ASTVผู้จัดการรายวัน- ปี 2557 คาดส่งออกอาหารไทยจะมีมูลค่า 9.7 แสนล้านบาทแม้จะเติบโตมากขึ้นจากปีนี้ที่คาดว่าสิ้นปีจะมีมูลค่า 9.13 แสนล้านบาทแต่ก็ยังคงไปไม่ถึงฝันในระดับล้านล้านบาทอย่างที่เคยหวังไว้ เหตุยังมีปัจจัยเสี่ยงอีกเพียบ
นายเพ็ชร ชินบุตร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า แนวโน้มการส่งออกอาหารของไทยในปี 2557 คาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออกประมาณ 970,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.2% ซึ่งเป็นมูลค่าใกล้เคียงกับปี 2555 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกน่าจะเริ่มฟื้นตัวชัดเจนขึ้น โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่า เศรษฐกิจโลกในปี 2557 จะขยายตัว 3.6% สูงที่สุดในรอบ 3 ปี ขณะที่ค่าเงินบาททั้งปี 2557 จะเฉลี่ยอยู่ที่ 31.34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาและความต้องการน้ำตาลในตลาดโลกมีแนวโน้มฟื้นตัว
“ ส่งออกอาหารปีหน้าแม้จะฟื้นตัวแต่ก็ยังมีปัจจัยลบ เช่น การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมกุ้งไทยจากโรคระบาดน่าจะเป็นไปอย่างช้าๆ สินค้าอาหารแปรรูปของไทยจะถูกสหภาพยุโรป(อียู) ตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นไป โดยเฉพาะกลุ่มสินค้ากุ้งแปรรูปที่พึ่งพิงตลาดอียูถึง 16% และราคาพลังงานมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น”นายเพ็ชรกล่าว
สำหรับสถานการณ์การค้าอาหารของไทยในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2556 (ม.ค.-ต.ค.) พบว่ามีมูลค่าการส่งออก 765,566 ล้านบาท ลดลง 6.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2555 โดยคาดว่าการส่งออกในภาพรวมตลอดปี 2556 จะมีมูลค่าประมาณ 913,000 ล้านบาทลดลงต 6 % เมื่อเทียบกับปี 2555 ซึ่ง 10 เดือนแรกของปี 2556 สินค้าอาหารที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ข้าว น้ำตาลทราย ปลาทูน่ากระป๋อง ไก่ และกุ้ง โดยไทยส่งออกสินค้าอาหารไปยัง 6 ทวีป รวม 222 ประเทศทั่วโลก ซึ่งกว่า 60% อยู่ในเอเชีย ได้แก่ อาเซียน ญี่ปุ่น จีน ตะวันออกกลาง และอินเดีย
นายเพ็ชร ชินบุตร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า แนวโน้มการส่งออกอาหารของไทยในปี 2557 คาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออกประมาณ 970,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.2% ซึ่งเป็นมูลค่าใกล้เคียงกับปี 2555 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกน่าจะเริ่มฟื้นตัวชัดเจนขึ้น โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่า เศรษฐกิจโลกในปี 2557 จะขยายตัว 3.6% สูงที่สุดในรอบ 3 ปี ขณะที่ค่าเงินบาททั้งปี 2557 จะเฉลี่ยอยู่ที่ 31.34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาและความต้องการน้ำตาลในตลาดโลกมีแนวโน้มฟื้นตัว
“ ส่งออกอาหารปีหน้าแม้จะฟื้นตัวแต่ก็ยังมีปัจจัยลบ เช่น การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมกุ้งไทยจากโรคระบาดน่าจะเป็นไปอย่างช้าๆ สินค้าอาหารแปรรูปของไทยจะถูกสหภาพยุโรป(อียู) ตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นไป โดยเฉพาะกลุ่มสินค้ากุ้งแปรรูปที่พึ่งพิงตลาดอียูถึง 16% และราคาพลังงานมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น”นายเพ็ชรกล่าว
สำหรับสถานการณ์การค้าอาหารของไทยในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2556 (ม.ค.-ต.ค.) พบว่ามีมูลค่าการส่งออก 765,566 ล้านบาท ลดลง 6.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2555 โดยคาดว่าการส่งออกในภาพรวมตลอดปี 2556 จะมีมูลค่าประมาณ 913,000 ล้านบาทลดลงต 6 % เมื่อเทียบกับปี 2555 ซึ่ง 10 เดือนแรกของปี 2556 สินค้าอาหารที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ข้าว น้ำตาลทราย ปลาทูน่ากระป๋อง ไก่ และกุ้ง โดยไทยส่งออกสินค้าอาหารไปยัง 6 ทวีป รวม 222 ประเทศทั่วโลก ซึ่งกว่า 60% อยู่ในเอเชีย ได้แก่ อาเซียน ญี่ปุ่น จีน ตะวันออกกลาง และอินเดีย