ผู้ว่าแบงก์ชาติห่วงการเมืองยืดเยื้อฉุดเศรษฐกิจไทยสะดุด เพราะเศรษฐกิจไทยจำเป็นต้องอาศัยกลไกของรัฐบาล ห่วงส่งผลต่อเนื่องเศรษฐกิจในปีหน้า แนะควรมีกลไกการทำงานภาครัฐแท้จริง ยอมรับหน้าที่ ธปท.ดูแลเสถียรภาพได้ชั่วคราวและไม่สามารถทดแทนส่วนที่หายของเศรษฐกิจที่แท้จริง
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงช่วงที่ไม่มีรัฐบาลแท้จริงอาจจะส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายและโครงการลงทุนของภาครัฐให้ชะงักนั้น การเบิกจ่ายมีผลอยู่แล้ว แต่สิ่งสำคัญ ธปท.มีความเป็นห่วงในขณะนี้ คือ เศรษฐกิจไทยจำเป็นต้องอาศัยกลไกของรัฐบาลให้สามารถทำงานได้ เพื่อให้เศรษฐกิจไทยเดินหน้าต่อไปได้ เพราะผลแตกต่างกันระหว่างมีรัฐบาลทำงานกับไม่มีรัฐบาลทำงาน ซึ่งส่วนนี้ก็จะมีผลต่อเนื่องไปยังเศรษฐกิจไทยในปีหน้าด้วย ในแง่ของความเชื่อมั่นที่โครงการลงทุนขนาดใหญ่ภาครัฐชะงัก เห็นว่าขณะนี้เห็นว่าควรห่วงสถานการณ์บ้านเมืองมากกว่า
“ถ้าไม่มีรัฐบาลก็จะมีผลต่อเศรษฐกิจโดยรวม ในส่วนของเรา (ธปท.) ดูเสถียรภาพอยู่ข้างหลัง ซึ่งพยายามทำเต็มที่ แต่ก็ต้องเข้าใจว่า ธปท.มีข้อจำกัดด้านเครื่องมือที่มีไม่มาก จึงอยากเห็นส่วนอื่นๆของเศรษฐกิจสามารถดำเนินไปได้ไม่ว่าจะเป็นภาคส่งออก นำเข้า การลงทุน การท่องเที่ยว เป็นต้น อีกทั้งเราไม่สามารถทดแทนตัวที่หายไปได้ เพราะเราอยู่ด่านหลังคอยคัดท้าย จึงคอยดูได้ชั่วคราว แต่การทำงานของรัฐบาลเป็นกลสำคัญในระบบเศรษฐกิจ ถ้ากลไกนี้ไม่ทำงานก็อาจจะเป็นจุดเสี่ยงเศรษฐกิจได้”ผู้ว่าการธปท.กล่าว
ส่วนการอนุมัติเครื่องมือทางการเงินในยามฉุกเฉินหรือสถานการณ์ที่มีความจำเป็น ซึ่งอาจต้องใช้อำนาจจากรัฐในบางส่วนนั้นเห็นว่าขณะนี้ยังไม่เห็นสัญญาณบ่งชี้ว่ามีความจำเป็นต้องใช้เครื่องมืออะไรพิเศษและหากพิจารณาตามข้อมูลเกี่ยวข้องกับ ธปท.ขณะนี้ไม่ห่วงอะไรมากในระยะสั้นทั้งสัญญาณที่แสดงความตกใจหรือขาดความเชื่อมั่นยังไม่มี แต่ต้องการให้เศรษฐกิจต้องเดินหน้าต่อไปได้ซึ่งทุกภาคส่วนก็ต้องเดินไปได้ด้วย สิ่งเหล่านี้ก็ต้องอาศัยรัฐบาลทั้งแง่ของการติดต่อด้านกลไก การตัดสินใจ นโยบายต่างๆ เพราะหากไม่มีสิ่งเหล่านี้สักระยะหนึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมได้
**ตลาดไม่ตื่นตระหนกบาทเคลื่อนไหวแคบๆ**
สำหรับค่าเงินบาทในช่วงนี้เคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ แสดงให้เห็นว่าในตลาดไม่ได้ตื่นตระหนก (Panic)และไม่มีสัญญาณ Panic ใดๆ จึงสบายใจได้ในแง่ของอัตราแลกเปลี่ยน บางวันเคลื่อนไหวระหว่าง 31.90-32.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เกิดจากปัจจัยในและนอกประเทศผสมผสานกันทั้งปัจจัยการเมืองภายในประเทศยังไม่คลี่คลาย ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศ ตลาดยังคาดการณ์ช่วงเวลาที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะการทยอยลดธุรกรรมมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ(QE Tapering) ซึ่ง ธปท.จะติดตามประเด็นนี้อย่างใกล้ชิดต่อไป
ต่อข้อซักถามที่ว่าในการประชุมของเฟดวันที่ 17-18 ธ.ค.นี้จะต้องจับตาดูเป็นพิเศษหรือไม่นั้น ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ตลาดค่อนข้างรับรู้ไปแล้วว่าจะทยอยลด QE แต่ไม่รู้เมื่อไหร่เท่านั้นเอง ส่วนจะลดปริมาณมากน้อยแค่ไหนก็เป็นเรื่องที่คาดการณ์ไม่ได้ อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะออกมาเป็นเช่นไรก็เชื่อว่าจะไม่มีปัญหา เพราะไทยมีเงินทุนสำรองทางการระหว่างประเทศอยู่ระดับสูง จึงไม่น่าเป็นห่วง.
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงช่วงที่ไม่มีรัฐบาลแท้จริงอาจจะส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายและโครงการลงทุนของภาครัฐให้ชะงักนั้น การเบิกจ่ายมีผลอยู่แล้ว แต่สิ่งสำคัญ ธปท.มีความเป็นห่วงในขณะนี้ คือ เศรษฐกิจไทยจำเป็นต้องอาศัยกลไกของรัฐบาลให้สามารถทำงานได้ เพื่อให้เศรษฐกิจไทยเดินหน้าต่อไปได้ เพราะผลแตกต่างกันระหว่างมีรัฐบาลทำงานกับไม่มีรัฐบาลทำงาน ซึ่งส่วนนี้ก็จะมีผลต่อเนื่องไปยังเศรษฐกิจไทยในปีหน้าด้วย ในแง่ของความเชื่อมั่นที่โครงการลงทุนขนาดใหญ่ภาครัฐชะงัก เห็นว่าขณะนี้เห็นว่าควรห่วงสถานการณ์บ้านเมืองมากกว่า
“ถ้าไม่มีรัฐบาลก็จะมีผลต่อเศรษฐกิจโดยรวม ในส่วนของเรา (ธปท.) ดูเสถียรภาพอยู่ข้างหลัง ซึ่งพยายามทำเต็มที่ แต่ก็ต้องเข้าใจว่า ธปท.มีข้อจำกัดด้านเครื่องมือที่มีไม่มาก จึงอยากเห็นส่วนอื่นๆของเศรษฐกิจสามารถดำเนินไปได้ไม่ว่าจะเป็นภาคส่งออก นำเข้า การลงทุน การท่องเที่ยว เป็นต้น อีกทั้งเราไม่สามารถทดแทนตัวที่หายไปได้ เพราะเราอยู่ด่านหลังคอยคัดท้าย จึงคอยดูได้ชั่วคราว แต่การทำงานของรัฐบาลเป็นกลสำคัญในระบบเศรษฐกิจ ถ้ากลไกนี้ไม่ทำงานก็อาจจะเป็นจุดเสี่ยงเศรษฐกิจได้”ผู้ว่าการธปท.กล่าว
ส่วนการอนุมัติเครื่องมือทางการเงินในยามฉุกเฉินหรือสถานการณ์ที่มีความจำเป็น ซึ่งอาจต้องใช้อำนาจจากรัฐในบางส่วนนั้นเห็นว่าขณะนี้ยังไม่เห็นสัญญาณบ่งชี้ว่ามีความจำเป็นต้องใช้เครื่องมืออะไรพิเศษและหากพิจารณาตามข้อมูลเกี่ยวข้องกับ ธปท.ขณะนี้ไม่ห่วงอะไรมากในระยะสั้นทั้งสัญญาณที่แสดงความตกใจหรือขาดความเชื่อมั่นยังไม่มี แต่ต้องการให้เศรษฐกิจต้องเดินหน้าต่อไปได้ซึ่งทุกภาคส่วนก็ต้องเดินไปได้ด้วย สิ่งเหล่านี้ก็ต้องอาศัยรัฐบาลทั้งแง่ของการติดต่อด้านกลไก การตัดสินใจ นโยบายต่างๆ เพราะหากไม่มีสิ่งเหล่านี้สักระยะหนึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมได้
**ตลาดไม่ตื่นตระหนกบาทเคลื่อนไหวแคบๆ**
สำหรับค่าเงินบาทในช่วงนี้เคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ แสดงให้เห็นว่าในตลาดไม่ได้ตื่นตระหนก (Panic)และไม่มีสัญญาณ Panic ใดๆ จึงสบายใจได้ในแง่ของอัตราแลกเปลี่ยน บางวันเคลื่อนไหวระหว่าง 31.90-32.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เกิดจากปัจจัยในและนอกประเทศผสมผสานกันทั้งปัจจัยการเมืองภายในประเทศยังไม่คลี่คลาย ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศ ตลาดยังคาดการณ์ช่วงเวลาที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะการทยอยลดธุรกรรมมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ(QE Tapering) ซึ่ง ธปท.จะติดตามประเด็นนี้อย่างใกล้ชิดต่อไป
ต่อข้อซักถามที่ว่าในการประชุมของเฟดวันที่ 17-18 ธ.ค.นี้จะต้องจับตาดูเป็นพิเศษหรือไม่นั้น ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ตลาดค่อนข้างรับรู้ไปแล้วว่าจะทยอยลด QE แต่ไม่รู้เมื่อไหร่เท่านั้นเอง ส่วนจะลดปริมาณมากน้อยแค่ไหนก็เป็นเรื่องที่คาดการณ์ไม่ได้ อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะออกมาเป็นเช่นไรก็เชื่อว่าจะไม่มีปัญหา เพราะไทยมีเงินทุนสำรองทางการระหว่างประเทศอยู่ระดับสูง จึงไม่น่าเป็นห่วง.