นายเอกนัฎ พร้อมพันธุ์ โฆษกคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) แถลงเรียกร้องไปยัง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กรณีออกมาระบุว่า พร้อมที่จะลาออก ยุบสภา และทำประชามติ ถามความต้องการประชาชนถึงทางออกในการแก้ไขปัญหาประเทศว่า ขอให้รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ เลิกโยนความผิดให้กับประชาชน เพราะปัญหาทั้งหมดเกิดจากการที่รัฐบาลรับใช้ระบอบทักษิณ และคำแถลงของนายกฯ ไม่มีอะไรใหม่ เป็นการเล่นลิ้น โกหกประชาชนให้ตายใจ ข้อเสนอต่างๆ ก็เป็นการซื้อเวลารักษาอำนาจตัวเอง ทั้งที่ผ่านมาก็ไม่เคยออกมาขอโทษประชาชน หรือแสดงความรับผิดชอบต่อปัญหาทีได้ก่อไว้ รวมถึงรัฐบาลและรัฐสภาทาส หมดความชอบธรรม สิ้นสภาพทางกฎหมายแล้ว หลังจากที่ไม่รับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่วินิจฉัยเป็นลบต่อรัฐบาล และการเสนอทำประชามติ เป็นการดูถูก และไม่เข้าใจประชาชนที่ออกมาต่อต้านระบอบทักษิณว่า ประชาชนหมดความอดทนต่อระบอบทักษิณที่ทำร้ายประเทศไทยมานับ 10 ปี
“ขอเรียกร้องให้รัฐบาลเห็นความสำคัญของประชาชนที่ออกมาตากแดด ตากฝนเสียที ตั้งแต่วันที่ 24 พ.ย.ที่ผ่านมามวลชนออกมาเป็นล้านคนแล้ว ซึ่งคนจำนวนนี้ก็ถือว่าเป็นตัวแทนของประชาชนส่วนใหญ่ 60 กว่าล้านคน ที่มาแสดงออกความต้องการขจัดระบอบทักษิณให้หมดสิ้นไปจากประเทศ จึงไม่เข้าใจว่า จะต้องมาถามประชาชนอีกสักกี่ครั้ง”
นายเอกนัฎ ยังกล่าวถึงการที่ กปปส.จะเดินทางไปปิดล้อมทำเนียบรัฐบาลในวันนี้ ว่า จำนวนมวลชนเป็นปัจจัยที่จะชี้ชะตาว่า การต่อสู้ครั้งนี้จะแพ้หรือชนะ แต่ทั้งนี้ กปปส. ยังคงยึดหลักต่อสู้สงบ สันติ อหิงสา ปราศจากอาวุธ และเปิดเผยเส้นทางการเดินทางทุกจุด รวมทั้งพร้อมที่จะให้สื่อทั้งไทยและต่างประเทศเข้าร่วมสังเกตการณ์ โดยจะมีการดูแลความปลอดภัยให้กับมวลชน ที่เข้าร่วมทุกเส้นทางอย่างเข้มงวด
ทั้งนี้เอกนัฎ ยังปฏิเสธที่จะให้ความชัดเจนว่า หลัง กปปส. บุกล้อมทำเนียบรัฐบาลในวันนี้ จะยังคงมีการชุมนุมของ กปปส.อยู่ต่อไปอีกหรือไม่ รวมทั้ง 3 เวทีการชุมนุม คือที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ กระทรวงการคลัง และอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยจะยังคงอยู่หรือไม่ โดยเฉพาะเพียงว่า ขอให้รอฟังการแถลงของกปปส.ต่อไป
**แจกหนังสือชี้แนวทางปฏิรูปฯ
ผู้สี่อข่าวรายงานว่า ก่อนที่นายเอกนัฎ จะมีการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนครั้งนี้ นายเอกนัฎ ได้นำหนังสือ “จากเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุนในระบบรัฐสภา ถึงพลังมวลมหาประชาชน" ที่จัดทำโดยกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์ ออกเมื่อวันที่ 5 ธ.ค. ที่ผ่านมา นำมาแจกจ่ายให้กับสื่อมวลชน และผู้ชุมนุมที่สนใจ โดยเนื้อหาของหนังสือดังกล่าว เป็นการอธิบายถึงสภาพการณ์ของรัฐสภาไทย ที่เป็นเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน รวมถึงการใช้เสียงข้างมากในการแก้ไขกฎหมาย สำคัญ 3 ฉบับ คือ ร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาส.ว. ร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับสุดซอย และ ร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ที่สะท้อนว่าเป็นอาการของ“โรคเผด็จการ”
นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาเป็นการทำความเข้าใจถึงเหตุผลว่า ทำไมการลุกขึ้นต่อต้านโดยสันติของประชาชนเพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญ จึงมีความชอบธรรมตามกฎหมาย โดยยกกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของ ส.ว.ขัดรัฐธรรมนูญ แล้วรัฐบาลไม่ยอมรับ รวมถึงไม่ขอพระราชทานนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ทูลเกล้าฯไปก่อนหน้านี้กลับคืนมา แสดงให้เห็นว่า การกระทำดังกล่าวของรัฐบาลเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 69 ที่บัญญัติให้บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธี ซึ่งการกระทำใด ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่มิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ รวมถึงเมื่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 กำหนดให้อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยก็ชอบที่ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจ จะสถาปนาผู้รับผิดชอบบ้านเมืองขึ้นมา เพื่อจัดการบ้านเมืองโดยยึดประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 7 ก่อตั้งสภาผู้รับมอำนาจจากประชาชนหรือสภาประชาชน ที่ประกอบไปด้วยตัวแทนของประชาชนทุกหมู่เหล่า ทำหน้าที่จัดการบ้านเมืองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของมวลมหาประชาชนโดยให้มีการปฏิรูปประเทศเพื่อผลประโยชน์ของมวลมหาประชาชนต่อไป
ทั้งนี้ เนื้อหาหนังสือ ยังได้ยกตัวอย่างการใช้ประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตย ในแก้ไขปัญหาประเทศหลังเหตุการณ์ 14 ต.ค. 16 ที่จอมพลถนอม กิตติขจร รัฐประหาร ยึดอำนาจตนเองและออกธรรมนูญการปกครอง 2515 ต่อมาเกิดการเรียกร้องประชาธิปไตย จนที่สุดจอมพลถนอม ลาออกจากการเป็นนายกฯ และเดินทางออกนอกประเทศ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริให้นายสัญญา ธรรมศักดิ์ อธิการบดีมหาลัยธรรมศาสตร์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมีการตั้งสภาสนามม้า หรือสมัชชาแห่งชาติ ที่มาจากตัวแทนประชาชนหลากหลายอาชีพทั้งนักการเมือง ข้าราชการ แพทย์ นักหนังสือพิมพ์ นักการธนาคาร นายกสมาคมสามล้อเครื่อง รวมเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อยกร่าง รัฐธรรมนูญปี 2517
“ขอเรียกร้องให้รัฐบาลเห็นความสำคัญของประชาชนที่ออกมาตากแดด ตากฝนเสียที ตั้งแต่วันที่ 24 พ.ย.ที่ผ่านมามวลชนออกมาเป็นล้านคนแล้ว ซึ่งคนจำนวนนี้ก็ถือว่าเป็นตัวแทนของประชาชนส่วนใหญ่ 60 กว่าล้านคน ที่มาแสดงออกความต้องการขจัดระบอบทักษิณให้หมดสิ้นไปจากประเทศ จึงไม่เข้าใจว่า จะต้องมาถามประชาชนอีกสักกี่ครั้ง”
นายเอกนัฎ ยังกล่าวถึงการที่ กปปส.จะเดินทางไปปิดล้อมทำเนียบรัฐบาลในวันนี้ ว่า จำนวนมวลชนเป็นปัจจัยที่จะชี้ชะตาว่า การต่อสู้ครั้งนี้จะแพ้หรือชนะ แต่ทั้งนี้ กปปส. ยังคงยึดหลักต่อสู้สงบ สันติ อหิงสา ปราศจากอาวุธ และเปิดเผยเส้นทางการเดินทางทุกจุด รวมทั้งพร้อมที่จะให้สื่อทั้งไทยและต่างประเทศเข้าร่วมสังเกตการณ์ โดยจะมีการดูแลความปลอดภัยให้กับมวลชน ที่เข้าร่วมทุกเส้นทางอย่างเข้มงวด
ทั้งนี้เอกนัฎ ยังปฏิเสธที่จะให้ความชัดเจนว่า หลัง กปปส. บุกล้อมทำเนียบรัฐบาลในวันนี้ จะยังคงมีการชุมนุมของ กปปส.อยู่ต่อไปอีกหรือไม่ รวมทั้ง 3 เวทีการชุมนุม คือที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ กระทรวงการคลัง และอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยจะยังคงอยู่หรือไม่ โดยเฉพาะเพียงว่า ขอให้รอฟังการแถลงของกปปส.ต่อไป
**แจกหนังสือชี้แนวทางปฏิรูปฯ
ผู้สี่อข่าวรายงานว่า ก่อนที่นายเอกนัฎ จะมีการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนครั้งนี้ นายเอกนัฎ ได้นำหนังสือ “จากเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุนในระบบรัฐสภา ถึงพลังมวลมหาประชาชน" ที่จัดทำโดยกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์ ออกเมื่อวันที่ 5 ธ.ค. ที่ผ่านมา นำมาแจกจ่ายให้กับสื่อมวลชน และผู้ชุมนุมที่สนใจ โดยเนื้อหาของหนังสือดังกล่าว เป็นการอธิบายถึงสภาพการณ์ของรัฐสภาไทย ที่เป็นเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน รวมถึงการใช้เสียงข้างมากในการแก้ไขกฎหมาย สำคัญ 3 ฉบับ คือ ร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาส.ว. ร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับสุดซอย และ ร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ที่สะท้อนว่าเป็นอาการของ“โรคเผด็จการ”
นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาเป็นการทำความเข้าใจถึงเหตุผลว่า ทำไมการลุกขึ้นต่อต้านโดยสันติของประชาชนเพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญ จึงมีความชอบธรรมตามกฎหมาย โดยยกกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของ ส.ว.ขัดรัฐธรรมนูญ แล้วรัฐบาลไม่ยอมรับ รวมถึงไม่ขอพระราชทานนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ทูลเกล้าฯไปก่อนหน้านี้กลับคืนมา แสดงให้เห็นว่า การกระทำดังกล่าวของรัฐบาลเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 69 ที่บัญญัติให้บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธี ซึ่งการกระทำใด ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่มิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ รวมถึงเมื่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 กำหนดให้อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยก็ชอบที่ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจ จะสถาปนาผู้รับผิดชอบบ้านเมืองขึ้นมา เพื่อจัดการบ้านเมืองโดยยึดประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 7 ก่อตั้งสภาผู้รับมอำนาจจากประชาชนหรือสภาประชาชน ที่ประกอบไปด้วยตัวแทนของประชาชนทุกหมู่เหล่า ทำหน้าที่จัดการบ้านเมืองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของมวลมหาประชาชนโดยให้มีการปฏิรูปประเทศเพื่อผลประโยชน์ของมวลมหาประชาชนต่อไป
ทั้งนี้ เนื้อหาหนังสือ ยังได้ยกตัวอย่างการใช้ประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตย ในแก้ไขปัญหาประเทศหลังเหตุการณ์ 14 ต.ค. 16 ที่จอมพลถนอม กิตติขจร รัฐประหาร ยึดอำนาจตนเองและออกธรรมนูญการปกครอง 2515 ต่อมาเกิดการเรียกร้องประชาธิปไตย จนที่สุดจอมพลถนอม ลาออกจากการเป็นนายกฯ และเดินทางออกนอกประเทศ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริให้นายสัญญา ธรรมศักดิ์ อธิการบดีมหาลัยธรรมศาสตร์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมีการตั้งสภาสนามม้า หรือสมัชชาแห่งชาติ ที่มาจากตัวแทนประชาชนหลากหลายอาชีพทั้งนักการเมือง ข้าราชการ แพทย์ นักหนังสือพิมพ์ นักการธนาคาร นายกสมาคมสามล้อเครื่อง รวมเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อยกร่าง รัฐธรรมนูญปี 2517