบทักษิณไม่มีจริง เพราะไม่มีใครอธิบายได้ตรงกัน”
แท้แล้วคำตอบที่เหมือน “ไปคนละทิศละทาง” เช่นนั้นไม่มีคำตอบไหนผิดเลย แต่คำตอบนั้นขึ้นกับว่า คนตอบนั้นสัมผัส หรือรับรู้ถึงระบอบทักษิณจาก “เหลี่ยมไหน”
นั่นเพราะระบอบทักษิณนั้น คือการครอบงำของทุนธุรกิจการเมืองใหญ่ อาจจะเรียกได้ว่าใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยด้วยซ้ำจนทฤษฎีใดๆ ก็อาจจะอธิบายให้สมบูรณ์ครบถ้วนไม่ได้
ระบอบทักษิณไม่ใช่ระบบการใช้เงินเข้าสู่อำนาจรัฐด้วยการซื้อเสียงถอนทุนเป็นรอบๆ แบบธุรกิจการเมืองคลาสสิกในยุค พ.ศ. 2530 – 2540 แต่ระบอบทักษิณใช้การสถาปนาอำนาจผ่านความนิยม ผ่านความศรัทธาและจงรักภักดี ด้วยการดำเนินนโยบายประชานิยมแบบปรนเปรอควบคู่กันไปด้วย
ดังได้ปรากฏจากงานวิจัยแล้วว่า การซื้อเสียงก็ยังเอาชนะ “ระบอบทักษิณ” ไม่ได้ เพราะต่อให้จ่ายหนักอย่างไร ถึงเวลาคนก็เข้าไปเลือกพรรคของทักษิณอยู่ดี
ฝ่ายคลั่งการเลือกตั้งที่เชื่อว่าการเลือกตั้งคือพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ที่สร้างความชอบธรรมให้ในทุกกรณี อาศัยข้อเท็จจริงอันนี้แหละ มาเป็นข้ออ้างว่า ระบอบทักษิณไม่ได้ชั่วร้าย เพราะมาจากการเลือกตั้งของประชาชน และการซื้อเสียงในยุคใหม่นี้ก็ใช้ไม่ได้ผล การเลือกตั้งจึงบริสุทธิ์ยุติธรรมแน่
นั่นเพราะการตีความคำว่า “ซื้อเสียง” อย่างแคบ เพียงการเอาเงินจ่ายจ้างคนมาลงคะแนนเท่านั้น ซึ่งอย่างที่กล่าวไป วิธีนี้ไม่ได้ผลมากแล้ว การซื้อเสียงแบบเพาะเลี้ยงราก ด้วยประชานิยมซึมลึกนี้เอง เป็นการซื้อเสียงที่ยั่งยืน และทำให้ไม่ว่าจะมีการเลือกตั้งกี่ครั้ง ก็ยากที่พรรคทักษิณจะแพ้
เอาละ ฝ่ายคลั่งเลือกตั้งอาจจะถามต่อว่า แล้วมันมีปัญหาอย่างไร ในเมื่อในที่สุดก็เป็นเสียงของประชาชนตัดสินใจเลือกพรรคที่มาทำประชานิยมให้ตัวเอง นี่ไงประชาธิปไตยที่ประชาชนเลือกคนมาปกครองตัวเอง ส.ส. ในสภาฯ ต่างเป็นตัวแทนของประชาชน
แต่ ส.ส. ในสภาฯ เป็นตัวแทนของประชาชนจริงหรือ? จากกรณีเรื่องเสียบบัตรแทนกันที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินแล้วว่าเกิดขึ้นจริงในกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จนทำให้รัฐธรรมนูญต้องเสียไปตกไปนั้น แสดงให้เห็นได้ว่า ระบอบทักษิณมองรัฐสภาเป็นเหมือน “บริษัท” ที่ ส.ส. แต่ละคนนั้นเป็นตัวแทนผู้ถือหุ้นของนายทุนที่อยู่ข้างหลัง การ “ลงมติ” นั้นเป็นเรื่องที่ “ทำแทนกัน” ได้ ตัวไม่ไป ก็ฝาก “หัวหน้าทีม” ไปเสียบบัตรลงมติแทนให้ได้
ระบอบ “บริษัท” นี่เอง ยิ่งมีการเลือกตั้งมากขึ้นเท่าไร ยิ่งเท่ากับเป็นการสร้างพลังให้ระบอบทักษิณมากขึ้นเท่านั้น ความพยายามอย่างรีบเร่ง ที่จะแก้ให้วุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมดชี้ให้เห็นเจตนานี้ได้อย่างชัดเจน เพราะเท่ากับว่าในปัจจุบันนี้ มีแต่วุฒิสภาจากการสรรหาเท่านั้นที่ยังถ่วงดุลอำนาจฝ่ายทักษิณอยู่ ส่วนที่เหลือก็อย่างที่เห็น – นายกฯ แถลงเที่ยง ส.ว.รับลูกตอนบ่ายๆ อย่างทันใจ
การครอบงำรัฐสภาได้เช่นระบบบริษัทเช่นนี้เอง ทำให้ระบอบทักษิณย่ามใจที่จะทำอะไรก็ได้ทั้งสิ้น รัฐสภากลายเป็นโรงงานออกกฎหมายและแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ตามพิมพ์เขียวใบสั่ง ยิ่งประกอบกับความคิดของนักวิชาการหลายค่ายที่พยายามยืนยัน ทำให้คนเชื่อว่า “อำนาจรัฐสภาเป็นอำนาจล้นพ้น เหนือกว่าแม้แต่อำนาจตุลาการ” และพยายามสร้างวาทกรรมเรื่องศาลไม่มีอำนาจ จะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ดี ก็เป็นการ “เพิ่มพลัง” ให้ระบบโรงงานผลิตกฎหมายในวิธีการของบริษัททั้งสิ้น
เมื่อครอบงำรัฐสภาที่เป็นผู้ออกกฎหมายและอำนาจการบริหารประเทศได้ เครือข่ายของระบอบทักษิณก็ครอบงำได้หมดทั้งฝ่ายราชการและเอกชน เราจึงเห็นได้ว่า ในการโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการทุกระดับ ต้องมี “พี่” หรือมี “ใคร” สักคนให้รัฐบาลสามารถจับยัดจัดแบ่งข้าราชการให้ไปลงตำแหน่งต่างๆ ได้ตามชอบใจ โดยไม่ต้องยึดโยงกับกฎหมายใดๆ ซึ่งก็เคยมีคำพิพากษาศาลปกครองออกมาแสดงให้เห็นเช่นนั้น เช่นในคดีการโยกย้าย คุณถวิล เปลี่ยนสี ซึ่งภายหลังถูกศาลปกครองพิพากษาเพิกถอนว่ามิชอบ (และแน่นอนว่า “ขาประจำ” ก็ต้องออกมาโจมตีว่าศาลไม่มีอำนาจ ศาลแทรกแซงฝ่ายการเมือง)
การครอบงำฝ่ายราชการได้เด็ดขาด ก็ส่งผลอย่างที่เคยเห็น สั่งให้วันหยุดเป็นวันทำการเพื่อจะได้มาโอนเลี่ยงภาษีกันก็ทำได้
และเรื่องน่ากลัวอีกประการ คือ หาก ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ส.ว.นี้เองที่จะเป็นผู้ให้ความเห็นชอบการเข้าดำรงตำแหน่งของ “ศาลปกครอง” และ “ศาลรัฐธรรมนูญ” รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญอื่นๆ ภาพเก่าๆ ในช่วงปลายยุคทักษิณในสมัยปี 45-48 ก็จะกลับมา คือ ในแทบทุกองค์กรอิสระและศาล จะมี “ตำรวจ” เข้าไปนั่งแทรกเป็นยาดำอยู่ทุกองค์กร
ในวงการธุรกิจ อำนาจของฝ่ายทักษิณก็ไปบีบบี้ฝ่ายตรงข้าม เรียกว่าใครไม่ยอมสยบต่อระบอบทักษิณหรือธุรกิจในเครือ ก็จะถูกบีบให้อยู่ได้ยาก หรือในการประมูลจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หากไม่ใช่พวกกัน ก็อย่าหวังได้งาน
ฝ่ายไม่เชื่อในระบอบทักษิณอาจจะกล่าวว่า เรื่องที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ก่อนจะมีระบอบทักษิณมันไม่เคยมีอยู่เลยหรือ คำตอบก็คือ ใช่ มันเคยมีมาแล้วทั้งนั้น แต่นี่เป็นครั้งแรกที่ทุกเรื่องนั้นอยู่ในมือคนคนเดียว หรือกลุ่มอำนาจหนึ่งอำนาจเดียวอย่างเบ็ดเสร็จครบวงจร
นั่นเองที่ถ้าไปถามคนเป็นข้าราชการว่าระบอบทักษิณคืออะไร คำตอบคือ “การแทรกแซงระบบราชการด้วยระบบพวกพ้อง”
ถ้าไปถามคนในวงการธุรกิจว่าระบอบทักษิณคืออะไร คำตอบคือ “การกินรวบทางธุรกิจเบ็ดเสร็จ และบีบให้ทุกคนต้องเป็นพวกหรือยอมสวามิภักดิ์”
ถ้าไปถามคนในวงการเมืองว่าระบอบทักษิณคืออะไร คำตอบคือ “การใช้อำนาจครอบงำระบบการเมืองด้วยเงินตราและคณาธิปไตยเบ็ดเสร็จ”
ถ้าไปถามคนในวงการยุติธรรมว่าระบอบทักษิณคืออะไร คำตอบคือ “การใช้อำนาจพยายามครอบงำศาลและองค์กรอิสระ หรือลดอำนาจศาล”
ถ้าไปถามนักวิชาการว่าระบอบทักษิณคืออะไร คำตอบคือ “คือการกินรวบประเทศแบบบูรณาการ”
และคำตอบของประชาชนคนทั่วไปว่า “คือเครือข่ายครอบงำประเทศไทย” ก็เป็นคำตอบที่ไม่ผิด
นั่นคือที่มา ว่าทำไม ใครๆ ก็ออกมาไล่ระบอบทักษิณกัน!
เมื่อให้อธิบาย บางคนก็บอกว่า ระบอบทักษิณคือการโกงกินอย่างบูรณาการ บ้างก็ว่าระบอบทักษิณคือการใช้อำนาจแทรกแซงองค์กรอิสระ อีกความเห็นก็บอกระบอบทักษิณคือการครอบงำระบบการเมืองด้วยอำนาจเงินและคณาธิปไตย หรือบางคนสรุปว่าระบอบทักษิณคือเครือข่ายครอบงำประเทศไทย
คำตอบคนละทางสองทางนี้ ทำให้ฝ่ายตรงข้ามฉวยโอกาสตู่เอาหรือรีบสรุปว่า “เห็นไหมระบอบทักษิณไม่มีจริงหรอก” หรือ “คนไปไล่ระบอบทักษิณไม่ได้รู้จักระบอบทักษิณเลย เพราะถามกี่คนก็ตอบไม่ตรงกันสักคน” บางคนเป็นนักจัดรายการชื่อดังที่ใครๆ เรียกว่า “อาจารย์” ก็ยังเปรียบเปรยเย้ยหยันว่า “คนไปไล่ทักษิณยังไม่รู้เลยว่า ระบอบทักษิณเหมือนหม้อหุงข้าวหรือไม่” ทำให้คนที่ไม่รับรู้ถึงอันตรายของระบอบทักษิณ ปิดหูปิดตา หรือรู้แต่แกล้งไม่รู้เพราะได้ผลประโยชน์ รีบสรุปหรือแกล้งสรุปเอาง่ายๆ ว่า “ระบอบทักษิณไม่มีจริง เพราะไม่มีใครอธิบายได้ตรงกัน”
แท้แล้วคำตอบที่เหมือน “ไปคนละทิศละทาง” เช่นนั้นไม่มีคำตอบไหนผิดเลย แต่คำตอบนั้นขึ้นกับว่า คนตอบนั้นสัมผัส หรือรับรู้ถึงระบอบทักษิณจาก “เหลี่ยมไหน”
นั่นเพราะระบอบทักษิณนั้น คือการครอบงำของทุนธุรกิจการเมืองใหญ่ อาจจะเรียกได้ว่าใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยด้วยซ้ำจนทฤษฎีใดๆ ก็อาจจะอธิบายให้สมบูรณ์ครบถ้วนไม่ได้
ระบอบทักษิณไม่ใช่ระบบการใช้เงินเข้าสู่อำนาจรัฐด้วยการซื้อเสียงถอนทุนเป็นรอบๆ แบบธุรกิจการเมืองคลาสสิกในยุค พ.ศ. 2530 – 2540 แต่ระบอบทักษิณใช้การสถาปนาอำนาจผ่านความนิยม ผ่านความศรัทธาและจงรักภักดี ด้วยการดำเนินนโยบายประชานิยมแบบปรนเปรอควบคู่กันไปด้วย
ดังได้ปรากฏจากงานวิจัยแล้วว่า การซื้อเสียงก็ยังเอาชนะ “ระบอบทักษิณ” ไม่ได้ เพราะต่อให้จ่ายหนักอย่างไร ถึงเวลาคนก็เข้าไปเลือกพรรคของทักษิณอยู่ดี
ฝ่ายคลั่งการเลือกตั้งที่เชื่อว่าการเลือกตั้งคือพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ที่สร้างความชอบธรรมให้ในทุกกรณี อาศัยข้อเท็จจริงอันนี้แหละ มาเป็นข้ออ้างว่า ระบอบทักษิณไม่ได้ชั่วร้าย เพราะมาจากการเลือกตั้งของประชาชน และการซื้อเสียงในยุคใหม่นี้ก็ใช้ไม่ได้ผล การเลือกตั้งจึงบริสุทธิ์ยุติธรรมแน่
นั่นเพราะการตีความคำว่า “ซื้อเสียง” อย่างแคบ เพียงการเอาเงินจ่ายจ้างคนมาลงคะแนนเท่านั้น ซึ่งอย่างที่กล่าวไป วิธีนี้ไม่ได้ผลมากแล้ว การซื้อเสียงแบบเพาะเลี้ยงราก ด้วยประชานิยมซึมลึกนี้เอง เป็นการซื้อเสียงที่ยั่งยืน และทำให้ไม่ว่าจะมีการเลือกตั้งกี่ครั้ง ก็ยากที่พรรคทักษิณจะแพ้
เอาละ ฝ่ายคลั่งเลือกตั้งอาจจะถามต่อว่า แล้วมันมีปัญหาอย่างไร ในเมื่อในที่สุดก็เป็นเสียงของประชาชนตัดสินใจเลือกพรรคที่มาทำประชานิยมให้ตัวเอง นี่ไงประชาธิปไตยที่ประชาชนเลือกคนมาปกครองตัวเอง ส.ส. ในสภาฯ ต่างเป็นตัวแทนของประชาชน
แต่ ส.ส. ในสภาฯ เป็นตัวแทนของประชาชนจริงหรือ? จากกรณีเรื่องเสียบบัตรแทนกันที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินแล้วว่าเกิดขึ้นจริงในกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จนทำให้รัฐธรรมนูญต้องเสียไปตกไปนั้น แสดงให้เห็นได้ว่า ระบอบทักษิณมองรัฐสภาเป็นเหมือน “บริษัท” ที่ ส.ส. แต่ละคนนั้นเป็นตัวแทนผู้ถือหุ้นของนายทุนที่อยู่ข้างหลัง การ “ลงมติ” นั้นเป็นเรื่องที่ “ทำแทนกัน” ได้ ตัวไม่ไป ก็ฝาก “หัวหน้าทีม” ไปเสียบบัตรลงมติแทนให้ได้
ระบอบ “บริษัท” นี่เอง ยิ่งมีการเลือกตั้งมากขึ้นเท่าไร ยิ่งเท่ากับเป็นการสร้างพลังให้ระบอบทักษิณมากขึ้นเท่านั้น ความพยายามอย่างรีบเร่ง ที่จะแก้ให้วุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมดชี้ให้เห็นเจตนานี้ได้อย่างชัดเจน เพราะเท่ากับว่าในปัจจุบันนี้ มีแต่วุฒิสภาจากการสรรหาเท่านั้นที่ยังถ่วงดุลอำนาจฝ่ายทักษิณอยู่ ส่วนที่เหลือก็อย่างที่เห็น – นายกฯ แถลงเที่ยง ส.ว.รับลูกตอนบ่ายๆ อย่างทันใจ
การครอบงำรัฐสภาได้เช่นระบบบริษัทเช่นนี้เอง ทำให้ระบอบทักษิณย่ามใจที่จะทำอะไรก็ได้ทั้งสิ้น รัฐสภากลายเป็นโรงงานออกกฎหมายและแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ตามพิมพ์เขียวใบสั่ง ยิ่งประกอบกับความคิดของนักวิชาการหลายค่ายที่พยายามยืนยัน ทำให้คนเชื่อว่า “อำนาจรัฐสภาเป็นอำนาจล้นพ้น เหนือกว่าแม้แต่อำนาจตุลาการ” และพยายามสร้างวาทกรรมเรื่องศาลไม่มีอำนาจ จะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ดี ก็เป็นการ “เพิ่มพลัง” ให้ระบบโรงงานผลิตกฎหมายในวิธีการของบริษัททั้งสิ้น
เมื่อครอบงำรัฐสภาที่เป็นผู้ออกกฎหมายและอำนาจการบริหารประเทศได้ เครือข่ายของระบอบทักษิณก็ครอบงำได้หมดทั้งฝ่ายราชการและเอกชน เราจึงเห็นได้ว่า ในการโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการทุกระดับ ต้องมี “พี่” หรือมี “ใคร” สักคนให้รัฐบาลสามารถจับยัดจัดแบ่งข้าราชการให้ไปลงตำแหน่งต่างๆ ได้ตามชอบใจ โดยไม่ต้องยึดโยงกับกฎหมายใดๆ ซึ่งก็เคยมีคำพิพากษาศาลปกครองออกมาแสดงให้เห็นเช่นนั้น เช่นในคดีการโยกย้าย คุณถวิล เปลี่ยนสี ซึ่งภายหลังถูกศาลปกครองพิพากษาเพิกถอนว่ามิชอบ (และแน่นอนว่า “ขาประจำ” ก็ต้องออกมาโจมตีว่าศาลไม่มีอำนาจ ศาลแทรกแซงฝ่ายการเมือง)
การครอบงำฝ่ายราชการได้เด็ดขาด ก็ส่งผลอย่างที่เคยเห็น สั่งให้วันหยุดเป็นวันทำการเพื่อจะได้มาโอนเลี่ยงภาษีกันก็ทำได้
และเรื่องน่ากลัวอีกประการ คือ หาก ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ส.ว.นี้เองที่จะเป็นผู้ให้ความเห็นชอบการเข้าดำรงตำแหน่งของ “ศาลปกครอง” และ “ศาลรัฐธรรมนูญ” รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญอื่นๆ ภาพเก่าๆ ในช่วงปลายยุคทักษิณในสมัยปี 45-48 ก็จะกลับมา คือ ในแทบทุกองค์กรอิสระและศาล จะมี “ตำรวจ” เข้าไปนั่งแทรกเป็นยาดำอยู่ทุกองค์กร
ในวงการธุรกิจ อำนาจของฝ่ายทักษิณก็ไปบีบบี้ฝ่ายตรงข้าม เรียกว่าใครไม่ยอมสยบต่อระบอบทักษิณหรือธุรกิจในเครือ ก็จะถูกบีบให้อยู่ได้ยาก หรือในการประมูลจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หากไม่ใช่พวกกัน ก็อย่าหวังได้งาน
ฝ่ายไม่เชื่อในระบอบทักษิณอาจจะกล่าวว่า เรื่องที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ก่อนจะมีระบอบทักษิณมันไม่เคยมีอยู่เลยหรือ คำตอบก็คือ ใช่ มันเคยมีมาแล้วทั้งนั้น แต่นี่เป็นครั้งแรกที่ทุกเรื่องนั้นอยู่ในมือคนคนเดียว หรือกลุ่มอำนาจหนึ่งอำนาจเดียวอย่างเบ็ดเสร็จครบวงจร
นั่นเองที่ถ้าไปถามคนเป็นข้าราชการว่าระบอบทักษิณคืออะไร คำตอบคือ “การแทรกแซงระบบราชการด้วยระบบพวกพ้อง”
ถ้าไปถามคนในวงการธุรกิจว่าระบอบทักษิณคืออะไร คำตอบคือ “การกินรวบทางธุรกิจเบ็ดเสร็จ และบีบให้ทุกคนต้องเป็นพวกหรือยอมสวามิภักดิ์”
ถ้าไปถามคนในวงการเมืองว่าระบอบทักษิณคืออะไร คำตอบคือ “การใช้อำนาจครอบงำระบบการเมืองด้วยเงินตราและคณาธิปไตยเบ็ดเสร็จ”
ถ้าไปถามคนในวงการยุติธรรมว่าระบอบทักษิณคืออะไร คำตอบคือ “การใช้อำนาจพยายามครอบงำศาลและองค์กรอิสระ หรือลดอำนาจศาล”
ถ้าไปถามนักวิชาการว่าระบอบทักษิณคืออะไร คำตอบคือ “คือการกินรวบประเทศแบบบูรณาการ”
และคำตอบของประชาชนคนทั่วไปว่า “คือเครือข่ายครอบงำประเทศไทย” ก็เป็นคำตอบที่ไม่ผิด
นั่นคือที่มา ว่าทำไม ใครๆ ก็ออกมาไล่ระบอบทักษิณกัน!