หมุดหมายประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองของประชาชนครั้งสำคัญได้เริ่มต้นในสัปดาห์ที่แล้ว เริ่มตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน เป็นต้นมา ที่คลื่นคนร่วมล้านออกมาต่อต้านระบอบทักษิณจนแน่นเนืองไปตลอดถนนราชดำเนินดังภาพที่ปรากฏ และคนเหล่านั้นก็ไม่ได้หายไปไหน แม้ไม่ได้อยู่ในที่ชุมนุมตลอดเวลา แต่ก็ถือว่ายังมีส่วนร่วมในการชุมนุมอยู่ทุกคน เพียงแต่แบ่งแยกไปทำหน้าที่ซึ่งกันและกัน
จะเห็นได้จากการที่มวลมหาประชาชนเมื่อเคลื่อนเข้าสู่สถานที่ราชการสำคัญ ก็ปรากฏว่ามีผู้คนตามรายทางออกมาแห่แหนเข้าสมทบร่วมขบวนจนมีขนาดขยายขึ้นทุกก้าวย่าง และเมื่อถึงที่แทนที่จะได้รับการต่อต้านขัดขืนจากบรรดาผู้คนที่ตามหลักแล้วถือเป็นคนฝ่ายรัฐ กลับปรากฏว่าในหลายสถานที่ มีการต้อนรับจากผู้ที่อยู่ข้างในอย่างอบอุ่น ราวกับรอรับการมาเยือน หลายคนในที่นั้นยกนกหวีดของตัวเองขึ้นมาเป่าต้อนรับ
แสดงให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่รัฐส่วนใหญ่ไม่ได้เห็นดีเห็นชอบไปกับระบอบทักษิณที่ครอบงำรัฐบาลอยู่ แต่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะของประชาชน ในฐานะข้าราชการของแผ่นดินที่ดำเนินการให้ระบบราชการดำเนินไปได้อย่างราบรื่นเพื่อบริการประชาชน อยู่ข้างเดียวกับประชาชน ไม่ใช่รัฐบาลที่เป็นผู้บังคับบัญชาอันไม่ชอบธรรม
ตามท้องถนน บนรถไฟฟ้า ก็เต็มไปด้วยผู้คนที่แสดงตนด้วยสีธงชาติ และพกนกหวีด พร้อมเข้าร่วมเสมอเมื่อมีการรวมตัวกัน ใครที่ผ่านทางอโศก สุขุมวิท ในวันศุกร์ก็คงได้เห็นภาพการชุมนุมย่อยๆ ของคนรักชาติตลอดเส้นทาง
และเมื่อตกเย็น ทุกคนก็ไปรวมกันที่จุดชุมนุมที่ต่างคนต่างสะดวก ไม่ว่าศูนย์ราชการที่แจ้งวัฒนะ กระทรวงการคลัง หรือถนนราชดำเนิน พร้อมถ่ายรูปเขียนแสดงความเคลื่อนไหวขึ้นสู่โซเชียลมีเดีย ชักชวนเพื่อนๆ ให้ออกมากัน
แม้จะมีจุดที่น่าเศร้าสลดบ้าง จากเหตุการณ์ในคืนสิ้นพฤศจิกาต่อธันวาคมที่ย่านรามคำแหง ต่อต้านการเข้ายึดพื้นที่ของกลุ่มเสื้อแดง การสร้างสถานการณ์จนไม่รู้ว่าใครเป็นใคร ทำให้มีประชาชนและนักศึกษาต้องเสียชีวิต และการปะทะกันหน้า บชน. ที่สะพานชมัยมรุเชฐ มีการยิงแก๊สน้ำตาและน้ำเข้าใส่ประชาชนจนได้รับบาดเจ็บ ซึ่งแสดงให้เห็นการต่อต้านของฝ่ายรัฐบาล แต่เพราะความไม่ชอบธรรมทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นการระดมคนเสื้อแดงเข้ามาปกป้องรัฐบาลในกรุงเทพฯ ในลักษณะที่ล่อแหลมจนเกิดการปะทะกันของมวลชน และการใช้มาตรการที่เกินจำเป็น ทำให้ฝ่ายรัฐบาลและเสื้อแดงต้องยอมถอย
หากภาพรวมที่เห็นบอกเราได้อย่างชัดเจนว่า นี่คือการต่อสู้โดยประชาชนเพื่อต่อต้านอำนาจรัฐและเรียกคืนมาซึ่งประชาธิปไตยอันแท้จริง และน่าจะเป็นครั้งแรกเช่นกัน ที่การต่อสู้ทั้งหมดอาจสำเร็จลงด้วยมวลมหาประชาชนเอง การต่อสู้ที่เล็งเห็นได้ว่าประชาชนจะมีชัยในบั้นปลาย ชนะในที่สุด สามารถเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงได้
แต่การต่อสู้ให้ได้ประชาธิปไตยอย่างแท้จริงก็มีงานที่จะต้องทำต่อ คิดต่อ หลังจากล้างบางระบอบทักษิณไปแล้วด้วยว่า เราจะทำอย่างไรไม่ให้เกิดการครองอำนาจหรือใช้อำนาจในลักษณะนี้ในอนาคต
หรือเป็นการ “ทบทวน” รูปแบบ “ประชาธิปไตย” ที่เหมาะสมแก่ประเทศชาติเราแท้แล้วคำว่า “ประชาธิปไตย” นั้น มีความหมายรวบยอดของมันเพียงว่า การปกครองโดยประชาชนเป็นใหญ่ เป็นผู้ตัดสินใจ แต่รายละเอียดเรื่อง “รูปแบบ” และ “วิธีการ” นั้นเป็นสิ่งที่เราทบทวนมันได้ รูปแบบการปกครองไม่ใช่สิ่งที่ตายตัวอยู่ในตำราทางวิชาการ ที่ต้องคอยอ้างว่า ประเทศโน้นมีอย่างนี้ ประเทศนี้มีอย่างนั้น ประเทศเราจึงต้องมีบ้าง หรือถ้าไม่มีรูปแบบนี้ในตำรา แปลว่าไม่ใช่ประชาธิปไตย
หรืออาจพูดว่า “นี่เป็นกับดักทางความคิด” เลยก็ว่าได้ ที่จะต้องเอาคำว่า “ประชาธิปไตย” ไปหาคู่เทียบว่ามีประเทศอื่นใช้วิธีนี้ไหน ถ้าไม่มี แปลว่าไม่ใช่ประชาธิปไตย ไม่เป็นสากล
ประเทศไทยเรามีสถาบันพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขปกครองต่อเนื่องมายาวนานในประวัติศาสตร์เป็นเสาหลักแรกอันสำคัญที่สุดของชาติ เมื่อคณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครองก็ยังยอมรับในความสำคัญของเสาหลักนี้ และธำรงไว้ในฐานะประมุข โดยเลือกรูปแบบการปกครองเป็นระบบรัฐสภาแบบอังกฤษที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเหมือนกันมาเทียบเคียง อย่างไรก็ตาม ความพยายามในการพัฒนาประชาธิปไตยของไทย ก็มีการหยิบเอาสิ่งนั้นสิ่งนี้ที่เห็นว่าดีจากต่างประเทศมาเติมมาใส่ลงไป เช่น เดิมเรามีวุฒิสภามาจากการสรรหาซึ่งอาจจะเทียบเคียงได้กับ House of lords ของอังกฤษ แต่แล้วเราก็เห็นว่าระบบเลือกตั้งดูเป็นประชาธิปไตยกว่า ก็เปลี่ยนระบบวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมด เหมือนในอเมริกาและยุโรป
ส่วนระบบศาลที่เดิมเราถือระบบศาลเดี่ยวคือศาลยุติธรรมที่มีอำนาจเต็มแบบอังกฤษและอเมริกา เราก็ให้มีศาลคู่ คือศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญในคดีรัฐธรรมนูญ แบบเดียวกับประเทศในภาคพื้นยุโรป มีการก่อตั้งองค์กรอิสระที่ทำการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ รวมทั้งนำความคิดเรื่อง “ศาลต้องยึดโยงกับประชาชน” ในแบบของประเทศเหล่านั้นมาใช้ด้วยบางส่วน ด้วยการให้ตุลาการและผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญในองค์กรอิสระจะต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาที่มีที่มาจากประชาชน ซึ่งล้วนแต่นำเอาบทเรียนความสำเร็จจากที่ต่างๆมาใช้
ความพยายามปรับปรุงนี้อาจจะดีอยู่บ้างก็จริง แต่เพราะการนำเอา “วิธีสำเร็จรูป” ที่ประสบผลสำเร็จแล้วมาครอบลงในสังคมที่มีบริบทแตกต่างกัน ประกอบกับการกำเนิดขึ้นของผู้ไม่สุจริตที่มีเงินและอำนาจเป็นเครื่องมือ ทำให้ระบบพวกนั้นบิดเบี้ยวได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อควบคุม “คน” ได้ ก็ครอบงำระบบที่ยึดโยงกับ “คน” ที่วัดด้วย “เสียงเลือกตั้ง” ได้เบ็ดเสร็จ การตรวจสอบถ่วงดุลในระบบรัฐสภาแบบอังกฤษก็ไม่สำเร็จ เพราะสุดท้ายสภาฯ ก็เป็นพวกเดียวกับรัฐบาล เป็นสภามติพรรคที่สั่งได้ทุกเสียง ที่ควบคุมด้วยวิธียี่ปั๊วถึงขนาดกดบัตรแทนกันเพื่อไม่ให้มติแตก ไม่เหลือเจตจำนงอิสระแห่งการตรวจสอบใดๆ หรือศาลและองค์กรอิสระที่ยึดโยงจากประชาชนในระบบวุฒิสภาเลือกตั้งทั้งหมด ก็ปรากฏว่าถูกครอบงำโดยเครือข่ายทุนเดียวกันจนหมดสภาพในการตรวจสอบ
จึงถึงเวลาที่เราจะต้องมาคิดกันใหม่ สร้างประชาธิปไตยแท้ๆ ของเราใหม่ ละวางความยึดมั่นถือมั่นในตำราทางวิชาการและรูปแบบการปกครองที่ต้องรอดูว่า มีชาติไหนประเทศไหนเขาใช้กันหรือไม่
ละวางแนวคิดที่ยืนยันแต่ว่า ประชาธิปไตยของแท้ต้องเลือกตั้งมันให้หมดทุกภาคส่วน แม้แต่ศาลหรือตุลาการก็ต้องมาจากประชาชน ทั้งที่ตำแหน่งนี้เป็นวิชาชีพเฉพาะที่ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในกฎหมายชั้นสูง
เราต้องออกแบบ และสร้างประชาธิปไตยในแบบของเราเอง ที่เหมาะสมกับคนไทย สังคมไทย ประเทศไทยอันมีสถาบันพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในที่สุด เราอาจจะได้รูปแบบการปกครองใหม่สุด ไม่มีใครเหมือน เป็นระบบเดียวในโลกก็ได้
แต่ก็จะเป็นระบบของเราเอง ที่เหมาะสมกับตัวเราที่สุด เหมือนรองเท้าที่ไม่มีขายที่ไหน เพราะเป็นคู่ที่ตัดมาพิเศษเฉพาะเท้าของเราคนเดียว.
จะเห็นได้จากการที่มวลมหาประชาชนเมื่อเคลื่อนเข้าสู่สถานที่ราชการสำคัญ ก็ปรากฏว่ามีผู้คนตามรายทางออกมาแห่แหนเข้าสมทบร่วมขบวนจนมีขนาดขยายขึ้นทุกก้าวย่าง และเมื่อถึงที่แทนที่จะได้รับการต่อต้านขัดขืนจากบรรดาผู้คนที่ตามหลักแล้วถือเป็นคนฝ่ายรัฐ กลับปรากฏว่าในหลายสถานที่ มีการต้อนรับจากผู้ที่อยู่ข้างในอย่างอบอุ่น ราวกับรอรับการมาเยือน หลายคนในที่นั้นยกนกหวีดของตัวเองขึ้นมาเป่าต้อนรับ
แสดงให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่รัฐส่วนใหญ่ไม่ได้เห็นดีเห็นชอบไปกับระบอบทักษิณที่ครอบงำรัฐบาลอยู่ แต่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะของประชาชน ในฐานะข้าราชการของแผ่นดินที่ดำเนินการให้ระบบราชการดำเนินไปได้อย่างราบรื่นเพื่อบริการประชาชน อยู่ข้างเดียวกับประชาชน ไม่ใช่รัฐบาลที่เป็นผู้บังคับบัญชาอันไม่ชอบธรรม
ตามท้องถนน บนรถไฟฟ้า ก็เต็มไปด้วยผู้คนที่แสดงตนด้วยสีธงชาติ และพกนกหวีด พร้อมเข้าร่วมเสมอเมื่อมีการรวมตัวกัน ใครที่ผ่านทางอโศก สุขุมวิท ในวันศุกร์ก็คงได้เห็นภาพการชุมนุมย่อยๆ ของคนรักชาติตลอดเส้นทาง
และเมื่อตกเย็น ทุกคนก็ไปรวมกันที่จุดชุมนุมที่ต่างคนต่างสะดวก ไม่ว่าศูนย์ราชการที่แจ้งวัฒนะ กระทรวงการคลัง หรือถนนราชดำเนิน พร้อมถ่ายรูปเขียนแสดงความเคลื่อนไหวขึ้นสู่โซเชียลมีเดีย ชักชวนเพื่อนๆ ให้ออกมากัน
แม้จะมีจุดที่น่าเศร้าสลดบ้าง จากเหตุการณ์ในคืนสิ้นพฤศจิกาต่อธันวาคมที่ย่านรามคำแหง ต่อต้านการเข้ายึดพื้นที่ของกลุ่มเสื้อแดง การสร้างสถานการณ์จนไม่รู้ว่าใครเป็นใคร ทำให้มีประชาชนและนักศึกษาต้องเสียชีวิต และการปะทะกันหน้า บชน. ที่สะพานชมัยมรุเชฐ มีการยิงแก๊สน้ำตาและน้ำเข้าใส่ประชาชนจนได้รับบาดเจ็บ ซึ่งแสดงให้เห็นการต่อต้านของฝ่ายรัฐบาล แต่เพราะความไม่ชอบธรรมทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นการระดมคนเสื้อแดงเข้ามาปกป้องรัฐบาลในกรุงเทพฯ ในลักษณะที่ล่อแหลมจนเกิดการปะทะกันของมวลชน และการใช้มาตรการที่เกินจำเป็น ทำให้ฝ่ายรัฐบาลและเสื้อแดงต้องยอมถอย
หากภาพรวมที่เห็นบอกเราได้อย่างชัดเจนว่า นี่คือการต่อสู้โดยประชาชนเพื่อต่อต้านอำนาจรัฐและเรียกคืนมาซึ่งประชาธิปไตยอันแท้จริง และน่าจะเป็นครั้งแรกเช่นกัน ที่การต่อสู้ทั้งหมดอาจสำเร็จลงด้วยมวลมหาประชาชนเอง การต่อสู้ที่เล็งเห็นได้ว่าประชาชนจะมีชัยในบั้นปลาย ชนะในที่สุด สามารถเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงได้
แต่การต่อสู้ให้ได้ประชาธิปไตยอย่างแท้จริงก็มีงานที่จะต้องทำต่อ คิดต่อ หลังจากล้างบางระบอบทักษิณไปแล้วด้วยว่า เราจะทำอย่างไรไม่ให้เกิดการครองอำนาจหรือใช้อำนาจในลักษณะนี้ในอนาคต
หรือเป็นการ “ทบทวน” รูปแบบ “ประชาธิปไตย” ที่เหมาะสมแก่ประเทศชาติเราแท้แล้วคำว่า “ประชาธิปไตย” นั้น มีความหมายรวบยอดของมันเพียงว่า การปกครองโดยประชาชนเป็นใหญ่ เป็นผู้ตัดสินใจ แต่รายละเอียดเรื่อง “รูปแบบ” และ “วิธีการ” นั้นเป็นสิ่งที่เราทบทวนมันได้ รูปแบบการปกครองไม่ใช่สิ่งที่ตายตัวอยู่ในตำราทางวิชาการ ที่ต้องคอยอ้างว่า ประเทศโน้นมีอย่างนี้ ประเทศนี้มีอย่างนั้น ประเทศเราจึงต้องมีบ้าง หรือถ้าไม่มีรูปแบบนี้ในตำรา แปลว่าไม่ใช่ประชาธิปไตย
หรืออาจพูดว่า “นี่เป็นกับดักทางความคิด” เลยก็ว่าได้ ที่จะต้องเอาคำว่า “ประชาธิปไตย” ไปหาคู่เทียบว่ามีประเทศอื่นใช้วิธีนี้ไหน ถ้าไม่มี แปลว่าไม่ใช่ประชาธิปไตย ไม่เป็นสากล
ประเทศไทยเรามีสถาบันพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขปกครองต่อเนื่องมายาวนานในประวัติศาสตร์เป็นเสาหลักแรกอันสำคัญที่สุดของชาติ เมื่อคณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครองก็ยังยอมรับในความสำคัญของเสาหลักนี้ และธำรงไว้ในฐานะประมุข โดยเลือกรูปแบบการปกครองเป็นระบบรัฐสภาแบบอังกฤษที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเหมือนกันมาเทียบเคียง อย่างไรก็ตาม ความพยายามในการพัฒนาประชาธิปไตยของไทย ก็มีการหยิบเอาสิ่งนั้นสิ่งนี้ที่เห็นว่าดีจากต่างประเทศมาเติมมาใส่ลงไป เช่น เดิมเรามีวุฒิสภามาจากการสรรหาซึ่งอาจจะเทียบเคียงได้กับ House of lords ของอังกฤษ แต่แล้วเราก็เห็นว่าระบบเลือกตั้งดูเป็นประชาธิปไตยกว่า ก็เปลี่ยนระบบวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมด เหมือนในอเมริกาและยุโรป
ส่วนระบบศาลที่เดิมเราถือระบบศาลเดี่ยวคือศาลยุติธรรมที่มีอำนาจเต็มแบบอังกฤษและอเมริกา เราก็ให้มีศาลคู่ คือศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญในคดีรัฐธรรมนูญ แบบเดียวกับประเทศในภาคพื้นยุโรป มีการก่อตั้งองค์กรอิสระที่ทำการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ รวมทั้งนำความคิดเรื่อง “ศาลต้องยึดโยงกับประชาชน” ในแบบของประเทศเหล่านั้นมาใช้ด้วยบางส่วน ด้วยการให้ตุลาการและผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญในองค์กรอิสระจะต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาที่มีที่มาจากประชาชน ซึ่งล้วนแต่นำเอาบทเรียนความสำเร็จจากที่ต่างๆมาใช้
ความพยายามปรับปรุงนี้อาจจะดีอยู่บ้างก็จริง แต่เพราะการนำเอา “วิธีสำเร็จรูป” ที่ประสบผลสำเร็จแล้วมาครอบลงในสังคมที่มีบริบทแตกต่างกัน ประกอบกับการกำเนิดขึ้นของผู้ไม่สุจริตที่มีเงินและอำนาจเป็นเครื่องมือ ทำให้ระบบพวกนั้นบิดเบี้ยวได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อควบคุม “คน” ได้ ก็ครอบงำระบบที่ยึดโยงกับ “คน” ที่วัดด้วย “เสียงเลือกตั้ง” ได้เบ็ดเสร็จ การตรวจสอบถ่วงดุลในระบบรัฐสภาแบบอังกฤษก็ไม่สำเร็จ เพราะสุดท้ายสภาฯ ก็เป็นพวกเดียวกับรัฐบาล เป็นสภามติพรรคที่สั่งได้ทุกเสียง ที่ควบคุมด้วยวิธียี่ปั๊วถึงขนาดกดบัตรแทนกันเพื่อไม่ให้มติแตก ไม่เหลือเจตจำนงอิสระแห่งการตรวจสอบใดๆ หรือศาลและองค์กรอิสระที่ยึดโยงจากประชาชนในระบบวุฒิสภาเลือกตั้งทั้งหมด ก็ปรากฏว่าถูกครอบงำโดยเครือข่ายทุนเดียวกันจนหมดสภาพในการตรวจสอบ
จึงถึงเวลาที่เราจะต้องมาคิดกันใหม่ สร้างประชาธิปไตยแท้ๆ ของเราใหม่ ละวางความยึดมั่นถือมั่นในตำราทางวิชาการและรูปแบบการปกครองที่ต้องรอดูว่า มีชาติไหนประเทศไหนเขาใช้กันหรือไม่
ละวางแนวคิดที่ยืนยันแต่ว่า ประชาธิปไตยของแท้ต้องเลือกตั้งมันให้หมดทุกภาคส่วน แม้แต่ศาลหรือตุลาการก็ต้องมาจากประชาชน ทั้งที่ตำแหน่งนี้เป็นวิชาชีพเฉพาะที่ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในกฎหมายชั้นสูง
เราต้องออกแบบ และสร้างประชาธิปไตยในแบบของเราเอง ที่เหมาะสมกับคนไทย สังคมไทย ประเทศไทยอันมีสถาบันพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในที่สุด เราอาจจะได้รูปแบบการปกครองใหม่สุด ไม่มีใครเหมือน เป็นระบบเดียวในโลกก็ได้
แต่ก็จะเป็นระบบของเราเอง ที่เหมาะสมกับตัวเราที่สุด เหมือนรองเท้าที่ไม่มีขายที่ไหน เพราะเป็นคู่ที่ตัดมาพิเศษเฉพาะเท้าของเราคนเดียว.