ในที่สุดตำรวจก็ตัดสินใจเปิดทางให้ประชาชนเข้าไปใน บชน.และทำเนียบรัฐบาล การกระทำเช่นนี้น่าจะมาจากเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าตำรวจยิงแก๊สน้ำตามากเกินไป และต้องการให้เกิดการผ่อนคลายสถานการณ์ เนื่องจากใกล้วันเฉลิมพระชนมพรรษา
แต่การชุมนุมก็ยังจะมีต่อไป มวลชนที่ไปร่วมมีโอกาสพักผ่อน 2-3 วัน แล้วก็จะเคลื่อนไหวต่อเพื่อกดดันให้รัฐบาลต้องลาออกไป เป็นที่ทราบกันดีว่า การเรียกร้องให้มีสภาประชาชนเป็นไปไม่ได้ ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ เว้นเสียแต่ว่าจะนำมาตรา 7 มาใช้ซึ่งเป็นเรื่องยาก เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่โปรดที่จะทรงใช้อำนาจนี้ หากไม่มีความจำเป็นจริงๆ
ในปัจจุบันนี้ ระบบการเลือกตั้งแบบที่เป็นอยู่ไม่เป็นที่ต้องการของประชาชน เพราะมีการลงทุนซื้อเสียงกันอย่างน้อยก็ 30-50 ล้านบาท เป็นการส่อให้เห็นว่าเมื่อได้ตำแหน่งแล้วก็จะเอาตำแหน่งไปแสวงหาผลประโยชน์ ซึ่งผมก็เชื่อ เพราะเมื่อ 10 กว่าปีก่อน เพื่อนรุ่นพี่คนหนึ่งเป็นหนี้อยู่ 100 กว่าล้านบาท พอได้เป็นรัฐมนตรีก็ล้างหนี้ได้หมด แถมยังมีเงินเหลืออีกด้วย
เรื่องการคอร์รัปชันนี้นับวันก็จะขยายขอบเขตมากขึ้นทุกวัน และการคอร์รัปชันนี้ก็มีอยู่ควบคู่ไปกับระบอบประชาธิปไตย นักวิชาการบางท่านอย่างอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ เห็นว่าปัญหาการเมืองไทยนี้โดยเนื้อแท้แล้วเกิดจากความขัดแย้งทางชนชั้นที่ชาวนาชาวไร่เลื่อนฐานะขึ้นมาเป็นชนชั้นกลางระดับล่าง แต่ได้รับการต่อต้านจากคนชั้นสูง และชนชั้นกลางระดับสูง ปรากฏการณ์ความขัดแย้งทุกวันนี้เกิดจากสาเหตุนี้ นับว่าเป็นข้อสังเกตที่ควรรับฟัง
คนส่วนล่างที่เป็นชาวนาชาวไร่ตื่นตัวเพราะรัฐบาลให้ความสำคัญ และดำเนินนโยบายที่ให้ผลประโยชน์โดยตรง ในแง่นี้ความขัดแย้งก็เกิดจากผลประโยชน์มากกว่าที่จะเป็นความขัดแย้งทางชนชั้น คนชั้นล่างได้รับทั้งผลประโยชน์เชิงนโยบาย และผลประโยชน์โดยตรง เช่น การซื้อเสียง การได้รับเงินกองทุนหมู่บ้าน และแม้แต่การชุมนุมก็มีข่าวว่าผู้เข้าร่วมได้รับค่าจ้างให้เข้ามาชุมนุม ไปๆ มาๆ การสนับสนุนรัฐบาลก็กลายเป็นผลประโยชน์ของชนชั้นล่าง
ถ้าจะถามว่าการเมืองไทยมีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญบ้าง คำตอบก็ มีอยู่ 3 ประการคือ ในประการแรก ประชาชนมีความตื่นตัวที่จะเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้นในทุกระดับ ประการที่สอง คณะทหารเริ่มตระหนักว่าการเข้าแทรกแซงทางการเมืองเป็นเรื่องที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น ซึ่งปัจจัยสำคัญก็คือ แรงต่อต้านจากประชาชน และจากต่างประเทศ และประการที่สามก็คือ อิทธิพลของสื่อสมัยใหม่ที่เรียกว่า โซเชียลมีเดีย
แต่สิ่งที่ยังไม่เปลี่ยนก็คือ พฤติกรรมของนักการเมืองซึ่งแม้ว่าจะมีระดับการศึกษาสูงขึ้นก็ตาม แต่ก็ยังมีการแสวงหาผลประโยชน์อย่างกว้างขวาง นักการเมืองเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจ และอาจกล่าวได้ว่าบางคนไม่มีความสนใจทางการเมืองอย่างแท้จริง หากเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์เท่านั้น
โอกาสที่รัฐบาลจะยอม และมีการใช้มาตรา 7 คงมีน้อย แต่ก็คงจะมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง ซึ่งก็ยากที่จะคาดเดาว่าจะเป็นเรื่องอะไร การเคลื่อนไหวของประชาชนไม่น่าจะสูญเปล่า เพราะนักการเมืองจะต้องระวังตัวมากขึ้น เพราะเป็นที่ปรากฏชัดเจนแล้วว่า ไม่สามารถทำอะไรตามอำเภอใจได้ ไปๆ มาๆ การเมืองไทยแม้จะไม่ก้าวไปข้างหน้า แต่ก็เป็นการเมืองที่เรียกได้ว่าเป็น “Veto Politics” นั่นคือ ประชาชนพร้อมที่จะใช้อำนาจคัดค้านรัฐบาลโดยตรง การเมืองแบบนี้เป็นการเมืองที่แม้จะล้าหลัง แต่ก็เป็นปรากฏการณ์ของประชาธิปไตยในยุคที่ทุนมีอำนาจ และเกิดการคัดค้านกันระหว่างอำนาจเงินกับอำนาจประชาชน เราคงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งเพื่อให้ระบอบประชาธิปไตยปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้นกว่านี้
แต่การชุมนุมก็ยังจะมีต่อไป มวลชนที่ไปร่วมมีโอกาสพักผ่อน 2-3 วัน แล้วก็จะเคลื่อนไหวต่อเพื่อกดดันให้รัฐบาลต้องลาออกไป เป็นที่ทราบกันดีว่า การเรียกร้องให้มีสภาประชาชนเป็นไปไม่ได้ ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ เว้นเสียแต่ว่าจะนำมาตรา 7 มาใช้ซึ่งเป็นเรื่องยาก เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่โปรดที่จะทรงใช้อำนาจนี้ หากไม่มีความจำเป็นจริงๆ
ในปัจจุบันนี้ ระบบการเลือกตั้งแบบที่เป็นอยู่ไม่เป็นที่ต้องการของประชาชน เพราะมีการลงทุนซื้อเสียงกันอย่างน้อยก็ 30-50 ล้านบาท เป็นการส่อให้เห็นว่าเมื่อได้ตำแหน่งแล้วก็จะเอาตำแหน่งไปแสวงหาผลประโยชน์ ซึ่งผมก็เชื่อ เพราะเมื่อ 10 กว่าปีก่อน เพื่อนรุ่นพี่คนหนึ่งเป็นหนี้อยู่ 100 กว่าล้านบาท พอได้เป็นรัฐมนตรีก็ล้างหนี้ได้หมด แถมยังมีเงินเหลืออีกด้วย
เรื่องการคอร์รัปชันนี้นับวันก็จะขยายขอบเขตมากขึ้นทุกวัน และการคอร์รัปชันนี้ก็มีอยู่ควบคู่ไปกับระบอบประชาธิปไตย นักวิชาการบางท่านอย่างอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ เห็นว่าปัญหาการเมืองไทยนี้โดยเนื้อแท้แล้วเกิดจากความขัดแย้งทางชนชั้นที่ชาวนาชาวไร่เลื่อนฐานะขึ้นมาเป็นชนชั้นกลางระดับล่าง แต่ได้รับการต่อต้านจากคนชั้นสูง และชนชั้นกลางระดับสูง ปรากฏการณ์ความขัดแย้งทุกวันนี้เกิดจากสาเหตุนี้ นับว่าเป็นข้อสังเกตที่ควรรับฟัง
คนส่วนล่างที่เป็นชาวนาชาวไร่ตื่นตัวเพราะรัฐบาลให้ความสำคัญ และดำเนินนโยบายที่ให้ผลประโยชน์โดยตรง ในแง่นี้ความขัดแย้งก็เกิดจากผลประโยชน์มากกว่าที่จะเป็นความขัดแย้งทางชนชั้น คนชั้นล่างได้รับทั้งผลประโยชน์เชิงนโยบาย และผลประโยชน์โดยตรง เช่น การซื้อเสียง การได้รับเงินกองทุนหมู่บ้าน และแม้แต่การชุมนุมก็มีข่าวว่าผู้เข้าร่วมได้รับค่าจ้างให้เข้ามาชุมนุม ไปๆ มาๆ การสนับสนุนรัฐบาลก็กลายเป็นผลประโยชน์ของชนชั้นล่าง
ถ้าจะถามว่าการเมืองไทยมีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญบ้าง คำตอบก็ มีอยู่ 3 ประการคือ ในประการแรก ประชาชนมีความตื่นตัวที่จะเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้นในทุกระดับ ประการที่สอง คณะทหารเริ่มตระหนักว่าการเข้าแทรกแซงทางการเมืองเป็นเรื่องที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น ซึ่งปัจจัยสำคัญก็คือ แรงต่อต้านจากประชาชน และจากต่างประเทศ และประการที่สามก็คือ อิทธิพลของสื่อสมัยใหม่ที่เรียกว่า โซเชียลมีเดีย
แต่สิ่งที่ยังไม่เปลี่ยนก็คือ พฤติกรรมของนักการเมืองซึ่งแม้ว่าจะมีระดับการศึกษาสูงขึ้นก็ตาม แต่ก็ยังมีการแสวงหาผลประโยชน์อย่างกว้างขวาง นักการเมืองเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจ และอาจกล่าวได้ว่าบางคนไม่มีความสนใจทางการเมืองอย่างแท้จริง หากเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์เท่านั้น
โอกาสที่รัฐบาลจะยอม และมีการใช้มาตรา 7 คงมีน้อย แต่ก็คงจะมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง ซึ่งก็ยากที่จะคาดเดาว่าจะเป็นเรื่องอะไร การเคลื่อนไหวของประชาชนไม่น่าจะสูญเปล่า เพราะนักการเมืองจะต้องระวังตัวมากขึ้น เพราะเป็นที่ปรากฏชัดเจนแล้วว่า ไม่สามารถทำอะไรตามอำเภอใจได้ ไปๆ มาๆ การเมืองไทยแม้จะไม่ก้าวไปข้างหน้า แต่ก็เป็นการเมืองที่เรียกได้ว่าเป็น “Veto Politics” นั่นคือ ประชาชนพร้อมที่จะใช้อำนาจคัดค้านรัฐบาลโดยตรง การเมืองแบบนี้เป็นการเมืองที่แม้จะล้าหลัง แต่ก็เป็นปรากฏการณ์ของประชาธิปไตยในยุคที่ทุนมีอำนาจ และเกิดการคัดค้านกันระหว่างอำนาจเงินกับอำนาจประชาชน เราคงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งเพื่อให้ระบอบประชาธิปไตยปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้นกว่านี้