ASTVผู้จัดการรายวัน- กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเตรียมเสนอกระทรวงพลังงานเดินหน้าเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21จำนวน 27 แปลง หลังเจอโรคเลื่อนตั้งแต่กลางปี 55 ลุ้นขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการปิโตรเลียมภายในม.ค.57 และเปิดให้เอกชนยื่นในเดือนพ.ค. เตรียมสร้างความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ให้สัมปทาน 32 จังหวัด 4 เดือนก่อนเปิดกำหนดให้ผู้ยื่นขอจ่ายโบนัสให้รัฐเพิ่ม
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเตรียมที่จะรายงานความคืบหน้าในการเปิดให้ยื่นขอสัมปทานปิโตรเลียมครั้งที่ 21 ต่อที่ประชุมผู้บริหารระดับสูงที่มีนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นประธานภายในเดือนธันวาคมนี้โดยเฉพาะแผนการดำเนินงานที่ได้มีการปรับปรุงใหม่ในรายละเอียดการดำเนินงานต่างๆซึ่งหากเป็นไปตามแผนจะมีการนำเสนอและขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการปิโตรเลียมภายในม.ค. 2557 และออกประกาศเชิญชวนให้เอกชนยื่นขอสัมปทานฯได้ในเดือนมิ.ย. 2557
สำหรับแปลงสัมปทานรอบที่ 21 จะมีทั้งหมด 27 แปลง แบ่งเป็นบนบก 22 แปลงได้แก่บริเวณภาคเหนือและภาคกลาง 6 แปลง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 แปลง และแปลงในทะเลที่บริเวณอ่าวไทยอีก 5 แปลง ซึ่งได้กำหนดปริมาณงานและเงินลงทุนขั้นต่ำดังนี้ ภาคเหนือและภาคกลาง และอ่าวไทย ปริมาณงาน ต้องเจาะหลุมสำรวจ 1 หลุมวางเงินประกันลงทุนขั้นต่ำ 3 ล้านเหรียญสหรัฐ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเจาะหลุมสำรวจ 1 หลุมเงิน 5 ล้านเหรียญฯ โดยสัมปทานครั้งนี้ยังคงค่า k (การคงสภาพทางธรณีวิทยา)และ srb (เงินผลประโยชน์ลดหย่อนพิเศษ)ในสัดส่วนที่เท่าเดิมแต่ให้ผู้ขอสัมปทานจะต้องเสนอโบนัสลงนาม(Signing Bonus) แปลงละ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ และโบนัสการผลิต(Production Bonus) ซึ่งคิดจากปริมาณการผลิตสะสม
อย่างไรก็ตามขั้นตอนการดำเนินงานที่สำคัญก่อนที่จะออกประกาศเชิญชวนจะมีการสร้างความเข้าใจกับประชาชนในจังหวัดที่กำหนดจะเปิดสัมประทานปิโตรเลียมรอบใหม่ที่มีทั้งหมดประมาณ 32 จังหวัดโดยจะต้องนำเข้าสู่ที่ประชุมจังหวัดเพื่อที่จะนำไปสู่กระบวนการให้ความรู้ ข้อมูล ต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจและยอมรับกับประชาชน โดยมีเป้าหมายหน่วยงานราชการจังหวัดละ 100 คนรวมไปถึงผู้นำและสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับซึ่งคาดว่าส่วนนี้จะใช้เวลาดำเนินการระหว่างม.ค.-เม.ย. 2557
“สัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 ได้เลื่อนออกมานับตั้งแต่กลางปี 2555 ซึ่งรัฐมนตรีพลังงานในช่วงนั้นทั้ง นายพิชัย นริพทะพันธ์,นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ ไม่ได้อนุมัติ และต่อมาเป็นนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ก็ตีกลับเรื่องให้ไปพิจารณาให้รอบคอบโดยต้องการให้มีแผนงานทำความเข้าใจกับประชาชนก่อนและต้องดูแนวทางเรื่องผลประโยชน์ที่รัฐจะได้ให้ดีจึงทำให้แผนงานครั้งนี้มีความชัดเจนในทุกๆด้านซึ่งยืนยันว่าผลประโยชน์ตอบแทนให้รัฐของไทยนั้นไม่ได้ต่ำโดยอยู่ระดับกลางๆเมื่อเทียบกับทั่วโลกทั้งที่แปลงสำรวจของไทยนั้นมีสำรองปิโตรเลียมต่ำแถมยังต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เข้มข้นกว่า”แหล่งขาวกล่าว
ทั้งนี้หากเป็นไปตามแผนงานการออกประกาศเชิญจะทำได้ช่วงพ.ค. 57และขั้นตอนการยื่นขอสัมปทานจะใช้เวลาประมาณ 5เดือนหรือถึงต.ค. 57 หลังจากนั้นก็คงจะมีการพิจารณาคัดเลือกเสนอครม.อนุมัติได้ราวก.พ. 2558 และออกสัมปทานปิโตรเลียมได้มี.ค. 58 ซึ่งจะเห็นว่ากว่าจะมีการขุดเจาะสำรวจได้จะต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 1-2ปีและหากพบว่าคุ้มค่าเชิงพาณิชย์ก็ต้องใช้เวลาอีกไม่น้อยกว่า1ปีรวมแล้วก็ไม่น้อยกว่า2- 3 ปีหรือกว่าจะผลิตได้จริงก็ปี 2560 ซึ่งขณะนั้นไทยก็มีความต้องการใช้พลังงานอย่างมากขณะที่การผลิตในประเทศเริ่มลดลง”แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเตรียมที่จะรายงานความคืบหน้าในการเปิดให้ยื่นขอสัมปทานปิโตรเลียมครั้งที่ 21 ต่อที่ประชุมผู้บริหารระดับสูงที่มีนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นประธานภายในเดือนธันวาคมนี้โดยเฉพาะแผนการดำเนินงานที่ได้มีการปรับปรุงใหม่ในรายละเอียดการดำเนินงานต่างๆซึ่งหากเป็นไปตามแผนจะมีการนำเสนอและขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการปิโตรเลียมภายในม.ค. 2557 และออกประกาศเชิญชวนให้เอกชนยื่นขอสัมปทานฯได้ในเดือนมิ.ย. 2557
สำหรับแปลงสัมปทานรอบที่ 21 จะมีทั้งหมด 27 แปลง แบ่งเป็นบนบก 22 แปลงได้แก่บริเวณภาคเหนือและภาคกลาง 6 แปลง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 แปลง และแปลงในทะเลที่บริเวณอ่าวไทยอีก 5 แปลง ซึ่งได้กำหนดปริมาณงานและเงินลงทุนขั้นต่ำดังนี้ ภาคเหนือและภาคกลาง และอ่าวไทย ปริมาณงาน ต้องเจาะหลุมสำรวจ 1 หลุมวางเงินประกันลงทุนขั้นต่ำ 3 ล้านเหรียญสหรัฐ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเจาะหลุมสำรวจ 1 หลุมเงิน 5 ล้านเหรียญฯ โดยสัมปทานครั้งนี้ยังคงค่า k (การคงสภาพทางธรณีวิทยา)และ srb (เงินผลประโยชน์ลดหย่อนพิเศษ)ในสัดส่วนที่เท่าเดิมแต่ให้ผู้ขอสัมปทานจะต้องเสนอโบนัสลงนาม(Signing Bonus) แปลงละ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ และโบนัสการผลิต(Production Bonus) ซึ่งคิดจากปริมาณการผลิตสะสม
อย่างไรก็ตามขั้นตอนการดำเนินงานที่สำคัญก่อนที่จะออกประกาศเชิญชวนจะมีการสร้างความเข้าใจกับประชาชนในจังหวัดที่กำหนดจะเปิดสัมประทานปิโตรเลียมรอบใหม่ที่มีทั้งหมดประมาณ 32 จังหวัดโดยจะต้องนำเข้าสู่ที่ประชุมจังหวัดเพื่อที่จะนำไปสู่กระบวนการให้ความรู้ ข้อมูล ต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจและยอมรับกับประชาชน โดยมีเป้าหมายหน่วยงานราชการจังหวัดละ 100 คนรวมไปถึงผู้นำและสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับซึ่งคาดว่าส่วนนี้จะใช้เวลาดำเนินการระหว่างม.ค.-เม.ย. 2557
“สัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 ได้เลื่อนออกมานับตั้งแต่กลางปี 2555 ซึ่งรัฐมนตรีพลังงานในช่วงนั้นทั้ง นายพิชัย นริพทะพันธ์,นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ ไม่ได้อนุมัติ และต่อมาเป็นนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ก็ตีกลับเรื่องให้ไปพิจารณาให้รอบคอบโดยต้องการให้มีแผนงานทำความเข้าใจกับประชาชนก่อนและต้องดูแนวทางเรื่องผลประโยชน์ที่รัฐจะได้ให้ดีจึงทำให้แผนงานครั้งนี้มีความชัดเจนในทุกๆด้านซึ่งยืนยันว่าผลประโยชน์ตอบแทนให้รัฐของไทยนั้นไม่ได้ต่ำโดยอยู่ระดับกลางๆเมื่อเทียบกับทั่วโลกทั้งที่แปลงสำรวจของไทยนั้นมีสำรองปิโตรเลียมต่ำแถมยังต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เข้มข้นกว่า”แหล่งขาวกล่าว
ทั้งนี้หากเป็นไปตามแผนงานการออกประกาศเชิญจะทำได้ช่วงพ.ค. 57และขั้นตอนการยื่นขอสัมปทานจะใช้เวลาประมาณ 5เดือนหรือถึงต.ค. 57 หลังจากนั้นก็คงจะมีการพิจารณาคัดเลือกเสนอครม.อนุมัติได้ราวก.พ. 2558 และออกสัมปทานปิโตรเลียมได้มี.ค. 58 ซึ่งจะเห็นว่ากว่าจะมีการขุดเจาะสำรวจได้จะต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 1-2ปีและหากพบว่าคุ้มค่าเชิงพาณิชย์ก็ต้องใช้เวลาอีกไม่น้อยกว่า1ปีรวมแล้วก็ไม่น้อยกว่า2- 3 ปีหรือกว่าจะผลิตได้จริงก็ปี 2560 ซึ่งขณะนั้นไทยก็มีความต้องการใช้พลังงานอย่างมากขณะที่การผลิตในประเทศเริ่มลดลง”แหล่งข่าวกล่าว